Vertical Divider
THE TROUBLES
1981 IRISH HUNGER STRIKE Bobby Sands Died May 5th, 1981 The revolutionary spirit of freedom https://web.archive.org/web/20080731013648/http://larkspirit.com/hungerstrikes/bios/sands.html [บางส่วนของบทความนี้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ข่าว ‘Republican News’ โดยไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1978 บทความที่ถูกลักลอบออกมาจากเรือนจำนี้เล่าถึงจิตวิญญาณแห่งการเป็นสาธารณรัฐ (ไอร์แลนด์)ในหัวใจของเขาที่นับวันจะเติบโต และเป็นการเล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเขาในเรือนจำ] Bobby Sands เกิดเมื่อปี 1954 ที่เมือง Rathcoole อันเป็นเขตของชุมชนผู้มีความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์อังกฤษ ทางเหนือของเมือง Belfast (เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือ) วันเกิดปีที่ 27 ของเขาตรงกับวันที่ 9 ของการอดอาหารทั้งหมด 66 วัน น้องสาวทั้งสองคนของเขา คนหนึ่งชื่อ Marcella อายุอ่อนกว่าเขาหนึ่งปี ส่วนอีกคนหนึ่งชื่อ Bernadette เกิดเดือนเมษายน ปี 1955 และเดือนพฤศจิกายน ปี 1958 ตามลำดับ พี่น้องทั้งสามใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ที่บ้านย่าน Abbots Cross ในเขต Newtownabbay พื้นที่ส่วนเหนือของ Belfast ครอบครัวมีลูกชายคนรองชื่อ John ซึ่งตอนนี้อายุ 19 พ่อของเด็กๆชื่อ John เช่นกัน แม่ชื่อ Rosaleen ทั้งคู่อายุ 57 ณ เดือน มิถุนายน ปี 1962 ความเป็นจริงในชีวิตชุมชนสลัมที่แบ่งแยกแตกพวกกีดกันกลุ่มคนเห็นได้ชัดตอนที่ Bobby อายุเพียง 10 ขวบ ครอบครัวถูกบังคับข่มขู่ให้ย้ายออกจากพื้นที่ของพวก loyalist ที่นิยมและภักดีต่อสหราชอาณาจักรอังกฤษตั้งแต่ปี 1962 แล้ว Bobby จำได้ว่าแม่มักจะพูดถึงช่วงเวลาที่ชีวิตลำบากทุกข์ยากตอนที่แม่ยังเป็นเด็กอยู่ด้วยซ้ำ ‘แม้ว่าผมจะไม่เข้าใจคำว่า internment มันหมายความว่าอย่างไร และไม่รู้ว่า ที่เรียกว่า ‘the Specials’ นั้นมันคือพวกใคร ผมก็เติบโตมากับความรู้สึกที่ว่าคนพวกนั้นมันเป็นสัญญลักษณ์ของ evils (ปีศาจชั่วร้าย)’ เกี่ยวกับช่วงเวลาอันทุกข์ยากลำเค็ญนี้ Bobby เขียนเล่าด้วยตัวเขาเองว่า “ผมเป็นเพียงลูกชายชนชั้นกรรมกรจากแหล่งสลัมของคนชาตินิยม (สาธารณรัฐไอร์แลนด์) แต่การกดขี่ข่มเหงกันนั้นเองที่ส่งผลให้เกิดจิตวิญญาณนักปฏิวัติผู้ใฝ่หาอิสรภาพ ผมจะไม่มีทางสงบได้ถ้าผมไม่ประสพความสำเร็จในการกู้ชาติ จนกว่า Ireland จะได้เป็น a sovereign, independent socialist republic (ประเทศอธิปไตย เป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเอกราช)” พอ Bobby อายุได้ 16 ปี เขาเริ่มฝึกงานเป็นคนทำรถ coach สมัครเป็นสมาชิกสหภาพคนงานประกอบรถ coach (National Union of Vehicle Builders) และ ATGWU (Amalgamated Transport and General Workers' Union - สหภาพแรงงานรวมการขนส่งและแรงงานทั่วไป) ในบทความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าว ‘An Phoblacht/Republican News’ วันที่ 4 เมษายน 1981 Bobby เล่าว่า: “ตอนแรกเริ่มเข้าทำงานก็รู้สึกกลัวๆอยู่พักหนึ่งแล้วต่อมาก็ปรับตัวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนปลายสัปดาห์ ได้ไปเที่ยวเต้นรำ แต่งตัวดีๆ ได้ไปกับพวกผู้หญิง และมีเงินหลายสตางค์ (ชิลลิงก์/shillings)ได้ใช้ นับเป็นการเปิดโลกใหม่ให้กับตัวผมเลย” พื้นฐานชีวิตของ Bobby ประสบการณ์ และความทะเยอทะยานของเขามิได้แตกต่างไปจากพวกเด็กสลัมคนอื่นๆมากมายนักเลย แล้วก็มาถึงปี 1968 กับหลายเหตุการณ์ที่ถึงกับจะเปลี่ยนชีวิตของของเขาไปเลย Bobby ฝึกงานในโรงงานประกอบรถ coach ไปได้สองปีก็ถูกข่มขู่กดดัน บีบให้ออกจากงาน Bernadette ผู้เป็นน้องสาวเล่าว่า: “เช้าวันหนึ่ง Bobby ก็ไปทำงานตามปรกติ แล้วมีคนกลุ่มหนึ่งทำท่ากำลังทำความสะอาดปืนยืนขวางทางเขา คนหนึ่งพูดกับเขาว่า ‘มึงเห็นปืนกูนี่ไหม? เออถ้ามึงไม่ออกไปจากงานมึงก็เจอปืนนี่แน่’ แล้ว Bobby ยังเจอข้อความบนเศษกระดาษในกล่องอาหารกลางวันของเขา เขียนไล่ให้เขาออกจากงานไป” เดือนมิถุนายน ครอบครัวของเขาถูกข่มขู่ขับไล่ออกจากบ้านบนถนน Doonbeg Drive เมือง Rathcoole ไปอยู่ที่หมู่บ้านจัดสรรสร้างใหม่เอี่ยมชื่อหมู่บ้าน Twinbrook บริเวณพื้นที่ชายขอบของชุมชนชาตินิยม West Belfast น้องสาวชื่อ Bernadette เล่าต่ออีกว่า: “ครอบครัวเราต้องทุกข์ทรมานจากการถูกข่มขู่คุกคามนาน 18 เดือน ก่อนที่เราจะถูกไล่ออกจากพื้นที่ไปอีก พวกเราคุ้นเคยกับเพื่อนชาวนิกาย Protestant เสมอ ส่วน Bobby นั้นเขาคบเพื่อนทั้งที่เป็น Catholics และ Protestants แต่แล้วในที่สุดก็พบว่าเพื่อนๆที่เขาคบมานานสี่ปีนั้นก็คือพวกที่ขับไล่เราออกจากพื้นที่นั่นเอง ” นอกจากจะถูกข่มขู่รังแกให้ออกจากงาน ไล่ให้ย้ายบ้านออกจากพื้นที่แล้ว ตัว Bobby เองยังโดนทำร้ายโดยพวกนิยมอังกฤษ (loyalists) ตอนอายุ 18 ปี Bobby เข้าสมัครร่วมเป็นสมาชิก Republican Movement (ขบวนการสาธารณรัฐ) Bernadette เล่าว่า: ‘....Bobby เพียงแค่อายุถึงวัยที่เริ่มจะคิดและรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นรอบๆตัวเขา เขาพูดทำนองว่า เอาเถอะ นี่แหละที่ผมจะต้องถือเป็นจุดยืน ลูกพี่ลูกน้องสองคนถูกจับส่งไป interned (จำคุก) Bobby คิดว่าเขาจำเป็นที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่งบ้าง’ Bobby เขียนว่า: “ชีวิตของผมตอนนี้มีแต่ไม่ได้หลับไม่ได้นอน ต้องถ่างตาคอยระแวดระวังพวกอังกฤษอยู่ตลอดเวลา พอออกไปปฏิบัติการก็ต้องควบคุมสติอารมณ์ให้ได้ แต่พรรคพวกเราก็ให้กำลังใจสนับสนุนปฏิบัติการของเรา ชาวบ้านไม่เพียงแต่จะเปิดบ้านต้อนรับพวกเรา แต่ชาวบ้านเขายังเปิดใจ แถมยื่นมือมาช่วยเหลือพวกเราอีกต่างหาก ผมเรียนรู้ว่าหากไม่ได้ชาวบ้านช่วยเรา เราก็ไปไหนไม่รอดแน่นอน ผู้รู้ดีว่าผมเป็นหนี้บุญคุณชาวบ้านมากทุกสิ่งอย่าง” เดือนตุลาคม ปี 1972 เขาถูกจับ เจ้าหน้าที่พบปืนพกสี่กระบอกในบ้านที่เขาพักแรมอยู่ แล้วตัวเขาก็โดนข้อหามีอาวุธปืนในครอบครอง เขาถูกจำคุกในกรงขัง (the cages) ที่เรือนจำ Long Kesh นานสามปีในสถานภาพนักโทษการเมือง (political prisoner status) ตลอดเวลาสี่ปีนี้ Bobby อ่านหนังสือมาก สอนตัวเองให้ใช้ภาษา Irish ได้ จนเขาสามารถช่วยสอนภาษา Irish ให้กับพวกนักโทษที่เรียกว่าพวก ‘blanket men’(พวกประท้วงโดยห่มผ้าผืนเดียว)ในอาคาร H-Blocks ของเรือนจำได้ Bobby พ้นโทษ ออกจากเรือนจำในปี 1976 กลับบ้านที่ Twinbrook แล้วกลับไปรายงานตัวกับหน่วยกู้ชาติสาขาท้องถิ่น กลับเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ (กู้ชาติสร้างสาธารณรัฐไอร์แลนด์) ทันที เขาบันทึกว่า: ‘หลายๆอย่างเปลี่ยนแปลงไป หลายๆส่วนของสลัม (ghettos) หายไปเลย แบบไม่ทิ้งร่องรอย ส่วนอื่นๆก็อยู่ระหว่างการกวาดล้างไถทุบทิ้ง สงครามยังคงดำเนินต่อไป แต่ยุทธศาสตร์และเหลี่ยมคูในการสู้รบปรับเปลี่ยนไป รัฐบาลอังกฤษตอนนี้ใช้นโยบาย ‘Ulterise’* สงคราม รวมถึงความพยายามที่จะทำให้กองทัพ IRA (Irish Republican Army) เป็นอาชญากร และความพยายามที่จะทำให้สภาวะสงครามเป็นเรื่องปรกติ’ Bobby กำหนดตัวเองให้ทำงานด้านปัญหาสังคม ที่กระทบชุมชน Twinbrook ที่นี่เขากลายเป็นนักกิจกรรมเพื่อชุมชน ตามคำบอกเล่าของ Bernadette น้องสาว ว่า ‘ตอนที่เขาพ้นโทษออกจากคุกมาครั้งแรกนั้น ชุมชนในพื้นที่เราไม่มีกลุ่มหรือพรรคการเมืองแบบ Green Cross และ Sin Fein เขาเข้าไปร่วมกิจกรรมกับสมาคมผู้อยู่อาศัยในอาคาร (Tenants’ Association) เขาจัดการให้มีบริการแท็กซี่สีดำวิ่งเข้า Twinbrook เพราะบริการรถเมล์ไม่พอเพียง เขาช่วยงานชุมชนจนถึงขนาดชาวบ้านมาเคาะประตูบ้านขอให้เขาไปช่วยทำคันลูกระนาดขวางถนนชลอความเร็วของรถเพื่อความปลอดภัย ป้องกันมิให้เด็กๆที่ข้ามถนนถูกรถชน ถ้ารถวิ่งมาเร็วเกินไป’ ผ่านไปหกเดือน Bobby ก็ถูกจับอีก เนื่องจากมีเหตุระเบิดที่บริษัท Balmoral Furniture Company ที่เมือง Dunmurry ตามมาด้วยการยิงปืนต่อสู้กันจนมีชายบาดเจ็บสองคน Bobby อยู่ในรถกับชายหนุ่มอีกสามคนใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ พวกตำรวจ RUC จับทั้งสี่คนไป พร้อมอาวุธปืน revolver ที่ค้นเจอในรถกระบอกหนึ่ง ทั้งหกคน (สี่คนในรถ รวมกับอีกสองคนที่บาดเจ็บ) ถูกพาตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจเมือง Castlereagh สอบสวนด้วยความรุนแรงอย่างโหด (brutal interrogations) นานหกวัน ตลอดการสอบสวน Bobby ไม่ยอมตอบคำถามใดๆ ยกเว้นบอกชื่อ-นามสกุล อายุ และที่อยู่ ในบทกวี 96 บท (verses) เขียนในปี 1980 ชื่อ ’The Crime of Castlereagh’ (อาชญากรรมที่ Castlereagh) Bobby พรรณนาถึงประสบการณ์ที่ Castlereagh, ความกลัว, และความคิดของเขา ณ เวลานั้น: พวกมันมา มากับหน้าที่เดิม มันไม่เคยหยุด มากันเป็นชุด ‘บอกให้เซ็นชื่อบนเส้นตรง’ พวกมันสั่งอย่างไม่แยแส แล้วมันก็ตีผมจนร่วงกองกับพื้น มันทรมานผมอย่างโหดเหี้ยม มันจับผมโยนไปในอากาศ มันถึงขั้นเลวร้ายบอบช้ำมาก จนเกินจะรักษาเยียวยาอะไรได้แล้ว ครบกำหนดวันจองจำแล้วก็ยังไม่มีใครทำอะไร เว้นแต่จะสวดมนต์ภวนา และรู้ดีว่าเวลาเท่านั้นที่จะเป็นการพิสูจน์ ทุกๆเล่ห์เพทุบายของพวกมันที่ทำกับผมอย่างหนัก แต่ก็ไม่มีใครได้เห็นได้ยิน ไม่มีใครกล้าพูดอะไรเลยที่ Castlereagh พวก ‘ตำรวจ’ เองแหละที่ละเมิดกฎหมาย! เขาถูกควบคุมตัวรอดำเนินคดีนาน 11 เดือน จนถึงเวลาขึ้นศาลเดือนกันยายน 1977 เช่นเดียวกับคราวที่แล้วที่ขึ้นศาล Bobby ไม่ยอมรับอำนาจศาล ผู้พิพากษารับว่าไม่มีพยานหลักฐานเชื่อมโยงตัว Bobby กับชายหนุ่มอีกสามคนที่อยู่กับเขาตอนเกิดเหตุระเบิดเลย ดังนั้นพวกเขาทั้งสี่คนก็เลยถูกตัดสินจำคุก 14 ปี ด้วยความผิดฐานมีอาวุธปืน revolver ในครอบครองเพียงกระบอกเดียว Bobby ถูกขังเดี่ยวในช่วงเวลา 22 วันแรก ขังแบบ ‘on the boards’ (ขังเดี่ยวแบบถูกทรมาณ ตัวอย่างการใช้คำ / Ex. usage: “During his time in prison, he was placed in solitary confinement, commonly referred to as ‘the boards’ and was subject to repeated physical and sectarian abuse by prison officers.”) ที่เรือนจำ Crumlin Road ตลอดเวลา 15 วัน ในทั้งหมด 22 วันที่ถูกขังเดี่ยว เขาถูกจับแก้ผ้าหมดจนเปลือยเปล่า จากนั้นก็ถูกย้ายตัวไปขังที่อาคารเรือนจำ H-Blocks แล้วไปร่วมประท้วงกับพวกนักโทษที่รวมตัวประท้วงแบบห่มผ้าห่มผืนเดียวไม่ยอมอาบน้ำทำความสะอาดตัว (blanket protest) เขาเริ่มเขียนบทความให้กับหนังสือพิมพ์ข่าว Republican News จากนั้นหลังจากเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1979 ก็เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ออกใหม่ชื่อ ‘An Phobhacht/Republican News’ ใช้ชื่อน้องสาว ‘Marcella’ เป็นนามปากกา ทั้งบทความและจดหมายของเขา เขียนอย่างบรรจงด้วยลายมือบนกระดาษชำระ แล้วถูกแอบซ่อนเอาออกจากเรือนจำดังที่มักทำกันในตอนนั้น เขาเขียนว่า: ‘วันเวลามันช่างยาวนานนัก การที่ถูกห้ามใช้ข้าวของที่จำเป็นสำหรับมนุษย์อย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัว ห้ามออกกำลังกาย ห้ามออกสูดอากาศบริสุทธิ์ ห้ามคบหาเจอะเจอกับคนอื่น เสื้อผ้าของผม สิ่งต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์, วิทยุ, บุหรี่, หนังสือ, และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายๆอย่าง มันล้วนทำให้ชีวิตของผมลำบากมากขึ้นเหลือเกิน (‘made my life very hard’)’ Bobby ได้กลายเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ (PRO) ของพวก blanket men และมีเรื่องกับผู้คุมเป็นประจำ ยังผลให้ถูกขังเดี่ยวอยู่บ่อยๆ ในเรือนจำตึก H-Blocks เขาถูกตี ถูกขังเดี่ยวยาว ขาดธาตุอาหาร ถูกทรมาน ซึ่งก็กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทำกันโดยเจ้าหน้าที่เรือนจำรู้เห็นเป็นใจ ไม่ว่าอะไร ส่วนราชการรัฐบาลอังกฤษก็ปล่อยให้เกิดขึ้นแบบยอมรับให้ทำกันได้ต่อไป หากนักโทษต่อต้านโทษที่ถูกตัดสินให้เป็นโทษคดีอาญา ก็จะถูกลงโทษทรมานอีกอย่างรุนแรง อาคารเรือนจำ H-Blocks กลายเป็นยุทธภูมิแห่งจิตวิญาณการต่อสู้และต่อต้านอังกฤษของเหล่าพวก republican นิยมสาธารณรัฐ เป็นที่เผชิญหน้าราวีกับพวกอังกฤษผู้ไร้ซึ่งมนุษยธรรม จิตวิญญาณแห่งความเป็นสาธารณรัฐเป็นฝ่ายเข้มแข็งเหนือกว่า ในเดือนเมษายน ปี 1978 พวกนักโทษก่อการประท้วงเรือนจำที่ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างเลวร้ายตอนที่ถูกต้อนไปเข้าส้วม ไปเข้าที่อาบน้ำ นักโทษที่ H-Blocks ไม่ยินยอมอาบน้ำหรือใช้ส้วม แถมนักโทษหญิงที่เรือนจำ Armagh ก็ร่วมประท้วงด้วยอีกในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1980 ตอนที่โดนผู้คุมคุกคามพวกเธอแบบเดียวกันกับที่ H-Blocks วันที่ 27 ตุลาคม 1980 หลังจากการเจรจาล้มเหลวระหว่างผู้ปกครองโดยตรงจากอังกฤษที่ส่งมาทำหน้าที่ปกครอง Northern Ireland ชื่อ Humphrey Atkins กับ Cardinal O. Fiaich ซึ่งเป็นประธานคณะสงฆ์หรือ Bishop ของฝ่าย Irish Catholic ก็มีนักโทษ 7 คนในเรือนจำ H-Blocks เริ่มการประท้วงโดยการอดอาหาร Bobby ขออาสาร่วมประท้วงโดยการอดอาหารด้วย แต่ปรากฏว่าเขาต้องทำหน้าที่ตัวแทนนักโทษ (O/C) ปลายปี 1980, Bobby Sands ได้รับเลือกเป็น Officer Commanding ของนักโทษ Provisional IRA ในเรือนจำ Maze Prison, ต่อจาก Brendan Hughes, ผู้ซึ่งไปนำการประท้วงแบบอดอาหารครั้งแรก ระหว่างการอดอาหารของกลุ่มนักโทษ IRA นี้ Bobby ได้รับการรับรองทางการเมืองอย่างเป็นทางการจากเจ้าหน้าที่เรือนจำว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มนักโทษ IRA หนึ่งวันหลังจากผู้แทนอังกฤษมาเยี่ยมผู้อดอาหาร Bobby ก็ถูกรถตู้ของเรือนจำก็พาเขาเดินทางไปครึ่งไมล์จากเรือนจำ H-3 ไปเยี่ยมนักโทษอดอาหารที่โรงพยาบาล ต่อมาเขาก็ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยม Brendan Hughes นักโทษผู้นำการประท้วงด้วยการอดอาหารอีกหลายครั้ง เขามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใดๆที่จะหยุดประท้วงอดอาหาร เรื่องนี้เป็นเรื่องของนักโทษทั้ง 7 ที่ตัดสินใจกันเอง ตอนดึกในคืนนั้นเขาถูกพาไปเยี่ยมนักโทษเหล่านั้นแล้วได้ไปพบผู้นำนักโทษที่เรือนจำ H-Blocks 4, 5, และ 6 วันที่ 19 ธันวาคม 1980 Bobby ออกคำแถลงว่ากลุ่มนักโทษจะไม่ยอมใส่ชุดนักโทษที่ได้จากเรือนจำ จะไม่ทำงานใดๆในเรือนจำ แล้วเขาก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนไปเจรจากับ Stanley Hilditch ผู้ว่าการเรือนจำ (prison governor) เพื่อแสวงหาขั้นตอนการลดความรุนแรงของการประท้วง แต่ความพยายามของฝ่ายนักโทษกลับถูกทำให้เกิดความไม่พอใจย้อนกลับมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่เรือนจำ Bobby บันทึกว่า ‘เราพบว่าความปรารถนาดีและการเสนอข้อยืดหยุ่นผ่อนปรนจากเราไม่ได้รับการตอบสนอง เห็นชัดเจนตอนที่ผมไปเจรจารอบหนึ่งเพื่อแสดงความร่วมมือกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่กลับบอกว่าทุกอย่างต้องเข้มงวดตามกฎระเบียบ ซึ่งในความหมายที่แท้จริงชัดเจนก็คือเราต้องรับสถานภาพนักโทษคดีอาชญากรรม (ไม่ใช่นักโทษการเมือง)’ ณ ที่ H-Blocks พวกอังกฤษเห็นโอกาสที่จะเอาชนะพวก IRA ได้ โดยการยัดเยียดข้อหาอาญาให้กับนักรบกู้ชาติสาธารณรัฐ Ireland และโดยเฉพาะพวกนักโทษกลุ่มประท้วงที่เรียกว่า ‘blanketmen’ ดูจะเข้าใจชตากรรมมากกว่าใครๆว่ามันกำลังเลวร้ายแค่ไหน ดังนั้นพวกเขาจึงเดินหน้าประท้วงกันต่อไป Bobby เสนอตัวนำการประท้วงอดอาหารรอบใหม่ ของมองสถานการณ์ในเรือนจำตอนนี้ว่าเป็นเสมือนโลกจำลองของการที่พวกอังกฤษทำกับชาว Irish ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน Bobby เข้าใจชัดเจนว่าควรจะต้องมีใครสักคนยอมตายเพื่อให้ได้ชัยชนะในการได้สถานภาพนักโทษการเมือง Bobby ขออดอาหารต่อหน้าผู้คนอย่างน้อยก็สองสัปดาห์แรก เพื่อการตายของเขาจะได้ช่วยให้ฝ่ายเรือนจำอังกฤษยอมตามข้อเรียกร้องแต่แรกทั้ง 5 ข้อ** จะได้ช่วยชีวิตนักโทษได้ ในช่วงการอดอาการ 17 วันแรก Bobby บันทึก diary เป็นความลับส่วนตัว เขาบันทึกถึงความรู้สึกนึกคิด และมุมมองต่อปัญหา ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษา Gaelic แทรกอยู่ก็มีเป็นช่วงๆ เขาไม่แสดงความกลัวต่อความตายเลย กลับคิดว่ามันเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่กว่าเรื่องเงื่อนไขห้าประการอีกมาก เขาคิดว่าการประท้วงอดอาหารครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อการปกครองของอังกฤษใน Ireland อย่างใหญ่หลวง เขาบันทึก diary บนกระกาษชำระด้วยปากกาลูกลื่น (UK-biro pen) เอาแอบซ่อนติดตัวไว้ตลอดเวลา ช่วง 17 วันแรกของการอดอาหาร น้ำหนักตัว Bobby ลดลงไป 16 ปอนด์ (7.25 กก.) เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเรือนจำวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม วันที่ 30 มีนาคม เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าเป็นตัวแทนลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อมตำแหน่ง ส.ส. ที่ว่างลงในเขต Fermanagh และ South Tyrone เนื่องจาก ส.ส.คนเดิมที่ชื่อ Frank Maguire เสียชีวิต Frank Maguire เป็น ส.ส. อิสระผู้สนับสุนการประท้วงของกลุ่มนักโทษด้วย เช้าวันต่อมา, วันที่ 31 ของการอดอาหาร Owen Carron ผู้ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้กับ Bobby มาเยี่ยม ตอนหลัง Owen เล่าว่าการพบ Bobby ครั้งแรกนั้น ‘แทนที่จะพบกับหนุ่มผมยาวหน้าตาสดใส่อย่างที่เห็นในภาพ poster แม้ว่าดูหน้าตาเขาจะไม่ถึงกับเลวร้ายย่ำแย่มากมายนัก แต่ก็เห็นว่าเขาเปลี่ยนไปอย่างผลิกผันยิ่งนัก ซูบผอมมากจนเห็นกระดูก ตัดผมสั้น’ Bobby ไม่มีความคิดหลอกตัวเองออกนอกกรอบความเป็นจริงในเรื่องที่เขาชนะการเลือกตั้งได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปฏิกริยาต่อชัยชนะของเขามิได้เป็นแบบมองโลกในแง่ดีจนเกินขนาด หลังประกาศผลการเลือกตั้ง Owen ก็มาเยี่ยม Bobby อีกครั้ง และเล่าว่า: “Bobby ทราบผลการเลือกตั้งแล้วจากข่าววิทยุ ที่เขาดูดีนั้นแน่นอน แต่เขาก็มักจะพูดย้ำเสมอๆว่า ‘ในสถานภาพที่ผมเป็นอยู่จะให้มองโลกในแง่บวกไม่ได้’ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่าชัยชนะในการเลือกตั้งมิได้หมายว่าจะช่วยชีวิตเขาไว้ได้ เขาบอกว่าพวกอังกฤษมันต้องการเอาเลือดเอาเนื้อจากพวกเรา เขาใช้เวลาของชีวิตในเรือนจำตอนประท้วงอดอาหารนี้โดยตั้งสมมุติฐานมั่นคงว่าเขาจะต้องตายในที่สุด เวลา 01:17 น. วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม หลังจากอดอาหารได้ 65 วัน Bobby Sands, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เสียชีวิตในโรงพยาบาลเรือนจำ H-Blocks เมือง Long Kesh Bobby เป็นคนพิเศษอย่างแท้จริง การสูญเสียเขาไปเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ยากที่จะประเมินค่าความสูญเสียได้ เขาไม่เคยคิดห่วงตัวเองแม้แต่วินาทีเดียว เขาใช้ชีวิตอย่างเปี่ยมพลัง อุทิศตนใ้ห้กับประชาชนพลเมือง Irish ของเขา เพื่อหลักการเป็นสาธารณรัฐ แล้วในที่สุดก็ยอมสละชีวิตของตัวเอง ด้วยจิตมุ่งมั่นที่จะพยายามทำงานเพื่อหลักการให้ถึงเป้าหมาย และเพื่อเป้าหมายของของผองเพื่อนผู้คนที่ร่วมงานกับเขามานานถึงเกือบแปดปีที่เขาเติบโตจากการเป็นเด็กเข้าสู่ช่วงวัยเป็นผู้ใหญ่ โดยคำพูดของ Bobby เอง เขาบอกว่า: “แน่หละว่าผมอาจถูกสังหารได้ แต่ผมก็คงความเป็นตัวของผมมาได้ เป็นนักโทษ สงครามการเมือง (a political POW) ไม่มีใคร แม้กระทั่งพวกอังกฤษ จะมา เปลี่ยนแปลงตัวผมได้” ----------------------------------------------------------------------------------------- (ข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเสริมโดยสมเกียรติ อ่อนวิมล-ผู้แปล) หมายเหตุ * Ulster เป็น 1 ใน 4 จังหวัดในเกาะ Ireland , 6/9 อำเภอของจังหวัด Ulster คือ Northern Ireland; Ulsterisation เป็นนโยบาย "primacy of the police” – เป็น 1 ใน 3 ข้อของนโยบายแก้ปัญหาไอร์แลนด์เหนือของอังกฤษ อีก 2 ข้อนโยบายคือ "normalisation" และ “criminalisation") ใช้ในช่วงเวลาที่มีปัญหาที่เรียกว่า "the Troubles" นโยบายนี้ใช้วิธีการแยกมิให้ทหารอังกฤษที่ไม่ใช่หน่วยท้องถิ่น Ulster ออกจากการปฏิบัติหน้าที่ในไอร์แลนด์เหนือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วรับสมัครหน่วยตำรวจท้องถิ่นเรียกว่า Royal Ulster Constabulary (RUC) และ Ulster Defence Regiment (UDR). เป้าหมายก็ต้องการให้ผลกระทบเกิดในวงจำกัดเฉพาะท้องถิ่น Ulster (WIkipedia) **ข้อเรียกร้องทั้งห้า: 1. the right not to wear a prison uniform; สิทธิในการไม่ใส่ชุดนักโทษ2. the right not to do prison work; สิทธิในการไม่ทำงานต่างๆในเรือนจำ3. the right of free association with other prisoners, and to organise educational and recreational pursuits; สิทธิในการสังสรรค์กับเพื่อนักโทษด้วยกันอย่างเสรีและการจัดกระบวนการด้านการศึกษาและสันทนาการในเรือนจำ4. the right to one visit, one letter, and one parcel per week; สิทธิที่จะได้มีผู้เข้าเยี่ยมได้หนึ่งครั้ง จดหมายหนึ่งฉบับ และพัสดุหนึ่งห่อ5. full restoration of remission lost through the protest. ให้นับเวลาที่เสียไปในการประท้วงรวมเป็นเวลาต้องโทษด้วยอย่างครบถ้วน] [Wikipedia https://en.wikipedia.org/wiki/Bobby_Sands] ——————————————————————————-------——-- [บทความลงพิมพ์ใน IRIS, Vol.1, No.2, November 1981. IRIS เป็นสิ่งพิมพ์ของ Sinn Fein Foreign Affairs Bureau] Other resources: Response on the Death of Bobby Sands (From An Camcheachta, May 1981) Bobby Sands, of the Twinbrook "Liberty" (From An Camcheachta, June 1981) A tribute to Bobby Sands (By Nora Richardson, Green Left Weekly) รายชื่อนักโทษ 10 คนที่เสียชีวิตจากการประท้วงด้วยการอดอาหาร นำโดย Bobby Sands: 1. Bobby Sands (IRA) - 66 วัน (5 มีนาคม - 5 พฤษภาคม) 2. Francis Hughes (IRA) - 59 วัน (15 มีนาคม - 12 พฤษภาคม) 3. Raymond McCreesh (IRA) - 61 วัน (22 มีนาคม - 21 พฤษภาคม) 4. Patsy O'Hara (INLA) - 61 วัน (22 มีนาคม - 21 พฤษภาคม) 5. Joe McDonnell (IRA) - 61 วัน (8 พฤษภาคม - 8 กรกฎาคม) 6. Martin Hurson (IRA) - 46 วัน (28 พฤษภาคม - 13 กรกฎาคม) 7. Kevin Lynch (INLA) - 71 วัน (23 พฤษภาคม - 1 สิงหาคม) 8. Kieran Doherty (IRA) - 73 วัน (22 พฤษภาคม - 2 สิงหาคม) 9. Thomas McElwee (IRA) - 62 วัน (8 มิถุนายน - 8 สิงหาคม) 10. Michael Devine (INLA) - 60 วัน (22 มิถุนายน - 20 สิงหาคม) _ IRA = Irish Republican Army INLA = Irish National Liberation Army |
Vertical Divider
โสเครติส: ท่านไม่สังเกตหรือว่าความเห็นที่ขาดความรู้เป็นสิ่งน่าเกลียดน่าอับอาย? มันไม่มีอะไรดีไปกว่าความมืดบอด - หรือคิดอิกนัยหนึ่งได้ไหมว่า คนที่แสดงแม้ความเห็นที่แท้จริงแต่ไร้ซึ่งความเข้าใจนั้น จะต่างอะไรไปจากคนตาบอดที่บังเอิญเดินถูกทาง? เริ่มเช้าวันจันทร์ที่ 3 เมษายน นี้ เวลา 05:00-06:00 ทางสถานีวิทยุ อสมท.96.5 FM รายการ "โลกยามเช้า โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล" กลับมาออกอากาศอีกครั้ง หลังจากเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อ 39 ปีที่แล้ว.
แรกเริ่ม รายการ "โลกยามเช้าจากเครือซิเมนต์ไทย"เริ่มออกอากาศ วันที่ 1 เมษายน 2527 / 1984 สนับสนุนโดยเครือซิเมนต์ไทย (SCG ปัจจุบัน) ตามนโยบาย Coporate Social Responsibility - CSR เพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่โฆษณาสินค้า นานประมาณ 12 ปี หลังจากนั้น "โลกยามเช้า" ก็ยังออกอากาศต่อไปในชื่อ "โลกยามเช้า โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล" จนกระทั่งไม่มีผู้สนับสนุนรายการพอที่จะดำเนินรายการต่อไปได้ จึงเลิกไปปี 2544 39 ปีผ่านไป ผู้ดำเนินรายการมีอายุครบ 75 ปีพอดีในเดือนเมษายน รายการ “โลกยามเช้า” จึงกลับมาอีกครั้งบนคลื่น 96.5 FM อสมท. เริ่มเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 ออกอากาศเวลา 05:00-06:00 วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ โดยจะเริ่มรายการวันแรก วันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 ไม่ว่า "โลกยามเช้า โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล" จะมีผู้สนับสนุนรายการมากน้อยแค่ไหนอย่างไรก็ตามผมก็ตั้งใจมุ่งมั่นว่าจะทำรายการไปจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต.....โปรดติดตาม.... (Original Text)
Bobby Sands Died May 5th, 1981 The revolutionary spirit of freedom [Portions of this article were first published anonymously in 'Republican News', December 16th, 1978. The smuggled out article recalls how the spirit of republican defiance grew within him, and is a semi-autobiographical account] BOBBY SANDS was born in 1954 in Rathcoole, a predominantly loyalist district of north Belfast. His twenty-seventh birthday fell on the ninth day of his sixty-six-day hunger strike. His sisters Marcella, one year younger, and Bernadette, were born in April 1955 and November 1958, respectively. All three lived their early years at Abbots Cross in the Newtownabbey area of north Belfast. A second son, John, now nineteen, was born to their parents John and Rosaleen, now both aged 57, in June 1962. The sectarian realities of ghetto life materialised early in Bobby's life when at the age of ten his family were forced to move home owing to loyalist intimidation even as early as 1962. Bobby recalled his mother speaking of the troubled times which occurred during her childhood; 'Although I never really under stood what internment was or who the 'Specials' were, I grew to regard them as symbols of evil '. Of this time Bobby himself later wrote: ''I was only a working-class boy from a Nationalist ghetto, but it is repression that creates the revolutionary spirit of freedom. I shall not settle until I achieve liberation of my country, until Ireland becomes a sovereign, independent socialist republic. '' When Bobby was sixteen years old he started work as an apprentice coach builder and joined the National Union of Vehicle Builders and the ATGWU. In an article printed in 'An Phoblacht/Republican News' on April 4th, 1981, Bobby recalled: ''Starting work, although frightening at first became alright, especially with the reward at the end of the week. Dances and clothes, girls and a few shillings to spend, opened up a whole new world to me.'' Bobby's background, experiences and ambitions did not differ greatly from that of the average ghetto youth. Then came 1968 and the events which were to change his life. Bobby had served two years of his apprenticeship when he was intimidated out of his job. His sister Bernadette recalls: "Bobby went to work one morning and these fellows were standing there cleaning guns. One fellow said to him, 'Do you see these here, well if you don't go you'll get this' then Bobby also found a note in his lunch-box telling him to get out." In June 1972, the family were intimidated out of their home in Doonbeg Drive, Rathcoole and moved into the newly built Twinbrook estate on the fringe of nationalist West Belfast. Bernadette again recalled: We had suffered intimidation for about eighteen months before we were actually put out. We had always been used to having Protestant friends. Bobby had gone around with Catholics and Protestants, but it ended up when everything erupted, that the friends he went about with for years were the same ones who helped to put his family out of their home. As well as being intimidated out of his job and his home being under threat Bobby also suffered personal attacks from the loyalists. At eighteen Bobby joined the Republican Movement. Bernadette says: .. 'he was just at the age when he was beginning to become aware of things happening around him. He more or less just said right, this is where I'm going to take up. A couple of his cousins had been arrested and interned. Booby felt that he should get involved and start doing something. ' Bobby himself wrote. "My life now centered around sleepless nights and stand-bys dodging the Brits and calming nerves to go out on operations. But the people stood by us. The people not only opened the doors of their homes to lend us a hand but they opened their hearts to us. I learned that without the people we could not survive and I knew that I owed them everything. In October 1972, he was arrested. Four handguns were found in a house he was staying in and he was charged with possession. He spent the next three years in the cages of Long Kesh where he had political prisoner status. During this time Bobby read widely and taught himself Irish which he was later to teach the other blanket men in the H-Blocks. Released in 1976 Bobby returned to his family in Twinbrook. He reported back to his local unit and straight back into the continuing struggle: 'Quite a lot of things had changed some parts of the ghettos had completely disappeared and others were in the process of being removed. The war was still forging ahead although tactics and strategy had changed. The British government was now seeking to 'Ulsterise' the war which included the attempted criminalisation of the IRA and attempted normalisation of the war situation.' Bobby set himself to work tackling the social issues which affected the Twinbrook area. Here he became a community activist. According to Bernadette, 'When he got out of jail that first time our estate had no Green Cross, no Sinn Fein, nor anything like that. He was involved in the Tenants' Association... He got the black taxis to run to Twinbrook because the bus service at that time was inadequate. It got to the stage where people were coming to the door looking for Bobby to put up ramps on the roads in case cars were going too fast and would knock the children down.' Within six months Bobby was arrested again. There had been a bomb attack on the Balmoral Furniture Company at Dunmurry, followed by a gun-battle in which two men were wounded. Bobby was in a car near the scene with three other young men. The RUC captured them and found a revolver in the car. The six men were taken to Castlereagh and were subjected to brutal interrogations for six days. Bobby refused to answer any questions during his interrogation, except his name, age and address. In a ninety-six verse poem written in 1980, entitled 'The Crime of Castlereagh', Bobby tells of his experiences in Castlereagh and his fears and thoughts at the time: They came and came their job the same In relays N'er they stopped. 'Just sign the line!' They shrieked each time And beat me 'till I dropped. They tortured me quite viciously They threw me through the air. It got so bad it seemed I had Been beat beyond repair. The days expired and no one tired, Except of course the prey, And knew they well that time would tell Each dirty trick they laid on thick For no one heard or saw, Who dares to say in Castlereagh The 'police' would break the law! He was held on remand for eleven months until his trial in September 1977. As at his previous trial he refused to recognise the court. The judge admitted there was no evidence to link Bobby, or the other three young men with him, to the bombing. So the four of them were sentenced to fourteen years each for possession of the one revolver. Bobby spent the first twenty-two days of his sentence in solitary confinement, 'on the boards' in Crumlin Road jail. For fifteen of those days he was completely naked. He was moved to the H-Blocks and joined the blanket protest. He began to write for Republican News and then after February 1979 for the newly-merged An Phobhacht/Republican News under the pen-name, 'Marcella', his sister's name. His articles and letters, in minute handwriting, like all communications from the H-Blocks, were smuggled out on tiny pieces of toilet paper. He wrote: 'The days were long and lonely. The sudden and total deprivation of such basic human necessities as exercise and fresh air, association with other people, my own clothes and things like newspapers, radio, cigarettes books and a host of other things, made my life very hard.' Bobby became PRO for the blanket men and was in constant confrontation with the prison authorities which resulted in several spells of solitary confinement. In the H-Blocks, beatings, long periods in the punishment cells, starvation diets and torture were commonplace as the prison authorities, with the full knowledge and consent of the British administration, imposed a harsh and brutal regime on the prisoners in their attempts to break the prisoners' resistance to criminalisation. The H-Blocks became the battlefield in which the republican spirit of resistance met head-on all the inhumanities that the British could perpetrate. The republican spirit prevailed and in April 1978 in protest against systematic ill-treatment when they went to the toilets or got showered, the H-Block prisoners refused to wash or slop-out. They were joined in this no- wash protest by the women in Armagh jail in February 1980 when they were subjected to similar harassment. On October 27th, 1980, following the breakdown of talks between British direct ruler in the North, Humphrey Atkins, and Cardinal O Fiaich, the Irish Catholic primate, seven prisoners in the H-Blocks began a hunger strike. Bobby volunteered for the fast but instead he succeeded, as O/C, Brendan Hughes, who went on hunger-strike. During the hunger-strike he was given political recognition by the prison authorities. The day after a senior British official visited the hunger-strikers, Bobby was brought half a mile in a prison van from H3 to the prison hospital to visit them. Subsequently he was allowed several meetings with Brendan Hughes. He was not involved in the decision to end the hunger-strike which was taken by the seven men alone. But later that night he was taken to meet them and was allowed to visit republican prison leaders in H-Blocks 4, 5 and 6. On December 19th, 1980, Bobby issued a statement that the prisoners would not wear prison-issue clothing nor do prison work. He then began negotiations with the prison governor, Stanley Hilditch, for a step-by-step de-escalation of the protest. But the prisoners' efforts were rebuffed by the authorities: 'We discovered that our good will and flexibility were in vain,' wrote Bobby. It was made abundantly clear during one of my co-operation' meetings with prison officials that strict conformity was required. which in essence meant acceptance of criminal status. In the H-Blocks the British saw the opportunity to defeat the IRA by criminalising Irish freedom fighters but the blanketmen, perhaps more than those on the outside, appreciated before anyone else the grave repercussions, and so they fought. Bobby volunteered to lead the new hunger strike. He saw it as a microcosm of the way the Brits were treating Ireland historically and presently, Bobby realised that someone would have to die to win political status. He insisted on starting two weeks in front of the others so that perhaps his death could secure the five demands and save their lives. For the first seventeen days of the hunger strike Bobby kept a secret diary in which he wrote his thoughts and views, mostly in English but occasionally breaking into Gaelic. He had no fear of death and saw the hunger-strike as something much larger than the five demands and as having major repercussions for British rule in Ireland. The diary was written on toilet paper in biro pen and had to be hidden, mostly carried inside Bobby's own body. During those first seventeen days Bobby lost a total of sixteen pounds weight and on Monday, March 23rd, he was moved to the prison hospital. On March 30th, he was nominated as candidate for the Fermanagh and South Tyrone by-election caused by the sudden death of Frank Maguire, an independent MP who supported the prisoners' cause. The next morning, day thirty-one, of his hunger-strike, he was visited by Owen Carron who acted as his election agent. Owen told of that first visit 'Instead of meeting that young man of the poster with long hair and a fresh face, even at that time when Bobby wasn't too bad he was radically changed. He was very thin and bony and his hair was cut short.' Bobby had no illusions with regard to his election victory. His reaction was not one of over-optimism. After the result was announced Owen visited Bobby. "He had already heard the result on the radio. He was in good form alright but he always used to keep saying, 'In my position you can't afford to be optimistic.' In other words, he didn't take it that because he'd won an election that his life would be saved. He thought that the Brits would need their pound of flesh. I think he was always working on the premise that he would have to die." At 1.17 a.m. on Tuesday, May 5th, having completed sixty-five days on hunger-strike, Bobby Sands MP, died in the H-Block prison hospital at Long Kesh. Bobby was a truly unique person whose loss is great and immeasurable. He never gave himself a moment to spare. He lived his life energetically, dedicated to his people and to the republican cause, eventually offering up his life in a conscious effort to further that cause and the cause of those with whom he had shared almost eight years of his adult life. In his own words: "of course can be murdered but I remain what I am, a political POW and no-one, not even the British, can change that." [Published in IRIS, Vol. 1, No. 2, November 1981. IRIS was a publication of the Sinn Fein Foreign Affairs Bureau. ] Other resources: Response on the Death of Bobby Sands (From An Camcheachta, May 1981) Bobby Sands, of the Twinbrook "Liberty" (From An Camcheachta, June 1981) A tribute to Bobby Sands (By Nora Richardson, Green Left Weekly) "THE TROUBLES" การประท้วงอดอาหาร "1981 Irish Hunger Strike" คือการอดอาหารประท้วงของนักโทษชาว Irish เกิดขึ้นในช่วงเวลา 30 ปี ของประวัติศาสตร์ความขัดแย้งและการต่อสู้เพื่อรวมเกาะ Ireland ทั้งหมด - ซึ่งแต่เดิมเป็นดินแดนของสหราชอาณาจักรอังกฤษทั้งเกาะ - ให้เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นเอกราชสมบูรณ์จากอังกฤษ เรียกช่วงเวลาปัญหาขัดแย้งรุนแรงนี้ว่า "The Troubles" เริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1960 ถึง ปี 1998 ซึ่งเป็นปีที่มีการลงนามใน The Good Friday Agreement (10 April 1998) 17 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Bobby Sands และนักโทษคนอื่นอีก 9 คน Good Friday Agreement แบ่งปันอำนาจการมีส่วนร่วมปกครองไอร์แลนด์เหนือระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆที่เรียกว่า unionist parties (UVF, UDA, Sin Fein) กับรัฐบาลอังกฤษ โดยมีการลงประชามติรับรองจากประชาชนทั้งสองส่วน คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ และ ไอร์แลนด์เหนือ ในที่สุดเกาะไอร์แลนด์ก็แยกพื้นที่ส่วนใหญ่ที่แต่ก่อนเป็นจังหวัด Ireland ของอังกฤษ แยกเป็นประเทศสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่มีประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือนิกาย Catholic ส่วนพื้นที่ทางเหนือของประชากรผู้นับถือนิกาย Protestant ก็คงอยู่กับอังกฤษ เป็นจังหวัดหรือแคว้นไอร์แลนด์เหนือ หรือ Northern Ireland อันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) จนทุกวันนี้ |