THAIVISION
  • REFLECTION
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
  • AND BEYOND
  • THAILAND
    • KING BHUMIBOL
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
  • THE LIBRARY
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ
  • IN MY OPINION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW


​the library

where reside the worlds

The Constitution of the United States


Picture
Picture
The Constitution of the United States
Introduction by R.B. Bernstein

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ฉบับแรกและฉบับเดียวของชาวอเมริกัน มีอายุใช้งานถึงวันนี้กว่าสองร้อยปีแล้ว "The Constitution of the United States" ในบทนำที่เขียนโดย R.B. Bernstein ได้สรุปให้เห็นภาพในอดีตว่า:
ปี ค.ศ. 1607 อาณานิคมอังกฤษแห่งแรกในอเมริกาเริ่มตั้งชุมชนที่ Jamestown ในรัฐ Virginia ปัจจุบัน ต่อมาอาณานิคมขยายเป็น 13 รัฐทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มมีปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับการปกครองและภาษีอากร กลายเป็นสงครามเพื่อกอบกู้เอกราช
ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ที่ประชุมรัฐอาณานิคมครั้งที่สอง ที่เรียกว่า Second Continental Congress ประกาศมติว่า “(The colonies)...are, and of right ought to be, free and independent states.” รัฐอาณานิคมทั้ง 13 รัฐมีสิทธิที่จะเป็นอิสระ และควรได้รับอิสรภาพ พ้นจากการปกครองของอังกฤษ
อีกสองวันต่อมาวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 จึงได้ประกาศเอกราช ตามร่างคำประกาศเอกราช ที่เขียนโดย Thomas Jefferson ซึ่งเริ่มต้นว่า:

“When in the Course of human Events, it becomes necessary for one People to dissolve the
Political Bands which have connected them with another, and to assume among the Power of
the Earth, the separate and equal Station to which the Laws of Nature and of Nature’s God
entitle them, a decent Respect to the opinions of Mankind requires that they should declare
the course which impel them to the Separation”
“เมื่อถึงกาลที่มนุษย์เดินมาถึงภาวะจำเป็นที่บรรดาประชาชนกลุ่มหนึ่ง จำต้องสลายรัฐสัมพันธ์ที่เคยมีต่อ
กัน ออกไปก่อตั้งรัฐใหม่เคียงคู่ไปกับเหล่ารัฐมหาอำนาจทั้งหลายบนโลกมนุษย์นี้อย่างเสมอศักดิ์ศรีกัน อัน
เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ ตามประกาศิตของพระผู้เป็นเจ้าผู้ครอบครองธรรมชาติ ด้วยความเคารพใน
ความเห็นของมนุษยชาติ ถึงครานี้แล้วที่มวลหมู่ชนจำต้องแยกจากกัน”

“We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed
by their Creator with certain unalienable Rights, that among these are Life, Liberty, and the
Pursuit of Happiness---that to secure these Rights, Governments are instituted among Men,
deriving their just Powers from the Consent of the Governed, that whenever any Form of
Government becomes destructive of these Ends, it is the Right of the People to alter or to
abolish it, and to institute new Government, laying its Foundation on such Principles, and
organizing its Powers in such Form, as to them shall seem most likely to effect their Safety and
Happiness….”
“เราถือว่าความจริงดังกล่าวนี้เป็นความจริงที่ปรากฏในตัวเองโดยธรรมชาติ ที่ว่ามนุษย์ทุกคนถูกพระเจ้า
สร้างมาให้เท่าเทียมกัน โดยพระผู้ทรงเนรมิตชีวิตยังได้ทรงประทานสิทธิทั้งมวลที่ติดมากับตัวตนของ
มนุษย์ รวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และสิทธิในการแสวงหาความสุขสมบูรณ์ --- และในการให้ได้มาซึ่ง
สิทธิเหล่านั้น จำต้องมีการจัดการตั้งรัฐบาล ซึ่งจะได้รับอำนาจอันชอบธรรมจากประชาชนผู้ถูกปกครอง ใน
คราใดก็ตามที่รัฐบาลแบบใดก็ตามได้ทำลายขัดขวางทางไปสู่เป้าหมายแห่งสิทธิเสรีภาพเหล่านั้นแล้วไซร้
ก็เป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างรัฐบาลนั้นเสีย แล้วสถาปนารัฐบาลใหม่ขึ้นแทน เพื่อ
วางรากฐานของหลักการ และจัดการกระบวนอำนาจในรูปแบบในอันที่จะก่อกำเนิดความปลอดภัยและ
สันติสุข...”

“….That these United Colonies are, and of Right ought to be, FREE AND INDEPENDENT
STATES…”
“เหล่าสหรัฐอาณานิคมทั้งหลายนี้เป็นรัฐเสรีและมีเอกราช และควรจะได้รับเสรีภาพและเอกราชอย่าง
แท้จริง”

สงครามเพื่อเอกราชของอาณานิคมอเมริกันดำเนินไปนาน 7 ปี

วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1783 โดยการลงนามในสนธิสัญญาที่กรุง Paris อังกฤษยอมรับรองเอกราชของ
สหรัฐอเมริกา

วันที่ 25 พฤษภาคม 1787 เหล่าสหพันธรัฐเอกราชประชุมกันที่ Philadelphia เพื่อเตรียมการร่างรัฐธรรม
นูญ สำหรับการปกครองสหรัฐอเมริกาให้เป็นเอกภาพกว่าที่เป็นอยู่ โดยเลือก George Washington
เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, William Jackson แห่งรัฐ Georgia เป็นเลขาธิการ มีสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ 74 คน เป็นผู้แทนจาก 12 รัฐ โดยรัฐที่ 13 คือ Rhode Island ปฏิเสธที่จะมาร่วมประชุม แต่ที่มา
ร่วมประชุมจริงๆมีเพียง 55 คน มี George Washington จากรัฐ Virginia, Benjamin Franklin จาก
Pennsylvania นำกลุ่มวีระบุรุษของชาติ; James Madison จาก Virginia, James Wilson จาก
Pennsylvania และ Alexander Hamilton จาก New York นำกลุ่มนักทฤษฎีรัฐศาสตร์การปกครอง;
John Dickinson จาก Delaware และ Roger Sherman จาก Connecticut เป็นผู้นำฝ่ายรัฐบุรุษอาวุโส;
William Paterson จาก New Jersey และ Luther Martin จาก Maryland เป็นผู้แทนกลุ่มผลประโยชน์การ
ปกครองส่วนรัฐและท้องถิ่น; ตัวแทนกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มผู้นำที่สุขุมสงบมาช่วยสร้างความสมานฉันท์เมื่อ
เกิดความขัดแย้ง ได้แก่ John Blair จาก Virginia

กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาจากวันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 17 กันยายน ค.ศ. 1787 รวม 116 วัน
มีผลใช้ได้บริบูรณ์เมื่อได้รับการรับรองจากรัฐต่างๆ 9 รัฐในทั้งหมด 13 รัฐ ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1788
สหรัฐอเมริกา ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เขียนรัฐธรรมนูญสั้นๆเพียง 7 มาตรา
หนาเพียง 21 หน้า เมื่อพิมพ์เป็นเล่มขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ กระชับ อ่านง่าย และทรงพลัง:

Article I มาตราที่ 1 ว่าด้วยอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา
Article II มาตราที่ 2 ว่าด้วยอำนาจบริหารของประธานาธิบดี
Article III มาตราที่ 3 เป็นเรื่องของอำนาจตุลาการของ Supreme Court หรือศาลสูง และศาลชั้นล่างอื่นๆ
Article IV มาตราที่ 4 เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของรัฐต่างๆ
Article V มาตราที่ 5 บัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
Article VI มาตราที่ 6 รับรองหนี้สินของสหรัฐที่เกิดขึ้นก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และสถาปนารัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา
Article VII มาตราที่ 7สุดท้าย กำหนดกระบวนการรับรองรัฐธรรมนูญโดยเสียงรัฐข้างมากอย่างน้อย 9 รัฐ ใน 13 รัฐ

วันเวลาผ่านไป 232 ปี (ถึงปี 2020) สหรัฐอเมริกายังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิมโดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 18 ครั้ง รวม 27 มาตรา รัฐธรรมนูญที่สั้นอ่านง่ายนั้นก็เพื่อวางโครงสร้างของความเป็นประชาธิปไตยในสถาบันทางการเมืองในส่วนกลางและระดับรัฐ ไม่มีการเขียนถึงพรรคการเมือง เพียงแต่กำหนดองค์ประกอบสมาชิกของรัฐสภาทั้งสองที่แต่ละรัฐจะจัดการเลือกตั้งกันเอง เรื่องสิทธิเสรีภาพก็เขียนในบทแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ 1 ที่เรียกว่า Amendment I ย่อหน้าเดียวว่า

Amendment I
“Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances.”
“สภา Congress จะต้องไม่ออกกฎหมายใดๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนา หรือห้ามการนับถือศาสนาใด หรือปิดกั้นจำกัดเสรีภาพในการพูด เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ หรือสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยสันติ และการร้องเรียนต่อรัฐบาลเพื่อให้แก้ปัญหาต่างๆ”

เขียนเพียงเท่านี้ ไม่ต้องตีความ หรือขยายความ ก็มีความหมายปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของชาวอเมริกันได้ทั้งประเทศมากว่า 200 ปีแล้ว วัฒนธรรมทางการเมือง ความมีสำนึกรู้รับผิดชอบชั่วดีและบทบาทหน้าที่ของพลเมืองและนักการเมือง โดยไม่ต้องพึ่งกฎหมายที่ละเอียด หรือรัฐธรรมนูญที่ยาวหลายร้อยมาตราเช่นประเทศที่ด้อยวัฒนธรรมการเมืองทั้งหลายในโลก ประชนชาวอเมริกันทุกคน ก็ได้ร่วมกันสร้างชาติด้วยการปกครองประเทศโดยรัฐธรรมนูญเพียง 34 มาตรา เท่านั้นเอง.

    ความเห็นของท่านมีคุณค่า ❊ WE VALUE YOUR OPINION

Submit
THAIVISION® 
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2021 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
  • REFLECTION
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
  • AND BEYOND
  • THAILAND
    • KING BHUMIBOL
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
  • THE LIBRARY
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ
  • IN MY OPINION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW