THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION


​the library

WHERE RESIDE THE WORLDS
Picture
MODELS OF DEMOCRACY
ประชาธิปไตย แบบต่างๆ

by David Held[David Held, Models of Democracy, Third Edition, Polity Press, Cambridge (UK), Malden, MA, U.S.A., , 2006]
งานวิจัยประชาธิปไตยในโลก เมื่อปี 2006 โดย David Held พบว่า มีการปกครองแบบประชาธิปไตยในรูปแบต่างๆกันรวม  13 ชนิด ประชาธิปไตยอาจจะเริ่มด้วยความคิดแบบเรียบง่าย โดยยึดหลักเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเป็นฐานของระบบ ตั้งแต่สมัยการปกครองนครรัฐ Athens แต่โบราณ ก่อนที่จะเป็นประเทศ Greece ในปัจุบัน เวลาของการทดลองและการพัฒนาประชาธิปไตยบนโลกมนุษย์ผ่านมา 2,500 ปี เงื่อนไขทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และ ภูมิรัฐศาสตร์ สร้างประชาธิปไตยรูปแบบใหม่มากมาย ตามบริบทท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ ศาสตราจารย์ David Held ได้จำแนกรูปแบบประชาธิปไตยที่พบตามสารบัญและคำอธิบายโดยย่อข้างล่าง ท่านที่สนใจสามารถหาอ่านรายเอียดในหนังสือได้ตามต้องการ โดยสั่งซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป หรือที่ www.amazon.com 

Models of Democracy
ประชาธิปไตย แบบต่างๆ
[David Held, Models of Democracy, Third Edition, Polity Press, Cambridge (UK), Malden, MA, U.S.A., , 2006]


1. Classical democracy: Athens

Model I
Classical Democracy
ประชาธิปไตยดั้งเดิม
หลักแห่งความชอบธรรม
  • พลเมืองควรมีความเท่าเทียมกันทางการเมืองเพื่ออิสรภาพในการปกครองและถูกปกครอง
คุณลักษณะสำคัญ
  • พลเมืองมีส่วนร่วมโดยตรงในการบัญญัติกฎหมาย และ กระบวนการยุติธรรม
  • สภาพลเมืองมีอำนาจอธิปไตยสูงสุด
  • ขอบเขตอำนาจอธิปไตยสูงสุดของพลเมืองครอบคลุมกิจการของนครรัฐ
  • หลากหลายวิธีการเลือกผู้แทนสำหรับตำแหน่งหน้าที่งานสาธารณะ (การเลือกตั้งโดยตรง, จับสลาก, หมุนเวียนตำแหน่ง)
  • ปราศจากสิทธิพิเศษอันเป็นลักษณะแตกต่างระหว่างพลเมืองสามัญ กับ เจ้าหน้าที่รัฐ
  • ยกเว้นตำแหน่งที่เกี่ยวกับการสงคราม บุคคลจะไม่ดำรงตำแหน่งสาธารณะมากกว่า 2 สมัย
  • ช่วงระยะเวลาดำรงตำแหน่งสาธารณะสั้น
  • มีค่าตอบแทนตำแหน่งสาธารณะ
เงื่อนไขทั่วไป
  • นครรัฐขนาดเล็ก ดินแดนส่วนในเป็นพื้นที่การเกษตร
  • เศรษฐกิจระบบทาส ทำให้พลเมืองมีเวลาว่าง
  • มีคนทำงานบ้าน (แรงงานสตรี) บุรุษมีเวลาทำงานสาธารณะ
  • จำกัดสิทธิการเป็นพลเมืองอยู่ในจำนวนน้อย    

2. Republicanism: Liberty, Self-Government and the Active Citizen

Model IIa
Protective Republicanism
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐคุ้มครอง
หลักแห่งความชอบธรรม
  • การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเงื่อนไขจำเป็นพื้นฐานของเสรีภาพของบุคคล; หากพลเมืองไม่ร่วมเป็นผู้ปกครองด้วยก็จะถูกอิทธิพลครอบงำโดยพลเมืองอื่น
คุณลักษณะสำคัญ
  • ดุลยภาพแห่งอำนาจระหว่าง “ประชาชน”, ชนชั้นสูง ชนชั้นขุนนาง (aristocracy) และ สถาบันพระมหากษัตริย์ เชื่อมโยงถึงรัฐธรรมนูญลักษณะผสม หรือรัฐบาลลักษณะผสม, โดยมีบทบัญญัติเอื้ออำนวยให้พลังอำนาจทางการเมืองระดับผู้นำมีบทบาทนำมากกว่าในสาธารณกิจ
  • การมีส่วนร่วมของพลเมืองทำได้โดยผ่านหลากหลายกลไกที่เป็นไปได้ รวมทั้งการเลือกตั้งผู้แทนเข้าสู่สภาผู้ปกครอง
  • กลุ่มต่างๆในสังคมแข่งขันกันส่งเสริม ผลักดัน และ ปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตน
  • มีเสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น และการรวมกลุ่มสมาคม
  • กฎแห่งการปกครองโดยกฎหมาย
เงื่อนไขทั่วไป
  • ชุมชนเมืองขนาดเล็ก
  • ทำนุบำรุงศาสนกิจ
  • ประชาคมของผู้ประกอบศิลปาชีพและพาณิชย์การ
  • สตรี ผู้ใช้แรงงาน ผู้ต้องพึ่งพาผู้อื่น ถูกแยกอยู่นอกกิจกรรมการเมือง (บุรุษมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในกิจการสาธารณะ)
  • สมาคมทางการเมืองที่แข่งขันกันมีความขัดแย้งกันเข้มข้นมากขึ้น

Model IIb
Developmental Republicanism
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐพัฒนา
หลักแห่งความชอบธรรม
  • พลเมืองต้องมีความเสมอภาคกันทางการเมือง และ เศรษฐกิจ เพื่อมิให้ผู้ใดเป็นเจ้านายเหนือผู้อื่นใด ทุกคนสามารถบรรลุถึงความเท่าเทียมกันในการมีอิสรภาพ และ การพัฒนาตน ในกระบวนการตัดสินกำหนดตนเพื่อความดีงามอันเป็นส่วนรวม
คุณลักษณะสำคัญ
  • แบ่งแยกหน้าที่การสาธรณกิจเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหาร
  • การมีส่วนร่วมโดยตรงของพลเมืองในการประชุมสาธารณะถือเป็นสภานิติบัญญัติ
  • มติเอกฉันท์ต่อกิจการงานสาธารณะเป็นสิ่งพึงประสงค์ แต่ในกรณีที่มีความเห็นขัดแย้งก็พึงให้มีการออกเสียงลงคะแนนตัดสินด้วยเสียงข้างมาก
  • ตำแหน่งงานฝ่ายบริหารเป็นของคณะข้าราชการและผู้บริหาร 
  • ผู้บริหารมาจากการแต่งตั้ง, เลือกตั้งโดยตรง หรือโดยการจับสลาก
เงื่อนไขทั่วไป
  • เป็นชุมชนขนาดเล็กที่มิใช่ชุมชนอุตสาหกรรม
  • กระจายความเป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างกว้างขวางในหมู่พลเมืองจำนวนมาก; พลเมืองพึ่งการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินส่วนบุคคล, เป็นประชาคมของผู้ผลิตอิสระ

3. The development of Liberal Democracy: For and Against the State

Model IIIa
Protective Democracy
ประชาธิปไตยแบบคุ้มครอง
หลักแห่งความชอบธรรม
  • พลเมืองต้องได้รับการคุ้มครองจากการใช้อำนาจของผู้ปกครอง และจากพลเมืองด้วยกัน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ทีทำหน้าที่ปกครองทำตามนโยบายที่ตกลงไว้กับพลเมืองเพื่อผลประโยชน์ของพลเมืองโดยรวม
คุณลักษณะสำคัญ
  • อำนาจอธิปไตยในที่สุดอยู่กับพลเมือง แต่มอบต่อให้ผู้เป็นตัวแทนไปบริหารงานอันเป็นกิจของรัฐด้วยความชอบธรรม
  • มีการเลือกตั้งเป็นประจำ ลงคะแนนแบบลับ กลุ่มต่างๆแข่งขันกัน มีศักยภาพในการก่อเกิดกลุ่มบุคคลซึ่งจะเป็นผู้นำ หรือพรรค, มีการปกครองโดยเสียงข้างมากเป็นสถาบันการปกครองพื้นฐาน เพื่อสถาปนาระบบการตรวจสอบได้ในเรื่องความชอบธรรมของผู้ทำหน้าที่ปกครอง
  • อำนาจรัฐต้องไม่เป็นเรื่องส่วนตัว เช่น ต้องให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แบ่งกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ ฝ่ายตุลาการ
  • มีรัฐธรรมนูญเป็นแกนกลางในการประกันอิสรภาพจากการการปฏิบัติอันมิเป็นธรรม มีความเสมอภาคตามกฎหมาย ในรูปแบบของสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง หรือ เสรีภาพทางการเมือง และ เสรีภาพของพลเมือง เหนือเรื่องอื่นใด คือเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคกัน ในเรื่อง การพูด การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การออกเสียงลงคะแนน และการดำรงไว้ซึ่งความเชื่อของตน
  • แยก “รัฐ” ออกจาก “ประชาสังคม”, ตัวอย่างเช่น ภารกิจทั่วไปของรัฐคือการสร้างกรอบอันจะเอื้ออำนวยให้พลเมืองได้ดำเนินชีวิตส่วนตัวที่ปราศจากความเสี่ยงต่อความรุนแรง พฤติกรรมทางสังคมที่มิอาจเป็นที่ยอมรับได้ และการแทรกแซงทางการเมืองอันไม่เป็นที่พึงประสงค์
  • มีกลุ่มศูนย์อำนาจ และ กลุ่มผลประโยชน์ แข่งขันกันชิงอำนาจรัฐ 
เงื่อนไขทั่วไป
  • ภาคประชาสังคมมีการพัฒนาถึงขั้นมีการเมืองปกครองที่ปกครองตนเองได้ 
  • ส่วนบุคคลครอบครองเครื่องมือการผลิต
  • เศรษฐกิจแบบตลาดการแข่งขันเสรี
  • ระบบการปกครองในครอบครัวแบบพ่อเป็นผู้ปกครอง
  • รัฐขยายอาณาเขต

Model IIIb
Developmental Democracy
ประชาธิปไตยแบบพัฒนา
หลักแห่งความชอบธรรม
  • การมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตการเมืองเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เพียงแต่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น แต่ก็ด้วยเพื่อการสรรสร้างการเป็นพลเมืองที่เปี่ยมด้วยข้อมูลข่าวสารความรู้ มีความยึดมั่นพันผูกกับการพัฒนาตนเองและพัฒนาสังคมประชาธิปไตย การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นเงื่อนไขจำเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การขยายขีดความสามารถของบุคคลสู่จุดสูงสุดอย่างมีสุนทรียภาพ

คุณลักษณะสำคัญ
  • หลักอธิปไตยของปวงชนส่วนรวมโดยการมีสิทธิเสรีภาพเป็นสากล (พร้อมด้วยระบบการออกเสียงลงคะแนนตามระบบสัดส่วน (Proportional Representation – PR)
  • รัฐบาลแบบผู้แทนปวงชน (เลือกตั้งผู้นำ, เลือกตั้งเป็นประจำ, ลงคะแนนเลือกตั้งแบบลับ, ฯลฯ)
  • มีรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือกำหนดกรอบตรวจสอบ-สร้างขอบเขตจำกัด –และแบ่งสรรอำนาจรัฐ และเพื่อยืนยันการส่งเสริมสิทธิของบุคคล และโดยเฉพาะที่เหนือสิ่งอื่นใดคือบรรดาการใดๆที่เกี่ยวโยงกับอิสรภาพในการคิด การรู้สึก รสนิยม การถกเถียงเสวนา การพิมพ์  การผนวกรวมและการมุ่งมั่นในอันที่จะไปสู่แผนการเลือกดำเนินวิถีชีวิตอันหลากหลายของบุคคล
  • มีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างการประชุมรัฐสภา กับ ระบบราชการสาธารณะ เช่น การแยกระหว่างหน้าที่การงานของผู้ที่ดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง กับ ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการเฉพาะเรื่อง ซึ่งทำหน้าที่นักบริหารกิจการสาธารณะ
  • พลเมืองเข้าร่วมกกิจกรรมสาขาต่างๆของรัฐบาล โดยการออกเสียงลงคะแนน การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการปกครองส่วนท้องถิ่น การอภิปรายเรื่องนโยบายสาธารณะ และการบริการในกระบวนการยุติธรรม

เงื่อนไขทั่วไป
  • ภาคประชาสังคมเป็นอิสระ โดยมีการแทรกแซงจากภาครัฐน้อยที่สุด
  • เศรษฐกิจแบบตลาดการแข่งขันเสรี
  • ส่วนบุคคลครอบครองเครื่องมือการผลิต คู่ขนานไปกับการทดลองระบบสหกรณ์ชุมชนเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต
  • สตรีได้รับสิทธิและเสรีภาพ แต่ยังคงรักษาไว้ซึ่งระบบดั้งเดิมในการแบ่งหน้าที่การงานในครัวเรือน
  • ระบบชาติ-รัฐ ที่มีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐดีแล้ว


4. Direct Democracy and the End of Politics

Model IV
Direct Democracy and the End of Politics
ประชาธิปไตยทางตรง สิ้นสุดการเมือง
หลักแห่งความชอบธรรม
‘การพัฒนาอย่างอิสระ และ เสรีสำหรับคนทั้งหมด’ จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมี ‘การพัฒนาอย่างอิสระ และ เสรีของบุคคล อิสรภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดการเอารัดเอาเปรียบ และในที่สุดจะต้องมีความเสมอภาคอย่างบริบูรณ์ ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ; ความเสมอภาคเท่านั้นที่จะประกันเงื่อนไขอันจะทำให้บรรลุซึ่งศักยภาพในหมู่มวลมนุษย์ เพื่อว่า “แต่ละคนจะสามารถบรรลุถึงขีดความสามารถของตน” (Each can give according to his ability) และ “รับสิ่งที่จำต้องใช้”(Receive what they need)

คุณลักษณะสำคัญ
Socialism | ลัทธิสังคมนิยม
  • คอมมูน หรือ สภา เป็นผู้จัดการกิจารสาธารณะ ใช้อำนาจบริหารจัดการตามลำดับชั้นในรูปแบบปีรามิด
  • เจ้าหน้าที่รัฐบาล เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย ผู้บริหาร จะต้องได้มาด้วยการเลือกตั้ง มีการจัดการเลือกตั้งบ่อยๆ ตามความเห็นพ้องต้องกันจากชุมชน และมีอำนาจการถอดถอนผู้ได้รับการเลือกตั้งออกได้
  • เจ้าหน้าที่ผู้บริหารสาธารณกิจจะได้รับค่าตอบแทนไม่มากเกินค่าจ้างแรงงานทั่วไป
  • มีกองกำลังประชาชนทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองระบอบการเมืองใหม่ ภายใต้การกำกับดูแลของชุมชน

Communism | ลัทธิคอมมิวนิสต์
  •  ‘รัฐบาล’ และ ‘การเมือง’ ในทุกรูปแบบถูกแทนที่โดยการกำกับดูแลตนเองของประชาชน
  • กิจการสาธารณะถูกปกครองดูแลโดยระบบคณะกรรมการ
  • ถือ ‘ฉันทามติ’ เป็นหลักในการตัดสินใจประเด็นสาธารณะทั้งมวล
  • จำแนกตำแหน่งหน้าที่การบริหารจัดการงานสาธารณะที่เหลือโดยการหมุนเวียนตำแหน่ง หรือโดยการเลือกตั้ง
  • กองกำลังติดอาวุธ และกองกำลังเพื่อการรุกรานถูกแทนที่ด้วยกระบวนการตรวจสอบตนเอง

เงื่อนไขทั่วไป
Socialism | ลัทธิสังคมนิยม
  • ชนชั้นแรงงาน (working class)มีเอกภาพ
  • ชนชั้นกระฎุมพี (bourgeoisie-ชนชั้นกลาง-นายทุน-ขุนนาง-อำมาตย์) พ่ายแพ้
  • สุดสิ้นสิทธิพิเศษทุกชนชั้น
  • มีการพัฒนากำลังการผลิตมากอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน ประชาชนมีเวลาเหลือพอที่จะทำในสิ่งที่มิใช่กิจกรรมการผลิต
  • รัฐและสังคมบูรณาการเข้าด้วยกันเพิ่มพูนมากขึ้นตามลำดับ

Communism | ลัทธิคอมมิวนิสต์
  • ส่วนต่างๆของการเป็นชนชั้นสลายสิ้น
  • กำจัดสิ้นซึ่งความขาดแคลนทั้งหลายของปัจจัยการผลิต กำจัดการมีทรัพย์สินส่วนตนทั้งมวลอันเป็นปัจจัยการผลิต
  • กำจัดการตลาด การแลกเปลี่ยน และระบบเงินตรา
  • สิ้นสุดการแบ่งแยกสังคมและแรงงาน

5. Competitive Elitism and the Technocratic Vision

Model V
Competitive Elitist Democracy
ประชาธิปไตยโดยกลุ่มชนชั้นผู้นำในสังคม
หลักแห่งความชอบธรรม
  • มีวิธีการเลือกสรรกลุ่มชนชั้นผู้นำทางการเมืองผู้มีทักษะความรู้ความสามารถและมีจินตนาการเพื่อการตัดสินใจทำในเรื่องการนิติบัญญัติและการบริหารจัดการรัฐ
  • สร้างระบบขัดขวางการนำทางการเมืองที่เกินขอบเขต
คุณลักษณะสำคัญ
  • รัฐบาลโดยรัฐสภา เป็นฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง
  • มีการแข่งขันระหว่างกลุ่มผู้นำทางการเมือง และ พรรคการเมืองต่างๆ
  • รัฐสภาอยู่ใต้ระบบการควบคุมอำนาจโดยการเมืองระบบพรรคการเมือง
  • ผู้นำทางการเมืองเป็นแกนกลางของอำนาจการนำทางรัฐ
  • ระบบราชการ : มีคุณภาพ ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดี และเป็นอิสระ
  • ทั้งรัฐธรรมนูญ และการทำงานในภาคปฏิบัติจริง วางกรอบจำกัดไว้ให้ในเรื่อง ‘ขอบเขตที่ได้ประสิทธิผลในการตัดสินใจทางการเมือง’

เงื่อนไขทั่วไป
  • สังคมอุตสาหกรรม
  • ความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม เป็นแบบกระจัดกระจายเป็นส่วนแยกย่อยหลายหลาก
  • ประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้รับข่าวสารข้อมูลระดับต่ำ และ/หรือ ใช้อารมณ์ตัดสินออกเสียงลงคะแนน
  • วัฒนธรรมทางการเมืองที่ยอมรับได้ในความเห็นที่แตกต่างกัน
  • การปรากฏของกลุ่มคนที่เป็นผู้ชำนาญการ นักบริหารจัดการ ผู้ซึ่งผ่านการฝึกฝนอบรมทางด้านเทคนิควิชาการมาอย่างดี
  • มีการแข่งขันระหว่างรัฐเพื่อแย่งชิงอำนาจและความได้เปรียบในระบบระหว่างประเทศ​

6. Pluralism, Corporate Capitalism and the State

Model VI
Pluralism
ประชาธิปไตยพหุนิยม (เคารพทุกเสียงในสังคม)
หลักแห่งความชอบธรรม
  • มีรัฐบาลโดยเสียงข้างน้อยได้ ทำให้มีเสรีภาพทางการเมือง
  • เป็นหลักการขวางกั้นการก่อเกิดกลุ่มที่มีอำนาจมากเกินและรัฐที่ไม่ตอบสนองประชาชน
คุณลักษณะสำคัญ
  • สิทธิการถือสัญชาติ หนึ่งคนหนึ่งเสียง อิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น อิสรภาพในการจัดการรวมกลุ่มองค์กร สมาคม ฯลฯ
  • ระบบตรวจสอบ ถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และฝ่ายข้าราชการ
  • ระบบการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกัน โดยมีพรรคการเมืองอย่างน้อย 2 พรรค

เงื่อนไขทั่วไป
Classic Pluralism | พหุนิยมดั้งเดิม
  • มีกลุ่มผลประโยชน์หลากหลายและทับซ้อนกันพยายามสร้างอิทธิพลทางการเมือง
  • รัฐบาลทำหน้าที่รอมชอม ตัดสินปัญหาความแตกต่างของข้อเรียกร้องจากกลุ่มต่างๆ
  • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเป็นฐานวัฒนธรรมทางการเมือง
Neo-Pluralism | พหุนิยมใหม่
  • มีกลุ่มผลประโยชน์จำนวนมาก แต่วาระทางการเมืองโน้มเอียงไปทางการแสวงหาอำนาจของบรรษัทธุรกิจ
  • รัฐ และส่วนองค์กรต่างๆของรัฐกำหนดผลประโยชน์ของส่วนตน
  • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญสะท้อนลักษณะหลากหลายของวัฒนธรรมทางการเมือง และระบบที่มีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมากของทรัพยากรทางเศรษฐกิจ

เงื่อนไขทั่วไป
Classic Pluralism | พหุนิยมดั้งเดิม
  • อำนาจถูกแบ่งสันปันส่วนและแลกเปลี่ยนกันระหว่างหลายกลุ่มในสังคม
  • ทรัพยากรรูปแบบต่างๆได้รับการจำแนกแจกจ่ายไปสู่ประชากรโดยทั่ว
  • กระบวนการทางการเมืองได้รับความเห็นชอบในค่านิยมโดยฉันทามติ, มีนโยบายเป็นทางเลือกมากหลากหลาย และการเมืองมีขอบเขตแห่งความชอบธรรมกว้างขวาง
  • มีดุลยภาพมากพอที่จะมีความมั่นคงทางการเมืองระหว่างพลเมืองที่เอาใจใส่แข็งขันในกิจการสาธารณะ กับ พลเมืองที่ไม่ใส่ใจนักในกิจการสาธารณะ

Neo-Pluralism | พหุนิยมใหม่
  • หลายกลุ่มแข่งขันชิงอำนาจกัน
  • หลายกลุ่มที่มีทรัพยากรน้อยไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้เต็มที่
  • การกระจายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่ไม่เสมอภาคกันทำให้ทางเลือกทางการเมืองมีจำกัด
  • การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองไม่เท่ากัน : รัฐบาลไม่เปิดกว้างพอสำหรับพลเมือง
  • ระบบระหว่างประเทศถูกประนีประนอมกับพลังอำนาจของกลุ่มผลประโยชน์เศรษฐกิจข้ามชาติและรัฐที่ทรงอำนาจเหนือกว่า

7. From Postwar Stability to Political Crisis: The Polarization of Political Ideals

Model VII
Legal Democracy
ประชาธิปไตยนิติธรรม
หลักแห่งความชอบธรรม
  • การเคารพเสียงข้างมากเป็นหลักการที่พึงปรารถนาและมีประสิทธิผล เพื่อการปกป้องคุ้มครองบุคคลจากการใช้อำนาจโดยพลการของรัฐ และเพื่อผดุงไว้ซึ่งเสรีภาพ แม้กระนั้นก็ตาม  วิถีชีวิตทางการเมืองซึ่งก็ทำนองเดียวกันกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจนั้น หากจะให้บุคคลยังสามารถธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไปตามปรกติได้ การปกครองโดยเสียงข้างมากจะต้องถูกกำกับควบคุมและจำกัดให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ภายใต้เงื่อนไขของการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้นที่หลักแห่งการเคารพเสียงข้างมากจะทำงานได้อย่างฉลาดและและเป็นธรรม

​คุณลักษณะสำคัญ
  • มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ (ตามต้นแบบและคุณลักษณะสำคัญของประเพณีนิยมทางการเมืองแบบอังกฤษ-อเมริกัน)
  • การเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย
  • รัฐแทรกแซงประชาสังคมและชีวิตส่วนตัวของพลเมืองน้อยที่สุด
  • สังคมเศรษฐกิจแบบการตลาดเสรีได้รับโอกาสพัฒนาอย่างกว้างขวางสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
เงื่อนไขทั่วไป
  • การนำทางการเมืองมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการเสรีนิยม (liberal principles)
  • กฎระเบียบของระบบราชการที่มีมากและใช้อำนาจเกินไปจะถูกลดลงให้เหลือน้อยที่สุด
  • จำกัดบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน
  • ระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศ
  • ลดการเสี่ยงต่อการถูกกดดันข่มขู่จากระบบอำนาจที่เกิดจากร่วมกลุ่มร่วมพลัง (collectivism) (ลดลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือกำจัดให้หมดสิ้น)

Model VIII
Participatory Democracy
ประชาธิปไตยแบบพลเมืองมีส่วนร่วม
หลักแห่งความชอบธรรม
  • การมีสิทธิเสมอภาคกันต่อเรื่องการมีเสรีภาพ และ สิทธิเสมอภาคต่อเรื่องการพัฒนาตนเอง จะบรรลุเป้าประสงค์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ใน ‘สังคมแห่งการมีส่วนร่วม’ เป็นสังคมที่หล่อหลอมจิตสำนึกทางการเมืองอันทรงสัมฤทธิผล หล่อเลี้ยงใส่ใจความรู้สึกห่วงใยปัญหาของส่วนรวมร่วมกัน เสริมสร้างให้เกิดพลเมืองที่มีความรู้ถึงระดับที่จะสามารถใส่ใจใกล้ชิดอย่างยั่งยืนต่อกระบวนการปกครองของรัฐ
คุณลักษณะสำคัญ
  • การมีส่วนร่วมโดยตรงของพลเมืองในการกำหนดกฎเกณฑ์ของสถาบันหลักในสังคม รวมทั้งสถานที่ทำงาน และชุมชนท้องถิ่น
  • จัดการระบบพรรคการเมืองใหม่ โดยทำให้เจ้าหน้าที่ของพรรครับผิดชอบต่อสมาชิกพรรคโดยตรง
  • ‘พรรคแบบสมาชิกมีส่วนร่วม’ เข้ามามีบทบาทในโครงสร้างของระบบรัฐสภา
  • รักษาระบบสถาบันแบบเปิดกว้างเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปได้ที่จะเกิดกระบวนการทดลองการเมืองในรูปแบบต่างๆ

เงื่อนไขทั่วไป
  • ฐานทรัพยากรของกลุ่มสังคมต่างๆที่มีน้อยด้อยคุณภาพต้องได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยตรง ผ่านกระบวนการแจกจ่ายถ่ายโอนทรัพยากรที่เป็นทรัพย์สินวัตถุทั้งหลาย
  • ลดอำนาจของระบบราชการที่ไม่รับผิดชอบต่อพลเมือง ทั้งส่วนที่เป็นกิจการสาธารณะ และส่วนที่เป็นกิจการส่วนตัวของพลเมือง (ลดลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือกำจัดให้หมดสิ้น)
  • ระบบข้อมูลข่าวแบบเปิดเพื่อให้มีการตัดสินใจด้วยข้อมูลความรู้อย่างพอเพียง
  • ทบทวนข้อกำหนดในการช่วยดูแลเด็กๆเพื่อให้ทั้งสตรีและบุรุษสามารถเข้ามีส่วนร่วมในชีวิตกิจการสาธารณะได้


8. Democracy after Soviet Communism
9. Deliberative Democracy and the Defense of the Public Realm

Model IX
Deliberative Democracy
ประชาธิปไตยโดยกระบวนการมติพลเมือง
หลักแห่งความชอบธรรม
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการสมาคมทางการเมืองผ่านกระบวนการแสดงความเห็นชอบของพลเมือง ด้วยการใช้เหตุผล และดำเนินไปอย่างเสรี การ “ร่วมกันกำหนดความเป็นธรรม” ในกระบวนการตัดสินทางการเมืองเป็นรากฐานอันชอบธรรมในการแสวงหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน 
คุณลักษณะสำคัญ
  • การสำรวจความคิดเห็น เพื่อลงมติ เพื่อการกำหนดวันเวลา และ การมีประชาชนเป็นคณะลูกขุนเพื่อการตัดสินข้อปัญหาคดีความต่างๆ
  • E-Government หรือ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” (รัฐบาล-อี) ริเริ่มโครงการต่างๆ ตั้งแต่โครงการายงานข่าวสารผ่านเครือข่าย  internet - online อย่างสมบูรณ์ ไปจนถึงการเข้าถึงผู้แทนราษฎรโดยตรง
  • E-Democracy หรือ “ประชาธิปไตยอิเล็กทรอนิกส์” (ประชาธิปไตย-อี) มีโครงการต่างๆ เช่น เวทีแสดงความคิดเห็นสาธารณะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (online)
  • การจัดกลุ่มวิเคราะห์ และการนำเสนอแนวนโยบายต่างๆ
  • การสำรวจ รับฟัง และลงมติแสดงความเห็นในวิถีชีวิตสาธารณะอย่างกว้างขวางทั่วถึง ตั้งแต่เวทีสาธารณะระดับเล็ก ไปจนถึงระดับชาติ
  • รูปแบบใหม่ในการใช้การออกเสียงลงประชามติผูกโยงกับการสำรวจความเห็นพลเมือง, ฯลฯ
  • การสำรวจความเห็นพลเมืองเพื่อการตัดสินใจในเรื่องกิจการสาธารณะต่างๆ ทำอย่างลึกซึ้งมากขึ้น เป็นการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ต่อๆไปจนถึงประชาธิปไตยแบบพลเมืองมีส่วนร่วมในกระบวนการลงมติอย่างเข้มข้น
เงื่อนไขทั่วไป
  • พหุนิยมแบบยึดค่านิยม (Value Pluralism)
  • โครงการให้การศึกษาพลเมืองอย่างเข้มข้น
  • วัฒนธรรมและสถาบันสาธารณะสนับสนุนการพัฒนาทางเลือกแบบ “กลั่นกรองอย่างถี่ถ้วนรอบคอบและสะท้อนความต้องการ” ของพลเมือง
  • มีงบประมาณสาธารณะ สนับสนุนองค์กรจัดการสำรวจความเห็นเพื่อการลงมติ และองค์กรระดับรองที่สนับสนุนกิจกรรมแบบเดียวกัน


10. Democratic Autonomy

Model Xa
Democratic Autonomy
ประชาธิปไตยแบบปกครองตนเอง 

หลักแห่งความชอบธรรม
พลเมืองควรมีสิทธิเสมอภาคกัน ในขณะเดียวกันก็ควรมีภาระหน้าที่ผูกพันและความรับผิดชอบเสมอเหมือนกัน ตามคุณลักษณะของกรอบการเมืองซึ่งทั้งเอื้ออำนวยให้เกิดโอกาสและทั้งจำกัดโอกาสสำหรับพลเมือง หมายความว่าพลเมืองควรมีอิสระและเสมอภาคกันในกระบวนการสอบถามความเห็นและลงมติสาธารณะว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขในการดำเนินชีวิตของตน และความมุ่งหวังตั้งใจที่จะให้ได้ตามเงื่อนไขเหล่านั้น ตราบเท่าที่พลเมืองทั้งหลายเหล่านั้นไม่ทำสิ่งใดในกรอบปฏิบัติเดียวกันนี้ในอันที่จะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของพลเมืองผู้อื่น
​

คุณลักษณะสำคัญ
State | รัฐ
  • หลักการมีอิสระปกครองตนเองบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพบุคคล
  • โครงสร้างรัฐสภาหรือสภานิติบัญญัติ (แบบสองสภา จากการลงคะแนนเลือกตั้งระบบสัดส่วน – Proportional Representation-PR)
  • ระบบตุลาการที่รวมถึงเวทีที่จัดขึ้นเฉพาะกิจพิเศษเพื่อตรวจสอบการตีความเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้งโดยระบบตัวแทนเชิงสถิติ (Statistical Representation-SR -ตัวแทนกลุ่มชนสำคัญประเภทต่างๆในสังคม เช่นกลุ่มเพศ, เชื้อชาติ ฯลฯ
  • ระบบพรรคการเมืองแข่งขันกัน (โดยได้รับการอุดหนุนจากงบประมาณสาธารณะ และประชาชนบางกลุ่มมีส่วนร่วมโดยตรงในการจัดการเรื่องกฎระเบียบขององค์กร เช่นการร่วมกิจกรรมผ่านการประชุมแบบเปิด การลงประชามติในท้องถิ่น และการส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง - Direct Participation)
  • ระบบบริหาราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นมีการจัดองค์กรภายในให้รวมองค์ประกอบของระบบการมีส่วนร่วมโดยตรงด้วย และให้มีการประสานและร่วมมือเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของท้องถิ่น

Civil Society | ประชาสังคม
  • มีความแตกต่างหลากหลายในด้านลักษณะครัวเรือน, แหล่งข้อมูลข่าวสาร, สถาบันวัฒนธรรม, กลุ่มผู้บริโภค ฯลฯ
  • การบริการชุมชน เช่น การเลี้ยงดูเด็ก ศูนย์บริการสาธารณสุข ศูนย์การศึกษาชุมชน มีการบริหารจัดการกันเองภายในชุมชน โดยใช้องค์ประกอบการทำงานแบบการมีส่วนร่วมโดยตรง แต่ให้โอกาสแก่ผู้อยู่ในวัยผู้ใหญ่ก่อน
  • มีการพัฒนาและทดลองรูปแบบต่างๆของการประกอบกิจการที่บริหารจัดการกันเองในชุมชน


เงื่อนไขทั่วไป
  • รับข้อมูลข่าวสารแบบเปิดกว้างและเสรี เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้มีการตัดสินใจในเรื่องกิจการสาธารณะโดยมีข้อมูลครบสมบูรณ์
  • ใช้กลไกและกระบวนการประชาธิปไตยแบบาสอบถามความเห็นเพื่อลงมติอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การออกสำรวจตรวจวัดความคิดเห็น จนถึงการรับความเห็นย้อนกลับจากผู้ลงคะแนนเสียงลงคะแนน เพื่อการเสริมประสิทธิภาพกระบวนการมีส่วนร่วมของพลเมือง
  • การกำกับควบคุมเป้าหมายรวมทางเศรษฐกิจกระทำโดยรัฐบาล ซึ่งมีการหารือกับภาคสาธารณชนและองค์กรภาคเอกชน
  • สร้างกฎคุ้มครองแรงงาน, สวัสดิการสังคม, การดูแลสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการประกอบการอย่างมีพลวัตในบรรษัท
  • ศูนย์อำนาจที่มีผลต่อวิถีชีวิตสาธารณะและวิถีชีวิตส่วนตัว ที่ไม่รับผิดชอบและตรวจสอบกำกับดูแลไม่ได้ (ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วมโดยตรงของพลเมือง) ต้องลดลงให้มากที่สุด
  • รักษาโครงสร้างสถาบันในสังคมให้ตอบสนองต่อการทดลองใหม่ๆที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการแบบต่างๆ

11.Democracy, the Nation-State and the Global System

Model Xb
Cosmopolitan Democracy
ประชาธิปไตยแบบสากลโลก (โลกาธิปไตย)
หลักแห่งความชอบธรรม
  • ในโลกที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคและประเทศอื่นๆรอบโลกทวีความเข้มข้นมากขึ้น มีการเหลื่อมทับซ้อนกันของการเป็นชุมชนและผลประโยชน์ ชะตาอนาคตของชุมชนต่างๆมากมาย หลักการบริหารจัดการปกครองตนเองจำต้องพึ่งพาความเป็นเครือข่ายประเทศระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะที่ยังต้องพึ่งพาแบบแผนความสัมพันธ์ภายในประเทศและการจัดการนโยบายในประเทศอยู่อีกด้วย

คุณลักษณะสำคัญ
รูปแบบการจัดการปกครอง | Polity/Governance

ระยะสั้น
  • การปฏิรูปสถาบันบริการต่างๆขององค์การสหประชาชาติ เช่น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีสิทธิมีเสียงสำคัญ และให้มีขีดความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ)
  • สร้างสภาที่สองขององค์การสหประชาติ (โดยการจัดประชุมระหว่างประเทศเพื่อร่างรัฐธรรมนูญหรือกฎบัตรใหม่)
  • เสริมพลังอำนาจกระบวนการวมกลุ่มการเมืองของประเทศในระดับภูมิภาค  (สหภาพยุโรป-EU, อาเซียน-ASEANฯลฯ) การใช้กระบวนการหยั่งเสียงประชามติข้ามชาติ
  • ก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศขึ้นใหม่ ; บังคับนานาชาติให้ขึ้นต่อศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ
  • ก่อตั้งกองกำลังระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อสหประชาชาติ
ระยะยาว
  • กฎบัตรใหม่ว่าด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ผูกโยงเข้าไป
         ภายในอำนาจการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ต่างๆ
  • รัฐสภาโลก (มีขีดจำกัดในการจัดหางบประมาณ) 
         สัมพันธ์เชื่อมโยงกับ ภูมิภาค ชาติ และชุมชนท้องถิ่น
         ต่างๆ
  • แยกผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจออกจากกัน
       มีงบประมาณสาธารณะสนับสนุน กระบวนการเลือกตั้ง
         และการประชุมรัฐสภาโลก
  • ระบบกฎหมายโลกที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ โดยมี
          องค์ประกอบเดียวกันด้านกฎหมายอาญาและกฎหมาย
         แพ่ง
  • ปรับทิศทางของพลังอำนาจเชิงรุกรานของรัฐชาติต่างๆให้
         เข้าระบบอำนาจระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างถาวร

เศรษฐกิจ/ประชาสังคม | Economy/Civil Society

ระยะสั้น
  • ส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาแบบไม่ใช้อำนาจรัฐ ไม่พึ่งกลไกตลาด สำหรับการบริหารจัดการภาคประชาสังคม
  • ทดลองรูปแบต่างๆในการจัดการองค์กรเศรษฐกิจในแบบประชาธิปไตย
  • จัดหาทรัพยากรให้กับผู้มีในฐานะทางสังคมที่เสี่ยงที่สุด เพื่อปกป้องและเสริมสร้างผลประโยชน์ให้เข้มแข็งขึ้น
ระยะยาว
  • สร้างสมาคมที่มีการจัดการตรวจสอบตนเอง และ กลุ่มประชาสังคมต่างๆให้มากหลากหลาย
  • ระบบเศรษฐกิจแบบแยกหลายส่วนการผลิต หลากหลายรูปแบบการเป็นเจ้าของกิจการและเจ้าของทรัพย์สิน
  • กำหนดกรอบสาธารณะในเรื่องลำดับความสำคัญในการลงทุนผ่านกระบวนการสอบถามความเห็นทั่วไปของสาธารณะ และการตัดสินใจของรัฐบาล แต่ให้มีการกำกับควบคุมกฎเกณฑ์ตลาดและแรงงานอย่างกว้างขวาง

เงื่อนไขทั่วไป
  • มีความต่อเนื่องในการพัฒนาการเคลื่อนย้ายทรัพยากรและเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกันในระดับภูมิภาค ระดับระหว่างประเทศ และระดับโลก
  • มีการเชื่อมโยงของเครือข่ายประชาชนพลเมืองที่เป็นชุมชนทางการเมืองอย่างแตกต่างหลากหลาย ทั้งในด้านพื้นที่, สังคม, วัฒนธรรม, เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาความเข้าใจในเรื่องการเหลื่อมทับซ้อนกันของความมั่งคั่งส่วนรวมของกลุ่มองค์กรต่างๆ ซึ่งจำต้องมีกระบวนการตกลงความขัดแย้งแบบประชาธิปไตย ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก
  • เสริมสร้างกรอบปราการสำหรับสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย ในการบัญญัติและบังคับใช้กฎหมายระดับชาติ ระดับภูมิภาค และกฎหมายระหว่างประเทศ
  • โยกย้ายถ่ายโอนขีดความสามารถของส่วนต่างๆของกองทัพ หรือกองกำลังเชิงรุกรานระดับชาติ เข้าไปเป็นขององค์กรหรือสถาบันระดับข้ามชาติ โดยมีเป้าประสงค์ในที่สุดเพื่อการลดกำลังทหาร และสลายระบบการสงครามระหว่างรัฐ

[แปลจากบทสรุปในหนังสือ David Held, Models of Democracy, Third Edition, Polity Press, Cambridge (UK), Malden, MA, U.S.A., , 2006]

    ความเห็นของท่านมีคุณค่า ❊ WE VALUE YOUR OPINION

Submit
THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION