THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION




​                               


Picture
Picture
Picture

Picture
ในบริบท  ของ  สมเกียรติ อ่อนวิมล
IN CONTEXT OF  SOMKIAT ONWIMON
[Week 006/2024] 

[1] "บริบท" คืออะไร?

สวัสดี “ในบริบท” แห่งสัปดาห์ที่ 6 ของ ปี 2567/2024  ของกระผม สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นผู้ดำเนินรายการ ทำหน้าที่ถักทอร้อยเรียงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกรอบๆตัวเราและโลกกว้างเอามาหลอมรวมแยกแยะอธิบายภาพกว้างของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความเข้าใจโลกอันเป็นความสุขในการดำเนินและดำรงชีวิตของมนุษย์เรา
    ที่เริ่มต้นครั้งแรกก็บอกว่าเป็นสัปดาห์ที่ 6 ของรายการ ทั้งๆที่เป็นรายการตอนแรกตอนที่ 1 เลยที่ผมเพิ่งเริ่มทำให้ฟังและชมในนาม คลื่นความคิดของ อสมท. ทาง YouTube ที่เดียวโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพราะว่ารายการนี้เป็นรายการประจำสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ยาว 20 นาที ขึ้น YouTube ทุกเช้าวันศุกร์ หลังรายการ “โลกยามเช้า”ของผมที่ FM 96.5 จบลงตอนหกโมงช้า 
    รายการ “ในบริบท” เป็นรายการเสนอประจำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่บังเอิญเริ่มครั้งแรกสัปดาห์แรก ตรงกับสัปดาาห์ที่ 6 ของปี ก็เลยถือโอกาสเรียกว่าเป็นรายการประจำสัปดาห์ที่ 6 หรือ “บริบทแห่งสัปดาห์” ที่ 6 ของปี เท่านั้นเอง โดยไม่จำเป็นต้องบอกวันที่หรือเดือนให้ซับซ้อน จะทำรายการนี้ไปเรื่อยๆจนสัปดาห์ที่ 52 สิ้นปี แล้วเริ่มนัปสัปดาห์ที่ 1 ใหม่ในปีใหม่ต่อๆไป จนกว่าจะถึงบริบทแห่งสัปดาห์สุดท้าย
ดังนั้นตอนสวัสดีเริ่มต้นรายการทุกครั้งผมก็จะสวัสดี “บริบทแห่งสัปดาห์ที่ 6-7-8-9-10---51-52 ไปตามบริบทแห่งกาลเวลา.... หากท่านต้องการเทียบหาวันที่ก็ให้นับสัปดาห์เริ่มต้นที่วันจันทร์ จะมองเห็นบริบทแห่งกาลเวลาว่าเราคุยกัยถึงเรื่องที่กระทบชีวิตเราระหว่างสัปดาห์นั้นๆวันที่เท่าไรถึงเท่าไร อย่างสัปดาห์นี้ สัปดาห์ที่ 6 ก็ระหว่างวันที่ 5 -11 กุมพันธ์ 2567  นั่นเอง
    ตั้งใจจะตั้งชื่อรายการให้ยากสักนิดโดยไม่ใช้ชื่อง่ายๆไม่ต้องคิดมาก อาจจะเป็นชื่อ “โลกปลายสัปดาห์”, “โลกสุดสัปดาห์” หรือ “สถานการณ์สัปดาห์นี้” ก็ได้ ง่าย ไม่ต้องคิดมาก แต่มันอาจจะง่ายเกินไปจนไม่ต้องคิดอะไรให้ว้าวุ่น ใครๆก็ตั้งชื่อรายการกันทำนองนี้ ผมจึงตัดสินใจตั้งชื่อรายการยากนิดหนึ่งให้ผู้ชมผู้ฟังได้ช่วยคิดบ้างให้ชีวิตเพลิดเพลินมากขึ้น อยากให้ก่อนไปพักผ่อนเสาร์อาทิตย์สุดสัปดาห์มีเรื่องให้คิดให้เข้าใจเรื่องราวบางเรื่องที่นำมาอธิบายเป็ปริมณฑลของสาระข่าวสารมากข่าวธรรมดาที่เห็นพาดหัวกันใหญ่โต บางทีอาจจะคุยเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องดูจะไม่สำคัญ หรืออาจจะสำคัญ ก็แล้วแต่วาระและความประสงค์ แต่ทุกเรื่องที่คุยนั้นจะเป็นพวงของความคิดต่อในภาพกว้างของเรื่องทั้งย้อนกาลเวลา และท่องอนาคตของเรื่องที่เกิดขึ้นในรอบสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไทย หรือเรื่องนอกประเทศไทย เรื่องอะไรแบบไหน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ หนังสือ วรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ ทุกเรื่องสามารถอธิบายได้เป็นบริบทเดียวกัน หรือเอาบริบทอื่นมาสวมบริบทเดิมทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆได้ชัดเจนแจ่มแจ้งมากขึ้น มากกว่าที่เพียงแค่จะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อไรอย่างไรแล้วจบเป็นพอ แบบนี้ไม่มีบริบท!
    เอาเป็นว่าในรอบสัปดาห์ที่ผ่านไปนั้นมีอะไรทำได้คิดอะไรที่กว้างขึ้นชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตบ้าง หากเผลอเพลินไป หรือติดภาระอื่น ว่างเมื่อไรก็ย้อนมาเปิดดูทาง YouTube อยากเลือกดูหรือร่วมคิดตอนไหนสัปดาห์ไหนก็ได้ตามสะดวก หากจะแสดงความคิดเห็นเป็นสาระยาวหน่อยก็คุยกันทาง Email หรือจดหมายลายมือแบบดั้งเดิม น่าจะลึกซึ้งกว่าข้อความสั้นที่ท่านก็สามารถส่งความเห็นได้ตามสะดวกด้านล่างของจอ YouTube หรือจะเพียงบอกว่าชอบหรือไม่ชอบโดยไม่วิจารณ์อะไรให้เห็นบริบทก็ตามสะดวก ด้วยความขอบคุณ

“ในบริบท”(แห่งสัปดาห์) คำว่า “แห่งสัปดาห์” ไม่ออกเสียง เก็บไว้เป็นความเข้าใจแบบอัตโนมัติ

ทำไม่จึงตั้งชื่อรายการโดยใช้คำว่า “บริบท”,
“บริบท” คืออะไรกันหรือ?

    ดูพจนานุกรม Oxford English Dictionary ในกรณีนี้อ้างจาก Shorter Oxford English Dictionary (Fifth Edition ปี 2002) ซึ่งเป็นชุดสองเล่มย่อ มี 500,000 คำ เท่ากับ ⅓ ของ The Oxford English Dictionary ชุดใหญ่สมบูรณ์ที่สุดยาว 20 เล่ม ปี 1989 คำว่า “context” เป็นคำภาษาอังกฤษ รากศัพท์มาจากภาษาละติน “contextus” แปลว่า ‘weave together’ หรือ ‘ถักทอร้อยเรียงเข้าด้วยกัน ซึ่งต้นฉบับอธิบายว่า:

    “The parts or parts immediately preceding or following a passage or word             as determining or helping to reveal its meaning; the surrounding structure             as determining the the behavior of a grammatical item, speech, sound,             etc.; Ambient conditions; a set of circumstances; relation to                     circumstances.” 

    อธิบายความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เป็นการถักทอร้อยเรียงกันเป็นความรวม อันจะมีส่วนที่มาก่อน และส่วนที่ตามมาทีหลัง มาประกอบรวมกันกับเนื้อหาสาระที่เป็นข้อความหรือคำอันเป็นหลักตรงกลาง เพื่อที่จะได้อธิบายความหมายที่แท้จริงในองค์ประกอบแวดล้อมโดยรวม โดยความสัมพันธ์ของเงื่อนไขและสภาวการณ์แวดล้อมต่างๆ สมมุติว่ามีข้อความประโยคหนึ่งประโยคใดก็ตามที่พยายามอธิบายสภาวะการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อความในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษประโยคนั้นจะมีคำหรือวลีนำหน้าและตามหลังข้อความกลางซึ่งเมื่ออ่านและทำความเข้าใจรวมกันแล้วเป็นความหมายที่แท้จริงชัดเจนในภาพแห่งความหมายแบบรวมปริมณฑลของเรื่องราวทั้งหมดให้ได้รับรู้ในภาพกว้างได้”

    ส่วน Webster’s Third New International Dictionary ฉบับเต็ม พิมพ์ปี 2002 มี 450,000 คำ เป็นพจนานุกรมมาตรฐานสำหรับใช้ในการแข่งขันการสะกดคำที่เรียกว่า “Spelling Bees” ในอเมริกา อธิบายไว้ 6 ความหมาย ว่า:

    “1. The weaving together of words in language; the discourse or writing so produced.
     2. The party or parts of a written or spoken passage preceding or following a particular word or group of words and so intimately associated with them as to throw light upon their meaning.
    3. The interrelated condition in which something exists or occurs.
    4. Coherence in discourse.
    5. Things or conditions that serve to date or characterize an article.
    6. The fleshy part of the pileus of a mushroom or other pileate fungus as distinguished from the hymenium.”

    สรุปเป็นภาษาไทยได้ความว่า:
    1. การถักทอเข้าด้วยกันของคำในภาษา การผลิตความหมายโดยการเขียนและคำอธิบายอย่างเป็นระบบ
    2. ส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนของข้อเขียนหรือคำพูดที่มาก่อนหรือตามหลังคำหรือกลุ่มคำที่เชื่อมโยงกันได้อย่างแนบเนียนในอันที่จะอธิบายความหมายทั้งหมดให้ชัดแจ้ง
    3. เงื่อนไขที่มีการเชื่อมโยงกันในการปรากฎอยู่ หรือการเกิดขึ้นของบางสิ่งอย่าง
    4. การผนึกเป็นเนื้อเดียวกันในการอธิบายความหมายของเรื่องราวต่างๆ
    5. สรรพสิ่ง หรือเงื่อนไขทั้งมวลที่ประกอบกันทำหน้าที่บ่งชี้คุณลักษณะและสภาวะแห่งกาลเวลาของสิ่งใดหรือเรื่องใดๆ
    6. ส่วนที่เป็นเนื้อของหมวกของเห็ดหรือพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่นเห็ดอื่นๆ เฉพาะส่วนเนื้อหมวกเห็ดส่วนบน ซึ่งตรงกันข้ามหรือมิใช่ส่วนครีบที่เรียงเป็นแนวใต้หมวกเห็ด
    หากจะลองขยายความให้เห็นชัดก็คือส่วนใต้หมวกเห็ดเป็นองค์ประกอบของเห็ดรวมกันสร้างหนุนให้เกิดส่วนบนเป็นหมวกเห็ดเป็นส่วนเนื้อที่กินได้ (ถ้ากินได้) เรียกว่าเป็น ‘context’ ของเห็ด
แต่ความหมายหลักในวงวรรณกรรมแห่งชีวิตประจำวัน ‘context’ ตามความหมายจากพจนานุกรมอังกฤษคือ Oxford และอเมริกัน คือ Webster’s ก็ให้ความหมายคล้ายกันว่า ‘context’ เป็นภาพรวมภาพกว้างกว่าข้อความหรือคำที่เพียงแค่เอ่ยถึงโดยไม่ดูเรื่องเดิมเรื่องเติมใหม่ และเรื่องโดยรวม โดยคำนึงถึงแนวเรื่อง หรือกาลเวลา หรือสภานการณ์ หรือสาระอื่นนำมาเปรียบเทียบแทนที่หรือเชื่อมโยง
    นั่นคือ ‘CONTEXT’ เป็นคำภาษาอังกฤษ
    ภาษาไทยของเราใช้คำว่า ‘บริบท’ หรือ ‘ปริบท’
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายไว้แบบกระชับสั้นมาก ว่าเป็น “คำ ข้อความ หรือสถานการณ์แวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของภาษาหรือของถ้อยคำ”
    นั่นคือคำว่า ‘บริบท’ หรือจะใช้คำว่า ‘ปริบท’ ก็ความหมายเดียวกัน
    แม้พจนานุกรมไทยจะสั้นกว่า แต่ก็ได้ความหมายหรือความเข้าใจเดียวกันว่า ‘context’ หรือ ‘บริบท’เป็นภาพกว้างที่อธิบายเรื่องแวดล้อม ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือข้อความหรือคำหนึ่งคำใดที่กล่าวถึง อาจจะเป็นภาพชัดขึ้นถ้าบอกว่า ‘บริบท’ หรือ ‘ปริบท’  คือ ‘ปริมณฑล’ ของบท หรือเรื่องราวที่กล่าวถึง ณ เวลาจริงในปัจจุบัน

    คำว่า context มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสังคมวิชาการและสังคมสื่อสารทั่วไปในโลกของผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก มากพอๆกับสังคมไทย โดยเฉาะในหมู่นักคิดนักวิชาการ แม้กระทั่งนักการเมือง แต่เพื่อความสะดวกและดูไม่เป็นทางการจนผู้คนหนีไม่อยากคุยด้วยเพราะกลัวไม่รู้เรื่อง จึงมักพูดกันง่ายๆว้าแล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่สภาวะการณ์ แล้วแต่จะคุยกันเรื่องอะไรในภาพกว้าง แทนที่จะใช้คำว่า ‘บริบท’ ซึ่งดูจะเป็นคำไม่สนุก ไม่กันเอง เป็นวิชาการเกินกว่าชาวบ้านทั่วไปจะอยากคุยต่อด้วยกันไปได้

    คำว่า ‘context’ หรือ ‘บริบท’ นี้ทำลายคนสำคัญมาก็มากมี 
    
    สงครามระหว่าง Israel กับ พวกนักรบ Palestine กลุ่ม Hamas ในดินแดน Gaza ทำให้อธิการบดีมหาวิทยาลัย Harvard ในอเมริกาต้องหลุดจากตำแหน่งก็เพราะคำว่า context นี้เอง 
    สงครามระหว่าง Israel กับ Hamas เริ่มจาการที่ Hamas โจมตีก่อนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ปีที่แล้ว จากนั้น Israel ก็ตอบโต้กลับ และโจมตี ทำลาย Gaza ไม่ยอมหยุดจนวันนี้ ยังผลให้ชาวปาเลสไตน์ใน Gaza ทั้งนักรบ และชาวบ้านทั่วไปตายไปแล้วกว่า 25,000 คน ไม่ว่าจะพยายามเจรจาให้ยุติสงครามอย่างไร Israel ก็ไม่ฟัง จะเดินหน้าทำลาย Gaza ต่อไปจนกว่าจะไม่มีพวก Hamas เหลืออยู่
    ชาวโลกเริ่มเห็นความรุนแรงโดย Israel จนเหมือนกับว่า Israel จะต้องการฆ่าพวก Hamas Palestine แบบล้างเผ่าพันธุ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “genocide” ทำนองเดียวกันกับที่เผด็จการนาซี Hitler แห่ง Germany ทำกับชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั่วโลกเริ่มประท้วง Israel และเห็นใจ Palestine มากขึ้น ที่เรียกร้องให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวอีกรอบก็มี ความรุนแรงสุดโต่งโดยมนุษย์ดูจะยังไม่มีหนทางสว่าง
    ในมหาวิทยาลัย Harvard ก็มีการชุมประท้วงของนักศึกษาที่สนับสนุน Palestine ด้วย นักศึกษากลุ่มใหญ่สนับสนุนปาเลสไตน์ เรียกร้องอย่างรุนแรงให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวบ้าง เป็นการประท้วงในมหาวิทยาลัยที่มีทั้งนักศึกษาเชื้อสายยิวและอาหรับปาเลสไตน์ นักศึกษานานาชาติ และนักศึกษาอเมริกันผิวพันธุ์ต่างๆ อธิการบดี Harvard ชื่อ Claudine Gay ซึ่งเป็นสตรีผิวดำ ถูกเชิญไปให้การตอบข้อซักถามในกรรมาธิการรัฐสภา ท่านถูกถามว่า ที่ท่านปล่อยให้นักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ชุมนุมประท้วงรุนเรงถึงกับเรียกร้องบังคับข่มขู่นักศึกษาเชื้อยิว ให้มีการฆ่าหมู่ หรือ genocide บ้าง แม้จะเป็นเพียงการประท้วงเพียงแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แรงจัด แต่ก็มิใช่การใช้ความรุนแรงฆ่าฟันอะไรจริงๆ สมาชิกวุฒิสภาในฐานะกรรมาธิการท่านหนึ่งถามอธิการบดี Claudine Gay ว่าที่ท่านอธิการบดีปล่อยให้มีการต่อต้านยิวรุนแรงถึงกับเรียกร้องด้วยคำว่า genocide หรือ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้นมันผิดกฎระบียบการชุมนุมในมหาวิทยาลัยหรือไม่ ท่านอธิการบดีตอบว่า 

“It depends on the context” 
“มันขึ้นอยู่กับบริบท” 

    ก็เลยโดนกรรมธิการกระหน่ำจนอยู่ไม่ได้ ในที่สุด ท่านอธิการบดีก็ถูกกดดันโดยสภามหาวิทยาลัยและสภาวะแวดล้อมเรื่องอื่นด้วย โดยเฉพาะเรื่องที่ท่านถูกตรวจสอบพบว่ามีการลอกเลียนงานวรรณกรรมผู้อื่นมาแอบอ้างในงานดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกและงานวิชาการอื่นๆของตนเองโดยไม่อ้างอิง ราวกับว่าเป็นงานเขียนต้นฉบับของตนเอง แต่ คำว่า ‘context’ หรือ ‘บริบท’คือคำที่ทำลายท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย Harvard ไปอย่างไร้ปราณี 
    อธิการบดีมหาวิทยาลัย Pennsylvania ก็ประสพชตากรรมแบบเดียวกัน ต้องลาออกไปด้วยประโยค “It depends on the context.” เช่นเดียวกัน

    “บริบท” หรือ “context” นั้นดูจะเป็นคำที่ช่วยชีวิตช่วยหาทางออกให้กับทางตันยามคับขัน ถ้าอธิบายเป็น แต่มันก็เป็นคำที่โหดร้ายทำลายคนได้ถ้าพยายามจะใช้บริบทอธิบายแล้วอธิบายไม่ได้หรือไม่ได้โอกาสอธิบาย ในกรณีอธิการบดี Harvard University และ University of Pennsylvania เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนแม้จะดูไกลตัวจากเราชาวไทย และท่านอธิการบดีทั้งสองก็มิได้โอกาสอธิบายว่าในบริบทที่ควรเข้าใจให้การประท้วงต่อต้านยิวในมหาวิทยาลัยนั้นทำได้ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนั้นอย่างไร พอจะตอบก็ถูกนักการเมืองตัดบท อนาตนก็เลยถูกตัดขาดเพราะ “context” หรือ “บริบท” ไม่ถูกอธิบาย

    นี่เป็นเพียงตัวอย่างเฉพาะเรื่องที่เป็นข่าวโด่งดังระดับโลกปลายปีที่แล้วถึงต้นปีนี้ ตอนนี้เรื่องอื้อฉาวในหมาวิทยาลัย Harvard แม้จะยังมีต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ไม่อื้อฉาวเชิงการเมืองโลก ถ้าเป็นการเมืองก็เพียงการเมืองอเมริกันระหว่าง ซ้ายกับขวาที่เห็นราวีกันมานานหลายปีแล้ว  ที่เป็นเรื่องอื่นก็เกี่ยวกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยและงานวิชาการ
ที่จริงหากจะเอาเรื่องมหาวิทยาลัย Harvard มาคุยในบริบทไทยก็ย่อมได้ และเป็นไปตามรูปแบบรายการนี้พอดี ถ้าเอาเรื่องระเบียบการชุมประท้วงทางการเมืองของนักศึกษามาอธิบายการชุมนุมตามหรือไม่ตามระเบียบมหาวิทยาลัยไทย เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ก็ย่อมได้ โดยเราก็ไปดูเหตุการณ์ที่เกิด และศึกษาระเบียมหาวิทยาลัยแล้วถามนักการเมืองในรัฐสภาไทยว่าห่วงใยอะไรในเรื่องเดียวกันนี้ สอบถามอธิการบดีมหาวิทยาลัยไปถึงเรื่องที่มีการชุมนุมในจุฬาฯ และ ธรรมศาสตร์ โดยนิสิตนักศึกษาเองแลฏะที่ให้บุคคลภายนอกมาใช้สถานที่ชุมนุม สมมุติว่ามี ก็ถือได้ว่าเราได้ย้ายจากบริบทอเมริกันมาสู่บริบทไทยแล้ว
และถ้าจะเอาเรื่องการลอกเลียนงานวรรณกรรมผู้อื่นมาสวมเป็นของตนเองในวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์ในมหาวิทยาลัย มาอธิบายเป็นบริบทไทย เราก็อาจจะเห็นภาพกว้างในปริมณฑลไทยว่ามีการทำผิดคิดร้ายต่อคุณภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยไทยกันมากน้อยหรือไม่อย่างไร เชื่อว่ามี ถ้าค้นหากันจริงๆ 

    นี่เป็นเพียงการสมมุติเหตุการณ์เพื่อจะอธิบายบริบทกันเป็นภาพรวมหรือภาพกว้างได้
เรื่องในบริบทนั้น สามารถอธิบายใหม่ได้ในบริบทใหม่สวมเนื้อหาดั้งเดิมแต่แรกเริ่มได้ เปลี่ยนกลาลเวลา ก็เปลี่ยนบริบทได้ เปลี่ยนพื้นที่ และเนื้อหาสาระ จากการเมือง เป็นวัฒนธรรมก็เปลี่ยนจากบริบทการเมืองเป็นบริบทวัฒนธรรมธรรมได้ เปลี่ยนบริบท Harvard เป็น บริบทธรรมศาสตร์ บริบทจุฬาฯได้ เปลี่ยนเรื่องเดียวกันที่คุยกันในเชิงวิทยาศาสตร์ ให้เป็นสังคมศาสตร์ ก็กลายเป็นบริบทสังคมได้ ทฤษฎีวิวัฒนาการของชีวิตที่พัฒนาโด่งดัง โลกเชื่อถือ ถูกนักคิดใส่บริบทใหม่ทางสังคม ก็ได้ทฤษฎีวิวัฒนาการสังคม หรือ Social Darwinism หมายความว่าสังคมค่อยมีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปอย่างช้าๆเช่นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแต่ครั้งบรรพกาล

ในบริบทนั้นมักจะมีนักวิเคราะห์เอาออกนอกบริบทไปทำให้เรื่องราวไขว้เขว เรียกว่า “นอกบริบท” หรือ “out of context” ไปก็มีอยู่บ่อยๆ
    การพูดคุยในบริบทของรายการนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้ท่านทั้งหลายจัดกรอบความคิดในสารพันเรื่องราวในชีวิตได้ดีขึ้น ชีวิตในกรอบ กับชีวิตนอกกรอบจะได้วิวัฒนาการไปพร้อมๆกันอย่างมีดุลยภาพ
    รายการ “ในบริบท” จะพยายามใช้ “บริบท” เป็นเครื่องมืออธิบายสรรพสิ่งและสารพันเหตุการณ์บนโลกมนุษย์ของเราเช่นนี้ทุกสัปดาห์

    ขอเชิญท่านที่เคารพติดตามรายการ “ในบริบท”โดยกระผม สมเกียรติ อ่อนวิมล” ที่นี่ทุกเวลา โดยจะมีตอนใหม่ เรื่องใหม่ บริบทใหม่ ขึ้น YouTube เพื่อท่านทุกเช้าวันศุกร์ทุกสัปดาห์ พบบริบทใหม่แห่งสัปดาห์ที่ 7 ของปี 2567 เช้าวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ครับ

สวัสดี ... ในบริบทของ...สมเกียรติ อ่อนวิมล
ศุกร์ 9 กุมภาพันธ์ 2567

THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION