“ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย กับ ประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 1966-1975: วิเคราะห์เชิงกิจกรรมสัมพันธ์”
[ดุษฎีนิพนธ์ ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล, University of Pennsylvania, January 1, 1981]
*
[ดุษฎีนิพนธ์ ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล, University of Pennsylvania, January 1, 1981]
*
[คำนำ]
ระหว่างปี ค.ศ. 1975 ถึง 1980 ผมได้รับทุนการศึกษาจาก Harvard Yen-Ching Institute แห่ง Harvard University ไปศึกษาระดับปริญญาเอก (Doctor of Philosophy - Ph.D.) ณ Department of South Asia Regional Studies, University of Pennsylvania เมือง Philadelphia สหรัฐอเมริกา ภายใต้การกำกับดูแลของศาสตราจารย์ Dr. Norman D. Palmer (1909-1996) นักวิชาการรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้มีผลงานเป็นที่เคารพระดับโลก ท่านเป็นอาจารย์อยู่ที่ University of Pennsylvania ระหว่างปี 1947-1979 และในบรรดาคณาจารย์ผู้สอนกับที่เป็นกรรมการดุษฎีนิพนธ์หลายท่านนั้น มีสองท่านที่เป็นที่รู้จักระดับโลกในทางการเมืองรวมอยู่ด้วย คือ Dr. William R. Kintner (1915-1997) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (1973-1975) และ Gen. Alexander M. Haig (1924-2010) อดีตหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว (White House Chief of Staff, 1973-1974 - สมัยประธานาธิบดี Gerald R. Ford และ Richard M. Nixon), ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกองทัพพันธมิตรในยุโรป (Supreme Allied Commander Europe, 1974-1979) และต่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (1981-1982 - สมัยประธานาธิบดี Ronald Reagan) หัวข้อดุษฎีนิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก) ที่ผมทำคือ “INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS” หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย กับ ประเทศสมาชิกอาเซียน ปี 1966-1975: วิเคราะห์เชิงกิจกรรมสัมพันธ์” โดยใช้การวิเคราะห์กระบวนการ “International Transaction” หรือกิจกรรมต่างๆด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่วัดได้ในเชิงปริมาณและคุณภาพ อันเกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศ การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมระหว่างประเทศ ตามทฤษฎี International Integration ของศาสตราจารย์ Karl Wolfgang Deutsch (1912-1992) เป็นหลักนำทาง
หลังการเรียนวิชาในชั้นเรียนสองปี ผมใช้เวลาอีกสามปีเขียนดุษฎีนิพนธ์ ผ่านการสอบและตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อย ได้รับปริญญาเอกสาขาภูมิภาคเอเชียใต้ศึกษา (Ph.D. in South Asia Regional Studies) อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1981
การพิมพ์วิทยานิพนธ์ในสมัยนั้นเริ่มมีเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวใช้เช่นปัจจุบัน ระบบคอมพิวเตอร์ในสำนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ในยุคเริ่มแรกที่ใช้บัตรเจาะเป็นเครื่องบันทึกและอ่านข้อมูล คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้เป็นส่วนตัวยังไม่มีในโลก ดังนั้นต้นฉบับวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาทุกคนจึงต้องพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา หรือเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า การทำสำเนาก็ต้องใช้กระดาษคาร์บอน หรือ “carbon copy” มหาวิทยาลัยจะเก็บทั้งต้นฉบับที่เป็นกระดาษพิมพ์ดีด และเก็บเป็นฟิล์มถ่ายภาพขนาดเล็ก (Microfilm) หากใครจะต้องการจะขอซื้อสำเนาดุษฎีนิพนธ์มาอ่านก็จะได้ในรูปแบบเอกสารถ่ายจากภาพบนแผ่นฟิล์ม ต่อมาในยุคคอมพิวเตอร์ส่วนตัวแพร่หลาย การเก็บเอกสารเข้าสู่ยุคข้อมูลสัญญาณตัวเลขหรือ “ดิจิตอล” (Digital) มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาจึงทะยอยเก็บเอกสารต่างๆในระบบ Digital รวมทั้ง University of Pennsylvania ของผมด้วย ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอกสาร และวิทยานิพนธ์ต่างๆของมหาวิทยาลัย ได้จัดทำเป็นระบบ Digital เสร็มสมบูรณ์หมดแล้ว เอกสารดุษฎีนิพนธ์ของผมจึงสามารถค้นอ่านบทคัดย่อและขอซื้อสำเนาได้ผ่านส่วนงานรวมเอกสารวิชาการที่เรียกว่า “Scholarly Commons: Repository ของหอสมุดมหาวิทยาลัย สะดวกมากสำหรับการค้นคว้าของผู้สนใจทั้งโลก วิทยานิพนธ์ของผู้อื่นในมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกาก็เข้าสู่ระบบ Digital กันโดยทั่วแล้ว ทำให้การค้นคว้าหาความรู้บนโลกมนุษย์สะดวกและกว้างขวางมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน วิทยานิพนธ์ที่ถูกเก็บนิ่งอยู่บนหิ้งเอกสารในหอสมุดมหาวิทยาลัยจึงกลับมามีชีวิตโลดแล่นในโลกแห่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างสะดวก รวดเร็ว และฟรีในระดับเบื้องต้นอีกด้วย
ที่ผมขอนำมาเผยแพร่ต่อไปนี้เป็นบทคัดย่อดุษฎีนิพนธ์ของผมที่มหาวิทยาลัยเพนน์ซิลเวเนีย | University of Pennsylvania เป็นฝ่ายจัดการเขียนย่อ จากเอกสารต้นฉบับที่ผมเขียนเองยาว 471 หน้า ซึ่งสามารถค้นคว้าหรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://repository.upenn.edu/dissertations/AAI8208022 การใช้โอกาสเผยแพร่วิทยานิพนธ์ของผมนี้ แม้ดูจะเป็นงานส่วนตัว แต่ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการ และช่วยให้การค้นคว้าเรื่องอาเซียนในปัจจุบันได้รับการต่อเสริมด้วยความรู้จากการศึกษาในอดีตท่ผ่านมานานถึง 30 ปีแล้ว ซึ่งในเวลานั้นอาเซียนมีสมาชิกเพียง 5 ประเทศเท่านั้น
สมเกียรติ อ่อนวิมล
28 มกราคม 2554
INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS
A Ph.D. Dissertation by Dr. Somkiat Onwimon
Department of South Asia Regional Studies, University of Pennsylvania
(1981)
A Ph.D. Dissertation by Dr. Somkiat Onwimon
Department of South Asia Regional Studies, University of Pennsylvania
(1981)
Abstract
ASEAN, formed in 1967, was intended to be an important regional organization for economic and social cooperation. For India, regional cooperation has always been a very important aspect of its foreign policy. The ASEAN idea was, therefore, a very important aspect of its foreign policy. The ASEAN idea was, therfore, a very appealing one. India, however, was not invited to join the new regional organization. Though India remains outside the framework of ASEAN, its role in the region and its relations with the countries within the region are still important.^ One of the objectives of this study is to ascertain the state of India's relations with the ASEAN countries. This study starts with an assumption that institutional linkage, e.g., being in the same regional grouping, is an important factor contributing to intensity of bilateral relations. Not being an ASEAN member, India is expected to have a low level of intensity of relations with the ASEAN countries. But among the ASEAN countries there are some with whom India has institutional linkages, such as a common membership in the Non-aligned Movement or in the Commonwealth of Nations. In examining India's relations with the five ASEAN countries it is expected that relations with Malaysia, Singapore, and Indonesia will be more intense than those with Thailand and the Philippines.^ To measure the level of intensity of relations India's bilateral transactional relations with each ASEAN country--especially political, economic and socio-cultural transactions--are examined. Statistical computation of countable transactional data supports the hypothesis that transactional activities quantitatively correlate to intensity of relations.^ The study found that India's relations with Malaysia and Singapore were more intense than with the rest of the ASEAN countries. The three belong to the Non-aligned Movement as well as the Commonwealth of Nations. India also fared better with Indonesia than with Thailand and the Philippines. Again it must be pointed out that both India and Indonesia are non-aligned countries while Thailand and the Philippines are not. As the dissertation studies political, economic and socio-cultural aspects of transactional relations separately, separate conclusions on each of these categories also revealed the same pattern of relations.^ Compared with other countries India's relations with the ASEAN countries are still very low in intensity. Low as they are, India's relations with some ASEAN members are distinguishably special due to their other common institutional linkages. This study, therefore, concludes that institutional linkages contribute to the intensity of relations, and maybe, but not necessarily, to better relations. To measure such intensity of relations this study showed that quantitative evaluation of transactional data is an acceptable method. ^ |
[บทแปล]
ความย่อ อาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1967 โดยมุ่งประสงค์จะให้เป็นองค์การระดับภูมิภาคที่มีความสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับอินเดีย ความร่วมมือระดับภูมิภาคมีความสำคัญมากเสมอในนโยบายต่างประเทศ ความคิดเรื่องอาเซียนจึงเป็นความคิดที่น่าสนใจมาก ทว่าอินเดียมิได้ถูกเชิญเข้าเป็นร่วมสมาชิกภาพในองค์การใหม่แห่งภูมิภาคนี้ และแม้ว่าอินเดียจะอยู่นอกกรอบความสัมพันธ์ของอาเซียน แต่บทบาทของอินเดียในภูมิภาคตลอดจนความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคนับว่ายังมีความสำคัญอยู่ หนึ่งในวัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้คือการยืนยันสถานภาพความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดุษฎีนิพนธ์นี้เริ่มด้วยสมมุติฐานว่าความเชื่อมโยงทางสถาบัน ดังตัวอย่างที่ปรากฏในประเทศในกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคี เมื่ออินเดียมิได้เป็นสมาชิกอาเซียนก็น่าจะคาดได้ว่าระดับความสัมพันธ์ที่อินเดียมีกับประเทศอาเซียนจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในบรรดาประเทศอาเซียนทั้งหลายนั้นก็มีบางประเทศที่อินเดียมีความเชื่อมโยงด้วยเชิงสถาบัน เช่นการร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มชาติขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดด้วยกัน หรือ เป็นสมาชิกเครือจักรภพด้วยกัน ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับห้าประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น คาดว่าความสัมพันธ์กับมาเลเซีย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย จะเข้มข้นมากกว่าความสัมพันธ์กับไทยและฟิลิปปินส์ ในการวัดระดับความเข้มข้นของความสัมพันธ์ ใช้วิธีการศึกษาความสัมพันธ์ด้านกิจกรรมการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศที่เรียกว่าแบบทวิภาคี ระหว่างอินเดียกับแต่ละประเทศอาเซียน--โดยเฉพาะในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม การคำนวนตัวเลขเชิงสถิติจากข้อมูลการติดต่อสัมพันธ์ที่วัดได้ก็สนับสนุนข้อสมมุติฐานที่ว่า กิจกรรมสัมพันธ์ทั้งมวล กับ ความเข้มข้นของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ตามกันไป การศึกษาเรื่องนี้ได้พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับมาเลเซีย และ ระหว่างอินเดียกับสิงคโปร์ มีระดับเข้มข้นมากกว่าความสัมพันธ์กับอีกสามประเทศอาเซียน (ฟิลิปปินส์ ไทย และ อินโดนีเซีย - สมเกียรติ อ่อนวิมล เพิ่มเติม) เพราะอินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ อยู่ในกลุ่มขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและกลุ่มชาติเครือจักรภพด้วยกัน นอกจากนั้นอินเดียก็มีความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียในระดับที่เข้มข้นมากกว่าความสัมพันธ์กับไทยและกับฟิลิปปินส์ ซึ่งก็ต้องเน้นอีกครั้งว่าอินเดียและอินโดนีเซียเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดด้วยกัน ขณะที่ไทยและฟิลิปปินส์ไม่ได้อยู่ร่วมกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดด้วย เมื่อวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาแยกออกเป็นความสัมพันธ์เชิงกิจกรรมระหว่างประเทศในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม ข้อสรุปแยกแต่ละด้านก็แสดงให้เห็นแบบแผนความสัมพันธ์ทำนองเดียวกัน หากเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับประเทศอื่นที่มิใช่อาเซียนก็ยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับประเทศอาเซียนมีระดับความเข้มข้นน้อยกว่า ถึงจะยังไม่มีสัมพันธภาพที่เข้มข้นเท่าใดนักก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ที่อินเดียมีต่อบางประเทศในอาเซียนก็มีสถานภาพพิเศษอย่างชัดเจนเนื่องจากความเชื่อมโยงเชิงสถาบันที่อินเดียมีร่วมกันกับประเทศอาเซียนนั้นๆ ดังนั้นการศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้จึงสรุปว่าความเชื่อมโยงเชิงสถาบันมีส่วนเสริมสร้างความเข้มข้นของความสัมพันธ์ และแม้ว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นจริงเสมอไปแต่ก็อาจจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีต่อกันก็เป็นได้ ในกระบวนการวัดปริมาณความเข้มข้นของสัมพันธ์นั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงผลว่าการประเมินข้อมูลกิจกรรมสัมพันธ์เชิงปริมาณเป็นวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ |
Subject Area
Political Science, International Law and Relations
Recommended Citation
SOMKIAT ONWIMON, "INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS" (January 1, 1981).
Dissertations available in full from ProQuest. Paper AAI8208022.
http://repository.upenn.edu/dissertations/AAI8208022
Political Science, International Law and Relations
Recommended Citation
SOMKIAT ONWIMON, "INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS" (January 1, 1981).
Dissertations available in full from ProQuest. Paper AAI8208022.
http://repository.upenn.edu/dissertations/AAI8208022