ธุรกิจหลอกลวงต้มตุ๋น “เชือดหมู”
รายงานขึ้นปก The Economist SCAM INC “Pig Butchering” 8 February 2025 [https://www.economist.com/weeklyedition/2025-02-08] * [ 1 ] ความนำ หนังสือพิมพ์ The Economist ของอังกฤษ ทำรายงานพิเศษ ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2025 เกี่ยวกับเรื่องกลุ่มธุรกิจเครือข่ายระดับโลกเป็นขบวนการหลอกลวงต้มตุ๋นคนทั้งโลก ขนาดใหญ่โตกว้างไพศาล สร้างรายได้อันเป็นความเสียหายคิดเป็นเงินรวมกันโดยประมาณระหว่าง 5 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ถึง 1 ล้านล้านดอลล่าร์ กิจการผิดกฎหมายที่ข่าวสารสื่อมวลชนของไทยเรียกในความหมายแคบๆว่า “แก๊ง Call Center” แต่โดยความหมายและรูปแบบการทำงานที่แท้จริงนั้นใหญ่โตมโหฬารท้าทายอำนาจรัฐต่างๆยิ่งกว่ากลุ่มแก๊งกลุ่มคนฉ้อฉลธรรมดาใดๆทั้งสิ้น หนังสือพิมพ์ The Economist ใช้เวลากว่าสองปีในการสืบเสาะค้นหาข้อมูล แล้วลงพิมพ์รายงานชุดพิเศษขึ้นปกนี้ในช่วงเวลาก่อนที่ทางการไทยจะปฏิบัติการปราบ “แก๊ง Call Center” ที่ K.K.Park ในย่าน Shwe Kokko เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า หรือ Myanmar ฝั่งแม่น้ำเมยตรงข้ามกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย ฝ่ายไทยจัดการกับพวกกระบวนการธุรกิจศูนย์หลอกลวงต้มตุ๋น หรือ “แก๊ง Call Center” ที่ว่านี้โดยการเพียงตัดไฟฟ้าและสัญญาณ internet ที่ไปจากฝั่งไทย แล้วสื่อมวลชนรายงานเสมือนว่าปราบพวกธุรกิจต้มตุ๋นนี้ได้แล้วจนแตกกระเจิดกระเจิง พนักงานที่ถูกหลอกลวงให้ร่วมขบวนการต้มตุ๋นถูกปล่อยตัวหรือช่วยเหลือออกมาได้นับร้อยคน นี่เป็นเพียงข่าวที่ผิวเผิน ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงเพียงส่วนย่อยเท่านั้น อ่านจากรายงานของ The Economist ที่ทำรายงานพิเศษนี้ล่วงหน้ามากว่าสองปี และตระเวณสืบค้นความจริงไปทั่วโลก ก็ต้องสรุปก่อนว่า ยังไม่มีใครหรือมีทางใดที่จะปราบขบวนต้มตุ๋นอันยิ่งใหญ่เหนืออำนาจรัฐใดๆนี้ไปได้อย่างราบคาบแน่แท้ ขบวนการหลอกลวงมนุษย์ต้มตุ๋นคนทั้งโลกนั้น ทำกันเป็นระบบ และแยกทำกันหลายกลุ่มหลายพวก ทำงานเป็นเสมือนเครือข่ายที่ระดมสรรพกำลังและเทคโนโลยี้ หลบซ่อนอยู่ในห้องเล็กๆของบ้านเช่าหรือห้องเช่าในโรงแรม ในบ้านทั้งหลัง ในอาคารสูงใหญ่ในเมือง สร้างเมืองทั้งเมืองเพื่อการต้มตุ๋น คุมอำนาจดุจอำนาจรัฐซ้อนรัฐ อยู่ทุกทวีปในโลก ต้องการเพียงหลอกล่อหาคนมาทำงาน กักตัวคนทำงานไว้ในอาคารไม่ปล่อยออกไปดูโลกภายนอก ต้องการเพียงกระแสไฟฟ้า และระบบ Internet คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ เท่านั้นก็เพียงพอ สามารถหลอกลวงต้นตุ๋นคนทั้งโลกได้ ไม่ว่าสถานที่ตั้ง หรือศูนย์บัญชาการ หรือ “Call Center” นั้นจะตั้งอยู่ที่ไหนบนแผนที่โลก สำหรับที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำเมย ฝั่งพม่า หากถูกปิดไป ทำงานไม่ได้ ก็หากระแสไฟฟ้าใหม่ และหาเครือข่าย internet ใหม่ บนดินไม่ได้ ก็ผ่านดาวเทียม ย้ายที่ตั้งฐานใหม่ไปที่ไหนก็ได้ เพราะไม่จำเป็นว่าตั้งที่ไหนแล้วจะต้องต้มตุ๋นหลอกลวงผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง หรือในประเทศที่ตั้งฐานปฏิบัติการเท่านั้น เทคโนโลยี internet นั้นไร้พรมแดน การฉ้อโกงหลอกลวงมนุษย์ด้วยกันนั้นก็ทำได้แบบไร้พรมแดนเช่นกัน สมมุติว่า K.K.Park ที่ Shwe Kokko จะถูกปิดไปได้ในที่สุด ซึ่งยังไม่พบว่าจะเป็นไปได้ แต่สมมุติว่าถูกปิดไปได้โดยการระเบิดทำลายที่ตั้งอาคารสถานที่ทั้งเมืองทิ้ง จนพินาศไป กลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติที่อื่นก็ยังทำงานต่อ และพวกที่อยู่เมียวดีหนีออกไป ก็สามารถไปตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่ไหนอีกก็ได้ ไปร่วมกับพวกอื่นที่กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ หรือในประเทศไทย หรือ แอฟริกาใต้ หรือที่ Dubai หรือที่ Mexico ก็ได้ทั้งสิ้น หนังสือพิมพ์ The Economist บอกว่า แม้เราเพียงเป็นคนธรรมดาๆ อยู่เฉยๆ ใช้ชีวิตตามปรกติ ไม่เกี่ยวข้องกับใครเลย สักวันหนึ่งก็อาจถูกแก๊งค์ต้มตุ๋นนี้มารบกวนหรือล่อลวงจนสิ้นเนื้อประดาตัวได้ ขอชาวโลกทุกคนจง “be humble” อย่าชล่าใจนึกว่าตัวเรานี้แน่ ฉลาดพอ ขอให้สงสัย หรือ “be suspicious” ในทุกสิ่งอย่างรอบตัวที่เป็นการสื่อสารถึงตัวเราผ่านระบบ online , social media, เทคโนโลยีการสื่อสารระบบ digital ที่เราเชื่อมโยงอยู่กันแทบทุกคนบนโลก ขอให้สงสัยทุกสิ่งอย่างรอบตัวไว้ให้ดีที่สุดก่อนอื่นใด The Economist ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2025 ทำรายงานเรื่องยาวอย่างละเอียด ในหน้าอาชญากรรมข้ามชาติ หรือ International Crime Section แบ่งเป็น 11 รายการ, คือ 3 ข้อเขียนบทความ กับอีก 8 รายการ podcasts :
4. รายงานข่าวเชิงวิเคราะห์ ประกอบเสียง แบบ Podcasts รวม 8 ตอน ตอนละประมาณ 36-47 นาที รวมเวลาทั้งสิ้นเกือบ 6 ชั่วโมง ดังนี้: 1. Pigs in a barrel / หมูในถัง: A small town in Kansas is left reeling after one of its best and brightest gets sucked in / เมืองเล็กๆในรัฐ Kansas ล้มจน เกือบไม่ ฟื้นหลังจากคนเก่งคนดีที่สุดของเมืองถูกต้มตุ๋นแบบไม่รู้ ตัว 2. Opportunity in a lifetime / โอกาสเดียวในชีวิต : The scammers are not who you think they are / พวกนักต้มตุ๋นไม่ใช่คนอย่างที่คุณคิด 3. The bottom line / ในที่สุดแล้วมันเป็นอย่างไร: Perks, recruitment, outsourcing and monthly landscaping budget: Welcome to Scam Inc. / ค่าตอบแทน การหาคนมา ทำงาน การจ้างคนอื่นนอกเครือข่าย งบประมาณตกแต่งภูมิทัศน์ : ขอต้อนรับท่านสู่บริษัทหลอกลวงต้มตุ๋น (ไม่) จำกัด 4. The Al Capone of China / เจ้าพ่อมาเฟียอัล คาโปน แห่งเมือง จีน : Chinese syndicates hone their scam tactics then expand abroad / เครือข่ายฉ้อโกงฝึกอบรมเรียนรู้ศาสตร์แห่ง การหลอกลวงต้มตุ๋น แล้วขยายกิจการสู่โลกนอกประเทศจีน 5. Scam state / รัฐต้มตุ๋นคดโกงหลอกลวง: What happens to a country when Scam Inc moves in? / เกิดอะไรขึ้นกับประเทศ ที่พวกหลอกลวงต้มตุ๋นเคลื่อนทัพเข้าประเทศนั้น? 6. Buckets of billions / เงินถุงเงินถังนับพันล้านหมื่นล้านแสน ล้าน : The money goes to some unexpectedly familiar places / เงินที่โกงมาเคลื่อนย้ายไปในแหล่งที่คุ้นเคยกันอย่าง คาดไม่ถึง 7. The Tsunami and the mop / การกวาดเช็ดคลื่นยักษ์ซึนามิ ด้วยผ้าเช็ดพื้น: Federal agencies are scrabbling to keep up, but one country is a step ahead / เจ้าหน้าที่รัฐวิ่งวุ่นเต็มกำลัง เพื่อไล่ตามพวกคนโกงให้ทัน แต่มีประเทศหนึ่งที่ทำงานล้ำหน้า กว่าใครเพื่อน 8. A humble approach / หนทางสู้แบบระมัดระวังตน: Back in Kansas, a reckoning and some answers / กลับมาที่ Kansas, ผงาดสู้กับความจริง และมีคำตอบบางประการ ก่อนที่จะไปกล่าวถึงรายละเอียดอันเป็นการเรียบเรียงรายงานพิเศษทั้งหมดจาก The Economist เป็นตอนๆไปในรายการ “ในบริบท ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล” นี้ ติดต่อกันไปรวม 11 ตอน ทุกเช้าวันศุกร์ บน YouTube ของ 96.5 FM Thinking Radio ของ อ.ส.ม.ท. นั้น ขอสรุปไว้เป็นเบื้องต้นก่อน ณ ตอนนี้ว่า : นี่ไม่ใช่เป็นเพียง “แก๊ง Call Center” ธรรมดาอย่างที่เราเรียกขานกันโดยสื่อมวลชนไทย - ในอดีต “call center” หมายถึงศูนย์ที่มีพนักงานรับโทรศัพท์จากเราเพื่อสั่งซื้อของ สั่งอาหาร สอบถ้ามข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ศูนย์นั้นจะอยู่มุมโลกไหนก็ได้ รอคำสั่งจากเราจากเมืองอะไรก็แล้วแต่ มาวันนี้ “Call Center”ของเหล่าร้ายอาชญากรจะเป็นฝ่าย call จะเป็นฝ่ายโทรหาเราผู้เป็นเหยื่อเป้าหมายก่อน หลอกล่อให้หลงเชื่อไว้วางใจ อาจจะใช้เวลาสร้างความเป็นมิตรนานเป็นเดือนเป็นปี แล้วหลอกลวงล้วงเงินจากบัญชีธนาคารของเรา พวกฉ้อโกงเหล่านี้ ไม่ใช่กลุ่มแก๊งค์คนโกงเล็กๆน้อย เดี่ยวๆแก๊งเดียวที่เดียว หรือเป็นต่างแก๊งค์ต่างกลุ่มที่ไม่ยึดโยงกัน หากแต่เป็นกลุ่มนักธุรกิจลงทุนโกงอย่างมีระบบบริหารจัดการ มีหลักวิชาการและกระบวนการสร้างขบวนการ แต่ต้นจนได้เงินก้อนสุดท้ายจากผู้ถูกหลอกจนหมดตัว เป็นกิจการใหญ่ มีเครือข่ายกว้างขวาง มีเทคโนโลยีที่คนตามจับอาจตามไม่ทัน ปิดที่หนึ่งหนีไปเปิดอีกที่หนึ่ง ปฏิบัติการในพื้นที่ ที่ชุมชนก็ไม่ระแวงสงสัยได้ ไม่ใช่กิจการที่มีระบควบคุมแบบมาเฟีย เจ้าพ่อใหญ่บนสุดคนเดียว สั่งการลงมายังส่วนล่าง หากแต่เป็นกิจการขนาดใหญ่ข้ามชาติข้ามแผ่นดินรัฐ เชื่อมโยงขนานกันไปหลายๆกลุ่ม เจ้าหน้าที่รัฐจะตามปราบให้หมดสิ้นฝ่ายเดียวมิอาจทำได้ จะปราบเพียงตัดกระแสไฟฟ้า และตัดระบบ internet เท่านั้นแล้วหวังว่าจบสิ้นภาระกิจแล้ว ก็ไม่มีทาง ประเทศใดประเทศหนึ่งจะปราบกลุ่มอาชญากรนี้แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ร่วมมือกับชาติอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศจีน ต้นกำเนิด “แก๊งค์อาชญากรรมข้าม” ชาตินี้ ย่อมไม่ได้ หากคนทุกคนจะระมัดระวังตัว ไม่เข้าระบบ social media หรือสื่อสาร online, ไม่ใช้ระบบฝากจ่ายเงินผ่านระบบ digital ของธนาคารพาณิชย์, เอาเงินใส่ไหฝั่งดินหลังบ้าน ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี ถ้ายังใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถืออยู่ มันอาจจะโอดครวญชวนท่านให้ไปขุดเอาเงินในไหหลังบ้านมาซื้อเงิน “crypto currency” แล้วมันก็เงียบหายไป เอาเงิน crypto ที่โกงไปได้นั้นเข้าฟอกในบ่อนคาสิโนที่ไหนก็ได้ กลายเป็นเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ตามสะดวกสบาย สืบหาที่มาที่ไปไม่ได้ หากบ่อนคาสิโนนั้นตั้งอยู่ในประเทศใกล้กับศูนย์ต้มตุ๋นฉ้อโกงนั้นก็ยิ่งสะดวก ฟอกเงินออกมาซื้อบ้านและที่ดินทรัพย์สิน หรืออาจจะซื้อรัฐมนตรีทั้งคณะ ซื้อเหมารัฐบาลหรือนักการเมืองทั้งสภาก็อาจทำได้ โลกแห่งการฉ้อโกงนี้ซับซ้อนยิ่งนัก หากเจ้าหน้าที่รัฐร่วมโกงด้วย ยิ่งสับสนซับซ้อนหนักเข้าไปอีก ณ วันนี้ ยังไม่มีทางออกทางแก้ทางใดเด็ดขาด แต่ก็พอมีแนวทางป้องกันแก้ไข ตามดูจากรายงานของ The Economist ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2025 ต่อไป [ 2 ] Leaders บทความนำเรื่อง “The vast and sophisticated global enterprise that is Scam Inc: Online fraud leaves nobody safe” [ธุรกิจระดับโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลและละเอียดซับซ้อน เรียกว่าเป็น “Scam Inc” เป็นกิจการบริษัทหลอกลวงต้มตุ๋นโกงกัน Online ที่ไม่เว้นใครให้ปลอดภัยแม้แต่คนเดียว”] Edgar พบกับ Rita ผ่าน LinkedIn app เขาทำงานกับบริษัท software ที่ Canada ส่วนเธออยู่สิงคโปร์ ทำงานบริษัทที่ปรึกษาขนาดใหญ่ ทั้งสองเป็นเพียงเพื่อนกัน คุยกันผ่านระบบ online บ่อยๆ เท่านั้น อยู่มาวันหนึ่ง Rita เสนอจะสอนการค้าเงิน crypto ให้กับ Edgar และ Rita ก็ช่วยสอนจน Edgar ได้กำไรมาก แล้วก็เพิ่มวงเงินค้าขาย crypto มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเมื่อ Edgar เห็นกำไรมากดีพอสมควรที่จะหยุดได้แล้ว Edgar ก็จะขอเบิกเงินคืนทั้งหมดแล้วจะเลิกเล่นเงิน crypto ไปเลย แต่ก็พบว่า website ที่เขาซื้อขาย crypto นั้นเป็น web ปลอม ไม่มีเงินจริงๆให้ถอนคืน เขาสูญเงินของตัวองไป $78,000 โดยถูก Rita หลอก ที่จริง Rita เป็นสาวชาวฟิลิปปินส์ถูกขบวนการค้ามนุษย์หลอกมาทำงานที่ศูนย์หลอกลวงต้มตุ๋น (call center) ในประเทศเมียนมาร์ (พม่า) (K.K. Park, Chwe Kokko, เมียวดี) ในรูปแบบการถูกหลอกต้มตุ๋นหรือ scam ที่ต่างกัน ทั้ง Edgar และ Rita ก็ล้วนเป็นเหยื่อของ “การเชือดหมู” หรือ “pig-butchering” ทั้งคู่ มันเป็นขบวนการหรืออุตสหกรรมต้มตุ๋นหลอกลวงระดับโลกที่หลอกหรือขโมยเอาเงินไปเป็นมูลค่ากว่า $500,000 ล้าน ในแต่ละปี จากเหยื่อผู้รับเคราะห์กรรมรอบโลก รายงานเรื่อง “Scam Inc” ของ The Economist ทำเป็น podcast รวม 8 ตอน ได้สอบสวนสืบสวนอาชญากรรม และ อาชญากร พบเรื่องอันน่าเศร้าสลดที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้นกับผู้เป็นเหยื่อมากมาย โดยพวกอาชญากรเหล่านี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบอาชญากรรมข้ามชาติที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและพลิกรูปแบบไปจากอาชญากรรมข้ามชาติที่เรียกว่า “organised crime” หรือการทำอาชญากรรมแบบมีระบบบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ผ่านมาหลายทศวรรษแล้ว “Pig-butchering” หรือ กระบวนการ “เชือดหมู”มาจากคำศัพท์แสลงภาษาจีนว่า “sha zhu pan” (ชาจือปัน) ขั้นแรกพวกนักต้มตุ๋นเขาจะสร้างเล้าหมูให้ก่อน ด้วยการทำ web ปลอม ใส่ข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆปลอมๆในสื่อ social media ปลอมอีก จากนั้นเขาก็จะเฟ้นหาและเลือกหมูตัวเป้าหมายที่จะเป็นเหยื่อ ขุนหมูให้อ้วนด้วยการชวนพูดคุยสร้างความเป็นเพื่อนให้คุ้นเคยกันนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน ให้ใว้เนื้อเชื่อใจกันได้ โดยการพูดคุย online เท่านั้น ไม่มีการพบเจอหรือสัมผัสตัวตนจริงๆของคนขุนหมู แล้วจึงเริ่มเชือด โดยการชักชวนลงทุน มันจะเชือดหมูแบบให้หมดสิ้นทุกหยาดหยดของทรัพย์สินเงินทอง บีบคั้น “every last drop of juice” รีดมันหมูเลือดหมูให้แห้งสนิทจากกระเป๋าหรือบัญชีเงินในธนาคารของหมูเหยื่อ จากครอบครัว และจากเพื่อนๆของหมูที่ถูกเชือดหรือเหยื่อต้มตุ๋นรายนั้น อุตสาหกรรมนี้นั้นกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในสิงคโปร์ การต้มตุ๋นหลอกลวงกลายเป็นคดีอาญาที่พบเห็นมากมายทั่วไปเหมือนเรื่องธรรมดา องค์การสหประชาชาติกล่าวว่าในปี 2023 อุตสาหกรรมต้มตุ๋นนี้จ้างคนร่วมทำงานราว 250,000 คน เพียงเฉพาะในกัมพูชา และพม่า มีอีกสำนักวิจัยหนึ่งที่ประเมินว่าตัวเลขคนทำงานในอุตาสกรรมนี้อาจจะสูงถึง 1.5 ล้านคน เป็น 6 เท่าของตัวเลขจากสหประชาชาติ รายงานเรื่อง Scam Inc. ของ The Economist บอกเล่าเรื่องราวของชายคนหนึ่งในรัฐ Minnesota / USA ที่สูญเงินไป $9.2 ล้าน กับเรื่องของผู้บริหารธนาคารเพื่อเกษตรกรในเมืองชนบทเล็กๆในรัฐ Kansas จนในที่สุดธนาคารนั้นต้องล้มไปเพราะเขาซึ่งอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารธนาคารแอบถอนเงินของธนาคารไปลงทุนในเงิน crypto ทั้งเงินตัวเองและเงินของธนาคารสูญไป $47 ล้าน คนที่หลอกเขามาทางระบบสื่อสาร online เป็นผู้หญิงเรียกชื่อตัวเองว่า Bella ชื่อปลอม ตัวปลอม ข้อมูลปลอมหมด นายธนาคารในรัฐ Kansas ผู้นี้ยังทำงานเป็นนักเทศน์นอกเวลาให้กับโบสถ์ในชุมชนด้วย ชุมชนเล็กๆ ไม่มีเงินจ้างพระนักเทศน์เต็มเวลา เลยจ้างนายธนาคารคนดีที่ชาวบ้านลูกค้าธนาคารเชื่อถือไว้ใจให้ดูแลโบสถ์และงานบุญต่างๆด้วย ฝ่ายโบสถ์เองก็ถูกเขาแอบถอนเงินไปค้า crypto อีกเกือบหมดเกลี้ยงบัญชีที่ชาวบ้านทำบุญสะสมมายาวนานปี การหลอกลวงต้มตุ๋น online แบบที่ว่านี้ เทียบขนาดพื้นที่และค่าความเสียหายก็เทียบกันได้กับขบวนการค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ เว้นแต่ว่ามันจะเลวร้ายยิ่งกว่ามากในหลายๆทาง : 1. เหตุผลประการหนึ่ง ที่ทุกๆคนในโลกกลายเป็นเป้าหมายที่จะถูกหลอกลวงได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ทุกคนอยู่เฉยๆ ดำเนินชีวิตเป็นคนปรกติธรรมดาๆเท่านั้นเอง แล้วสักวันหนึ่งเผลอๆก็จะโดนเองโดยไม่รู้ตัว ในบรรดาเหยื่อหรือผู้รับเคราะห์กรรมจำนวนมาก จะมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคสมอง จบปริญญาเอก (Ph. D.), มีแม้กระทั่งญาติพี่น้องของเจ้าหน้าหน่วยสืบสวนพิเศษ FBI อเมริกัน ผู้ที่มีหน้าที่สอนสวนคดี scam ต้มตุ๋น พวกนี้อยู่อีกด้วย นักต้มตุ๋น หรือ scammers จะได้รับคู่มือการต้มตุ๋นหลอกลวงอย่างเป็นระบบ ทำให้คนอย่างนางสาว Rita จาก Philippines มีคู่มือปฏิบัติการเป็นขั้นเป็นตอนว่าด้วยเรื่องการสร้างความคุ้นเคยไว้เนื้อเชื่อใจกับเหยื่อ จนสามารถจูงใจล่อลวงสั่งการให้ทำอะไรได้ตามที่จะชักจูงไปอย่างไม่คิดสงสัยเอะใจแม้น้อยนิด โดยการเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของเหยื่อ มันจะเป็นเรื่องผิดหากเราจะคิดเพียงว่าการแสร้งสร้างสัมพันธ์สวาทหรืออารมณ์รักใคร่ online จะเป็นลูกไม้ลูกเดียวหรือตะขอเกี่ยวเหยื่อแบบเดียว ผิดถนัด พวก scammers มันจะเล่นกันความอ่อนไหวเปราะบางของความเป็นมนุษย์สารพัดรูปแบบ เช่น ความกลัว, ควาเหงา, ความโลภ, ความโศรกเศร้าสูญเสีย, และความเซ็งในชีวิต 2. อีกเหตุผลหนึ่งที่ว่าการต้มตุ๋นหลอกลวงนั้นเลวร้ายกว่าขบวนการค้ายาเสพย์ติดก็คือ คนพวกนี้อยู่พ้นเงื้อมมือของกฎหมาย ในโลกแห่งความเป็นจริงทางกายภาค เรื่องอาคารสถานที่ทำงาน พวกนี้ทำงานในกลุ่มอาคารที่ปิด ดำเนินกระบวนงานผลิตหลอกลวงเป็นเหมือนสายพานการผลิตในโรงงาน ทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นลักษณะผสมระหว่างเรือนจำที่คุมขังนักโทษหรือคนทำงาน กับโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองเล็กๆแบบชุมชนโรงงานเต็มตัวของพวกเขาเอง ตัวตึกรามอาคารทั้งหมดรวมกันเป็นเสมือนเมืองย่อยๆมีทุกสิ่งสำหรับคนที่เข้ามาทำงานเชือดเหยื่อ online มีตลาด super market, บ่อนการพนัน หรือ casino, ซ่องโสเภณี, ห้องทรมานพนักงานที่แตกแถวหรือมีปัญหา ผลกำไรส่วนหนึ่งส่งไปหล่อเลี้ยงนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อการคุ้มครอง ในประเทศ Philippines มีหญิงชาวจีนคนหนึ่งชื่อ Alice Guo สร้างตัวจนชาวบ้านนึกว่าเป็นคนฟิลิปปินส์แท้ๆ เลือกตั้งได้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆ แล้วเธอก็สร้างกลุ่มอาคารแอบซ่อนทำศูนย์ต้มตุ๋นหรือ scammer รวมอาคารทั้งหมด 30 หลัง มีเงินผ่านมือเธอในบัญชีธนาคารกว่า $400 ล้าน ระหว่างปี 2019-2024 ในกัมพูชา, ลาว, และ พม่า อาชญากรรมทาง internet หรือ cyber crime เป็นรายได้หลักในระบบเศรษฐกิจของชาติทั้งสาม รัฐที่ร่วมกระบวนการต้มตุ๋นหลอกหลวงแบบนี้ทืำให้ยากยิ่งนักที่จะจัดการกำจัดให้หมดสิ้น ยากยิ่งกว่าในรัฐที่ร่วมมีส่วนรู้เห็นกับขบวนการค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติมากนัก 3. นักต้มตุ๋นหรือ scammers พวกนี้หลบหลีกล่องหนหายตัวในโลก online ได้อย่างแยบยล พวกคนจีนในกลุ่มแก๊งเหล่านี้ทำงานเป็นเครือข่ายโยงใยกันในแนวขนาน มีหลายกลุ่ม เจ้านายหรือหัวหน้าแยกกันหลายคน ไม่ใช่เป็นแนวตั้งกลุ่มเดียวจากบนสุดสั่งการลงมายังฐานล่างแบบพวกมาเฟียดั้งเดิมที่โลกรู้จักและเข้าใจกันมายาวนาน เขาทำงานร่วมกันแบบ syndicates หรือเครือข่าย แทนที่จะป็นแบบ hierarchical หรือแบบแนวตั้ง พวกเขาทำงานในระบบเศรษฐกิจใต้ดิน ทำกันหลายกลุ่ม ประสาน เชื่อมโยง แลกเปลี่ยน หรือแบ่งงาน รับช่วงงานกันทำ กลุ่มหนึ่งอาจชำนาญเรื่องหาเป้า หาเหยื่อ อีกกลุ่มหนึ่งจะสอนเรื่องการลงทุนเงิน crypto digital กลุ่มที่สามรับงานฟอกเงิน crypto ที่โกงมาได้ ผ่านกระบวนการฟอกเงินในบ่อนคาสิโนในประเทศใกล้เคียงหรือห่างไกล หรือการลงทุนอย่างอื่นในประเทศที่ฟอกเงินสะดวก ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ในชื่อพลเมืองผู้มีสิทธิ์ตามสัญชาติ เป็นต้น ได้เงินสดออกมาใช้ได้จนตามหาต้นทางไม่เจอ การใช้ระบบ digital มาหลอกล่อผู้คนที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ผู้มีความเปราะบางอ่อนไหวนี้ เรียกว่า “digital fracking” สามารถขยายขอบเขตความเสียหายทำลายล้างทรัพย์สินผู้คนในโลกได้อย่างไม่มีขอบเขตหรือเพดานจำกัด! 4. เหตุผลสุดท้ายที่นักต้มตุ๋นหลอกหลวง หรือ scammers พวกนี้ทำงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพเลวร้ายยิ่งกว่าการค้ายาเสพย์ติดข้ามโลกก็คือเรื่องเทคโนโลยีที่คนพวกนี้มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมการฉ้อโกงต้มตุ๋นอย่างก้าวหน้ายิ่งนัก พวกแก๊งฉ้อโกงเหล่านี้จะมี โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือ application ที่ก้าวหน้าเจาะเข้าไปกวาดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อจากเครื่องโทรศัพท์มือถือของทุกคนได้, เจาะข้อมูลการซื้อขาย, บัญชี online, ข้อมูลการซื้อขายหรือทำธุรกรรมในตลาดหุ้นตลาดทุนของเหยื่อ, ข้อมูล website domain, ข้อมูล Artificial Intelligence (AI) software, เครื่องมือทรมานคนซึ่งอาจเป็นพนักงานที่กระด้างกระเดื่อง หรือทรยศ หรือหลบหนี เงินตราในระบบ crypto currencey ก็ช่วยให้ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินอย่างรวดเร็ว ไร้หลักฐาน ไร้ชื่อ ไร้ร่องรอยในโลกเงินตราที่เป็นจริง ไม่ว่าเราจะเห็นว่ามันมีคุณประโยชน์อย่างไรในเรื่อง crypto currency หากมีการผ่อนปรนการควบคุมเงิน crypto ในสหรัฐอเมริหา หรือที่ประเทศอื่นๆ พวกคนร้ายนักต้มตุ๋ม หลอกลวง หรือ scammers ทั้งหลายก็จะได้โอกาสใหม่ๆ มีประเทศใหม่ๆให้เข้าไปหลอกลวงได้อีกมากหลากหลายช่องทาง Artificial Intelligence หรือ AI ที่กำลังพัฒนาเติบโตอย่างทรงประสิทธิภาพอยู่ในเวลานี้จะช่วยให้พวก scammmers ทำงานได้ดี มีผลกำไรได้พุ่งพรวด สร้างนวัตกรรมการคดโกงแบบใหม่ๆได้รวดเร็ว ในทุกวันนี้ ขอเวลาเพียง 15 วินาทีก็เพียงพอแล้วที่ AI จะสามารถเลียนแบบเสียงคนคนนั้นเอาไปทำเป็นเสียงหลอกลวงคนอื่นได้ ที่ Hong Kong มีบริษัทวิศวกรรมของอังกฤษบริษัทหนึ่งชื่อบริษัท Arup ถูก video call คุยทางภาพบนจอ หลอกให้จ่ายเงินถึง $25 ล้าน เป็น “deepfakes” ภาพหน้าและเสียงพนักงานหลายคนในบริษัทที่ AI ปลอมจนเหมือนตัวจริง รวมทั้งหน้าและเสียงปลอมของฝ่ายการเงินของบริษัทด้วย โดยการใช้ AI ปลอม หรือ deepfake ภาพหน้า และเสียง บริการแปลภาษา ข้อมูลมหาศาลที่ขโมยมาใช้ หรือซื้อจากตลาดใต้ดิน พวกนักต้มตุ๋น หรือ scammers จะทำมาหาโกงกินได้หลายพื้นที่ และหาเหยื่อได้มากขึ้นกว่าเดิม พวกเขาสามารถจะใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลที่เรียกว่า analytics เพื่อค้นหาชุดหรือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของเหล่าเศรษฐี คนรวยที่มีปัญหา ว้าเหว่ เหงาเศร้า เซ็ง หรือมีปัญหาส่วนตัว เหล่านี้คือเป้าหมาย คือเหยื่อที่เป็นเสมือนหมูอ้วนที่รอวันถูกเชือดด้วยเทคโนโลยีและโดยนักต้มตุ๋นผู้แยบยลโหดเหี้ยม online การทุจริตคดโกงหลอกลวงแบบ online นั้นยากที่จะถูกกำจัดให้สิ้นไปเหมือนการค้ายาเสพย์ติดที่พอจะจัดการได้ง่ายกว่า เพราะการจัดการควบคุมหรือกำจัดขบวนการค้ายาเสพย์ติดนั้นทำได้ด้วยการออกกฎหมาย หากออกกฏระเบียบ และมีระบบการลงโทษได้ แต่พวกหลอกลวงต้มตุ๋น online นั้นไม่อยู่ภายใต้กระบวนทางกฎหมายใดๆของใครหรือของรัฐใดทั้งสิ้น ไม่มีทางเลย การศึกษาอาจช่วยได้บ้าง ในประเทศสิงคโปร์ ป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์เตือนภัย scammer พร้อมคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่รัฐปรากฏให้เห็นทั่วเมือง จะเดินทางไปไหนทางรถไฟฟ้า ขนส่งมวล ไปที่ไหนก็จะเจอแผ่นภาพ โปสเตอร์ billboard โฆษณาประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้ความรู้พวกนี้ รวมทั้งบนหน้าจอมือถือทุกครั้งที่ประชาชนใช้บริการธุรกิจ ธุรกรรม online อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่รัฐอื่นที่เกี่ยวข้องก็ต้องทำงานกันอย่างคุมเข้ม สัตย์ซื่อ ไม่เฉื่อยชาจนราวกับว่าเห็นทุกอย่างเป็นปรกติ การต่อสู้กับพวก scammers นั้น เจ้าหน้าที่รัฐจำต้องสร้างเครือข่ายของตนเอง ทุกวันนี้กองกำลังตำรวจส่วนใหญ่ในหลายๆประเทศที่ขยันทำงานต่อสู้กับขบวนการค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติกันอย่างเข้มข้นเต็มกำลังมักจะมองพวก scammers ว่าเป็นเพียงพวกน่ารำคาญ กวนประสาทอยู่เรื่อยๆเท่านั้น ไม่เห็นความสำคัญเร่งด่วนอะไรกัน แถมมองว่าพวกที่เป็นเหยื่อถูกหลอกก็เป็นพวกโง่ๆ โลภ เห็นแก่ได้ เท่านั้นเอง อันที่จริงแล้วพวกเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นควรจะร่วมมือกับธนาคาร, ระบบแลกเปลี่ยนเงิน crypto, ผู้ให้บริการ internet, บริษัทโทรคมนาคม, เวที social media ทั้งหลาย, และ บริษัทค้าขาย online หรือ e-commerce รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งศูนย์กลางประสานงานใหญ่เป็นหัวใจของการทำงานร่วมกันระหว่างตำรวจ กับ ธนาคาร และบริษัท e-commerce มีอำนาจจัดการปิดบัญชี หรือหยุดการเคลื่อนไหวของบัญชีได้ทันทีที่เห็นการเคลื่อนย้ายเงินข้ามบัญชีแบบผิดสังเกต เพราะพวก scammers มักจะโยกย้ายถ่ายโอนเงินที่โกงมาเป็นก้อนใหญ่ๆมากๆในช่วงสั้นๆ แยกกระจายต่อไปเป็นเงิน crypto ในอีกหลายร้อยหลายพันบัญชีในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน หนทางช่วย “หมู” ให้พ้นจากการถูก “เชือด” นั้น ประเทศต่างๆต้องทำงานร่วมกันแบบข้ามพรมแดน เวลาที่คนร้ายย้ายเงินข้ามบัญชี ย้ายคนข้ามพรมแดน ผ่านเขตแดนของหลากหลายประเทศ หลายระบบกฎหมาย และหลายอาณาจักรการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น กฎหมายในโลก และเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆตามคนร้ายไม่ทัน คนร้ายส่วนมากมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จับคนร้ายมากมายนักร้อยนับพันทุกปี แต่ก็ไม่หมด ไม่มีประเทศไหนจะรู้จักและเข้าใจพวก scammers ชาวจีนได้ดีไปกว่ารัฐบาลจีน ณ เวลานี้ ที่ทั้งสหรัฐอเมริกา และ จีนกำลังเผชิญหน้ากันสารพัดเรื่อง มีเรื่อง scammer นักต้มตุ๋นนี้แหละที่ทั้งสองมหาอำนาจควรที่จะร่วมมือกันได้เพื่อประโยชน์ของชาวโลกโดยรวม [ 3 ] Briefing บทความย่อ Online scams may already be as big a scourge as illegal drugs. And they are growing fast การต้มตุ๋นหลอกลวง online อาจจะมีขนาดกว้างใหญ่ไพศาลเทียบเท่ากับกระบวนการค้ายาเสพย์ติดไปแล้ว และมันยังเติบโตต่อไป รายงานจากเมือง Elkhart และ Manila * ในฐานะที่เป็น CEO หรือผู้หัวหน้าบริหารของธนาคารขนาดเล็กในรัฐ Kansas เป็นอดีตประธานสมาคมธนาคารแห่งรัฐ Kansas (Kansas Bankers Association) และเป็นอดีตกรรมการสมาคมธนาคารอเมริกัน (American Bankers Association) นาย Shane Hanes รู้ดีในเรื่องการหลอกลวงต้มตุ๋น online ในฐานะที่ตัวเองก็เป็นคนรักครอบครัว และรับงานเสริมช่วยเป็นนักเทศน์และผู้ดูแลกิจการโบสถ์ในชุมชน เขาไม่ใช่คนประเภทจะทำอะไรๆแบบบุ่มบ่ามขาดสติยั้งคิด ในฐานะที่เป็นนักลงทุนผู้ชาญฉลาด เขาไม่มีความจำเป็นจะต้องไปสนใจในเรื่องแผนการลงทุนแบบรวยเร็ว อันที่จริงเขาก็รวยจากการลงทุนค้าเงินระบบ crypto currencies อยู่แล้ว ทว่าเขาก็มีปัญหามากหลายเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการเอาเงินกำไรที่เขามีอยู่ในบัญชีในเอเชียกลับออกมาใช้ มีเรื่องการทำเอกสารสารพันรายละเอียดที่เขาว่าจำต้องใช้เงินอีกจำนวนหนึ่งในการผ่านเอกสารถอนเงิน crytocurrencies มูลค่าหลายล้านดอลล่าร์ออกมาเข้าบัญชีธนาคารใน America เพียงช่วงเวลา 6 เดือน Mr. Hanes ได้โอนเงินดอลล่าร์ไปเข้าบัญชีไม่ปรากฏชื่อเป็นบัญชีนิรนามหลายบัญชี ไม่เพียงจะเป็นเงินจากบัญชีส่วนตัวของเขาเอง เงินที่เก็บออมไว้เป็นค่าเล่าเรียนค่าเทอมลูกสาวคนหนึ่งที่เรียนระดับมหาวิทยาลัยอยู่ก็ด้วย แต่เขายังไปเอาเงินจากบัญชีกองทุนสำรองของโบสถ์ชุมชนที่เขาดูแลอยู่ออกไปลงทุนใน crypto ด้วย แถมยังแอบเบิกเงินของธนาคารที่เขาบริหารอยู่ คือธนาคาร Heartland Tri-States Bank ถอนออกไปถึง $47 ล้าน เมื่อเรื่องแดงขึ้น ธนาคารของเขาเสียหายรุนแรงจนเป็น 1 ใน 5 ธนาคารใน America ที่ล้มไปในปี 2023 กระนั้นก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนคดีพิเศษ FBI เข้ามาทำคดีนี้และจับ Mr. Hanes ด้วยข้อหาโกงเงินธนาคารที่ตัวเองเป็นผู้บริหารสูงสุด Mr. Hanes ก็ยังงุนงงและต้องต่อสู้กับตัวเองให้ยอมรับว่าเขานั้นเป็นเหยื่อของการหลอกลวงต้มตุ๋น online ไปได้อย่างไร ปัจจุบันนี้ Mr. Hanes ถูกจำคุกอยู่ โทษจำคุก 24 ปี ผู้จัดการธนาคาร เทียบกับใครต่อใครหลายๆคน มาถูกหลอกลวงต้มตุ๋นแบบนี้กันได้อย่างไร ต้มกันจนธนาคารล้ม มันสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการต้มตุ๋น online นี้ มันมีปฏิบัติการที่ลึกล้ำ ละเอียอ่อนซ่อนเงื่อนซับซ้อนและส่งผล กระทบทำลายผู้คนในโลกอย่างกว้างขวางยิ่งนัก วันเวลาในอดีตที่เราเคยได้รับ E-Mail จากเจ้าชายแห่ง Nigeria ส่งมาหลอกล่อเราอย่างอดทนไม่ละวาง วันเวลาแห่ง E-mail หลอกลวงแบบนั้นมันหมดไปแล้ว รายงานของ The Economist เป็น Podcast 8 ตอน ตั้งชื่อเรื่องว่า “Scam Inc” อธิบายว่ากระบวนการต้มตุ๋นหลอกลวง online นั้นมันมั่งคั่งร่ำรวยและทรงอิทธิพลถึงขนาดจะทำให้รัฐบาลประเทศใดประเทศหนึ่งถูกซื้อได้จนตกเป็นส่วนหนึ่งใต้อำนาจเงินของพวกนักต้มตุ๋นได้ทั้งรัฐบาล แล้วแปลงประเทศนั้นให้กลายเป็นรัฐหลอกลวงต้มตุ๋น หรือ “cyber-scam states” ได้แบบเดียวกับพวกรัฐค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ หรือ “naco-states” ปฏิบัติการของพวก cyber-scam นี้มีอยู่ทั่วทั้งโลก ตั้งแต่ Myanmar ไปจนถึง Mexico ยอดเงินที่โกงกันไปได้ปีหนึ่งๆราวๆ $500,000 ล้าน - ตัวเลขตามการคำนวนของ Martin Pubrick ผู้ชำนาญการในเรื่องกระบวนการอาชญากรจีนแบบมีการบริหารจัดการเป็นระบบเป็นมืออาชีพ ที่เรียกว่า “organised crime” - Martin Pubrick เคยทำงานเป็นตำรวจ Hong Kong นาน 11 ปี ข้อมูลนี้ทำให้กระบวนต้มตุ๋น online ขึ้นเทียบชั้นได้กับกระบวนการค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติเลยทีเดียว มันเป็นกระบวนการทำธุรกิจหรืออุตสาหกรรมการก่ออาชญากรรมระดับโลก จะต่างไปจากการค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติก็คือเรื่องที่เราไม่สามารถตรวจจับได้ที่ด่านศุลกากรเหมือนยาเสพย์ติด พวกเขาไม่ต้องการเครื่องมืออะไรมากไปกว่าโทรศัพท์มือถือและการเชื่อมสัญญาน internet เท่านั้นเอง พวกเขาก็สามารถทำให้ทุกคนในโลกตกเป็นเป้าเป็นเหยื่อการต้มตุ๋น เป็นเหมือนหมูถูกเชือด เลย จากการชวนคุย แล้วต่อไปถึงกระเป๋าสตางค์ การต้มตุ๋นหลอกลวงที่ Mr. Hanes หลงกลตกหลุมพรางนั้นรู้จักกันในชื่อ “pig-butchering” แปลว่า “การเชือดหมู” เหยื่อที่จะเป็นเป้าถูกหลอกต้ม หรือ “หมูที่จะถูกเชือด” จะถูกค้นหาจนเจอตัวในโลก online, หรือ social media, หรือ application หาคู่รัก เมื่อชี้เป้าเจอตัวเหยื่อ หรือ “หมู” แล้ว ก็ขุนหมูให้อ้วนพี (“fattened up”) โดยคนร้ายที่ทำงานเป็นคนขุนหมูด้วยการติดต่อพูดคุยด้วยทางเสียง หรือทางข้อความ (message) online นานเป็นสัปดาห์หรือหลายๆสัปดาห์ หรือหลายเดือน จนเกิดความคุ้นเคยน้ำเสียง ไว้ใจ อบอุ่นใจ เชื่อใจกัน แม้จะไม่เคยเห็นภาพเห็นหน้าหรือพบตัวจริงๆ พวกต้มตุ๋นเหล่านี้จะแสดงตนผ่านการคุยเป็นเสมือนคนที่จะคบเป็นเพื่อนจริงๆได้ หรือจะเป็นเพื่อนร่วมธุรกิจลงทุนกันได้ หรืออาจจะมีน้ำเสียงเป็นมิตร อบอุ่น เห็นใจ จนอาจจะเกิดอารมณ์รักใคร่ก็ได้ อาจจินตนาการเป็นคู่ขาหรือคนรักในจินตนาการก็ได้ จากนั้นพวกต้มตุ๋นเหล่านี้ ที่ต่อไปนี้จะเรียกว่า พวก “scammers” ก็จะใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจที่สร้างสมมานาน เรียกว่าจน “หมูอ้วนพี” ดีแล้ว จึงเชือด หรือ “slaughter” หมูอ้วนอย่างเลือดเย็น ด้วยการแนะนำหรือชวนลงทุน เสร็จสมใจแล้วก็หายตัวหายวับไปกับเงินที่หลอกลงทุนไป (absconding with the money) ตามหาตัว online ที่ไหนก็ไม่เจอ ในกรณีของ Mr. Hanes แห่งธนาคารเล็กๆชื่อ Hartland Tri-State Bank เมือง Elkhart รัฐ Kansas นั้น ตัวคน scammer ที่ต้มตุ๋นนั้นอ้างว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนอยู่ Australia หลอกล่อให่ไปลงทุนในเงิน cryptocurrency โดยซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินสดเงิน crypto กันบน website ปลอม web ปลอมนี้ปลอมอย่างละเอียดแยบยลจัดตารางตัวเลขบัญชีอะไรต่อมิอะไรต่างๆให้ Mr. Hanes ได้เข้าไปดูติดตามการลทุนและผลกำไรอันเป็นตัวเลขงดงามสวยหรูบนจอได้ตลอดเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี ทั้งหมดเป็นเสมือนนวนิยาย มันไม่ใช่ข้อมูลจริงบนจอเลย เงินจริงๆนั้นสลายหายไปนานแล้ว กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เพราะเวลาจะขอถอนเงินคืนก็ไม่มีอะไรให้ถอนจริงๆ หรืออาจจะหลอกต่อไปว่าจะถอนก็ถอนได้ แต่มีค่าธรรมเนียมและแบบฟอร์มจัดการคืนเงินกำไรอันเป็นตัวเลขมหาศาลนั้น ก็ต้องส่งโอนค่าธรรมเนียมให้อีก จนแล้วจนรอด ก็ไม่ได้คืน ฉับพลัน คนขุนหมูคือ scammer กับเล้าหมู คือ website ปลอม ก็หายวับไป ตามหาอย่างไรก็ไม่มีวันเจอ การเกิดและเติบโตของกระบวนการ scammer online เป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง เป็นการโอนถ่ายย้ายเงินอันเป็นความมั่งคั่งของชนชั้นรายได้ระดับกลาง ส่งเข้าไปในโลกมืดของอาชญากร เป็นจำนวนเงินมหาศาลในแต่ละปี เจ้าหน้าที่ FBI ของสหรัฐฯรายงานว่าในอเมริกามียอดเงินสูญเสียไปในการถูกหลอกลงทุนนี้มากกว่า $12,500 ล้าน ในปี 2023 เพิ่มขึ้น 22% จากปีก่อนหน้า สูงกว่าตัวเลขความสูญเสียการการขโมยรถยนต์ หรือการโจรกรรมอื่นๆทั้งหมดมากมายนัก และว่ากันตามจริงแล้ว ตัวเลขที่ว่านี้น่าจะต่ำกว่าตัวเลขจริงๆมากมายนัก ด้วยเพราะคนที่ถูกหลอกต้มตุ๋นจะอาย มักจะไม่ยอมรับความจริง ไม่แจ้งความ ไม่พูดให้ใครรู้ถ้าสามารถปกปิดไว้ได้ เพราะความอับอายนั่นเอง นอกเสียจากว่าจะเกิดเป็นคดีความกระทบคนอื่นที่เสียหายด้วย เช่นกรณีของ Mr. Hanes ตามตัวเลขของ Erin West อดีตอัยการรัฐผู้ทำคดี “เชือดหมู” ในอเมริกายุคแรกๆอาจจะอยู่แถวๆ $50,000 ล้าน เธอว่าชาวอเมริกัน 1/100 คน ตกเป็นหยื่อ scammers กันทุกปีๆ หลายคนอายุน้อย เป็นคนหนุ่มสาวทำงาน hi-tech เก็บเงินสร้างตัว หลายคนเป็นตำรวจ เป็นตำรวจพิเศษ FBI เองก็มีที่ถูกหลอก พวกนักการเงินที่ปรึกษาการลงทุนมืออาชีพ นักจิตวิทยา ล้วนโดนหลอกต้นตุ๋นกันทั้งนั้น นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพวก scammers นั้นเก่งกาจแยบยลขนาดไหน สาวฟิลิปปินส์ชื่อ Rita เป็นชื่อสมมุติ เป็น sacmmer ที่ The Economist ได้สัมภาษณ์ หลังเธอหนีออกมาได้จาก K.K.Park ย่าน Shwe Kokko ฝั่งเมียวดี ตรงข้ามแม่สอดจังหวัดตากประเทศไทย (นานก่อนที่ไทยร่วมกับจีนจะจัดการทลาย K.K. Park ด้วยการเริ่มตัดไฟตัดสัญญาน Wi-Fi เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568) เธอเล่าว่า ตัวเธอกับเพื่อร่วมงานต้มตุ๋นจะได้รับเอกสารคู่มือการทำงานว่าด้วยวิธีการหลอกต้มตุ๋นเหยื่ออย่างละเอียด มีการอบรมหลักวิชาการเบื้องต้นเรื่อง cryptocurrency วิธีการหลบหลีกหากมีใครพยายามตามจับหาหรือพยายามปิด social media ปลอมๆของพวกเขา มีการอบรมเรื่องวิธีการชวนสนทนากับเหยื่อ คุยเรื่องหนังสือ ดนตรี การทำสวน และเรื่องฟุตบอล และคำถามเสแสร้งแบบไร้เดียงสาเหมือนไม่ได้ตั้งใจ เพื่อจะให้ได้ระแคะระคายไปถึงเรื่องเงินในบัญชีหรือความมั่งคั่งของหมูผู้เป็นเหยื่อรอเวลาถูกเชือดในบั้นปลายได้ Rita ถูกสั่งให้ถามเรื่องบ้าน เรื่องรถยนต์ ถามเรื่องมหาวิทยาลัยที่เคยเรียน เหยื่อจะต้องเป็นคนรวยหน้าตาไม่หล่อไม่สวย คู่มือสอนว่า “คนแบบนี้แหละที่มักจะใส่ใจและชอบเอาใจผู้หญิงที่ได้รู้จักหรือได้คุยด้วย นอกจากนั้นก็มีคำสอนเรื่องการสร้างความสนิทชิดเชื้อกับเหยื่อ ให้ถึงขั้นใกล้ชิดในอารมณ์ จะพูดจะคุยอะไรกันก็ให้ชื่นชมยกย่องเหยื่อไว้ให้เป็นที่สุด พยายามสะท้อนน้ำเสียงและอารมณ์ความรู้ของเหยื่อกลับไปยังตัวเหยื่อด้วยอารมณ์เดียวแบบเดียวกันอย่างเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และห่วงใย พูดทักทาย good morning ตอนเช้า แล้ว good night ราตรีสวัสดิ์ ก่อนนอน เรียนรู้เรื่องต่างๆในชีวิตของเหยื่อให้มาก มีช่องว่างหลุมลึกในอารมณ์ความรู้สึกของเหยื่ออะไรบ้างที่จะช่วยเติมเต็มให้ได้ Cathy Wilson ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาในรัฐ Colorado ซึ่งช่วยดูแลรักษาคนไข้ส่วนหนึ่งที่เคยเป็นเหยื่อ scammers เรียกเทคนิคที่พวก scammers ใช้ว่า “เป็นอาวุธทางจิตวิทยา (psychological weapons) เพราะมันมีประสิทธิภาพมากจริงๆ พอๆกับมีดหรือปืนเลยทีเดียว” แต่ว่าพวก scammers บางทีก็กลายเป็นเหยื่อถูกหลอกเสียเองก็มี องค์การสหประชาชาติประมาณว่าในปี 2023 อย่างน้อยมีพวกที่ถูกบังคับให้ไปเป็น scammers ราวๆ 220,000 คน เฉพาะในพม่า และ กัมพูชา Eric Heintz จากองค์กร ภาคประชาชนชื่อ International Justice Mission บอกว่ามีคนจากกว่า 70 ประเทศถูกล่อลวงหลอกหรือชักชวนเข้าไปเป็น scammers ในโรงงานต้มตุ๋นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนมากมีการศึกษาดี จบมหาวิทยาลัยจากประเทศที่ยากจน ถูกหลอกล่อว่าจะได้งานรายได้ดีใน “call center” หรือศูนย์รับโทรศัพท์บริการลูกค้าข้ามชาติ ในรายงานขึ้นปกเรื่อง “Scam Inc” โดย The Economist ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ อดีต scammers ได้ให้รายละเอียดว่าด้วยสภาพการทำงานและที่ทำงานอันน่าหดหู่ใจ Jalil ชาว Uganda ผู้ถูกกักตัวในที่ทำงาน ถูกบังคับให้ทำงานเป็น scammer ต้มตุ๋น online ในพม่า ปี 2023 บอกว่า “หากเราทำงานไม่เข้าเป้า พวกหัวหน้าผู้คุมงานมันก็จะลงโทษ เอาไฟฟ้าชอร์ต ส่วน Sara ชื่อปลอม ชาวอัฟริกาใต้ ก็ถูกหลอกไปทำงานในพม่า หัวหน้าขู่ว่าถ้าทำงานไม่เข้าเป้าไม่ได้เงินมากตามเป้าจะถูกส่งขึ้นไปชั้น 2 เป็นซ่องโสเภณี พวกผู้หญิงที่ขึ้นชั้นสองถูกบังคับทางเพศทุกคน สำหรับ Rita ที่ถูกกักบริเวณทำงานในอาคารใกล้ๆกันในช่วงเวลาเดียวกันกับ Sara บอกว่าเธอได้พบชาว Ethiopia คนหนึ่ง ถูกตัดไตไปข้างหนึ่งโทษฐานทำรายได้ต่ำกว่าเป้ามาก หากว่าใครต้องการออกจากงาน scammer ไปเลย ก็จะต้องให้ญาติพี่น้องในต่างประเทศของตนจ่ายเงินค่าไถ่ตัวออกไปในราคาสูง หรือบางคนก็ต้องหลอกเพื่อคนอื่นเข้ามาทำงานแทนตัวเองให้ได้ Jalil ชาว Uganda เข้ามาทำงานที่นี่ก็เพราะเพื่อนอีกคนที่ทำงานอยู่ หลอกเขาให้เข้ามาทำงานแทน บอกว่ารายได้ดี เป็นงานฝ่ายข้อมูลการตลาด online เหมือนหมูในคอกผักแว่น (Like pigs in clover) ปฏิบัติการ scammer จะเติบโตได้ดีในที่ที่กฎหมายเอื้อมเข้าไปไม่ถึง เช่นในประเทศพม่า ซึ่งเป็นที่สู้รบของชนกลุ่มน้อยต่างๆในพื้นที่ครอบครองพื้นที่เล็กๆแคบๆ ผู้มีอำนาจคุมพื้นที่ก็รับเงินปิดหู ปิดตา ปิดปาก ไม่รู้ไม่เห็นใดๆ หรือในประเทศที่ทุจริตคอรัปชั่นกันทั้งประเทศเช่นกัมพูชาที่เจ้าหน้าที่รัฐรับเงินปิดตาหรือให้มองไปทางอื่นและปิดปากไม่พูดอะไรก็ได้ แล้วพวก scammers ก็มีอาคารสถานที่เป็นกลุ่มอาคารแบบล้อมปิดเป็นย่านหรือเมืองเล็กๆของตนเอง ล้อมรั้วลวดหนาม สร้างกำแพง ติดกล้องวงจรปิดสอดส่ายส่องดูเพื่อตรวจตรารักษาความปลอดภัยตลอดเวลา พร้อมทั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยติดอาวุธครบมือ ในพื้นที่กลุ่มอาคาร scammers ในพม่ากลุ่มเดียว หรือเรียกว่า park เดียวๆ (เช่นที่ชื่อ K.K.Park / เมียวดี / Myanmar) นาย Sammy Chen อดีตนักธุรกิจชาวไต้หวัน ผู้ทำงานร่วมกับหลายรัฐบาลช่วยเหลือหาทางช่วยผู้ถูกหลอกเป็น scammers ออกมาสู่อิสระได้ เล่าว่า พื้นที่เขตต้มตุ๋นพื้นที่หนึ่งอาจมีปฏิบัติการหลายกลุ่ม มีคนทำงานรวมกันหลายพันคน กลุ่มปฏิบัติการแต่ละกลุ่มเข้ามาเช่าพื้นที่ทำงานกันมีหลายกลุ่มหลายพวก หลายบริษัทที่อาจไม่เกี่ยวข้องอะไรต่อกันและกันโดยตรงเลย กลุ่ม scammers ก็มี กลุ่มฟอกเงินก็มี กลุ่มแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศก็มี กลุ่มทำ supermarket, ทำซ่องโสเภณีก็มี, ทั้งหมดรวมอยู่ในอาคารเดียวกัน (เป็นชุมชนประกอบอาชญากรรมข้ามชาติแบบครบวงจร หรือ international criminal operation complex อย่างแท้จริง) แถมหัวหน้ากลุ่มแก๊งค์ยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายพนักงานระหว่างกันก็มี สงคราม ความยากจน และ การขาดโอกาสในชีวิต ทำให้พวกนายจ้างกระบวนการต้มตุ๋นหาคนมาร่วมทำงานได้ง่าย จำนวนไม่น้อยมาทำงานด้วยความสมัครใจ สะดวก ปลอดภัยจากการถูกกดขี่บังคับเยี่ยงทาสที่ทำกับคนที่ไม่สมัครใจ ดีกว่าทำงานแบบถูกบังคับ พวกหัวหน้ากลุ่มมักชอบที่จะได้คนทำงานโดยสมัครใจมากกว่า ดีกว่า ปัญหาน้อยกว่า ยิ่งสมัยนี้ใช้ AI สะดวกกว่า ลดความจำเป็นที่จะต้องกักกันคนทำงานที่รู้ภาษาอังกฤษดีทุกรายไป Jackie Burns Koven แห่งบริษัท Chainalysis วิเคราะห์ข้อมูล cryptocurrency wallets ที่ควบคุมโดยพวก scammers มูลค่าหลายร้อยล้านดอลล่าร์ บอกว่า ecosystem ระบบนิเวศน์แวดล้อมของพวกอาชญากรใต้ดินนั้นเป็นเสมือนตลาดการเงินที่สมบูรณ์แบบครบวงจรเลยทีเดียว พวกอาชญากรเหล่านี้ยินดีเสมอที่จะทำอะไรเบี่ยงเบนไปทางไหนก็ได้ที่ได้เงิน พบว่ามีกลุ่มอาคารหรือชุมชนเสมือนเมืองอาชญากรรมย่อยๆมีมากขึ้นใน South-East Asia, ใน Africa, ใน Eastern Europe, Middel East และ South America ปีที่แล้วยังพบแม้กระทั่งบนเกาะ Isle of Man ชายฝั่งแผ่นดินใหญ่อังกฤษ บรรดาเครือข่ายอาชญากรละตินอเมริกาก็พากันเปลี่ยนกิจการมาเป็นแก๊งต้มตุ๋นเชือดหมู หรือ scammers กันมากขึ้น รวมทั้งพวกที่เรียกตัวเองว่า Jalisco Generation ใน Mexico ปฏิบัติการ scammer อาจมีได้สารพัดขนาดทั้งใหญ่และเล็ก บางพวกก็ทำงานในห้องโรงแรม บางกลุ่มก็เช่าห้องพักยกชั้นทั้งชั้นหรือหลายๆชั้น เป็นที่ปฏิบัติการ ทำประตูเหล็กกั้นแข็งแรง จ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแล ขณะที่พนักงานโรงแรมไม่สนใจ หันหน้าไปทางอื่น พวกแก๊งขนาดเล็กกว่านี้ก็เช่าห้องทำสำนักงานเล็กๆ หรือ apartment/condominium ข้อมูลจาก United States Institute of Peace (USIP) หรือ สถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นสำนักวิจัยที่รวมนักคิดนักวิชากรที่เรียกว่า “think-tank” บอกว่าพวกที่ทำงาน scammers โดยตรงทั้งโลกน่าจะมีประมาณ 500,000 ถึง 1,500,000 คน รายงงานพิเศษเรื่อง “Sacm Inc” ของ The Economist รายงานเรื่องนี้ว่าผู้รับเคราะห์หรือเหยื่อต้มตุ๋นนี้ในตอนแรกๆก็เป็นคนจีนเท่านั้น แต่ต่อมาหลังการกวาดล้างโดยรัฐบาลจีนอย่างเข้มข้น จับกุมคุมขังลงโทษผู้เกี่ยวข้องได้นับหลายแสนคน (hundreds of thousands) แล้วกดดันรัฐบาลกัมพูชาและ Myanmar ให้กดดันจัดการกวาดล้างพวก Scammers ชาวจีนที่หลอกคนจีนด้วยกันเป็นส่วนใหญ่นั้น รัฐบาลจีนก็เริ่มนโยบายสื่อสารประชาสัมพันธ์โฆษณาชวนเชื่อต่อต้าน scammers กันขนานใหญ่ทั่วประเทศ สร้างภายนตร์ รายการโทรทัศน์ เพลง ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกระบวนการต้มตุ๋น อุตสาหกรรม scammer อย่างเต็มที่ เพื่อให้ความรู้และเตือนประชาชนชาวจีนให้ระมัดระวัง เมื่อฤดูร้อนปี 2023 ปีที่ภาพยนตร์ Hollywood เรื่อง “Barbie” และ “Openheimer” ออกฉายโด่งดังในโลกตะวันตก ภาพยนตร์จีนต่อต้าน scammers ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “No More Bets” หรือ “ไม่เล่นการพนันอีกแล้ว” ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าถึงคนจีนที่ถูกกักตัวทำงานเป็น scammer ในอาคารแห่งหนึ่ง คนทั้งประเทศจีนดูกันแน่นโรง ทำรายได้กว่า $500 ล้านเฉพาะเดือนแรกเดือนเดียวที่เริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ทำนองเดียวกันกับบริษัทธุรกิจทั่วไปหลายๆบริษัทในประเทศจีน บริษัทหรือพวก scammer ทำงานเป็นเครือข่ายโยงใยกัน เป็นกลุ่มอาชญากรรมที่ปรับกิจการให้หลากหลายรูปแบบและออกนอกประเทศจีนไปทำที่อื่น เมื่อถูกกวาดล้างในประเทศ หรือกิจการไปไม่ค่อยดี ก็ออกไปหากินนอกประเทศจีนกันมาก ในเอเชีย และโลกตะวันตก สหรัฐอเมริกาและอังกฤษออกมาตรการห้ามและปิดกั้นธุรกิจการค้าและบัญชีเงินคนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นตัวการ scammer ที่มาจากจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ว่าโครงสร้างการทำธุรกิจของพวก scammer นั้นมันเป็นการยากที่ตำรวจจะเจาะเข้าไปจัดการกวาดล้างให้สิ้นซากไปได้ Mr. Purbrick บอกว่า “พวกเราในประเทศต่างๆในตะวันตกส่วนมาก มักจะมีนิสัยชอบคิดและมองหาพวกอาชญากรว่าทำงานเป็นกลุ่มเดียวเหนียวแน่นแบบมีหัวหน้าใหญ่คนเดียว ออกคำสั่งจากบนลงล่างตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา แต่ว่าวิธีคิดแบบนี้ใช้กับอาชญากรจีนหรือพวกเอเชียพวกนี้ไม่ได้หรอก เพราะพวกเขาทำงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน ทำงานแนวราบ ไม่ใช่แนวดิ่ง ไม่ได้ทำงานกลุ่มใหญ่เป็นโครงสร้างกลุ่มเดี่ยว” วิธีคิดแบบเก่าในอดีตก็คิดว่าพวกอาชญากรเหล่านี้มักจะต่อสู้กันเพื่อคุมโต๊ะพนันในคาสิโน เช่นที่ Macau หรือคุมหัวมุมถนนที่ใดที่หนึ่งเป็นที่ขายยาเสพย์ติด แต่ว่าในอุตสาหกรรม scammer นั้น ไม่มีข้อจำกัดเรื่องกายภาพ เรื่องอาคารสถานที่ หรือพื้นที่ที่มองเห็นจับต้องได้เป็นโต๊ะ เป็นตารางเมตร และควบคุมได้โดยอิทธพลแก๊งค์ scammers ไม่ต้องทำสงครามชิงบ่อน ชิงสี่แยก หรือคุมปากซอยที่ไหน ตลาดทุจริต online ไม่มีพื้นจำกัดแต่อย่างใดเลย อย่างที่นักการธนาคารจะใช้คำว่า “ลูกค้าธนาคารอยู่ในพื้นที่ตลาดที่เข้าถึงได้” หรือ “total addressable maarket” แต่สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรม scammer ตลาดเปิดโล่งทุกหนแห่งทั้งโลก เกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีขอบเขตจำกัดเลย ที่อาจเป็นอุปสรรคขวางกั้นก็น้อย แต่ว่าให้ผลตอบแทนสูงมาก นั่นคือการที่พวกอาชญากรอาศัยความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะในประเทศยากจน ดังที่ Chris Urben ที่ทำงานมานาน 25 ปี ในสำนักงาน Drug Enforcement Administration หรือ DEA อันเป็นสำนักงานปราบปรามยาเสพย์ติดของสหรัฐอเมริกา บอกว่า มันไม่มีใครที่จะรักษากฎหมายของบ้านเมืองในพื้นที่ของพวก scammers พวกเขาคือกฎหมายของตัวเอง พวกเขาคือรัฐบาลของเขตพื้นที่ของเขาเองเบ็ดเสร็จ Jason Tower แห่งหน่วยงาน USIP ของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า พวก scammers ใน กัมพูชา, พม่า, และ ลาว ทำรายได้เป็นส่วนหลักให้กับเศรษฐกิจของประเทศทั้งสาม เฉพาะในกัมพูชาประเทศเดียว อุตสาหกรรมต้มตุ๋นหลอกลวง หรือ scammer ทำรายได้เข้าประเทศ $12,500 ล้าน ต่อปี เท่ากับครึ่งหนึ่งของรายได้ผลิตภันฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP อย่างเป็นตัวเลขทางการ หมายความว่าอุตสาหกรรมต้มตุ๋นเชือดหมูเหยื่อ online นั้นส่งผลรวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงแรม และอื่นๆ ทั้งหมดต้องพึ่งพาธุรกิจ scammers อย่างแนบแน่น Jacob Sims ผูัเชี่ยวชาญเรื่องอาชญากรรมที่บริหารจัดการเป็นระบบ หรือ “organised crime” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บอกว่า “ระดับความร่วมมือจากรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศเช่นกัมพูชาที่ร่วมมือกับพวก scammers นั้นเราเห็นมันว่ามีมากกว่าที่เห็นในรัฐค้ายาเสพย์ติดในละตินอเมริกาในช่วงปี 1990s ด้วยซ้ำ แม้กระทั่งใน Philippines ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรอันเข้มแข็งกับสหรัฐอเมริกา และเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของชาวโลกที่นิยมไปเที่ยวกันมากประเทศหนึ่ง ฟิลิปปินส์ก็มีปัญหาโยงใยในระดับชาติกับกระบวนการต้มตุ๋นของแก๊ง scammers ปี 2024 ที่ผ่านมามีข่าวกล่าวหาว่า Alice Guo หญิงชาวฟิลิปปินส์ ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเล็กๆชื่อเมือง Bamban ตั้งแต่ปี 2022 พบว่าเกี่ยวข้องกับย่านกลุ่มอาคารที่กว้างใหญ่กว่าตัวเมือง Bamban เสียอีก เธอสร้างอาคารเหล่านี้แล้วแอบซุกซ่อนทำกิจการ scammers ต้มตุ๋นคนในโลกจากที่นี่ ทั้งๆที่เธอเองเป็นเจ้าเมืองมาจากการเลือกตั้ง เมื่อตกเป็นข่าว ก็ได้ผลการสอบสวนว่าที่จริงเธอเป็นคนจีนที่เข้ามาอยู่ฟิลิปปินส์แบบไม่มีใครทราบหัวนอนปลายเท้าที่ไปที่มาอย่างแท้จริงแต่เด็ก เติบโตมาแล้วปลอมเอกสารหลักฐานกลายเป็นพลเมืองฟิลิปปินส์อย่างแนบเนียนไม่มีใครสงสัย สร้างตัวจนชาวเมืองไว้ใจชื่นชอบ ลงเลือกตั้งจนชนะได้เป็นนายกเทศมนตรีแห่งเมือง Bamban ในที่สุด Alice Guo ก็ถูกจับ เธอกับพรรคพวกก็ถูกยึดทรัพย์สินทั้งหมด บ้านที่ดิน รถยนต์ เฮลิคอปเตอร์ รวมมูลค่าถึงกว่า $100 ล้าน ระหว่างปี 2019 ถึง 2024 มีเงินผ่านบัญชีของเธอราวๆ 24,500 ล้าน pesos ตามรายงานของ Winston Casio ประธานกรรมาธิการต่อต้านอาชญากรรมที่เป็นระบบบริหารจัดการ ว่ามันเป็นกระบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงในฟิลิปปินส์ที่ต้องวางแผนกันนาน ใช้เงินมหาศาล ใช้เวลา กับความซับซ้อน กว่า Alice Guo จะประสบความสำเร็จทำได้กลางเมืองที่ตนเองเป็นเจ้าเมืองอยู่ สมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ชื่อ Sherwin Gatchalian เล่าว่า คนพวกนี้เขาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศฟิิลิปปินส์มาอย่างดีมากๆ พวกเขารู้ดีกว่าจะแทรกซึมเข้าถึงผู้มีอำนาจรัฐและระบบการเมืองของฟิลิปปินส์ได้อย่างไร หลังจากสมาชิกวุฒิสภา Sherwin Gatchalain รณรงค์เรื่อง scammers แรงขึ้น เลยต้องจ้างคนรักษาความปลอดภัยประจำตัวไปตลอดเวลา แม้ตอนที่วุฒิสภามีการประชุมสอบสวนเรื่องนี้ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์คนดูทั้งประเทศจนว่ากันว่าเป็นรายการโทรทัศน์ที่ดังกว่า Netflix เรียกกันในสื่อมวลชนว่า “Senateflix” ระหว่างนั้น Miss Alice Guo ก็ยังสามารถหลบหนีออกนอกประเทศไปได้ในเดือนกรกฎาคม ปีที่แล้ว (2024) เพราะเธอได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทุจริตของรัฐและคนในรัฐบาลจำนวนไม่น้อย สว. Casio เองต้องหลบภัยคุกคามไปนอนในห้องทำงานของรัฐสภา แต่ว่าในที่สุด Alice Guo ก็ถูกตามจับตัวได้ที่ Indonesia ส่งกลับมา Philippines ได้ เธอโดนข้อหาฟอกเงิน ค้ามนุษย์ และทุจริตคอร์รัปชั่น สว. Gatchalain เป็นห่วงว่าพวกแก๊งค์ต้มตุ๋นระดับบนๆจะเข้ามาเล่นการเมืองโดยตรง โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นพวก scammers อยู่ในรัฐสภาหรือในรัฐบาล เหมือนกับ Alice Guo ขึ้นตำแหน่งสูงสุดเป็นถึงนายกเทศมนตรีเมือง หากพวกต้มตุ๋น scammers ได้เป็นนักการเมือง หรือมีอิทธิพลเหนือการเมืองเหนือรัฐบาล ก็ยากนักที่จะออกฎหมายกำจัดกระบวนการต้มตุ๋นในฟิลิปปินส์ได้ตอนนี้กลุ่มอาคารที่เคยใช้เป็นที่ทำงานหลอกลวงต้มตุ๋นของ Alice Guo ก็ถูกยึดมาทำเป็นสำนักงานรัฐต่อต้าน scammers ไปแล้ว สว. Casio บอกว่าที่ทำไปก็เพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง ยังมีอะไรลึกๆที่ยังลงไปไม่ถึง ปัญหานี้ยังไม่ถึงขนาดว่าจะกำจัดได้เด็ดขาด แค่ทุบให้บุบก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ตามรอยเส้นทางการเงิน (Follow the Bacon home) หนทางต่อสู้ทางหนึ่งก็คือการตามสะกดรอยเส้นทางการเงิน รายงาน “Scam Inc” ของ The Economist เปิดเผยว่า Mr. Hanes เป็นหนึ่งในบรรดาคนอเมริกันจำนวนมากที่สูญเงินไปหลายล้านดอลล่าร์ ใน websites ปลอมต้มตุ๋นเหล่านั้น website ที่ตั้งชื่อเลียบแบบชื่อของ website ค้าเงิน cruptocurrency เช่นเลียนแบบชื่อจริงของ website “Coinrule” แต่แต่งเติมชื่อใหม่เป็น “CoinRule-Web3.net" ซึ่งก็คือ website ปลอม web เดียวกันที่หลอกเอาเงิน Mr. Hanes นายธนาคารที่เมือง Elkhart รัฐ Kansas ไปได้ $47 ล้าน ชายชาว California คนหนึ่งก็สูญเงินไป $2.2 ล้าน ที่ web นี้เช่นกัน ข้อมูลจาก Adam Hart แห่งสำนักงานวิเคราะห์ธุรกิจการเงิน Chinalysis ซึ่งติดตามเส้นทางการเคลื่อนย้ายเงิน crypto ของ Mr. Hanes พบพวกอาชญากรทำงานเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันโกง Mr. Hanes ได้เงินแล้วก็ส่งผ่านเข้าไปในกลุ่มรับจ้างฟอกเงินในระบบ online ชื่อ Huione Guarantee เป็นชื่อของตลาดการค้า online ของจีนตั้งขึ้นปี 2021 เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์ มีเงินผ่านมือเข้ามานับพันล้านดอลล่าร์ต่อปี เป็นธุรกิจของกลุ่ม Huione Group ธุรกิจใหญ่ในกัมพูชา จากการสืบสวนของ Elliptic สำนักวิเคราะห์ blockchain-analytics หรือการผ่านโอนเงินระบบ digital พบว่ากลุ่ม Huione Group เชื่อมโยงกับครอบครัวที่ปกครองประเทศกัมพูชา (ไม่เอ่ยชื่อ Hun Sen) โดยที่ปรากฎ กลุ่มนี้ให้บริการธุรกิจสินค้าและบริการเป็นปรกติ แต่พวก scammer ก็เห็นประโยชน์น่าสนใจเป็นพิเศษ คือการใช้ชื่อ web domain name มาเปิด web ใหม่ ใช้ AI เปลี่ยนภาพใบหน้า ใช้ software สำหรับต่อสายคุยทาง video และเครื่องมือทรมานคนทาง electronics เช่นกระบอง electronics หลังจากสืบทราบและเปิดโปงกระบวนการของ Huione Group กับพวก scammer แล้ว สาธารณชนได้รับรู้เล่ห์กลทั้งหมดแล้ว Huione Guarantee ก็เปลี่ยนชื่อไปเป็น Haowang Guarantee เมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว (2024) พร้อมทั้งปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นไม่เกี่ยวข้องใดๆทั้งสิ้นกับอาชญากรรม scammer เมื่อเงินสดผ่านการเปลี่ยนเป็นเงิน crypto ก็เข้ากระบวนการฟอกเงินให้ถูกต้องตามระบบการฝากโอนถอนเงินสดออกมาใช้ได้ ถึงตอนนี้แล้วก็เป็นการยากยิ่งนักที่จะตามหาต้นทางแและเส้นทางการเงินที่แท้จริง ความจริงสลายหายไปในระบบ online อย่างรวดเร็ว ทว่าเหตุการณ์เมื่อไม่นานมานี้ สอนเราให้สำนึกว่ากระบวนการฟอกเงินนี้อยู่ใกล้ๆและรอบๆตัวเรานี้เอง ในปี 2023 รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มนโยบายปฏิบัติการกวาดล้างกระบวนการฟอกเงิน เจ้าหน้าที่ตำรวจสิงคโปร์กวาดจับและยึดทรัพย์สินคนร้ายได้เป็นมูลค่ากว่า $2,000 ล้าน ทั้ง อสังหาริมทรัย์ เงินสด ทองคำแท่ง และทรัพย์สินอื่น คนที่ถูกจับเป็นชาวจีนจากจังหวัด Fujian 10 คน ถือหนังสือเดินทางของหลายประเทศ ถูกตั้งข้อหาทำบ่อนการพนันหรือ casino ผิดกฎหมาย บ่อนการพนัน หรือ casino นั้นส่วนใหญ่ คือฉากบังหน้าสำหรับการพนัน online และการทุจริตอาชญากรรมทาง internet หรือ cyber- fraud / cyber- crime สำนักงานต่อต้านอาชญากรรมและยาเสพย์ติดของสหประชาชาติ (UN Office on Drugs and Crime - UNODC) ยืนยันในเรื่องนี้ว่าเป็นความจริงแท้แน่ว่า casino เป็นฉากบังหน้าของกระบวนการฟอกเงินและอาญากรรมทาง internet คนจีน 2 คน ใน 10 คน ที่ถูกจับที่สิงคโปร์นั้น ชื่อ Zhang Ruijin และ Lin Baoying เป็นหุ้นส่วนธุรกิจกับ Ms. Alice Gao นายกเทศมนตรีเมือง Bamban ประเทศ Philippines ที่ถูกจับไปก่อนหน้าแล้ว ที่ถูกจับอีก 8 คนเชื่อมโยงใยกับพวกทุจริตใน Dubai, Hong Kong และ ประเทศไทย จากรายงานของ Organised Crime and Corruption Reporting Project and Radio Free Asia หรือโครงการรายงานสืบสวนเรื่องกระบวนการทุจริตอาชญากรรมข้ามชาติ และ วิทยุเอเชียเสรี พบว่า เงินโกง online จากพวก scammers ไหลย้ายผ่านทวีปเอเชียออกไปอีกด้วย มีพวก scammers ชาวจีนถูกจับข้อหาฟอกเงินผ่านธนาคารอเมริกันหลายแห่ง Su Haijin เป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกจับในสิงคโปร์ คดีฟอกเงิน พบว่าเขาเป็นหุ้นส่วนเจ้าของอาคารหลายแห่งมูลค่ารวมเกือบ $56 ล้าน ใน London พวก web พนัน online ต่างๆที่ซื้อโฆษณาในรายการฟุตบอล Premier League ของอังกฤษ ก็เป็นช่องทางฟอกเงินของอาชญากร scammers ทั้งนั้น Philippe Auclair นักข่าวของหนังสือพิมพ์ Josimar ได้ทำข่าวสืบสวนสอบสวนเรื่องโฆษณา web พนัน ในฟุตบอล Premier League นี้ว่ามีความเชื่อมโยงกันกับเมือง scammer ต้มตุ๋นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และธุรกิจในอังกฤษ พวกอาชญากรแบบเดียวกันนี้ก็กำลังเล็งเป้าหาเหยื่ออเมริกันแบบเดียวกับ Mr. Hanes นายธนาคาร แห่งรัฐ Kansas แบบที่เรียกว่า “pig-butchering” หรือ “กระบวนการเชือดหมู” พวกเขากำลังขยายกิจการปรับความหลากหลายของการโกง online ไปเป็น hacking เจาะขโมยข้อมูล, ransomware เรียกค่าไถ่, และ identity theft การขโมยอัตลักษณ์บุคคล John Wojcik จาก UNODC กล่าวว่า “สิ่งที่กำลังเห็นอยู่เวลานี้ก็คือพวกเครือข่าย scammers มีความสามารถละเอียดอ่อนล้ำเทคโนโลยีมากขึ้น สร้างรูปแบบการข่มขู่แบบใหม่ๆ พวกเขาใช้การขโมยข้อมูล โดยส่ง โปรแกรมเข้าไปทำลายและดึงข้อมูลในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ รวมทั้งเรื่องนิสัยการใช้ internet ประวัติการท่อง web ข่าวสารที่ส่งไปมากับเพื่อนๆ ฯลฯ ขโมยข้อมูลออกมาได้แล้วเอาไปขายต่อ online คิดค่าบริการายเดือนกับพวก scammers และพวกแก๊งค์อาชญากรรมทาง internet ทั้งหลาย เครือข่ายอาชญากรเชือดหมู หรือ scammers เหล่านี้กำลังเร่งรับสมัครว่าจ้างงานบุคคลที่เก่งทักษะด้าน data-analytics พวกนัก programmers ที่ทำหน้าที่ดูข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งก็จะช่วยให้พวกเขาหาเป้าหรือเหยื่อได้มากขึ้น กว้างไกล และง่ายขึ้น และบางทีก็ทำง่ายๆโดยการใช้ computer program แบบ malware แอบเข้าไปดูดเงินออกจากบัญชีของท่านไปจนเกลี้ยงโดยไม่ทันรู้ตัวก็ทำได้ ทางที่พอสรุปได้ตอนนี้ก็คือ การล้มของธนาคาร Heartland Tri-State Bank เมือง Elkhart ที่รัฐ Kansas สหรัฐอเมริกานั้นไม่ใช่จุดสูงสุดของการหลอกลวงต้มตุ๋น มันเป็นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นเอง ◾️ สมเกียรติอ่อนวิมล แปล เรียบเรียง 14 มีนาคม 2568 |
By Invitation บทความรับเชิญ จาก Sun Xueling รัฐมนตรีว่าการกิจการรัฐ, สังคม, และครอบครัวประเทศสิงคโปร์ Organised crime groups are behind increasingly sophisticated scams. Here is how to confront them, writes Sun Xueling A Singaporean minister says education at home and collaboration abroad are key กลุ่มอาชญากรรมที่ทำงานเป็นระบบอยู่เบื้องหลังขบวนการต้มตุ๋นหรือ scams อันซับซ้อนนี้ นี่คือข้อเขียนแนะนำวิธีเผชิญหน้าต่อสู่กับพวกนี้จาก Sun Xueling รัฐมนตรีแห่งรัฐของสิงค์โปร์ ซึ่งย้ำว่าหัวใจสำคัญคือการศึกษาในประเทศเอง และความร่วมมือปฏิบัติการกับนานาประเทศ [Sun Xueling is Singapore’s minister of state in the Ministry of Home Affairs and the Ministry of Social and Family Development.] [Sun Xueling เป็นรัฐมนตรีแห่งรัฐสิงคโปร์สังกัดกระทรวงกินการภายใน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว] * กระบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงเป็นเรื่องซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ และระดับการขยายงานกว้างใหญ่เทียบระดับกับการก่ออาชญากรรมข้ามชาติตามรูปแบบที่เราคุ้นเคยมาแต่ก่อน พันธมิตรต่อต้าน scam ระดับโลก (Global Anti-Scam Alliance) เป็นองค์กรทำงานไม่หวังผลกำไร ประมาณการว่าในระดับโลก ความสูญเสียจาก scams สูงเลย $1 ล้านล้าน ในปี 2023_ ตัวเลขมหาศาลนี้สะท้อนความรู้สึกแสนหดหู่ใจว่าพวก scammers ทำงานกันได้รวดเร็วกว้างไกลเกินกว่ารัฐบาลในประเทศใดจะไล่ตามตอบโต้กำจัดให้ทันได้ การเติบโตของระบบการจ่ายเงินแบบ digital กับการเป็นระบบที่ไม่ต้องแสดงตัวตนที่แท้จริงทาง internet ทำให้การตามกำกับดูแลในบางพื้นที่ก็ทำไม่ได้ เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้การต้มตุ๋นหลอกลวง online ทำกันได้อย่างสะดวกง่ายดายและเติบโตขยายวงกว้างต่อๆไป อันตรายปรากฏทั่วโลก ไม่มีใครจะรอดพ้นและปลอดภัยจาก scammers ได้เลย ในสิงคโปร์คดีเกี่ยวกับ scams เพิ่มขึ้น 7 เท่าในรอบห้าปีที่ผ่านมา ไม่ว่ารัฐบาลจะมีแผนสะกัดขัดขวางอย่างเข้มแข็งแน่นหนาต่อสู้ไว้อย่างไรก็ยากยิ่งนัก ในอดีตกระบวนการต้มตุ๋นหลอกลวงหรือ scams นี้นั้นมักจะเป็นการทะลุทะลวงจุดอ่อนของระบบความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ แต่พอมาตรการต่างๆปรับปรุงดีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น พวก scammers ก็หันไปใช้วิธีการที่เรียกว่า “เชือดหมู” (pig butchering) อันเป็นระบบการเตรียมความพร้อมถูกเชือดในตัวคนที่ตกเป็นเหยื่อต้มตุ๋นให้ถึงจุดเชือด เรียกได้ว่าเป็นเล่ห์กลทางวิศวกรรมสังคม (social-engineering tactics) มีการหลอกลวงด้วยเล่ห์รักและเพศสัมพันธ์ (love scams) โดยฝ่ายหลอกลวงพยายามสร้างความสัมพันธ์เชิงชู้สาว, การหลอกลวงให้ลงทุนด้วยให้ความวังว่าจะร่ำรวยมั่งคั่งอย่างรวดเร็ว, และการหลอกลวงแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ คนพวกนี้จะหากินกับความรู้สึกของเหยื่อที่ถูกสร้างสมความรู้สึกให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เชื่อใจในความเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ (จอมปลอม) ,หลอกลวงบนพื้นฐานของความโลภ, และความเหงาที่ต้องการเพื่อนคู่ใจ พลันที่หลอกล่อให้ตายใจสำเร็จพวกเขาก็ชักชวนให้มีการโอนเงิน หลายคนโอนให้ด้วยความสมัครใจ ปีที่แล้ว (2024) มากกว่า 4 ใน 5 ของคดี scams ที่มีรายงานในสิงคโปร์ เป็นเรื่องโอนเงินโดยสมัครใจ บางคนถูกหลอกต้มลงลึกถอนจนตัวไม่ขึ้น ไม่รู้ตัว คอยแต่จะเติมเงินโอนเเงินข้าไปไม่จบสิ้น ไม่ว่าจะมีญาติพี่น้องหรือเจ้าหน้าที่รัฐเตือนให้ระมัดระวังอย่างไรก็ไม่ฟัง จนในที่สุดก็สูญสิ้นเงินทั้งหมดที่อุตส่าห์เก็บออมมาตลอดชีวิตไปสิ้น รัฐบาลสิงคโปร์ตอบโต้เรื่องนี้ด้วยมาตรการที่เข้มข้นแข็งขันอย่างที่สุด เราไม่ละอายเลยที่จะใช้มาตรการแบบที่ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแผนดั้งเดิมที่ใครๆทำกันมาเสมอๆ ทั้งนี้ก็เพื่อจะปกป้องประชาชนของเรา เมื่อเดือนมกราคม 2025 เราผ่านกฎหมายป้องกันภัยจาก scams (Protection from Scams Act) ซึ่งให้อำนาจตำรวจออกคำสั่งจำกัดและควบคุมอย่างเข้มข้นหากพบว่ามีประชาชนที่อาจจะกำลังถูกหลอกลวงต้มตุ๋นให้โอนเงินในบัญชีธนาคารอย่างน่าสงสัย เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและปิดกั้นบัญชีให้แล้ว เจ้าของบัญชีสามารถขออนุญาตเบิกเงินไปใช้โดยผ่านเจ้าหน้าที่ได้เป็นรายวันสำหรับที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน กฎหมายฉบับนี้ยังมิได้ประกาศใช้เป็นทางการ หากแต่อยู่ในระหว่างรับฟังความเห็นสาธารณะ ซึ่งก็พบว่าประมาณ 90% เห็นด้วย ญาติพี่น้องและคนรักที่ได้เห็นญาติพี่น้องหรือคนรักของตนถูกต้มตุ๋นไปจนเกลี้ยงบัญชีแล้วได้แต่เสียดายว่าน่าจะได้ออกกฎหมายแบบนี้มาใช้เร็วกว่านี้ กฎหมายที่ว่านี้ออกมาเพื่อเสริมกฎหมายฉบับเดิมที่บัญญัติเรื่องความผิดในการใช้ SIM Cards ก่ออาชญากรรม มีบทลงโทษรุนแรงกับคนที่รับงานโอนเงินแบบผิดกฎหมาย และบังคับให้ผู้ให้บริการ internet มีมาตรการป้องกัน scammer online แต่ว่าจะมีเพียงมาตรการทางกฎหมายอย่างเดียวก็ไม่ได้เพราะภัยต้มตุ๋นนี้มันแผ่กระจายกว้างไกลเป็นอันตรายยิ่งนัก ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์จึงได้ประสานและทำงานร่วมกับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทโทรคมนาคม เพื่อสร้างมาตรการป้องกันอย่างทรงประสิทธิภาพ นวัตกรรมเช่นระบบ “Money Lock” ที่ให้ลูกค้าธนาคารแยกบัญชีเงินฝากส่วนหนึ่งที่จะไม่สามารถแปลงและโอนถ่ายในระบบ digital ได้ กับระบบ “Kill Switch” ซึ่งปิดกั้นการทำธุรกรรม online banking ทันทีที่สงสัยว่าน่าจะมีการหลอกลวงต้มตุ๋นหรือ scamming กันทันที ระบบนี้ปัจจุบันเป็นมาตรฐานที่ทำกันเป็นหลักมานานแล้ว ระบบคุมเข้มเรื่องการยืนยันอัตลักษณ์หรือข้อมูลเฉพาะบุคคลก็ยิ่งช่วยตรวจสอบขัดขวางการฉ้อฉลโอนถ่ายเงินตราได้ดีมากยิ่งๆขึ้น รัฐบาลสิงคโปร์ของเรายังได้เร่งรัดจัดการคุมเข้มกระบวนการรักษาและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กองบัญชาการต่อต้านการต้มตุ๋นหลอกลวง (Anti-Scam Command) ก่อตั้งขึ้นโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติสิงคโปร์ (Singapore Police Force) ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากธาคารพาณิชย์ 6 ธนาคารในสิงคโปร์ กับตัวแทนบริษัทค้าขาย online อีกสองแห่ง ทำงานร่วมกัน ณ ศูนย์บัญชาการแห่งใหม่ ซึ่งก็ช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจพบและขัดขวางการโอนเงินที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการคดโกงต้มตุ๋นได้ทันท่วงที ในเวลาจริง การทำงานของศูนย์บัญชาการนี้สามารถได้เงินที่ถูกโกงคืนมานับหลายร้อยล้านดอลล่าร์ในปี 2024 อย่างไรก็ตาม พวก scammers ส่วนใหญ่ทำงานนอกประเทศสิงคโปร์ เงินจากสิงคโปร์จะถูกโอนออกแล้วหายไป ตามจับไม่ได้ในเวลาเพียงชั่วไม่กี่ “วินาที” เป็น scam ที่ตามคืนได้ยากยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้เองที่ความร่วมมือระดับระหว่างประเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สิงคโปร์ส่งเสริมและดำเนินนโยบายสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนในระดับรอบโลก และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับตำรวจสากล ปฏิบัติการร่วมกันทลายแก๊ง scammers ในโลก เฉพาะใน ASEAN (Association of South-East Asian Nations) สิงค์โปร์เป็นผู้นำต่อต้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือ “cybercrime” ซึ่งก็เป็นความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหมู่รัฐสมาชิก ASEAN สำหรับสิงค์โปร์ เรื่องการตามคืนทรัพย์สินกลับมาสู่เข้าของเดิมเป็นเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นใด รวมทั้งเรื่องที่มีการฉ้อโกงกันในประเทศอื่นแล้วเอาเงินมาฟอกกันในสิงคโปร์ สิงคโปร์ทำงานร่วมกับ FBI ของสหรัฐฯ ผ่านหน่วยงานระดับระหว่างประเทศของ FBI ที่เรียกชื่อว่า International Financial Fraud Kill Chain ทำให้เราสามารถช่วยเหลือผู้รับเคราะห์ที่ตกเป็นเหยื่อได้ทรัพย์สินที่ถูกต้มตุ๋นไปคืนมา จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและระหว่างประเทศเช่นนี้ต่อไปในการปฏิบัติการเอาทรัพย์สินคืนกลับ แต่ว่าภาคเอกชนก็ต้องเร่งระดมปฏิบัติการเช่นเดียวกัน บริษัทที่ให้บริการค้าขายเป็นพื้นที่ทำธุรกิจ online โดยเฉพาะ (online platform) จะต้องมีความรับผิดชอบจัดให้มีมาตรการตรวจสอบและกำจัดทิ้งบรรดาบัญชีปลอมหลอกลวงต้มตุ๋นต่างๆ ในสิงคโปร์ บริษัทเช่น Meta และ Carousell ร่วมมือกับรัฐบาลทำกระบวนการยืนยันอัตลักษณ์ของผู้ใช้บริการแบบเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทางการของรัฐ ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ได้ผลดีในการต่อต้านและป้องการการคดโกงกันในตลาดซื้อขายสินค้า online หน่วยงานของรัฐบาลสิงคโปร์ชื่อ Cyber Security Agency ร่วมงานกับบริษัท Google เพิ่มโปรแกรมพิเศษ เรียกว่า Enhanced Fraud Protection ซึ่งมีมาตรการปกป้องอันตรายจากการทุจริตต้มตุ๋นระดับโลกเป็นแห่งแรกที่ริเริ่มงานร่วมมือกันในประสิทธิภาพแบบนี้ หากคนทุจริตจะติดตั้ง application อันใดที่อาจเป็นอันตรายและตรวจที่มาที่ไปไม่ได้ ก็จะห้ามการติดตั้งโปรแกรมนั้นๆทันที นวัตกรรมที่ว่านี้มีความสำคัญมากในโลกที่ขบวนต้มตุ๋นหลอกลวงของพวก scammers ซับซ้อนละเอียดอ่อนมากขึ้นทุกทีๆ แต่เราก็สำนึกดีว่าเทคโนโลยีที่เราใช้นั้นมีข้อจำกัด หากเราจะสร้างสังคมที่ตื่นตัวหาญกล้าที่จะต่อสู้กับภัยจาก scammers ได้อย่างแข็งขัน เราจำต้องให้การศึกษากับสาธารณชน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากที่สุด เราออกประกาศเตือนภัยให้คำแนะนำให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างสม่ำเสมอ โดยที่เรามีรากฐานความน่าเชื่อถือที่ประชาชนมีมอบแก่สถาบันต่างๆของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาล โครงการ “ScamShield” หรือ “โล่ห์กัน scam” ซึ่งผนวกทรัพยากรทางการศึกษาทั้งหลายเอื้อให้ประชาชนสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐได้ทันทีในเรื่องที่ว่าอาจจะมีโทรศัพท์ต้องสงสัย หรือข้อความสั้น หรือ “text message” ที่อาจเป็นการฉ้อฉล แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจให้จัดการได้โดยพลันทันที ในที่สุดแล้ว การต่อสู้กับ scammers เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ประชาชนแต่ละคนต้องตื่นตัว ต่อต้่าน ขัดขวางข้อเสนออะไรที่ดูดีเกินจริง อันเป็นห่วงล่อกับดักของพวกทุจริต ภาคธุรกิจก็ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นกว่าเดิม นานาประเทศต้องทำงานร่วมกัน พวก scammers เขาทำงานแบบไร้พรมแดน ดังนั้นเราก็ต้องทำงานต่อต้านข้ามพรมแดนแบบไร้พรมแดนเช่นกัน ภัยอันเป็นการข่มขู่จาก scammers นั้นไม่หยุดยั้ง แต่เราก็มิอาจพักหรือล้มเลิกความพยายามได้เลย วิถีการดำเนินชีวิต หรือบางที่ก็ในกรณีวิกฤติก็ถึง “ชีวิต” ของประชาชนของเรานั้นเป็นหัวใจสำคัญ โดยการสร้างสมวัฒนธรรมของการมีสำนึกตื่นตัวต่อสถานการณ์และ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ และการคิดหาวีถีทางใหม่ๆ หรือ นวัตกรรมในการต่อสู้กับพวก scammers เราจะสมารถกวาดล้างทำลายพวกคนเลวร้ายทั้งหลายเหล่านี้ได้ ◾️ [Sun Xueling is Singapore’s minister of state in the Ministry of Home Affairs and the Ministry of Social and Family Development.] [Sun Xueling เป็นรัฐมนตรีแห่งรัฐสิงคโปร์สังกัดกระทรวงกินการภายใน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว] |