พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
เรื่องพระมหาชนก
The Story of Mahajanaka โดย H.M. King Bhumibol Adulyadej The Story of Mahajanaka: “Any enterprise that is not achieved Through perseverance, is fruitless; Obstacles will occur. When any enterprise undertaken with such misdirected effort results in Death showing his face, what is the use of such enterprise and misdirected effort?” “การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล มีความลำบากเกิดขึ้น การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด จนความตายปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้น จะมีประโยชน์อะไร” นางมณีเมขลากล่าวต่อพระมหาชนกที่กำลังเพียรพยายามฝ่าคลื่นลมและกระแสน้ำแห่งมหาสมุทร โดยวันเวลาผ่านไปแล้ว เจ็ดวัน เจ็ดคืน มิมีวี่แววว่าจะเห็นฝั่งแผ่นดิน แต่พระมหาชนกก็มิเห็นด้วยกับคำของนางมณีเมขลา เทพธิดาแห่งท้าวโลกบาลทั้งสี่ ผู้ถูกส่งมาดูแลสัตว์โลกผู้ประกอบคุณความดี มิสมควรสิ้นชีวิตในมหาสมุทร พระมหาชนกโต้แย้งนางมณีเมขลาว่า: [หน้า 89] “Hark, o Goddess! Anyone who knows for sure that his activities will not meet with success, can be deemed to be doomed; if that one desists from perseverance in that way, he will surely receive the consequence of his indolence.” “ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริง ชื่อว่าไม่รักษาชีวิตของตน ถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึงรู้ผลแห่งความเกียจคร้าน” [89] “Hark, o Goddess! Some people in this world strive to get results for their endeavours even if they don’t succeed” “ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผลแห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลาย การงานเหล่านั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม” [89] “Hark o Goddess! You do see clearly the results of actions, don’t you? All the others have drown in the ocean; we alone are going to endeavour further to the utmost of our ability; we are going to strive like a man should to reach the shores of the ocean.” “ดูก่อนเทวดา ท่านก็เห็นผลแห่งกรรมประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆจมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่ายข้ามอยู่ และได้เห็นท่านมาสถิตอยู่ใกล้ๆเรา เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง จักทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร” นี่คือหัวใจของพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” เป็นเรื่องของความเพียรที่ต้องยึดมั่น แม้เทวดาจะแสร้งท้วงติงอย่างไร ก็ต้องโต้แย้งเทวดาได้ เมื่อพระมหาชนกทรงยึดมั่นในความเพียร นางมณีเมขลาจึงมั่นใจว่าพระองค์ทรงเป็นผู้บำเพ็ญเพียรโดยแม้ มิสมควรตายในมหาสมุทร นางจึงได้ช่วยพาพระมหาชนกไปยังครองมิถิลานคร แห่งชมพูทวีปต่อไป. |
“The Story of Mahajanaka” หรือ “เรื่องพระมหาชนก” เป็นงานพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ตรงจากมหาชนกชาดก ในพระไตรปิฎก ส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดก เล่มที่ 4 ภาคที่ 2 ปรับแต่งดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจง่าย และสอดคล้องกับยุคสมัยและปัญหาโลกปัจจุบัน เป็นหนังสือที่ทรงพระพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย สำหรับฉบับพิเศษเล่มนี้พิมพ์ทั้งสองภาษา โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์เมื่อปี พ.ศ. 2542 หลังจากการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2539เป็นหนังสือที่สวยงามที่สุดในประวัติศาสตร์การพิมพ์ ด้วยภาพเขียนประกอบโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย 10 คน รวม 37 ภาพ ในหน้า 54-55 มีภาพนางมณีเมขลาพยากรณ์อากาศอันเป็นภาพฝีพระหัตถ์จากคอมพิวเตอร์ของพระองค์
เรื่อง พระมหาชนกเป็นชาดกโบราณในคัมภีร์ศาสนาพุทธ เมื่อทรงนำมานำเสนอใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์จึงประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในฉบับภาษาอังกฤษ สำนวนภาษาอังกฤษแบบยุคกลาง หรือ Middle English ดั่งที่ J.R.R. Tolkien ใช้ใน The Lord of the Rings จึงปรากฏในเรื่อง พระมหาชนก/The Story of Mahajanaka ไม่มากจนถึงกับอ่านยาก เพราะมีสำนวนภาษาสมัยใหม่ที่ออกจะสนุกสนาน พร้อมด้วยคำภาษาสันสกฤตโบราณเขียนด้วยตัวอักษรเทพนาลีของอินเดียสอดแทรกผสมผสานพระอารมณ์ขัน วิทยาการสมัยใหม่ และความเป็นไทย หน้า 53 เป็นเรื่องพระมหาชนกขอพระราชมารดาเสด็จไปสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยก่อนไปกู้บ้านเมืองที่มิถิลานคร เพราะสุวรรณภูมิมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์จะได้ค้าขายแลกเปลี่ยนเพื่อสะสมความพร้อมในการกู้อาณาจักรมิถิลานคร ภาพในหน้า 101 คือเมืองมิถิลานคร ต่อไปในหน้า 126-127-128 และมิถิลานครยุคโลกาภิวัตน์ เมืองอวิชชาที่ฟอนเฟะ ผู้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ดูภาพมิถิลานครออกมาเป็นกรุงเทพมหานครได้อย่างเข้าใจพระประสงค์ พอถึงตอนที่ต้นมะม่วงทั้งต้นถูกโค่นล้มทะลาย เพราะอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนชาวมิถิลานคร เพียงเพราะต้องการกินผลเท่านั้น เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรถูกใช้ทำลายระบบการเกษตรทั้งหมด ดุจการล้มมะม่วงทั้งต้น การบริหารประเทศโดยรัฐบาลที่เอาแต่หาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้อง กินรวบทั้งหมดทั้งหมด ไม่กระจายรายผลผลิตมะม่วงออกไปเป็นวงกว้างและยั่งยืน เป็นได้ทั้งการปกครองมิถิลานครในอดีตชาดก และกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ปัจจุบันกาล ในหน้า 134-135 พระมหากษัตริย์จึงทรงพระราชทานเทคโนโลยีโครงการหลวงฟื้นฟูมะม่วง 9 ประการ ดั่งนี้: 1. Seed culture / เพาะเม็ดมะม่วง 2. Root Nursing / ถนอมราก 3. Cutting Culture / ปักชำ 4. Grafting / เสียบยอด 5. Bud-Grafting / ต่อตา 6. Branch Splicing / ทาบกิ่ง 7. Branch Layering / ตอนกิ่ง 8. Tree Smoking / รมควัน 9. Cell/Tissue Culture / ชีวาณูสงเคราะห์ หรือ ปลูกเนื้อเยื่อ พระมหากษัตริย์แห่งมิถิลานครทรงมีโครงการในพระราชดำริเพื่อฟื้นฟูประเทศชาติถึง 9 วิธี แต่มหาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนกลับไม่รับสนองพระบรมราชโอการเลย ทุกคนต่างแต่จะโค่นต้นมะม่วง เพื่อเอาเป็นของตนเองทั้งหมดเอาไปกินเองที่บ้านคนเดียวครั้งเดียว หนทางฟื้นต้นมะม่วงกอบกู้มิถิลานครจึงมืดมน แล้วพระมหาชนกจะทรงครองนครให้รุ่งเรื่องได้อย่างไร เมื่อประโยชน์ส่วนตนเข้ามาแทนที่ความสามัคคี และความเสียสละ ความโง่เขลาเข้ามาอยู่เหนือความรู้ ความเกียจคร้านสิ้นหวังเข้ามาทำลายและความเพียร. * |