THAIVISION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • THE DISSERTATION
    • MY STORY
    • ศิลปะในการใช้ชีวิต
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • INTERVIEW
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Utopia
​
Sir Thomas More

มนุษย์จินตนาการถึงสังคม การเมือง การปกครอง ที่สุขสงบอย่างทั่วถ้วนบริบูรณ์ เสมอมา นับแต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์

ดินแดน หรือ รัฐ ในจินตนาการที่ว่านั้นดีมากที่สุดจนหาที่เปรียบบนโลกมนุษย์จริงๆไม่ได้ ดินแดนที่ว่านั้นจึงถูกเรียกชื่อว่า “ไม่มีที่ไหน” หรือที่เรียกในภาษา ละตินว่า “UTOPIA”
คำว่า Utopia มีรากศัพท์มาจากภาษา Greek โดยคำว่า ‘OU’ แปลว่า NONE หรือ ‘ไม่มี’ ผสมกับคำว่า ‘TOPOS’ แปลว่า ‘PLACE’ หรือ ‘สถานที่’  OU + TOPOS ได้คำว่า UTOPIA จึงแปลว่า No Place หรือ Nowhere ดินแดนที่เรียกว่า UTOPIA จึงเป็นเพียงความเพ้อฝัน 

เป็นดินแดนที่ไม่มีอยู่จริง ความคิดเรื่อง Utopia ในช่วงเวลาแรกของประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่เกิดเป็นงานวรรณคดีสำคัญสามเรื่อง คือ UTOPIA โดย Thomas More (1516), NEW ATLANTIS โดย Francis Bacon (1627) และ THE ISLE OF PINES โดย Henry Neville (1668) ทั้งสามเรื่องรวมพิมพ์ในเล่มเดียวกันโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย OXFORD ในชุด OXFORD WORLD’S CLASSICS ตั้งชื่อหนังสือว่า “THREE EARLY MODERN UTOPIAS” โดยผู้เขียนทั้งสามคน เรื่องที่โด่งดัง อ่าน และ อ้างอิง กันอย่างกว้างขวางจนทุกวันนี้คือ UTOPIA ของ Thomas More 

Thomas More ได้เพื่อนชื่อ Peter Giles ซึ่ง Peter Giles เป็นผู้ แนะนำให้ Thomas More ได้รู้จักกับ Raphael Hythloday ผู้ซึ่งเพิ่งจะเดินทางกลับมาจากดินแดน Utopia ทั้งสามคนได้นั่งคุยกันนานจน Thomas More นำเรื่อง Utopia จากคำบอกเล่าทั้งหมดของ Raphael Hythloday มาเขียนเป็นหนังสือชื่อ Utopia เล่มนี้เองโดยต้นฉบับภาษาละติน พิมพ์เผยแพร่ปี ค.ศ. 1516 แปลเป็นภาษาอังกฤษแบบเก่า โดย Ralph Robinsonในปี ค.ศ. 1551

‘The island of Utopia containeth in breadth in the middle part of it (for there it is     broadest) 200 miles.’
 ‘Utopia เป็นเกาะ ส่วนกลางกว้างที่สุด 200 ไมล์ หรือ 320 กิโลเมตร’

 Hythloday เริ่มเล่า
 เขาบอกว่าเกาะ Utopia นั้นมีลักษณะเป็นแนวยาว 500 ไมล์ โค้งเป็นวงปลายแคบ ดูคล้ายดวงจันทร์ข้างขึ้น ปลายเกาะสองข้างห่างกันเพียง 11 ไมล์ ซึ่งเป็นทางเข้าทะเลภายในที่เกาะล้อมอยู่ ทะเลที่ถูกโอบล้อมโดย เกาะ Utopia จึงสงบคลื่นลม ดุจสวรรค์กลางมหาสมุทร

ณ จุดกึ่งกลางของทางเข้า Utopia มีป้อมปราการสูงตระหง่านบนโขดหินกลางน้ำ ทำหน้าที่เฝ้าระวังบุคคลภายนอกที่จะเดินทางผ่านปากน้ำเข้า Utopia โดยต้องมีการนำร่องให้ปลอดภัยผ่านพ้นโขดหินใต้น้ำ ข้าศึกศัตรูที่ไม่ทราบแนวร่องน้ำใต้ทะเล ย่อมไม่สามารถเดินเรือผ่านได้อย่างปลอดภัยบนเกาะ Utopia มีเมืองน้อยใหญ่ 54 เมือง ตั้งอยู่ห่างกันไม่เกินการเดินถึงกันได้ในวันเดียว พลเมืองทั้งหมดพูดภาษาเดียวกัน มีขนบประเพณีเหมือนกัน ร่วมใช้กฎหมายและสถาบันทางการเมืองการปกครองแบบเดียวกันทุกปี แต่ละเมืองจะส่งผู้อาวุโสสามคนเดินทางมาร่วมประชุมประจำปีกันที่เมือง Amaurote อันเป็นเมืองศูนย์กลาง เพื่อปรึกษาปัญหาต่างๆร่วมกัน

ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรกรรมปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์ มีสมาชิกในแต่ละครัวเรือนหรือแต่ละฟาร์มอย่างน้อย 40 คน หัวหน้าครอบครัว ทั้งสามีและภรรยาเป็นคนดีมีคุณธรรม
‘And every thirty farms or families have one head ruler which is called a Philarch…’
 “ทุกๆ 30 ครอบครัวหรือ30 ฟาร์ม จะมีหัวหน้ากลุ่ม 1 คน เรียกว่า ‘Philarch’ หรือ ‘Loving Ruler’ แปลว่า “ผู้ปกครองผู้เปี่ยมด้วยความรัก” 

แต่ละปี แต่ละครอบครัวจะส่งสมาชิก 20 คนไปใช้ชีวิตในเมือง ส่วนคนในเมืองก็จะไปเรียนรู้ชีวิตชนบทแทนที่กันช่วงละสองปี วิธีนี้ชาว Utopia จึงได้เรียนรู้กระบวนการดำเนินชีวิตในสังคมสองแบบได้อย่างเท่าเทียมกัน และหากใครติดใจชีวิตในฟาร์มมากก็จะได้รับอนุญาตให้ต่อเวลาอยู่ในชนบทได้

 ‘These husbandmen plough and till the ground, and bryde up cattle, and provide     and make ready wood, which they carry to the city either by land or by water as     they may most conveniently.’
‘คนที่อยู่ในฟาร์ม ต้องขุดไร่ ไถนา เลี้ยงสัตว์ ตัดฟืน แล้วนำผลผลิตเข้าไปให้คนใน    เมือง ทั้งทางบก และทางน้ำ’

‘They bring up a great multitude of pullen, and that by a marvelous policy. For the     hens do not sit upon the eggs, but by keeping them in a certain equal heat they bring life into them and hatch them. The chickens, as soon as they be come out of the shell, follow men and women instead of the hens.’
 ‘มีการเลี้ยงไก่จำนวนมหาศาล ชาว Utopia ชำนาญการเลี้ยงไก่มาก มีเทคโนโลยีการฟักไข่ไก่ ที่ก้าวหน้า โดยเกษตรกรจะมีเครื่องคุมอุณหภูมิฟักไข่แทนแม่ไก่ เวลาลูกไก่ออกมาจากไข่จึงเดินตามคนมากกว่าจะเดินตามแม่ไก่แท้ๆของมัน’

 ‘They bring up very few horses, nor none but very fierce ones; and that for none other use or purpose, but only to exercise their youth in riding and feats of arms.’
‘ชาวบ้านเลี้ยงม้าไว้พอสำหรับให้คนหนุ่มได้ฝึกศิลปะการขี่ม้า’
‘For oxen be put to all the labour of ploughing and drawing. Which they grant to be not so good as horses at a sudden brunt and (as we say) at a dead lift, but yet they hold opinion that oxen will abide and suffer much more labour, pain and hardness than horses will. And they think that oxen be not in danger and subject unto so many diseases, and that they be kept and maintained with much less     cost and charge, and finally that they be good for meat when they be past labour.’

‘แต่เลี้ยงวัวไว้ใช้งานในไร่นาเป็นสำคัญเพราะในระยะยาวชาว Utopia ถือว่าวัวจะแข็งแรงและอายุยืน ทนงานหนักดีกว่าม้า เมื่อวัวแก่เกินจะทำงานได้แล้ว ก็ฆ่าเอาเนื้อมาเป็นอาหาร’

‘They sow corn only for bread, for their drink is either wine made of grapes or else of apples or pears, or else it is clear water. And many times mead made of honey or liquorice sodden in water, for thereof they have great store.’

‘ข้าวโพดใช้ทำขนมปังเป็นอาหารหลัก ชาว Utopia ดื่มไวน์จากองุ่น apple และ pear นอกจากจะดื่มน้ำธรรมดาต้มผสมน้ำผึ้งหรือน้ำตาลจากรากไม้ ซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์’

ถึงฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรก็จะแจ้งความต้องการแรงงานจากในเมืองออกมาช่วย แต่ละฟาร์มผลิตเกินความต้องการเฉพาะครัวเรือนของตน โดยผลิตสิ่งที่เพื่อบ้านต้องการ ไม่มี หรือผลิตไม่ได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ต้องซื้อขาย ชาวชนบทผลิตข้าวปลาอาหารและผลผลิตหัตกรรมอื่นเกินความต้องการของแต่ละชุมชนเพื่อเผื่อแผ่ส่งไปให้คนในเมืองเป็นการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างชนบท กับเมือง โดยไม่ต้องซื้อขายเช่นกัน ชีวิตชาว Utopia จึงอุดมสมบูรณ์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอย่างพอเพียง

‘Therefore, gentle Master Raphael,’ quote I, ‘I pray you and beseech you describe unto us the island. And study not to be short, but declare largely in order their grounds, their rivers, their cities, their people, their manners, their ordinances, their laws, and, to be short, all things that you shall think us desirous to know. And you shall think us desirous to know whatsoever we know not yet.’

“ท่าน Raphael ที่เคารพเอ๋ย ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้ท่านได้โปรดสาธยายเรื่องเกาะ Utopia ให้เราได้ฟังอย่างละเอียด จงอย่าได้เล่าอย่างย่อเลย  ขอให้เล่าเรื่องตามลำดับ ตั้งแต่เรื่องผืนแผ่นดิน แม่น้ำ เมือง ผู้คน นิสัยใจคอ ขนบประเพณี ยุทโธปกรณ์ กฎหมาย ขอท่านจงเล่าถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านคิดว่าเราใคร่รู้ และกรุณาคิดแทนเรา ด้วยว่าเรายังไม่ทราบอะไรที่ควรจะทราบ’
Sir Thomas More ฟัง Master Raphael Hythloday เล่าให้ฟังท่ามกลางความร่มรื่นในสวนหยุดพักรับประทานอาหารค่ำ แล้วกลับมาเล่าต่อ ใต้หมู่แมกไม้ ณ ที่เดิม.                                                                                             
                                                          *



    ความเห็นของท่านมีคุณค่า WE VALUE YOUR OPINION

Submit
THAIVISION® 
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2020 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • THE DISSERTATION
    • MY STORY
    • ศิลปะในการใช้ชีวิต
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • INTERVIEW