จากหนังสือ
The International Atlas of Lunar Exploration by Philip J. Stooke, Cambridge University Press, Cambridge, 2007, ISBN: 978-0-521-81930-5 Kennedy’s Goal 25 May 1961 (p.22) ในบริบทสงครามเย็น เริ่มจากการนำของสหภาพโชเวียต (รัสเซีย-ปัจจุบัน) ด้านการบุกเบิกอวกาศ โดยการส่งดาวเทียม Sputnik 1 ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1957, การส่งยานสำรวจดวงจันทร์อื่น และโดยเฉพาะการส่งนักบินอวกาศ Yuri Gagarin ขึ้นโคจรรอบโลกจากฐานส่งยานอวกาศที่ Vostok เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1961 ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตื่นตัวในการแข่งขันด้านการบุกเบิกอวกาศกับสหภาพโซเวียตอย่างฉับพลันทันที John F. Kennedy, ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, เห็นความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนที่สหรัฐฯจำต้องแย่งชิงความเป็นผู้นำโลกเหนือสหภาพโซเวียตด้านภูมิรัฐศาสตร์และเทคโนโลยี ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาคองเกรส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1961 ท่านประกาศว่า: “I believe this nation should commit itself to achieving the goal, before this decade is out, of landing a man on the Moon and returning him safely to the Earth. No single space project in this period will be more impressive to mankind, or more important for the long-range exploration of space, and none will be so difficult or expensive to accomplish.” “ข้าพเจ้าเชื่อว่าประเทศสหรัฐอเมริกาของเรานี้ควรจะต้องกำหนดตัวเองให้บรรลุเป้าหมายในการส่งคนของเราไปลงบนดวงจันทร์และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยภายในเวลาก่อนสิ้นทศวรรษนี้ จะไม่มีโครงการบุกเบิกอวกาศอันใดในช่วงเวลานี้ที่จะมีความประทับใจต่อมนุษยชาติยิ่งไปกว่านี้แล้ว จะไม่มีโครงการไหนจะสำคัญไปกว่าในการบุกเบิกอวกาศระยะยาว, และจะไม่มีโครงการอื่นใดที่ไหนจะประสพความสำเร็จด้วยงบประมาณสูงและทำได้ยากยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว” โครงการ Apollo สำรวจดวงจันทร์ เป็นความคิดที่เริ่มพิจารณากันมาก่อน ตั้งแต่ปี 1959 แล้ว เมื่อได้รับนโยบายกระตุ้นอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดี Kennedy จึงเริ่มมีการจัดสรรงบประมาณอย่างฉับพลันทันที (P.J. Stooke อ้างจาก Murray, C.A. and Cox, C.B., Apollo, the Race to the Moon, New York, Simon & Schuster, 1989) Apollo Missions โครงการบุกเบิกอวกาศและสำรวจดวงจันทร์โดยองค์การบริหาการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautic and Space Administration-NASA) ของสหรัฐฯเริ่มจากการกำหนดกรอบแนวคิด แล้วออกมาเป็น Project Horizon ในปี 1959, Pioneer (1958-60), Ranger (1962-65), Surveyor (1962-68), Lunar Orbiter (1966-67), แล้วจึงมาถึงโครงการ Apollo ที่จะก้าวต่อจากโครงการก่อนหน้าที่เพียงส่งยานอวกาศไปโคจรสำรวจรอบดวงจันทร์ แต่ยังไม่ถึงกับจะส่งยานหรือมนุษย์ลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทว่าคราวนี้ Apollo ตั้งเป้าหมายมุ่งมั่นจะส่งยานและนักบินอวกาศลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ให้ได้ในที่สุด Apollo 1 แรกเริ่มใช้ชื่อ AS-204 เกิดเพลิงลุกไหม้ระหว่างทดสอบระบบบนสถานีภาคพื้นดินทำให้นักบินอวกาศสามคนในยานเสียชีวิต ยังผลให้ต้องมีการศึกษาปรับเปลี่ยนแบบและการสร้างยานใหม่เพื่อความปลอดภัย โครงการที่จะใช้ชื่อ Apollo 2 และ 3 ถูกยกเลิก แล้วมาเริ่มนับชื่อ Apollo ต่อไปใหม่ที่ Apollo 4 (9 November 1967) ส่งยานอวกาศและนักบินขึ้นโคจรสำรวจรอบโลกและรอบดวงจันทร์แต่ไม่ลงบนพื้นผิว ต่อเนื่องไปจนถึง Apollo 10 (18-26 May, 1969) APOLLO 11 16 July 1969 - 24 July 1969 Apollo 11 เป็นความสำเร็จตามประสงค์ของประธานาธิบดี John F. Kennedy โดยสามารถส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์และกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย ทำได้ก่อนสิ้นทศวรรษหนึ่งปีครึ่ง คณะนักบินอวกาศประกอบด้วย Neil A. Armstrong, Commander/ผู้บังคับการบิน (มีประสบการณ์บินไปกับยาน Gemini 8 ก่อนหน้านี้), USAF Lt.Colonel Michael Collins, Command Module Pilot/ผู้บังคับการบินยานบังคับการที่จะบินรอบดวงจันทร์ ส่งยานสำรวจลงและรอรับยานกลับ (เคยบินไปกับ Gemini 10), USAF Colonel Edwin (Buzz) E. Aldrin, Jr., Lunar Modul Pilot/นักบินยานลงสำรวจดวงจันทร์ (ประสบการณ์ Gemini 12) ส่วนคณะนักบินอวกาศสำรองได้แก่ Jim Lovell (Gemini 7&12, Apollo 8, และ Apollo 13 ในเวลาต่อมา, Fred Haise (Apollo 13), และ William Anders (Apollo 8). ยานบังคับหรือยานแม่ที่เรียกว่า Command Modul ตั้งชื่อเรียกเรียกขาน (call sign) ว่า “Columbia” (เอาชื่อมาจากยานอวกาศ Columbiad ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ปั 1865 ของ Jules Verne เรื่อง From the Earth to the Moon และเป็นชื่อเดิมที่ชาวยุโรปเรียกทวีปอเมริกาโบราณ) แต่ชื่อเป็นทางการเรียกว่า Command and Service Module (CSM) ส่วนยานที่จะร่อนลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ตั้งชื่อเรียกขานว่า “Eagle” หมายถึงนกอินทรีอันเป็นสัญญลักษณ์ประจำชาติสหรัฐอเมริกา ชื่อเป็นทางการคือ Lunar Modul (LM) ซึ่งส่วนที่เป็นฐานถูกปล่อยทิ้งไว้บนดวงจันทร์หลังเสร็จภารกิจ และส่วนบนอันเป็นที่นั่งของนักบินอวกาศใช้นั่งบินกลับไปเชื่อมกับยานบังคับการ และหลังจากนักบินกลับเข้ายานบังคับการเรียบร้อยแล้วก็ถูกปลดออกทิ้งไปในอวกาศ ตัวยานแม่หรือยานบังคับการที่กลับสู่โลกในที่สุดนั้น ปัจจุบันจัดตั้งให้ชมได้ที่ National Air and Space Museum ณ กรุง Washington, DC. ลำดับการปฏิบัติงาน : 16 July 1969 13:32 UT (Universal Time เดิมเรียกว่า Greenwich Mean Time/GMT = เวลาไทย +7 = 20:32 TST - Thailand Standard Time) จรวด Saturn V ทำหน้าที่ส่งยานอวกาศโครงการ Apollo 11 ขึ้นสู่อวกาศและไปสู่ดวงจันทร์ ตั้งอยู่ที่ฐานยิงจรวด 39A ณ Kennedy Space Center, Cape Canaveral, Florida จากนั้น Apollo 11 ก็เข้าสู่วงโคจรรอบโลก เรียกว่า Earth parking orbit หลังจากโคจรรอบโลกได้ 1.5 รอบ เครื่องยนต์จรวดส่วนที่เรียกว่า S-IVB ก็จุดระเบิด 16:16 UT เครื่องยนต์เริ่มจุดระเบิดเวลา เป็นเวลา 5.8 นาที ส่งยาน Apollo 11 ผละออกจากวงโคจรรอบโลก เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ (เรียกว่า translunar injection) 16:49 UT 33 นาทีหลังจากนั้น Columbia CSM ก็แยกตัวออกจากเครื่องยนต์ S-IVB ท่อนบน 16:56 UT Columbia CSM ก็หมุนตัวกลับไปเชื่อมต่อกับ Eagle LM ส่วนเครื่องยนต์เชื้อเพลิง S-IVB ก็ใช้เชื้อเพลิงขั้นสุดท้ายที่เหลือยิงตัวเองหลุดออกจาก Columbia แล้วเข้าสู่วงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ล่องลอยไปในอวกาศอย่างไร้จุดหมายต่อไป 17 July 1969 ระหว่างการเหวี่ยงตัวออกจากแรงดึงดูดของโลกให้หลุดวงโคจรรอบโลกเพื่อจะเข้าสู่แรงดึงดูดใหม่ในวงโคจรรอบดวงจันทร์ มีการปรับทิศทางการโคจรเล็กน้อย (small trajectory correction) 19 July 1969 17:22 UT Apollo 11 เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar orbit insertion) โดยพลังงานจากเครื่องยนต์หลักนาน 357.5 วินาที ระหว่างที่ยานอยู่เหนือดวงจันทร์ด้านไกล (คือด้านที่อยู่หลังหรือตรงข้ามกับด้านหน้าที่หันเข้าหาโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกโดยหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอ มนุษย์จึงไม่มีโอกาสเห็นดวงจันทร์อีกด้านหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามหรือข้างหลัง ดวงจันทร์ด้านหลังนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Lunar farside” หรือ “The far side of the Moon” แปลว่า “ดวงจันทร์ด้านไกล” บางทีก็มีการเรียกผิดว่า “The dark side of the Moon” หรือ “ดวงจันทร์ด้านมืด” ที่ว่าผิดก็เพราะดวงจันทร์ไม่มีด้านมืดหรือด้านสว่างตลอดกาล ดวงจันทร์รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ณ บริเวณครึ่งใดครึ่งหนึ่ง หากด้านที่มนุษย์มองเห็นเป็นข้างแรม ด้านไกลก็จะเป็นข้างขึ้นสลับกันไป) จากวงโคจรแบบวงรีก็ได้รับพลังขับเคลื่อนเพิ่มเติมปรับให้เป็นวงโคจรกลมรอบดวงจันทร์ในที่สุด 20 July 1969 นักบินอวกาศ Neil Armstrong และ Buzz Aldrin เคลื่อนย้ายเข้าสู่ยาน Eagle LM เตรียมตัวลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ 18:12 UT ยาน Eagle LM แยกตัวออกจาก Columbia CSM 19:08 UT เครื่องยนต์เครื่องเดียวที่ใช้สำหรับบังคับยานให้ค่อยๆร่อนลงเริ่มจุดเชื้อเพลิงนาน 30 วินาที ส่งยานลงวงโคจรระดับต่ำ 14.5 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ 20:05 UT เครื่องยนต์จุดระเบิดอีกครั้งนาน 756.3 วินาที เริ่มส่งยานร่อนลงสู่พื้นผิวดวงจันทร์ 20:18 UT ยาน Eagle LM ร่อนลงแตะพื้นผิวดวงจันทร์ ณ พิกัด 0.67°N, 23.47°E ตรงจุดจอด ALS-2 บริเวณที่มีชื่อเรียกว่า Mare Tranquillitatis ตอนยานร่อนลงแตะพื้นผิวดวงจันทร์ Neil Armstrong พูดกับฐานบังคับการที่เมือง Houston ว่า “Houston, Tranquility Base here - the Eagle has landed.” ชื่อพื้นที่ Mare Tranquillitatis หรือชื่อเป็นทางการว่า “Statio Tranquillitatis” ในภาษาละติน (“Stoyanka Spokoistviya” บนแผนที่รัสเซีย) จึงกลายมาเป็นชื่อภาษาอังกฤษเรียกกันจากนั้นจนปัจจุบันว่า “Sea of Tranquility” (ทะเลแห่งความสงัด) หรือ “Tranquility Base” (ฐานแห่งความสงัด) ก่อนยานจะแตะพื้น เชื้อเพลิงบังคับยานเหลือใช้ได้เพียง 10 วินาที แถมคอมพิวเตอร์ก็ทำงานเกินกำลัง (overload) และเสี่ยงต่ออาการขัดข้องได้ เมื่อยานร่อนลงจอดได้สำเร็จก็ทำให้คณะผู้ควบคุมการบินในห้องบังคับการที่เมือง Houston โล่งอก ตอบกลับไปยัง Neil Armstrong ว่า “รับทราบ พวกเราหลายคนกำลังลุ้นกันหน้าเขียวหน้าเหลือง ตอนนี้กลับมาหายใจกันได้ทุกคนแล้ว” จากนั้นนักบินอวกาศก็ต้องนอนหลับพักผ่อนก่อนภารกิจสำคัญ 21 July 1969 02:56 UT Neil Armstrong ก้าวลงขั้นบันไดของยาน Eagle LM เท้าแตะพื้นผิวดวงจันทร์ แล้วพูดว่า : “That’s one small step f’ra (for a) man, one giant leap for mankind.” นั่นคือก้าวเล็กๆของคนๆหนึ่ง, แต่เป็นก้าวกระโดดอันยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ” เสียงที่ส่งกลับมายังโลกฟังตัว article ‘a’ ไม่ชัด จึงมักจะอ้างกันผิดๆต่อมาเรื่อยแม้จนทุกวันนี้ เป็น “One small step for man, one giant leap for mankind” ที่ถูกต้อง Neil Armstrong บอกว่าต้องเป็น “One small step for a man, one giant leap for mankind” Armstrong ให้สัมภาษณ์ทีหลังยืนยันเสมอว่าเขาพูดว่า ‘a man’ แต่อาจด้วยเสียงสัญญาณถูกรบกวน ประกอบกับความตื่นเต้น article ‘a’ จึงถูกกลืนกลบไป เขาบอกว่า หากไม่มี article ‘a’ ก็จะเสียความหมายของภาษาอังกฤษไป จะไม่ ‘make any sense’ เลย เคยมีผู้ถาม Armstrong ว่าเขาได้เตรียมคำพูดอมตะนี้ไว้ล่วงหน้าหรือไม่ เขาบอกว่า เขายุ่งอยู่มากกับการเตรียมตัวทุกขั้นตอนจึงไม่มีเวลาจะคิดเรื่องนี้ แต่คนใกล้ชิดบางคนของเขาก็มี ที่บอกว่า Armstrong น่าจะเตรียมคำพูดประโยคที่โลกไม่ลืมนี้ไว้แต่แรกแล้ว 19 นาทีต่อมา หลังจาก Neil Armstrong ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ Buzz Aldrin ก็ลงมาแตะพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนที่สอง นักบินอวกาศทั้งสองจึงกลายเป็นมนุษย์สองคนแรกของโลกที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ ทั้งสองคนเริ่มทำงานตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ปักธงชาติสหรัฐฯบนดวงจันทร์, ย้ายกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์ที่ติดกับยานใกล้กับบันไดของ Eagle LM ลงมาตั้งบนเสาสูง 20 เมตร เริ่มถ่ายภาพวิดีโอแบบมุมกว้าง (panorama) ส่งกลับมายังการถ่ายทอดสดให้ชมกันบนโลก จากนั้นก็ติดตั้งเครื่องมือทดสอบดินหินบนผิวดวงจันทร์ ติดตั้งเครื่องสะท้อนแสงเลเซอร์เพื่อวัดตำแหน่งดวงจันทร์ห่างจากโลกที่แน่นอน และเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ ถ่ายภาพต่างๆ เก็บตัวอย่างดินและหินจากดวงจันทร์น้ำหนักรวม 21.7 กก. นำกลับสู่การศึกษาวิจัยบนโลก ซึ่งต่อมาภายหลังก็ได้คำตอบว่าดินหินบนดวงจันทร์มีอายุประมาณ 3.6 - 3.8 พันล้านปี นักบินอวกาศทั้งสองเดินไปมาบนดวงจันทร์รวมระยะทาง 250 เมตร ได้รับการเชื่อมสัญญาณวิทยุพูดกับประธานาธิบดี Richard Nixon 05:11 UT หลังจากปฏิบัติงานนอกยาน Eagle LM (Extravehicular Activity - EVA) รวม 151 นาที Armstrong และ Aldrin ก็ปีนกลับเข้าสู่ยาน Eagle LM แล้วปิดประตู 17:54 UT หลังอยู่บนดวงจันทร์นาน 21.6 ชั่วโมง เครื่องยนต์ขาขึ้นจุดระเบิดขับดันยาน Eagle LM ส่วนบนที่มีนักบินทั้งสองนั่งบังคับยานอยู่ ขึ้นสู่อวกาศเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ เพื่อไปบรรจบและเชื่อมต่อกับยานแม่ Columbia CSM ที่โคจรรอจังหวะรับอยู่ตามการคำนวณที่พอเหมาะพอดีไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ทิ้งส่วนฐานของ Eagle LM ไว้ ณ จุดเดิมที่ลงจอด จนทุกวันนี้ 21:34 UT ยานทั้งสองพบกันและเชื่อมต่อกันสนิท 22 July 1969 00:01 UT หลังเคลื่อนย้ายสัมภาระต่างๆเข้าสู่ยานแม่ นักบินอวกาศทั้งสองก็เคลื่อนย้ายกลับเข้ายาน Columbia CSM นั่งร่วมกับ Michael Collins ผู้บังคับยาน CSM แล้วปลดยาน Eagle ทิ้งไปในวงโคจรรอบดวงจันทร์ตามแรงดึงดูด ซึ่งในที่สุดก็คงตกลงเป็นขยะบนพื้นผิวดวงจันทร์ต่อไป ซึ่งก็ไม่มีใครทราบว่าตกลงตรงไหน หรือได้โคจรรอนแรมไปไหน แต่คาดว่าส่วนบนของยาน Eagle LM นี้ คงจะตกลงบนดวงจันทร์บริเวณเส้นศูนย์สูตร (equator) ภายใน 1-4 เดือน ส่วนท่อนฐานล่างของ Eagle LM ยังคงตั้งนิ่ง ณ จุดเดิมที่ลงจอด สามารถส่องกล้องดูดาวขนาดใหญ่มองเห็นได้ 04:55 UT ยาน Columbia CSM เริ่มเปลี่ยนเส้นทางจากวงโคจรรอบดวงจันทร์เข้าสู่วงโคจรรอบโลก (Trans-Earth Injection - TEI) มุ่งหน้ากลับโลกมนุษย์ หลายชั่วโมงต่อมามีการปรับแก้เส้นทางโคจรให้ถูกต้องเป็นระยะๆ 24 July 1969 16:21 UT เมื่อยานเข้าใกล้โลกก็ปลดยานส่วนที่เป็นห้องบริการ หรือ Service Module - SM ออกจากส่วน Command Mudule - CM ซึ่งเป็นส่วนบังคับการรูปทรงกรวยแป้นแบบลูกข่างที่จะพานักบินอวกาศทั้งสามลงสู่พื้นมหาสมุทรบนโลกต่อไป ยานส่วน SM ถูกเผาไหม้หมดไปเมื่อหลุดแล้วตกลงผ่านชั้นบรรยากาศ 16:50 UT ยานส่วนบังคับการ CM ตกลงสู่พื้นมหาสมุทรแปซิฟิค ณ พิกัด 13°19’N, 169° 9’W ประมาณ 600 กิโลเมตรทางใต้-ตะวันตกเฉียงใต้ของ Wake Island, 24 กิโลเมตร ห่างจากเรือ USS Hornet ที่รอรับวีระบุรุษนักบินอวกาศทั้งสามอยู่ รวมเวลาปฏิบัติการ Apollo 11 ทั้งสิ้น 195 ชั่วโมง 18 นาที 35 วินาที. กล้องบน Apollo 11 ยาน Apollo 11 มีกล้องขนาด 70 มม. 3 ตัว กับกล้อง ถ่ายเก็บข้อมูล (data camera) ขนาดเดียวกันอีก 1 ตัว, กล้องขนาด 16 มม.เก็บข้อมูลอีก 2 ตัว, กล้อง 35 มม. 1 ตัว สำหรับถ่ายภาพมุมกว้างสองข้างของพื้นผิวดวงจันทร์ แบบใกล้ชิด (stereoscopic closup camera) ภาพที่ได้กลับมา เป็นภาพขนาด 70 มม. 1,359 ภาพ (frame), 16 มม. automatic 58,134 ภาพ, และภาพ stereoscopic 17 คู่ อุปกรณ์ที่ติดตั้งทิ้งไว้ให้ทำงานบนพื้นผิวดวงจันทร์
อ้างอิง : ข้อมูลทั้งหมดเรียบเรียงจาก Philip J. Stooke, The International Atlas of Lunar Exploration, Cambridge University Press, Cambridge, 2007, ISBN: 978-0-521-81930-5 (หน้า 22, 207-212) (มีการแต่งเติมเสริมข้อมูลเล็กน้อยโดยสมเกียรติ อ่อนวิมล ผู้เขียนภาคภาษาไทย) สมเกียรติ อ่อนวิมล 20 กรกฎาคม 2562 |
|