THAIVISION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • THE DISSERTATION
    • MY STORY
    • ศิลปะในการใช้ชีวิต
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • INTERVIEW

Picture
Picture
George Orwell 

ชื่อจริง Eric Arthur Blair ส่วนชื่อ George Orwell เป็นนามปากกา (ช่วงชีวิต 25 มิถุนายน 1903 - 21 มกราคม 1950) เป็นชาวอังกฤษ เกิดที่เมือง Motihari แคว้นเบงกอล (Bengal Presidency - รัฐ Bihar ปัจจุบัน), อาณานิคมอินเดียของอังกฤษ (British India) พ่อทำงานรับราชการในรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ

พออายุได้ 1 ขวบแม่ก็พากลับไปเรียนหนังสือที่อังกฤษ จบที่ Eaton School ปี 1922 กลับไปทำงานเป็นตำรวจอังกฤษในอาณานิคมพม่ารวม 5 ปี จากนั้นกลับอังกฤษ เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักเขียน งานชิ้นแรกที่เป็นที่รู้จักคือเรื่อง Down and Out in Paris and London (1933), Burmese Days (1934), เดือนมิถุนายน ปี 1936 แต่งงานกับ 
Eileen O'Shaughnessy แล้วเดือนธันวาคม ปีเดียวกันก็เดินทางไปเป็นทหารรับจ้างรบต่อต้านนายพล Franco ในสงครามกลางเมืองประเทศสเปน ต่อมาในปี 1938 พบว่าป่วยเรื้องรังเป็นวัณโรค พยายามรักษาตัวเรื่อยมา ระหว่างปี 1941-1943 ทำงานเป็นผู้ผลิตรายการวิทยุ BBC แล้วลาออกมาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สังคมนิยมเพราะตัวเขาเองนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย

งานเขียนของ Orwell ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากในโลกวรรณกรรมคือนวนิยายเรื่อง Burmese Days (1934),  A Clergyman's Daughter (1935), Keep the Aspidistra Flying (1936), Coming Up for Air (1939), Animal Farm (1945), Nineteen Eighty-Four (1949), งานสารดคีสำคัญคือ Down and Out in Paris and London (1933), The Road to Wigan Pier (1937), Homage to Catalonia (1938) และเรียงความเรื่องสั้นต่างๆอีกหลายเรื่อง
​
George Orwell 
ถึงแก่กรรมในปี 1950 รวมอายุ 47 ปี

Picture
​ANIMAL FARM 📚สัตวาธิปไตย
"สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน
​แต่สัตว์บางตัว จะมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์ตัวอื่น"
​

หนังสือเล่มนี้ สมัยผมเรียนหนังสือเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมปลาย-ขึ้นปี 1 ระดับมหาวิทยาลัย ประมาณ ปี พ.ศ. 2510-2511 อาจารย์ที่วิทยาลัยครูจันทรเกษมแนะนำให้อ่าน ในสมัยนั้นเป็นช่วงเวลาของการต่อสู้ทางอุดมการณ์สังคมนิยมกับทุนนิยมด้วย ได้จังหวะแห่งบริบทพอดี
ผ่านมา 50 ปีแล้ว ผมก็ยังอ่านอยู่ เป็นหนึ่งในหนังสือสำคัญที่ครูอเมริกันในหลายๆโรงเรียนแนะนำให้เด็กอ่านเป็นหนังสือนอกเวลาเรียน การเมืองที่ออกนอกกรอบประเพณีประชาธิปไตยพื้นฐานดั้งเดิมในอเมริการะยะนี้ ทำให้ผู้คนเริ่มหันกลับมาอ่านหนังสือสำคัญของ George Orwell เรื่อง 1984 เพราะสะท้อนความจริงปัจจุบัน แต่ไหนๆก็อ่าน 1984 กันอีกรอบแล้ว ก็น่าจะอ่าน Animal Farm ไปด้วยเลย
ผมถือโอกาสแปลชื่อหนังสือตามใจชอบว่า "สัตวาธิปไตย"

Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Animal Farm
George Orwell

“Now, comrades, what is the nature of this life of ours? Let us face it: our lives are miserable, laborious and short. We are born, we are given just so much food as will keep the breath in  our bodies, and those of us who are capable of it are forced to work to the last atom of our strength; and the very instant that our usefulness has come to an end we are slaughtered with hideous cruelty……. Why then do we continue in this miserable condition?”

“สหายเอ๋ย ธรรมชาติของชีวิตพวกเรามันเป็นอย่างไรกัน? ยอมรับเสียเถิดว่า ชีวิตของเราเป็นทุกข์ เหน็ดเหนื่อย และสั้น เราเกิดมาก็ได้เพียงแค่อาหารพอต่อลมหายใจ หากใครในหมู่พวกเราที่แข็งแรงก็ถูกบังคับให้ทำงานจนสิ้นพลังอะตอมสุดท้าย พลันที่เราหมดสิ้นซึ่งประโยชน์ เราก็ถูกเชือดด้วยความทารุณโหดร้าย......แล้วเราทนต่อสภาพทุกข์ทรมาณเช่นนี้ไปทำไมกัน”

ประโยคบาดใจของ George Orwell ในหนังสือชื่อ “Animal Farm” เสมือนกำลังระบายความคั่งแค้นที่สะสมมานานในหมู่ชนชั้นที่ถูกกดขี่ อันที่จริงก็ไม่ผิด เพียงแต่ว่าชนชั้นที่ถูกกดขี่ในนิยายเรื่องนี้เป็นเหล่าสัตว์ใน Manor Farm ของ Mr. Jones ในประเทศอังกฤษ

สรรพสัตว์ในฟาร์มทั้งหลายได้รับแรงดลใจจากหมูผู้เฒ่าชื่อ Major ผู้ซึ่งกล่าวสุนทรพจน์จุดประกายการปฏิวัติก่อนตัวผู้เฒ่าเองจะจากโลกไป

“Man is the only real enemy we have. Remove man from the scene, and the root cause of hunger and overwork is abolished forever.”

“มนุษย์คือศัตรูที่แท้จริงของเรา” หมูผู้เฒ่ากล่าวต่อ  “กำจัดมนุษย์ออกไปได้ก็เท่ากับถอนรากเหง้าแห่งความหิวโหยและการทำงานหนักเกินขนาดไปอย่างหมดสิ้น”

“Man is the only creature that consumes without producing. He does not give milk, he does not lay eggs, he is too weak to pull the plough, he cannot run fast enough to catch rabbits. Yet he is lord of all the animals”

“มนุษย์เป็นสัตว์ที่กินที่ใช้โดยไม่ผลิต ให้นมก็ไม่ได้ ออกไข่ก็ไม่เป็น อ่อนเกินกว่าจะลากคันไถ วิ่งก็ไม่ไวพอที่จะล่ากระต่ายได้ แต่มนุษย์ก็ยังได้เป็นเจ้าชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งปวง”

George Orwell นักเขียนชาวอังกฤษ เกิดที่อินเดีย ทำงานเป็นตำรวจอังกฤษที่ปกครองพม่ายุคล่าอาณานิคม กลับไปสร้างชีวิตนักเขียนที่อังกฤษ ทั้งนวนิยาน และบทความทางสาระและการเมืองจนได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนที่ละเอียดละมียดละมัยเอาใจใส่ทุกตัวอักษรที่บรรจงเขียน

สำหรับเรื่อง Animal Farm นี้ Orwell เรียกว่าเป็นเทพนิยายหรือ Fairy Story ทำให้เป็นเรื่องซับซ้อนมาก ว่า Orwell ต้องการอะไร เพราะธรรมชาติของเทพนิยายนั้นจะไม่มีบทเรียนสอนใจ แต่เรื่อง Animal Farm มีทั้งแนวคิดสอนใจ แบบนิทานอีสป และ มีการยืนยันเรื่องจริงที่แสดงออกโดยจินตนาการในรูปแบบเทพนิยาย เพราะสรรพสัตว์ในเรื่องมีชีวิต มีความคิดอ่าน สื่อสารเกี่ยวพันกับมนุษย์ได้ดุจอยู่ในโลกเดียวกัน แต่ถ้า Orwell บอกว่าเป็นเทพนิยายก็ต้องยอมรับว่าเป็นเทพนิยายเพราะนักอ่านที่รู้จัก Orwell ดีรู้ว่าคำของ Orwell นั้นเชื่อถือไดว่ากลั่นกรองมาแล้วอย่างดี

George Orwell เขียน Animal Farm ด้วยจุดประสงค์อันใด นอกเหนือจากการเขียนเพื่อยังชีพ ในหนังสือรวมบทความของ George Orwell บทที่ว่าด้วยเรื่อง “ทำไมข้าพเจ้าจึงเขียนหนังสือ” ท่านอธิบายว่า:
​

“Every line of serious work that I have written since 1936 has been written, directly or indirectly, against totalitarianism….Animal Farm was the first book in which I tried, with full consciousness of what I was doing, to fuse political purpose and artistic purpose into one whole.”

“งานเขียนอย่างจิงจังตั้งใจทุกบรรทัดที่ข้าพเจ้าเขียนนับแต่ปี 1936 เขียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเพื่อต่อต้านลัทธิเผด็จการรวบอำนาจ.... Animal Farm เป็นหนังสือเล่มแรกที่ข้าพเจ้าพยายาม ด้วยจิตสำนึกบริบูรณ์ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ในอันที่จะผสมผสานจุดหมายทางการเมืองเข้าด้วยกับศิลปะให้เป็นหนึ่งเดียว"

จากคำอธิบายของ Orwell นี้จึงชัดเจนว่า Animal Farm ยืมสัตว์มาเป็นตัวแทนของประชาชนที่ถูกกดขี่โดยผู้นำ หรือรัฐบาลที่เป็นเผด็จการ ไม่เลือกว่าจะเป็นเผด็จการแบบทุนนิยมประชาธิปไตย หรือแบบคอมมิวนิสต์ แม้ในสหภาพโซเวียตยุค Joseph Stalin และยุคต่อมาก็ไม่ต้อนรับหนังสือเล่มนี้ ในประเทศไทยยุคต้านคอมมิวนิตส์ ผู้มีอำนาจก็ขัดขวางการอ่าน Animal Farm เพราะนึกว่าเป็นหนังสือสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ Orwell เป็นนักสังคมนิยม ที่ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วในสหภาพโซเวียตและจีนว่าเป็นเผด็จการรูปแบบหนึ่ง

ในเมื่อ Animal Farm จบลงด้วยการปฏิวัติของสรรพสัตว์ในฟาร์มที่ไม่สำเร็จตามอุดมการณ์ดั้งเดิม แต่หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือสหายหมู Napoleon ก็ครองและเหลิงอำนาจต่อไป มีคติจากเรื่องนี้ แต่คติก็ยืนยันความจริง ไม่มีบทสรุปหักมุมให้เป็นสุขใจอันใด
     
เมื่อเริ่มปฏิวัติ คำขวัญก็คือ 
“สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน” “All animals are equal”
“Our leader, Comrade Napoleon” “Father of all animals”
แต่ตอนจบ สหาย Napoleon กลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เป็นบิดาแห่งสัตว์ทั้งปวง
กินเหล้าเมายา ใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือย เสวยสุขมากกว่าสัตว์ทั้งหลายในสาธารณรัฐสัตว์ เดินสองขาแบบมนุษย์ จนแยกไม่ออกว่าใครเป็นมนุษย์ ใครเป็นหมู

“All animals are equal 
but some animals are more equal than others””
“สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่ สัตว์บางตัวก็เท่าเทียมยิ่งกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ
”


​สมเกียรติ อ่อนวิมล
                    📚


Picture
Picture
Picture
Picture
Picture

    ความเห็นของท่านมีคุณค่า ❊ WE VALUE YOUR OPINION

Submit

THAIVISION® 
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2020 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • THE DISSERTATION
    • MY STORY
    • ศิลปะในการใช้ชีวิต
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • INTERVIEW