อภิมหากฏบัตร MAGNA CARTA
|
The Barons and King John -1215
----------------------------------------------------------------------------------------------------------- ประเทศอังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศที่เขียนเป็นทางการ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้ความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมประชาธิปไตย อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่สมัยโบราณ และใช้กฎหมายทั่วไปที่ใช้ในปัจจุบัน รวมกันทั้งหมดเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญ เอกสารที่เป็นกฎหมายฉบับแรกและเป็นรากฐานของหลักประชาธิปไตยของอังกฤษ เรียกว่า “Magna Carta” ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1215 และยังถือเป็นเอกสารสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของอังกฤษ เป็นเอกสารโบราณ ที่ถือเป็นรากฐานประชาธิปไตยอังกฤษ กว่าจะมาเป็นแคว้น England แล้วกลายมาเป็น ราชอาณาจักรอังกฤษ เกาะอังกฤษทั้งหมดถูกปกครอง โดยนักรบผู้อพยพมาจากต่างแดนมาโดยตลอด: เริ่มจากพวกชนพื้นเมืองและผู้อพยพข้ามแดน ช่วงปี 5000 BC - 2500 BC พวกโรมัน (Roman) ระหว่างปี 55 BC - 450 AD พวกแองกโล-แซ็กซอนส์ (Anglo-Saxons) ระหว่างปี 450 AD - 1066 AD พวกนอร์มัน (Norman Rule) ระหว่างปี 1066 AD - 1154 AD King Henry II เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ Plantagenet ขึ้นครองบัลลังก์ ในปี ค.ศ. 1154 ทรงสานต่อกระบวนการปฏิรูปกฎหมายที่ทรงใช้ปกครองราชอาณาจักรอังกฤษโดยอำนาจกษัตริย์ที่แผ่ไปไกลถึงฝรั่งเศสบนภาคพื้นทวีป Europe King Richard I (The Lion – Heart) (ใจสิงห์) ขึ้นครองราชย์ต่อในปี 1189-1199 ถือพระองค์เป็นชาวฝรั่งเศส มากกว่าจะเป็นชาวอังกฤษที่แท้จริง ปกครองอังกฤษเสมือนเป็นดินแดนที่จะทรงฉกฉวยความมั่งคั่งให้กับพระองค์เองมากกว่าประโยชน์ของประชาชน นำราชอาณาจักรเข้าร่วมสงคราม Crusade ครั้งที่ 3 มาถึงสมัยของ King John ที่เริ่มในปี 1199 ทรงปกครองแผ่นดินอังกฤษอย่างโหดร้าย เอาเปรียบประชาชน ใช้อำนาจปราบปรามเหล่าอัศวินและขุนนางฝ่ายตรงข้ามอย่างไร้เมตตาธรรม ก่อให้เกิดกบฏทั่วแว่นแคว้น โดยเหล่าขุนนางที่เรียกว่า Barons ที่มีอาณาเขตปกครองผลประโยชน์จากที่ดินของพวกตนเอง ความขัดแย้งขึ้นถึงขีดสุดเมื่อพระองค์ทรงแต่งตั้ง Archbishop of Canterbury โดยไม่ฟังพระสันตะปาปา และไม่รับคำแนะนำของเหล่า Barons พวก Barons และฝ่ายศาสนาจึงกดดันข่มขู่ว่าจะต้องเกิดสงครามกลางเมืองแน่นอน หาก King John มิทรงยอมเจรจาหาทางออกที่เป็นการฟังเสียงของเหล่าอัศวิน ขุนนาง และฝ่ายศาสนา ที่ต้องการให้พระองค์ปกครองแผ่นดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้นบ้าง การเจรจาระหว่างเหล่า Barons กับ King John เริ่มขึ้นต้นฤดูร้อน ปี 1215 พวก Barons เสนอเอกสารเป็นเสมือนกฎบัตรข้อตกลงร่วมกันสองฝ่าย เรียกชื่อว่า “The Barons’ Charter” หรือ “กฎบัตรของ Barons” หรือที่รู้จักทั่วไปในภาษาละตินว่า “Magna Carta” หรือ “Great Charter” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “กฎบัตรอันยิ่งใหญ่” มีความหมายเหมือนกับคำว่า “รัฐธรรมนูญ” ที่ใช้ในปัจจุบัน หรือทำนองเดียวกันกับที่สหประชาชาติมี “กฎบัตรสหประชาชาติ” (United Nations Charter) และเหมือนกับที่อาเซียนมี “กฎบัตรอาเซียน” (ASEAN Charter) การประชุมเจรจาทำความตกลงรับมหากฎบัตร Magna Carta บนเกาะ Runnymede กลางแม่น้ำ Thames ห่างจากพระราชวัง Windsor ที่อยู่เหนือน้ำไป 4 ไมล์ นั้นแม้จะมิทรงพอพระทัย แต่ King John ก็ทรงจำยอมจำนน ลงประปรมาภิไธยรับ Magna Carta ในวันที่ 19 มิถุนายน 1215 ให้ถือเป็นข้อตกลงสันติภาพระหว่างพระองค์และผู้ยังจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝ่ายหนึ่ง กับพวกขุนนาง หรือ Barons และคณะผู้นำศาสนาคริสต์อีกฝ่ายหนึ่ง แต่ Magna Carta ก็ไม่ประสบความสำเร็จ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นเอกสารที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในฐานะเอกสารสงบศึกและหวังจะสร้างสันติภาพ โดย King John ประกาศไม่ยอมรับ ไม่ยอมปฏิบัติตาม Magna Carta และเริ่มทำสงคราม จนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 19 ตุลาคม 1216 พระชนมายุเพียง 50 พรรษา ข้อความใน Magna Carta ต่อมาได้รับการยกย่องสรรเสริญโดยเฉพาะในอังกฤษและอเมริกาว่าเป็นคำประกาศครั้งสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน และเป็นรากฐานทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษ เป็นต้นแบบของเอกสารที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองดินแว่นแคว้น และประเทศ ที่เรียกกันในทุกวันนี้ว่า... “Constitution” หรือ “รัฐธรรมนูญ” Magna Carter มี 63 มาตรา ดังตัวอย่างบางมาตรา: “34. The Writ called praecipe shall not in future, be issued to anyone in respect of any holding where a free man may loose his court” “34.นับแต่นี้ต่อไป พระมหากษัตริย์จะมิอาจทรงมีพระบรมราชโองการใดๆแก่ผู้ทรงบรรดาศักดิ์คนใดที่จะส่งผลให้สามัญชนเสียเปรียบในคดีต่อหน้าศาลยุติธรรม” [เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อังกฤษที่พระเจ้าแผ่นดินทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจที่เคยมีมาก่อนอย่างบริบูรณ์ความยุติธรรมถูกกระจายสู่พสกนิกรไพร่ฟ้าสามัญชน] “39. No free man shall be taken or imprisoned or disseised or outlawed or exiled or in any way ruined, nor will we go or send against him, except by the lawful judgement of his peers or by the law of the land.” “39. ไม่มีใครจะสามารถจับกุมคุมขังประชาชนผู้มีเสรีภาพ จะขับไล่ เนรเทศ ทำให้เขาเป็นพวกนอกกฎหมาย หรือจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเขาอย่างไรก็มิได้ เว้นแต่จะได้มีการพิจารณาคดีความตามกฎหมายของแผ่นดิน โดยการพิพากษาของผู้มีหน้าที่พิพากษาคดี” [นี่คือ 792 ปีที่แล้วที่ Magna Carta เป็นที่พึ่งของประชาชน ให้ความยุติธรรมภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ ที่ยังมิได้เป็นประชาธิปไตย และยังมิได้ใช้คำว่าประชาธิปไตยในอังกฤษ แม้เวลานั้น] Magna Carta ต้นฉบับเป็นภาษาละติน แปลว่า Great Charter หรือ กฎบัตรอันยิ่งใหญ่ มีบทบัญญัติทั้งหมด 63 “caps” หรือ “ข้อ” หรือ “มาตรา” ส่วนใหญ่เป็นข้อบัญญัติเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ ตัวแทนผู้ปกครอง ข้าราชการ กับฝ่ายศาสนา และประชาชน รวม 12 กลุ่มพลเมือง ในอารัมภบท: “…reverence for God and for the salvation of our soul…for the honour of God and the exaltation of Holy Church and the reform of our realm.” ได้กล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้ากับการปฏิรูปราชอาณาจักร เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เพื่อพระเกียรติของผู้เป็นเจ้า และการยกย่องบูชาพระศาสนาในแว่นแคว้น แล้วเริ่มในมาตราที่ 1 ว่า: “1. The English Church shall be free and shall have its rights undiminished and its liberties unimpaired…” “1. ศาสนาจักรแห่งอังกฤษพึงเป็นอิสระ มีสิทธิสมบูรณ์ไม่ลดถอย และมีเสรีภาพหาที่เสมอเหมือนมิได้” “…freedom of elections which is thought to be of the greatest necessity and importance to the English church.” “อิสรภาพ ในการเลือกตั้ง ถือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับศาสนาจักรแห่งอังกฤษ” [จากนี้ไปพระเจ้าแผ่นดินจะแทรกแซงการเลือกตั้ง Archbishop ไม่ได้แล้ว แม้ประชาชนยังไม่มีการเลือกตั้งตัวแทนเข้าสู่ราชสภา แต่มาตรา 1 ก็ได้ให้เสรีภาพแก่พลเมืองทุกคน] “40. To no one will we sell, to no one will we deny or delay right or justice.” “40. เราจะไม่ขายสิทธิและความยุติธรรมให้กับใคร เราจะไม่ปฏิเสธสิทธิและความยุติธรรมต่อผู้ใด เราจะไม่ถ่วงเวลาแห่งการรักษาสิทธิและผดุงความยุติธรรมแก่ใครทั้งสิ้น” [อังกฤษประกาศไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงก่อนใครในโลก] ด้านเศรษฐกิจ: “41. All merchants are to be safe and secure in leaving and entering England, and in staying and traveling in England, both by land and by water, to buy and sell free from all maletotes by the ancient and rightful customs except, in time of war, such as come from an enemy country.” “41. เหล่าพ่อค้าวาณิชย์ทั้งปวงพึงได้รับความมั่นคงปลอดภัยในการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักรอังกฤษ ทั้งทางบกและทางน้ำ เพื่อการซื้อขายที่ปลอดจากภาษีและอากรที่ไม่เป็นธรรมตามที่เคยปฏิบัติมาแต่โบราณกาล เว้นแต่ในยามสงครามที่เกิดจากการรุกรานของข้าศึกต่างชาติ” [การค้าเสรีเกิดในอังกฤษ] “13. And the city of London is to have all its ancient liberties and free customs both by land and water…all other cities…shall have all their liberties and free customs.” “13. และนคร London จะได้รับเสรีภาพที่เคยมีมาแต่โบราณกาลกลับคืนมา อีกทั้งจะต้องปลอดจากภาษีศุลกากร ทั้งทางบก และทางน้ำ เมืองอื่นๆก็จะได้สิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจการค้าเช่นเดียวกัน” [เขตการค้าเสรีเริ่มที่ London] สำหรับข้าราชการที่กดขี่ข่มเหงประชาชน Magna Carta บัญญัติในมาตรา 28 ว่า: “28. No constable or any other of our bailiffs shall take any man’s corn or other chattels unless he pays cash for them at once or can delay payment with the agreement of the seller.” “28. เจ้าหน้าที่ราชการผู้ทำหน้าที่เก็บภาษีอากรจะไปบังคับเอาข้าวโพดหรือทรัพย์สินอื่นจากชาวบ้านมิได้ เว้นแต่ว่าจะจ่ายด้วยเงินสดทันที แต่อาจจะยืดเวลาจ่ายเงินสดไปได้หากมีข้อตกลงกับผู้ขาย” [ข้าราชการอังกฤษจะฉ้อฉลต่อราษฎรไม่ได้ มานานเกือบพันปีแล้ว] “45. We will not make justices, constables, sheriffs or bailiffs who do not know the law of the land and mean to observe it well.” “45. เราจะไม่แต่งตั้งผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย นายอำเภอ ผู้จัดเก็บภาษีอากร ผู้ไม่รู้กฎหมายของราชอาณาจักร และไม่มีเครื่องมือในการจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นอย่างดี” [การสร้างกลุ่มอาชีพผู้พิทักษ์สันติราษฎร์และผดุงความยุติธรรมในสังคมอังกฤษเริ่มมาด้วย Magna Carta นี้เอง] Magna Carta กฎบัตรอันยิ่งใหญ่ ต้นฉบับตัวจริงตกทอดมาให้ลูกหลานอังกฤษและชาวโลกได้เห็นถึงวันนี้ มีสี่ฉบับ สองฉบับเก็บรักษาไว้ที่ British Library หรือหอสมุดแห่งชาติของอังกฤษ อีกฉบับหนึ่งอยู่ที่ Lincoln Cathedral และ ฉบับที่ 4 เก็บไว้ที่ Salisbury Cathedral Magna Carta เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญฉบับแรกเริ่มของอังกฤษ โดยที่อังกฤษไม่ต้องเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อการปกครองประเทศอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอีกเลยหลังจากมีฉบับแรกนี้แล้วเมื่อปี 1215 Magna Carta นั้นเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ เป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์การเมือง ส่วนเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้นไม่จำเป็นต้องเขียน เพราะอยู่ในหัวใจของชาวอังกฤษเป็นวัฒนธรรมและประเพณีแห่งการปกครองราชอาณาจักรมายาวนาน จนไม่มีความจำเป็นต้องยืนยันด้วยตัวอักษรใดๆเลย Magna Carta กฎบัตรอันยิ่งใหญ่ รากฐานประชาธิปไตยของสหราชอาณาจักรอังกฤษ เมื่อปี 1215 ศักดิ์สิทธิ์ มิมีเสื่อมสลาย จนทุกวันนี้ 15 June 2015 อ้างอิง:
|