Thailand is unique among the countries of Southeast Asia in that it has never been a European colony....Thais, unlike most other Southeast Asians, are untouched by a trace of what the psychiatrists call trauma where European are concerned. They treat visitors with neither resentment nor exaggerated respect but rather with a gracious air of quiet curiosity, which makes their guests feel flattered and at ease. More important than its effects upon contemporary tourists have been the consequences of this attitude towards visitors upon Thailand's own colourful history, both early and contemporary." |
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
PHU KRADUENG NATIONAL PARK
บทภาพยนตร์
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง PHU KRADUENG NATIONAL PARK ตำนานพื้นบ้านแต่โบราณ เล่าลือกันมานานหลายชั่วอายุปู่ย่าตายายและลูกหลานว่า พรานป่าไล่ล่ากระทิงโทนขึ้นถึงยอดภูเขาลูกหนึ่ง ในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง มีคนเล่าลือกันถึงเสียงกระดึงบนยอดภู เสียงกระดึง หรือกระดิ่งนั้นดังดุจเสียงระฆังใหญ่ กว่านายพรานผู้นั้นจะตามกระทิงโทนไปถึงยอดภู คงจะใช้เวลานานกว่าจะไปถึงยอดภู กว่าจะได้ยินเสียงกระดึงบนภูนั้น ซึ่งมีชื่อเรียกในทุกวันนี้ว่า ... ภูกระดึง บนยอดภูกระดึง ต้องมีสิ่งอัศจรรย์แห่งภูผา ยิ่งไปกว่ากระทิงโทนของนายพรานเป็นแน่แท้ ช่วงต้นทางขึ้นสู่ภูกระดึง จากเชิงเขาล่างสุดที่บ้านศรีฐาน ผ่านจุด “ซำแฮก” และ “ซำบอน” ไปถึง “ซำกกกอก” ณ จุดความสูง 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางนี้ สองข้างทางคือป่าเต็งรัง กระจายทั่วพื้นที่สองข้างทาง ขึ้นไปจนถึงจุดซำบอน อุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว ซึ่งมีป่าหลายประเภทอยู่ในกลุ่มป่าเดียวกัน เพราะความหลากหลายในสภาพพื้นที่ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ จึงมีป่าดงดิบปกคลุมตามเชิงเขา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้าลานหินในป่าสนที่อยู่ระดับสูงถัดๆไป ป่าเต็งรังสองข้างทางเดินขึ้นภูกระดึง ช่วงต้น บนพื้นที่สูง 200 - 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่จุดแรกที่ทำการอุทยานฯ ไปปางปกค่า ..ซำแฮก ...ซำบอน ถึง ซำกกกอก ไม้เด่นที่สุดคือไม้เต็ง และไม้รัง ตามชื่อป่า ไม้อื่นที่สำคัญมี ยางเหียง, พลวง, กราด, รกฟ้า, อ้อยช้าง, กว้าว, มะกอกเลื่อม, มะค่าแต้, ช้างน้าว, ติ้วขน, และ ยอป่า พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุกชนิดอื่นๆ ป่าเต็งรังเป็นป่าโปร่ง ทนแล้ง ธาตุอาหารในดินไม่ต้องอุดมสมบูรณ์ก็อยู่ได้ ในสภาพแล้งและดินและหินกระจายทั่วพื้นล่างบนที่ลาดเชิงเขาและที่ลาดชัน ป่าเต็งรังภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จากเนื้อที่ทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง 348.12 ตารางกิโลเมตร หรือราว 1 ใน 12 ส่วน หรือประมาณ 8% ของพื้นที่อุทยานฯ การที่เป็นป่าแล้งน้ำ การเกิดไฟป่าบ่อยๆทำให้ป่าเต็งรังต้องปรับตัว เปลือกไม้จะหนาทนไฟป่าได้ดี และจะกันการคลายน้ำ อันเป็นเวลาผลัดใบทิ้ง ตัดโอกาสการคลายน้ำจากใบ เมื่อบรรดาใบไม้ที่เคยมีสีเขียวสด กลายเป็นสีเหลืองสด สีแดง สีทอง ในฤดูแล้ง เตรียมตัวเข้าสู่ฤดูหนาว เช่นเดียวกับป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ เพียงแต่ป่าเต็งรัง จะสลัดใบทิ้งจนหมดต้น แต่ป่าเบญจพรรณจะผลัดใบออกไม่หมด ป่าเบญจพรรณภูกระดึงอยู่ต่อจากแนวป่าเต็งรังขึ้นไป จากซำกกกอก ผ่าน ซำกอซาง ถึงซำกกหว้า อันเป็นที่ราบเชิงเขา และที่ลาดชันตามไหล่เขา สูง 600-900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง และป่าเบญจพรรณนี่เองที่เป็นสังคมพืชหลักของภูกระดึง ครอบคลุมพื้นที่ 233 ตารางกิโลเมตร มากถึง 67% พรรณไม้ที่สำคัญ มี ไม้แดง, ประดู่ป่า, กระบก, ตะแบกเลือด พืชชั้นล่างเป็นที่สังเกตุได้ง่าย มีไผ่, หญ้า, ไม้พุ่ม, ไม้เถา, และ พืชล้มลุก ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบทั้งหมด ส่วนป่าเบ็ญจพรรณเป็นป่าผสมผลัดใบ สังคมป่าทั้งสองนี้รวมกัน เป็นพื้นที่ป่าผลัดใบ ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ถึง 75% เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม จึงเป็นช่วงเวลาที่ป่าเต็งรัง และ ป่าเบญจพรรณที่ภูกระดึงจะผันแปรสีสันเข้าสู่ความตระการตาของฤดูใบไม้ร่วงที่ไม่อาจพบเห็นได้มากนักในประเทศไทย อันเป็นประเทศเขตร้อนชื้นของโลก แต่ที่ภูกระดึง มีให้ชมทุกปี ป่าประเภทไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ที่ภูกระดึง มีป่าดิบ และป่าสน ด้วยเหตุว่าเป็นที่บนเขาสูง ลักษณะดินและหินไม่อำนวย แม่จะมีน้ำหรือความชื้นอยู่มาก แต่ก็ไม่มากเท่าป่าบนที่ต่ำหรือที่ราบ ไม่มีฝนตกตลอดปีเหมือนภาคใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ภูกระดึงจึง ไม่มีป่าดิบประเภทป่าดิบชื้น มีแต่ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา เส้นทางจากซำกกไผ่ ถึง ซำกกโดน เป็นป่าดิบแล้ง เป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบ เพราะดินลึกเก็บน้ำได้ดีพอสมควร แต่ก็ยังพบว่ามีไม้ผลัดใบขึ้นแซมผสมอยู่ด้วย ป่าดิบแล้งภูกระดึงมักจะอยู่ตามบริเวณฝั่งตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ตะวันตก ของอุทยาน ซึ่งมีทางน้ำลำธารผ่านหุบเขา สร้างความชุ่มชื้นให้กับป่า ไม้ป่าจึงไม่จำเป็นต้องผลัดใบเพื่อเก็บน้ำไว้ในลำต้น ป่าดิบแล้งที่นี่จะอยู่บนที่เชิงเขาจนถึงที่สูงประมาณ 900 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีไม้สำคัญเช่น ก่อ, ตะเคียนทอง, ยางแดง, และ ยมหอม พืชชั้นล่างมีพวกไม้พุ่ม ไม้เถา และพืชล้มลุก พืชคลุมดินจำพวกผักกูด (vegetable ferns) ชนิดต่างๆ และเฟิร์น แล้วก็ขึ้นมาถึงป่าดิบเขาที่ซำกกโดน และซำแคร่ ต่อด้วยโขดหินต่างๆ พื้นที่จะสูงชันมากขึ้นต่อไป จนก่อนจะถึงที่ราบบนยอดภูกระดึง ป่าดิบเขา ไม่ผลัดใบ เรือนยอดชิดกันแน่นทึบ ปิดกั้นแสงอาทิตย์จนแทบจะไม่มีที่ให้แสงเล็ดลอดลงสู่พื้นดินเบื้องล่าง อยู่ในช่วงความสูง 1,000 เมตรเหจือระดับน้ำทะเลปานกลาง ไม้ที่สำคัญ มีต้นทะโล้, สนสามพันปี, พะอง, จำปีป่า และโดดเด่นริมธารกลางป่าดิบเขา คือต้นก่วมแดง (Acer calcaratum Cagnep).....ไฟเดือนห้า.....ราชินีสีเพลิง............แห่งภูกระดึง สุดแต่จะเรียกชื่อกันไปตามความประทับใจ ก่วมแดงเป็นเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ตระกูล Maple มีขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ใบรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ยาว 5-15 ซม. ใบกลม ปลายแหลมยาว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกือบเกลี้ยง เส้นโคนใบ 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อเชิงหลั่นสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก มีทั้งดอกเพศผู้ และดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกัน กลีบเลี้ยงสีแดง และกลีบดอกสีขาว มีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ ก้านดอกยาว 1.5-2 ซม. เดินทางจากเชิงเขาเบื้องล่าง ขึ้นสู่ยอดเขา เป็นระยะทาง 5.5 กิโลเมตร ถึงยอดเขา หรือยอดบนสุดของภูกระดึง เป็นที่ราบแบบ เรียกเป็นภาษาพื้นเมือง ว่า “หลังแป” ฉับพลัน ป่าดิบเขาก็หายไป กลายเป็นป่าสนเขากระจายทั่วบริเวณ ป่าสนเขา บนความสูง 1,200 -1,316 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ไม้หลัก คือสนสองใบ กลายเป็นสัญญลักษณ์เฉพาะของภูกระดึงมานยาวนานไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีพื้นที่เพียง 36 ตารางกิโลเมตร บน “หลังแป” ที่ราบยอดภูกระดึง จากพื้นที่ทั้งหมด 348.12 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 10.34% ของพื้นที่อุทยาน นอกจากสนสองใบ พันธุ์ไม้อื่นที่สำคัญก็มีอีก เช่นก่อเตี้ย, ทะโล้, สารภีดอย, มะเขือเถื่อน และต้นรัก พืชชั้นล่างมี สนทราย, ส้มแปะ, กุหลาบขาว, เม้าแดง, พวงตุ้มหู, และ นางคำ บนลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน แนบกับหินเป็นแผ่น และที่เป็นฟองหิน มีกอกล้วยไม้บนพื้นดินหนาแน่น เช่น เอื้องคำหิน, ม้าวิ่ง, และเขากวาง พืชล้มลุกมีมากมาย เช่นดาวเรืองภู, ว่านคางคก, ต่างหูหาว, เนียมดอกธูป, แววมยุรา, หญ้าข้าวก่ำขาว, โสภา, เทียนภู, เปราะภู, ดอกหรีด, ขนนกยูง, หญ้าเหลี่ยม, มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นแน่นดุจผืนพรม และพืชกินแมลงที่โดดเด่นแห่งภูกระดึง คือหม้อข้าวหม้อแกงลิง และจอกบ่วาย หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นชื่อของวงศ์พืชตามการจำแนกชื่อทางพฤษศาสตร์ในบรรดาพืชวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทยนั้น มี 5 ขนิด เรียกชื่อต่างๆกันไป เช่น หม้อข้าวหม้อแกงลิง, น้ำเต้าฤาษี, น้ำเต้าพระฤาษี, แขนงนายพราน, และน้ำเต้าลม เป็นไม้เถาล้มลุก ยาวได้ถึง 6 เมตร ลำต้นกลม ใบรูปขอบขนาน ถึงรูปใบหอกกลับ ยาว 12-25 ซม. เส้นใบข้างละ 4-5 เส้น ด้านล่างมีขนประปราย ก้านใบยาว 5-10 ซม. โคนมีครีบโอบล้อมลำต้น หม้อล่างเป็นรูปคนโท สูง 8-13 ซม. ด้านนอกสีแดงคล้ำ อมชมพู หรือสีเขียวอมเหลีอง มีขนสีน้ำตาลแดง กระจายไป ปากหม้อรูปไข่กว้าง ขอบสีเขียวอ่อน สีชมพู หรือสีแดง ฝาหม้อรูปรีกว้าง ใต้ฝามีต่อมจำนวนมาก สายหม้อยาว 10-30 ซม. หม้อบนรูปคนโทเหมือนกัน สูง 8-20 ซม. ด้านนอกสีเขียวอมเหลืง หรือสีแดงเรื่อๆ มีขนประปราย ช่อดอกยาว 20-50 ซม.ก้านช่อดอกยาว 15-50 ซม. มีขนหนาแน่น ก้านดอกยาว 0.7-1.5 ซม. นอกจากที่ภูกระดึงนี้แล้ว ยังพบในที่อื่นๆของประเทศไทย ในที่ชุ่มน้ำ แหล่งซับน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความสูงประมาณ 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พบประปรายในภาคเหนือ พบมากในภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในอาเซียนพบที่พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ในประเทศจีนก็พบทางตอนใต้ จอกบ่วาย เป็นพืชล้มลุก กินแมลงเป็นอาหาร อยู่ในสกุลหญ้าน้ำค้าง ลำต้นสั้นมาก หูใบขนาดเล็ก มี 3-6 แฉก ออกใบเป็นกระจุกแบบกุหลาบ ซ้อนที่โคนแนบติดดิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 ซม. ใบรูปไข่กลับ ยาว 0.6-1.5 ซม. โคนเรียวแคบ ปลายจักชายครุย มีขนต่อมรอบๆ ช่อดอกแบบช่อกระจะ 1-3 ช่อ ออกที่ยอด ก้านช่อโดดยาว 7-20 ซม. ดอกสีขาว ชมพู หรือแดงอมม่วง ให้ผลยาว 1-2 ซม. จอกบ่วาย ขึ้นตามที่โล่ง ที่ดินไม่ต้องการดินที่สมบูรณ์ ความสูง 1,400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล นอกจากในประเทศไทยที่ภูกระดึงนี้แล้ว ก็พบจอกบ่วาย ใน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินเดีย ศรีลังกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ดอกไม้บนพื้นดิน ลานหิน และไม้อิงอาศัยต่างๆ บนภูกระดึงนั้นทยอยออกดอกบานสะพรั่ง สารพัดพรรณไม้ สารพัดสีสัน หลากหลายฤดูกาล บนยอดภูกระดึงจะมีป่าอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า “ป่าละเมาะเขาต่ำ” (Lower Montane Scrub) เป็นละเมาะไม้เตี้ยๆบนลานหิน ที่กระจายเป็นลานโขดหิน สลับกับไม้พุ่มหลายชนิด ป่าละเมาะเขาต่ำ เป็นไม้ประเภทผลัดใบ ต้นแคระแกรนในป่าโล่ง ลายหิน ดินตื้น อยู่ระดับสูง 1,200-1,300 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ในที่สุดนายพรานป่าแห่งอดีตกาล ขึ้นมาถึงยอดภู ก็ได้ยินเสียงกระดึง ระฆังกังวานแห่งธรรมชาติ ภูกระดึงของนายพรานโบราณนั้น ที่จริงแล้วในทางธรณีวิทยา มีอายุนับร้อยล้านปี ภูกระดึงเป็นเขาหินทราย ส่วนยอดภูเป็นลานกว้างตัดราบ เทือกเขาภูกระดึงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ราบสูงโคราชใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในทางดึกดำบรรพ์วิทยา ดินแดนแถบนี้ ก่อนที่จะมาเป็นกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว เริ่มต้นที่มหายุค Mesozoic 300 ล้านปีมาแล้ว แผ่นหินแผ่นดินโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ที่ราบสูงโคราชแต่ก่อนเป็นทะเลกว้าง แล้วค่อยๆตกตะกอนแห้งเหือดลง ทับถมดินหินทราย เป็นหินชุดต่างๆ ผ่านไปราว 200 ล้านปี เกิดการโก่งตัวของเปลือกโลก โค้งขึ้น ยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นเทือกเขาหินทราย กาลเวลาที่ผันแปรไปหลายล้านปี พลังกัดกร่อนของธรรมชาติและกาลเวลา ไหลเซาะ พุ่งพัด กัดเซาะทะลาย ขุนเขาอันยิ่งใหญ่ ไม่เว้นแม้วินาที พลังแห่งธรรมชาติแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อร่างสร้างสถาปัตยกรรมแห่งภูผา ไม่หยุดยั้ง ผลแห่งพลังธรรมชาติ เทือกเขา และหินผาต่างๆของภูกระดึง จึงตั้งตระหง่าน เผชิญหน้า ท้าทายธรรมชาติต่อไป ทางธรณีวิทยา หินภูกระดึงเป็นชุดหินโคราช โดยชั้นบนสุดของโครงสร้างมีอายุน้อยที่สุด เป็นชั้นหินหมวดหินภูพาน ซึ่งจะอยู่บนหลังแป ที่ระดับความสูง 990 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง หมวดหินเสาขัว พบตั้งแต่ระดับ 600 เมตรขึ้นไป มีอายุเก่ากว่าหมวดหินภูพาน ส่วนในระดับความสูง 400-600 เมตร เป็นหมวดหินพระวิหาร เป็นชั้นหินที่บางที่สุดของภูกระดึง และที่เป็นชั้นฐานโครงสร้างของภูกระดึง เรียกว่าหมวดหินภูกระดึง เป็นชั้นหินที่มีอายุมากที่สุด มากกว่าหินหมวดอื่นทั้งสามหมวด พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูเขา อยู่ที่ระดับสูง 400-1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ราบบนยอดเขาขนาด 60 ตารางกิโลเมตร ที่เรียกว่า “หลังแป” นั้น มีลักษณะรูปใบบอน ประกอบด้วยเนินเตี้ยๆ ยอดสูงสุดคือ ภูกุ่มข้าว สูง 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเล ด้านตะวันตก และตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบบนยอดภู เป็นที่สูงกว่าด้านอื่น ค่อยๆลาดเทมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลำธารใหญ่น้อย จากแล่งน้ำบนภูเขา จึงค่อยๆไหลมารวมกัน เป็นต้นน้ำของลำน้ำพอง ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนหนองหวาย จังหวัดขอนแก่น อากาศส่วนเชิงเขาด้านล่าง จะคล้ายกับสภาพอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป แต่เมื่อขึ้นที่สูงบนเขาจะแตกต่างมากกับอากาศที่ราบต่ำข้างล่าง เมฆหมอกที่ปกคลุมยอดภูอยู่เกือบตลอดเวลา ทำให้มีฝนมากกว่าด้านล่างถึง 30% เดือนธันวาคม ถึง มกราคม อุณหภูมิต่ำสุด ระหว่าง 10-0 องศา C อุณหภูมิเฉลี่ย 21-24 C หน้าร้อน เดือนมีนาคม - เมษายน 12-19 C อุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 23-30 C อากาศบนยอดภูแปรปรวน มีเมฆหมอกปกคลุมอยู่บ่อยๆเสมอ อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี ด้วยภูมิประเทศ ที่มีป่าหลากหลายชนิด มีแหล่งน้ำลำธาร และทุ่งหญ้า ที่นี่จึงเป็นที่อยู่และเติบโตอย่างเป็นสุขของสัตว์และนกป่าหลายชนิด ซึ่งอาจจะไม่ปรากฏตัวให้เห็นบ่อยนักสองข้างทางเดินขึ้นภูที่มีนักเดินทางท่องเที่ยวมากันมากไม่ขาดสายในฤดูเปิดอุทยานเพื่อรับนักท่องเที่ยว ถึงเวลาปิดอุทยานเพื่อฟื้นฟูชีวิตพืชและสัตว์ป่า ทุกชีวิตก็จะออกมาร่าเริงอย่างเสรี มีสัตว์ป่าประเภท เก้ง กวาง ช้าง ชะนี หมูป่า ลิงกัง ลิงลม ตุ่น เม่น อีเห็น กระรอก กระแต พังพอน เต่า งู. สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ นกหลากหลายชนิด ภูกระดึงยุครัตนโกสินทร์ เป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการศึกษาวิจัย เดินทางสำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์พืช โดยนักพฤกษ์ศาสตร์ชาวไอร์แลนด์ ชื่อ Dr. A.F.G. Kerr ซึ่งเป็นหัวหน้ากองตรวจพันธุ์รุกชาติจากกระทรวงพาณิชย์ในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2486 กรมป่าไม้ประกาศให้ภูกระดึงเป็นป่าคุ้มครอง เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารและป่าธรรมชาติให้ยั่งยืนตลอดไป เพื่อการศึกษาชีวภูมิศาสตร์ เรียนรู้ถึงพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และความหลายหลายทางชีวภาพที่ปรากฎอยู่อย่างสมบูรณ์ ในที่สุดกรมป่าไม้ได้ประกาศให้ภูกระดึงเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 348.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 271,581.25 ไร่ รวมที่ 5 ไร่ที่กองทัพอากาศใช้ตั้งสถานีคมนาคม เฉพาะที่ราบบนยอดภูกระดึง มีเนื้อที่ 60 ตารางกิโลเมตร หรือ 37,500 ไร่ ระยะทางรอบแนวเขตอุทยาน ยาว. 75.5 กิโลเมตร ภูกระดึงเป็นภูเขาลูกเดียวโดดๆ ส่วนยอดตัดแบนเป็นที่ราบ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว อยู่ในเขตตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย จุดสูงสุดของภูกระดึง อยู่บริเวณ คอกเมย สูง 1,316 เมตร อุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมป่าและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของราชอาณาจักรไทย เคยคิดและเสนอให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งชาติลำดับที่สองของของประเทศ หากจะนับเพียงเรื่องวันเวลาที่ประกาศจัดตั้ง ทว่า ถ้าจะดูความงดงามสมบูรณ์และความแปลกหลากหลายของสรรพชีวิตและภูมิอากาศแล้ว ภูกระดึงโดดเด่นมีเอกเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนอุทยานแห่งชาติที่ใด เพราะลักษณะพรรณพืช ลักษณะและชนิดป่า ทั้งป่าผลัดใบ และ ไม่ผลัดใบ โดยเฉพาะป่าสนบนยอดภู และความเป็นหนึ่งในบรรดาอุทยานแห่งชาติในกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาวด้วยกัน ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ ชุ่มชื้นของหลากแหล่งน้ำลำธาร ที่ไหลล่องลงไปสร้างชีวิตชุมชนและผู้คนเบื้องล่าง และด้วยความสูงชันที่ท้าทายนายพรานทั้งในอดีตกาลโบราณโพ้น และนักเดินทางผู้รักพงไพรและหินผาในยุคปัจจุบัน การเดินทางขึ้นสู่ภูกระดึง จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ที่ทุกคนปราถนาจะพิชิตให้จงได้....ครั้งหนึ่งในชีวิต ภูกระดึง อุทยานแห่งชาติของไทย. |
English Script
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง PHU KRADUENG NATIONAL PARK Local legend tells of a story of a huntsman following a wild gaur up to the top of a mountain. There he heard a loud sound like bell ringing. “Kradueng” is local word for cow bell. The mountain was then named “Phu Kradueng” of “Mountain of Bell”. The wonder of Phu Kradueng is more than just wild gaur. The walking trail from the base up to the top of Phu Kradueng is truly a challenge for any climber. The first section of the trail leading towards the 600 meters elevation, with three rest points along the way, winding through Deciduous Dipterocarp forest. Phu Kradueng National Park is part of the Phu Khiew-Nam Nam Forest Complex. It contains many types of forest communities because of differing topographical features. On higher elevation there are evergreen forest at foothills, deciduous dipterocarp, mixed deciduous forests, montane rain forest, lower montane coniferous forest, lower montane scrub, grasslands and rock outcrops. Teng, Rung, and many other important trees are the main features of the deciduous dipterocarp forest at the 200-600 meters elevation. There are also many other important trees or perennial plants in the deciduous dipterocarp forests. Among perennial plants are bushes and herbaceous plants . Deciduous dipterocarp forest can survive on dry, rocky, and infertile soil. This forest occupies about 28 sq.km. or 8% of the park area. Because of the dry condition forest fire is a natural occurrence and the forest will rejuvenate itself following the fires. Trees routinely turn to autumn colours before shedding leaves in preparation for the cold winter months. Unlike the mixed deciduous forest, trees of the deciduous dipterocarp forest will not shed leaves completely. Mixed deciduous forest is the main forest community in Phu Kradueng. It grows next to the deciduous dipterocarp forest at higher elevation from 600 to 900 m. It occupies an area of 233 sq.km. or 67% of the total park area, featuring trees typical of the Thai Mixed deciduous forest. Deciduous dipterocarp forest and mixed deciduous forest together is 75% of the park’s total area. The two types of forests start changing colors in preparation for the the autumn. From December to January the colorful forests of orange-red-brown leaves offer a rare spectacle for tropical Thailand. It is Phu Kradeung’s annual show of nature not to be missed. As for the evergreen forest community, there are both hill evergreen forest and coniferous or pine forest. The lack of rainfall and the deep moist soil on high elevation makes Phu Kradeung not suitable for tropical rain forest. There is dry evergreen forest along the trail at higher elevation of about 900 m where the soil is deep and moist enough. This is the area to the east, northeast, and west of the park. Large perennial trees native to dry evergreen forest are found. Bush, herbaceous plants, vegetable ferns, climbers and vines are common on forest floor. At even higher elevation of about 1,000 m. along the hill evergreen forest line along both sides of the upper trail right before reaching the top of the “Phu” or peak. It is a dense forest with thick canopy virtually blocking the sunlight away from the forest floor. Some of well known large perennial trees are found on the hilly terrain. This may be common in temperate zone forest in upper latitudes. But for Thailand maples are very rare. The vibrant red-orange colors of the leaves lead to many imaginative local names signifying the red hot vibrant color. From the base to the top flatland called “Lang Pae” the whole walking trail is 5.5 km. When reaching the top the evergreen forest is nowhere to be seen. Here coniferous forest is suddenly everywhere. Two-needled pines are the main features on this flat hilltop at 1,200-1,316 m. elevation. It is only an area of 36 sq.km. or 10.34% of the park’s total area. But it is the most impressive sight of all at Phu Kradueng. Inbetween the pines there are other variety of trees and smaller plants, and varieties of plant community on the forest floor. Lichens, wild orchids, numerous other herbaceous plants and bushes cover the forest floor below. Druce is a common name for this herbaceous plant of the Nephenthaceae family. Five species of truce are identified and given different local Thai names. Taking a cue from its outer shape it is popularly called : “Mo Khao Mo Kaeng Ling” (or “Monkey’s Rice Pot”)”, and “Nam Tao Ruesi” (“Hermit’s calabash”), “Sundew” or “Jog Bo Wai” is a carnivorous plant of Droseraceae family or in Thai name “Dew Drop Family”. It is found at Phu Kradueng’s 1,400 m. elevation. It is also found in Myanmar, Lao, Cambodia, Vietnam, India, Sri Lanka, China, Taiwan, Japan, and Australia. Flat rock-beds and outcrops with their different species of epiphytes and wild flowers show off their colouful blooms all seasons. Lower montane scrub grows well on rock outcrops, usually consists of short scrubs and bush plants of various kinds. They are adaptive to shallow soil layer under rocky surface at 1,200-1,300 m. elevation. By geological age, Phu Kradueng is many million years old. It is mainly sandstone with flat top. It is located in the western part of Korat Plateau near the eastern section of Petchabun Range. Before forming a forest complex of Phu Khiew-Nam Naw the landform started in Mesozoic Era 300 million years ago. Today the powerful force of erosion is still at work relentlessly. Phu Kradueng mountain is still facing the powerful flow of water from the sky on down to the mountain cliffs and valleys. Geologically, Phu Kradueng’s rocks belong to the Korat Group classification, of which the top layer is of Phu Pan formation. It can be clearly observed at the flat top or “Lang Pae” of Phu Kradueng. At 600 m. there is an older Sao Khua formation. The thinnest layer at 400-600 m is Pra Viharn formation At the structural base is the rock of Phu Kradeung formation, the oldest of all three rock formations. The major part of Phu Kradueng National Park is 400-1,200 m. above mean sea level (MAMSL). The flat top “Lang Pae” has an area of 60 sq.km. and shaped like a large “bon leaf”. Small hills surround the flat land. Phu Kumkhao is the highest hill at 1,350 MAMSL. The western and southeast stands at the highest in elevation, slopes down towards the northwest. Rain water flow down this direction to form the head water of Phong River. Phong River flows down to Khon Kaen’s Ubonrat and Nongwai Dams. The climate at the foothills are generally like that in other parts of the northeast. It is quite the opposite on the mountain top where it gets 30% more rain and covered with clouds all year round. Temperature is 10-0 C in December-January, averaging 21-24 C. The summer is March-April when the temperature can be cool at 12-19 C, averaging 23-30 C. Phu Kradueng wildlife prefer to live far from visiting tourists and rarely seen coming out close to the busy tourist traffic which is the result of it being one of the top most national park of the country. Wildlife get to enjoy a quiet life during the period when the park is closed to the public. In modern history Phu Kradueng was discovered during the reign of King Rama VI in early 1900s. Dr. A.F.G. Kerr, an Irish botanist working for the then Thai Ministry of Commerce, was the first to undertake a botanical study of Phu Kradueng. In 1943 the Royal Forest Department declared Phu Kradueng a protected forest to closely guard the river sources, the forests and their natural habitats. After Khao yai, Phu Kradueng was established as Thailand’s 2nd national park on 23 November 2505. It has an area of 348.12 sq.km. (271,581.25 Rais) and 75.5 km border-line. It is in Phu Kradueng District of Loei Province. The flat top of Phu Kradueng is 60 sq.km. (37,500 Rais) Phu Kradueng Is one lone mountain with a flat top. Its highest point is 1,316 m. at Kok Moei. It is part of the Phu Khiew-Nam Nam forest Complex Phu Kradueng National Park is the best example of Thailand’s richest ecological biodiversity, second to none. Many different types of flora and fauna within an all year round cool climate give Phu Kradueng a distinct environment for nature lovers. It is the source of life for those living within the park and those living downstream. For healthy and strong young park visitors it is a challenge of a life- time to walk the steep trail up to the top flatland or “Lang Pae”. |
Vertical Divider
บทเริ่ม
GRAND TITLE (3'34") |
Vertical Divider
บทนำ
INTRODUCTION (5') |