พระเจ้าอยู่หัว กับ Michael Todd และ ภาพยนตร์เรื่อง “80 วันรอบโลก” (1956) King Bhumibol And Michael Todd’s “Around the World in Eighty Days” (1956) ในปี ค.ศ. 1873 Jules Verne นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตงานวรรณกรรมอมตะเรื่อง “Around the World in Eighty Days” หรือ “รอบโลกในแปดสิบวัน” ต่อมาในปี 1956 Michael Todd ได้นำเรื่องจากหนังสือ “Around the World in Eighty Days” มาผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in 80 Days” เมื่อมาฉายในประเทศไทยใช้ชื่อภาษาษาไทยว่า “80 วันรอบโลก” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงสูงสุดให้กับ Mike Todd ในฐานะผู้ควบคุมการสร้าง (Producer) ภาพยนตร์ Hollywood (Todd มีชื่อเสียงมากอยู่แล้วจากงานละครเวที Broadway และงานพัฒนาเทคโนโลยีภาพยนตร์จอกว้างระบบ “Todd-AO”) ในปี 1957 ภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in Eighty Days” ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Oscar มากถึง 8 ประเภท และในที่สุดก็ได้รับ 5 รางวัล Oscar คือ : 1. Best Picture, 1957 - Michael Todd, producer/ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 1957
เนื้อเรื่องในหนังสือกับในภาพยนตร์มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ด้วยธรรมชาติของการสร้างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงตื่นตาตื่นใจจากภาพ.แสง.สี.เสียง.และศิลปะการสร้างภาพยนตร์ที่เปิดกว้างต่อจินตนาการแบบไร้กรอบจำกัด ที่ถูกวิจารณ์มากคือการเพิ่มเติมฉากการเดินทางจากกรุงปารีสโดยลูกบอลลูนบรรจุก๊าซฮีเลี่ยม ซึ่งในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางโดยบอลลูน เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 18 ช่วงที่เขียนหนังสือนั้นยังไม่มีความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่ Michael Todd ก็อธิบายถึงเหตุผลของการดัดแปลงปรับแก้ทำให้ภาพยนตร์มีสีสันตระการตาสนุกสนานเป็นได้ทั้งภาพยนตร์ผจญภัยสนุกสนานและเป็นได้ทั้งภาพยนตร์สารคดีแบบยิ่งใหญ่นำเที่ยวประเทศต่างๆรอบโลกด้วยการถ่ายทำ ณ สถานที่จริงยิ่งใหญ่โอฬาร แสดงนำโดย David Niven, Shirley MacLaine, Robert Newton, และ Cantinflas พร้อมด้วยนักแสดงที่มีชื่อเสียงของ Hollywood กว่า 40 คน (Frank Sinatra, George Raft, Marlene Dietrich, Noel Coward, Robert Morley, etc.) รับบทแสดงผ่านฉากสั้นๆที่เรียกว่า “cameo appearances” ร่วมเข้าฉากแสดงกันมากกว่า 40 คน และตัวประกอบอีกหลายหมื่นคน ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของเราพสกนิกรชาวไทยก็คือ Mike Todd ดัดแปลงเรื่องในบทภาพยนตร์ให้ Phileas Fogg (David Niven) พระเอกในเรื่องเดินทางรอบโลกโดยผ่านกรุงเทพมหานคร ทั้งๆที่ในเรื่องต้นฉบับในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางผ่านประเทศไทยเลย
ในต้นฉบับหนังสือของ Jules Verne Fogg จะเดินทางไปทางทิศตะวันออก จากลอนดอน ผ่านคลอง Suez -- Bombay -- Calcutta -- ช่องแคบสุมาตรา -- Singapore -- Hong Kong -- Yokohama -- San Francisco -- New York -- London แต่ในภาพยนตร์ Mike Todd ตัดส่วนที่ผ่านสิงคโปร์ออกไปแล้วเขียนบทใหม่ให้เดินทางผ่านกรุงเทพฯ ภาพทั้งหมดในภาพยนตร์ที่ฉายในโรงใช้เวลา 12 วินาที แต่ใช้เวลาซ้อมนานสี่เดือน (นักศึกษาวิชาภาพยนตร์อาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้ และอาจพบต้นฉบับฟิล์มที่่ถ่ายทั้งหมดก็ได้ หากพบดังที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง) ที่ Mike Todd ทำเช่นนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยนั่นเองที่ทรงมี Mike Todd เป็นพระสหาย ทำให้ Mike Todd รักเมืองไทยและกรุงเทพมหานคร ฉากขบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ผ่านหน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ จึงโด่งดังไปทั่วโลกจนทุกวันนี้ กาลต่อมาหากภาพยนตร์ Hollywood จะถ่ายฉากเมืองไทยก็มักจะนิยมถ่ายภาพประปรางค์วัดอรุณ เรียกได้ว่าเป็นภาพเด่นของสถานที่สำคัญของโลกภาพหนึ่ง >>> |
ใน DVD ชุดพิเศษ เรื่อง 80 Days Around the World หากดูภาพยนตร์แบบที่มีเสียงบรรยายวิจารณ์การถ่ายทำจะพบหลักฐานดังนี้: Disc 1 Scene Selection: เสียงภาพยนตร์ Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ Disc 1 Special Features / Commentary by BBC Radio’s Brian Sibley: เสียงบรรยายเบื้องหลังงาน Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ “ As the Rangoon glides past Bangkok, prominent among the pictures is the royal barge of Thailand. 155-feet long and complete with a solid gold throne and maned by 70 oarsmen. It was said that the crew rehearsed for 4 months for this 12 seconds appearance. This glittering prop was provided by Thailand’s King Bhumihol. Back in 1949, the then Prince Bhumibol, an accomplished jazz musician has tried his hand at song writing using the pseudo name of Bhumibol. Todd read a newspaper item about him and got in touched with the Prince. Within days Todd received a package of six songs which he used in his Broadway burlesque review “Peep Show”. “Blue Night” (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ) was considered the best of the Prince’s tunes which Todd placed as the first-act finale of Billy Eckstine. Bhumibol insisted that if there was ever anything he could do to reciprocate Todd must call on him. So, of course, Todd did.” “เมื่อเรือย่างกุ้งเคลื่อนตัวผ่านบางกอก ก็เห็นภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์โดดเด่นตระการตาท่ามกลางความงดงามโดยรอบ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีความยาวถึง 155 ฟุต 70 ฝีพาย พระราชอาสน์ทำด้วยทองคำ ว่ากันว่าฝีพายใช้เวลาซ้อมถึงสี่เดือนสำหรับเข้าฉาก12 วินาทีในภาพยนตร์ ขบวนเรืออันตระการตานี้พระเจ้าอยู่หังภูมิพลแห่งประเทศไทยทรงจัดให้. ย้อนหลังไปปี 1949 ครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเช้าชายภูมิพลนั้น พระองค์เป็นนักดนตรี jazz ผู้มีปรีชาแถมยั้งลองแต่งเพลงอีกโดยใช้พระนามแฝงว่า “ภูมิพล”. Todd ก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับพระองค์ในหนังสือพิมพ์แล้วติดต่อพระองคืไป หลังจากนั้นไม่กี่วัน Todd ก้ได้รับพัสดุไปรษณีย์กลับมาห่อหนึ่ง ภายในมีเพลงโดยเจ้าชายภูมิพลอยู่ 6 เพลง ซึ่ง Todd ได้นำไปใช้ประกอบละคอนระบำเปลื้อผ้าบนเวทีบรอดเวย์เรื่อง “Peep Show” เพลง Blue Night (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ)* ถือเป็นเพลงที่ดีที่สุดของพระองค์ ซึ่ง Todd ใช้ในองค์ที่หนึ่งของละคอนฉากสุดท้าย โดย Billy Eckstine. เจ้าชายภูมืพลทรงบอกว่าจะมีอะไรให้ช่วยก็ทรงยินดี ให้ Todd โทรมาได้เลย แล้ว Todd ก็ติดต่อกลับไป.” Disc 2 Around the World of Michael Todd (30:14 - 30:27) Mike Todd’s comment: “We shot in every country that we have shown around the World. My Friend the King of Siam loaned me a Royal Barge. He once wrote some songs for one of my cultural achievements, ‘Be Thrilled’ ” Mike Todd เล่า: “เราถ่ายทำในทุกประเทศรอบโลก ตามภาพที่เห็นในภาพยนตร์ พระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามเป็นเพื่อนผม พระองค์ทรงให้ยืมเรือพระที่นั่ง พระองค์เคยพระราชนิพนธ์เพลงหลายเพลงที่ผมใช้ใน “Be Thrilled”** อันเป็นความสำเร็จในงานวัฒนธรรมของผม” [หมายเหตุ * และ ** เป็นข้อความที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความถูกต้องชัดเจน] ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ Thaivision 5 ธันวาคม 2558 |