THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION




​                               


Picture
Picture

Picture

ในบริบท ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล
IN CONTEXT of Somkiat Onwimon

WK11/2024
[6]

​Soft Power - 5: Chapter One - The Limits of Soft Power
Soft Power - 5: บทที่หนึ่ง - ความจำกัดของ Soft Power




                                 [5]
                                            ความจำกัดของ Soft Power
                                            (The Limits of Soft Power)


    “มีคนที่ไม่เชื่อและคัดค้านความคิดเรื่อง Soft Power เพราะเขาเหล่านั้นคิดในมุมมองแคบๆในเรื่อง “power” หรือ “อำนาจ” ว่าเป็นเรื่องของการออกคำสั่งและการเข้าควบคุมอย่างไม่ปล่อย”, ศาสตราจารย์ Joseph Nye กล่าว ในบทที่หนึ่งของหนังสือเรื่อง “Soft Power: The Means to Success in World Politics” (“อำนาจนุ่มนวล: หนทางสู่ความสำเร็จในการเมืองโลก”) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทฤษฎีว่าด้วยมิติที่สองของอำนาจอันนุ่มนวลในนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ ท่านวิจารณ์ต่อไปว่า “ในทัศนะของคนเหล่านั้น การทำตามอย่างหรือเลียนแบบ และ การดึงดูดใจ เป็นแค่ความหมายตามตัวอักษรเท่านั้น มันเป็นแค่การทำตามอย่าง และการดึงดูดใจ ใม่ใช่ “อำนาจ” อย่างที่เราได้เห็นมาแล้วว่าการทำเลียนแบบและการดึงดูดใจบางอย่างไม่ได้ก่อให้เกิดอำนาจอะไรนัก ไม่มีอำนาจอะไรมีผลลัพธ์อันเกิดจากนโยบาย ยกตัวอย่างญี่ปุ่นในช่วงปี 1980s ได้รับการชื่นชมจากทั่วโลกในเรื่องนวัตกรรมกระบวนการอุตสาหกรรม แต่แล้วก็พบว่ามีชาติอื่นทำเลียนแบบญี่ปุ่นกันมาก ยังผลให้ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบเชิงลบ อำนาจการตลาดของญี่ปุ่นในโลกตกต่ำลง ทำนองเดียวกัน การเลียนแบบยุทธการของกองทัพชาติหนึ่งกับอีกชาติหนึ่งซึ่งมักทำกันเสมอยังผลให้การสู้รบในสงครามเป็นแบบรู้เท่าทันคู่สงครามได้ ทำให้ยากยิ่งที่ฝ่ายหนึ่งจะคาดหวังชัยชนะตามได้จากนวัตกรรมการสงครามของตน ข้อสังเกตุดังว่านี้ถูกต้อง แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ตกหล่นประเด็นสำคัญไปในเรื่องที่ว่า การผลักดันอำนาจดึงดูดใจไปยังอีกฝ่ายหนึ่งมักจะได้ผลทำให้คุณได้สิ่งที่คุณต้องการหรือคาดหวัง คนที่คิดนิยามเรื่องอำนาจว่าเป็นเพียงความมุ่งมั่นจงใจออกคำสั่งและควบคุมกำกับดูแลเท่านั้น ละเลยที่จะคิดถึงด้านที่สองของโครงสร้างแห่งอำนาจ -- นั่นคือ ขีดความสามารถในการทำให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่คุณต้องการโดยไม่ต้องกดดันบังคับให้คนอื่นเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านการใช้อำนาจข่มขู่หรืออำนาจเงิน
    “ในเวลาเดียวกัน มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องชี้ชัดถึงเงื่อนไขที่จะทำให้การดึงดูดใจมีแน้วโน้มมากกว่าในอันที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ และชี้ชัดในแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวอันทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ  อย่างที่เห็นแล้วว่าวัฒนธรรมสมัยนิยม (popular culture) มีแนวโน้มสูงที่จะดึงดูดใจให้คนชอบและหลงไหลทำตาม ทำให้เกิด Soft Power ในความหมายที่ว่าได้ผลลัพธ์ที่พึงปราถนา ในสถานการณ์ที่วัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงกันมากกว่าจะแตกต่างกัน อำนาจทั้งมวลนั้นขึ้นอยู่กับบริบท - ใครสัมพันธ์กับใคร ภายใต้เงื่อนไขอย่างไร - แต่อำนาจนุ่มนวล หรือ Soft Power ต้องพึ่งพาอาศัยคนที่พร้อมจะอธิบายความหมาย (ของพลังวัฒนธรรมสมัยนิยม) กับกลุ่มคนที่เป็นฝ่ายรับ (แรงดึงดูดทางวัฒนธรรม) ยิ่งไปกว่านั้น อำนาจดึงดูดทางวัฒนธรรมนั้นมันมีผลกระทบแบบฟุ้งกระจายกว้างออกไปรอบทิศทาง  สร้างอิทธิพลโดยภาพรวมมากกว่าจะเป็นปรากฏการณ์ที่มองเห็นได้ง่ายเป็นรูปธรรมชัดเจนตายตัว ทำนองเดียวกันกับที่เราบอกว่าเงินเป็นเครื่องมือในการลงทุน พวกนักการเมืองก็มักพูดว่าเขาลงทุนเป็นต้นทุนทางการเมืองสะสมในบัญชีอำนาจการเมือง เผื่อไว้ถอนออกมาใช้กับสถานการณ์ในอนาคต แน่นอนว่าความปราถนาดีในการลงทุนทางการเมืองเช่นนั้นอาจจะไม่ได้รับดอกผลตามที่คาดหวังฉับพลันทันที กระนั้นก็ตามผลพวงทางอ้อมของอำนาจดึงดูดใจให้รักและไหลหลง กับการแผ่ขยายของอิทธิพล สามารถทำให้เกิดความแตกต่าง ยังผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง หากถึงสถานการณ์ที่ต้องที่ต้องการเจรจาต่อรอง ไม่อย่างนั้นพวกผู้นำทางการเมืองก็จะเอาแต่กดดันให้เกิดการทำตามในทันทีตามเงื่อนไขแบบต่างตอบแทนกันและกัน ในประเด็นที่ต่อรองเท่านั้น แต่เราก็รู้ดีว่านั่นไม่ใช้วิถีทางแห่งพฤติกรรมของผู้นำเหล่านั้นแน่นอนเสมอไป  เรื่องนี้มีงานวิจัยมากพอจากนักสังคมจิตวิทยา ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงดูดใจกับอำนาจ” (Note 23 ท้ายบทที่หนึ่งให้รายละเอียดงานวิจัยที่อ้างถึง ยกตัวอย่างงานวิจัยยุคแรกของ John R.P. French and Bertram Raven, "Bases of Social Power,” in Darwin Cartwright and Alvin Zande, eds., Group Dynamics: Research and Theory, 3d ed. (New York: Harper & Row, 1968), pp. 259-269)

    “Soft Power”,  ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. อธิบายต่อไปว่า, 
“มีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญเวลาที่อำนาจถูกกระจายแผ่ขยายออกไปยังประเทศ อื่นๆ แทนที่จะรวมศูนย์กระจุกตัวแน่นในพื้นที่ในประเทศหนึ่งประเทศใดในขอบเขตที่กำหนด พวกผู้นำเผด็จการเองนั้นก็ไม่สามารถที่แสดงความไม่แยแสอย่างหมดสิ้นต่อทัศนะของประชาชนในประเทศตน แต่พอเป็นเรื่องทัศนะต่อประเทศอื่นที่อาจเป็นที่นิยมยกย่องหรือไม่แค่ไหนก็แล้วแต่ นักเผด็จการจะเลือกแสดงทัศนะต่อต่างประเทศนั้นๆตามผลประโยชน์ที่ตัวเองคาดว่าจะได้มากกว่า ในประเทศประชาธิปไตย การตรวจสอบถามหาความเห็นสาธารณะ (public opinion) และการทำงานในระบบรัฐสภามีความสำคัญมาก พวกนักการเมืองจะมีข้อจำกัด ไม่มีทางเลือกทางออกมากมายนักในทางปฏิบัติเพื่อความตกลงตามต้องการ ตรงข้ามกับผู้นำทางการเมืองในระบอบอำนาจนิยมหรือเผด็จการอำนาจเดี่ยว ดังจะเห็นได้ว่ารัฐบาลตุรกีไม่สามารถจะอนุญาตให้กองทหารอเมริกันเคลื่อนกำลังผ่านประเทศตุรกีได้เลยในปี 2003 เพราะนโยบายของรัฐบาลอเมริกันไม่เป็นที่ยอมรับหรือชื่นชมในหมู่ประชาชนชาวตุรกี และในรัฐสภาตุรกีด้วย  ในทางกลับกัน กับรัฐบาลเผด็จการใน Uzbekistan สหรัฐอเมริกาสามารถเข้าไปใช้ฐานทัพเพื่อปฏิบัติการในอัฟกานิสถานได้”

    “ประเด็นสุดท้าย, แม้ว่า Soft Power ในบางสถานการณ์ มีผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายเฉพาะอย่างหนึ่งอย่างใด - ดังที่พบว่าสหรัฐฯไม่สามารถทำให้ Chile หรือ Mexico ลงคะแนนสนับสนุนสหรัฐฯในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ในปี 2003 หลังนโยบายสหรัฐฯไม่เป็นที่นิยมยกย่องทำให้ภาพพจน์สหรัฐฯในโลกตกต่ำลงในตอนนั้น ไม่ว่าสหรัฐฯมีเป้าหมายจะทำอะไรก็ยากลำบาก ขาดการสนับสนุนจากนานาชาติ”
    ศาสตราจารย์ Joseph Nye ชี้ให้เห็นข้อจำกัดของ Soft Power ว่าอาจขึ้นอยู่กับเป้าหมายของนโยบายของรัฐบาล หากเป็นนโยบายที่ต้องการใช้อำนาจครอบครองเป็นเจ้าของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ทันทีและเป็นผลประโยชน์จับต้องได้ หากใช้อำนาจแข็งก็จะสำเร็จ ส่วนเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศเชิงอุดมการณ์ หรือเป้าหมายอันเป็นปรากฏการณ์แวดล้อม ค่านิยม หรือคุณธรรม จับต้องวัดเชิงปริมาณไม่ได้ เช่นเป้าหมายเรื่องสังคมประชาธิปไตย, การจัดการสภาวะแวดล้อม, ความเปลี่ยนแปรของสภาวะอากาศโลก, สิทธิมนุษยชน, ตลาดการค้าเสรี, ฯลฯ ก็เป็นเรื่องของอำนาจนุ่มนวลหรือ Soft Power ที่จะก่อเกิดผลลัพธ์ตามเป้าประสงค์ดีกว่า ท่านบอกว่า:
    “It is easier to attract people to democracy than to coerce them to be
     democratic.”
    “การดึงดูดใจให้คนรัก มันง่ายกว่าการบังคับให้คนเป็น ‘ประชาธิปไตย’.”
    “พวกคนที่กังขาในเรื่อง Soft Power และคัดค้านการใช้คำว่า “Soft Power” ในการเมืองระหว่างประเทศ ด้วยเหตุที่ว่ามันเป็นเรื่องที่รัฐบาลบควบคุมไม่ได้อย่างบริบูรณ์ในเรื่องอำนาจดึงดูดใจ ทั้งนี้ก็เพราะอย่างที่เห็นเป็นตัวอย่างว่า ส่วนใหญ่ของ Soft Power ในอเมริกา ผลิตโดย Hollywood, Harvard University, Microsoft, และ Michael Jordan แม้ว่าเป็นความจริงที่ว่าภาคประชาสังคมเป็นแหล่งกำเนิด Soft Power ส่วนมากในอเมริกานั้น แต่นั่นก็มิได้ลดความสำคัญของภาคประชาสังคมลงไปเลยเมื่อเทียบกับ Hollywood ประชาสังคมหรือชุมชนชาวอเมริกันยังคงมีบทบาทสำคัญเสมอ  ในประเทศเสรีนิยมประชาธิปไตยเช่นสหรัฐอเมริกา

    'In a liberal society, government cannot and should not control the culture. Indeed the absence of policies of control can itself be a source of attraction.'

    ‘ในสังคมเสรี รัฐบาลไม่สามารถ และไม่ควร ที่จะควบคุมวัฒนธรรม’ 
     “ที่จริงการไม่มีนโยบายควบคุมวัฒนธรรมนั่นเองที่เป็นพลังดึงดูดใจ

ยกตัวอย่าง Milos Forman ผู้กำกับภาพยนตร์ชาว Czech เล่าว่าตอนที่รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐเชคอนุญาตให้ภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง Twelve Angrey Men เข้าไปฉายได้ ปัญญาชนชาว Czech ก็ได้เห็นว่าเป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอภาพของสถาบันการเมืองและสถาบันอื่นๆในสังคมอเมริกันอย่างรุนแรง เสรี เฉียบขาด เสียหาย ก็เลยคิดว่า ‘ถ้าประเทศนั้นสามารถทำภาพยนตร์แบบนี้ แบบที่ตำหนิวิพากษ์ประเทศตัวเองขนาดนี้ได้  ประเทศเขาคงต้องมีความภาคภูมิใจในความเป็นประเทศของเขา มีพลังภายในเข้มแข็ง ต้องเป็นสังคมที่เข้มแข็งพอ และต้องเป็นสังคมที่มีเสรีภาพแท้จริง’

“มันจริงที่ว่าภาพยนตร์, มหาวิทยาลัย, มูลนิธิ, โบสถ์, และองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ ได้พัฒนา Soft Power ของตนเอง ด้วยตนเอง", 

ศาสตราจารย์ Joseph Nye อธิบายเสริม: 
“และ  Soft Power จากและโดยภาคประชาชนนี้อาจจะช่วยเสริมหรือสวนทางกับเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศของรัฐอย่างเป็นทางการ ก็ได้ทั้งสองทาง ซึ่งการคิดแบบนี้เป็นความจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ข้อมูลข่าวสาร บทบาท Soft Power จากภาคประชาชนและเอกชนกำลังมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องรักษาบทบาทหน้าที่และนโยบายของรัฐเองต่อภาคเอกชนและประชาสัมคมมิให้กัดกร่อนทำลายแต่ให้สนับสนุน Soft Power ที่เป็นของรัฐเองให้ได้

“ท้ายสุด ในเรื่องความจำกัดของ Soft Power นั้น บรรดานักคิดที่คัดค้านหรือกังขาในเรื่อง Soft Power เถียงว่าการมีชื่อเสียงโด่งดังที่ได้วัดจากการสอบถามความเห็นสาธารณะนั้นเป็นเรื่องวูบวาบชั่วครู่ชั่วยาม ไม่นานก็จางหายไป ดังนั้นก็ไม่ควรจะไปจริงจังอะไรกับเรื่อง Soft Power  แน่นอนว่าเราไม่ควรจะยึดมั่นในผลการสำรวจความเห็นสาธารณะเป็นสรณะเพียงทางเดียวตลอดกาล จริงอยู่ มันเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็มิใช่กระบวนการที่สมบูรณ์ในการวัดค่าหรือประเมินแหล่งทรัพยากรอันเป็นที่มาของ Soft Power คำตอบต่อคำถามในแบบสอบถามจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการตั้งคำถาม  เว้นเสียแต่ว่าจะถามคำถามเดิมซ้ำหลายครั้งในช่วงเวลาที่นานพอสมควร ดังนั้นแบบสอบถามสาธารณะก็จะให้เพียงภาพรวมกว้างๆในช่วงเวลาหนึ่ง ไม่ใช่คำตอบระยะยาว ไม่ใช่ภาพต่อเนื่องไร้กรอบกาลเวลา ความเห็นย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ความละเอียดอ่อนของความเห็นสาธารณะไม่สามารถตรวจหาได้แน่นอนโดยการสำรวจความเห็นเพียงครั้งเดียว  เหนือกว่านั้น พวกผู้นำทางการเมืองมีความจำเป็นตั้งตัดสินใจทำสิ่งที่อาจไม่ถูกใจหรือไม่ทำให้เขาได้รับความนิยมยกย่อง แต่เขาก็ต้องตัดสินใจทำสิ่งนั้นเพราะเป็นเรื่องที่ถูกต้องจำต้องทำ ความมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่นิยมยกย่อง (popularity) ไม่ใช่ที่สุดแห่งเป้าหมายปลายทางของนโยบายต่างประเทศ กระนั้นก็ตาม การสำรวจความเห็นสาธารณะ (public opinion polls ) ถือเป็นเรื่องการหาคำตอบแบบคร่าวๆที่ดีในขั้นต้น  เพราะถ้าทำนโยบายที่ผิดพลาดไม่เป็นที่นิยมชมชื่นก็จะเกิดความเสียหาย การสอบถามความเห็นสาธารณะก่อนทำนโยบาย จะเป็นวิธีสร้างพลัง Soft Power ดึงดูดให้เกิดผลลัพธ์ตามประสงค์ได้ โดยเฉพาะถ้าการสำรวจความเห็นสาธารณะนั้นทำอย่างต่อเนื่องระยะยาวและคงตามเป้าหมายเดิม”
    รัฐบาลทั้งหลาย - ไม่เพียงรัฐบาลอเมริกันเท่านั้น - ที่ต้องเข้าใจว่า Soft Power นั้นมีความสำคัญ คู่ขนานไปกับ “Hard Power”  ซึ่งอำนาจแข็งกร้าวทางการทหารและอำนาจเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันนี้พิสูจน์ให้สหรัฐอเมริกาเห็นแล้วว่าไม่เพียงพอ อำนาจนุ่มนวล หรือ “Soft Power” เป็นอำนาจผ่านการเมืองระหว่างประเทศ เป็นอำนาจแฝงอยู่หรือปรากฏแจ่มแจ้งในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และความคิดเรื่อง Soft Power ที่ถือกำเนิดขึ้นมาโดยความคิดแรกเริ่มจากการวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกากว่า 30 ปี (34 ปี ถึงปี 2024) มาแล้วนั้น ปรากฏในตำราหลักเรื่อง “Soft Power: The Means to Success in World Politics” (“อำนาจนุ่มนวล: หนทางสู่ความสำเร็จในการเมืองโลก”) โดย Prof. Joseph S. Nye, Jr. พิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2004 โดยหวังว่ารัฐบาลอเมริกัน และรัฐบาลประเทศต่างๆ หากได้อ่านทำความเข้าใจแล้วจะสามารถนำความคิดเรื่อง Soft Power ไปใช้ให้ถูกต้องได้ ถ้าต้องการใช้ ถึงแม้ไม่ต้องการใช้ Soft Power ก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของอำนาจวัฒนธรรม กุศโลบายการเมืองระหว่างประเทศ บทบาทอันเข้มแข็งงดงามของภาคประชาชน เอกชน และภาคประชาสัมคม ไม่ต้องมีรัฐบาล รัฐบาลไม่ต้องทำนโยบายอะไรเกี่ยวกับ Soft Power เลย Soft Power ก็เกิดเองได้ เพียงแต่ไม่มีความจำเป็นต้องนิยามหรือเรียกพลังวัฒนธรรมและนโยบายรัฐ กับโครงสร้างสถาบันในสังคมที่โลกชื่นชมและพร้อมถูกดึงดูดใจให้รักและชื่นชมนี้นั้น ไม่ต้องเรียกว่าเป็น “Soft Power” เลย มันก็คงเป็น “Soft Power” อยู่ดี ส่วนอะไรที่ไม่ใช่ Soft Power แต่ไปเรียกและสั่งให้ทำให้เกิดเป็น “Soft Power” มันก็ไม่ใช่และไร้พลัง Soft Power อยู่ (ไม่)ดีนั่นเอง
    หลังจากทฤษฎี Soft Power เกิดมาแล้วในปี 1990 ในหนังสือเรื่องแรกชื่อ 
    “Bound to Lead”
    ผ่าน
   “The Paradox of American Power” ในปี 2002
    และ
   “Soft Power: The Means to Success in World Politics” ปี 2004
    “The Future of Power” ปี 2011

    จนถึงเรื่อง “Is the American Century Over?” ปี 2015    

และอีกหลายเล่มโดยศาสตราจารย์ Joseph N. Nye, Jr. ที่ตามมา รวมกว่า 10 เรื่องสำคัญ ไม่นับบทความวิชาการต่างๆมากมาย ทั้งหมดเริ่มต้นที่เรื่องการเมืองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ประเทศของท่านเองเท่านั้น หวังให้นักการเมืองและผู้นำอเมริกันหันมาทำความรู้จักกับพลังอันสำคัญรูปแบบที่นิยามว่า Soft Power และใช้อำนาจนุ่มนวลนี้ให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายการต่างประเทศ แต่ผ่านไป 34 ปี นับจาก Bound to Lead  ปี 1990 ถึงปี 2024 ก็ปรากฏว่าประเทศอื่นๆในโลกเอาหลักการ หรือทฤษฎี Soft Power ไปใช้ตามความสะดวกทั้งการตีความและการปฏิติเชิงนโยบาย ทั้งถูกและผิด และพลาดพลั้ง.
“ในบริบท” สัปดาห์ต่อๆไปจะทะยอย สำรวจเรื่อง Soft Power  ให้ครบถ้วนในบทที่หนึ่ง ในเรื่อง :
  1. บทบาทอำนาจการทหารที่เปลี่ยนไป
  2. การทำสงครามโดยภาคเอกชนมีส่วนร่วม
  3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Hard และ Soft Power
  4. อำนาจในยุคโลกาภิว้ตน์ข้อมูลข่าวสาร
จากนั้นจะต่อไปในบทอื่นอย่างย่อ จนครบทุกเรื่องที่สำคัญในหนังสือของ Prof. Joseph Nye, Jr.
    5. Soft Power กับ สหรัฐอเมริกา
    6. Soft Power กับ สหภาพโซเวียต
    7. Soft Power กับ ยุโรป
    8. Soft Power กับ เอเชีย
    9. Soft Power กับ ประเทศไทย

หากได้อ่านกับอย่างครบถ้วนแล้ว จึงจะเกิดศักยภาพในการคิด วิเคราะห์ และ วิจารณ์ได้

สวัสดีครับ
สมเกียรติ อ่อนวิมล
15 มีนาคม 2024

THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION