THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION


​THE LIBRARY

WHERE RESIDE THE WORLDS
Library Collections

Picture
The English Governess at the Siamese Court
Anna Leonowens
Leonowens, Anna Harriette, The English Governess at the Siamese Court: Being Recollections of Six Years in the Royal Palace at Bangkok, (พิมพ์ครั้งแรก 1870) Oxford University Press, 1988, New York, Bangkok, Tokyo, Toronto, ISBN 0-19-588897-9

                                               การปะทะกันของสองวัฒนธรรม | A Clash of Cultures
ราชวงศ์จักรีครองราชบัลลังก์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียงสี่รัชกาลก็ได้มีโอกาสสัมผัสการศึกษาแบบตะวันตก นำเข้าโดยครูสาวหม้ายชาวอังกฤษ ผ่านอินเดียและสิงคโปร์ แหม่มแอนนาโด่งดังทั้งในโลกประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่สี่ และโด่งดังในโลกวรรณกรรมในหมู่นักเขียนนักอ่านสมัย Victoria การมาสยามตามพระราชประสงค์ของหม้ายลูกติดชาวอังกฤษ ถือเป็นการนำการศึกษาและวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่บรรดาเด็กและเยาวชนในพระราชวัง แต่ก็นำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างผู้ใหญ่สองวัฒนธรรมด้วย การเข้ามาสยามของ Anna Leonowens ส่งผลต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์วรรณกรรมสากล และประวัติศาสตร์การศึกษาและวิถีชีวิตในกำแพงพระราชวัง โลกได้ประโยชน์ไม่น้อย แต่นักประวัติศาสตร์ไทยกลับบันทึกเรื่องของเธออย่างไร้เมตตา.
“ฉันเป็นเพียงผู้เดินทางผ่านมา สำรวจดูทุ่งราบแห่งหมู่มวลมนุษย์นี้อย่างกว้างๆ และห่างๆ แต่ฉันก็พอมองเห็นได้ว่ามีการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยผู้นำความคิดคนสำคัญคนหนึ่ง” แหม่ม Anna กล่าวถึงเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ หรือที่เธอเรียกว่า “กลาโหม” หรือ “นายกรัฐมนตรี ของสยาม” ด้วยความชื่นชม แต่คนไทยและคนอังกฤษที่อ่านงานเขียนของ Anna Leonowens หรือ แหม่ม Anna
เรื่อง The English Governess at the Siamese Court แล้วมักจะหาเหตุไม่ชื่นชมแหม่ม Anna ได้มากกว่าที่จะชื่นชม ไม่ว่าใครจะว่าเธออย่างไร หนังสือเล่มนี้ก็โด่งดังไปทั่วโลกเมื่อ 134 ปีที่แล้ว ประเทศไทยก็สั่งห้ามอ่านห้ามขายหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งหนังสือ กึ่งนวนิยาย กึ่งสารคดีชื่อ Anna and the King of Siam ที่ Margaret Landon เขียนโดยเอาพื้นฐานมาจากบันทึกของ แหม่ม Anna เรื่อง The English Governess at the Siamese Court นี้เอง เล่มนี้ก็ถูกห้ามอ่านห้ามขาย ภาพยนตร์ที่สร้างตามมาภายหลังก็ถูกห้ามเช่นกัน คำสั่งห้ามนี้ แม้ปัจจุบันจะไม่เคยมีการยกเลิกอย่างเป็นทางการ แต่หนังสือทั้งสองเล่มนี้ และภาพยนตร์ที่สร้างมาสามแบบ ก็สามารถหาซื้ออ่านและชมได้อย่างที่รัฐบาลไทยไม่เคยว่าอะไร.

Anna Leonowens หรือ แหม่ม Anna เขียนหนังสือทั้งหมดในชีวิตเธอเพียงสี่เล่ม คือ :
  1. The English Governess at the Siamese Court พิมพ์เผยแพร่ปี ค.ศ. 1870
  2. The Romance of the Harlem หรือ  Siamese Harlem Life ปี 1872
  3. Life and Travel in India ปี 1884
  4. Our Asiatic Cousins ปี 1889
ที่สร้างปัญหาให้กับนักอ่าน โดยเฉพาะนักประวัติศาสตร์ชาวไทยก็คือสองเรื่องแรก ที่ว่าด้วยประสบการณ์ของเธอในแผ่นดินสยาม สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 หรือ King Mongkut ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ และแหม่ม Anna เดินทางจากสิงคโปร์เข้ามากรุงเทพเพื่อเป็นครูสอนพระองค์และเจ้าฟ้าหญิงและเจ้าฟ้าชายทั้งมวลในพระราชวัง หลังจากเรือ “เจ้าพระยา” เทียบท่าสยามเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2405 วันเวลาผ่านไปสามเดือนแหม่มแอนนาก็ยังไม่ได้บ้านอยู่เป็นสัดส่วนของครอบครัวของเธอ ซึ่งมีตัวเธอเอง ลูกชายชื่อ Louis และคนรับใช้ชาวมุสลิมคู่สามีภรรยา ชื่อ
Moonshee และ Beebe แหม่ม Anna ถูกจัดให้อยู่ในเขตพระราชวังอย่างใกล้ชิดด้วยพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนที่เธอจะซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณว่าทรงเมตตาให้เกียรติได้ใกล้ชิด  เธอกลับเห็นว่าเป็นการขาดเสรีภาพที่จะไปไหนมาไหน และเป็นการไม่ทำตามสัญญา อันที่จริงเธอไม่พอใจตั้งงแต่วันแรกที่เรือเทียบท่าแล้วที่พระกลาโหมมิได้เตรียมบ้านพักไว้ให้ล่วงหน้าเลย ก้าวแรกเมื่อถึงแผ่นดินสยาม ก็เสียอารมณ์แล้ว ชีวิตต่อมาของแหม่ม Anna จึงคละเคล้าไปด้วยความคาดหมาย และการคาดหวังที่ไม่บรรลุความปรารถนาของเธอ

เธอได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าคุณครูใหญ่” ได้รับพระราชทานศักดินาและได้รับพระราชทานที่ดินที่ลพบุรีลำพระพุทธบาท เธอก็วิจารณ์ว่าพิธีพระราชทานศักดินามีการโปรยเหรียญทองคำไม่กี่เหรียญ และน้ำเย็น 21 หยดจากหอยประดับพลอย  ได้ที่ดินก็ไกลถึงลพบุรี ต้องเดินทางไปด้วยช้าง ฝ่าดงพงไพรอย่างยากลำบาก เธอบอกว่า “เพราะฉะนั้น สู้ปล่อยที่ดินเป็นทานให้กับผู้คน เสือ ช้าง แรด หมูป่า และฝูงลิง ไปดีกว่ามีไว้เสียภาษี ส่วนตัวฉันก็ขอเป็นครูสอนหนังสือต่อไปโดยไม่ใยดีต่อยศศักดิ์อันใด”

ตลอดเล่ม แหม่มแอนนาอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกของเธอที่ปรับเข้าไม่ได้กับวัฒนธรรมสยาม เธอหวังจะได้เงินเดือนขึ้น ก็ไม่ได้ ได้ศักดินา ทรัพย์สินที่ดิน เธอก็ไม่ต้องการ เพราะเธอเป็นหม้าย ต้องเลี้ยงดูส่งลูกเรียนถึงสองคน 
ลูกสาวเรียนหนังสืออยู่อังกฤษ
ลูกชายอยู่กับเธอที่บางกอก
ไม่มีใครเข้าใจเธอ
และเธอก็ไม่เข้าใจสยาม
เธอขอลาออก

แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงขอให้เธอไปพักผ่อนได้ 6 เดือนแล้วให้กลับมารับใช้เบื้องพระยุคลบาทต่อ
แหม่ม Anna เดินทางกลับอังกฤษ พร้อม Louis ลูกชาย แล้วก็มิได้กลับมาสยามประเทศอีกเลย
แหม่ม Anna ใช้ชีวิตช่วงปลายที่ Canada ถึงแก่กรรมวันที่ 19 มกราคม  ค.ศ. 1915 อายุได้ 84 ปีฝังศพที่สุสานเมือง Montreal

กาลผ่านไป เกือบ 90 ปี จนปัจจุบันยังไม่มีนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ และนักวิจารณ์ทั้งไทยและต่างประเทศคนใดมีเมตตาต่อแหม่ม Anna เนื่องจากบันทึกของเธอที่เป็นหนังสือทั้งสองเล่มเกี่ยวกับสยามมีมุมมองจากตัวเธอเองเป็นหลัก และเป็นมุมมองที่ไม่เป็นที่โปรดปรานของปัญญาชนสยาม แทนที่จะพยายามทำความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม นักวิจารณ์เธอ กลายเป็นนักประณามเธอ ด้วยการขุดคุ้ยประวัติที่ไม่ชัดเจนของเธอจากอังกฤษ ไปอินเดีย ถึงสิงคโปร์ และมาสู่ประเทศสยาม
หนังสือสองเล่มเกี่ยวกับสยามของ Anna Harriet Leonowens คือ The English Governess at the Siamese Court และ
The Romance of the Harem ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งในสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษเธอได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนชั้นเยี่ยมในหมู่สตรียุค Victoria ถูกจัดอยู่ในชั้นเดียวกันกับ Harriet Beecher Stow ผู้เขียน Uncle Tom’s Cabin.

The English Governess at the Siamese Court และ The Romance of the Harem เป็นหนังสือสองเล่มที่คนไทยไม่เพียงแค่ควรอ่าน แต่ต้องอ่าน จะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม เพราะ การแสดงความชิงชังงานเขียนของแหม่ม Anna ด้วยเหตุผลของมุมมองที่แตกต่างทางวัฒนธรรม ถูกเติมด้วยเชื้อเพลิงแห่งการดูหมิ่นชีวประวัติที่คลุมเครือของเธอ ยังผลให้ Anna Harriet Leonowens
หรือ แหม่ม Anna มิได้มีที่อยู่ในประวัติศาสตร์สยามอย่างทรงคุณค่าเลย.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ King Mongkut เสด็จสวรรคตในช่วงที่แหม่ม Anna กราบบังคมทูลลากลับไปพักผ่อนที่อังกฤษพอดี แหม่ม Anna เล่าในตอนต่อมาว่า เธอก็คอยอยู่ว่าจะมีรับสั่งให้กลับไปสอนหนังสือต่อที่สยามประเทศหรือไม่ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว จึงขาดการติดต่อกับสยามไปเลย 3 ปีต่อมา ในปี 1870 หรือ พ.ศ. 2413เธอจึงเขียน และได้พิมพ์
The English Governess at the Siamese Court ซึ่งก็ได้รับการชื่นชมยกย่องจากนักอ่านในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอังกฤษ ในฐานะสตรีตัวอย่างนักต่อสู้และปฏิรูปสังคมในยุค Victoria แต่ในแผ่นดินสยามและในหมู่ชาวอังกฤษผู้เข้าในสังคมสยามดีกลับไม่พอใจ โดยเห็นว่า Anna Leonowens หรือแหม่ม Anna ฉวยโอกาสที่ได้ใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ปรุงแต่งเรื่องราวที่เธอไม่รู้จริงและมีอคติ เขียนเป็นหนังสือที่ยกย่องตัวเองเพื่อให้เทียบชั้นกับ Harriet Beecher Stow ผู้ซึ่งมีงานเขียนกระทบระบบทาสในสหรัฐอเมริกา ในหนังสือชื่อ Uncle Tom’s Cabin เพราะเธอเองก็เขียนเรื่องระบบทาสในสยามประเทศ ในหนังสือสองเล่มของเธอคือ The English Governess at the Siamese Court และ The Romance of the Harem หรือ Siamese Harem Life เฉพาะ The English Governess at the Siamese Court นั้น เป็นการบันทึกประสบการณ์ของ Anna Harriet Leonowens
ระหว่าง 5 ปี 4 เดือนที่ได้มารับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น Governess หรือครูและพี่เลี้ยงถวายความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาแบบตะวันตก ทั้งวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และวรรณคดี โดยมีข้อห้ามมิให้สอนศาสนาคริสต์  แหม่ม Anna ได้เข้าใกล้ชิดส่วนในของพระราชวัง เข้าถึงข้าราชบริพาร นางสนม นางทาส ห้องสมุด เข้าออกพระราชวังอย่างสะดวกสบาย อะไรที่เธอพบเห็นที่ขัดกับแนวคิดแบบตะวันตกของเธอ เช่าเรื่องระบบทาส นางสนมกำนัลสนองพระโอษฐ์ ทำให้เธอมองชีวิตชาวสยามอย่างไม่ชื่นชม.

ในเมื่อการสังเกตชีวิตในวังและนอกวังของเธอเป็นไปอย่างจำกัด เธอจึงถูกกล่าวหาว่าไม่รู้จริง เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่เขียนประวัติศาสตร์คลาดเคลื่อน เขียนเรื่อจริงให้เป็นดุจนวนิยาย Ian Grimble จากวิทยุ BBC ของอังกฤษ ตำหนิแหม่ม Anna อย่างรุนแรง ลงพิมพ์ใน The New York Times ฉบับวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1970 ว่าเธอเป็น “…a mischief maker, a squalid little girl…one of those awful little English governesses, a sex-starved widow.”

“เป็นคนชอบหาเรื่อง เป็นเด็กงกเงินจนไร้สมบัติผู้ดี...เป็นแบบพวกครูอังกฤษที่น่าทุเรศ เป็นแม่หม้ายกระหายกาม”

แรงมากๆสำหรับคนอังกฤษที่ต่อว่าคนอังกฤษด้วยกันเอง คนต่อว่ารักและเข้าใจ พร้อมปกป้องสยามประเทศ คนถูกต่อว่าเขียนเท่าที่คิดและรู้สึกได้.

A.B. Griswold ในหนังสือของเขาชื่อ King Mongkut of Siam วิจารณ์ว่า
แหม่ม Anna “ยืนอยู่บนเส้นแบ่งความจริง และชอบหนีไปอยู่ในแดนฝันบ่อยๆ ไม่รู้อะไรถูก อะไรควร มีแต่ความรู้สึกเหมือนละครสะเทือนอารมณ์”

W.S. Bristow  เขียนหนังสือชื่อ Louis and the King of Siam ว่าด้วยเรื่องของ Louis T. Leonowens ลูกชายของแหม่ม Anna ซึ่งเป็นพระสหายกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่ง Bristow วิจารณ์ แหม่ม Anna ว่า
“เป็นพวกต้มตุ๋นหลอกลวง โกหกได้ทุกเรื่อง” แต่การบันทึกเรื่องราวที่เธอไม่ชอบ ตามมุมมองของเธอที่นักอ่านชาวสยามหรือชาวตะวันตกผู้รักสยามประเทศกลับไม่พอใจเธอนั้น ก็มีส่วนเป็นประโยชน์ทำให้เราได้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ในราชอาณาจักรสยามยุคนั้นเป็นอย่างดี.

บทที่ 15 ว่าด้วยเรื่องเมืองบางกอก บรรยายภาพชีวิตบ้านในเรือตามลำน้ำเจ้าพระยาอย่างแจ่มชัด จากปากน้ำ ปากลัดล่าง ขึ้นถึงปากลัดบน 
บทที่ 16 เล่าเรื่องช้างเผือก
บทที่ 17 เรื่องพระราชพิธีฉัตรมงคล
บทที่ 19 เรื่องพระราชประเพณีโกนจุก
บทที่ 20 เรื่องการบันเทิงในวัง
บทที่ 21 เรื่องศิลปะ และวรรณกรรมสยาม
บทที่ 22 เรื่องพระพุทธศาสนากับพระสงฆ์
และบทที่ 28 สรุปเรื่องราชอาณาจักรสยาม

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความรู้ที่คนไทยควรต้องอ่านอย่างกลั่นกรอง เพื่อเอาความรู้ และแสวงหาความรู้สึก พร้อมกับสร้างทัศนะวิจารณ์ 
แม้กระทั่งเรื่องการไปเที่ยวนครวัตในเขมรที่ไม่เกี่ยวอะไรกับสยามโดยตรง แหม่ม Anna ก็เขียนบรรยายอย่างละเอียด ซึ่งละเอียดมากจนนักวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามกล่าวหาว่าเธอยกเมฆนั่งเทียนเขียน มิได้เดินทางไปนครวัตจริงๆเลย แต่เธอก็ยืนยันในตอนหลังว่าเธอไปนครวัตจริง และเก็บข้อมูลมาเขียนทีหลัง เป็นที่น่าวิตกว่า การค้นคว้าประวัติชีวิตที่แท้จริงของแหม่ม Anna ทำได้อย่างยากยิ่ง ลูกหลานรุ่นหลังๆ ไม่สามารถค้นหาสมุดบันทึกชีวิตของแหม่ม Anna ได้เลย แต่เท่าที่ค้นคว้าได้ก็สรุปตรงกันว่า แหม่ม Anna ไม่บอกความจริงเกี่ยวกับชีวิตเธอหลายเรื่อง วันเกิด อายุ ก็ไม่บอกความจริง ชีวิตในอินเดียและสิงคโปร์ ก็ปรับแก้ให้ดูดีกว่าที่เป็นจริงเท่าที่ค้นคว้าได้ตอนหลัง 

Leslie Smith Dow
ค้นคว้าเรื่องราวชีวิตของ Anna Harriet Leonowens อย่างละเอียดเท่าที่จะตามหาข้อมูลได้ สรุปว่า
Anna เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1831 ไม่ใช่ปี 1834 ตามที่เธออ้าง เธอโกงอายุให้อ่อนลง 3 ปี เธอเกิดที่อินเดีย ไม่ใช่ที่ Wales ตามที่เธอบอกกับใครต่อใคร มารดาของเธออาจเป็นหญิงอังกฤษ หรือมีเชื้อลูกผสมอินเดียพื้นเมืองก็ได้ หรือไม่ก็เป็นชาวอินเดียมาได้กับพ่อของเธออย่างไม่ทราบหัวนอนปลายเท้าก็ได้ หากพ่อเธอเป็นทหารอังกฤษทำงานในอินเดีย พ่อของเธออาจเป็นทหารระดับล่าง ไม่ใช่นายทหารระดับสูงอย่างที่เธออ้าง W.S. Bristow อธิบายว่าแหม่ม Anna พยายามปกปิด “ความไม่บริสุทธิ์ในสายเลือดของตัวเอง” 
เธอเกิดมาในนามสกุล Edwards ไม่ใช่  Crawford ตามที่เธอบอก เธอแต่งงานหรือเปล่าก็ไม่แน่ แต่เธอได้สามีชื่อ Thomas Leon Owens ซึ่งเป็นทหารอังกฤษยศต่ำในอินเดียยุคอาณานิคม ลูกสองคนแรกเสียชีวิตแต่ยังเด็ก ลูกคนถัดมาเป็นหญิง ชื่อ Avis ลูกคนสุดท้องเป็นชายชื่อ Louis ปี 1857 เธอย้ายครอบครัวจากอินเดียไปอยู่สิงคโปร์อันเป็นที่ซึ่งสามีของเธอเสียชิวิตในปีต่อมาระหว่างล่าเสือ จากนั้นเธอต้องหางานทำเลี้ยงชีพและลูกๆด้วยตัวเธอเองตามลำพัง โดยเป็นครู เธอส่ง Avis ลูกสาวกลับไปอยู่อังกฤษ เหลือลูกชายที่ชื่อ Louis ที่เธอชอบเรียกว่า Boy ติดสอยห้อยตามเธอตลอดมา Anna เปลี่ยนนามสกุล จาก Owens เอกชื่อกลางของสามีมารวมเข้าด้วยกันเป็น Leonowens ต่อมาในปี 1862 เธอได้รับการแนะนำจาก Tam Kin Ching ตัวแทนรัฐบาลสยามในสิงคโปร์ และ John Adamson  จากบริษัท Borneo ให้ไปรับงานเป็นครูในราชสำนัก King Mongkut แห่งราชอาณาจักรสยาม นาน 5 ปี 4 เดือน จากนั้น กลับไปอยู่อังกฤษ ต่อไป Ireland สหรัฐอเมริกา และ Canada ได้ลูกเขยฐานะดี เป็นนายธนาคาร จึงอยู่ด้วยกันกับลูกสาวและลูกเขยที่ Halifax จนถึงแก่กรรมที่ Montreal ในปี ค.ศ. 1915 รวมอายุได้ 84 ปี ส่วน Louis ลูกชายแยกตัวไปเผชิญโชคใน Australia เมื่ออายุ 19 ปี จนอายุ 26 จึงกลับมาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่ง Louis เป็นที่ทรงโปรดของพระองค์ครั้งร่วมชั้นเรียนเดียวกันขณะทรงพระเยาว์ Louis มั่งคั่งในแผ่นดินสยาม ได้สัมปทานป่าไม้ภาคเหนือ ตั้งบริษัท Louis T. Leonowens และเป็นผู้ก่อตั้งโรงแรม Oriental ริมฝั่งเจ้าพระยาที่บางกอก

ไม่ว่าประวัติชีวิตของ Anna  จะเป็นอย่างไร จริงแท้มากน้อยแค่ไหน ใครจะตำหนิวิพากษ์เธอจนเสียหายอย่างไร งานเขียนของเธอก็กลายเป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยไปแล้วอย่างแน่นอน การที่นักประวัติศาสตร์และนักวิจารณ์ขุดคุ้ย เอาประวัติชีวิตของเธอ มาทำลายคุณค่างานเขียนบันทึกเรื่องราวในแผ่นดินสยามตามที่เธอมองเห็น ในมุมมองของเธอเอง เป็นการไม่ให้ความยุติธรรมต่อเธอเลย.

THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION