ON DEMOCRACY
โดย Robert A. Dahl * Robert A. Dahl เป็นศาสตราจารย์วิชารัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัย Yale สหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมากในวงการวิชาการว่าด้วยเรื่องประชาธิปไตย จากหนังสือที่เป็นตำราวิชาการ และบทวิเคราะห์หลายเล่ม ที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับพลเมืองโลกที่ต้องการความรู้เรื่องประชาธิปไตยมากที่สุดคือเล่มนี้ ที่ว่าเหมาะมากสำหรับพลเมืองที่ใคร่รู้เรื่องประชาธิปไตย มิได้หมายความว่า อ่านแล้วจะทำให้ผู้อ่านเป็นประชาธิปไตย อ่านแล้วไม่ชอบ อ่านแล้วไม่ทำ ก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ศาสตราจารย์ Robert A. Dahl กล่าวว่า (51) “…democracy could not long exist unless its citizens manage to create and maintain a supportive political culture, indeed a general culture supportive of these ideal and practices. …a democratic culture is almost certain to emphasize the value of personal freedom and thus to provide support for additional rights and liberties.” “ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นและคงอยู่ไม่ได้หากพลเมืองไม่สร้าง ไม่มี และไม่รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองที่ค้ำหนุนประชาธิปไตยเอาไว้อย่างยั่งยืนทั้งในแง่อุดมการณ์และในด้านการปฏิบัติจริง...วัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตยที่เกือบจะกล่าวได้ว่าเป็นจุดเน้นค่านิยมแห่งอิสรภาพส่วนบุคคล และให้การสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพอื่นๆให้เพิ่มมากขึ้นไปอีก” วัฒนธรรมทางประชาธิปไตย เป็นความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และดำเนินชีวิตด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตย อย่างจริงจังทุกเวลานาที ทุกส่วนของครอบครัว ทั่วทุกทางแยกของสังคม เรื่องวัฒนธรรมความเป็นประชาธิปไตย ถูกเน้นย้ำโดยศาสตราจารย์ Robert A. Dahl ตลอดทั้งเล่มของหนังสือ ON DEMOCRACY นอกจากวัฒนธรรมประชาธิปไตยจะต้องมีอย่างสมบูรณ์แล้ว วัฒนธรรมอื่นอันเป็นเป็นพื้นฐานของสังคม ก็จะต้องส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมประชาธิปไตยด้วย (143) (145) (149) CULTURAL CONFLICTS WEAK OR ABSENT ในบทที่ 12 ว่าด้วยเงื่อนไขที่ทำให้ประชาธิปไตยประสพความสำเร็จ ศาตราจารย์ Dahl ย้ำว่าในขณะที่ประชาธิปไตยต้องเป็นวัฒนธรรมหลักที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น จะต้องไม่มีความขัดแย้งในส่วนของวัฒนธรรมชุมชนและสังคมด้านอื่นๆที่แยกย่อยออกไป หรือหากจะมีความขัดแย้งอยู่บ้างก็ต้องมีให้น้อยที่สุด (149) CULTURAL CONFLICTS WEAK OR ABSENT “Democratic political institutions are more likely to develop and endure in a country that is culturally fairly homogeneous and less likely in a country with sharply differentiated and conflicting subcultures.” “สถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยมีแนวโน้มจะพัฒนาและเติบโตได้ยั่งยืนถาวรในประเทศที่มีวัฒนธรรมเป็นหนึ่งเดียวกันพอสมควร และจะไม่เติบโต ไม่ยั่งยืนถาวรในสังคมที่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่แยกย่อยอยู่ในสังคมนั้น” “Distinctive cultures are often formed around differences in language, religion, race, ethnic identity, region, and sometimes ideology. Member share a common identity and emotional ties; they sharply distinguish “us” from “them.” They turn toward other members of their group for personal relationships: friends, companions, marriage partners, neighbors, guests. They often engage in ceremonies and rituals that, among other things, define their group boundaries. In all these ways and others, a culture may become virtually a “way of life” for its members, a country within a country, a nation within a nation. In this case society is, so to speak, vertically stratified.” “เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยปรกติก่อกำเนิดจากความแตกต่างทางภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ถิ่นที่อยู่อาศัย และบางทีก็รวมถึงอุดมการณ์ด้วย ผู้คนจะมีเอกลักษณ์ร่วมกัน ผูกพันกันด้วยอารมณ์ความรู้สึก แยกกลุ่ม “พวกเรา” ออกจาก “พวกเขา” อย่างชัดเจน พลเมืองในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกัน หันหน้าเข้าหากันเพื่อสร้างสัมพันธ์และมิตรภาพส่วนตัวระหว่างกัน แต่งงานกัน เป็นเพื่อนบ้านกัน ไปมาหาสู่กัน มีขนบประเพณี พิธีกรรมร่วมกัน และในบรรดาการมีส่วนร่วมเหมือนกันนั้น พลเมืองก็จะกำหนดพรมแดนของกลุ่มตนร่วมอาณาเขตเดียวกัน ในทำนองนี้เองที่วัฒนธรรมกลายเป็นวิถีชีวิตสำหรับสมาชิกในกลุ่ม กลายเป็นประเทศที่อยู่ในประเทศ เป็นชาติที่อยู่ในชาติ ในกรณีนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าสังคมวางตัวเป็นชั้นๆสูงขึ้นเป็นแนวตั้ง” “Cultural conflict can erupt into the political arena, and typically they do: over religion, language, and dress codes in schools, for example; or equality of access to education; or discriminatory of practice by one group against the other; or whether the government should support religion or religious institutions, and if so, which ones and in what ways;....” “ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมสามารถปะทุขึ้นในสนามการเมือง และธรรมดาก็เป็นอย่างนั้น ขัดแย้งกันเรื่องศาสนา ภาษา ระเบียบการแต่งกายในโรงเรียน ความเท่าเทียมกันในโอกาสการได้รับการศึกษา การปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันต่อพลเมืองต่างกลุ่ม ขัดแย้งกันในเรื่องที่ว่ารัฐควรสนับสนุนศาสนา หรือสถาบันศาสนาหรือไม่ ถ้าควร จะสนับสนุนศาสนาไหน? สถาบันไหน? อย่างไร?...” “Issues like these pose a special problem for democracy.” “ปัญหาทำนองนี้เป็นปัญหาพิเศษสำหรับประชาธิปไตย” ON DEMOCRACY โดย Robert A. Dahl อธิบายหลักการพื้นฐานและอุปสรรคขัดขวางทุกอย่าง เกี่ยวเนื่องกับประชาธิปไตย (5) จุดเริ่มประชาธิปไตย (7) ตั้งแต่สมัย Greece และ Rome โบราณ (9) “Like fire, or painting or writing, democracy seems to have been invented more than once, and in more than one place.” “เหมือนกับไฟ, หรือภาพวาด หรืองานวรรณกรรม, ประชาธิปไตยดูว่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้ง ในมากกว่าหนึ่งสถานที่” ศาสตราจารย์ Robert A. Dahl กล่าว “Democracy can be independently invented and reinvented whenever the appropriate conditions exist.” “ประชาธิปไตยนั้นสามารถประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นได้เองโดยอิสระ สร้างแล้วสร้างอีก สร้างแล้วสร้างใหม่ได้ตราบใดที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสม” (33) Ideal Democracy ประชาธิปไตยในอุดมคติ กับ (81) Actual Democracy ประชาธิปไตยในความเป็นจริงที่ปรากฏ นั้นอาจยังไม่สามารถทำให้ได้เหมือนกันครบถ้วน แต่โดยพื้นฐาน (38) ประชาธิปไตยต้องให้โอกาสพลเมืองได้ Effective participation มีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผล Equality in voting สิทธิออกเสียงอย่างเสมอภาค Gaining enlightened understanding ความรู้อย่างเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง Exercising final control over the agenda มีอำนาจขั้นสุดท้ายในการกำหนดวาระ และ Inclusion of adults ให้สิทธิกับพลเมืองที่เป็นผู้ใหญ่แล้วทุกคน (119) Constitutions ว่าด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญ ควรมีในรูปแบบอย่างไร? (130) Parties and Electoral Systems พรรคการเมือง และ ระบบการเลือกตั้ง ควรเป็นอย่างไร และ (143) Conditions Favorable and Unfavorable for Democracy เงื่อนไขที่เกื้อกูลและขัดขวางประชาธิปไตย นั้น ที่จำเป็นเหนือสิ่งใดและก่อนเรื่องใดๆคือ 1. Control of military and police by elected officials ผู้ที่มาจากการเลือกตั้งต้องควบคุมทหารและตำรวจให้ได้ เพราะทหารและตำรวจคือผู้มีอำนาจแทรกแซงประชาธิปไตย 2. Democratic beliefs and political culture วัฒนธรรมทางการเมืองที่ยึดมั่นในประชาธิปไตย 3. No strong foreign control hostile to democracy ไม่มีอิทธิพลกำกับจากต่างชาติที่ไม่เป็นมิตรต่อประชาธิปไตย เพิ่มเติมด้วยเงื่อนไขที่เกื้อกูลต่อประชาธิปไตยอีกสองเรื่อง คือ 1. A modern market economy and societyระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เสรี และทันสมัย และ 2. Weak subcultural pluralismวัฒนธรรมแยกย่อยในสังคมที่ผ่อนปรนและอ่อนโยน (180) ถนนสายประชาธิปไตยนี้ มนุษย์ใช้เดินทางกันคาคร่ำ ขวักไขว่ ไม่รู้จบสิ้น What lies ahead? จะมีอะไรคอยอยู่ข้างหน้า? The future is too uncertain to provide firm answers. อนาคตไม่แน่นอนยิ่งนักที่ให้คำตอบที่แน่นอน “Nonetheless, we can predict with considerable confidence…that certain problems democratic countries now face will remain, and may even grow more daunting.” “แม้กระนั้นก็ตาม เราก็สามารถทำนายได้ด้วยความมั่นใจว่า...ปัญหาบางอย่างที่ประเทศประชาธิปไตยเผชิญอยู่จะยังคงอยู่ต่อไป และปัญหานั้นอาจขยายตัวจนน่าห่วงมากขึ้น” .......... |