THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION

โครงการคอมพิวเตอร์ Laptop สำหรับนักเรียน

18/12/2014

1 Comment

 
Picture

Laptop Programs for Students
Andrew A. Zucker [1] and Daniel Light [2] 
Science
2 January 2009: 
Vol. 323 no. 5910 pp. 82-85 
DOI: 10.1126/science.1167705













บทความจาก SCIENCE Magazine
แปลโดย  สมเกียรติ อ่อนวิมล

Picture
    ภาพขนาดใหญ่ริมทางด่วนในกรุงเทพมหานคร โฆษณาโดย ฯพณฯนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างว่าคอมพิวเตอร์แบบแผ่น Tablet PC ขนาดเล็กจะช่วย "สร้างเด็กดี เด็กเก่ง เพื่ออนาคตไทย" 
          หลังจากอ่านงานวิจัยจากกว่า 20 ประเทศ ดังที่แปลสรุปในบทความข้างล่างนี้ พบว่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์โฆษณาความดีงามของ Tablet PC เกินความเป็นจริงที่ควรเป็นไปได้ และผิดไปจากผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในนิตยสาร SCIENCE ซึ่งเป็นนิตยสารที่พิมพ์งานวิจัยมาตรฐานวิชาการระดับโลก
          ต่อไปนี้เป็นบทความเรื่อง Laptop Program for Students โดย Andrew A. Zucker และ Daniel Light ลงพิมพ์ในนิตยสาร SCIENCE ฉบับวันที่ 2 January 2009 Vol.323 อ้างอิงงานวิจัยโครงการใช้คอมพิวเตอร์แบบ laptop ในกว่า 20 ประเทศ  แปลโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล


Picture

Science 2 January 2009: 
Vol. 323 no. 5910 pp. 82-85 
DOI: 10.1126/science.1167705


PERSPECTIVE
Laptop Programs 
for Students 
Andrew A. Zucker1 and Daniel Light2

Author Affiliations
1 The Concord Consortium, 25 Love Lane, Concord, MA 01742, USA. E-mail: [email protected]
2 Center for Children and Technology, Education Development Center, 96 Morton Street (seventh floor), New York, NY 10014, USA. E-mail: [email protected]

ABSTRACT
With the continuing decline in costs of technology, programs are proliferating worldwide to put networked laptop computers into the hands of millions of students on a routine basis. The reasons policy-makers support these programs are based on economic arguments, equity concerns, and widespread interest in education reform. Studies of laptop programs in schools report that they increase students' engagement in school, improve technology skills, and have positive effects on students' writing. However, evidence of the effectiveness of large-scale laptop programs in other learning domains is scarce. Research in many nations suggests that laptop programs will be most successful as part of balanced, comprehensive initiatives that address changes in education goals, curricula, teacher training, and assessment.

Interest in providing laptops to schoolchildren has been growing for more than a decade, with a school in Australia beginning what may have been the first such program in 1990 (1). Traditional manufacturers now offer many laptop models costing under US$900. In addition, less-expensive laptops especially designed for children and schools have become available, including the XO computer designed and distributed by One Laptop Per Child [a spinoff of the Massachusetts Institute of Technology (MIT) Media Lab] and the Intel Classmate personal computer (PC). Ultra-low-cost computers such as these typically include flash memory instead of a spinning hard drive, smaller screens, and fewer external ports. At the same time, they and others like them may offer features of particular interest to schools in developing nations, such as low power consumption, a free or low-cost operating system, and the capability to establish a mesh network with other computers.

With declining unit costs, policy-makers around the world are investing large sums of money in laptop computers for students and teachers in elementary and secondary schools. In the United States, the state of Maine provided every middle-grade student (ages 13 to 14 years old) with a laptop beginning in 2002, on loan from schools like a textbook. Pennsylvania's Classrooms for the Future program is providing classroom sets of laptops to more than 500,000 high school students. Uruguay has recently distributed 120,000 laptops and plans to buy 300,000 more. Portugal announced it will provide 500,000 computers to students, and Venezuela has ordered 1 million laptops for children, which will be assembled in Portugal based on the Intel Classmate PC design. Australia, Chile, Columbia, Libya, Mongolia, Nigeria, and South Africa are among the many other nations supporting at least pilot programs with laptops.

The reasons given by policy-makers for investing in these programs vary. There are economic arguments, based on improving students' technology skills, creating a better educated work force, and attracting new jobs; equity concerns, to support students from low-income families whose access to technology and information is otherwise restricted; and education reform issues, as policy-makers try to make schools more effective and provide students an education that prepares them for life in the 21st century.

The growth of laptop programs globally has been fueled by widespread discontent with the status quo in elementary and secondary education. Computers and globalization have changed skill requirements. Schools are being asked to increase the quality of education, notably by providing more students than in the past with advanced skills and the ability to be flexible thinkers and problem-solvers. At the same time, in many developing countries there is a demand for deep reforms in education to help create a more democratic, participatory, and responsible society, which calls for substantial changes in the schools (2, 3). Those countries, which are only now beginning to move away from traditional education systems, often see technology as one of the keys to transforming their education systems.

Programs to provide students with laptops and related technologies use various devices and differing usage or ownership models. In almost all cases, the laptops are wireless and provide students with access to the Internet and a local school network. Programs providing students with personal laptops to use during the school year are often called one-to-one (1:1) computing. Some 1:1 programs allow students to take their computer home; others do not. A few 1:1 programs (such as in Henrico County, Virginia, involving more than 25,000 laptops) subsidize home access to the Internet for low-income families. Australia is aiming for 1:1 but has begun by offering schools grants for one computer per two students (www.digitaleducationrevolution.gov.au). In contrast to 1:1 computing, tens of thousands of schools in many nations have invested in classroom sets of computers, generally with wireless networking capability, which are either shared by many classrooms or assigned to only one. Although students in those cases are not provided with a personal laptop, some personalization can be provided if students' documents are stored on a server and are thus available from any machine. A few school systems have adopted “thin client” solutions, meaning that the machines students use are cheap and easy to maintain, whereas the major computer power and the software are provided by a small number of computers or servers. The republic of Macedonia (formerly part of Yugoslavia), for example, uses inexpensive computer terminals linked to regular PCs, at a seven-to-one ratio, for its 360,000 students (4).

What these varied approaches have in common is putting powerful, networked computer capability into the hands of more students on a routine basis. And as interest has grown in laptop programs, especially since 2001, schools have also adopted related digital tools and services, including online courses, interactive electronic whiteboards, handheld devices (sometimes called clickers) that beam students' answers to a receiver and a display, graphing calculators, and “probes” for collecting science laboratory data in digital form (5).

Evidence of Effectiveness

To measure the extent to which a laptop or other technology program is effective, one must know the goals against which success is measured as well as the outcomes. One would also like to have information about the nature and quality of the program design and about details of implementation so that reasons why programs do or do not work can be better understood (6). Gathering and analyzing all of those data is expensive and a challenge.

A widely reported outcome in both the developed and the developing world is that programs providing computers to schools increase the technology skills of teachers and students (7, 8). Sometimes, as in the case of the World Links program supported by the World Bank in 26 developing countries, this is an explicit program goal (8).

Research and evaluation studies also report that laptop programs increase students' engagement with academic work, which is an important finding given the large dropout rates in many secondary schools (7, 9). Participants are often enthusiastic about laptop programs, including teachers, students, parents, and administrators (10, 11). As a result, many programs have been supported for years.

Not surprisingly, research also shows that at school students use laptops frequently to search for information of various kinds. Students report that they benefit from Internet search tools and digital resources that allow them to access information more quickly and efficiently (12).

There is strong evidence—but usually drawn from studies besides those focused on laptop programs—that a variety of specific educational applications of computers are effective. For example, using a word processor has been shown to help students learn to write (13); certain drill-and-practice applications assist students in learning facts and skills (14); some science laboratory simulations can be more effective learning tools than actual laboratory equipment (15). (Other articles in this issue supply additional information about particular computer applications.)

In some cases, there is evidence that laptop programs are important contributors to students' academic achievement. A public charter high school in Colorado that serves many students from low-income families provides an example (16). Physics classes there make use of an interactive electronic textbook stored on students' laptops, computer-based physics simulations developed by a Nobel Prize winner, probes for collecting laboratory data, and other digital tools. In 2007–2008, 30% of the seniors at the school took an Advanced Placement physics test, compared to about 3% nationally, yet students at the school scored at or slightly above the national average on the test, making the yield of capable physics students exceptionally high. The school does not claim that laptops alone cause this outcome—the teachers are excellent and many other factors play a role, including the digital resources used to teach physics—but data show the laptops are heavily used for academic work, and the administrators, teachers, and students believe that the 1:1 laptops contribute to the school's success. Animated physics simulations are part of the electronic textbook, so students interact and experiment with this textbook, not just read it. Teachers routinely make use of computer software called ExamView that provides instant feedback about how students have responded to assessment questions, and teachers may then assign students to groups on the basis of that information. Several times each year the teachers study assessment data, gathered using ExamView, to find out how well students are performing on education standards. The school's alignment of educational goals, instructional materials, student assignments, teacher practices, and assessment techniques illustrates that computers will be most effective when used as part of a thoughtfully coordinated, systemic approach.

A review of 30 studies of 1:1 programs found few with rigorous designs, but the studies measuring learning outcomes showed consistent, positive effects on students' writing skills (7). However, studies finding evidence of other academic achievement gains in laptop programs involving large numbers of schools, particularly studies using quantitative methods, are scarce in wealthy countries (7
) and rarer in developing countries. In what is probably the first study of its kind, the Canadian government recently funded an evaluation of 1:1 pilot programs in Argentina, Costa Rica, Uruguay, and Columbia (www.idrc.ca/en/ev-129437-201_104122-1-IDRC_ADM_INFO.html). A study underway in Texas is unusual because it is a 4-year longitudinal study, costs millions of dollars, and includes not only more than 20 experimental schools that use laptops but also a matched comparison group of schools that do not (12). After 3 years, the researchers found positive impacts of laptops on technology use and proficiency, increased interest among teachers in student-centered instruction, reduced student disciplinary actions, and greater teacher collaboration. However, there was generally no significant impact on students' test scores in reading and writing and only a weak impact in mathematics.

Policy research from many countries finds that a key difficulty is that instruction often focuses mostly on basic skills and memorizing facts and less on complex ideas or teaching students to be flexible thinkers (17–20). Some policy-makers hoped that the introduction of computers would lead directly to better instruction. However, the Texas study found that the availability of computer technology by itself had little or no impact on the intellectual challenge of teachers' lessons, concluding that across classrooms lessons generally failed to intellectually challenge students.

It is clear is that simply providing computers to schools is not enough to increase student achievement or change the nature of instruction. At a minimum, learning goals, curricula, teaching strategies, and assessments must change as well. Also, computers are often underutilized (21–23). Leaders must provide teachers and administrators with a clear vision of how computers are to be used; appropriate digital resources must be made available; effective, ongoing professional development needs to be provided to teachers; technical support must be available for computers, networks, printers, software, and other components; local leaders, including school principals and teacher leaders, need to be trained and supported; and so on. For example, one crossnational study found that teachers' competence in using technology, as well as the amount of their training in uses of technology for instruction, was associated with greater use of technology for instruction (24).

Costs/Affordability

Despite these challenges, interest in laptop programs is likely to continue growing, in part because a new generation of low-cost laptops has been developed, including the OLPC XO machine, the Intel Classmate, the Asus Eee PC, and others. Someday there may be a $100 laptop, although no one has yet achieved such a low price. The cost of installing wireless computer networks also declined greatly in the past decade.

Regardless of the price of technology, the investments in creating effective laptop programs are large. The Australian government has recently committed Au$1.2 billion for its school technology program. In the U.S., one national program alone, the E-Rate program, has spent about US$20 billion since 1998 to help connect nearly all schools to the Internet (5).

Yet the cost of laptop programs consists of much more than the price of buying computers and connecting them to networks. Schools should consider the total cost of ownership (TCO), including training of teachers and administrators, technical support, software, replacement costs of aging equipment, and other items. In the United States, the direct and indirect costs of 1:1 programs per client computer are over $1000 annually (www.classroomtco.org/gartner_intro.html). Even in the developing world, where labor costs are lower, one recent estimate of the annual perseat cost of a 1:1 classroom is more than $400 (25). Table 1 shows that the hardware itself composes only about one-third of the total in a developing nation, whereas training, service, and support account for more than half.

But it is a mistake to compare TCO to a baseline of zero. Almost no policy-makers suggest that all computers and Internet connections be removed from schools or that teachers need not be trained to make use of the resources available on the World Wide Web. Indeed, desktop computers have become far more prevalent in schools in many nations during the past decade (26). Thus, alternatives to laptop programs cost substantial money, too. Policy-makers also expect that laptop programs will reduce certain costs, such as those for textbooks and assessments (27).

The Future of Laptop Programs

Computers are different than other technologies used in schools because they are all-purpose machines. They can be used as a library, a way to model invisible phenomena, a communication device, a link to other tools (such as telescopes or online databases), a device students use to create knowledge artifacts in many media, and so forth. Computers' flexibility makes them uniquely powerful educational tools but also means that quality educational interventions or treatments cannot be realized simply by providing more computers.

Policy-makers and the public need to be clear about the educational and social goals for laptop programs (which will vary according to local needs and aims) and assure that the necessary elements are in place to reach those goals. Political leaders' beliefs that computer-based learning tools are powerful are well founded, as is shown by research as well as by the everyday experience of using the Internet. However, if the goal of laptop programs is to change educational goals; to improve patterns of teaching, learning, and assessment; and to help transform schools into more effective institutions; more needs to be done than acquire laptops and a corresponding technical infrastructure. Curricula need to be revised, better assessments developed, teachers must learn new approaches, and schools have to support teachers as they learn to teach in new ways. As one study of more than two dozen countries' use of information and communication technology recommended, “policies that adopt a balanced, holistic approach catering for [the multiple changes needed] will be more successful than policies focusing on one or two strategic areas” (24).

Poorer nations face particularly challenging choices because large-scale technology installations are expensive, and their school systems are simultaneously trying to extend current education systems to reach large numbers of unschooled children (28) and trying to radically transform schooling. Policy-makers in some developing nations, such as India and parts of Latin America, believe that although computers and the Internet are important for schools, instead of funding 1:1 programs their best strategy for incorporating technology is to proceed at a slower pace, pilot testing different approaches in order to identify which programs effectively meet their needs (29). Computers are an increasingly important educational tool, but only as part of carefully designed policies affecting many aspects of education (30). A laptop program that does not seriously address the need for education reform is not an appropriate option for any school or nation.

References and Notes

  1. ↵ B. Johnstone, Never Mind the Laptops: Kids, Computers, and the Transformation of Learning (iUniverse, Incorporated, New York, 2003).
  2. ↵ M. F. Astiz, A. W. Wiseman, D. P. Baker, Comp. Educ. Rev. 46, 66 (2002).
  3. ↵ F. Reimers, in Perspectivas Sobre la Reforma Educativa, J. C. Navarro et al., Eds. (Inter-American Development Bank, Washington, DC, 2000).
  4. ↵ NComputing Incorporated, Republic of Macedonia First Nation to Provide a Computer for Every Student (Case Study, Education) (NComputing, Redwood City, CA, 2008).
  5. ↵ A. A. Zucker, Transforming Schools with Technology: How Smart Use of Digital Tools Helps Achieve Six Key Education Goals (Harvard Education Press, Cambridge, MA, 2008).
  6. ↵ A. A. Zucker, J. Educ. Comput. Res. 30, 371 (2004).
  7. ↵ W. R. Penuel, J. Res. Technol. Educ. 38, 329 (2006).
  8. ↵ R. Kozma et al., Int. J. Educ. Dev. 24, 361 (2004).
  9. ↵ Comenius Center, Informe Final—Enlaces Portátil: Abriendo Camino para un País Digital (Centro para el desarrollo de innovaciones en educación, Universidad de Santiago, Santiago, Chile, 2008).
  10. ↵ D. Davis et al., Henrico County Public Schools iBook Survey Report (Development Associates, Incorporated, Arlington, VA, 2005).
  11. ↵ D. L. Silvernail, D. M. M. Lane, The Impact of Maine's One-to-One Laptop Program on Middle School Teachers and Students: Phase One Summary Evidence (Maine Education Policy Research Institute, Gorham, ME, 2004).
  12. ↵ K. Shapley et al., Evaluation of the Texas Technology Immersion Pilot: Outcomes for the Third Year (2006-07) (Texas Center for Educational Research, Austin, TX, 2007).
  13. ↵ A. Goldberg, M. Russell, A. Cook, J. Technol. Learn. Assess. 2, article no. 1 (2003).
  14. ↵ J. A. Kulik, Effects of Using Instructional Technology in Elementary and Secondary Schools: What Controlled Evaluation Studies Say (SRI International, Arlington, VA, 2003).
  15. ↵ N. D. Finkelstein et al., Phys. Rev. Spec. Top. 1, 1 (2005).
  16. ↵ A. A. Zucker, S. T. Hug, J. Sci. Educ. Technol. 17, 586 (2008).
  17. ↵ R. C. Pianta et al., Science 315, 1795 (2007).
  18. PROBE team, Public Report on Basic Education in India (Oxford Univ. Press, New Delhi, 1999). 
  19. United Nations Development Program, Arab Human Development Report: Building a Knowledge Society (United Nations, New York, 2004). 
  20. ↵ G. Ferrer, G. Valverde, J. M. Esquivel Alfaro, Aspectos del Curriculum Intencional en América Latina: Revisión de Tendencias Contemporáneas en Curriculum, Indicadores de Logros, Estándares y Otros Instrumentos [PREAL (Partnership for Educational Revitalization in the Americas), Washington, DC, 2002].
  21. ↵ L. Cuban, H. Kirkpatrick, C. Peck, Am. Educ. Res. J. 38, 813 (2001).
  22. M. Durando et al., eMature Schools in Europe (European Schoolnet, Brussels, 2007). 
  23. ↵ Harnessing Technology Review 2007: Progress and Impact of Technology in Education (British Educational Communications and Technology Agency, Coventry, UK, 2007), p. 80.
  24. ↵ N. Law, W. J. Pelgrum, T. Plomp, Eds., Pedagogy and ICT Use in Schools Around the World: Findings from the IEA SITES 2006 Study (Springer and Comparative Education Research Centre, University of Hong Kong, Hong Kong, 2008).
  25. ↵ Vital Wave Consulting, Affordable Computing for Schools in Developing Countries: A Total Cost of Ownership (TCO) Model for Education Officials (Vital Wave Consulting, Palo Alto, CA, 2008).
  26. ↵ Programme for International Assessment, Are Students Ready for a Technology-Rich World? What PISA Studies Tell Us [Organization for Economic Cooperation and Development, Paris, 2005].
  27. ↵ A. A. Zucker, R. Mcghee, A Study of One-to-One Computer Use in Mathematics and Science Instruction at the Secondary Level in Henrico County Public Schools (SRI International, Menlo Park, CA, 2005).
  28. ↵ EFA Global Monitoring Report Team, Education for All by 2015: Will We Make It? (United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization, Paris, 2008).
  29. ↵ H. Azinian, Un Mapa del Debate Sobre la Iniciativa Un Computador por Niño en América Latina y el Caribe (International Development Research Centre, Montevideo, Uruguay, 2007).
  30. ↵ P. Hepp et al., Technology in Schools: Education, ICT and the Knowledge Society (World Bank, Washington, DC, 2004).
  31. ↵ Vital Wave Consulting, Affordable Computing for Schools in Developing Countries: A Total Cost of Ownership (TCO) Model for Education Officials (Vital Wave Consulting, Palo Alto, CA, 2008), p. 14.
The editors suggest the following Related Resources on Science sites
            Links > Science Magazine 

(ต้องเป็นสมาชิกจึงจะเข้าถึงบทความเต็มบทได้)

  • Full Text Full Text (PDF)
  • http://www.sciencemag.org/content/323/5910/82.full.pdf
  • http://www.sciencemag.org/content/323/5910/82.full

Somkiat Onwimon
21 August 2012



Picture
Table 1
--------------------------------------------------------------------
Table 1.
The estimated 5-year total cost of ownership (TCO) for a smart classroom in an urban secondary school in a developing nation, based on using ultra-low-cost computers and the Linux operating system. [Adapted from (31)]
--------------------------------------------------------------------
ตาราง 1.
ประมาณการใช้จ่ายทั้งหมดในช่วง 5 ปี (TCO) สำหรับชั้นเรียนที่มีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา เป็นโรงเรียนในเมืองระดับมัธยมต้น ในประเทศกำลังพัฒนา ใช้คอมพิวเตอร์ราคาถูกมากๆ ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux [ปรับจาก (31)]

แต่เป็นเรื่องไม่ถูกต้องถ้าจะไปเปรียบเทียบ TCO กับฐานตัวเลขที่เริ่มที่ศูนย์ เกือบไม่มีผู้กำหนดนโยบายรายใดจะเสนอแนะให้ถอนคอมพิวเตอร์และปลดระบบเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตออกจากโรงเรียนทั้งหมด หรือว่าจะไม่ให้ครูเข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องการใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ที่จริงแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมีอยู่แล้วมากมายในหลายโรงเรียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา (26) ดังนั้นทางเลือกที่นอกเหนือจากโครงการ  laptop แล้วก็มีราคาแพงเหมือนกัน ผู้กำหนดนโยบายเองก็คาดหวังว่าโครงการ laptop จะช่วยลดค่าใช้จ่ายบางอย่างได้ด้วย เช่นค่าตำราเรียน และค่าการประเมินผล (27)

Picture
โครงการคอมพิวเตอร์ Laptop สำหรับนักเรียน
บทความโดย Andrew A. Zucket และ Daniel Light 
ลงพิมพ์ในนิตยสาร Science Vol. 323 No.5910 วันที่ 2 มกราคม 2009 เป็นบทวิเคราะห์โครงการจัดหาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนต่างๆทั่วโลก มีทั้งที่จัดหาให้ยืมกลับบ้าน ให้กู้ยืมเงินซื้อเป็นของตนเอง รัฐซื้อให้ และที่จัดให้เพียงพอจำนวน 1:1 ให้ใช้ในโรงเรียน ผลการศึกษาเมื่อปี 2009 พบว่าการให้เด็กนักเรียนในวัยที่เหมาะสม อายุระดับกว่าสิบปีขึ้นไป ทำให้เด็กสนใจมาโรงเรียนมากขึ้นพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและการเขียนมากขึ้น แต่ไม่มีผลชัดเจนต่อการพัฒนาการเรียนรู้ และไม่มีการประเมินผลด้านที่เป็นผลเสียได้ชัดเจน ผลการศึกษาสรุปว่ามีองค์ประกอบอื่นรวมอยู่ด้วยนอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นครู โรงเรียน อุปกรณ์การสอน วิธีการสอน การเตรียมความพร้อมของโครงการทั้งระบบ นักเรียน ครู โรงเรียน ครอบครัว ฯลฯ

บทความนี้ศึกษาเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการให้ใช้เครื่อง Laptop/Notebook PC ไม่ใช่ Tablet PC ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่เริ่มเป็นที่นิยมกันในปีของ iPad / Tablet PC ตั้งแต่ปี 2010 

                                 [บทแปล]

Laptop Programs for Students
Andrew A. Zucker1 and Daniel Light2

แปลโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล

ด้วยเหตุที่ราคาของเทคโนโลยีถูกลงเรื่อยๆจึงมีความพยายามให้เด็กนักเรียนได้มีโอกาสใช้คอมพิวเตอร์แบบ laptop หรือ notebook มากขึ้น เหตุผลส่วนใหญ่ของผู้บริหารการศึกษามักจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมกันของนักเรียน และการปฏิรูปการศึกษา โครงการศึกษาวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการให้เด็กนักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์แบบ laptop ในโรงเรียนพบว่าช่วยให้เด็กสนใจการเรียนมากขึ้น เด็กมีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษามากขึ้น และส่งผลเชิงบวกต่อทักษะการเขียนของเด็กด้วย อย่างไรก็ตามก็พบว่าการให้เด็กนักเรียนได้ใช้ laptop computer ส่งผลกระทบน้อยมากในการเปลี่ยนแปลงเพิ่มพูนประสิทธิภาพการเรียนรู้ในขอบเขตที่กว้างขวางกว่าสามเรื่องที่กล่าวแล้ว งานวิจัยในหลายๆประเทศสรุปว่าโครงการให้มี laptop computer สำหรับนักเรียนจะประสพความสำเร็จอย่างสูงหากทำเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายรวมที่กว้างและสมบูรณ์กว่าในในภาพรวมของกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยความริเริ่มอื่นๆอีกมากมายหลายโครงการนอกจากเรื่องให้เด็กนักเรียนได้ใช้ laptop เช่นเรื่องการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการศึกษา ทักษะการเรียนรู้อย่างอื่น เรื่องการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรมครู และการวัดผลการศึกษา

ความสนใจที่จะจัดหาคอมพิวเตอร์แบบ laptop ให้เด็กนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นโรงเรียนในออสเตรเลียที่ทำโครงการ laptop สำหรับนักเรียนเป็นแห่งแรกของโลกเมื่อปี 1990 (1) บริษัทผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในตลาดทั้งหลายต่างก็นำเสนอเครื่องในราคาต่ำกว่า US$900 (27,000 บาท) นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่อง laptop ราคาถูกกว่าที่ออกแบบมาสำหรับเด็กนักเรียนโดยตรงอีก เช่นเครื่อง XO คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและจำหน่ายจ่ายแจกโดยโครงการ One Laptop Per Child [โครงการที่เกิดจากการศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการ Media Lap ของ Massachusetts Institute of technology (MIT)] และเครื่อง Intel Classmate PC เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบพับเก็บพกพาไปไหนๆได้แบบที่เรียกว่า laptop หรือ notebook PC นี้ มีราคาถูกมาก เมื่อมีราคาถูกคุณสมบัติของเครื่องก็จะต่ำเป็นระดับพื้นฐาน คือมีหน่วยความจำน้อยแบบแผงวงจร หรือ flash memory ไม่มี hard drive เหมือนคอมพิวเตอร์มาตรฐานทั่วไป จอภาพก็เล็กกว่า มีช่องเสียบสายเชื่อมต่อระบบกับเครื่องอุปกรณ์อื่นไม่มาก ขณะเดียวกันก็อาจมีคุณสมบัติที่จูงใจโรงเรียนในประเทศที่กำลังพัฒนาบ้าง เช่นกินไฟน้อย ประหยัดพลังงาน ค่าระบบปฏิบัติงานต่ำหรืออาจจะฟรีเลยก็เป็นได้ และมีระบบสร้างเครือข่ายกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นด้วย

ด้วยราคาเครื่องที่ถูกลงมาเรื่อยๆ ผู้กำหนดนโยบายการศึกษาทั่วโลกจึงลงทุนด้วยเงินงบประมาณมหาศาลในการซื้อ laptop ให้นักเรียนและครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 

ในสหรัฐอเมริกา ที่รัฐ Maine มีการจัดซื้อเครื่อง laptop ให้นักเรียนทุกคนในชั้นระดับกลางซึ่งมีอายุระหว่าง 13-14 ปี โดยเริ่มโครงการเมื่อปี 2002 ไม่ใช่เป็นการซื้อแจกให้ฟรี แต่เป็นการให้ยืม เหมือนกับการให้ยืมตำราเรียนตามนโยบายเดิม

ที่รัฐ Pennsylvania มีโครงการ Classrooms for the Future จัดหาคอมพิวเตอร์ laptop ครบชุดให้เด็กนักเรียนระดับมัธยมปลายกว่า 500,000 คน

ที่ประเทศอุรุกวัย (Uruguay) ก็เพิ่งซื้อ laptop ให้นักเรียนไป 120,000 เครื่อง และมีแผนจะซื้ออีก 300,000 เครื่อง 

ปอร์ตุเกสประกาศจะซื้อ 500,000 เครื่อง ให้นักเรียนใช้

เวเนซูเอล่าสั่งซื้อแล้ว 1,000,000 เครื่อง สำหรับเด็กเล็ก โดยจะสั่งประกอบและผลิตในปอร์ตุเกสตามคุณสมบัติของเครื่อง Intel Classmate PC

ออสเตรเลีย, ชีลี, โคลอมเบีย, ลิเบีย, มองโกเลีย, ไนจีเรีย และ อัฟริกาใต้ และอีกหลายประเทศในโลกสนับสนุนโครงการ laptop สำหรับนักเรียน อย่างน้อยๆก็เป็นโครงการทดลองเริ่มแรกบางส่วนที่เรียกว่า “โครงการนำร่อง”

ผู้กำหนดนโยบายลงทุนในการจัดหาเครื่อง laptop ให้นักเรียนได้ใช้นั้นมีเหตุผลต่างๆกันไป มีทั้งเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนผลลัพธ์ที่ปรากฏว่านักเรียนสามารถเพิ่มพูนทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, การทำให้มีบุคคลากรที่มีการศึกษาดีกว่าเดิมในตลาดแรงงานในอนาคต, เป็นการสร้างงานประเภทใหม่; เรื่องความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยีการศึกษา, เป็นการช่วยสนันสนุนเด็กจากครอบครัวที่ยากจนที่จะถูกจำกัดโอกาสมากในการที่จะหาทางเข้าถึงเทคโนโลยีและข้อมูลความรู้จากระบบคอมพิวเตอร์เลยหากไม่มีโครงการ laptop สำหรับเด็กทุกคนในทุกโรงเรียน; นอกจากนั้นก็ยังมีเหตุผลเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งผู้กำหนดนโยบายการศึกษาต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงเรียนให้มากขึ้น ให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน ให้เด็กพร้อมสำหรับชีวิตในศตวรรษที่ 21

โครงการ laptop สำหรับโรงเรียนเติบโตขยายวงกว้างมากขึ้นทั่วโลกก็ด้วยสาเหตุที่ว่าการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมต้นไม่ขยับปรับเขยื้อนไปไหนเลยในช่วงที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์และโลกาภิวัตน์ได้เปลี่ยนความต้องการขั้นจำเป็นพื้นฐานเป็นเรื่องทักษะการใช้คอมพิวเตอร์แล้ว  โรงเรียนถูกขอให้เพิ่มคุณภาพการศึกษาให้มากกว่าอดีต โดยเฉพาะในเรื่องทักษะขั้นสูงของนักเรียน และเรื่องที่ต้องการให้นักเรียนมีความสามารถในการเป็นนักคิดและนักแก้ปัญหาที่มีความยืดหยุ่นในตัวเสมอ ในเวลาเดียวกันในประเทศกำลังพัฒนาหลายๆประเทศมีความเรียกร้องต้องการที่จะปฏิรูปการศึกษาเพื่อจะสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น สร้างสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น สร้างสังคมที่พลเมืองมีความรับผิดชอบมากขึ้น นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในโรงเรียน (2, 3) ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายที่เพิ่งจะเริ่มหันเหออกจากระบบการศึกษาแบเก่า ประเทศเหล่านั้นก็มักจะมองว่าเทคโนโลยีคือกุญแจดอกสำคัญที่จะไขประตูไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา

โครงการที่จัดหา laptop และเทคโนโลยีการศึกษาอย่างอื่นให้เด็กนักเรียนต่างก็ใช้เครื่องอุปกรณ์แตกต่างหลากหลายต่างระบบและต่างรูปแบบการเป็นเจ้าของเครื่องด้วย โดยทั่วไปเกือบทุกโครงการจะใช้เครื่อง laptop ที่มีระบบไร้สาย (wireless) และให้นักเรียนได้เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายในโรงเรียนด้วยกันเอง โครงการที่จัดหาเครื่อง laptop ให้นักเรียนได้มีใช้เป็นเครื่องส่วนตัวในโรงเรียนตลอดปีการศึกษาโดยมากจะเรียกว่าโครงการ “one-to-one (1:1) computing” (นักเรียน 1 คน มีคอมพิวเตอร์ใช้ 1 เครื่อง) โครงการ 1:1 ที่ว่านี้บางโรงเรียนก็อนุญาตให้เด็กเอาเครื่องกลับบ้านได้ บางโรงเรียนก็ไม่ให้นำกลับบ้าน มีโครงการ 1:1 จำนวนไม่น้อย (เช่นที่เขต Henrico County รัฐ Virginia สหรัฐอเมริกา) มีเครื่อง laptop ให้นักเรียนใช้มากกว่า 25,000 เครื่อง เด็กเอาเครื่องกลับไปใช้ที่บ้านได้ แถมโรงเรียนยังช่วยออกค่าใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านสำหรับคอบครัวที่มีรายได้ต่ำด้วย ที่ออสเตรเลียเริ่มต้นโครงการด้วยการจัดงบประมาณให้โรงเรียนซื้อคอมพิวเตอร์ให้เด็กได้ใช้ 2 คนต่อ 1 เครื่องก่อน แล้วตั้งเป้าว่าในอนาคตจะทำให้เป็นโครงการ 1:1 ให้ได้ (www.digitaleducationrevolution.gov.au) ในแบบตรงกันข้ามกับโครงการคอมพิวเตอร์ 1:1 มีโรงเรียนหลายหมื่นโรงในหลายๆประเทศใช้นโยบายลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์ให้ใช้ในห้องเรียน โดยมากก็จะมีระบบไร้สายเข้าสู่เครือข่ายข้อมูลต่างๆได้ อาจเป็นระบบเฉพาะแต่ละห้องเรียน หรืออาจเป็นระบบแบ่งปันกันใช้ข้อมูลหลายๆห้องเรียนรวมกัน แม้ว่านักเรียนท้งหลายตามโครงการนี้จะไม่ได้รับเครื่อง laptop เป็นเครื่องส่วนตัวโดยเฉพาะ แต่ก็มีระบบการเก็บเอกสารข้อมูลเฉพาะเด็กแต่ละคนแยกให้เด็กใช้เป็นส่วนตัวได้ในระบบเก็บข้อมูลส่วนกลาง และเด็กก็สามารถจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องไหนในโรงเรียนก็ได้เพื่อเรียกใช้ข้อมูลทำงานจากแฟ้มเอกสารในฐานข้อมูลกลางของโรงเรียน มีโรงเรียนอีกจำนวนหนึ่งใช้นโยบายแก้ปัญหาแบบ “thin client” หมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หามาให้เด็กใช้จะมีราคาถูกและบำรุงรักษาง่าย ขณะที่การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลักและโปรแกรมการใช้งานเพื่อการเรียนรู้จะอยู่ในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง (servers) หลายเครื่อง เช่นที่สาธารณรัฐมาเซโดเนีย (Macedonia อดีตเป็นส่วนหนึ่งของ Yugoslavia) ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกเป็นเครื่องเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์กลางคุณภาพมาตรฐานปรกติในอัตราส่วน 7 ต่อ 1 สำหรับนักเรียน 360,000 คน (4) [นักเรียน 7 คน ทำงานผ่านเครื่องราคาถูกคุณภาพต่ำ 7 เครื่อง เข้าไปใช้งานบนเครื่องส่วนกลางคุณภาพสูง 1 เครื่อง ใช้พร้อมในเวลาเดียวกันทั้ง 7 คนได้]

แนวทางที่แตกต่างหลากหลายเหล่านี้มีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือการทำให้เด็กนักเรียนได้เข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงทั่วถึงเท่าเทียมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในเมื่อความสนใจมีเพิ่มมากขึ้นในโครงการ laptop สำหรับนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากปี 2001 โรงเรียนต่างๆยังได้จัดหาอุปกรณ์และบริการข้อมูลสารสนเทศในระบบ digital แบบอื่นๆมาเพิ่มเติมอีกด้วย เป็นต้นว่าการจัดหาหลักสูตรระบบออนไลน์ กระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นระบบสื่อสาร ถาม-ตอบ สองทางได้ เครื่องมือถือ (บางทีก็เรียกว่า clickers หรือเครื่องกด) สำหรับส่งสัญญาณคำตอบไปยังเครื่องรับแล้วแสดงผลบนจอหน้าชั้น หรือจอภาพอื่น เครื่องคำนวณแสดงผลเป็นภาพ graphics และเครื่องตรวจวัดหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในแบบ digital เพื่อการเรียนในห้องปฏิบัติการ (5)

หลักฐานพิสูจน์ประสิทธิภาพ

การที่จะประเมินว่าโครงการคอมพิวเตอร์แบบ laptop หรือเทคโนโลยีอื่นใดจะมีประสิทธิภาพเพียงไรนั้น เราจำต้องทราบเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนว่าจะให้บรรลุถึงเรื่องอะไรระดับใด และต้องรู้ว่าจะต้องการผลลัพธ์แบบใดด้วย เราควรต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติและคุณภาพของรูปแบบโครงการที่ออกแบบไว้ ต้องทราบรายละเอียดในภาคปฏิบัติงานจริงด้วย เมื่อทราบทั้งหมดนี้แล้วจึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ดีขึ้นว่าโครงการได้ผลหรือไม่ได้ผลประการใด (6)  การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องท้าทายและมีค่าใช้จ่ายสูง

รายงานผลการศึกษาในภาพกว้างที่ได้มาจากทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาพบว่าโครงการให้คอมพิวเตอร์เด็กนักเรียนใช้ในโรงเรียนช่วยเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีให้กับบรรดาครูและนักเรียนไปพร้อมๆกัน (7, 8) บางที่ก็พบเช่นในโครงการ World Links ซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารโลก และเป็นโครงการที่ทำอยู่ใน 26 ประเทศ ทักษะการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการศึกษาหาความรู้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนของโครงการคอมพิวเตอร์ laptop สำหรับนักเรียน (8)

งานวิจัยและการศึกษาเพื่อประเมินผลมีรายงานด้วยว่าโครงการ laptop สำหรับนักเรียนช่วยทำให้เด็กนักเรียนใส่ใจในการเรียนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญโดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ที่มีอัตราเด็กไม่อยากเรียนและออกจากโรงเรียนระดับมัธยมต้นกันมากขึ้น (7, 9) ผู้ร่วมโครงการมักตื่นต้วในการเข้าร่วมกิจกรรม 

ทั้งครู, นักเรียน, ผู้ปกครอง, และผู้บริหารการศึกษา (10, 11) ผลที่ได้ก็คือโครงการได้รักการสนับสนุนต่อไปอีกหลายปี 

ไม่เป็นที่แปลกใจอีกเช่นกันที่งานวิจัยพบว่าที่โรงเรียน เด็กนักเรียนจะชอบใช้คอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลความรู้สารพัดอย่างอยู่เสมอๆ นักเรียนบอกว่าได้ใช้เครื่องมือค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและแหล่งข้อมูลระบบ digital แหล่งอื่นๆด้วย ยังผลให้เด็กๆได้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (12)

มีหลักฐานเด่นชัด - โดยเฉพาะจากการศึกษาโครงการอื่นนอกเหนือไปจากโครงการคอมพิวเตอ์แบบ laptop - ยืนยันได้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาอย่างหลากหลายรูปแบบก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างในเรื่องการใช้โปรแกรมประมวลผลข้อความเอกสาร ก็พบว่าช่วยให้ทักษะการเขียนเรียบเรียงบทความต่างๆของเด็กนักเรียนดีขึ้น (13) แบบฝึกหัดบางอย่างช่วยเพิิ่มทักษะการเรียนรู้ข้อมูล (14) โปรแกรมห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แบบเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ก็เป็นเครื่องมือการเรียนที่บางทีอาจจะดีกว่าห้องปฏิบัติการทดลองจริงๆด้วยซ้ำไป (15) (มีบทความอื่นๆในนิตยสารฉบับนี้ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางอย่างที่กล่าวถึงด้วย)

ในบางกรณี มีหลักฐานบ่งบอกว่าโครงการ laptop มีส่วนเสริมสำคัญทำให้นักเรียนประสพผลสำเร็จทางวิชาการ โรงเรียนรัฐแห่งหนึงในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ซึงมีนักเรียนจำนวนมากจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาเรื่องนี้ (16) โดยพบว่าในชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์นักเรียนโรงเรียนนี้ใช้ประโยชน์จากหนังสือตำราเรียนแบบอิเล็คทรอนิกส์ที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้ด้วย (interactive electronic textbook) ตำราอิเล็คทรอนิกส์ที่ว่านี้ใส่มาให้แต่แรกในเครื่อง laptop ที่นักเรียนใช้ มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงในการทดลองทางฟิสิกส์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดยนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล เด็กๆได้เรียนรู้การใช้โปรแกรมเสมือนจริงและโปรแกรม digital อื่นๆ เพื่อค้นและรวบรวมข้อมูล ในปี 2007-2008, 30% ของนักเรียนชั้นปีที่ 12 (เท่ากับ ม.6) ที่โคโลราโดนี้ได้ผ่านการคัดเลือกไปทดสอบวิชาฟิสิกส์ขั้นสูง เทียบกับนักเรียนทั่วประเทศที่โดยเฉลียได้ไปสอบเพียง 3% ผลปรากฏว่าเด็กที่นี่สอบได้คะแนนสูงกว่าหรือเท่าๆกับเกณฑ์มาตรฐานระดับชาติ ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ได้ชื่อว่าผลิตนักเรียนผู้มีขีดความสามารถในวิชาฟิสิกส์ได้สูงมากเป็นพิเศษ โรงเรียนมิได้อ้างเหมาเอาว่าเป็นเพราะคอมพิวเตอร์ laptop อย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้เกิดผลดีดังที่กล่าวมา - ครูที่โรงเรียนนี้ก็ดีเยี่ยม แล้วยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่มีส่วนร่วมสร้างนักเรียนคุณภาพ รวมทั้งแหล่งข้อมูลความรู้แบบ digital ที่ใช้ในการสอนวิชาฟิสิกส์ - แต่ข้อมูลก็บ่งชี้ว่ามีการใช้คอมพิวเตอร์แบบ laptop อย่างเต็มขีดเพื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้นผู้บริหารการศึกษา, ครู, และนักเรียน ยังเชื่ออีกด้วยว่าโครงการ laptop 1:1 (1 เครื่อง : 1 คน) มีส่วนส่งเสริมให้โรงเรียนประสพความสำเร็จ ตำราเรียนแบบอีเล็คทรอนิกส์ที่กล่าวถึงนี้จะมีบทเรียนที่มีภาพยนตร์หรือภาพเคลื่อนไหว ทำให้นักเรียนสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ ถาม-ตอบ-โต้-ไป-มา ระหว่างตัวนักเรียนเองกับตำราได้ นักเรียนก็สามารถเรียนรู้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่างๆได้ ไม่ใช่เพียงแค่อ่านหนังสือทางเดียว บรรดาครูก็ต้องใช้ประโยชน์จากโปรแกรมบทเรียนทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ExamView เพื่อตรวจดูว่านักเรียนทำได้ดีขนาดไหนในการตอบคำถามตามแบบประเมิน จากนั้นครูก็เอาข้อมูลที่ได้ไปจัดแบ่งกลุ่มนักเรียน หลายครั้งในปีหนึ่งๆครูจะดูข้อมูลที่ได้จาก ExamView เพื่อค้นหาว่านักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบมาตรฐานการศึกษาของชาติเพียงไร การปรับดุลยภาพในเป้าหมายการศึกษาของโรงเรียน, วัสดุการสอน, การบ้านสำหรับนักเรียน, การฝึกอบรมตัวครูเองในการทำหน้าที่ผู้สอน, และเทคนิคการประเมินผล ล้วนแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากหากใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนที่มีการคิดไว้อย่างลึกซึ้ง ออกแบบและประสานการทำงานไว้ก่อนอย่างเป็นระบบ.

การศึกษางานวิจัย 30 เรื่อง ที่ศึกษาโครงการ 1:1 พบว่ามีโรงเรียนไม่มากที่ออกแบบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนไว้อย่างละเอียดรอบคอบ แต่สำหรับการวิจัยที่วัดเฉพาะผลสัมฤทธิ์ในการเรียนก็พบความคงมั่นของข้อมูลที่ว่าคอมพิวเตอร์มีผลดีต่อทักษะการเขียนของนักเรียน (7) อย่างไรก็ตามจากศึกษาวิจัยที่ว่านี้ก็พบว่า สำหรับโรงเรียนจำนวนมากในประเทศที่ร่ำรวย (7) ข้อมูลยืนยันว่ามีน้อยมากที่โครงการ laptop 1:1 จะส่งผลดีทางวิชาการด้านอื่นๆ (นอกเหนือไปจากผลดีด้านทักษะการเขียน) โดยเฉพาะงานวิจัยที่ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาก็ยิ่งพบน้อยมากยิ่งขึ้นไปอีกจนแทบจะไม่ปรากฏผลดีด้านอื่นจากการใช้คอมพิวเตอร์ laptop 1:1 ในโรงเรียน ในการศึกษาที่ถือว่าน่าจะเป็นการศึกษาทำนองนี้เป็นครั้งแรก กล่าวคือไม่นานมานี้รัฐบาลแคนาดาให้ทุนสนับสนุนการศึกษาและการประเมินผลโครงการนำร่อง 1:1 ในอาร์เจนตินา, คอสตาริกา, อูรุกวัย, และโคลอมเบีย (www.idrc.ca/en/ev-129437-201_104122-1-IDRC_ADM_INFO.html) ขณะเดียวกันก็กำลังมีการศึกษาที่แปลกมากในรัฐเท็กซัส สหรัฐฯ เพราะกำหนดเวลาศึกษาไว้นานถึง 4 ปี การศึกษาระยาวนี้เปรียบเทียบกว่า 20 โรงเรียนที่มีโครงการ laptop แถมยังศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มโรงเรียนที่ไม่มีโครงการคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนใช้เลย (12) โครงการศึกษาวิจัยระยาวนี้ใช้เงินงบประมาณหลายล้านดอลล่าร์ หลังจากศึกษาไปได้ 3 ปี นักวิจับพบผลกระทบทางบวกในการใช้ laptop: ด้านทักษะความรอบรู้การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, เพิ่มความสนใจในหมู่นักเรียนและครูในระบบการเรียนการสอนที่ถือนักเรียนเป็นศูนย์กลาง, ลดเรื่องการลงโทษนักเรียนที่ขาดระเบียบวินัยไปด้วย, และครูให้ความร่วมมือประสานงานการเรียนการสอนเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม, โดยทั่วไปไม่พบว่ามีผลบวกอะไรมากนักในต่อคะแนนทดสอบวิชาทักษะการอ่านและการเขียน ส่วนผลบวกต่อวิชาคณิตศาสตร์ก็น้อยมาก.

งานวิจัยเชิงนโยบายในหลายประเทศพบว่าความยากลำบากหลักๆอยู่ที่ว่าการสอนส่วนใหญ่ไปเน้นที่ทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ และการให้ท่องจำข้อมูลที่ค้นมาได้ ส่วนที่สอนกันน้อยก็คือการสอนให้ใช้ความคิดที่ซับซ้อนกว่าและการสอนให้นักเรียนเป็นนักคิดที่ยืดหยุ่นคล่องตัว (17-20) ผู้กำหนดนโยบายจำนวนมากหวังว่าการริเริ่มแนะนำให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์จะนำไปสู่การสอนที่ดีขึ้น แต่ว่าการศึกษาที่รัฐเท็กซัสกลับพบว่าการมีหรือไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้มีผลกระทบน้อยหรือไม่มีผลกระทบเลยต่อการท้าทายทางสติปัญญาในบทเรียนของครูผู้สอน 

งานวิจัยที่เท็กซัสสรุปว่าการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ตามบทเรียนในชั้นเรียนทั้งหลายนั้นล้มเหลวในกระบวนการท้าทายสติปัญญาของนักเรียน

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการเพียงแต่จะใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนนั้นไม่เป็นการเพียงพอที่จะไปเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน หรือจะไปเปลี่ยนธรรมชาติของการสอน อย่างน้อยที่สุด, เป้าหมายการเรียน, หลักสูตร, ยุทธศาสตร์การสอน, และระบบการประเมิน ทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นก็พบว่าการใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนก็มักใช้กันไม่เต็มประสิทธิภาพของเครื่อง (21-23) ผู้นำจำต้องกำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน ให้ครูและผู้บริหารการศึกษาทราบว่าจะใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างไร; ต้องให้มีและให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ในระบบ digital แหล่งอื่นๆอย่างเหมาะสม (นอกเหนือจากที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้);   การพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพต้องทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ; การสนับสนุนทางเทคนิคต้องพร้อมสรรพ, เรื่องระบบเครือข่าย, เครื่องพิมพ์, โปรแกรมงานเรียนงานสอน, และอุปกรณ์ประกอบอีกหลายชนิด; ผู้นำท้องถิ่น, รวมถึงอาจารย์ใหญ่, หัวหน้าครู, บุคคลทั้งหลายที่กล่าวมานี้จำต้องได้รับการฝึกฝนอบรม สนับสนุน (ให้ทำงานและใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ)  ตัวอย่างเช่นที่พบในการศึกษาในหลายแห่งทั่วประเทศว่าขีดความสามารถของครูในการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งปริมาณการฝึกอบรมที่ได้รับจะเชื่อมโยงกับปริมาณการใช้เทคโลโลยีการสอน (24)

ค่าใช้จ่าย / ราคาที่พอซื้อได้

ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นการท้าทายมากเพียงไร ความสนใจในโครง laptop ก็มีทีท่าว่าจะเติบโตเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะคอมพิวเตอร์แบบ laptop รุ่นใหม่มีราคาถูกลง รวมถึงรุ่น OLPC XO, Intel Classmate, Asus Eee PC, และรุ่นอื่นๆ ไม่ช้าไม่นาน สักวันหนึ่งก็คงจะมีเครื่อง laptop ราคาเพียง $100 แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีใครทำให้ถูกลงได้ขนาดนั้นก็ตาม ค่าติดตั้งระบบเครือข่ายส่งข้อมูลไร้สายก็ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ไม่ว่าราคาเทคโนโลยีจะเป็นเท่าไร การลงทุนในโครงการคอมพิวเตอร์ laptop สำหรับนักเรียน ก็ยังถือว่ายังต้องใช้เงินมากอยู่หากจะให้โครงการมีประสิทธิภาพ ไม่นานมานี้รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดงบประมาณ AU$1,200 ล้าน (39,643 ล้านบาท) เพื่อโครงการเทคโนโลยีการเรียนการสอน 

ในสหรัฐอเมริกาเฉพาะโครงการระดับชาติเพียงโครงการเดียวที่เรียกชื่อว่า the E-Rate Program ก็ใช้เงินถึงประมาณ US$20,000 ล้าน (630,200 ล้านบาท) นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา โครงการนี้ช่วยเชื่อมต่อทุกโรงเรียนให้เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ทั่วถ้วนทุกหนแห่ง (5) 

แต่ว่าค่าใช้จ่ายในโครงการ laptop นั้นมีมากกว่าค่าซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าเชื่อมต่อกับเครื่อข่าย โรงเรียนควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเป็นเจ้าของเครื่อง (Total Cost of Ownership - TCO) ซึ่งรวมถึงค่าฝึกอบรมครูและผู้บริหารการศึกษา; ค่าบริการทางเทคนิค; ค่าโปรแกรม; ค่าซ่อมบำรุงเปลี่ยนอุปกรณ์เมื่อเสื่อมคุณภาพ, หมดอายุ, หรือเสีย; ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ในสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายทางตรงและทางอ้อมสำหรับโครงการ 1:1 ต่อผู้ใช้คอมพิวเอตร์ 1 คน รวมกว่า $1,000 (31,510 บาท) ต่อปี (www.classroomtco.org/gartner_intro.html). แม้ในโลกกำลังพัฒนาซึ่งมีค่าแรงถูกกว่า ค่าใช้จ่ายก็ตกประมาณคนละกว่า $400 (12,604 บาท) ต่อปี (25) ตาราง 1 แสดงให้เห็นว่าเฉพาะค่าเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเท่ากับ 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่ค่าการฝึกอบรม ค่าบริการต่างๆ รวมแล้วมากกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด.

อนาคตโครงการ Laptop

คอมพิวเตอร์นั้นมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเทคโนโลยีการศึกษาอื่นๆที่ใช้กันอยู่ในโรงเรียน เพราะเป็นเครื่องที่ใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ 

ใช้คอมพิวเตอร์เป็นห้องสมุดก็ได้, 

เป็นเครื่องมือหรือแบบปฏิบัติการทดลองค้นหาปรากฏการณ์ที่มองไม่เห็นก็ได้, 

เป็นทั้งเครื่องมือสื่อสาร, 

เป็นทั้งระบบเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่น (เช่นกล้องดูดาว หรือฐานข้อมูลในระบบออนไลน์), 

เป็นเครื่องมือสำหรับนักเรียนได้ใช้สร้างองค์ความรู้ส่งต่อไปในรูปแบบสื่อต่างๆ, และอื่นๆ. 

ความยืดหยุ่นเอนกประสงค์ทำให้คอมพิวเตอร์ทรงพลังมากเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษา แต่ก็หมายความด้วยว่าการสร้างการศึกษาอย่างมีคุณภาพนั้นไม่อาจเป็นไปได้เพียงแค่จะให้ใช้คอมพิวเตอร์กันมากๆแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ผู้กำหนดนโยบาย และสาธารณชนจำต้องมีความชัดเจนในเรื่องเป้าหมายทางการศึกษา และเป้าหมายของสังคม หากจะมีโครงการจัดให้ครูและนักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์ laptop (ซึ่งต่างกันไปตามความจำเป็นและจุดมุ่งประสงค์ของแต่ละท้องถิ่น) ก็ต้องทำให้มั่นใจว่าองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญมีพร้อมในอันที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ความเชื่อของผู้นำทางการเมืองที่ว่าเคร่ืองมือการเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญนั้นเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ความเชื่อที่ว่านี้ก็ชอบด้วยเหตุผล มีผลการวิจัยสนับสนุนแน่นอน และการสังเกตุจากประสบการณ์การใช้อินเตอร์เน็ตทุกวันก็สนับสนุนเหตุผลดังกล่าวชัดแจ้งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าเป้าหมายของโครงการ laptop นั้นเพื่อเปลี่ยนเป้าหมายของการศึกษา; เพื่อปรับปรุงแบบแผนการเรียน, การสอน, และการประเมิน; และเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นดีขึ้นกว่าเดิม; ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำอะไรอีกหลายอย่างมากกว่าการเพียงจัดทำระบบโครงสร้างทางเทคนิคอุปกรณ์และจัดหาคอมพิวเตอร์ laptop มาให้นักเรียนและครูใช้ในโรงเรียน 

ต้องมีการปรับหรุงหลักสูตร, 

พัฒนาระบบการประเมินให้ดีขึ้น, 

ครูต้องเรียนรู้แนวทางใหม่ๆในการสอน, 

โรงเรียนก็ต้องสนับสนุนครูเมื่อครูใช้แนวทางการสอนแบบใหม่ 

จากงานวิจัยในกว่า 20 ประเทศ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology - ICT) เพื่อการศึกษา มีงานวิจัยจากประเทศหนึ่งแนะนำว่า:

“นโยบายการจัดการแบบองค์รวมที่มีความสมดุลย์ โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้
อย่างหลากหลาย จะเป็นโครงการที่ประสพความสำเร็จมากกว่านโยบายที่มุ่งไปทางใดทางหนึ่งเพียง
ทางเดียวหรือสองทางเท่านั้น” (24)

ชาติที่ยากจนกว่าจะพบกับทางเลือกที่เป็นการท้าทายโดยเฉพาะ เพราะการติดตั้งระบบเทคโนโลยีขนาดใหญ่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ระบบโรงเรียนของประเทศที่ยากจนนั้นจะต้องพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่เด็กๆที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเป็นจำนวนมาก (28) ในเวลาเดียวกันก็ต้องการที่ปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้ทันสมัยอย่างพลิกผันฉับพลัน ผู้กำหนดนโยบายในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ เช่นในอินเดีย และบางส่วนในละตินอเมริกา เชื่อว่า แม้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญสำหรับโรงเรียน แทนที่จะจัดงบประมาณสำหรับโครงการ 1:1 กลับใช้ยุทธศาสตร์ทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมกว่า คือการทำโครงการอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ทำโครงการทดลองนำร่องหลายๆรูปแบบเพื่อที่จะค้นหาว่าโครงการแบบไหนจะมีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุดตามความจำเป็นในประเทศของตน (29) 

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอุปกรณ์เพื่อการศึกษาที่นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่มีความสำคัญเพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่ได้รับการออกแบบไว้อย่างละเอียดรอบคอบและเชื่อมโยงกระทบหลายด้านหลายส่วนของกระบวนการศึกษา (30) 

โครงการคอมพิวเตอร์ laptop สำหรับโรงเรียนที่มิได้คำนึงอย่างลึกซึ้งถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการ
ศึกษา โครงการนั้นก็มิใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนใดหรือประเทศใด.

--------------------------------------------------------------------
Author Affiliations

  1. 1 The Concord Consortium, 25 Love Lane, Concord, MA 01742, USA. E-mail: [email protected]
  2. 2 Center for Children and Technology, Education Development Center, 96 Morton Street (seventh floor), New York, NY 10014, USA. E-mail: [email protected]
--------------------------------------------------------------------
อ้างอิง และ เชิงอรรถ 
References and Notes


  1. ↵ B. Johnstone, Never Mind the Laptops: Kids, Computers, and the Transformation of Learning (iUniverse, Incorporated, New York, 2003).
  2. ↵ M. F. Astiz, A. W. Wiseman, D. P. Baker, Comp. Educ. Rev. 46, 66 (2002).
  3. ↵ F. Reimers, in Perspectivas Sobre la Reforma Educativa, J. C. Navarro et al., Eds. (Inter-American Development Bank, Washington, DC, 2000).
  4. ↵ NComputing Incorporated, Republic of Macedonia First Nation to Provide a Computer for Every Student (Case Study, Education) (NComputing, Redwood City, CA, 2008).
  5. ↵ A. A. Zucker, Transforming Schools with Technology: How Smart Use of Digital Tools Helps Achieve Six Key Education Goals (Harvard Education Press, Cambridge, MA, 2008).
  6. ↵ A. A. Zucker, J. Educ. Comput. Res. 30, 371 (2004).
  7. ↵ W. R. Penuel, J. Res. Technol. Educ. 38, 329 (2006).
  8. ↵ R. Kozma et al., Int. J. Educ. Dev. 24, 361 (2004).
  9. ↵ Comenius Center, Informe Final—Enlaces Portátil: Abriendo Camino para un País Digital (Centro para el desarrollo de innovaciones en educación, Universidad de Santiago, Santiago, Chile, 2008).
  10. ↵ D. Davis et al., Henrico County Public Schools iBook Survey Report (Development Associates, Incorporated, Arlington, VA, 2005).
  11. ↵ D. L. Silvernail, D. M. M. Lane, The Impact of Maine's One-to-One Laptop Program on Middle School Teachers and Students: Phase One Summary Evidence (Maine Education Policy Research Institute, Gorham, ME, 2004).
  12. ↵ K. Shapley et al., Evaluation of the Texas Technology Immersion Pilot: Outcomes for the Third Year (2006-07) (Texas Center for Educational Research, Austin, TX, 2007).
  13. ↵ A. Goldberg, M. Russell, A. Cook, J. Technol. Learn. Assess. 2, article no. 1 (2003).
  14. ↵ J. A. Kulik, Effects of Using Instructional Technology in Elementary and Secondary Schools: What Controlled Evaluation Studies Say (SRI International, Arlington, VA, 2003).
  15. ↵ N. D. Finkelstein et al., Phys. Rev. Spec. Top. 1, 1 (2005).
  16. ↵ A. A. Zucker, S. T. Hug, J. Sci. Educ. Technol. 17, 586 (2008).
  17. ↵ R. C. Pianta et al., Science 315, 1795 (2007).
  18. PROBE team, Public Report on Basic Education in India (Oxford Univ. Press, New Delhi, 1999). 
  19. United Nations Development Program, Arab Human Development Report: Building a Knowledge Society (United Nations, New York, 2004). 
  20. ↵ G. Ferrer, G. Valverde, J. M. Esquivel Alfaro, Aspectos del Curriculum Intencional en América Latina: Revisión de Tendencias Contemporáneas en Curriculum, Indicadores de Logros, Estándares y Otros Instrumentos [PREAL (Partnership for Educational Revitalization in the Americas), Washington, DC, 2002].
  21. ↵ L. Cuban, H. Kirkpatrick, C. Peck, Am. Educ. Res. J. 38, 813 (2001).
  22. M. Durando et al., eMature Schools in Europe (European Schoolnet, Brussels, 2007). 
  23. ↵ Harnessing Technology Review 2007: Progress and Impact of Technology in Education (British Educational Communications and Technology Agency, Coventry, UK, 2007), p. 80.
  24. ↵ N. Law, W. J. Pelgrum, T. Plomp, Eds., Pedagogy and ICT Use in Schools Around the World: Findings from the IEA SITES 2006 Study (Springer and Comparative Education Research Centre, University of Hong Kong, Hong Kong, 2008).
  25. ↵ Vital Wave Consulting, Affordable Computing for Schools in Developing Countries: A Total Cost of Ownership (TCO) Model for Education Officials (Vital Wave Consulting, Palo Alto, CA, 2008).
  26. ↵ Programme for International Assessment, Are Students Ready for a Technology-Rich World? What PISA Studies Tell Us [Organization for Economic Cooperation and Development, Paris, 2005].
  27. ↵ A. A. Zucker, R. Mcghee, A Study of One-to-One Computer Use in Mathematics and Science Instruction at the Secondary Level in Henrico County Public Schools (SRI International, Menlo Park, CA, 2005).
  28. ↵ EFA Global Monitoring Report Team, Education for All by 2015: Will We Make It? (United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization, Paris, 2008).
  29. ↵ H. Azinian, Un Mapa del Debate Sobre la Iniciativa Un Computador por Niño en América Latina y el Caribe (International Development Research Centre, Montevideo, Uruguay, 2007).
  30. ↵ P. Hepp et al., Technology in Schools: Education, ICT and the Knowledge Society (World Bank, Washington, DC, 2004).
  31. ↵ Vital Wave Consulting, Affordable Computing for Schools in Developing Countries: A Total Cost of Ownership (TCO) Model for Education Officials (Vital Wave Consulting, Palo Alto, CA, 2008), p. 14.
The editors suggest the following Related Resources on Science sites

            Links > Science Magazine (ต้องเป็นสมาชิกจึงจะเข้าถึงบทความเต็มบทได้)

  • Full Text Full Text (PDF)
  • http://www.sciencemag.org/content/323/5910/82.full.pdf
  • http://www.sciencemag.org/content/323/5910/82.full


สมเกียรติ อ่อนวิมล
ผู้แปล
21 สิงหาคม 2555

หมายเหตุ:
วิจารณ์โดยเปรียบเทียบกับบทความ ใน SCIENCE และดูมาตรฐาน ASEAN ICT Masterplan พบว่า:
1. โครงการของรัฐบาลไทยในการจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เด็กนักเรียน โดยหลักการถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นไปตามกระแสโลกาภิวัตน์การปฏิรูปการศึกษาในโลก หากแต่เป็นโครงการที่ไม่สมบูรณ์และขาดการศึกษาวิจัยอย่างถ่องแท้ก่อนการจัดซื้อ แต่เป็นข้อด๊ที่เป็นเพียงโครงการนำร่อง ทดลองเพียงบางแห่ง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในการทดลองกับเด็กชั้น ป.1 จะไม่มากและไม่กว้างขวาง
2. โครงการของไทยเป็นโครงการทดลองกับเด็กชั้น ป.1 เพียงบางกลุ่มบางโรงเรียน ไม่ใช่โครงการสำหรับทุกโรงเรียน ขณะที่ประเทศที่ระบุในงานวิจัยจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนระดับประถมปลาย
3. ไทยใช้เครื่อง Tablet PC ขนาดเล็ก คุณภาพต่ำไม่สามารถใช้งานเอนกประสงค์ได้ คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนในโลกจะเป็นเครื่องคุณภาพสูงระดับ laptop หรือ desktop 
4. ประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งประเทศที่ร่ำรวยไม่ซื้อคอมพิวเตอร์ให้เป็นสมบัติของนักเรียน แต่ซื้อเป็นทรัพย์สินของโรงเรียน ไว้ใช้ที่โรงเรียนโดยให้นักเรียนใช้เป็นส่วนตัวของตนเองในอัตรา ตั้งแต่ 7:1, 5:1, 2:1, 1:1 ตามความพร้อมด้านงบประมาณ ออสเตรเลียใช้อัตรา 2:1 และตั้งเป้าหมายในอนาคตไว้เป็น 1:1 1 คน ต่อ 1 เครื่อง
5. แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan กำหนดไว้แล้วว่าให้ทุกโรงเรียนในอาเซียนมีอินเตอร์เนตความเร็วสูงใช้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกันภายในปี 2015  ประเทศอินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซียจัดการตาม ASEAN ICT Masterplan เสร็จแล้ว โรงเรียนทุกแห่งในอินโดนีเซียได้ใช้อินเตอร์ความเร็วสูงและระบบ WiFi ฟรี โดยรัฐบาลอินโดนีเซียจัดการและจ่ายให้ตลอดไป ส่วนอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในระดับท้องถิ่น
6. รัฐบาลไทยยังไม่มีแผนจัดหาคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนทุกคนทุกโรงเรียนทั่วแระเทศ และเท่าที่ทราบโดยตรงจากรัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศฯ รัฐบาลมีนโยบายสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน WiFi Internet ความเร็วสูงให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศ แต่ยังทำได้ไม่ถึงทุกโรงเรียน รัฐบาลไม่เคยประกาศว่าจะทำเสร็จเมื่อไร รัฐมนตรีอนุดิษฐ์เคยบอกกับผม (สมเกียรติ อ่อนวิมล) ว่าทราบเรื่องแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan ดี 
7. นโยบายจัดหาคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนเป็นนโยบายที่ดี ต้องสนับสนุน แต่รัฐบาลควรจัดหาคอมพิวเตอร์ไว้ที่โรงเรียน ทุกโรงเรียน ให้นักเรียนทุกคนมีคอมพิวเตอร์คุณภาพสูงใช้แบบ 1:1  และต้องทำโครงสร้างพื้นฐานทั้ง hardwares และ softwares ให้พร้อมทุกระดับชั้นและทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
8. รัฐบาล และรัฐมนตรีฯศึกษาธิการควรทราบว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียบนการสอนและการปฏิรูปการศึกษาในสมัยใหม่นี้ เรื่องอื่นที่สำคัญยิ่งกว่ามีอีกมากเช่นเป้าหมายการศึกษา หลักสูตร การประเมิน ครู ผู้บริหารการศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง ห้องสมุด การอ่านหนังสือ และเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบอื่นๆที่ยังมีอีกมาก เช่นแหล่งความรู้แบบ DIgital, E-books ฯลฯ
9. รัฐบาลต้องทำงานหนักกว่าที่ทำอยู่อีกมาก เพื่อเตรียมเด็กและเยาชนไทยให้มีขีดความสามารถในระดับมาตรฐานโลกและมาตรฐานอาเซียน ณ วันนี้ยังไม่พบว่ารัฐบาลยังมิได้แถลงต่อประชาชนเลยว่ามีนโยบายและแผนงานอย่างไรในการเตรียมการศึกษาไทยสูปประชาคมอาเซียน
10. บทความจากงานวิจัย โดย SCIENCE จะช่วยให้กระทรวงศึกษาธิการไทยรู้วิธีแก้ไขปัญหาและจะสามารถจัดการปฏิรูปเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทยได้อย่างบรรลุเป้าหมายรวดเร็วขึ้น ผมเคยแจกบทความนี้ให้กับรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศแล้วในงานบรรยายเมื่อปี 2554
11. ผมจะเฝ้ารอคำแถลงจากรัฐบาลเรื่องการศึกษาไทยสู่ประชาคมอาเซียน จะรอทุกวัน และพร้อมที่จะช่วยเหลือร่วมกับรัฐบาลในวิถีทางที่ผมพอมีขีดความสามารถทำได้

สมเกียรติ อ่อนวิมล
21 สิงหาคม 2555


Picture
1 Comment
<<Previous
Forward>>
    Picture
    AUTHOR
    สมเกียรติ อ่อนวิมล
    Somkiat Onwimon

    (1948 - 20xx)
    ​lives in Thailand, studied political science and international relations from The University of Delhi (B.A. & M.A.) and The University of Pennsylvania (Ph.D.). He lectured at Chulalongkorn University, and later became a television news 'n documentary reporter-producer-anchorman. He was elected a member of Thailand's 1997 Constitution Drafting Assembly, elected a senator in 2000, and appointed member of the National  Legislative Assembly in 2007. Now at his Pak Chong home, he lives a quiet country life of reading, writing, and thinking.

    Archives

    June 2018
    May 2017
    March 2017
    February 2017
    January 2017
    November 2016
    March 2016
    March 2015
    January 2015
    December 2014

    Categories

    All
    Culture
    Education
    Journalism
    Life Style
    Personal
    Politics

THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION