First Democracy
โดย Paul Woodruff * ประชาธิปไตยคืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? เกิดขึ้นครั้งแรกที่ไหน? เกิดแล้วเป็นอย่างไร? หนังสือชื่อ First Democracy โดย Paul Woodruff จากมหาวิทยาลัย Texas ณ เมือง Austin พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Oxford University Press เมื่อปี ค.ศ. 2005 / พ.ศ. ๒๕๔๘ อธิบายประชาธิปไตยแรกกำเนิดเมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว เริ่ม ณ ดินแดน ที่เรียกว่ามหาอาณาจักร Greece สมัยโบราณ 431 BCE (431 ปีก่อนศักราชสากล หรือก่อนคริสตกาล) เมืองต่างๆปกครองตนเองอย่างอิสระ เรียกว่านครรัฐ หรือ City State คือรัฐที่มีขนาดและลักษณะเป็นเมืองไม่มีการรวมเป็นประเทศใหญ่ที่มีหลายเมือง หลายแคว้นรวมกันเป็นรัฐเดียวอย่างเช่นในโลกปัจจุบัน นครรัฐ Leontini, Syracuse, Sparta และ Athens ต่างก็เป็นนครรัฐอิสระจากกัน รัฐที่เข้มแข็งมาก กำลังทัพทรงแสนยานุภาพ มีนโยบายรุกรบขยายอิทธิพลและอาณาเขต ก็ทำสงครามแผ่อำนาจอาณานิคม Athens นั้น เป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่ มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคนที่อยู่ในกำแพงนครและบริเวณรอบนอกที่เรียกว่าแคว้น Attica มีเมืองขึ้นหรืออาณานิคมกระจายรอบทะเล Aegean และทะเล Cretan Sparta เป็นนครรัฐคู่แข่ง แย่งชิงอำนาจกันเป็นอมตะกาล มีพันธมิตรและเมืองที่ขึ้นตรงส่งส่วยเป็นประจำอยู่กว้างไกลไพศาล Corcyra และ Crete วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างแม้พวก Sparta หรือ Athens ถึงปี 594 ก่อนศักราชสากล Solon นักปราชญ์ รัฐบุรุษ นักปกครอง และกวีเอกแห่ง Athens เฝ้าดูสงครามขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ร่ำรวยกับชาวนาที่ยากจนในนคร Athens และแคว้น Attica จนได้ทางออก เป็นแนวทางการปฏิรูประบบการปกครอง Solon จัดให้มีระบบการผ่อนหนี้ให้ชาวนา โดยออกกฎห้ามมิให้ความยากจนและหนี้สินนำไปสู่ความเป็นทาส แต่ก็ปฏิเสธการกระจายสิทธิการถือครองที่ดิน แล้วจัดการร่างกฎเกณฑ์ในการปกครองที่ปัจจุบันนี้เรียกว่า “กฎหมาย” กฎหมายของ Solon กลายเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของ Athens และนครรัฐอื่นๆในบริเวณใกล้เคียงและอาณาจักรห่างไกล ที่ใช้ปกครองพลเมืองของนครรัฐต่างๆต่อเนื่องยาวนานหลายร้อยปี Solon แนะนำระบบศาลยุติธรรมของประชาชน ประกาศใช้ประชาธิปไตยแบบที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐต้องรับผิดชอบต่อประชาชนอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประชาธิปไตยแบบของนครรัฐ Athens นั้นเป็นอย่างไร? Paul Woodruff ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาและศีลธรรมจากมหาวิทยาลัยแห่ง Texas ณ เมือง Austin กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ First Democracy หรือ “ประชาธิปไตยครั้งแรก” ว่า: “Athens stumbled toward democracy without a plan and without a distinct idea of what constitutes democracy—other than its being ruled by the people. There were no founding brothers, no framers, and there was no written constitution---no document establishing a democratic form of government.”1 “ชาว Athens พบกับความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่ได้วางแผนอะไรมาก่อน โดยไม่รู้ด้วยว่าอะไรกันที่ประกอบกันแล้วเป็นประชาธิปไตย ---นอกจากเฉพาะที่ว่าให้ประชาชนพลเมืองเป็นผู้ร่วมปกครอง ไม่มีใครคนใดหรือกลุ่มใดเป็นพี่หรือเป็นบิดาผู้ให้กำเนิดหรือก่อร่างสร้างประชาธิปไตยไว้ให้ลูกหลานใช้ ไม่มีผู้วางกรอบเขียนร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นรูปเล่มลายลักษณ์หรืออักษร---ไม่มีเอกสารที่กำหนดรูปแบบรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยเลย”1 ชาว Athens คือใคร? Athens เป็นนครหลวงของดินแดนที่เรียกว่า Attica ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนาอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ มีชาวต่างแดนและทาสผสมอยู่ด้วย พลเมืองถูกแบ่งแยกเป็นชนชั้นตามระดับความร่ำรวยและยากจน คนมีที่ดินและไม่มีที่ดิน ชนชั้นปกครองมาจากพวกตระกูลสูงศักดิ์ มั่งคั่งร่ำรวย ในยุคแนะนำการปกครองแบบประชาธิปไตย ทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเท่ากันโดยไม่ผูกติดกับทรัพย์สินในครอบครอง ในระบอบประชาธิปไตย ชาว Athens ไม่ต้องมีที่ดินก็ออกเสียงเลือกตั้งหรือลงประชามติได้ ในเวลาต่อๆมา เมื่อประชาธิปไตยพัฒนามากขึ้นแล้วพลเมืองยังได้รับค่าจ้างจากรัฐในการเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งและทำหน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยด้วย การเป็นประชาธิปไตย ต้องเสียค่าใช้จ่ายกันอย่างไรบ้าง? Athens ออกค่าใช้จ่ายให้กับพลเมืองที่เสียสละเวลามาร่วมกระบวนการประชาธิปไตยทุกคนสำหรับคนรวยก็มีหน้าที่จ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่รัฐเพื่อใช้จ่ายในงานเทศกาลทางศาสนา วัฒนธรรม และกิจการทหาร คนที่รวยมากกว่าแล้วหลบเลี่ยงที่จะจ่ายเงินบำรุงรัฐก็จะถูกฟ้องร้องโดยคนที่ไม่รวยเท่าแต่ถูกลงมติให้จ่ายแทนโดยไม่รู้ทัน ระบบกฎหมาย ที่ Athens ไม่มีอัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ หรือนักกฎหมายอาชีพ พลเมืองทุกคนสามารถตั้งข้อกล่าวหาใครก็ได้ แล้วให้เลือกประชาชนธรรมดาจำนวนมากถึง 501 คนทำหน้าที่คณะลูกขุน หรือ ผู้พิพากษาฟังและตัดสินคดีความ การตั้งคณะผู้พิพากษา จำนวนมากในวันเดียวกันกับที่มีการฟ้องคดีทำให้การซื้อเสียงหรือคำตัดสินทำไม่ได้ หรือทำได้ก็ยากยิ่ง แถมคณะผู้ตัดสินคดีก็ได้มาจากการจับสลากสุ่มเลือกจากพลเมืองที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมตามที่รัฐประกาศเชิญชวน สภาการปกครองรัฐ หรืออาจเรียกตามความหมายเริ่มแรกว่า “รัฐสภา Athens” ประกอบด้วยสมาชิก 6,000 คน โดยได้จากพลเมืองเพศชาย 6,000 คนแรกที่เดินทางมาถึงที่ประชุมรัฐสภาบนเนินเขาเรียกว่า Pnyx ไม่ไกลนักจากวิหาร Arcropolis ใครมาก่อนก็ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาก่อน หากมาไม่ครบ 6,000 คน ทางการก็ต้องไปกวาดต้อนผู้คนมาจนครบ จากนั้นการพิจารณากฎหมายและนโยบายการปกครองจึงจะเริ่มขึ้นได้ การตรวจสอบถ่วงดุลเสียงข้างมาก อำนาจของรัฐสภาถูกจำกัดด้วยกฎหมาย และ นโยบาย กฎหมาย และ นโยบายที่นำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาก็ต้องมาจากการร่างของสภาผู้ร่างกฎหมายและนโยบายที่แยกออกต่างหากจากสภาของพลเมือง สภาผู้ร่างกฎหมายและนโยบาย จำนวน 500 คน แต่งตั้งโดยการจับสลาก หรือที่เรียกว่า Lottery (ลอตเตอรี่) จำนวนเท่าๆกันจากชนเผ่าที่มีทั้งหมด 10 เผ่า ลอตเตอรี่ การแต่งตั้งข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งคณะผู้พิพากษาคดีความทั้งหมดก็ได้มาจากการจักสลากเลือกจากพลเมืองทั่วไปที่มีคุณสมบัติเหมาะสม การเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนเดียวของประชาธิปไตยใน Athens ตำแหน่งงานสำคัญๆของนครรัฐจะมาจากการเลือกตั้ง เช่นแม่ทัพผู้นำกองทัพ ผู้ชำนาญการทางการเงินการคลัง ผู้นำกองทัพที่ทำงานผิดพลาด ล้มเหลวในการสงครามอาจถูกมติรัฐสภาลงโทษโดยการเนรเทศออกนอกเขตนครรัฐได้ หรืออาจถูกลงมติประหารชีวิตก็ได้ การแสดงความรับผิดชอบโดยให้ตรวจสอบได้ ข้าราชการที่พ้นจากตำแหน่งใน Athens ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกเป็นภาษา กรีกว่า “Euthunai” แปลว่า “setting things straight” หรือ “การทำทุกอย่างให้ชัดเจน” คือการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและตรวจสอบประวัติการทำงานที่ผ่านมาอย่างโปร่งใส ประชาธิปไตยแรกเริ่มจึงเกิดและค่อยๆพัฒนาปรับแก้เป็นวิวัฒนาการ ที่ นครรัฐ Athens เมื่อกว่า 2,500 ปีที่แล้ว และเมื่อ Athens ถูก Alexander มหาราชจาก Macedon บุกย่ำยีจนล่มสลายสิ้นเอกราช ในราวปี 335 ก่อนศักราชสากล แม้กระนั้น Athens ก็ยังปกครองรัฐที่ไม่มีเอกราชด้วยระบอบประชาธิปไตย เท่าที่จะมีโอกาสทำได้ มหาราช Alexander สิ้นพระชนม์เมื่อปี 323 ก่อนศักราชสากล Athens ก็พยายามนำประชาธิปไตยกลับคืนหลายครั้งแต่ก็ถูกหยุดยั้งและกวาดล้างโดยอำนาจจากกองทัพ Macedon จนปี 86 ก่อนศักราชสากล 236 หลังเสียเอกราชให้แก่ Alexander กองทัพแห่ง Rome นำโดยจอมทัพ Sulla ยาตราทัพทำลาย Athens จนพินาศ “Through all of this, however, some elements of democratic governance continued to function. Athens never forgot its glory, and never completely lost sight of the idea of democracy.”2 “ท่ามกลางวิกฤติการเมืองและการสงคราม ลักษณะบางประการของประชาธิปไตยยังคงดำเนินต่อไป Athens ไม่เคยลืมความยิ่งใหญ่ของประชาธิปไตยในอดีตที่เคยทำให้ชาวนครรัฐทุกคนเป็นสุขสมบูรณ์ Athens ไม่เคยละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย”2 “After the Macedonian Conquest, however, there was no place for a democratic city-state on the world stage, which was crossed again and again by great armies paid to do the will of kings and emperors.”3 “หลังจากการยึดครองดินแดนโดยพวก Macedonian อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว โลกก็ไม่มีที่ว่างสำหรับนครรัฐประชาธิปไตย เพราะโลกถูกกองทัพอันยิ่งใหญ่มหาศาลของจองกษัตริย์และจอมจักรพรรดิย่ำยีบีทาจนสิ้น”3 แต่......มรดกแห่งประชาธิปไตยจากนครรัฐ Athens เมื่อ 2,600 ที่แล้วยังตกทอดมาสู่รัฐที่มีขนาดใหญ่กว่านคร ทุกหนแห่งบนพื้นโลก และเมื่อ Athens ถูก Alexander มหาราชจาก Macedon บุกย่ำยีจนล่มสลายสิ้นเอกราช ในราวปี 335 ก่อนศักราชสากล แม้กระนั้น Athens ก็ยังปกครองรัฐที่ไม่มีเอกราชด้วยระบอบประชาธิปไตย เท่าที่จะมีโอกาสทำได้ มหาราช Alexander สิ้นพระชนม์เมื่อปี 323 ก่อนศักราชสากล Athens ก็พยายามนำประชาธิปไตยกลับคืนหลายครั้งแต่ก็ถูกหยุดยั้งและกวาดล้างโดยอำนาจจากกองทัพ Macedon จนปี 86 ก่อนศักราชสากล 236 หลังเสียเอกราชให้แก่ Alexander กองทัพแห่ง Rome นำโดยจอมทัพ Sulla ยาตราทัพทำลาย Athens จนพินาศ “Through all of this, however, some elements of democratic governance continued to function. Athens never forgot its glory, and never completely lost sight of the idea of democracy.”4 “ท่ามกลางวิกฤติการเมืองและการสงคราม ลักษณะบางประการของประชาธิปไตยยังคงดำเนินต่อไป Athens ไม่เคยลืมความยิ่งใหญ่ของประชาธิปไตยในอดีตที่เคยทำให้ชาวนครรัฐทุกคนเป็นสุขสมบูรณ์ Athens ไม่เคยละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย”4 “After the Macedonian Conquest, however, there was no place for a democratic city-state on the world stage, which was crossed again and again by great armies paid to do the will of kings and emperors.”5 “หลังจากการยึดครองดินแดนโดยพวก Macedonian อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว โลกก็ไม่มีที่ว่างสำหรับนครรัฐประชาธิปไตย เพราะโลกถูกกองทัพอันยิ่งใหญ่มหาศาลของจองกษัตริย์และจอมจักรพรรดิย่ำยีบีทาจนสิ้น”5 แต่......มรดกแห่งประชาธิปไตยจากนครรัฐ Athens เมื่อ 2,600 ที่แล้วยังตกทอดมาสู่รัฐที่มีขนาดใหญ่กว่านคร ทุกหนแห่งบนพื้นโลก * หมายเหตุ
|