ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมือง ใหม่หมด
เพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางความคิดเพื่อปฏิรูปการเมืองไทย ในฐานะประชาชนธรรมดา ผมขอเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยหวังจะเห็นข้อเสนอต่อไปนี้ปรากฏเป็นโครงสร้างหลักของอำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจบริหาร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สรุปโดยย่อดังนี้:
อ่านรายละเอียด >>
0 Comments
เริ่มต้นที่เรื่องเวลา......
ในวาระแรกเริ่มก่อนระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang ไม่มีกระบวนการนับเวลา เพราะไม่มีมนุษย์มาคิดหาเรื่องกับกาลเวลา พลันเมื่อมีมนุษย์ที่มีภูมิปัญญาชาญฉลาดค้นหาที่มาที่ไปของเอกภพและสรรพชีวิต จึงได้มีระเบียบพิธีการคำนวนนับกาลนับเวลาขึ้น โดยพบว่าในเอกภพมีการก้าวย่างเดินทางของกาลเวลา หรือ time บนพื้นที่ในอวกาศ หรือ space การมีพื้นที่ในอวกาศที่เรียกว่า space นั้น แสดงว่ามีการปรากฏตัวของสะสาร หรือ matter หรือ “something” แทนที่จะเป็น “nothing” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะกำหนดนับ “เวลา” หรือ time เพราะการเคลื่อนที่ของเวลามีพื้นที่สำหรับเคลื่อนที่ไปได้ เวลาปัจจุบันกลายเป็นเวลาเก่าเมื่อถูกทิ้งไว้ข้างหลังพลันที่เวลาเคลื่อนไปข้างหน้าเป็นเวลาใหม่ หมายความว่าเวลามีการเพิ่มปริมาณและเปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่ไปเรื่อยๆอย่างไม่มีหยุดพักและไม่มีจบสิ้น ตราบใดที่ยังมีพื้นที่ หรือ space ให้เวลาเดินทางไปข้างหน้าเรื่อยๆ ตามวิวัฒนาการของจักรวาลช่วงต้นนั้นวัดเวลาเป็นวินาที หรือเสี้ยวของวินาที ยังไม่มีการนับวันเดือนปี ไม่มีแม้กระทั่งการนับเป็นชั่วโมง ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์ยังไม่เกิดบนโลกจึงไม่มีใครคิดนิยามและคำนวนเรื่องเวลา หลังเกิดระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์โลก พร้อมทั้งมีมนุษย์ที่ทรงปัญญาแล้วจึงได้มีการคิดคำนวนเรื่องเวลาที่เป็นวัน เดือน และปี เป็นปฏิทินที่มนุษย์ใช้คิดวางแผนการดำเนินชีวิตตามการเดินทางของชีวิตที่อยู่บนเส้นทางของกาลเวลา เพราะมนุษย์รู้แล้วว่าชีวิตเริ่มที่เวลาเกิด แล้วเดินทางไปถึงวาระสุดท้าย คือเวลาตาย ชีวิตใหม่เกิดขึ้น ต่อจากชีวิตเดิมที่ตายไป เป็นอนุกรมหรือไม่ก็เป็นวัฏจักรของการเวลา สุดแต่จะนิยามกันตามใจมนุษย์ หากคิดว่าเวลาเป็นอนุกรม เวลาก็เคลื่อนไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง หากเป็นวัฏจักรเวลาก็เดินทางเป็นวงจรหมุนกลับมาเริ่มต้นรอบวงใหม่แห่งกาลเวลา นี่คือความซับซ้อน หรือสับสน เวลาที่มนุษย์คิดถึงเรื่องเวลา! เวลามีหลายมิติชวนให้พิศวง: เวลาเก่า...เวลาเดิม...เวลาปัจจุบัน...เวลาข้างหน้า...เวลาอนาคต...เวลาเริ่ม... เวลาจบ...เวลาไม่จบ ว่าด้วยเรื่องปีใหม่ของมนุษย์ก่อน ในวาระนี้..... มนุษย์บนโลกปัจจุบันนี้นับเวลาเป็น วินาที-นาที-ชั่วโมง-วัน-เดือน และ ปี โดยอาศัยการคำนวนการเดินทางในวงโคจรของดาวเคราะห์โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ซึ่งโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์อันเป็นแหล่งแสงสว่างและพลังงานที่สร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์และสรรพชีวิตบนโลก โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ จากเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ถึงดวงอาทิตย์ตก แล้วกลับมาขึ้นอีกครั้ง รวมเป็น 1 วัน โลกหมุนรอบตัวเองเช่นนี้ไปพร้อมๆกับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเส้นทางโค้งรีเป็นวงรูปไข่รอบดวงอาทิตย์ครบ 365 รอบตัวเอง ก็ครบรอบวงรี 1 รอบของการเดินทางหรือโคจรรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์เรียกเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบนี้ว่าเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมี 365 วัน บางปีก็มี 366 วัน ยิ่งเวลาแบ่งเป็นเวลาปฏิทินแล้ว 1 ปี ถูกแบ่งเป็น 12 เดือน บางเดือนก็มี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน เดือนกุมภาพันธ์บางปีก็มี 28 วัน บางปีก็เพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน สรุปแล้ว 1 ปีที่มนุษย์กำหนดแต่ละปีก็มีเวลารวมไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะหลายสาเหตุอันเป็นธรรมชาติของจักรวาล เอกภพ และระบบสุริยะ อย่างหนึ่งคือ โลกไม่มีทรงกลมสมบูรณ์ แต่เป็นวงกลมแป้นป่องตรงกลางแบบลูกมะนาวหรือส้ม แถมแกนกลางที่โลกใช้เป็นแกนหมุนรอบตัวเองก็เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์บ้าง เอียงออกจากดวงอาทิตย์บ้างตามจังหวะเวลาหรือที่มนุษย์กำหนดเป็นฤดูกาล การหมุนรอบตัวเองของโลกก็แกว่งไกวเร็วช้าไม่สม่ำเสมอแน่นอน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์แต่ละรอบแต่ละปีโดยเฉลี่ยถือว่าเสถียรมั่นคงแต่จะนับแน่ชัดว่าเวลาทุกปีเท่ากันตรงกันทุกเสี้ยววินาทีก็ไม่ใช่ เพื่อความสะดวก มนุษย์ดูดวงอาทิตย์ขึ้นและตกและขึ้นอีกครั้งเป็นหลัก จึงได้เวลา 1 วัน เมื่อเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นสองครั้ง ถึง 1 ปี เมื่อนับได้ 365-366 รอบของเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น (365.242199 วัน แบบ Tropical Year หรือ Solar Year ซึ่งคำนวนตามการกลับมาของฤดูกาลตามตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ หรือ 365.256 363 วัน แบบ Sidereal Year ซึ่งคำนวนจากการกลับสู่ตำแหน่งเดิมของดวงอาทิตย์ตามที่สังเกตจากโลกโดยวัดตำแหน่งที่สัมพันธ์กับดาวฤกษ์ดวงอื่น) ตรงนี้เองที่มนุษย์เรียกว่า “ขึ้นปีใหม่” เพราะโลกและตัวมนุษย์เองร่วมกันเดินทางรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบแล้ว มนุษย์ผู้ใดที่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์มากรอบก็ถือว่าอายุยืนเท่ากับรอบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์ที่มีอายุ 100 ปี ก็เพราะได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 100 รอบ เมื่อชีวิตผ่านพ้นไป 1 รอบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ก็เรียกว่าส่งท้ายปีเก่าให้ผ่านไป เริ่มโคจรรอบใหม่วันแรก วันที่ 1 มกราคม ก็ถือเป็นวันต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้น ดาวเคราะห์โลกร่วมกับมนุษย์ก็โคจรรอบใหม่ปีใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์มิได้ก้าวเดินทางไปไหนไกล โลกก็มิได้โคจรไปข้างหน้าไปไหนไกล แม้ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 108,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นระยะทาง 940,000,000 กิโลเมตร เพราะทั้งสองล้วนโคจรกลับมาตั้งต้นใหม่ที่เดิม หลังเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ณ พิกัดที่มนุษย์ผู้นั้นยืนอยู่ มนุษย์ผู้นั้นจะเริ่มต้นปีใหม่ของตน ณ จุดเดิม หากยืนที่พิกัดเดิมปีที่แล้ว และเวลาปีใหม่ของมนุษย์แต่ละคนจึงต่างเวลาต่างพิกัดไปจากกันและกัน มนุษย์ที่ผาชะนะได อุบลราชธานี จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนและได้เริ่มปีใหม่ก่อนมนุษย์ที่แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน 32 นาที และก่อนมนุษย์ที่เมือง Greenwich ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง โดยประมาณ เวลาของมนุษย์แต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน เพราะมนุษย์แต่ละคนรับพลังงานและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ต่างเวลาต่างพื้นที่ space-time ของมนุษย์ทุกคนจึงไม่เท่ากัน ในเชิงกาลเวลาและพื้นที่ในอวกาศ ปีใหม่ของมนุษย์ทุกคนเหมือนกัน เพราะทุกชีวิตกลับมาเริ่มปีใหม่ ณ จุดเริ่มวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จุดเดิม ชีวิตมนุษย์จึงเป็นวัฎจักรของอนุกรม เหมือนจะก้าวต่อเนื่องไปข้างหน้า แต่แล้วก็วกกลับมาที่เดิม! สมเกียรติ อ่อนวิมล 31 ธันวาคม 2561 - 1 มกราคม 2562 Those who have narrow view of the world can easily become domesticated nationalists and then racists. Go out and travel the world and you'll know the world has more beautiful things to offer including racial and cultural diversities. Human being on earth evolves this way...endless forms and most beautiful.
While being a foreign-exchange student in a high school in Kansas City years ago I met an adult American who had never seen the sea, let alone another country. I later returned to America as a Ph.D. student at the University of Pennsylvania with financial grant from the Harvard Yen-Ching Institute. I drove around the US every summer for five years pitching tents in various national parks, meeting and talking with many Americans along the way. In 2004 as a television news reporter from Thailand I again traveled across the US talking to ordinary Americans along the road from L.A. to New York. America is a wonderful country. Americans I met throughout my life are all nice and worldly educated. Racism in America today is something I never saw in Kansas City where I lived in 1966-67. |
สมเกียรติ อ่อนวิมล Somkiat OnwimonArchives
February 2019
Categories |