Thailand is unique among the countries of Southeast Asia in that it has never been a European colony....Thais, unlike most other Southeast Asians, are untouched by a trace of what the psychiatrists call trauma where European are concerned. They treat visitors with neither resentment nor exaggerated respect but rather with a gracious air of quiet curiosity, which makes their guests feel flattered and at ease. More important than its effects upon contemporary tourists have been the consequences of this attitude towards visitors upon Thailand's own colourful history, both early and contemporary." |
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
KHAO YAI NATIONAL PARK
(51'15")
Vertical Divider
|
Vertical Divider
บทภาพยนตร์
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ KHAO YAI NATIONAL PARK นี่คือต้นทางของลำตะคอง ลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง แล้วไหลออกเป็นแม่น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน พืชผลและบรรดาปศุสัตว์ในพื้นที่รอบๆรัศมีผืนป่าแห่งเทือกเขาดงพญาเย็น และ เขาใหญ่ หลายจังหวัด ด้านใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ของแผ่นดินไทย ผืนป่าเขาใหญ่ และพื้นที่ใกล้เคียงในอาณาบริเวณดงพญาเย็นแห่งเทือกเขาพนมดงรัก ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 เปิดทางไปสู่ยุคใหม่แห่งการอนุรักษ์หวงแหนความงดงามของป่าเขาลำเนาไพร ธรรมชาติแวดล้อมที่มีพลานุภาพต่อวิถีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของพลเมืองที่อาศัยธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ยิ่งใหญ่ ตระการตา สงบ ร่มเย็น งดงาม ยั่งยืน ในปัจจุบัน ประเทศไทยจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแล้ว 131 แห่ง ที่ประกาศเป็นทางการแล้ว อีก 23 แห่งอยู่ระหว่างเตรียมการ รวมทั้งหมด 154 แห่ง แต่ผืนป่าดงพญาเย็นและเขาใหญ่ที่นี่นั้นครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนัก ในพื้นที่ติดต่อเนื่องกัน ในเวลาต่อมา รัฐบาลได้ประกาศให้: ป่าทับลานเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน ในปี 2524 ป่าปางสีดา เป็นอุทยานแห่งชาติปางสีดา ในปี 2525 และป่าตาพระยา เป็นอุทยานแห่งชาติ ปี 1539 ส่วนป่าดงใหญ่ที่อยู่ติดกัน ก็ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ในปี 2539 พื้นที่ทั้งหมดนี้รวมกันมีขนาดกว้างใหญ่ถึงกว่า 6 พัน 1 ร้อย ตารางกิโลเมตร (6,152.13 ตารางกิโลเมตร) หรือเกือบ 3 ล้าน 8 แสน 5 หมื่นไร่ (3,845,082.53 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสระบุรี, นครนายก, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, และ บุรีรัมย์ พื้นที่อันยิ่งใหญ่ทั้งหมดนี้ ได้รับการประกาศโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เฉพาะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่แห่งเดียว ก็ครอบคลุม 4 จังหวัด คือ สระบุรี, นครราชสีมา, ปราจีนบุรี และ นครนายก รวมเนื้อที่ 2,156.55 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 1 ใน 3 ของ ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น - เขาใหญ่ทั้งหมด ที่นี่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ยิ่งใหญ่ เป็นความสงบงดงามแห่งธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ร่มเย็น ชุ่มฉ่ำ เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร 5 สาย คือ ห้วยลำตะคอง, ห้วยลำพระเพลิง, ห้วยมวกเหล็ก, แม่น้ำนครนายก และ แม่น้ำปราจีนบุรี กว่าจะมาถึงวันนี้ วันที่เขาใหญ่ได้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกในประวัติศาสตร์การอนุรักษ์ป่าเขาลำเนาไพรของคนไทย เราต้องเผชิญกับปัญหาการบุกรุกทำลายป่ามาก่อน อย่างยาวนาน และกว่าที่ผู้คนจะเข้าใจถึงความสำคัญของป่าที่มีต่อชีวิตที่เป็นสุขสมบูรณ์และยั่งยืน ป่าไม้ของไทยก็มิได้อุดมสมบูรณ์เหมือนสมัยร้อยปีก่อนหน้านี้ จะเหลือป่าที่สมบูรณ์ไว้ก็เพียงที่ได้กำหนดเขตพื้นที่ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า, และ วนอุทยาน ตามข้อมูลทางการของกรมป่าไม้และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2558 พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยเหลือเพียง 102,120,417.98 ไร่ หรือ 31.57 % ของพื้นที่ประเทศไทยเท่านั้น และการที่มีอุทยานแห่งชาติและที่เตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย รวมทั้งหมด 148 แห่ง 70,166.12 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น แต่ละอุทยานก็อยู่แยกห่างกันเป็นส่วนใหญ่ เป็นอุปสรรคต่อธรรมชาติ พืชและสัตง์จะฟื้นตัวและขยายพันธุ์ให้สมบูรณ์ยั่งยืนเมื่อผืนป่าถูกตัดขาดออกจากกัน สัตว์ป่าก็ถูกจำกัดบริเวณหากินและแพร่พันธุ์ ทั้งที่ชีวิตสัตว์ต้องการพื้นที่กว้างเพื่อการตระเวณหาอาหารและดำรงชีวิต พืชก็ไม่อาจกระจายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ เพื่อให้เป็นสะพานเชื่อมโยงพืชและสัตว์ให้มีพื้นที่อยู่อาศัยและกระจายพันธุ์อย่างเสรีมากขึ้น จึงได้มีการจัดระบบรวมป่าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อยู่ใกล้เคียงกัน มีระบบนิเวศคล้ายกัน หรือใกล้เคียงกัน ให้เข้าเป็นกลุ่มป่ากลุ่มเดียวกัน โดยคำนึงเรื่องกายภาพ และชีวภาพ ทางกายภาพ ป่าในกลุ่มเดียวกันจะต้องเป็นป่าขนาดใหญ่เป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน หรือไม่ก็ต้องไม่กระจายห่างกันมากนักต้องอยู่ในแนวเทิอกเขาหรือภูเขาที่ต่อเนื่องกัน มีสังคมพืชและสัตว์ที่ใกล้เคียงกัน มีพื้นที่ลุ่มน้ำต่อเนื่องกัน พื้นที่ทะเลต่อติดกัน มีพื้นที่ต่อเนื่องกับป่าหรือเขตอนุรักษ์ของประเทศข้างเคียงในด้านชีวภาพ ต้องเป็นแหล่งเจริญพันธุ์ของสัตว์ป่าขนาดใหญ่หลายๆชนิด มีระบบนิเวศป่าหลากหลาย เป็นแหล่งของพืชและสัตว์ท้องถิ่นที่ถูกคุกคาม เสียงต่อการสูญพันธุ์ หรือใกล้สูญพันธุ์ เป็นพื้นที่เชื่อมต่อหรือซ้อนทับของเขตชีวภูมิศาสตร์ของพืช และ สัตวภูมิศาสตร์หลายเขต ปัจจุบันนี้มีการจัดกลุ่มป่าที่สำคัญ แล้ว 14 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มป่าลุ่มน้ำปาย - สาละวิน 2. กลุ่มป่าศรีลานนา - ขุนตาล 3. กลุ่มป่าแม่ปิง - อมก๋อย 4. กลุ่มป่าดอยภูคา - แม่ยม 5. กลุ่มป่าภูเมี่ยง - ภูทอง 6. กลุ่มป่าภูเขียว - น้ำหนาว 7. กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ 8. กลุ่มป่าตะวันออก (รอยต่อ 5 จังหวัด) 9. กลุ่มป่าตะวันตก 10. กลุ่มป่าแก่งกระจาน 11. กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก 12. กลุ่มป่าเขาหลวง 13. กลุ่มป่าเขาบรรทัด 14.กลุ่มป่าฮาลา-บาลา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จัดร่วมอยู่ในกลุ่มป่า ที่ 7 คือกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งรวมพื้นที่ทั้งหมด 3,872,938.78 ไร่ หรือ 6,196.70 ตร.กม. ประกอบด้วย 1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และ 5 อุทยานแห่งชาติทั้งหมดมีพื้นที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันในทางกายภาพ และระบบนิเวศท้องถิ่น คือ: 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ 195,486 ไร่ 1. อุทยานแห่งชาติตาพระยา จังหวัดบุรีรัมย์ และสระแก้ว เนื้อที่ 371,250 ไร่ 2. อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี เนื้อที่ 527,500 ไร่ 3. อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี และ นครราชสีมา เนื้อที่1,397,375 ไร่ 4. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ปราจีนบุรี นครนายก และสระบุรี เนื้อที่ 1,353,472.53 ไร่ และ 5. อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น (หรือพระพุทธฉาย) จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ 27,856.25 ไร่ ในอดีต กลุ่มป่าดงพญาเย็นเขาใหญ่ มีความดิบเถื่อนแห่งพนาไพรอย่างที่สุด เทือกเขาสลับซับซ้อน สูงใหญ่ ยาวไกล ผืนป่าแน่นขนัดไปด้วยเหล่าไม้ป่าและนานาสัตว์ นกสารพัดชนิด บินร่าเริงทั่วทุกท้องฟ้า ป่าดิบ และ เถื่อน จนได้ชื่อแต่ดั้งเดิมว่าป่าดงพญาไฟ ก่อนปี พ.ศ. 2505 ป่าดงพญาไฟเป็นพื้นที่ป่าต่อเนื่องเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน อาณาบริเวณหลายล้านไร่ ตั้งแต่ภ่คอีสานตอนล่าง มาภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคกลาง เป็นป่าทึบ ถิ่นกันดาร ห่างไกลความเจริญของชุมชน มีไข้ป่าชุกชุม สัตว์ป่าขนาดใหญ่มากมาย หากินท่องไปทั่วพื้นที่อย่างเสรี หลังสงครามโลกครั้งที่สองผืนป่าอันยิ่งใหญ่นี้ก็ถูกบุกรุกทำลาย เปิดพื้นที่ทำการเกษตร สร้างชุมชน จับจอง ซื้อขายกัน จนสุดจะหยุดยั้ง มีการสร้างถนนมิตรภาพผ่ากลางป่า นำความเจริญที่นำไปสู่การรุกทำลายป่ามากขึ้น ดงพญาไฟจึงมอดสิ้น กลายเป็นดงพญาเย็น จนถึงวันที่เขาใหญ่ได้รับการใส่ใจอีกครั้ง ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย เมื่อวันที่ 19 กันยาน 2505 แล้วการบริหารจัดการป่าและอุทยานแห่งชาติของทางราชการก็เริ่มปฏิบัติการย้อนยุค พยายามรวมดงพญาไฟที่เคยยิ่งใหญ่ ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง ในนาม กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความหลากหลายของป่าเขตร้อน หลายประเภทสังคมป่า หรือชนิดป่าในประเทศไทยโดยรวม แบ่งตามลักษณะที่เห็นจากภายนอก เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ ป่าดงดิบ (Evergreen Forests) และ ป่าผลัดใบ (Deciduous Forests) โดยดูที่ไม้ส่วนใหญ่ในพื้นที่ป่านั้นๆ ซึ่งอาจจะมีไม้ส่วนน้อยที่ไม่ผลัดใบในป่าผลัดใบ และไม้ส่วนน้อยที่ผลัดใบ ในป่าไม่ผลัดใบ ภายใต้การจำแนกชนิดของป่ากลุ่มใหญ่สองกลุ่มนี้ ก็แยกย่อยชนิดป่าออกไปอีกเป็นหลายประเภท ป่าดงดิบ แยกย่อยออกได้เป็น 1.ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest) 2. ป่าสนเขา (Coniferous Forest / Pine Forest) 3. ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain Forest) ซึ่งแยกออกไปได้อีกเป็น 2 ชนิด คือ (1) ป่าดงดิบชื้นระดับต่ำ (Lower Tropical rain Forest) (2) ป่าดงดิบชื้นระดับสูง (Upper Tropical rain Forest) 4. ป่าดงดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) 5. ป่าพรุน้ำจืด (Swamp Forest) 6. ป่าชายหาด (Beach Forest) 7. ป่าชายเลน (Mangrove Forest) ป่าผลัดใบ แบ่งออกได้เป็น 1. ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบ็ญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ซึ่งแยกออกไปได้อีกเป็น 3 ชนิด คือ (1) ป่าผสมผลัดใบ(ชื้น) หรือป่าเบ็ญจพรรณ ในระดับสูง (Moist Upper Mixed Deciduous Forest) (2) ป่าผสมผลัดใบแล้ง หรือป่าเบ็ญจพรรณ ในระดับสูง (Dry Upper Mixed Deciduous Forest) (3) ป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบ็ญจพรรณ ระดับต่ำ (Lower Mixed Deciduous Forest) 2. ป่าเต็งรัง ( Deciduous Dipterocarp Forest) 3. ป่าทุ่ง (Savanna) 4. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือถิ่นอุดมสมบูรณ์ของป่าดงดิบในประเทศไทย ป่าดงดิบเขา บนที่สูงสุดตามยอดเขาที่สูงประมาณ 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีอากาศเย็น คือที่เติบโตของป่าดงดิบเขา หรือป่าดิบเขา โดยเปรียบเทียบกับป่าดิบเขาบนเขาสูงภาคเหนือ ป่าดิบเขาที่เขาใหญ่จัดเป็นป่าดิบเขาระดับพื้นที่ที่มีความสูง ต่ำกว่า แต่ไม้ที่ขึ้นหนาแน่นก็มีต้นสูงได้มาก เรือนยอดชั้นบนสูงถึง 30 เมตร ป่าดิบเขา ไม่มีพืชประเภทขึ้นอิงอาศัยตามลำต้นไม้ใหญ่มากนัก ไม้วงศ์ยางต่างๆที่พบในป่าดิบชื้อที่ต่ำกว่า จะไม่เห็นขึ้นปะปนที่นี่ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ เสม็ดแดง และ ก่อ นอกจากนั้นก็มี มะขามป้อมดง ขุนไม้ สนสามพันปี ไม้ชั้นรองมีพวกเก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ หว้า เรือนยอดไม้พุ่มชั้นล่างสูงไม่เกิน 10 เมตร มีพืชคลุมดินต่างๆเช่น ขิง ข่า กระชายป่า กระเจียวขาว ขมิ้นขม ขมิ้นแดง ไม้เกาะอิงอาศัยมีกล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆ ป่าดิบชื้น อยู่ระดับต่ำกว่า 1,000 เมตร ลงไปถึง 400 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีไม้วงศ์ยางขึ้นอยู่มาก ยางเสียน กระตุก หวาย ตามลำธารจะมีไม้ไผ่ กระบอกขนาดใหญ่อยู่มาก นอกนั้นก็มีผักกูด ละอองไฟฟ้า ชายผ้าสีดา กล้วยไม้อิงอาสัยก็พบในป่าดิบชื้นนี้ด้วย และ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดิบแล้ง อยู่ทางตะวันออก บนพื้นที่ราบลูกเนิน ระดับความสูง 200-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ ที่เด่นก็มีเช่น ทองหลางป่า กระบากรัง จำปีป่า สีเสียดเทศ หว้าลิง ประดู่ กระเพราต้น ไม้ชั้นรอง มีกระเบากลัก หลวงขี้อาย กัดลิ้น หมาก ลาน ป่าเบ็ญจพรรณ อยูทางแถบเหนือของอุทยาน ระดับความสูง 200-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มะค่าโมง สะแกแสง พืชชั้นล่าง มีไผ่ หญ้าต่างๆ และกล้วยไม้ ป่าที่ถูกทำลาย เมื่อฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ เรียกว่าเป็นป่ารุ่นสอง หรือป่าเหล่า ที่ขึ้นเป็นทุ่งหญ้าคลุมดินเป็นบริเวณกว้าง เห็นชัดเจนที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยเฉพาะที่บริเวณหนองผักชี ซึ่งมีทุ่งหญ้ากว้าง มีป่าเบ็ญพรรณที่หลงเหลืออยู่แซมบ้าง และ ในพื้นที่ขอบทุ่งหญ้าที่จะเข้าไปเป็นป่าลึก มีพรรณไม้มากกว่า 2,500 ชนิด มีหลายชนิดเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นที่หายาก บนยอดเขาสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป จะพบพรรณไม้จากเขตหนาวซีกโลกเหนือด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เฉพาะสัตว์ปีก มีนกพันธุ์ต่างๆกว่า 340 ชนิด แมลงกว่า 5,000 ชนิด ผีเสื้อกว่า 200 ชนิด นกเงือก คือจ้าวแห่งปักษีที่เขาใหญ่ เจาะโพรงไม้ทำรังเลี้ยงลูกอ่อนกระจายอยู่ในป่าลึก นกเงือกในโลกมีกว่า 50 ชนิด มีชื่อเรียกแยกต่างๆกันไป อยู่ในป่าเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา ในประเทศไทยมี 13 ชนิด และที่เขาใหญ่พบอย่างน้อย 4 ชนิด คือนกเงือกที่เรียกว่า นก-กก หรือนกกะวะ หรือนกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง หรือ นกกู่กี๋ และ นกแก๊ก หรือ นกแกง ราชอาณาจักรไทย มีขนาดพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือ 320 ล้าน 6 แสนไร่ ราชอาณาจักร แปลว่าแผ่นดินของพระราชา หมายความว่า กว่าจะมาได้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นกันทุกวันนี้ ทั้ง คน ทั้ง สัตว์ และทั้งพืชพรรณธัญญาหาร ในพื้นที่ที่เป็นประเทศขนาดกลาง ด้วยพลเมืองที่สูงกว่าระดับกลาง และด้วยธรรมชาติแวดล้อมในระดับสูงแห่งหนึ่งในโลก ก็เพราะพระราชาแห่งราชอาณาจักรทุกพระองค์ ทรงก่อร่างสร้างแผ่นดิน พิทักษ์เอกราช และปกป้องป่าเขาลำเนาไพร และพื้นมหาสมุทรมายาวนานให้เป็นแผ่นดินไทยทุกวันนี้ กว่า 700 ปี แต่ในทางธรณีวิทยา แผ่นดินไทยมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์กว่ามาก นานมาก หลายล้านปี อายุทางธรณีวิทยา คือวันเวลาที่เกิดโลกที่เป็นลูกหินละลายห่อหุ้มด้วยแผ่นเปลือกหินรอบนอกที่เย็นลง จนก้อนกลมในอวกาศนี้กลายเป็นดาวเคราะห์โลก เริ่มวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วเป็นสิ่งมีมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีความเป็นพืชหรือสัตว์ตามความหมายที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้น ราชอาณาจักรไทย มีขนาดพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือ 320 ล้าน 6 แสนไร่ ราชอาณาจักร แปลว่าแผ่นดินของพระราชา หมายความว่า กว่าจะมาได้อยู่อาศัยอย่างร่มเย็นกันทุกวันนี้ ทั้ง คน ทั้ง สัตว์ และทั้งพืชพรรณธัญญาหาร ในพื้นที่ที่เป็นประเทศขนาดกลาง ด้วยพลเมืองที่สูงกว่าระดับกลาง และด้วยธรรมชาติแวดล้อมในระดับสูงแห่งหนึ่งในโลกก็เพราะพระราชาแห่งราชอาณาจักรทุกพระองค์ ทรงก่อร่างสร้างแผ่นดิน พิทักษ์เอกราช และปกป้องป่าเขาลำเนาไพร และพื้นมหาสมุทรมายาวนานให้เป็นแผ่นดินไทยทุกวันนี้ กว่า 700 ปี แต่ในทางธรณีวิทยา แผ่นดินไทยมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์กว่ามาก นานมาก หลายล้านปี อายุทางธรณีวิทยา คือวันเวลาที่เกิดโลกที่เป็นลูกหินละลายห่อหุ้มด้วยแผ่นเปลือกหินรอบนอกที่เย็นลง จนก้อนกลมในอวกาศนี้กลายเป็นดาวเคราะห์โลก เริ่มวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วเป็นสิ่งมีมีชีวิตเซลล์เดียว ไม่มีความเป็นพืชหรือสัตว์ตามความหมายที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้นคือยุคที่ดาวเคราะห์โลกผ่านกาลเวลามา4,600 ล้านปีแล้ว เท่าๆกับอายุของดวงอาทิตย์ เรียกยุคนั้นว่า ยุค Archean (Archean Period) 4,600 - 2,500 ล้านปีที่แล้ว คือช่วงเวลาแห่งดึกดำบรรพกาล Proterozoic Period 2,500 - 542 ล้านปี เริ่มมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเกิดและอาศัยอยู่ในทะเล Cambrian Period 542 - 488 ล้านปี เริ่มมีสัตว์ที่มีเปลือกแข็งหุ้มตัวเช่น Trilobite ที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล มีไครนอยด์ และ หอยชนิดต่างๆ Ordovician Period 488 - 444 ล้านปี เริ่มมีสัตว์ตระกูลปลา ไม่มีครีบ ไม่มีขากรรไกร พบ Trilobite ขนาดใหญ่มาก มีนอติลอยด์ขนาดยักษ์ เริ่มมีปะการังแพร่หลาย Silurian Period 444 - 416 ล้านปี เริ่มยุคน้ำแข็ง มีแกรปโตไลต์แพร่หลาย Devonian Period 416 - 359 ล้านปี เป็นยุคของปลา เป็นช่วงเริ่มการกำเนิดของปลาฉลาม เริ่มพบแมลง และมีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก คืบคลานจากทะเลขึ้นสู่พื้นดิน Carboniferous Period 359 - 299 ล้านปี เป็นยุคเจริญเติบโตของพืชบก เกิดเฟิร์นขนาดักษ์ ซึ่งกลายเป็นภาพตัวแทนของโลกยุคดึกดำบรรพ์ในการสื่อสารของมนุษย์ยุคต่อมา ป่าไม้เติบโตแน่นโลกแล้วในช่วงนี้ Permian Period 299 - 251 ล้านปี มีการสะสมของหินปูนในทะเลอย่างกว้่างขวาง เป็นที่มาเกิดชองเกาะหินปูนต่างในอ่าวไทย และ ทะเลอันดามัน บางที่เกิดแร่ยิปซั่ม มีแมลงปีกแข็ง สัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด Trilobite เริ่มสูญพันธุ์ Triassic Period 251 - 200 ล้านปี แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนย้ายมาประสานเชื่อมต่อติดกัน เกิดแผ่นดินยุคดึกดำบรรพ์ และทวีปต่างๆบนพื้นผิวโลก เริ่มยุคภูเขาไฟ หินแกรนิตแทรกดันขึ้นบนผิวโลก ดังที่เห็นในหมู่เกาะสุรินทร์ และ สิมิลันในทะเลอันดามัน เกิดแหล่งแร่มากมาย เป็นยุคสัตว์เลื้อยคลาน เริ่มปรากฏไดโนเสาร์เป็นยุคแรก Jurassic Period 200 -145 ล้านปี ยุคไดโนเสาร์เฟื่องฟู ทะเลเริ่มถดถอยจากแผ่นดินไทย และที่อื่น ดังจะเห็นซากฟอสซิลหอยทะเลบนยอดเขา เช่นที่ภูเวียง หรือพบแหล่งเกลือสินธุ์เทาบนที่ราบสูงภาคอีสาน พบแอมโมนอยด์แพร่หลาย เริ่มมีนก Cretaceous Period 145 - 65 ล้านปี เริ่มมีพรรณไม้ดอก หอยน้ำจืดแพร่หลาย มีการสะสมตัวของเกลือหินและแร่โพแดช หินแกรนิตดันขึ้นมา ให้แร่ดีบุก และ ทังสเตน โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทยยุคดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สลายหายดับสิ้นสูญพันธุ์ไปตอนปลายยุคนี้ นักดึกดำบรรพ์วิทยาคิดว่าห่าอุกาบาตตกกระหน่ำทำลายโลกมืดมิดยาวนาน เป็นเหคุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ Paleogene Period 65 - 23 ล้านปี เริ่มยุคสัตว์กีบ ม้า และ ช้าง ต่อมา มีหนู และลิง อ่าวไทยพัฒนาจนมี แหล่งปิโตรเลี่ยม ตามมาด้วยหมี และ สุนัข เป็นยุคไม้ดอกเจริญเต็มที่ทั่วไป Neogene Period 23 - 2.5 ล้านปี ถ่านหินสะสมตัวกว้างขวาง ช้าง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่หลายกระจายทั่ว Quaternary Period 2.5 ล้านปี - ปัจจุบัน ช่วงของยุค แยกย่อยออกเป็นช่วงย่อยๆ เรียกว่า “สมัย” (Epoch) สมัยแรกของยุค Quaternary เรียกว่าสมัยไพลส์โตซีน (Pleistocene Epoch) ภูเขาไฟปะทุหนัก ให้กำเนิดแหล่งแร่พลอย เริ่มมนุษย์ยุคแรก เรียกว่า “มนุษย์สมัยหิน” จะถูกต้องกว่าที่จะเรียกว่า “มนุษย์ยุคหิน” สมัยโฮโลซีน (Holocene Epoch) เป็นสมัยล่าสุดถึงปัจจุบันของยุค Quaternary Period กำเนิดมนุษย์ยุคปัจจุบัน กว่าล้านปีที่ผ่านมา มนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญที่สุดโดยเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น แต่มนุษย์ยังไม่เจริญถึงขีดสูงระดับสันติอารยธรรม แม้จะมีความพยายามอยู่บ้าง แต่ยังไม่ประสพความสำเร็จในระดับสังคม ดงพญาไฟ คือชื่อเดิมของดงพญาเย็น เป็นพื้นธรณีชายขอบตะวันตกของที่ราบสูงโคราช อันเป็นลักษณะทางธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด แผ่นธรณีแห่งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2,168 ตร.กม.ซึ่งครอบคลุมรอยต่อจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา นครนายก และปราจีนบุรี เป็นอาณาจักรทางแผ่นดินดินแผ่นหินเปลือกโลกแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ผ่านกาลเวลากว่า 400 ล้านปี จนมาเป็นแผ่นดินแผ่นหินอันเป็นโครงสร้างของเทือกเขาดงพญาเย็น-เขาใหญ่ในทุกวันนี้ มีหินหลากหลายชนิด และตะกอนดินหินร่วน ผสมผสาน กระจายไปทั่ว ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอุทยานฯ เป็นหินเก่าที่สุดในเขาใหญ่ เป็นหินตะกอน ยุค Permian (Permian Period) อายุ 299 ถึง 251 ล้านปี ชนิดหินปูน หินดินดาน และ หินเชิร์ต เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของนำทะเลในยุคดึกดำบรรพ์ ณ บริเวณที่ที่เคยเป็นไหล่ทวีป และลาดทวีป ด้านตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นหินตะกอนภูเขาไฟ และ หินภูเขาไฟยุค เพอร์โมไทรแอสซิก (Permo-Triassic Period) ปลายยุคเพอร์เมียน 251 ล้านปี ก่อนจะเข้าสู่ยุคไทรแอสซิก (Triassic) ครอบคลุมพื้นที่เกือบครึ่งของอุทยาน ประกอบด้วยหินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ หินทัฟฟ์ หินไรโอไลต์ หินแอนดีไซต์ และ หินบะซอลต์; ตอนกลางและตะวันออกเป็นหินตะกอนธารน้ำพาของกลุ่มหินโคราช มีหินทรายและหินโคลนจากหมวดหินภูกระดึง ตอนกลางของอุทยานฯ ระหว่างเส้นทางจากมอสิงโต ไปถึงโค้งหักศอก ก่อนถึงจุดชมวิวผาเดียวดาย เป็นรอยต่อระหว่างหินทรายของหมวดหินภูกระดึง กับหินทรายในหมวดหินพระวิหารที่ทับอยู่ส่วนบน ใต้สุดของอุทยานฯ มีตะกอนร่วน กรวดทราย และ ดินเหนียว จากการกัดกร่อนของธารน้ำ จากยุคดึกดำบรรพ์ 299 ล้านปีที่แล้ว ที่เรียกว่ายุค เพอร์เมียน (Permian Period) เขาใหญ่เคยเป็นมหาสมุทร เป็นถิ่นภูเขาไฟ เป็นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ และสัตว์ดึกดำบรรพ์ทั้งหลายที่ปัจจุบันทิ้งร่องรอยเป็นซากฟอสซิลส์ และรอยประทับบนโขดหินที่คงสภาพให้เห็นถึงยุคปัจจุบัน ในพื้นเขาใหญ่ แห่งดงพญาไฟที่เปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น “ดงพญาเย็น” ทุกวันนี้ ร่องรอยแห่งอดีตดึกดำบรรพ์ปรากฏกระจายไปทั่วในดินแดนที่ราบสูงโคราช หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ขีวิตสัตว์ดึกดำบรรพ์วิวัฒนาการอยู่รอดมาได้ก็เพราะความเข้มแข็งในการปรับตัวให้อยู่สู้กับธรรมชาตินานหลายล้านปีได้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากมายหลายชนิด สัตว์กินเนื้อ 16 ชนิด ช้าง 1 ชนิด สัตว์กีบ 7 ชนิด สัตว์กินแมลง 3 ชนิด สัตว์จำพวกลิง 5 ชนิด กระต่าย 1 ชนิด สัตว์จำพวกใช้ฟันแทะ 6 ชนิด ค้างคาวกว่า 25 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำ 70 ชนิด สรรพสัตว์ทั้งปวงยังพึ่งพาความสมบูรณ์แห่งธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร ณ ดินแดนดึกดำบรรพ์แห่งนี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นมรดกทางธรรมชาติแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นมรดกทางธรรมชาติแห่งมวลมนุษยชาติบนมนุษย์โลกด้วย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย |
Vertical Divider
บทเริ่ม
GRAND TITLE (3'34") |
Vertical Divider
บทนำ
INTRODUCTION (5') |