Democracy in America
ประชาธิปไตยในอเมริกา Alexis de Tocqueville หนังสือเล่มนี้ มีความสำคัญมากที่สุดต่อประวัติศาสตร์การเมืองแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เมื่อ 181 ปีที่แล้ว มีผลกระทบอย่างสูงต่อกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส แม้ทุกวันนี้คนอเมริกันก็ยังต้องอ่านกันอย่างต่อเนื่อง หากคนไทยได้อ่านแล้วจะพบว่า ประชาธิปไตยที่กำลังก่อตัวอย่างไม่มั่นคงในประเทศไทยวันนี้ ยังก้าวไปไม่ถึง “ประชาธิปไตยในอเมริกา” เมื่อ 181 ปีที่แล้ว ผู้เขียนเป็นหนุ่มชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexis de Tocqueville หนังสือชื่อ Democracy in America / ประชาธิปไตยในอเมริกา |
Vertical Divider
Democracy in America
Alexis de Tocqueville หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมากที่สุดต่อประวัติศาสตร์การเมืองแบบประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 มีผลกระทบอย่างสูงต่อกระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยในยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส แม้ทุกวันนี้คนอเมริกันก็ยังต้องอ่านกันอย่างต่อเนื่อง หากคนไทยได้อ่านแล้วจะพบว่า ประชาธิปไตยที่กำลังก่อตัวอย่างไม่มั่นคงในประเทศไทยวันนี้ ยังก้าวไปไม่ถึง “ประชาธิปไตยในอเมริกา” เมื่อปี 1831-1832 ผู้เขียนเป็นหนุ่มชาวฝรั่งเศส ชื่อ Alexis de Tocqueville หนังสือชื่อ Democracy in America / ประชาธิปไตยในอเมริกา Alexis de Tocqueville เกิดที่กรุง Paris วันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1805 เริ่มต้นศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ Napoleon I เป็นพระจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส ปกครองดินแดน Italy บุก Portugal ประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์ของอังกฤษเผชิญหน้ากับสงครามกับอดีตอาณานิคมอเมริกา ซึ่งประกาศเลิกการค้าทาสจากอัฟริกา ระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศสถูกท้าทายจากพวกนักปฏิวัติเสรีนิยมเพื่อสถาปนาสาธารณรัฐ ชาวตะวันตกได้ลิ้มรสวรรณคดี Fairy Tales โดย Brothers Grimm (1812) Pride and Prejudice โดย Jane Austen (1813) Frankenstein โดย Mary Shelley (1818) ปี ค.ศ. 1823 Alexis de Tocqueville เข้าศึกษาวิชากฎหมายที่ Paris จนถึงปี 1827 ฝรั่งเศส สิ้นยุคพระเจ้า Louis XVIII เข้าสู่ยุค King Charles X พวกที่จงรักภักดีต่อระบอบกษัตริย์เรียกร้องเพียงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแบบค่อยเป็นค่อยไป Herve บิดาของ Alexis de Tocqueville ขุนนางผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องการเพียงให้ฝรั่งเศสปฏิรูปการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (X) แต่ Alexis de Tocqueville บุตรชายคนที่สามมิได้มีแนวคิดทางการเมืองสนับสนุนระบอบกษัตริย์อย่างเต็มที่ และก็มิได้ต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยแบบสุดชีวิต แต่มีแนวทางแบบ “aristocratic liberal” เสรีนิยมของชนชั้นสูง “attachment to pre-revolutionary monarchy, affection for democracy” “โดยมีใจฝักใฝ่ผูกพันกับระบอบกษัตริย์ตั้งแต่ครั้งก่อนการปฏิวัติ ขณะเดียวกันก็ชื่นชอบระบอบประชาธิปไตย” หลังจากเข้ารับราชการฝ่ายตุลาการแห่งพระราชวัง Versailles หมั้นกับ Mary Mottley สตรีชาวอังกฤษผู้สูงอายุกว่า Alexis de Tocqueville เริมสนใจเข้าฟังคำบรรยายวิชาปรัชญาประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ยุโรปจาก Francois Guizot นักประวัติศาสตร์ปรัชญา และการเมืองฝรั่งเศสผู้โด่งดัง ในปี ค.ศ. 1830 Alexis de Tocqueville ประกาศสาบานตนอย่างเป็นทางการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้า Louis-Philippe และสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งการปฏิรูปเดือนกรกฎาคม ที่เรียกว่า The July Monarchy ที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยการลุกขึ้นปฏิวัติของนักศึกษา คนงาน ประชาชน และขุนนางระดับล่างในวันที่ 28-29 กรกฎาคม 1830 จนพระเจ้า Charles X ทรงยอมจำนนในวันที่ 30 กรกฎาคม พวกนิยมสาธารณรัฐที่ไม่มีกษัตริย์ปกครอง เผชิญหน้ากับพวกนิยมการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และรอมชอมกันได้โดยยอมรับ General Lafayette เป็นผู้นำรัฐบาลภายใต้การเป็นพระประมุขของ King Louis-Philippe นี่คือสภาวการณ์ทางการเมืองในฝรั่งเศสในปีก่อนหน้าที่ Alexis de Tocqueville จะออกเดินทางไปสัมผัสประชาธิปไตยที่แท้จริงในอเมริกา ในเวลาที่ การปฏิวัติเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1830 เพิ่มจบสิ้นลง และเพิ่งจะได้สถาบันพระมหากษัตริย์รูปแบบใหม่ที่ถูกปฏิรูปใหม่ เรียกว่า The July Monarchy สถาบันพระมหากษัตริย์ จากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคม “สถาบันพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสยุคปรับปรุงใหม่ปรับแก้ทฤษฎีการเมือง ขยายฐานการสนับสนุนจากสังคมกว้างขึ้น สิทธิที่ได้จากพระผู้เป็นเจ้าเปลี่ยนมาเป็นอธิปไตยหนุนโดยปวงชน ขุนนางเจ้าของที่ดินที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจ หลีกทางให้กับชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 1814 กษัตริย์ หรือ King กลายเป็น Citizen King หรือพลเมืองคนหนึ่งที่ดำรงตำแหน่งกษัตริย์เท่านั้น มีการยกเลิกการตรวจ Censor หนังสือพิมพ์ นิกาย Roman Catholic ได้รับการประกาศเป็นศาสนาของของชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ อายุผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลดลง เหลือ 25 ปี ฐานะทางการเงินและทรัพย์สินในครอบครองที่ถือเป็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ถูกลดระดับลง จากเดิมผู้ที่เสียภาษีทางตรงสูงถึงปีละ 300 ขึ้นไปถือเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ลดอัตราลงเหลือเหลือปีละ 200 Francs ไม่ต้องรวยมากก็มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนราษฎรได้ จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติปี 1830 เพิ่มจาก 9 หมื่นคน เป็น 2 แสนคน ธงไตรรงค์หรือธงชาติสามสี แดง-ขาว-น้ำเงิน ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง นั่นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในประเทศฝรั่งเศส วันที่ Alexis de Tocqueville เดินทางไปศึกษาประชาธิปไตยในอเมริกา วันที่ Alexis de Tocqueville เป็นหนุ่มโสด อายุเพียง 26 ปี เท่านั้น จุดมุ่งหมายเป็นของการเดินทางไปอเมริกาของ Alexis de Tocqueville กับเพื่อน ชื่อ Gustave de Beaumont หากจะว่าเป็นทางการจริงๆนั้นก็เพื่อไปศึกษาระบบการปฏิรูปการบริหารจัดการเรือนจำ หรือ คุก ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงเวลาที่ชาวอเมริกันกำลังทดลองปรับปรุงแก้ไขระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เพิ่งจะพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาได้ 55 ปี และ ใช้รัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยมาได้เพียง 43 ปีเท่านั้น Alexis de Tocqueville และ Gustave de Beaumont ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง Le Havre ในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1831 ถึง New York วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1831 อยู่ในอเมริกาถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1832 รวมเวลา 10 เดือน กลับไปเขียน Democracy in America ที่ Paris โดยพิมพ์เล่มที่ 1 ในปี ค.ศ. 1835 และเล่มที่ 2 ในปี 1840 (XXVI) “The reception of Democracy in America was all that an author could have desired.” “การต้อนรับหนังสือ Democracy in America เป็นอย่างที่นักเขียนทุกคนปรารถนา” ศาสตราจารย์ Alan Ryan แห่งมหาวิทยาลัย Princeton กล่าวยกย่องในบทนำของฉบับพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Everyman’s Library ซึ่งพิมพ์ฉบับแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษครั้งที่สองโดย Francis Bowen ในปี ค.ศ. 1862 ซึ่งเป็นการแปลทบทวนจากฉบับแปลครั้งแรกสุดโดย Henry Reeveในปี 1835 และ 1840 ศาสตราจารย์ Alan Ryan กล่าวต่อไปว่า: (XXVII) “The enthusiasm of John Stuart Mill was one of the major reasons for the book’s success with the English-speaking readers” “John Stuart Mill นักปรัชญาชาวอังกฤษเพื่อสนิทของ Alexis de Tocqueville ตื่นเต้นชื่นชม Democracy in America เป็นที่สุด ซึ่งเป็นเหตุให้หนังสือประสพความสำเร็จเป็นอย่างดีในหมู่นักอ่านที่ใช้ภาษาอังกฤษ” “The surprising this is…that its continued vitality in the Anglo-American world should have been so great.” “ที่น่าประหลาดใจก็คือ หนังสือเล่มนี้ส่งพลังแข็งขันเปี่ยมด้วยชีวิตจิตใจต่อเนื่องไปในโลกของชาวอังกฤษอเมริกันอย่างมหาศาลไม่จบสิ้น” แม้กาลเวลาจะผ่านไปถึง 170 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หนังสือ Democracy in America ก็กลับมาเป็นตำราประชาธิปไตยแห่งยุคสมัย หลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไปอีก 25 ปี Democracy in America ก็กลับมาเป็นหนังสือยอดนิยมในหมู่นักอ่านนักคิดประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง สังคมประชาธิปไตยในอเมริกาเมื่อ 170 ที่แล้ว แม้ถึงวันนี้ ก็ยังน่าศึกษาเป็นแบบอย่างต่อไป หลังการปฏิวัติในฝรั่งเศสจบลงด้วยการยังคงสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ Alexis de Tocqueville พร้อมด้วย Gustave de Beaumont เพื่อนร่วมงาน ก็ได้ออกเดินทางไปอเมริกา จากท่าเรือเมือง Le Havre วันที่ 2 เมษายน 1831 ก่อนการเดินทางของ Charles Darwin กับเรือ The Beagle 10 เดือน Charles Darwin นั้นไปสำรวจชีวิตพืชและสัตว์ ในธรรมชาติรอบโลก นาน 5 ปี ส่วน Alexis de Tocqueville กับ Gustave de Beaumont นั้นไปสำรวจการก่อกำเนิดของสังคมประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกา นาน 9 เดือน หลังจากใช้เวลาเดินทางข้ามมหาสมุทร Atlantic รวม 40 วัน เรือของ Alexis de Tocqueville พร้อมด้วย Gustave de Beaumont ก็ไปเทียบท่าเรือที่ New Port รัฐ Rhode Island วันที่ 9 พฤษภาคม ข้อมูลจากหนังสือ The Cambridge Companion to Tocqueville สรุปว่า Tocqueville และ Beaumont ใช้เวลา 9 เดือนในอเมริกา เดินทางไปนคร New York วันที่ 11 พฤษภาคม 1831 จากนั้นก็ขึ้นไปภาคเหนือของรัฐ New York ต่อไป The Great Lakes ทะเลสาบใหญ่ทั้ง 5 ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับ Canada ไป เขต New England, Philadelphia และ Baltimore ทั้งหมดเป็นการเดินทางทางบกโดยม้า และรถม้า จากนั้นก็ลงเรือเครื่องจักรไอน้ำไปตามแม่น้ำ Ohio ล่องใต้ไปตามพ่อแห่งสายน้ำ Mississippi [Father of Waters] ไปถึง New Orleans ต่อรถโดยสารเทียมม้าที่เรียกว่า stage coach ไป Alabama, Georgia, South Carolina, ย้อนขึ้นเหนือไป North Carolina, Norfolk / Virginia, ลงเรืออีกครั้งขึ้นไป Washington, D.C. ผ่าน Philadelphia แล้วกลับ New York ออกจากท่าเรือ New York วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1832 มุ่งหน้ากลับฝรั่งเศส เนื่องจากงานหลักอย่างเป็นทางการของหนุ่มฝรั่งเศสทั้งสองคือการศึกษาระบบเรือนจำสำหรับนักโทษผู้ต้องขังในอเมริกา จึงได้เขียนรายงานการดูงานเรือนจำในอเมริกาออกมาก่อนในเดือนมกราคม ปีถัดมา คือปี ค.ศ. 1832 รายงานนี้เรียกชื่อว่า “Du systeme penitentiaire aux Etats-Unis et de son application en France” (รายงานเรื่องระบบเรือนจำของสหรัฐอเมริกาเพื่อประยุกต์ใช้ในประเทศฝรั่งเศส) ส่วนใหญ่ Gustave de Beaumont เป็นผู้เขียน ส่งให้กระทรวงการปกครองภายในของฝรั่งเศส หน่วยงานต้นสังกัดที่ให้ทั้งสองไปศึกษาดูงานในอเมริกา แม้ว่าการเรียนรู้เรื่องระบบการดูแลผู้ต้องขังที่ได้ศึกษามาจะเป็นประโยชน์ต่อฝรั่งเศสอยู่ไม่น้อย แต่งานเขียนอีกสองปีต่อมาของ Alexis de Tocqueville อันเป็นผลการสังเกตและศึกษาวีถีชีวิตประชาธิปไตยใหม่ในดินแดนอเมริกา ที่ได้บันทึกอย่างละเอียดยิ่งกว่าเรื่องหลักที่ได้รับมอบหมายให้ไปศึกษา กลายเป็นงานวรรณกรรมการเมืองอมตะ คงอยู่คู่โลกประชาธิปไตยมาจนทุกวันนี้ เล่มที่ 1 ของ De la democratic en Amerique I พิมพ์จำหน่ายที่ Paris วันที่ 23 เดือนมกราคม ค.ศ. 1835, อีก 5 ปีต่อมา ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1840 De la democratic en Amerique II เล่มที่สองของ Democracy in America ก็ออกสู่สายตาผู้อ่านในฝรั่งเศส Alexis de Tocqueville เขียน Democracy in America เพื่อให้ชาวฝรั่งเศสอ่านโดยเฉพาะ เพื่อให้สังคมที่ยังพยายามพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในวัยแรกเริ่มในฝรั่งเศสได้สำนึกว่าที่อเมริกานั้น การทดลองประชาธิปไตยแบบใหม่ที่ได้ไปพบเห็นมานั้นล้ำหน้ากว่าฝรั่งเศสและยุโรปมากมายและน่าทึ่งยิ่งนัก 700 ปีของประวัติศาสตร์การปกครองฝรั่งเศสยุคใหม่ยังไม่เท่าทันเรื่องเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของพลเมืองในอเมริกาต้นศตวรรษที่ 19 (6) “If, beginning with the eleventh century, we examine what has happened in France from one half-century to another, we shall not fail to perceive that at the end of each of these periods a two-fold revolution has taken place in the state of society. The noble has gone down the social ladder, and the commoner has gone up; the one descends as the other rises. Every half-century brings them nearer to each other, and they will soon meet.” “หากว่าจะเริ่มดูตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ดูว่าเกิดอะไรขึ้นในฝรั่งเศสจากครึ่งศตวรรษหนึ่งไปสู่อีกครึ่งศตวรรษหนึ่ง ก็จะเห็นชัดเจนว่าปรากฏการปฏิวัติสังคมขึ้นในสองชนชั้นพร้อมๆกัน พวกขุนนางและชนชั้นสูงลดสถานภาพลง แล้วพวกสามัญชนขยับสถานะสูงขึ้น ฝ่ายหนึ่งลง อีกฝ่ายหนึ่งขึ้น ทุกๆห้าสิบปี สถานะภาพทางสังคมของชนสองชั้นนี้เคลื่อนเข้าใกล้กันมากขึ้น ในเวลาอีกไม่นานสถานะของสองชนชั้นก็จะมาบรรจบพบความเสมอภาคกันจนได้” Alexis de Tocqueville เขียนในบทนำในการพิมพ์ครั้งที่ 12 ของ Democracy in America พร้อมกับตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า: “Nor is this peculiar to France. Wherever we look, we perceive the same revolution going on throughout the Christian world.” “ไม่เพียงแต่เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้นที่เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ การปฏิวัติที่นำไปสู่ความเสมอภาคกันของชนต่างชั้นกำลังเกิดขึ้นทั่วทุกแห่งในโลกของชาวคริสเตียน” 9 เดือนในการศึกษาสังคมประชาธิปไตยในอเมริกา สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับ Alexis de Tocqueville อย่างที่สุด (3) “Among the novel object that attracted my attention during my stay in the United States, nothing struck me more forcibly than the general equality of condition among the people. I readily discovered the prodigious influence that this primary fact exercises on the whole course of society; it gives a peculiar direction to public opinion and a peculiar tenor to the laws. It imparts new maxims to the governing authorities and peculiar habits to the governed.” “ในบรรดาสิ่งสูงค่าที่ทำให้ผมตื่นเต้นสนใจศึกษาเป็นอย่างมาก ระหว่างที่ผมอยู่ในสหรัฐอเมริกานั้น ไม่มีเรื่องอะไรจะประทับใจยิ่งไปกว่าเรื่องความเท่าเทียมเสมอกันโดยทั่วไปของประชาชน ผมค้นพบทันทีว่าความจริงที่ว่านี้มีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อ การกำหนดและนำทางสังคม; ความเสมอภาคกำหนดทิศทางของความคิดเห็นสาธารณะสร้างพลังอันกึกก้องให้กับเสียงบัญชาของกฎหมายอย่างไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนเลย ความเสมอภาคสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ให้กับผู้ปกครอง และสร้างนิสัยใหม่ให้กับผู้ถูกปกครอง” ปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองในอเมริกานี้น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก ในสายตาของข้าราชการหนุ่ม จากราชอาณาจักรที่ชนชั้นสูง ต่อสู้กับการปฏิวัติของมวลสามัญชนมานานกว่า 700 ปี “I soon perceived that the influence of this fact extends far beyond the political character and the laws of the country, and that it has no less effect on civil society than on the government; it creates opinions, gives birth to new sentiments, founds novel customs, and modifies whatever it does not produce. The more I advanced in the study of American society, the more I perceived that this equality of condition is the fundamental fact from which all other seem to be derived and the central point at which all my observations constantly terminated.” “ในเวลาไม่นานผมก็มองเห็นว่าอิทธิพลของเรื่องความเสมอภาคนี้แผ่ไปกว้างไกล เกินกว่าเรื่องการเมืองและกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา อิทธิพลที่มีต่อสังคมมีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอิทธิพลเหนือการเมืองการปกครอง ความเสมอภาคก่อสร้างความเห็นอิสระหลากหลาย ก่อกำเนิดความรู้สึกนึกคิดใหม่ๆ ทำให้มีประเพณีอันงดงาม แม้ที่ไม่สร้างใหม่ ก็ปรับปรุงเสริมแต่งวิถีชีวิตเดิมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับผมเองนั้น ยิ่งศึกษาสังคมอเมริกันลึกซึ้งมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งจะรับรู้ไปมากขึ้นเรื่อยๆว่าเงื่อนไขแห่งการที่สังคมมีสิทธิเสมอภาคกันในหมู่ประชาชนนั้นเป็นความจริงพื้นฐานของการพัฒนาเรื่องอื่นๆทั้งหมด เป็นหัวใจของทุกสิ่งในสังคมอเมริกัน ไม่ว่าผมจะสังเกตและหาเหตุผลของปรากฏการณ์ใดในสังคมอเมริกัน ทุกเรื่องมาจบลงที่เรื่องความเสมอภาคกันในสังคม ทุกคราไป” ระบอบประชาธิปไตยที่ใช้ปกครองชุมชนทั่วสหรัฐอเมริกาที่ Alexis de Tocqueville ได้พบเห็นในปี 1831 นั้น “reached the extreme limit” ถึงขอบเขตที่สุดแล้ว “rapidly rising to power” ขณะที่ในยุโรปเวลาเดียวกันยังไม่ถึงระดับของอเมริกา แต่ก็นับได้ว่ากำลังยกระดับสูงขึ้นสู่พลังสุดยอดแบบเดียวกันอย่างรวดเร็ว “Hence I conceived the idea of the book that is now before the reader.” “ดั่งนี้เอง ผมจึงเกิดความคิดที่จะเขียนหนังสือเล่มนี้ ที่อยู่ต่อหน้าท่านผู้อ่าน ณ เวลานี้นี่เอง” (16) “I have not undertaken to see differently from others, but to look further, and while they are busied for the morrow only, I have turned my thought for the whole future.” “ผมไม่ได้มุ่งจะมองอะไรให้แตกต่างไปจากคนอื่น เพียงแต่ผมมองอะไรให้ไกลออกไปเท่านั้น ขณะที่ใครต่อใครยุ่งอยู่แต่เรื่องวันพรุ่งนี้ ผมเพ่งความคิดของผมให้กับอนาคตที่ไกลกว่าพรุ่งนี้ ทั้งหมด ทั้งสิ้น” (18) “In memory of their native land, the French formerly called this river the St. Louis. The Indians, in their pompous language, have named it the Father of Waters, or the Mississippi.” “เพื่อเป็นการรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน ชาวฝรั่งเศสตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ว่า St. Louis แต่พวกอินเดียนแดงผู้ซึ่งมีภาษาที่เข้าถึงอารมณ์ก็ตั้งชื่อมันว่า พ่อแห่งสายน้ำทั้งหลาย” Alexis de Tocqueville เริ่มต้นการศึกษาประชาธิปไตยในอเมริกาด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ของดินแดนที่เรียกว่าโลกใหม่ของชาวยุโรปอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ หากจะเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองเรื่องประชาธิปไตยในอเมริกา Alexis de Tocqueville แสดงให้เห็นว่าจำต้องเข้าใจสองเรื่องสำคัญก่อนอื่นใด คือ ต้องเข้าใจ ภูมิศาสตร์ และ ประวัติศาสตร์เสียก่อน แล้วจึงจะเข้าใจสังคม จากนั้นจึงจะสามารถอธิบายประชาธิปไตยในอเมริกาได้ สำหรับภูมิศาสตร์อเมริกา ไม่มีอะไรจะยิ่งใหญ่ทรงอิทธิพลต่อชีวิตเท่ากับ “น้ำ” (19) “The whole aspect of the country shows the powerful effects of water, both by its fertility and by its barrenness” “ทั้งหมดทั้งปวงของความเป็นประเทศสะท้อนผลกระทบอันทรงพลังของน้ำ ทั้งที่เป็นความอุดมสมบูรณ์ และความแห้งแล้ง” และสำหรับหุบเขาอันยิ่งใหญ่แห่งอเมริกานี้ Mississippi คือพ่อแห่งสายน้ำโดยแท้ (19) “The valley which is watered by the Mississippi seemed to have been created for it alone, and there, like a god of antiquity, the river dispenses both good and evil” “หุบเขาที่หล่อเลี้ยงด้วยพ่อน้ำ Mississippi ดูประหนึ่งว่าจะถูกเนรมิตขึ้นมาเพื่อ Mississippi โดยเฉพาะ ณ ที่นี้ พ่อแห่งสายน้ำก่อกำเนิดทั้งความดีงามและความชั่วร้าย ดุจดั่งว่าเป็นคำสาปของพระผู้เป็นเจ้าแห่งปุราณากาล” (19) “The valley of the Mississippi is on the whole, the most magnificent dwelling-place prepared by God for man’s abode; and yet it may be said that at present it is but a mighty desert.” “หุบเขาแห่ง Mississippi เป็นถิ่นฐานที่พระผู้เป็นเจ้าเตรียมไว้ให้มนุษย์อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม แต่ในเวลาเดียวกันมันก็เป็นดินแดนที่สุดแสนกันดาลเท่าๆกับที่มีความอุดมสมบูรณ์” ในส่วนของประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันนั้น Alexis de Tocqueville เริ่มต้นที่ชนอินเดียนแดงพื้นเมืองเผ่าต่างๆ (21-22) “Some wandering tribes had been for ages scattered among the forest shades or on the green pastures of the prairie. From the mouth of the St. Lawrence to the Delta of the Mississippi, and from the Atlantic to the Pacific Ocean, these savages possessed certain points of resemblance that bore witness to their common origin; but at the same time they differed from all other known races of men.” “ชาวพื้นเมืองเร่ร่อนอยู่อาศัยตามป่าเขาลำเนาไพรอันร่มรื่นและทุ่งหญ้าอันเขียวขจีมานานนัก จากปากแม่น้ำ St. Lawrence ถึงดินดอนสามเหลี่ยม Mississippi และจาก มหาสมุทร Atlantic จรด มหาสมุทร Pacific คนป่าเถื่อนทั้งหลายเหล่านี้ดูว่าจะมีต้นกำเนิดจากเผ่าพันธุ์เดียวกัน และขณะเดียวกันก็ไม่เหมือนกับเผ่าพันธุ์อื่นใดที่โลกรู้จักมาก่อน” (22) “…he had grown up in the wild independence of his nature…ignorant of the value of riches, and indifferent to the enjoyments that civilized man procures fro himself…” “เติบโตมาท่ามกลาง ความเป็นอิสระของธรรมชาติในป่าดงพงพี ...ไม่รับรู้ถึงคุณค่าของความมั่งคั่งของแผ่นดิน ไม่ใยดีต่อความสุขความเพลิดเพลินอย่างที่ชาวยุโรปผู้เจริญด้วยอารยะธรรมเข้ามากอบโกยเพื่อตนเอง” (23) “…they practiced habitual reserve and a kind of aristocratic politeness.” “ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองมีอุปนิสัยที่ยึดมั่นในขนบประเพณีเฉพาะเผ่าพันธุ์ สุภาพอ่อนโยนทำนองขุนนางชั้นสูงในยุโรปเหมือนกัน” “Mild and hospitable when at peace, though merciless in war beyond any known degree of human ferocity…” “นุ่มนวล มีน้ำใจไมตรีในยามสันติ แต่ถึงเวลาสงครามก็ไร้ความปราณีอย่างที่ไม่เคยมีมนุษย์ที่ไหนจะโหดเหี้ยมเท่า” ประวัติศาสตร์ชาวอินเดียนแดงเจ้าของถิ่นทวีปอเมริกาดั้งเดิมมีเพียงเท่าที่เห็น ไม่มีบันทึกหรือหลักฐานทางโบราณคดีอธิบายบรรพบุรุษแรกเริ่มของชนพื้นเมืองได้ว่าเป็นมาอย่างไรก่อนหน้านี้ จนกระทั่งอเมริกาเริ่มประวัติศาสตร์ใหม่โดยชนกลุ่มใหม่ ผู้อพยพมาจากดินแดนอันห่างไกลคนละฟากมหาสมุทร เรือ Mayflower ออกเดินทางจากเมือง Plymouth ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1620 (33-34) “The Immigrants were about 150 in number, including the women and the children. Their object was to plant a colony on the shore of the Hudson; but after having been driven about for some time in the Atlantic Ocean, they were forced to land on the arid coast of New England, at the spot which is now the town of Plymouth.” “บรรดาผู้อพยพมีด้วยกันราว 150 คน รวมผู้หญิงกับเด็กๆด้วย เป้าหมายคือฝั่งแม่น้ำ Hudson แต่คลื่นลมในทะเลก็พัดพาเรือ Mayflower ไปเกยชายฝั่ง New England อันแห้งแล้ง ณ จุดนี้เองเรียกว่าเมือง Plymouth ใหม่ โขดหิน Plymouth อันเป็นที่ที่พวกนักบุญ Pilgrims ก้าวขึ้นฝั่งยังคงอยู่ให้เห็นจนทุกวันนี้” (32-34) Nathaniel Morton นักประวัติศาสตร์ในครั้งนั้นบันทึกว่า (34) “…this poor people…passed the vast ocean, and a sea of trouble …no friends to welcome them, no inns to entertain or refresh them, no houses, or much less towns, to repair unto to seek for succour…winters…cruel and fierce storms…desolate wilderness, full of wilde beasts, and wilde men?” “คนจนๆเหล่านี้ ข้ามน้ำข้ามทะเลอันไพศาลและหฤโหด...ไม่มีเพื่อนมารอรับ ไม่มีโรงเตี๊ยมให้ดื่มกินและค้างแรม ไม่มีบ้าน ไม่มีเมืองที่จะพอหาที่หลับนอนผ่อนพักกาย มีแต่ฤดูหนาวที่หนาวเหน็บ พายุที่ไร้ปราณี ป่าอันทึบเถื่อน ทั้งสัตว์ป่าเถื่อน และคนเถื่อน?” (35) “In the name of God, Amen…We…the loyal subjects of our dread Sovereign lord King James…having undertaken for the glory of God, and advancement of the Christian faith, and the honour of our King and country, a voyage to plant the first colony in the northern parts of Virginia….do enact, constitute, and frame such just and equal laws, ordinances, acts, constitutions, and offices,…for the general good of the colony.” “ในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า....พระมหากษัตริย์ James ผู้ทรงอำนาจเหนือเกล้า...เรา...เหล่าพสกนิกรผู้ภักดี ดั้นด้นเดินทางมาเพื่อความยิ่งใหญ่แด่พระผู้เป็นเจ้า เพื่อความรุ่งเรื่องของศาสนาคริสต์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์และประเทศชาติของเรา เราจึงมาตั้งรกรากถิ่นฐานเป็นอาณานิคมแห่งแรก ณ ดินแดนส่วนเหนือของ Virginia …เราร่วมกันเขียน บัญญัติ ขัดเกลาและประกาศใช้ กฎหมาย ข้อบัญญัติ และรัฐธรรมนูญเพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม เพื่อกำหนดกรอบหน้าที่การบริหารกิจการชุมชน เพื่อความสงบรุ่งเรืองของอาณานิคมของเรา” นี่คือลักษณะพิเศษเฉพาะของอาณานิคมอเมริกา ที่เริ่มต้นที่ New England และ เมือง Jamestown เมื่อกลางศตวรรษที่ 17 การปกครองอาณานิคมทำได้อย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย (36) โดยหลักการสำคัญ กษัตริย์อังกฤษทรงแต่งตั้งผู้ว่าราชการแทนพระองค์ปกครองอาณานิคมโดยตรง แต่ก็ยังได้แต่งตั้งบุคคลให้ปกครองดินแดนบางส่วนโดยจัดสรรที่ดินให้ไปจัดสรรแบ่งปันต่อเพื่อการสร้างบ้านเมืองด้วยการเกษตร ผู้อพยพหลายหมู่บ้านได้อำนาจปกครองตนเองอย่างอิสระ สร้างชุมชนทางการเมืองตามแบบที่ประดิษฐ์คิดสร้างกันเองที่ New England ของอานิคมอเมริกา เมื่อ 380 ที่แล้วนี่เองที่: (35) “A Democracy more perfect than antiquity had dared to dream of started in full size and panoply from the midst of ancient feudal society” “ประชาธิปไตยแบบที่สมบูรณ์กว่าที่ใดๆในอดีตกาล กล้าหาญชาญชัยในอันที่จะฝันให้เกิดให้ได้อย่างเต็มรูปแบบ แสดงให้มนุษยชาติได้เห็นอย่างตระการตา ขณะที่โลกส่วนอื่นๆยังจมอยู่กับระบอบสังคมศักดินา” (35) “It appeared as if New England was a reign given up to the dreams of fancy and the unrestrained experiments of innovations.” “การทดลองประชาธิปไตยที่ New England ในยุคแรกของอาณานิคมอเมริกานี้ ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีอะไรขวางกั้น จะฝันเฟื่อง ทดลองแนวคิดใหม่ๆในการปกครองชุมชนแบบประชาธิปไตยเช่นไรก็ได้ทั้งสิ้น” (31) “The settlers who established themselves on the shores of New England all belonged to the more independent classes of their native country. Their union on the soil of America at once presented the singular phenomenon of a society containing neither lords nor common people, and we may almost say neither rich nor poor. These men possessed, in proportion to their number, a greater mass of intelligence than is to be found in any European nation of our own time.” “ผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ณ ชายฝั่ง New England ล้วนแล้วแต่เป็นคนในชนชั้นที่เป็นอิสระในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนดั้งเดิมของตน – Alexis de Tocqueville กล่าวด้วยความรู้สึกประทับใจ แล้วอธิบายต่อไปว่า --- การที่คนเหล่านั้นมาอยู่ร่วมสมานสามัคคีเป็นชุมชนเดียวกันในทันทีที่ทุกคนขึ้นเหยียบแผ่นดินอเมริกา กลายเป็นปรากฏการณ์อันพิเศษโดดเด่นทางสังคม ซึ่งไม่มีทั้งขุนนางผู้สูงศักดิ์ ไม่มีทั้งสามัญชน และเราเกือบจะกล่าวได้ด้วยว่าไม่มีทั้งคนรวย ไม่มีทั้งคนจน ผู้ตั้งอาณานิคมเหล่านี้ โดยสัดส่วนของจำนวนพลเมือง จะมีกลุ่มปัญญาชนผู้มีความรู้มีการศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าที่จะพบในประเทศใดๆในทวีปยุโรปในช่วงเวลาเดียวกัน” ความเป็นคนอิสระ ไม่มีชนชั้น ไม่ว่าจะศักดินา หรือฐานันดร เป็นผู้มีการศึกษาพื้นฐานเท่าๆกัน ไม่มีใครรวยหรือจนไปกว่าใคร มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในดินแดนใหม่พร้อมกัน คือสามลักษณะพิเศษที่เป็นฐานของสังคมอเมริกาตั้งแต่แรกตั้งอาณานิคม และกลายเป็นพลังสร้างสังคมประชาธิปไตยที่ไม่เคยเห็นว่าจะเกิดที่ใดได้มาก่อนในโลก ในอาณานิคม New England Alexis de Tocqueville พบว่าในแถบรัฐทางเหนือ ปลอดชนชั้นขุนนาง ศักดินา หรือพวกมหาเศรษฐีที่มีข้าทาสบริวารคนรับใช้โดยแท้ ทุกคนทิ้งอดีตของการแบ่งชนชั้นไว้ในประเทศเดิมของตน แต่ทางใต้ ลักษณะวิถีชีวิตแบบชนชั้นสูงยังประกฎอยู่ในรูปแบบใหม่ คนใต้มีทาสรับใช้เป็นแรงงานในไร่ฝ้ายและกิจกรรมการเกษตรอื่นๆ แต่ก็มิใช่เกษตรกรผู้เช่าทีดินแบ่งส่วนผลผลิตให้เจ้าศักดินาแบบที่เป็นอยู่ในยุโรป ระบบเจ้าศักดินาราชาที่ดินจึงไม่เกิดเช่นในยุโรป แต่ก็กลายเป็นชนวนของสงครามกลางเมืองระหว่างชาวเหนือกับชาวใต้ สังคมไม่ต่างชนชั้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยในอเมริกา การศึกษาของชาวอาณานิคมอเมริกา คือหัวใจของวัฒนะธรรมประชาธิปไตย (41) “But it is by the mandates relating to public education that the original character of American civilization is at once placed in the clearest light” “เรื่องข้อกำหนดว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับสำหรับพลเมืองนั้นถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของอารยะธรรมอเมริกันทีเด่นชัดที่สุด” “Whereas”, says the law, “Satan, the enemy of mankind, find his strongest weapons in the ignorance of men.” “กฎหมายการศึกษาท้องถิ่น New England ฉบับหนึ่งบัญญัติว่า ซาตานผู้เป็นศัตรูของมนุษยชาตินั้น ถือว่าความโง่เขลาของมนุษย์เป็นอาวุธอันทรงพลังที่ซาตานใช้ทำลายมนุษย์เอง” Alexis de Tocqueville มีแต่ความชื่นชมชาวอาณานิคมอเมริกาที่เห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญต่อประชาธิปไตย เขากล่าวว่า: (52) “I do not believe that there is a country in the world, in proportion to population, there are so few ignorant and at the same time so few learned individuals. Primary instruction is within the reach of everybody; superior instruction is scarcely to be obtained by any.” “ผมไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในโลก โดยดูสัดส่วนจำนวนประชากร จะเทียบได้กับอเมริกา ที่จะมีพลเมืองผู้โง่เขลาจำนวนน้อยมาก พอๆกับจำนวนพลเมืองผู้มีการศึกษาสูงๆ การให้การศึกษาระดับพื้นฐานมีให้กับพลเมืองทุกคนอย่างทั่วถึงสะดวกสบาย ส่วนการศึกษาขั้นสูงคนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงได้มากนัก” เด็กและเยาวชนในอาณานิคมต้องเข้ารับการศึกษาขั้นต้น หรือขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ปีเท่านั้น จากนั้นทุกคนก็เริ่มทำงานสร้างตัว ส่วนใหญ่จึงมีการศึกษาระดับกลาง คนทีมีการศึกษาสูงถึงระดับเทียบเท่ามหาวิทยาลัยก็จะเป็นคนส่วนน้อยที่กลายเป็นนักปราชญ์ ได้รับการยกย่องนับถือเป็นผู้นำผู้นำสังคมที่พลเมืองทั่วไป คนส่วนใหญ่มุ่งรับการศึกษาระดับกลาง มีความรู้ความคิดระดับใกล้เคียงกันเรื่อง Religion ศาสนา History ประวัติศาสตร์ Science วิทยาศาสตร์ Political Economy เศรษฐศาสตร์การเมือง Legislation กฎหมาย และ Government การปกครองรัฐ เท่านี้ก็พอเพียงแล้วเพราะทุกคนต้องทำมาหากิน ทำไร่ทำนา สร้างตัวสร้างชุมชน สร้างประเทศชาติ ใครที่ได้โอกาสเรียนสูงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นนักปราชญ์ เป็นผู้นำทางภูมิปัญญา คนเหล่านั้นเป็นส่วนน้อย (52) “The gifts of intellect proceed directly from God, and man cannot prevent their unequal distribution” “ผู้มีความรู้สูง เป็นผู้มีพรสวรรค์ส่วนตัวและเป็นเรื่องที่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงกำหนดเอง มนุษย์จะไปขวางทางพระเจ้ามิได้” อเมริกายุคตั้งถิ่นฐานอาณานิคม เคร่งครัดในการดำเนินชีวิตตามแนวทางศาสนาคริสต์มาก กฎหมายท้องถิ่นหลายบทในรัฐ New England เข้มงวดกับพลเมืองยิ่งนัก กฎหมายที่ประชนเห็นพ้องร่วมกัน บังคับมิให้พลเมืองพูดจาหยาบคาย ความใกล้ชิดระหว่างเพศในที่สาธารณะ การดื่มสุรามึนเมา ล้วนถูกลงโทษโดยกฎหมายทั้งสิ้น ในเรื่องความร่ำรวยหรือยากจนของพลเมือง Alexis de Tocqueville พบว่าชาวอาณานิคมอเมริกาที่ร่ำรวยมากๆมีจำนวนน้อย คนที่รวยก็มักจะมาจากจนที่เคยจนมาก่อน ไม่ใครกี่คนที่รวยเพราะมรดกครอบครัวตกทอดมา แต่ Alexis de Tocqueville ย้ำว่า: (51) “I do not mean that there is any lack of wealthy individuals in the United States; I know of no country, indeed, where the love of money has taken stronger hold on the affections of men and where a profounder contempt is expressed for the theory of permanent equality of property. But when wealth circulates with inconceivable rapidity, and experience shows that it is rare to find two succeeding generations in the full enjoyment of it.” “ผมมิได้หมายความว่าไม่มีคนร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา ที่จริงผมไม่เคยเห็นประเทศไหนเลยที่ผู้คนจะรักเงินทองความร่ำรวยเท่าคนอเมริกัน ไม่มีคนที่ไหนจะชิงชังทฤษฎีว่าด้วยความเท่าเทียมกันอย่างถาวรของทรัพย์สินส่วนบุคคลเท่ากับชาวอาณานิคมอเมริกัน แต่ว่าที่อเมริกานี้ความร่ำรวยหมุนเวียนผ่านมือกันอย่างรวดเร็ว ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่าความร่ำรวยในแต่ละครอบครัวอยู่ได้นานไม่เกินสองชั่วอายุคน” กฎหมายบังคับให้มีการแบ่งมรดกเมื่อพ่อแม่สิ้นชีวิตทำให้การครองครองความมั่งในครอบครัวใหญ่ถูกแบ่งแยกไปสู่ลูกๆจนที่ดินไร่นามีขนาดเล็กลง จากนั้นทุกคนต้องเริ่มสร้างความมั่งคั่งใหม่ หาดินแดนใหม่ เป็นที่มาของการบุกเบิกดินแดนตะวันตกในเวลาต่อมา. |
Vertical Divider
หัวใจหลักของการสร้างสังคมประชาธิปไตยในอเมริกาเมื่อกว่า 350 ปีที่แล้ว คือ Liberty / เสรีภาพ กับ Equality / ความเสมอภาคกัน ในหมู่พลเมือง
ชาวอาณานิคมแสวงหาสองสิ่งนี้ สองสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้เพราะความขัดแย้งระหว่างกัน หากต้องการเสรีภาพเต็มที่ ใครเก่งใครได้ดี ใครไวกว่าใครคนนั้นก็ได้ก่อน เสรีภาพทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในหมู่มนุษย์ แต่ความเสมอภาค คือหัวใจของประชาธิปไตยในอเมริกา ครั้งที่ Alexis de Tocqueville เดินทางไปศึกษาในปี ค.ศ. 1831–1832 พบว่า: (53-54) “But liberty is not the chief and constant object of their desires; equality is their idol: they make rapid and sudden efforts to obtain liberty, if they miss their aim, resign themselves to their disappointment; but nothing can satisfy them without equality, and they would rather perish than loose it.” “แต่ว่า เสรีภาพนั้นมิใช่เป้าหมายหลัก ไม่ได้เป็นสิ่งสุดยอดแห่งความปรารถนาที่ต้องไขว่คว้าให้ได้เสมอไป ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคมต่างหากที่เป็นสุดยอดของสิ่งควรค่าแก่การเคารพบูชา คนอเมริกันพยายามอย่างแรงและอย่างเร็วในการแสวงหาเสรีภาพ แต่ถ้าหากไม่ได้ก็ยอมถอยไปอยู่กับความผิดหวังได้ แต่ถ้าสังคมไม่ให้ความเสมอภาคกัน คนอเมริกันถือว่าตายเพื่อการแสวงหาความเสมอภาค ดีกว่าอยู่อย่างไม่เท่าเทียมกัน” (55) “Whenever the political laws of the United States are to be discussed, it is with the doctrine of the sovereignty of the people that we must begin.” “คราใดที่คุยกันเรื่องกฎหมายการเมืองในสหรัฐอเมริกา เราก็จะต้องเริ่มต้นกันที่เรื่องหลักการว่าด้วยอำนาจอธิปไตยของประชาชนก่อนเรื่องอื่นใดทุกครั้งไป” Alexis de Tocqueville เริ่มต้นบทวิเคราะห์การเมืองในระบอบประชาธิปไตยในอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1831 ด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตยเช่นกัน และที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวอเมริกัน และมาจากปวงชนชาวอเมริกันนี้เอง คือบทเรียนสำคัญสำหรับชาวฝรั่งเศสหลังยุคปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐแบบไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ Alexis de Tocqueville ชื่นชมชาวอเมริกันต่อไปว่า: “…from their origin, the sovereignty of the people was the fundamental principle of most of the British colonies in America, from then exercising as much influence on the government of society as it now does.” “จากต้นกำเนิด อธิปไตยของปวงชนเป็นหลักการพื้นฐานที่ยึดถือกันเป็นส่วนใหญ่ในหมู่อาณานิคมอังกฤษในอเมริกา จากนั้นต่อมาก็เป็นพลังอันทรงอิทธิพลเหนือการปกครองสังคมอย่างมาก จนถึงเวลานี้ (1831) พลังอำนาจอธิปไตยของประชาชนก็ยังทรงพลังเช่นเดิม” (57) “At the present day the principle of the sovereignty of the people has acquired in the United States all the practical development that the imagination can conceive…and it appears in every possible form…Sometimes the laws are made by the people in a body, as at Athens; and sometime its representatives, chosen by universal suffrage, transect business in its name and under its immediate supervision.” “ณ วันนี้ หลักการว่าด้วยอธิปไตยของปวงชนที่ใช้อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนามาจนก่อเกิดประโยชน์ทางปฏิบัติได้อย่างดีที่สุดจะใช้จินตนาการสร้างอะไรก็เป็นจริงได้ทั้งสิ้น ได้ทุกรูปแบบ...บางทีพลเมืองก็มารวมตัวกันร่างกฎหมายได้อย่างกับสมัยประชาธิปไตยโบราณในนครรัฐ Athens บางทีก็ร่างกฎหมายโดยผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง ตามหลักสิทธิสากล ทำงานในนามประชาชน ภายใต้การกำกับควบคุมของประชาชน” (57-58) ”…there society governs itself for itself….The nation participate in the making of its laws by the choice of its legislators, and in the execution of them by the choice of the agents of the executive government; it may almost be said to govern itself, so feeble and so restricted is the share left to the administration, so little do the authorities forget their popular origin and the power from which they emanate.” “...ที่อเมริกา สังคมปกครองตัวเอง เพื่อตนเอง...คนในชาติร่วมกิจกรรมบัญญัติกฎหมายกันโดยช่วยกันคัดเลือกผู้มาร่างกฎหมาย เลือกคนมาดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย หาตัวแทนมาบริหารรัฐบาล มาปกครองเหล่าประชาชนเอง โดยอาจจะกล่าวได้ว่าฝ่ายบริหารรัฐบาลที่เลือกเข้าไปนั้นจะได้รับมอบอำนาจจำกัดมาก จนไม่มีฝ่ายบริหารคนใดจะลืมว่าใครเป็นผู้ให้อำนาจแก่เขาเหล่านั้นแต่แรกเริ่มแท้จริง” “The people reign in the American political world as the Deity does in the universe. They are the cause and the aim of all things; everything comes from them, and everything is absorbed in them.” “ในโลกแห่งการเมืองอเมริกันนั้นประชาชนครองความยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับเทพเจ้าผู้ครองอำนาจในจักรวาล” “ประชาชนคือที่มาและที่ไปของทุกสิ่งอย่าง ทุกสิ่งเกิดจากประชาชน และทุกอย่างซึมซับกลับเข้าสู่ประชาชน” (64) “…the principle of the sovereignty of the people governs the whole political system of the Anglo-Americans…every individual has an equal share of power and participate equally in the government of the state.” “...หลักแห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนเป็นหัวใจการปกครองการเมืองของชาว Anglo-American ทั้งระบบ...พลเมืองแต่ละคนได้ส่วนแบ่งอำนาจเท่ากันและเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองรัฐเสมอภาคกัน” ในปีที่ Alexis de Tocqueville เดินทางไปศึกษาวิถีชีวิตประชาธิปไตยอเมริกันนั้น สหรัฐอเมริกาแบ่งเขตการปกครองประเทศออกเป็น24 รัฐเหมือนประเทศเอกราชเล็กๆ 24 ประเทศ (59-60) “Their political or administrative life is centered in three focuses of action, which may be compared to the different nervous centers that give motion to the human body.” “วิถีชีวิตการเมืองและการบริหารจัดการสังคมอยู่รอบๆศูนย์กลางกิจกรรมสามศูนย์ ซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับศูนย์กลางระบบประสาทที่กำกับการเคลื่อนไหวของสรีระมนุษย์” (60) เริ่มที่ชุมชนหมู่บ้านที่เรียกว่า Township เป็นศูนย์แรก.... ...แล้วก็ต่อไปที่เขตที่เรียกว่า County…หรืออาจจะเรียกเชิงเปรียบเทียบได้ว่าคล้ายกับอำเภอ...สุดท้ายคือรัฐ หรือ State (66-67) “Township” หรือชุมชนเมืองขนาดเล็ก/หมู่บ้าน/ตำบล คำว่า "Township” แปลว่าเมืองเล็กๆ คำว่า “Town” ใช้คู่ขนานกับคำโบราณว่า “Tithing” แปลว่า “Ten households” ซึ่งแปลว่าสิบครอบครัว “Ten of a hundred” หรือ “10 ใน 100” ซึ่งในความหมายของสหรัฐอเมริกาก็หมายถึงเมืองเล็กเทียบได้กับหมู่บ้านหรือตำบล Township ในรัฐแถบ New England มีประชากรระหว่าง 2,000-3,000 คน เท่านั้น ไม่ใหญ่จนเกินไปจนทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ของชาวบ้าน แต่ก็ไม่เล็กจนเกินไปจนหาคนดีคนเก่ง มาช่วยบริการจัดการกิจการชุมชนไม่ได้ (69) “The township of New England has in itself an indestructible principle of life…” “ชุมชนเมืองหรือ Township ในแถบ New England มีหลักการดำเนินชีวิตชาวเมืองที่เข้มแข็งไม่มีอำนาจใดจะสั่นคลอนบ่อนทำลายได้” (62) “In the township, as well as everywhere else, the people are the source of power; but nowhere do they exercise their power more immediately. In America the people form a master who must be obeyed to the utmost limits of possibility.” “ในเมืองเหล่านี้ หรือจะพูดรวมถึงเมืองอื่นๆด้วยก็ได้ ประชาชนคือแหล่งที่มาของอำนาจ ไม่มีที่อื่นใดอีกแล้วที่ประชาชนจะใช้อำนาจของตนเองได้อย่างฉับพลันทันทีเหมือนกับในชุมชนเมืองอันเป็นท้องถิ่นของตนเองเช่นว่านี้ ในอเมริกา ประชาชนพลเมืองรวมตัวกันเป็นเจ้านายของเมืองของตัวเองที่ทุกคนจะต้องเคารพเชื่อถืออย่างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” (60) “The town or tithing, then, exists in all nations, whatever their laws and customs may be: it is man who makes monarchies and establishes republics, but the township seems to come directly from the hand of God.” “เมืองคือศูนย์รวมครอบครัวแบบนี้ที่ไหนๆในโลกก็มีกันทั้งนั้น ไม่ว่ากฎหมายและประประเพณีจะต่างกันอย่างไร มนุษย์เป็นคนสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์และเลือกที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ แต่พอพูดถึง Township หรือ ชุมชนเมืองระดับหมู่บ้านตำบลแล้วดูประหนึ่งว่าพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่ทรงสร้างโดยตรงด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง” (60) “…its freedom is an infrequent and fragile thing. A nation can always establish great political assemblies, because it habitually contains a certain numbers of individuals fitted by their talents, if not by their habits, for the direction of affairs. The township, on the contrary, is composed of coarser materials, which are less easily fashioned by the legislator.” “...อิสรภาพของชุมชนเมืองนั้นเปราะบาง หากเป็นระดับชาติ ก็อาจจะสร้างรัฐสภาที่ยิ่งใหญ่มั่นคงได้เพราะพอที่จะหาคนเก่งคนดีมีความสามารถสูงมาเป็นตัวแทนในสภาได้ง่ายเหมาะสมกับหน้าที่การงาน แต่พอลงมาถึงระดับชุมชนเมืองมันตรงกันข้าม พลเมืองที่มีก็มีให้เลือกได้น้อย คัดสรรกลั่นกรองคนมาเป็นตัวแทนออกกฎหมายระเบียบท้องถิ่นได้ลำบาก” “The difficulty of establishing its independence rather augments than diminishes with the increasing intelligence of the people. A highly civilized community can hardly tolerate a local independence, is disgusted at its numerous blunders, and is apt to despair of success before the experiment is completed.” “การที่จะทำให้เมืองหรือตำบลหมู่บ้านเป็นอิสระในการปกครองตนเองนั้นเป็นเรื่องยาก ยิ่งชาวบ้านฉลาด มีภูมิปัญญามากขึ้น ยิ่งยากมากขึ้นเป็นเงาตามตัว” Alexis de Tocqueville ตั้งข้อสังเกตว่า ”ชุมชนที่เจริญด้วยอารยะธรรมมากแล้วก็จะไม่ค่อยอดทนที่จะยอมให้ท้องถิ่นมีอิสระนัก แล้วพอเห็นท้องถิ่นทำอะไรพลาดก็จะเหยียดหยาม แต่พอท้องถิ่นกำลังจะทำอะไรได้สำเร็จเป็นอย่างดีก็จะแสดงความรู้สึกเหนื่อยหน่ายไม่ทนรอให้การทดลองกิจกรรมชุมชนนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นบริบูรณ์” ”Again, the immunities of townships, which have been obtained with so much difficulty, are least of all protected against the encroachment of supreme power.” “แต่เมื่อการสร้างชุมชนให้เข็มแข็งเป็นอิสระทำได้สำเร็จ หลังผ่านความยากลำบากนานานาประการแล้ว ชุมชนนั้นก็จะมีเกราะป้องกันการแทรกแซงจากอำนาจสูงสุดจากภายนอกได้ “Thus until the independence of townships is amalgamated with the manners of the people, it is easily destroyed; and it is only after the long existence in the laws that it can be thus amalgamated. Municipal freedom is not the fruit of human efforts; it is rarely created by others, but is, as it were, secretly self-produced in the midst of a semi-barbarous state of society.” “ตราบใดที่อิสระเสรียังไม่ก่อร่างสร้างตัวอยู่ในชุมชนท้องถิ่น ยังไม่ฝังอยู่ในหัวใจจนเป็นนิสัยประจำตัวของชาวบ้านแล้ว ตราบนั้นชุมชนท้องถิ่นก็ยังอาจถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นก็ต้องให้วิถีชีวิตอิสระ เสรีนั้นกลายเป็นกฎหมายชุมชนให้นานพอ สังคมอิสระอันเป็นประชาธิปไตยฐานรากจึงจะเกิดขึ้นได้ อิสรภาพ เสรีภาพของชุมชนท้องถิ่นเทศบาลหมู่บ้านตำบลหรือเมือง Township มิได้เกิดได้ด้วยฝีมือหรือเป็นผลแห่งความพยายามของมนุษย์ที่ไหน แต่อิสรภาพนั้นมันเกิดขึ้นมาของมันเอง ท่ามกลางสภาพสังคมรัฐที่อยู่กันอย่างสังคมกึ่งป่าเถื่อน” จากการได้เห็นชุมชนเมืองในระดับท้องถิ่นในอเมริกาที่เข้มแข็งเป็นอิสระ เสรี ปลอดจากการแทรกแซงของรัฐบาลรัฐและรัฐบาลกลางของสหรัฐ Alexis de Tocqueville สรุปว่า: (61) “Yet municipal institutions constitute the strength of free nations. Town meetings are to liberty what primary schools are to science; they bring it within the people’s reach, they teach men how to use and how to enjoy it.” “สถาบันการปกครองชุมชนท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบของพลังอำนาจของชาติเอกราช ที่ประชุมชาวบ้าน มีความสำคัญต่อเสรีภาพ เหมือนกับโรงเรียนชั้นประถมศึกษามีความสำคัญต่อวิทยาศาสตร์ ที่ประชุมพลเมืองในท้องถิ่นทำให้ชาวบ้านเอื้อมมือจับต้องเสรีภาพได้ สอนให้ชาวบ้านใช้เสรีภาพได้อย่างเอิบอิ่มเพลิดเพลินเจริญใจ” “A nation may establish a free government, but without municipal institutions it cannot have the spirit of liberty.” “ประเทศชาติอาจสถาปนารัฐบาลที่เป็นอิสระได้ แต่ถ้าปราศจากแล้วซึ่งการปกครองตนเองระดับชุมชนเมืองท้องถิ่นระดับหมู่บ้านตำบล ประเทศชาติก็จะไม่มีจิตวิญญาณแห่งเสรีภาพ” (64-65) “Hence arises the maxim, that everyone is the best and sole judge of his own private interest, and that society has no right to control a man’s actions unless they are prejudicial to the common weal or unless the common weal demands his help.” ในสหรัฐอเมริกา ประชาธิปไตยพื้นฐานก่อกำเนิด และยืนหยัดอย่างยั่งยืนแข็งขัน ที่การปกครองตนเองในส่วนท้องถิ่นระดับชุมชนเมืองเล็ก ที่อเมริกา พลเมืองทุกคน และแต่ละคนเท่านั้น จะรู้ดีที่สุดถึงความต้องการของตนเองและรู้ดีว่าจะตัดสินอย่างไรเพื่อทำอะไรให้กับตนเอง สังคมไม่มีสิทธิอันใดที่จะมากำกับควบคุมกิจกรรมของบุคคล เว้นเสียแต่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์แห่งความสุขสมบูรณ์ของชุมชนโดยรวม และความสุขสมบูรณ์ของชุมชนโดยรวมที่ว่านั้นจำต้องพึ่งการเสียสละผลประโยชน์ส่วนบุคคล (175) “America has had great parties, but has them no longer.” “อเมริกา เคยมีพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว” Alexis de Tocqueville กล่าวในปี 1831-1832 เมื่อได้ไปศึกษาวิถีชีวิตประชาธิปไตยที่นั่น มิได้กล่าวด้วยความผิดหวัง หากแต่เป็นความพยายามอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองที่อาจเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับ Europe เมื่อเห็นปัญหาของพรรคการเมืองในอเมริกาตอนนั้นแล้ว Tocqueville พยากรณ์ว่า หากประชาธิปไตยที่กำลังงอกงามอยู่เกิดล้มเหลว รัฐบาลบริหารประเทศผิดพลาด แล้วนำไปสู่โอกาสที่จะเกิดการปฏิวัติอีก แล้วเกิดประชาชนนำเอาระบบกษัตริย์มาใช้แทนระบอบสาธารณรัฐ ก็คงจะเป็นไปได้ตามวิธีวิเคราะห์ของเขา เพราะอเมริกาตอนนั้นมีชนชั้นสูงโดยฐานะทางเศรษฐกิจมั่งคั่งร่ำรวย การศึกษาสูง ฐานะทางสังคมสูง เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่พลังทางการเมืองของคนรวยเหล่านั้นอ่อนลงโดยอำนาจของประชาธิปไตยที่คนจนเอาไปครองเป็นส่วนใหญ่ แต่อเมริกาก็ยังเป็นประชาธิปไตยได้อย่างแข็งขันต่อไป เพราะอะไรจึงทำให้คนรวยส่วนบนของสังคม ยอมรับอำนาจประชาธิปไตยของคนจนส่วนใหญ่ต่อไปได้? Alexis de Tocqueville อธิบายว่า พรรคการเมืองโดยหลักการทั่วไปแบ่งเป็นสองประเภท คือ พรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ (Great Party) และ พรรคการเมืองขนาดเล็ก (Minor Party) ในยามใดที่ชาติเกิดวิกฤติใหญ่หลวง ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง สังคมจมลึกลงสู่ภาวะล่มสลาย สถานการณ์สุกงอมสำหรับการปฏิวัติ ในยามนั้น พรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้น และเมื่อการปฏิวัติเสร็จสิ้น บ้านเมืองสงบ ยังไม่เกิดวิกฤติใหม่ ช่วงสงบ หรือรอยต่อระหว่างวิกฤติของชาตินี้เสมือนว่าจะเป็นช่วงพักหายใจของพลเมือง พรรคการ เมืองใหญ่ก็หมดบทบาทหน้าที่ เหลือแต่พรรคเล็ก อเมริกาเมื่อปี 1831 กำลังอยู่ในช่วงพักหายใจ เป็นช่วงเวลาที่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองค่อยๆเป็นไปอย่างช้าๆ สังคมนึกว่าได้พัฒนามาถึงจุดสูงสุดแล้ว มีรากฐานมั่นคงแล้ว การคิดค้นเพื่อสร้างสังคมให้ไปไกลข้ามขอบฟ้าดูจะชะลอตัวลงไปแล้ว การปฏิวัติและกอบกู้เอกราชจากอังกฤษผ่านไปเกือบ 50 ปีแล้ว พรรค Federalist Party ที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุด ก็สิ้นบทบาทไปแล้วตั้งแต่ปี 1824 เหลือพรรคการเมืองระดับชาติอยู่เพียงพรรคเดียว ชื่อพรรค Republican ซึ่งเคย เป็นพรรคเล็กกว่า แต่เมื่อกลายเป็นพรรคใหญ่ระดับชาติอยู่พรรคเดียว ความเป็นพรรคใหญ่ก็มิอาจเรียกได้ว่าเป็นพรรคที่ยิ่งใหญ่ได้ พรรคใหญ่ (Big Party) ไม่เท่ากับ พรรคที่ยิ่งใหญ่ (Great Party) (175) “The political parties that I style great are those which cling to principles rather than to their consequences; to general and not special cases; to ideas and not to men. These parties are usually distinguished by nobler features, more generous passions, more genuine convictions, and a more bold and open conduct than the others. In them private interest, which always plays the chief part in political passions, is more studiously veiled under the pretext of public goods; and it may even be sometimes concealed from the eyes of the very persons whom it excite and impels.” “พรรคการเมืองที่ผมเรียกว่ายิ่งใหญ่นั้นเป็นพรรคที่ยึดหลักการมากว่าผลลัพธ์ ทำเรื่องที่กว้างมากว่าเรื่องพิเศษเรื่องใดโดยเฉพาะ ยึดอุดมการณ์มากกว่าตัวบุคคล พรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ดูได้ชัดเจนจากคุณลักษณะเด่นที่ทรงเกียรติสูงค่า เปี่ยมล้นไปด้วยพลัง อารมณ์ที่ใฝ่หาความยิ่งใหญ่ มุ่งมั่น หนักแน่น บริสุทธิ์ใจยิ่งกว่า จะทำกิจการอันใดก็เด็ดเดี่ยว เด็ดขาด โปร่งใสเปิดเผยยิ่งกว่า ผลประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะของพรรคซึ่งโดยปรกติมักจะใช้เป็นเครื่องมือปลุกอารมณ์ทางการเมืองในหมู่สมาชิกพรรคนั้น สำหรับพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ ผลประโยชน์ของพรรคจะถูกดันไปอยู่ข้างหลังประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของชาติ บางที่ผลประโยชน์ส่วนตัวก็ถูกบดบังหายไปจนสมาชิกพรรคและประชาชนที่พรรคต้องการความสนับสนุนมองหาผลประโยชน์เฉพาะส่วนตนเหล่านั้นแทบไม่พบเลย” นี่คือลักษณะของ Great Party พรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งครั้งหนึ่งพรรค Federalist Party เคยมีอย่างสมบูรณ์หลังเอกราช (175) “Minor parties, on the other hand, are generally deficient in political good faith. As they are not sustained or dignified by lofty purposes, they ostensibly display the selfishness of their character in their actions. They glow with factitious zeal; their language is vehement, but their conduct is timid and irresolute. The means which they employ are as wretched as the end at which they aim.” “พรรคการเมืองย่อยหรือพรรคไม่ยิ่งใหญ่ จะขาดคุณสมบัติว่าด้วยศรัทธาทางการเมือง พรรคเล็กไม่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่จะมาค้ำจุนเกียรติภูมิของพรรคให้ยั่งยืน พรรคเล็กจะแสดงความเห็นแก่ตัว อวดโอ่ด้วยรูปโฉมภายนอกกับถ้อยคำสำนวนภาษาที่ปรุงแต่งจนหลงใหล แต่ถึงเวลาทำจริงๆ ก็อ่อนยวบ ไร้แก่นสาร วิธีทำงานของพรรคเล็กน่าเวทนา พอๆกับเป้าหมายที่จะไปให้ถึง” พรรค Federalist Party จึงยิ่งใหญ่ในยุคแรกหลังเอกราช เพราะมีพลังรวมรัฐต่างๆสู้จนได้รับเอกราชเป็นประเทศเดียวกันได้ แต่การลดอำนาจของประชาชน เพิ่มอำนาจให้รัฐบาลกลางของสหรัฐฯ โดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ ทำให้พรรค Federalist เสื่อมลง ส่วนพรรค Republican ก็ยึดหลักการเพิ่มอำนาจให้รัฐ คือส่วนแยกย่อยของสาธารณรัฐ หมายถึงเพิ่มอำนาจให้พลเมืองมากขึ้น พรรค Republican ซึ่งแปลว่าพรรคสาธารณรัฐ จึงขึ้นมาเป็นพรรคใหญ่ในระดับชาติแทน เพราะเหตุว่าพรรค Republican นั้นให้ประชาธิปไตยพื้นฐานมากกว่า พรรคนี้จึงเรียกชื่อต่อมาว่าพรรค Democrat-Republican Party (พรรคประชาธิปไตยสาธารณรัฐ) แม้จะเป็นพรรคใหญ่ พรรค Republican ก็ไม่ใช่พรรคที่ยิ่งใหญ่ ตามคำนิยามของ Alexis de Tocqueville (177) “Great political parties, then, are not to be met with in the United States at the present time.” “พรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่หาไม่เจอแล้วในสหรัฐอเมริกาเวลานั้น” มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่เป็นภัยข่มขู่อนาคตความสามัคคีเป็นสหรัฐเดียวกัน แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดข่มขู่ความเป็นประชาธิปไตยหรือระบบสังคมการเมืองของสหรัฐ หากจะมีการคิดแยกรัฐแยกประเทศก็ด้วยเหตุผลของผลประโยชน์ทางวัตถุ มิใช่อุดมการณ์ทางระบบการปกครองหรือปรัชญาการเมือง รัฐภาคเหนือซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม ต้องการระบบเศรษฐกิจแบบจำกัดกีดกันหรือผูกขาด ส่วนรัฐเกษตรกรรมทางใต้ต้องการเสรีภาพทางการค้า พรรคการเมืองที่คิดแตกต่างเช่นนี้ย่อมมิใช่พรรคที่ยิ่งใหญ่ ในที่สุดสงครามกลางเมือง เหนือ กับ ใต้ก็เกิดขึ้นในอเมริกา 30 ปี หลังการเดินทางมาอเมริกาของ Alexis de Tocqueville ทันทีที่เดินทางไปถึงอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1831 Alexis de Tocqueville ก็ได้อ่านบทความนี้เป็นบทความแรกในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ Vincenne’s Gazette (183) “In all this affairs, the language of Jackson [the President] has been that of a heartless despot, solely occupied with the preservation of his own authority. Ambition is his crime, and it will be his punishment, too: intrigue is his native element, and intrigue will confound his tricks, and deprive him of his power. He governs by means of corruption, and his immoral practices will redound to his shame and confusion. His conduct in the political arena has been that of a shameless and lawless gamester. He succeeded at the time; but the hour of retribution approaches, and he will be obliged to disgorge his winnings, to throw aside his false dice, and to end his day in some retirement, where he may curse his madness at his leisure; for repentance is a virtue with which his heart is likely to remain forever unacquainted.” [Vincenne’s Gazette] “ในสารพัดกิจการบ้านเมืองที่เกิดขึ้นขณะนี้ ประธานาธิบดี Andrew Jackson จะแสดงกิริยาวาเสมือนเป็นจอมเผด็จการไร้หัวใจ มุ่งแต่จะรักษาอำนาจของตัวเองเท่านั้น ความทะเยอทะยานส่วนตัวคืออาชญากรรมที่ท่านก่อขึ้น และมันก็จะเป็นตัวการลงโทษตัวท่านเองในที่สุด พฤติกรรมหลอกลวงลับล่อเป็นพื้นฐานนิสัยประจำตัวมาแต่ดั้งเดิมของท่านประธานาธิบดี แล้วมันก็จะทำให้กลอุบายของท่านสับสนเอง มันจะทำให้ท่านสิ้นอำนาจไปในบั้นปลาย ประธานาธิบดี Jackson ปกครองประเทศด้วยวิธีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง พฤติกรรมอันปราศจากศีลธรรมของท่านนี่แหละจะส่งผลให้ท่านต้องอับอายขายหน้าและว้าวุ่น พฤติการณ์ทางการเมืองของท่านมีแต่เรื่องไร้ยางอาย ไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองอย่างไม่สนใจกฎหมายบ้านเมือง ตอนนี้อาจดูว่าท่านประสพความสำเร็จ แต่วันเวลาที่ท่านจะถูกชตากรรมลงโทษใกล้จะมาถึงแล้ว ถึงวันนั้นท่านประธานาธิบดีก็จะต้องถูกบีบเค้นให้คายคืนชัยชนะที่ท่านเคยกลืนกินเข้าไปก่อนหน้านี้ ท่านจะต้องถูกบังคับให้ทิ้งลูกเต๋าปลอมที่ท่านเอามาเล่น แล้วปลดเกษียนตัวเองไปในวาระสุดท้าย ท่านจะได้ไปนอนด่าความบ้าคลั่งของตัวเองตามใจชอบ เพราะการสำนึกบาปนั้นเป็นคุณธรรมที่หัวใจของท่านไม่เคยคุ้นเคย” นับว่าเป็นถ้อยคำวิจารณ์ที่รุนแรง หยาบกร้าน และหยาบคาย เป็นภาษาของหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อมวลชนหลักสื่อเดียวในอเมริกาเมื่อสองร้อยปีที่แล้ว Alexis de Tocqueville ได้สัมผัสภาษาที่รุนแรงในหนังสือพิมพ์อเมริกันสมัยนั้นอย่างดาษดื่นจนเสมือนเป็นสภาวะปรกติธรรมดา ทำไมหนังสือพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาจึงรุนแรงเช่นนี้? มองจากสังคมฝรั่งเศส de Tocqueville วิเคราะห์ว่า การใช้ภาษารุนแรงของหนังสือพิมพ์เกิดจากสภาวะสังคมที่ไม่มั่นคง การเมืองที่เต็มไปด้วยอารมณ์ และพลเมืองมีความอึดอัดคับข้องใจ และเมื่อสังคมคลี่คลายความตึงเครียดลงได้ระดับหนึ่งแล้ว สื่อมวลชนก็จะละเลิกการใช้ภาษาที่รุนแรงลงไปเอง แต่ถ้าจะมองจากมุมมองส่วนตัว Alexis de Tocqueville กลับเห็นแตกต่างไปว่า หนังสือพิมพ์นั้นยิ่งใหญ่เหนือสังคมและประเทศชาติเสียจนเคยตัว การใช้ภาษาที่รุนแรงจึงเป็นนิสัยปรกติโดยธรรมชาติของหนังสือพิมพ์ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสภาวะสังคมที่คลี่คลายลงไป de Tocqueville บอกว่าความเห็นของเขายืนยันได้มั่นเหมาะเมื่อมาเห็นพฤติกรรมการใช้ภาษาที่รุนแรงในหนังสือพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกา ผู้อ่าน Democracy in America ของ Alexis de Tocqueville มักจะวิจารณ์ว่า de Tocqueville มีมาตรฐานทางปรัชญาการเมืองส่วนตัว กับมุมมองแบบฝรั่งเศสติดตัวมาพร้อมจะวิพากษ์สังคมอเมริกันโดยไม่ปรับเปลี่ยน แต่ de Tocqueville ก็มิได้ปิดบังซ่อนเร้นแนวคิดที่เป็นตัวของตัวเอง: (181) ว่าด้วยเรื่องเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ Alexis de Tocqueville ประกาศจุดยืนชัดเจนว่า (181) “I confess that I do not entertain that firm and complete attachment to liberty of the press which is wont to be excited by things that are supremely good in their very nature. I approve of it from the consideration more of the evils it prevents than of the advantages it ensures.” “ผมต้องสารภาพก่อนว่าผมไม่เชื่อเลยว่าหนังสือพิมพ์ต้องการเสรีภาพอย่างบริบูรณ์เพราะหนังสือพิมพ์จะได้ทำคุณงามความดีโดยธรรมชาติของการเป็นหนังสือพิมพ์เอง ที่ผมเห็นและยอมรับความดีงามของหนังสือพิมพ์ก็เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ช่วยกีดกันและกำจัดความชั่วร้ายในสังคม มากกว่าการที่หนังสือพิมพ์จะมาสร้างประโยชน์อื่นใดให้สังคมได้ดีขึ้น” ที่อเมริกาสมัยนั้น Alexis de Tocqueville พบว่าหนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมากอย่างไร้ขอบเขตจำกัด ใครจะเริ่มกิจการหนังสือพิมพ์เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ก็ได้ ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องจดทะเบียน ไม่มีอะไรจะง่ายไปกว่าทำหนังสือพิมพ์ มีคนอ่านไม่กี่คน พอคุ้มค่าพิมพ์ก็เริ่มหนังสือพิมพ์ได้แล้ว ในอเมริกา หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจึงมีมากมายทุกชุมชน ส่วนหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่จะส่งอิทธิพลไปทั่วสหรัฐก็ไม่มี เสรีภาพที่มีเต็มที่กว้างขวางจึงกลายเป็นจุดอ่อนของหนังสือพิมพ์ เนื่องจากอำนาจของหนังสือพิมพ์จากส่วนกลางหรือเมืองใหญ่ไม่มี ข้อคิดบทความต่อให้วิพากษ์รุนแรงเช่นไร ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเห็นสาธารณะ เพราะความเห็นสาธารณะแยกย่อยไปตามชุมชนเมืองเล็กทั่วประเทศ หนังสือพิมพ์ในอเมริกาจึงไม่มีอิทธิพลเท่าใดนักต่อการหล่อหลอมความเห็นสาธารณะหรือจะเปลี่ยนแปลงสังคม นอกจากนั้นชีวิตและกิจกรรมทางการเมืองของชาวอเมริกันที่ตื่นตัวอยู่เสมอด้วยอุดมการณ์ ก็ทำให้ยากยิ่งที่หนังสือพิมพ์จะปลุกเร้าด้วยสำนวนภาษาที่ก้าวร้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันเต็มไปด้วยเนื้อที่โฆษณาสิ้นค้าถึง 3/4 ที่เหลือก็เอาไว้ลงข่าว บทความทางการเมืองบ้าง เรื่องสัพเพเหระอีกหลากหลาย บทบาทของหนังสือพิมพ์ในการนำสังคมจึงไม่มากอย่างที่เห็นในฝรั่งเศส De Tocqueville บอกว่าหนังสือพิมพ์ในอเมริกา (184) “America is perhaps, at this moment, the country of the whole world that contains the fewest germs of revolution.” “อเมริกาน่าจะเป็นประเทศเดียวในโลกเวลานั้นที่มีเชื้อแห่งการปฏิวัติน้อยที่สุด” หนังสือพิมพ์ก็มีส่วนทำลายเชื้อปฏิวัติไม่น้อย (184) “The press…constitutes a singular power, so strangely composed of mingled good and evil that liberty could not live without it. And public order can hardly be maintained against it.” “หนังสือพิมพ์...เป็นพลังอำนาจเอกเทศที่มีความแปลกที่ว่ารวมความดีงามและความชั่วร้ายไว้ในตัวเองในเวลาเดียวกัน ซึ่งเสรีภาพจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีทั้งความดีความชั่วของสื่อมวลชน พร้อมกันนั้นความสงบเรียบร้อยของสังคมจะมอบให้อยู่คู่กับหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน” เสรีภาพของหนังสือพิมพ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการประกันเสรีภาพและความมั่นคงของพลเมือง (181) “The influence of the liberty of the press does not affect political opinions alone, but extends to all the opinions of men and modifies customs as well as laws.” “และหากหนังสือพิมพ์มีเสรีภาพเข้มแข็ง ไม่เพียงแต่จะทำให้หนังสือมีอำนาจชักนำความเห็นทางการเมืองได้เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อความเห็นของพลเมืองทั้งหลายโดยทั่วกัน ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงกฎหมายได้” แต่หนังสือพิมพ์ในอเมริกาอ่อนแอในเชิงนำทางสังคม เพราะอำนาจหนังสือพิมพ์ไม่รวมที่ศูนย์กลางแห่งเดียว แต่กระจัดกระจายไปทั่วสหรัฐ ยิ่งกว่านั้น พลเมืองอเมริกันสมัยนั้นเข้มแข็งเป็นอิสรเสรีมีการศึกษาเท่าๆกับหนังสือพิมพ์ ประชาธิปไตยในอเมริกานั้นเจริญยั่งยืนด้วยความคิดและอุดมการณ์ มิใช่เพราะบุคคล ผู้เป็นผู้นำ ซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนหน้ากันเข้ามาสู่เวทีสาธารณะ (188) “When once the Americans have taken up an idea, whether it be well or ill founded, nothing is more is more difficult than to eradicate it from their minds.” “เมื่อชาวอเมริกันยึดอุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ว่ามันจะดีหรือจะเลวอย่างไร ก็จะไม่มีอะไรยากยิ่งไปกว่าการทำให้พวกเขาเปลี่ยนอุดมการณ์” หนังสือพิมพ์ในอเมริกาเมื่อ 200 ปีที่แล้วเปลี่ยนความคิดสังคมได้ไม่มาก คนอเมริกันต้องการข่าวสารและข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มากกว่าความคิดเห็น สมาคมทางการเมือง: (191) “In no country in the world has the principle of association been more successfully used or applied to a greater multitude of objects than in America.” “ไม่มีประเทศไหนในโลกที่หลักการรวมตัวกันของพลเมืองเป็นสมาคมจะทำกันได้เป็นผลสำเร็จเท่ากับในอเมริกา” Alexis de Tocqueville กล่าว เป็นประโยคแรกในบทที่ 12 ของภาคที่หนึ่งของหนังสือชื่อ Democracy in America ที่พิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1835 สอดคล้องกับพัฒนาการประชาธิปไตยในโลก 170 ปีหลัง Democracy in America ที่ยืนยันมั่นคงว่า ประชาธิปไตยจะเข้มแข็งเพราะพลเมืองเข้มแข็ง และชาว Anglo-American เข้มแข็งก็เพราะการรวมตัวกันเป็นสมาคมของพลเมือง นอกเหนือจากสมาคมที่ถาวรยั่งยืนจัดตั้งโดยอำนาจกฎหมาย คือ: ชุมชนหมู่บ้าน ที่เรียกว่า Townships ชุมชนเมืองใหญ่ ที่เรียกว่า Cities และ เขตชุมชนกลุ่มเมืองที่เรียกว่า Counties แล้ว การรวมกลุ่มที่สำคัญสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน คือการก่อตั้งสมาคมประชาชนพลเมืองในรูปแบบต่างๆมากมาย Alexis de Tocqueville ย้อนกลับไปดูสังคมอเมริกันแล้วพบว่า (191) “The citizen of the United States is taught from infancy to rely upon his own exertions in order to resist the evils and the difficulties of life; he looks upon the social authority with an eye of mistrust and anxiety, and he claims its assistance only when he is unable to de without it. This habit may be traced even in the schools, where the children in their games are wont to submit to rules which they have themselves established, and to punish misdemeanors which they have themselves defined” “พลเมืองของสหรัฐอเมริกาได้รับการศึกษาอบรมมาตั้งแต่เป็นเด็กให้พึ่งตนเอง ต่อสู้กับความชั่วร้ายและความยากลำบากในชีวิตด้วยตัวของตัวเอง คนอเมริกันจะมองเจ้าหน้าที่บ้านเมืองด้วยสายตาที่พะวงสงสัยและไม่ไว้วางใจ จะพึ่งเจ้าหน้าที่รัฐก็ต่อเมือจำเป็นจริงๆเท่านั้น นิสัยเช่นนี้เริ่มฝึกฝนกันมาตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน โดยการฝึกเล่นเกมที่เด็กๆปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ออกกันเอง ใครทำผิดอย่างไรก็ต้องได้รับโทษตามระเบียบที่ทุกคนร่วมกันสร้างนั้น” แล้วสิ่งที่สั่งสมมาในวัยเด็กก็กลายมาเป็นวิถีชีวิตของสังคมในวัยผู้ใหญ่ มีการก่อตั้งสมาคมเพื่อทำให้ชีวิตในสังคมของทุกคนดีขึ้นอย่างมากมายหลายหลาก เช่นเพื่อ Public Safety ความปลอดภัยสาธารณะ Commerce ธุรกิจการค้า Industry การอุตสาหกรรม Morality ศีลธรรม และ Religion ศาสนา ในทางการเมือง การก่อตั้งสมาคมการเมืองของชาวอเมริกัน ทุกคนถือเป็นสิทธิในการรวมกลุ่มผู้ที่มีอุดมการณ์คล้ายกันแล้วเผยแพร่ต่อไปให้กว้างขวาง การรวมกลุ่มเป็นสมาคมทางการเมืองทำให้พลเมืองสามารถผลักดันแนวคิดและนโยบายได้อย่างเป็นเอกภาพ การตั้งสมาคม ย่อมต้องมีการประชุมสมาชิก พลังของสมาชิกและสมาคมอยู่ที่การประชุม คนจำนวนมากมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถกเถียงปัญหากัน ได้ทำความรู้จักกัน กลายเป็นพลังความคิดและกิจกรรมทางการเมืองที่ Alexis de Tocqueville บอกว่า (192) “Opinions are maintained with warmth and energy that written language can never attain” “ความเห็นในที่ประชุมจะเปี่ยมไปด้วยพลังที่อบอุ่น ซึ่งภาษาเขียนแบบใดจะเรียบเรียงให้งดงามเพียงไรก็ไม่มีทางเทียบได้” (192) นอกจากนั้น การประชุมยังสามารถเลือกตัวแทนเข้าสู่เวทีทางการเมืองได้ สมาคมที่ทำกิจกรรมทางการเมืองก็คือที่มาของการเกิดพรรคการเมืองในยุคเริ่มแรกนั่นเอง สมาคมทางการเมืองเปรียบได้กับการเป็นรัฐอยู่ในรัฐ เป็นประเทศอยู่กลางประเทศ ในอเมริกา เสรีภาพในการก่อตั้งสมาคมทางการเมืองมีอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด สร้างอำนาจทางการเมืองให้กับพลเมืองอย่างน่าทึ่ง แก้ปัญหาขัดแย้งในหมู่พลเมืองได้อย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน ในปี 1831 ครั้งที่มีข้อพิพาทเรื่องการค้าเสรี ระบบภาษีอากรทำให้ชาวภาคเหนือร่ำรวยแต่ชาวใต้ยากแค้นเสียเปรียบ คนสองภาคตกลงส่งตัวแทนไปประชุมร่วมกันมากกว่า 200 คน ที่ Philadelphia รัฐ Pennsylvania ประชุมร่วมกัน ถกเถียงปัญหากันราวกับว่าเป็นสภานิติบัญญัติ ทั้งๆที่เป็นสมาคมของพลเมือง การประชุมเปิดกว้าง ถ่ายทอดผลการประชุมผ่านสื่อสาธารณะตลอดเวลา หลังจากผ่านไป 10 วัน ที่ประชุมร่างแถลงการณ์ต่อประชาชนชาวอเมริกันทั้งประเทศว่า
Alexis de Tocqueville สรุปว่า: (195) “There are no countries in which associations are more needed to prevent the despotism of faction or the arbitrary power of a prince than those which are democratically constituted… In countries where such associations do not exist…I can see no permanent protection against the most galling tyranny; and a great people may be oppressed with impunity by a small faction or by a single individual.” “ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย จำต้องมีการรวมตัวกันของสมาคมของประชาชนเพื่อป้องกันอำนาจเผด็จการของผู้ปกครองที่มีเพียงไม่กี่คน ในประเทศที่ไม่มีสมาคมทางการเมือง...ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีมาตรการอันใดเป็นการถาวรที่จะช่วยปกป้องประชาชนจากผู้ทรงอำนาจ ดั่งนี้แล้วพลเมืองผู้ยิ่งใหญ่ก็จะถูกกดขี่ข่มเหงโดยคนไม่กี่คน หรือบางทีคนคนเดียวก็กดขี่เอาเปรียบประชาชนได้.” |
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|