Library Collections
The Earth: A very Short Introduction
โดย Martin Redfern Redfern, Martin, The Earth: A Very Short Introduction, Oxford University Press, New York, 2003, 141 หน้า, ISBN 0-19-280307-7 โลก ในกาลเวลา เมื่อได้เรียนรู้เบื้องต้นถึงเรื่องกาลเวลาแล้ว ก็พอรู้ที่มาของโลกมนุษย์ตามหลักทฤษฎี โลก ในความหมายของคำภาษาอังกฤษว่า “Earth” หมายถึงโลกทางกายภาค คือโลกทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา โดยไม่คำนึงถึงชีวิตหรือสังคมมนุษย์และสัตว์บนโลก ตามความหมายของคำว่า “World” หากจะลำดับตามกาลเวลา “โลก - Earth” เกิดก่อน “โลก – World” ดังนั้นกว่าจะค้นพบประเทศไทยที่เราคนไทยอยู่อาศัยกันมาทุกวันนี้ก็ต้องทำความรู้จักกับโลกทางกายภาคเสียก่อน การมองโลกทั้งใบโดยยังไม่มีคนไทย สังคมไทย และประเทศไทยปรากฏอยู่เลยนั้น มีความสุขยิ่งนัก เพราะยังไม่มีปัญหาอันใดที่จะทำให้ต้องขบคิดหรือตามแก้ อันที่จริงแล้ว ในมุมกว้าง โลกที่มนุษย์ยังไม่เกิดนั้นน่าอยู่ยิ่งนัก เพราะไม่มีปัญหาอันใดเลย “The Earth: A Very Short Introduction” โดย Martin Red Fern ทำให้พอมีจุดเริ่มต้นในการเดินทางย้อนอดีตอันยาวไกลถึงบรรพ์กาล ถึงยังไม่พบประเทศไทย แต่ก็ทำให้รู้ว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง อาจนานสักหน่อย จะมีประเทศไทยบน โลกกายภาคนี้แน่นอน Oxford University Press สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Oxford มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ผู้พิมพ์ The Oxford English Dictionary พจนานุกรมภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดในโลก, The Oxford World’s Classics, หนังสือชุดวรรณกรรมอมตะแห่งโลกตะวันตกที่นำเสนองานเขียนทั้งนวนิยาย และสารคดี แต่โบราณกาล ถึงปัจจุบัน มาบัดนี้ได้เริ่มโครงการหนังสือหนังสือสารคดีวิชาการชุดแนะนำเรื่องสำคัญที่บุคคลคนผู้แสวงหาความรู้สามารถเริ่มต้นอ่านเพื่อสร้างความรู้พื้นฐานได้ หนังสือชุดนี้เรียกว่า
ชุด “A Very Short Introduction” หรือ ชุด “บทแนะนำอย่างสั้นมาก” หนึ่งเรื่อง หนึ่งเล่ม อย่างสั้นๆประมาณ 150 หน้า โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อจะให้ทุกคนที่สนใจเรื่องราวความรู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยในชีวิต ได้มีจุดเริ่มต้น ได้มีโอกาสหาความรู้เบื้องต้น สั้นๆ ง่ายๆ ก่อนที่จะหลงใหลใฝ่ฝันเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องเดียวกันในระดับที่ละเอียดลึกซึ้ง และซับซ้อนมากขึ้นในขั้นต่อไปของชีวิตผู้แสวงหาความสุขสมบูรณ์แห่งภูมิปัญญา ปัจจุบันหนังสือชุด “A Very Short Introduction” ของมหาวิทยาลัย Oxford พิมพ์ออกมาแล้วกว่า 100 เรื่อง ตามแผนก็จะถึง 200 เรื่องเป็นอย่างน้อย สำหรับเรื่อง The Earth: A very Short Introduction โดย Martin Redfern เป็นลำดับที่ 90 พิมพ์ออกเผยแพร่ในปี 2003 ตรงเวลาที่โลกกำลังทุกระทมด้วยภัยพิบัติจากความพิโรธของโลกมนุษย์อยู่พอดี แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ไฟป่า ผืนดินแล้ง พายุ Hurricane ไต้ฝุ่น Tsunami น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ชั้น Ozone ในบรรยากาศทะลุเป็นช่องโหว่ นี่คือปรากฏการณ์บนโลก ดาวเคราะห์ที่เรียกว่า Earth เมื่อมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลก เกิดพืช สัตว์ และเกิดมีมนุษย์ มีกิจกรรม มีสังคม มีชุมชน มีพรมแดนขอบเขตประเทศชาติ “Earth” ก็มีสถานภาพเป็น “World” หรือ “ดาวเคราะห์โลก” กลายเป็น “โลกมนุษย์” เนื่องจากเป็นหนังสือแนะนำให้ความรู้เบื้องต้น “The Earth: A very Short Introduction” โดย Martin Redfern จึงจำกัดคำแนะนำอยู่เฉพาะ Earth คือโลกส่วนที่เป็นดวงดาว ยังไม่ก้าวไปอธิบายเรื่องราวของมนุษย์ เป็นเรื่องราวของดาวเคราะห์โลก หรือ Earth ที่ยังไม่สงบ แม้ว่าอายุของโลกล่วงเลยมาถึงครึ่งทางแล้วก็ตามโลกที่มนุษย์อยู่อาศัยทุกวันนี้เกิดมาเมื่อ 4,500 ล้านปีที่แล้ว และยังเหลือเวลาอีก 5,000 ล้านปี โลกเราก็จะถึงจุดจบ ตามดวงอาทิตย์ที่จะมอดดับหมดแสงสิ้นพลังในเวลานั้น ย้อนกลับไปเมื่อ 4,500 ล้านปีก่อนหน้านี้ ปรากฏกลุ่มเมฆมวลก๊าซมหึมาในเอกภพ อันเป็นผลจากการระเบิดของดวงดาวที่ระเบิดต่อเนื่องมายาวนานสุดประมาณกาลเวลา เมฆหมอกมวลก๊าซค่อยๆรวมตัวกันโดยพลังแรงดึงดูดในตัว กดดันโดยพลังจาก Supernova หรือดวงดาวใกล้เคียงที่เกิดระเบิดขึ้นอีก มวลเมฆหมอกมีการหมุนรอบตัว เพิ่มแรงหมุนเร็วขึ้นตามการหดตัวที่เพิ่มขึ้น ส่งฝุ่นละอองแห่งจักรวาลพวยพุ่งออกไปรอบใจกลางที่กำลังจะเกิดเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่บ กาลเวลาผ่านไป ศูนย์กลางของมวลเมฆซึ่งส่วนใหญ่เป็น Hydrogen และ Helium บีบตัวจนเกิดแรงกดอัดมากพอที่จะเกิดปฏิกิริยา Nuclear แบบรวมตัวระเบิดเป็น Nuclear Fusion ณ จุดศูนย์กลาง เกิดเป็นดวงอาทิตย์ เริ่มส่องแสงส่งพลังไปรอบอาณาจักรวาล จากนั้นลมอันเป็นอนุภาคก็พุ่งฟุ้งกระจายรอบตัว กวาดล้างฝุ่นละอองรอบอาณาบริเวณรอบนอกไกลสุดจากดวงอาทิตย์ Hydrogen และ Helium รวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ที่องค์ประกอบเป็นก้อนก๊าซขนาดยักษ์ คือ Saturn ดาวเสาร์ และ Jupiter ดาวพฤหัส ส่วนที่เป็นละอองน้ำแข็งที่เกิดจากน้ำ ก๊าซ Methane และ Nitrogen ถูกพัดพุ่งไกลออกไปยิ่งกว่า แล้วรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์รอบนอก เป็นวงโคจรของเทหวัตถุเรียกว่า Kupier belt และดาวหาง หรือ Comets สำหรับพื้นที่รอบวงในบรรดามวลหมู่ละอองอานุภาคต่างก็พุ่งเข้าชนกัน บ้างก็รวมกัน บ้างก็แตกกระจัดกระจาย ในที่สุดก็มีบางส่วนที่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น เพิ่มแรงดึงดูดมากขึ้น เพิ่มพลังอันเกิดจะการพุ่งกระทบเพื่อรวมตัวมากขึ้น กลายเป็นดาวเคราะห์วงในรอบดวงอาทิตย์ มี Mercury (ดาวพุธ), Venus (ดาวศุกร์), Earth (ดาวโลก), และ Mars (ดาวอังคาร) ความร้อนรุนแรงหลายระดับหลอมละลายวัตถุธาตุต่างๆ ในอัตราที่ไม่เท่ากัน เพราะองค์ประกอบของ มวลวัตถุ มวลก๊าซ และพลังร้อนระอุไม่เท่ากัน การตกตะกอน การลอยตัว การเย็นตัว ยืดตัว และ หดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดเป็นแผ่น เป็นชั้น เหลวก็มี แข็งก็มี ความหนาแน่นต่างๆกัน ที่หนาแน่นมากที่สุดคือแร่ธาตุที่เป็นเหล็ก หรือ Iron ก็จมลงลกสุดเป็นแกนกลางของดวงดาวเคราะห์เช่น Earth หรือดาวโลก กาลเวลาผ่านไป 1,000 ล้านปี เกิดชั้นบรรยากาศ เกิดน้ำ เกิดดินที่เย็นตัวบน พื้นผิวโลก รูปแบบชีวิตขั้นต้นที่คล้ายชีวิตพืชเบื้องต้นก็ถือกำเนิดขึ้น ปูทางไปสู่ชีวิตสัตว์ชั้นต้นที่ใช้ Oxygen หายใจ กินพืชเป็นอาหาร ในอีก 1,100 ล้านปีต่อมา จากนั้นก็วิวัฒนาการเป็นสัตว์ชั้นสูงและ เกิดมนุษย์ เป็นที่มาของโลกซึ่งมนุษย์อยู่อาศัย ใช้และทำลายทรัพยากร อยู่อย่างสามัคคีและอย่างเป็นศัตรูต่อกันและกัน และต่อดวงดาวที่ให้กำเนิดชีวิตเรามาจนทุกวันนี้ “The Earth: A very Short Introduction” โดย Martin Redfern มิได้อธิบายเรื่องของมนุษย์ แต่อธิบายเรื่องของโลกและแผ่นดินของโลก จากแกนในใจกลางสุด ถึงพื้นผิว เทือกเขา และมหาสมุทร จนเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่าดินหินและปรากฏการณ์บนโลกนี้สัมพันธ์กับปรากฏการณ์อันยังไม่สงบใต้เปลือกโลกอย่างไร โลกที่แผ่นดินและเปลือกโลกเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา ดังแสดงในภาพที่ชี้ว่าโลกที่ผ่านมา 200 ล้านปีที่แล้ว 20 ล้านปีต่อมา ถัดมาอีก 45 ล้านปี…70 ล้านปี...ถึงปัจจุบัน โลกมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเสี้ยววินาที ความร้อนละลายใต้โลกยังคงอัดดันระเบิดออกมาเป็นภูเขาไฟไม่หยุดยั้ง แผ่นดินยังสะเทือนเคลื่อนไหวไม่สงบนิ่ง และจะเป็นเป็นเช่นนี้ไปอีกนานเท่ากับกาลเวลา โลกที่มีอดีตยาวลึกย้อนหลังไปไกลเท่ากับกับกาลเวลาเช่นกัน โลกที่มนุษย์ยังไม่เคยรู้จัก และยังไม่เคยได้เห็นอะไรจริงๆเกิน 30 กิโลเมตรใต้พื้นผิวดินอันเป็นส่วนบนสุดของเปลือกโลก โลกของเราลึกลงถึงใจกลาง 6,400 กิโลเมตร ความลึกที่สุดที่มนุษย์พยายามขุดลงไปเพื่อศึกษาก็ทำได้เพียง 11 กิโลเมตร จากผิวดินเท่านั้นเอง มนุษย์ยังรู้จักโลกของตนเองน้อยเหลือเกิน. |