The King of Thailand in World Focus
โดย Foreign Correspondents Club of Thailand สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย หรือ FCCT (ปัจจุบันเรียกว่า “สมาคม” แทน “สโมสร”) จัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.2531 | ค.ศ.1988 ในพระบรมราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ หรือ 60 พรรษา ตั้งชื่อหนังสือว่า “The King of Thailand in World Focus” โดยรวบรวมข่าวและบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชิีนาถ ที่รายงานโดยนักข่าวและสำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 | ค.ศ.1927 ปีที่ทรงประสูติ จน ถึงปี 2530|1987 ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งแรก ต่อมาในปี 2550|2007 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา FCCT จึงได้จัดการพิมพ์ครั้งที่สอง ใช้ชื่อเดียวกัน แต่กำหนดช่วงเวลาของข่าว บทความ และ ภาพ ระหว่างปี 2489|1946 ถึงปี 2549|2006 ปี ซึ่งตรงกับปีของการฉลอง 60 ปีของการครองสิริราชสมบัติ หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่สองนี้เป็นฉบับที่มีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไป ณ เวลานี้ ส่วนฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งนั้นไม่มีจำหน่ายแล้ว และบทความนี้อ้างอิงจากฉบับการพิมพ์ครั้งที่หนึ่งเท่านั้น เว้นแต่ที่จะระบุว่าอ้างมาจากฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในบางตอนเท่านั้น |
The Queen of Thailand in World Focus: "The almond-eye Queen" August 12, 2010 at 7:00am “The Queen of Thailand in World Focus” King of Rock and Roll and the King and Queen of Thailand [Readers' Digest, December 1984] * สรุป และ เรียบเรียง จาก Foreign Correspondents Club of Thailand, “The King of Thailand in World Focus”, FCCT, Bangkok, 1988, 189 หน้า, ISBN 974-86773- 3-8] โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล * [สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย หรือ FCCT (ปัจจุบันเรียกว่า “สมาคม” แทน “สโมสร”) จัดพิมพ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.2531 | ค.ศ.1988 ในพระบรมราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ หรือ 60 พรรษา ตั้งชื่อหนังสือว่า “The King of Thailand in World Focus” โดยรวบรวมข่าวและบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชิีนาถ ที่รายงานโดยนักข่าวและสำนักข่าวต่างประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 | ค.ศ.1927 ปีที่ทรงประสูติ จน ถึงปี 2530|1987 ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งแรก ต่อมาในปี 2550|2007 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา FCCT จึงได้จัดการพิมพ์ครั้งที่สอง ใช้ชื่อเดียวกัน แต่กำหนดช่วงเวลาของข่าว บทความ และ ภาพ ระหว่างปี 2489|1946 ถึงปี 2549|2006 ปี ซึ่งตรงกับปีของการฉลอง 60 ปีของการครองสิริราชสมบัติ หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งที่สองนี้เป็นฉบับที่มีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไป ณ เวลานี้ ส่วนฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งนั้นไม่มีจำหน่ายแล้ว และบทความนี้อ้างอิงจากฉบับการพิมพ์ครั้งที่หนึ่งเท่านั้น] หนังสือ “The King of Thailand in World Focus” โดย Foreign Correspondents Club of Thailand (สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย) เล่มนี้ รวบรวมข่าวและบทความในสื่อมวลชนต่างประเทศ ทั่วโลก ใน 60 ปีแรกของพระชนชีพของพระองค์ โดยบรรดาผู้สื่อข่าวชาวต่างประเทศที่มาทำงานข่าวในประเทศไทยในครั้งนั้น คิดกันว่าจากการที่ได้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทย เมื่อวาระครบ 60 พรรษาในปี 2531 ก็สมควรที่จะได้ทำงานชิ้นสำคัญที่พวกเขามีความชำนาญสูงสุดถวายเพื่อพระองค์ นั่นก็คือการจัดทำหนังสือรวบรวมข่าว บทความ และภาพถ่าย เกี่ยวกับพระองค์ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศทั้งหลาย ซึ่งในที่สุดก็คัดเลือกมาพิมพ์ 80 เรื่อง จากสื่อมวลชนทั่วโลก 38 องค์กร มีภาพถ่าย 194 ภาพ จาก 52 แหล่งภาพข่าว ได้หนังสือหนา 189 หน้า มีทั้งเรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องเจริญรุ่งเรือง และเรื่องวิกฤติในแผ่นดินของพระองค์ผสมผสานคละเคล้ากันไป กับการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ เสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ประเทศไทย ภายใต้ร่มพระบารมีของ “พระมหากษัตริย์ผู้มิทรงแย้มพระสรวล” ดังที่สำนักข่าว AP บรรยายภาพเหตุการณ์ครั้งเสด็จนิวัติพระนครในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ผ่านสู่ยุคที่ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อย ในสิบปีต่อมา จนถึงวันที่ชาวไทยทั้งประเทศยิ้มแย้มร่าเริงร่วมกับพระองค์ เมื่อถึงวันเฉลิมฉลองปีที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย สำนักข่าว AP โดย Milton Marmor รายงานข่าววันที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเสด็จกลับจากยุโรป วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ว่า : [น.37] “An unsmiling young king returned from Europe today to his picturesque capital that still was politically jittery over Thursday’s bloodless governmental coup. ….. Clad in naval uniform, the bespectacled king was not seen to smile once during the arrival ceremonies at the royal landing, the requisite visit to the temples and the two-and-a-half-mile drive past more than 100,000 adoring subjects.” “พระมหากษัตริย์หนุ่มผู้มิได้แม้แต่จะแย้มพระสรวล หรือยิ้มเลย เสด็จกลับจากยุโรปมายังนครหลวงอันสวยงามของพระองค์ในวันนี้ อันเป็นวันที่การเมืองยังหวั่นไหวหลังการการยึดอำนาจแบบไม่สูญเสียเลือดเนื้อ...ฉลองพระองค์ในชุดนายทหารเรือ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระแว่น มิได้มีใครเห็นพระองค์ทรงแย้มพระสรวลเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดพิธี ตั้งแต่เสด็จถึงท่าเทียบเรือ เสด็จประกอบพระราชพิธีที่พระอารามหลวง และตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินยาว สองไมล์ครึ่ง ท่ามกลางพสกนิกรที่ยืนเรียงรายถวายความความจงรักภักดีกว่า 1 แสนคน” ราชอาณาจักรสยาม หรือ ประเทศไทยของพระองค์ เริ่มจากต้นรัชสมัยที่พระองค์ไม่ทรงแย้ม พระสรวลหรือไม่ทรงยิ้มเลยในตอนเริ่มแรกนั้น พระองค์ทรงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ The Observer ของอังกฤษในอีก 9 ปีต่อมาว่า [น.40] “The queen smiles for me.” “สมเด็จพระราชินีก็ทรงยิ้มแย้มพระสรวลแทนข้าพเจ้าแล้ว” นิตยสาร TIME วันที่ 27 พฤษภาคม 1966 พาดหัวข่าวว่า "พระมหากษัตริย์ไทยทรงต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เป็นผู้พิทักษ์รักษาราชอาณาจักร และเป็นพลังแห่งแผ่นดิน ในขณะที่ทุกแห่งในแหลมอินโดจีนเต็มไปด้วยความระส่ำระสายไม่มั่นคงทางการเมือง ด้วยการรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์" : [น.45] “Everywhere on the great peninsular, militant communism, poverty, misery, illiteracy, misrule and a foundering sense of neighborhood are the grim order of the Asian day.” “With one important exception: the lush and smiling realm of their Majesties King Bhumibol and Queen Sirikit, which spreads like a green meadow of stability, serenity and strength from Burma down to the Malaysian Peninsula – the geopolitical heart of South East Asia. Once fabled Siam, rich in rice, elephants, teak and legend, Thailand (literally, Land of the Free) today crackles with a prosperity, a pride of purpose, and a commitment to the fight for freedom…” “ทุกหนแห่งบนคาบสมุทรที่ยิ่งใหญ่ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความยากจน ทุกข์ภัย การขาดการศึกษา การปกครองที่ฉ้อฉล ความรู้สึกที่ขาดมิตรภาพแห่งความเป็นประเทศเพื่อบ้าน ล้วนเป็นสภาวะที่เห็นทั่วไปในเอเชีย” “แต่มีที่ยกเว้นที่สำคัญแห่งหนึ่ง คือราชอาณาจักรอันยิ้มแย้มแจ่มจรัสของพระมหากษัตริย์ภูมิพล และพระราชินีสิริกิติ์ ซึ่งทอดดินแดนเขียวขจีดุจทุ่งหญ้าชุ่มชื่น กว้างไพศาล จากพรมแดนพม่า ลงถึงคาบสมุทร Malaysia มั่นคง สงบงดงาม เข้มแข็ง เป็นหัวใจแห่งภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สยาม ที่ครั้งหนึ่งเคยรู้จักกันเป็นดินแดนในเทพนิยาย อุดมไปด้วย ข้าว ช้าง ไม้สัก และตำนาน มาบัดนี้เรียกว่า Thailand หมายความตามตัวอักษรว่า ดินแดนแห่งผู้เป็นเสรี ปัจจุบันนี้ดารดาษไปด้วยความมั่งคั่ง มีความภาคภูมิใจในเป้าหมายของแผ่นดิน มุ่งมั่นในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ...” [น. 51] นิตยสาร LOOK ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน ปีถัดมา รายงานว่า : “Thailand’s King, Phumibol Aduldet, is a sun over his country, a presence that shines through the bloodied dust of the Vietnam war, the hazes of the 185 – year – old Chakri dynasty and the bitter, scudding clouds of nationalism and struggle that overshadow Southeast Asia.” “พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทยทรงเป็นประดุจดวงสุริยะส่องสว่างเจิดจ้าเหนือประเทศของพระองค์ ทรงเป็นปรากฏการที่ส่องทะลุผ่านฝุ่นละอองอันคละคลุ้งของสงครามเวียดนาม ม่านหมอก 185 ปีของราชวงศ์จักรี เมฆที่พวยพุ่งสู่ลัทธิชาตินิยม และการต่อสู้ทั่วทุกแห่งหนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เมื่อทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี สำนักข่าว AP รายงานเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1971 ว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระชนมายุ 44 พรรษา และสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ของราชอาณาจักรไทยทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก พระสกนิกรของพระองค์ ราว 5 แสนคนเรียงรายเนืองแน่นตลอดแนวถนนราชดำเนิน ชื่นชมพระบารมี และชมขบวนพาเหรดอันเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย [น.57] ในช่วงทศวรรษที่ 1960s คือหลังปีพุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างมากมายกว้างไกล ทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ และ เอเชีย ส่วนการเสด็จพระดำเนินต่างประเทศโดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทุกพระองค์ก็เป็นการเจริญพระราชพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยเช่นกัน ดุจดังเป็นเอกอัครราชทูตส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง [น.57] หนังสือพิมพ์ San Jose Mercury ของรัฐ California สหรัฐอเมริกา ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 รายงานข่าวการเสด็จเยือนโรงงานของบริษัท IBM Computer เรียกชื่อเล่นที่สื่อมวลชนอเมริกันตั้งให้พระองค์ว่า: “The Siamese Cat” หรือ “แมวสยาม” : ‘King Who’s Real Cool “Cat” Visits IBM’ “พระมหากษัตริย์ผู้คือแมวสุดยอดตัวจริงเยี่ยมชมบริษัท IBM” โดยรายงานอย่างชื่นชมว่าพระองค์ทรงสนพระทัยงานของ IBM อย่างแท้จริง กันเอง ไม่มีพิธีการหรือราชองค์รักษ์ ห้อมล้อมปกป้องเหมือนครั้งที่ประธานาธิบดี Khrushchev แห่งสหภาพโซเวียตที่เพิ่งมาเยี่ยมโรงงาน IBM แห่งนี้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พระองค์ทรงแย้มพระสรวล พระอารมณ์ดี กับพนักงาน IBM ตลอด และในระหว่างร่วมเสวยพระกายาหารกลางวันกันพนักงาน 600 คน ที่โรงอาหารกลางของโรงงาน พระราชดำรัสอันสนุกร่าเริงของพระองค์ที่ตอบกลับไปยังนาย Arthur K. Watson ประธานบริษัทการค้าโลก IBM ก็เรียกเสียงหัวร่ออย่างครื้นเครงจากชาว IBM หลังจาก Arthur Watson สดุดีสรรเสริญเทิดทูลพระองค์อย่างงดงามยืดยาว พระองค์ทรงตอบกลับว่า : “I know these remarks must be true. They tell me all the facts put into an IBM computer come out true the same way.” “ข้าพเจ้ารู้ว่าคำชื่นชมทั้งหมดของท่านประธานที่กล่าวยกย่องข้าพเจ้านั้นต้องเป็นความจริงแน่นอน เพราะคนที่ IBM เขาบอกข้าพเจ้าว่าข้อความจริงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM แล้วผลลัพธ์ที่กลับเป็นข้อมูลออกมาก็เป็นความจริงทั้งหมดแบบเดียวกัน” [น.59] นิตยสาร TIME ซึ่งสนใจรายงานเรื่องราวของพระองค์มาแต่แรกเริ่ม คราวนี้ก็เสนอข่าวเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาโดย ทรงพบกับประธานาธิบดี Eisenhower [น.58] ทรงมีพระราชดำรัสต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาอเมริกัน สมาชิกรัฐสภาถึงกับทึ่งในพระราชดำรัสที่เฉียบคมของพระองค์ที่ทรงกล่าวขอบคุณและซาบซึ้งในความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา แต่ก็ทรงย้ำว่า [น.59] “We are grateful for American aid. But we intend one day to do without it” “เราขอบคุณในความช่วยเหลือจากอเมริกา แต่เราตั้งใจไว้ว่าสักวันหนึ่งเราจะไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากท่าน” [น.59-60] ที่ New York นิตยสาร TIME รายงานเรื่องการทรงดนตรี Jazz ร่วมกับ Benny Goodman นาน 90 นาที TIME ชื่นชมพระบารมีของพระองค์ โดยเฉพาะเรื่องดนตรี และการมีพระมเหสีเพียงพระองค์เดียว ต่างไปจากกษัตริย์ส่วนใหญ่ในโลกที่มักจะมีพระราชินี มีพระมเหสี และนางสนมกำนัลมากมาย สมเด็จพระราชินีทรงได้รับการอธิบายว่าทรงเป็น “Almond-eyed Queen Sirikit” “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ผู้มีดวงพระเนตรเรียวงามดุลผล Almond" และทรงพระสรีระดุจเครื่องดนตรี Mandolin ของ Italy พระราชินีพระองค์นี้ทรงกล่าวถึงพระสวามีด้วยพระอารมณ์ขันกับ TIME ว่า : [น.60] “He doesn’t need any more wives. For him, his orchestra is one big concubine” “พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมิทรงจำเป็นต้องมีพระมเหสีมากกว่าหนึ่งองค์เลย เพราะ สำหรับพระองค์แล้ว วง Orchestra ทั้งวงก็เหมือนกับพระมเหสีองค์มหึมาเลย” ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ 5 ธันวาคม 2558 The King Never Smiles พระมหากษัตริย์ผู้มิทรงแย้มพระสรวล หนังสือ “The King of Thailand in World Focus” โดย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย (Foreign Correspondents Club of Thailand) รวบรวมข่าวและบทความในสื่อมวลชนต่างประเทศ ทั่วโลก ใน 60 ปีแรกของพระชนม์ชีพของพระองค์ โดยบรรดาผู้สื่อข่าวชาวต่างประเทศที่มาทำงานข่าวในประเทศไทยในครั้งนั้น คิดกันว่าจากการที่ได้มาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารในแผ่นดินไทย เมื่อวาระครบ 60 พรรษาในปี 2503 ก็สมควรที่จะได้ทำงานชิ้นสำคัญที่พวกเขามีความชำนาญสูงสุดถวายเพื่อพระองค์ นั้นคือการจัดทำหนังสือรวบรวมข่าว บทความ และภาพถ่าย เกี่ยวกับพระองค์ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศทั้งหลาย ซึ่งในที่สุดก็คัดเลือกมาพิมพ์ 80 เรื่อง จากสื่อมวลชนทั่วโลก 38 องค์กร มีภาพถ่าย 194 ภาพ จาก 52 แหล่งภาพข่าว ได้หนังสือหนา 189 หน้า จาก มีเรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องเจริญรุ่งเรือง และเรื่องวิกฤติในแผนดินของพระองค์ผสมผสานคละเคล้ากันไป กับการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ เสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ประเทศไทย ภายใต้ร่มพระบารมีของ (หลังจากนั้นมีการพิมพ์ครั้งที่สองเพิ่มเติมเรื่องและภาพจนถึงปี 2007/๒๕๕๐) เริ่มจากยุคแรกเริ่มของ “พระมหากษัตริย์ผู้มิทรงแย้มพระสรวล” คือคำอธิบายพระบุคลิภาพของพระองค์ที่สำนักข่าว AP บรรยายภาพเหตุการณ์ครั้งเสด็จนิวัติพระนครในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ผ่านสู่ยุคที่ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อย ในสิบปีต่อมา จนถึงวันที่ชาวไทยทั้งประเทศยิ้มแย้มร่าเริงร่วมกับพระองค์ เมื่อถึงวันเฉลิมฉลองปีที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย สำนักข่าว AP โดย Milton Marmor รายงานข่าววันที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเสด็จกลับจากยุโรป วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 (หน้า 43) ว่า: “An unsmiling young king returned from Europe today to his picturesque capital that still was politically jittery over Thursday’s bloodless governmental coup. ….. Clad in naval uniform, the bespectacled king was not seen to smile once during the arrival ceremonies at the royal landing, the requisite visit to the temples and the two-and-a-half-mile drive past more than 100,000 adoring subjects.” “พระมหากษัตริย์หนุ่มผู้มิได้แม้แต่จะแย้มพระสรวลหรือยิ้มเลย เสด็จกลับจากยุโรปมายังนครหลวงอันสวยงามของพระองค์ในวันนี้ อันเป็นวันที่การเมืองยังหวั่นไหวหลังการการยึดอำนาจแบบไม่สูญเสียเลือดเนื้อ...ฉลองพระองค์ในชุดนายทหารเรือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระแว่น มิได้มีใครเห็นพระองค์ทรงแย้มพระสรวลเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดพิธี ตั้งแต่เสด็จถึงท่าเทียบเรือ เสด็จประกอบพระราชพิธีที่พระอารามหลวง และตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินยาว สองไมล์ครึ่ง ท่ามกลางพสกนิกรที่ยืนเรียงรายถวายความความจงรักภักดีกว่า 1 แสนคน” ราชอาณาจักรสยาม หรือ ประเทศไทยของพระองค์ เริ่มจากต้นรัชสมัยที่พระองค์ไม่ทรงแย้มพระสรวลหรือไม่ทรงยิ้มเลยในตอนเริ่มแรกนั้น พระองค์ทรงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ The Observer ของอังกฤษในอีก 9 ปีต่อมาว่า: “The queen smiles for me” “พระราชินีทรงยิ้มแทนให้แล้ว” The Observer ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 1960/๒๕๐๓ (หน้า 49) เขียนว่า: “Hitherto the shy, slight, bespectacled king, now thirty-two years old, has only slowly shown sign of shedding the unsmiling formality which has characterized his public appearances…” “พระมหากษัตริย์พระชนมายุ 32 พรรษา ดูจะทรงสันทัด ท่าทางอายๆ สันทัด ทรงพระแว่น พระองค์นี้เริ่มจะแสดงสัญญาณแห่งการเลิกพระบุคลิกที่ไม่แย้มพระสรวลได้เล็กน้อยแล้ว” อะไรจึงทำให้สื่อมวลชนตะวันตกมองพระการการแย้ม หรือไม่แย้มพระสรวลของพระองค์ เป็นประเด็นเชิงสัญลักษณ์ในการรายงานข่าวจากประเทศไทย หนังสือพิมพ์ The Observer อาจจะแย้มคำตอบให้ชาวไทยได้ลองคิดดูได้เล็กน้อยเมื่อรายงานว่า: “…Thailand has been floundering between the rock of despotic monarchy she abandoned in 1932 and the farther shore of modern democracy.” ช่วงต้นที่ขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระองค์นั้น “ประเทศไทยเหมือนลอยคออยู่กลางทะเล หลังจากทิ้งระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2475 เสมือนทิ้งโขดหินก้อนใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวมาช้านาน ส่วนชายฝั่งแห่งประชาธิปไตยที่พยายามจะว่ายไปหา ก็ยังอยู่อีกแสนไกล” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า สมเกียรติ อ่อนวิมล 5 ธันวาคม 2558 อ้างอิง: 1. Foreign Correspondents Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, FCCT, Bangkok, 1988 (189 หน้า), ISBN 974-86773- 3-8] 2. Foreign Correspondents’ Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, Editions Didier Millet, Singapore, 2007 ( 260 หน้า) |
The King of Thailand in World Focus
|
อ้างอิง:
1. Foreign Correspondents Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, FCCT, Bangkok, 1988 (189 หน้า), ISBN 974-86773- 3-8]
2. Foreign Correspondents’ Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, Editions Didier Millet, Singapore, 2007 ( 260 หน้า)
1. Foreign Correspondents Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, FCCT, Bangkok, 1988 (189 หน้า), ISBN 974-86773- 3-8]
2. Foreign Correspondents’ Club of Thailand, The King of Thailand in World Focus, Editions Didier Millet, Singapore, 2007 ( 260 หน้า)
|