1984
โดย George Orwell Mass Market Paperback: 328 pages พิมพ์ครั้งแรกปี 1948 Publisher: Signet Classic (January 1, 1961) (และหลายสำนักพิมพ์) ISBN-10: 0451524934, ISBN-13: 978-0451524935 หลังจาก Donald Trump ได้รับชัยชนะในเลือกตั้ง แล้วเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในวันที่ 20 มกราคม 2017 ภายในสัปดาห์แรกก็ถูกวิจารณ์มากว่า Donald Trump กับคณะที่ปรึกษายังไม่ยอมหยุดโกหก สื่อมวลชนทั่วอเมริกาทราบดีและรายงานเสมอว่า Donald Trump เป็นคนชอบพูดโกหก พูดอะไรตามใจโดยไม่สนใจความจริง สาธารณชนทั่วไปก็หวังว่าเมื่อเขาได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐแล้วเขาคงจะปรับตัวเป็นคนดีขึ้นให้สมกับตำแหน่งผู้นำประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น ปลายสัปดาห์แรกในตำแหน่งประธานาธิบดี Donald Trump กล่าวหาว่าสื่อมวลชนโกหกที่รายงานว่ามีประชาชนมาร่วมงานพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาน้อยกว่าสมัยประธานาธิบดี Barack Obama ทั้งๆที่สื่อมวลชนรายงานความจริงโดยมีข้อมูลและภาพจากสำนักอุทยานแห่งชาติเจ้าของพื้นที่จัดงาน มีสองภาพเปรียบเทียบกัน มีข้อมูลจากการใช้บริการรถไฟฟ้า มีการคำนวนจำนวนคนในพื้นที่ตามหลักการที่ใกล้เคียงความจริง แต่ Donald Trump ก็ยังยืนยันว่าสื่อมวลชนจงใจโกหกเพื่อทำลายเขา ต่อมา นาง Kellyanne Conway อดีตผู้จัดการหาเสียง และปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาใหญ่ของ Donald Trump ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า Donald Trump และรัฐบาลของ “ท่านประธานาธิบดี” มีข้อเท็จจริงใหม่เป็นข้อเท็จจริงทางเลือก โดยใช้คำภาษาอังกฤษว่า “Alternative Facts” คล้ายกับกระบวนการจัดการความจริงที่แท้จริงให้สิ้นความน่าเชื่อถือแล้วสร้างความจริงขึ้นมาใหม่ เป็น “Alternative Facts” หรือความจริงทางเลือก ดังเช่น The Big Brother ทำกับประชาชนในหนังสือ 1984 สังคมอเมริกันจึงถูกปลุกให้ตื่นตัว และแล้วนักอ่านหนังสือก็นึกถึงหนังสือเรื่อง “1984” ของ George Orwell (1903-1950) ขึ้นมาทันที หนังสือ 1984 เป็นหนังสือที่อ่านกันตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียน เป็นตัวอย่างงานวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่มีผลกระทบต่อโลกมากเรื่องหนึ่ง ผมได้อ่านทั้ง “1984” และ เรื่องดังมากของ Orwell อีกเรื่องหนึ่งชื่อ “Animal Farm” ตั้งแต่วัยรุ่นแล้วเช่นกัน แต่การอ่านตอนเป็นเด็ก กับการอ่านใหม่ในวัยเจริญปัญญาจะให้ความอิ่มเอิบทางปรัชญาต่างกันมาก สำนักข่าว Bloomberg และหนังสือพิมพ์ The Telegraph รายงานเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2017 ว่ามีคนสั่งซื้อหนังสือ 1984 กันมากมายจนสำนักพิมพ์ต้องพิมพ์เพิ่ม ตามคำสั่งซื้อเพิ่ม 75,000 เล่ม จาก ร้านขายหนังสือทางอินเตอร์เน็ต www.amazon.com |
บทแนะนำหนังสือ "1984" ต่อไปนี้ ผมเขียนเมื่อปี 2551 ลงพิมพ์เป็นบทหนึ่งในหนังสือชื่อ “มองโลกผ่านหนังสือ” โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล ซึ่งจัดพิมพ์และจำหน่าย โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์
1984 ‘The Capitalists owned everything in the world, and everyone else was their slave. They owned all the land, all the houses, all the factories, and all the money. If anyone disobeyed them they could throw him into prison, or they could take his job away and starve him to death. When any ordinary person spoke to a capitalist he has to cringe and bow to him, and take off his cap and address him as “sir.” ’ “พวกนายทุนเป็นเจ้าของทุกอย่างในโลกนี้ แล้วคนอื่นๆก็คือพวกทาสของนายทุน พวกนายทุนเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด เป็นเจ้าของบ้านทั้งปวง เป็นเจ้าของโรงงานทุกหนแห่ง และครอบครองเงินทั้งระบบ หากใครไม่เชื่อฟังนายทุนก็อาจจะถูกโยนเข้าคุกได้ หรือไม่ก็จะถูกไล่ออกจากงาน แล้วปล่อยให้อดอยากหิวโหยไปจนตาย เวลาที่คนธรรมดาจะพูดกับนายทุนก็จำจะต้องโค้งคำนับ ถอดหมวกออก แล้วเรียกนายทุนว่า ฯพณฯท่าน.” Winston Smith อ่านประวัติศาสตร์ระบบทุนนิยม จากตำราประวัติศาสตร์เด็กโลกที่ยืมมาจาก Mrs. Pearson แล้วก็เริ่มลอกข้อความจากหนังสือ บันทึกลงสมุดบันทึกส่วนตัว. โลก สังคม และ รัฐ ของ Winston Smith ณ วันที่ 4 เมษายน ปี ค.ศ. 1984 เปลี่ยนไปอย่างที่จำอะไรไม่ได้ชัดเจนถูกต้อง หลังสงครามโลกครั้งใหญ่ ระเบิดปรมาณูทำลายทุกสิ่งอย่าง อังกฤษถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา กลายเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอภิมหารัฐเรียกว่า Oceania, เรียกชื่อดินแดนอังกฤษเดิมว่า จังหวัด Airstrip One, มี London เป็นเมืองสำคัญ, มีผู้ปกครองรัฐรู้จักกันอย่างหวาดผวาในนาม Big Brother หรือ BB ทุกหนทุกแห่งในอภิมหารัฐ หรือ Super State Oceania นั้น “The Big Brother is Watching You” หมายความว่า “ท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่จับตามองคุณอยู่ทุกฝีก้าว” ด้วยภาพ posters ขนาดยักษ์ ของท่านผู้นำ “Big Brother” ปิดประกาศทั่วทุกมุมเมือง และยังมีการติดตั้งจอภาพโทรทัศน์ หรือ “Telescreen” ที่ใช้ฉายภาพยนตร์ข่าวสารโฆษณาบังคับให้เชื่อ ติดตั้งทุกหนแห่ง ไปถึงไหนๆก็จะเจอ ดุจเงาตามตัว ทั้งในที่สาธารณะ และในอาคารบ้านเรือน จอภาพโทรทัศน์ Telescreen นี้ ทำหน้าที่ทั้งฉายภาพ ทั้งถ่ายภาพและบันทึกเสียงประชาชนที่เดินผ่านทุกคน ประชาชนไม่สามารถปิดจอ Telescreen นี้ได้ แม้อาจจะหรี่เสียงได้บ้างเล็กน้อยก็ตาม ชีวิต ความลับ ความเป็นส่วนตัว อิสระ และ เสรีภาพในอภิมหารัฐ Oceania ไม่มีเลย แม้หลังสงครามนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ผ่านไปแล้ว Oceania ก็ยังทำสงครามไม่หยุดหย่อนกับอภิมหารัฐอีกสองรัฐในโลก คือ Eurosia และ Eastasia ประชากรใน Oceania ทุกคนถูกครอบงำและกำหนดชะตาชีวิตโดยรัฐของผู้นำเผด็จการคลั่งอำนาจ มีคนยากจนส่วนใหญ่ของประเทศที่เรียกว่าพวก Proles ที่ถูกปล่อยให้อยู่อย่างเสรี ไม่ถูกควบคุม แต่เป็นเสรีภาพเยี่ยงสัตว์ Big Brother และกลไกของรัฐจะปล่อยให้พวก Proles ผู้ยากจนใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์เร่ร่อนไร้จุดหมายชีวิต ความหมกมุ่นกับสื่อลามกที่รัฐผลิตออกมามอมเมา พร้อมๆกับ lottery หรือหวยบนดิน ทำให้คนจนอยู่กับความเพ้อฝันที่ไร้โอกาสเป็นจริงไปวันหนึ่งๆ “Yes, a seven ‘as won! I could pretty near tell you the bleeding number. Four oh seven, it ended in.” “The Lottery, with its weekly pay-out of enormous prizes, was the one public event to which the proles paid serious attention. It was probable that there were some millions of proles for whom the Lottery was the principal if not the only reason for remaining alive….the Lottery, which was managed by the Ministry of Plenty…(indeed everyone in the Party was aware) that the prizes were largely imaginary. Only small sum were actually paid out.” “ใช่แล้วงวดนี้ออกเลขเจ็ด ฉันบอกแกได้เลยว่าเลขท้ายต้องออก สี่ กับ เจ็ด” “Lottery ซึ่งมีรางวัลดูมหาศาลทุกสัปดาห์ เป็นเหตุการณ์ที่พวกคนจนเอาใจใส่จริงจัง และเป็นไปได้ที่พวก proles ผู้ยากจนหลายล้านคนยึดถือ ถ้าไม่เป็นที่พึ่งเดียว ก็เป็นที่พึ่งหลักของการมีชีวิตอยู่...Lottery นี้ บริหารจัดการโดย Ministry of Plenty กระทรวงการเศรษฐกิจสมบูรณ์ (และ สมาชิกพรรคทุกคนรู้ดีว่า) รางวัลใหญ่จริงๆแล้วเป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่มีจริง รางวัลที่ให้ก็เพียงน้อยนิดเท่านั้น” นี่คือชีวิตในปี 1984 อนาคตของสังคมอังกฤษนับจากปี 1948 ไปเพียง 36 ปี ในหนังสือนวนิยายอนาคตหดหู่ทางการเมืองชื่อ “1984” (Nineteen Eighty-Four) อันที่จริงแต่เริ่มแรก George Orwell อันเป็นนามปากกาของ Eric Blair ตั้งใจจะให้ชื่อนวนิยายเรื่องนี้ว่า “The Last Man in Europe” แต่กลับมาใช้เลขชื่อปี 1984 อันเป็นเลขกลับของปี 1948 ปีที่เขียนเรื่องนี้ โดยใช้เลขปี 1984 เป็นสัญลักษณ์ของอนาคต แม้ปี 1984 ผ่านไปแล้ว แต่คำทำนายอนาคตของ George Orwell แม่นยำยิ่งนัก รัฐเผด็จการอำนาจนิยมที่เรียกว่า “ระบอบรัฐอำนาจ” หรือ “Authoritarian State” เกิดขึ้นในเวลาต่อมาในประเทศจีน และ สหภาพโซเวียต แล้วก็มีคำเตือนต่อไปว่าระบอบเผด็จการแบบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จโดยรัฐ ที่เรียกว่า “Totalitarian State” จะเกิดขึ้นตามมา George Orwell มิได้เป็นผู้เห็นชอบกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ เป็นนักอุดมการณ์สังคมนิยม งานเขียนที่สร้างชื่อเสียงให้เขาโด่งดังก้องโลกวรรณกรรม ก่อน 1984 คือเรื่อง Animal Farm ในปี 1946 ก็เสนอแนวคิดล้มระบอบทุนนิยมมาก่อนแล้ว มาถึงเรื่อง “1984” ทุนนิยมถูกทำลายโดยสงคราม รัฐสังคมนิยมก็ยังไม่เกิด กลับถูกแทนที่โดยระบอบรัฐครองอำนาจเบ็ดเสร็จ ครอบงำสื่อมวล ข่าวสารข้อมูล บิดเบือนประวัติศาสตร์ และบิดเบือนข้อเท็จจริงทุกเรื่อง เพื่อหลอมมวลชนให้อยู่ในความควบคุมของรัฐ ใครขัดขืนไม่เชื่อฟังก็ถูกอุ้มหายไป เรียกเป็นภาษาที่รัฐประดิษฐ์ขึ้นใหม่ว่า “Vaporize” แปลตรงตัวว่า “ระเหิดระเหยหายไป” ซึ่งหมายความว่า “อุ้มไปฆ่า” “ลบหลักฐาน” จนไม่ปรากฏชื่อนักต่อต้านอำนาจรัฐผู้นั้นในทะเบียนบ้านอีกต่อไป. Big Brother - ฯพณฯ ท่านผู้นำรัฐ -ใช้ Ministry of Truth / กระทรวงกิจการความจริง จัดการข่าวสาร ศิลปะ และความบันเทิง ครอบงำประชาชน; ใช้ Ministry of Plenty / กระทรวงกิจการเศรษฐกิจสมบูรณ์ จัดการระบบเศรษฐกิจที่ผู้ครองอำนาจเท่านั้นที่จะกอบโกยได้; ใช้ Ministry of Peace / กระทรวงการสันติภาพ ทำสงครามกับอภิมหารัฐคู่แข่ง คือ Eurasia และ Eastasia; และ ใช้ Ministry of Love / กระทรวงกิจการแห่งความรัก ทำหน้าที่บริหารจัดการปิดกั้นความรักของหญิงชายมิให้เบ่งบานเป็นเสรี ใช้การผสมเทียมเป็นเครื่องมือในการสร้างประชากรกลุ่มใหม่ ใน Oceania นี้. Winston บอกกับ Julia คู่รักที่ต้องอยู่กันอย่างหลบซ่อนว่า: “There is no such thing as happiness, that the only victory lays in the far future, long after you were dead” “ไม่มีสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นความสุข ชัยชนะถ้าจะมี ก็อยู่ในอนาคตอันห่างไกล อนาคตหลังจากความตาย” WAR IS PEACE FREEDOM IS SLAVERY IGNORANCE IS STRENGTH สงครามคือสันติภาพ เสรีภาพคือการเป็นทาส ความโง่เขลาคือพลัง นี่คือคำขวัญของ ฯพณฯท่านผู้นำ แห่งอภิมหารัฐ Oceania ผู้มีสมญานามว่า “Big Brother” หนังสือเรื่อง “1984” โดย George Orwell เป็นหนังสืออันดับสี่ที่บรรณารักษ์ห้องสมุดอังกฤษ และ Peter Boxhall ในหนังสือ “1001 Books” ของเขา ลงความเห็นว่า ทุกคนควรอ่านก่อนตาย เป็นหนังสือยอดนิยมตลอดกาลอันดับที่ 8 ใน 100 เรื่อง ของชาวอังกฤษ จากการสำรวจของ BBC แต่หนังสือเล่มนี้ไม่จบอย่างเป็นสุข George Orwell มิได้เขียน “1984” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้รัฐในอนาคตเป็นเช่น Oceania และเขามิได้ปราถนาจะเห็นกำเนิดผู้นำเผด็จการ เช่น The Big Brother ซึ่งเป็นผู้ทำลายความจริง เสกสรรปั้นแต่งความจริงแบบใหม่ บังคับให้ประชาชนเชื่อตามที่รัฐบอก อย่าเชื่อตามที่ประชาชนได้เห็นได้ยิน ได้ฟังด้วยตัวเอง แต่ Orwell ต้องการเขียนเรื่อง “1984” ขึ้นมาเป็นการเตือนภัยให้โลกรับรู้ล่วงหน้าว่า “1984” อาจเกิดขึ้นได้ และกำลังจะมาถึงในอนาคต สมเกียรติ อ่อนวิมล 26 มกราคม 2560 อ้างอิง: Bloomberg News ‘1984’ Publisher Orders New Printing as Sales Soar https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-01-25/-1984-publisher-orders-new-printing-as-sales-soar?cmpid=socialflow-twitter-business&utm_content=business&utm_campaign=socialflow-organic&utm_source=twitter&utm_medium=social The Washington Post Why Orwell’s ‘1984’ matters so much now https://www.washingtonpost.com/entertainment/books/why-orwells-1984-matters-so-much-now/2017/01/25/3cf81964-e313-11e6-a453-19ec4b3d09ba_story.html?hpid=hp_hp-more-top-stories_bw-orwell552pm%3Ahomepage%2Fstory&utm_term=.a2ce1fa31ff6 1984 @ amazon.com https://www.amazon.com/s/ref=nb_sb_noss?url=search-alias%3Daps&field-keywords=1984 The Telegraph '1984' sales soar as 'alternative facts' and Trump claims echo Orwell's dystopian worldhttp://www.telegraph.co.uk/news/2017/01/25/1984-sales-soar-alternative-facts-trump-claims-echo-orwells/?WT.mc_id=tmg_share_fb |
โลกปัจจุบันพัฒนาไปตามแนวคิดแบบที่ George Orwell ได้เขียนเชิงทำนายไว้ในนวนิยายเรื่อง 1984 ของเขา แนวคิดแบบที่ Orwell เขียนไว้ เรียกว่าแนวคิดแบบ Orwellian โลกหลังปี 1948 ซึ่งเป็นปีที่พิมพ์เผยแพร่เรื่อง "1984" ผ่านไปได้เพียง 69 ปี
มีปรากฏการณ์หลายอย่างที่ชี้ให้เห็นว่าการคาดคิดของ Orwell เป็นจริง ดูที่การเมืองในสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างได้เลย หลังจาก Donald Trump ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เข้ารับตำแหน่งต้นปี 2017 นักคิดนักเขียนและนักวิชาการกล่าวถึง "1984" กันมาก ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ดังตัวอย่างข่าวสารบางเรื่องที่ปรากฏ ต่อไปนี้: |
Opinions
Shutting down fake news could move us closer to a modern-day ‘1984’ By Flemming Rose and Jacob Mchangama February 10 at 7:40 PM Flemming Rose is a senior fellow at the Cato Institute. Jacob Mchangama is director of the Copenhagen-based think tank Justitia. Remember George Orwell’s Ministry of Truth? In his dystopian novel “1984,” its purpose was to dictate and protect the government’s version of reality. During the Cold War, Orwell’s book was banned behind the Iron Curtain, because readers perceived the novel as an allegory for their own repressive regimes. It was a serious crime to distribute information defaming the Soviet social and political system. Such criminal laws were widely used by the Kremlin to silence dissidents, human rights activists, religious movements and groups fighting for independence in the Soviet republics. Similar laws were on the books in East Germany, Poland and other Eastern bloc countries. Thankfully, today this landscape is much changed, but increasingly there are disturbing echoes of the past. Amid a debate about the rising influence of fake news and the danger it poses to the political and social order in the West, democratic politicians in Europe have proposed sanctions — and even prison terms — for those found responsible for distributing false information. Euopean Union Justice Commissioner Vera Jourova has warned tech companies such as Facebook and Twitter that if they don’t find ways to eliminate hate speech and combat fake news, a law mandating action may be necessary. Commissioner Andrus Ansip reinforced that threat last month, albeit in softer language, prompting social-media giants and traditional media to announce a flurry of initiatives aimed at combating fake news. Italy’s antitrust chief, Giovanni Pitruzzella, has said that E.U. countries should set up a network of government-appointed bodies to remove fake news and potentially impose fines on the media. Pitruzzella doesn’t hide his political agenda — he wants to target his opponents on the populist left and right. “Post-truth in politics is one of the drivers of populism, and it is one of the threats to our democracies,” he told the Financial Times. In Germany, politicians eager to counter Russian meddling and populist movements in upcoming parliamentarian elections have issued similar calls. Justice Minister Heiko Maas argues that authorities need the power to impose prison terms for fake news on social media. “Defamation and malicious gossip are not covered under freedom of speech,” Maas said. “Justice authorities must prosecute that, even on the Internet. Anyone who tries to manipulate the political discussion with lies needs to be aware [of the consequences].” It is understandable that liberal democracies are deeply worried about disinformation, which tears at the fabric of pluralistic democratic societies. John Stuart Mill famously argued that free speech would help exchange “error for truth” and create “the clearer perception and livelier impression of truth, produced by its collision with error.” Yet this justification weakens considerably if lies and disinformation become indistinguishable from truth. In such an environment, “Democracy will not survive a lack of belief in the possibility of impartial institutions,” political scientist Francis Fukuyama recently wrote. “Instead, partisan political combat will come to pervade every aspect of life.” |
That is indeed a nightmare scenario to be avoided. But using legal measures to counter disinformation is likely to be a cure worse than the disease. One does not need to go back to the Cold War to worry about what happens when governments become the arbiters of truth.
In the past two years, Egypt has sentenced six Al Jazeera journalists to death or long prison terms for, among other things, allegedly spreading false news. In 2013, Gambia — until the recent ouster of Yahya Jammeh, one of Africa’s worst dictators — introduced a punishment of up to 15 years’ imprisonment and hefty fines for those who spread “false news,” citing a need for stability and the prevention of “unpatriotic behavior” and “treacherous” campaigns. Russia, ironically the source of so much of the disinformation menacing liberal democracies, uses broad and vague anti-extremism laws to prohibit news that the Kremlin views as propaganda — including prison sentences for social-media users who insist that Crimea is part of Ukraine. Of course, Europe’s established democracies have little in common with the Soviet Union or other illiberal regimes. But the legal tools proposed by European politicians to suppress fake news sound alarmingly like those used by authoritarian governments to silence dissent. This is dangerous. Not only are such measures incompatible with the principle of free speech, but also they set precedents that could quickly strengthen the hand of the populist forces that mainstream European politicians feel so threatened by. Europe may soon find itself with populists such as France’s Marine Le Pen and the Netherlands’ Geert Wilders with real power. Such leaders would draw the line between fake news and free speech very differently than mainstream politicians — perhaps aiming them at the supposedly corrupt established media rather than websites, blogs and social media trafficking in “alternative facts.” It is also unlikely that the increasingly illiberal governments of Poland and Hungary would agree with the European Commission or German Chancellor Angela Merkel on what constitutes false information or fake news. And while the First Amendment prevents the U.S. government from overtly limiting press freedom, it’s clear that President Trump’s definition of fake news is vastly different from what his opponents or the media have in mind. Above all, rather than strengthening established media institutions, banning fake news might very well undermine them in the eyes of the public. If alternative outlets are prosecuted or shut down, mainstream media risk being seen as unofficial propaganda tools of the powers that be. Behind the Iron Curtain, nonofficial media outlets had more credibility than official media in spite of the fact that not everything they published was accurate or fact-checked. The hashtag #fakenews could become a selling point with the public if it were banned rather than rigorously countered and refuted. As White House strategist Stephen K. Bannon replied when asked whether press secretary Sean Spicer, after making irrefutably false statements, had damaged his credibility with the media: “Are you kidding me? We think that’s a badge of honor.” https://www.washingtonpost.com/opinions/shutting-down-fake-news-could-move-us-closer-to-a-modern-day-1984/2017/02/10/fd02d29a-ef1a-11e6-9662-6eedf1627882_story.html?hpid=hp_no-name_opinion-card-e%3Ahomepage%2Fstory&utm_term=.ec248d2f74c6 |
|