Strong Democracy
โดย
Benjamin R. Barber
*
หนังสือชื่อเต็มว่า
Strong Democracy :
Participatory politics for a New Age
แปลว่า
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง : การเมืองแบบมีส่วนร่วมในยุคใหม่ ”
ย่อมหมายความว่า มีประชาธิปไตยแบบไม่เข้มแข็งไม่เข้มข้นอยู่ในโลกจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งยังไม่สามารถให้ความสุขความเจริญแก่มนุษย์บนโลกได้ดีพอ จึงได้มีการค้นคิดประชาธิปไตยสำหรับยุคใหม่ ที่เข้มแข็งกว่าเดิม ในเวลาเดียวกันก็ทำให้เชื่อได้ว่า มนุษยชาติยังพอใจกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่เห็นว่าต้องพัฒนาแนวคิดประชาธิปไตยให้ได้ดีกว่าเดิม
Strong Democracy
พิมพ์ออกสู่สายตานักรัฐศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. ๒๕๒๗) สร้างความตื่นเต้นให้กับนักคิดทางการเมืองในหลายมหาวิทยาลัยรอบโลก
ศาสตราจารย์ Bruce Ackerman จาก
Yale University ชื่นชมว่า Strong Democracy
“เป็นหนึ่งในมาตรวัดมาตรฐานงานเขียนสาขาปรัชญารัฐศาสตร์ ... เป็นความคิดใหม่เรื่องประชาธิปไตยที่จะอยู่คู่กับกาลเวลา”
ศาสตราจารย์ Nannerl O. Keohane จาก
Duke University ยกย่องว่า
Strong Democracy
“กระตุ้นความคิดที่ชอบด้วยเหตุและผลเหมาะกับยุคสมัยอย่างสำคัญ”
20 ปีผ่านไป
Strong Democracy
ได้รับการพิมพ์ใหม่สองครั้ง
โดยศาสตราจารย์
Barber ย้ำว่า
(XXIV)
“Finally, democracy can survive only as strong democracy, secured not only by great leaders but by competent, responsible citizens.”
“ประชาธิปไตยจะอยู่รอดก็ด้วยประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งเท่านั้น โดยจะอยู่อย่างมั่นคงมิใช่โดยการนำของผู้นำที่ยิ่งใหญ่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องอยู่อย่างมั่นคงด้วยพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ”
เริ่มต้นที่ครึ่งแรกของหนังสือเล่มนี้ก่อนที่ว่าด้วย
“ประชาธิปไตยที่ไม่เข้มแข็ง”
ที่โลกใช้อยู่เป็นส่วนใหญ่ และเชื่อกันว่าเป็นการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดแล้วที่มนุษย์ค้นพบ
นั่นคือ
“Liberal Democracy”
“ประชาธิปไตยแบบเสรี”
หรือ
“ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม”
(3)
“Liberal democracy has been one of the sturdiest political systems in the history of the modern West. As the dominant modern form of democracy, it has informed and guided several of the most successful and enduring governments the world has known….”
ประชาธิปไตยแบบเสรี ได้กลายเป็นหนึ่งในระบบการเมืองที่แข็งขันได้ผลที่สุดในประวัติศาสตร์ชนชาติตะวันตกสมัยใหม่ ในฐานะที่เป็นรูปแบบของประชาธิปไตยยุคใหม่ที่มีอิทธิพลและเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมได้ให้ความรู้ความเข้าใจและเป็นเครื่องนำทางรัฐบาลที่ประสพความสำเร็จและมั่นคงมากมายหลายประเทศที่โลกรู้จัก...”
(3-4)
“Furthermore, successful as it has been, liberal democracy has not always been able to resist its major twentieth-century adversaries: the illegitimate politics of fascism and Stalinism or of military dictatorship to totalism. Nor has it been able to cope effectively with its own internal weaknesses and contradiction”
“ยิ่งไปกว่านั้น แม้จะรู้กันดีแล้วว่าประสพความสำเร็จอย่างมาก แต่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมก็ไม่สามารถต้านพลังขัดขวางที่สำคัญในศตวรรษที่2 0 ได้เสมอไป ไม่ว่าจะเป็นเหล่าศัตรูของประชาธิปไตยที่เป็นการเมืองอันไม่ชอบธรรมในนามของลัทธิ Fascism และ Stalinism หรือเผด็จการโดยคณะทหาร รวมไปถึงเผด็จการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จโดยกลุ่มบุคคลอื่นใด และประชาธิปไตยแบบเสรีก็ยังมิสามารถรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพกับปัญหาความอ่อนแอและขัดแย้งภายในสังคมเสรีประชาธิปไตยเอง”
(4)
“Liberal democracy is based on premises about human nature, knowledge, and politics that are genuinely liberal but that are not intrinsically democratic. Its conception of the individual and of individual interest undermines the democratic practices upon which both individuals and their interests depend.”
“ประชาธิปไตยเสรี ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ยึดมั่นในธรรมชาติของมนุษย์ ปัญญาความรู้ และการเมืองที่เป็นเสรีอย่างแท้จริง แต่การเมืองที่เป็นเสรีอย่างแท้จริงนั้น แทรกลึกๆในตัวของมันเองก็มิได้มีความเป็นประชาธิปไตย ความคิดเรื่องความเป็นตัวตนอย่างอิสระของตนเองที่มีผลประโยชน์ส่วนตนติดพ่วงอยู่ด้วยเสมอ ธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้เองที่กัดกร่อนทำลายการทำงานของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งบุคคลกับผลประโยชน์ของแต่ละคนจำต้องพึ่ง”
นี่ก็หมายความว่า
“ประชาธิปไตยแบบเสรี” นั้น เกิดและคงอยู่เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่ต้องการเสรีภาพเฉพาะส่วนที่ตนเองได้ประโยชน์ และการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนให้ได้ดีที่สุดนั้นต้องอาศัยความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตย แต่มนุษย์สนใจผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าความเสมอภาคส่วนรวม เสรีภาพส่วนตน จึงขัดแย้งกับความเสมอภาคส่วนรวม
ด้วยเหตุนี้ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมนั้นถึงจะรุ่งเรื่องอยู่บนโลกมนุษย์อย่างไรในปัจจุบัน ก็ยังแก้ปัญหา หรือเลี่ยงปัญหาขัดแย้งในตัวเองไม่ได้
(4)
“Liberal democracy is thus a ‘thin’ theory of democracy,…”
“ดังนั้น ประชาธิปไตยแบบเสรีจึงเป็นประชาธิปไตยที่มีลักษณะ ‘แบบบาง’ “
ศาสตราจารย์ Benjamin R. Barber ใช้คำว่า
“thin”
แปลว่า
“บาง”
สำหรับ ประชาธิปไตยแบบเสรี
ซึ่งมิได้มีความหมายตรงข้ามกับคำว่าหนา
และมิได้หมายความว่าอ่อนแอ แต่มีความหมายทำนองไม่เข้มข้น ไม่แข็งแรง มีจุดอ่อน แนวปะทะที่เปราะบางแตกหักได้
(4)
“Liberal democracy is thus a ‘thin’ theory of democracy, one whose democratic values are prudential and thus provisional, optional, and conditional – means to exclusively individualistic and private ends. From this precarious foundation, no firm theory of citizenship, participation, public goods, or civic virtue can be expected to arise. Liberal democracy, therefore, can never lead too far from Ambrose Bierce’s cynical definition of politics as ‘the conduct of public affairs for private advantage.”
“ประชาธิปไตยแบบเสรี เป็นประชาธิปไตยที่แบบบาง มีค่านิยมของความเป็นประชาธิปไตยที่ฉลาดรอบคอบ เฉพาะช่วงเฉพาะกาล มีให้เลือกหลายแบบหลายทาง
อย่างมีเงื่อนไข ประชาธิปไตยแบบเสรีนี้เป็นเพียงหนทางนำไปสู่ผลประโยชน์ส่วนบุคคลโดยเฉพาะเท่านั้น จากรากฐานที่ไม่หนักแน่นแน่นอนนี้เอง ก็ไม่มีหลักทฤษฎีแน่นอนอะไรเลยเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีหลักชัดแจ้งเรื่องการมีส่วนร่วมของพลเมือง การทำคุณความดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็ไม่มีทฤษฎีให้ยึดเหนี่ยว แล้วจะหวังให้มีการสร้างคุณธรรมในหมู่พลเมืองก็ไม่อาจหวังได้ ประชาธิปไตยแบบเสรีนี้ก็ไม่อาจหวังได้เลยว่าจะนำทางสังคมไปได้ไกลไปจากที่ศาสตราจารย์
Ambrose Bierce เรียกอย่างประชดประชันว่าเป็น ‘การเมืองที่เป็นเพียงการบริหารกิจการสาธารณะเพื่อประโยชน์อันเป็นความได้เปรียบส่วนบุคคล’ “
เสรีประชาธิปไตยมีคุณลักษณะที่กลายเป็นจุดอ่อนสามประการ คือ
Anarchist
อนาธิปไตย
ยอมตามเสียงข้างไปมากจนบ้านเมืองไร้ขื่อแป
Realist
เป็นธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
ที่จำต้องยอมรับว่ามนุษย์ต้องการการปกครองที่ตนเองได้ประโยชน์มากที่สุด
และ
Minimalist
การยอมให้มีค่าเสียหายน้อยที่สุด
การเมืองการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนี้ ศาสตราจารย์ Benjamin Barber เรียกว่าเป็นการเมืองแบบการดูแลสวนสัตว์
(20)
Politics as Zookeeping
การเมืองแบบเฝ้าสวนสัตว์
การปกครองแบบดูแลเหล่าสัตว์ในเขาดิน
ปัญหาก็คือ
ใครเล่าจะเป็นผู้ดูแลคนที่ดูแลเขาดิน
Liberal Democracy
ประชาธิปไตยแบบเสรี
ประชาธิปไตยที่มนุษย์ค้นพบว่าเป็นการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา และกำลังใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง กำลังต่อสู้ฆ่าฟันกวาดล้างไล่ล่ากันชุลมุนบนโลกมนุษย์
ที่สุดก็เป็นประชาธิปไตยที่ยังไม่สมหวัง
ถึงไม่อ่อนแอ
ก็ เป็น
ประชาธิปไตยที่แบบบาง
Thin Democracy
นี่คือที่มาของการค้นหาประชาธิปไตยรูปแบบใหม่เพื่อแทนที่ ประชาธิปไตยแบบเสรี จนได้พบประชาธิปไตยที่เข้มข้นเข้มแข็งกว่า
เรียกว่า
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง”
Strong Democracy
โดย
Benjamin R. Barber
เป็นแนวคิดประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ที่นำเสนอเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา
(114)
เป็นข้อถกเถียงที่กำหนดให้พลเมืองเป็นศูนย์กลางของกระบวนการปกครองรัฐ
เป็นการเมืองที่มีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ใกล้ชิด ทุกขั้นตอน ทุกระดับ ทุกพื้นที่
(117)
“Strong democracy is a distinctively modern form of participatory democracy. It rests on the idea of self-governing community of citizens who are united less by homogeneous interests than by civic education and who are made capable of common purpose and mutual action by virtue of their civic attitude and participatory institutions…. “
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งเป็นรูปแบบใหม่ที่เด่นชัดในเรื่องประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ให้พลเมืองในชุมชนปกครองชุมชนของตนเอง สามัคคีภาพของพลเมืองเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นและเป็นไปโดยเงื่อนไขของการเพียงมีผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น แต่ทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยการมีการศึกษามีความรู้เรื่องหน้าที่พลเมือง ที่สามารถ มีเป้าหมายชีวิตร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันโดยยึดทัศนะแห่งการมีคุณธรรมของความเป็นพลเมืองในสังคม มีช่องทาง โอกาส และสถาบัน ที่เอื้อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง
“Yet it challenges the politics of elites and masses that masquerades as democracy in the West and in doing so offers a relevant alternative to what we have called thin democracy—that is, to instrumental, representative, liberal democracy...”
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งนี้ ท้าทายการเมืองของกลุ่มชนชั้นผู้นำส่วนบนของสังคม ท้าทายกลุ่มที่อ้างว่าเป็นมวลชนที่ป่าวร้องว่าพวกตนเป็นเป็นประชาธิปไตยที่มาจากเสียงข้างมาก มาจากการเลือกตั้ง ดั่งเช่นที่ปรากฏในโลกตะวันตก และในกระบวนการท้าทายจากประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งนี้ ก็มีข้อเสนอเป็นทางเลือกอีกทาง นอกเหนือไปจากประชาธิปไตยแบบที่โลกรู้จักกันอยู่แต่เดิม ที่เป็นประชาธิปไตยแบบมีการเลือกตั้งตัวผู้แทนราษฎร เป็นประชาธิปไตยเสรีนิยม ที่เราเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยที่แบบบาง”
(118)
ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง
ไม่ใช่
“Way of Life”
วิถีชีวิต
แต่เป็น
เป็น
“Way of Living”
วิธีดำเนินชีวิต
(132)
ทำไมจึงต้องเป็นประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง ซึ่งจะหมายถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองทุกย่างก้าวของสังคม
ศาสตราจารย์ Benjamin R. barber ตอบโดยอ้างคำอมตะของ
Voltaire
(1694-1778)
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่กล่าวไว้เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมาว่า
(132)
“Man is born for action as the sparks fly upward. Not to do anything is the same for man as not to exist”
“มนุษย์เกิดมาเพื่อการทำกิจกรรม ดุจดั่งประกายไฟที่แตกกระจายพวยพุ่ง หากมนุษย์เกิดมาแล้วไม่ทำอะไรเลย ก็เสมือนว่าไม่มีมนุษย์
และ
Jean-Jacques Rousseau
(1712-1778)
นักปรัชญาชาวสวิส-ฝรั่งเศส ผู้ร่วมสมัยกับ Voltaire ก็กล่าวว่า
“Man is born to act and think, not to reflect.”
“มนุษย์เกิดมาเพื่อการทำกิจกรรม มิใช่เกิดมาเพื่อสะท้อนปรากฏการณ์”
ใน
Realm of Politics
อาณาบริเวณแห่งการเมือง
นั้น ศาสตราจารย์ Barber อธิบายว่าพลเมืองมีเรื่องที่ต้องคิดและทำร่วมกันอย่างน้อย 7 ประการ
- Action
“In strong democracy politics is something done by, not to, citizens. Activity is its chief virtue, and involvement, commitment, obligation, and service --- common deliberation, decision, and common work are its hallmarks.”
“การเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง เป็นกิจกรรมที่ทำโดยประชาชน ไม่ใช่ทำให้ประชาชน กิจกรรมที่ทำคือคุณธรรมนำทาง การมีส่วนร่วม ความผูกพัน มุ่งมั่นตามสัญญาที่รับผิดชอบ การทำกิจกรรมบริการสังคมที่ ร่วมคิด ร่วมหารือ ร่วมตัดสิน ร่วมการงาน เป็นเสาหลักของประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง”
- Publicness
“Strong democracy creates a public capable of reasonable public deliberation and decision and therefore rejects..the fiction of atomic individuals creating social bonds ex nihilo.”
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งสร้างสังคมสาธารณชนที่มีขีดความสามารถที่จะใช้ความชอบด้วยเหตุและผลในการพิจารณาปัญหาและตัดสินใจ ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง ปฏิเสธที่จะรับความคิดที่ว่ามนุษย์แต่ละคนสามารถสร้างสังคมสมานฉันท์กันได้บนความว่างเปล่าดุจสร้างวิมานในอากาศ
- Necessity
“Strong democracy is particularly sensitive to the element of necessity in public choice…man’s need to act in the face of conflict”
เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เมื่อต้องตัดสินเลือกทางแก้ปัญหาสาธารณะ
เมื่อเกิดความขัดแย้ง มนุษย์จำต้องกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อแก้ปัญหา
- Choice
“…citizen capable of meaningful and autonomous choice…”
การเลือกทำกิจกรรม การเลือกทางแก้ปัญหาโดยพลเมืองต้องมีความหมายและเป็นเอกภาพเห็นพ้องต้องกัน
- Reasonableness
“…public choices and actions, which must be more than arbitrary or merely self-interested yet cannot be expected to be scientific or certifiable by the standards of abstract philosophy, must at least be ‘reasonable’”
“เป็นหัวใจของประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง เพียงการรอมชอม เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ของแต่ละบุคคลนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง การเลือกความสมเหตุสมผลเป็นกระบวนการสร้างทัศนะที่วัดไม่ได้ด้วยปรัชญาอันเป็นนามธรรม และตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ก็มิได้ แต่ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งอย่างน้อยๆ ก็ต้องใช้ความเหมาะสมของการมีเหตุผลเสมอ”
- Conflict
“Strong democracy …is unique …in that it acknowledges (and indeed uses) the centrality of conflict in the political process….It can transform conflict into cooperation through citizen participation, public deliberation, and civic education. Strong democracy begins but does not end with conflict: it acknowledges conflict but ultimately transforms rather than accommodates or minimizes it.”
“ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งนั้นมีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัวที่ยอมรับและใช้ข้อขัดแย้งเป็นศูนย์กลางของกระบวนการทางการเมืองอย่างแท้จริง ... แปรความขัดแย้งให้กลายเป็นความร่วมมือ โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของพลเมือง การพิจารณาปัญหาสาธารณะร่วมกันในเวทีสาธารณะ การศึกษาหาความรู้ในเรื่องหน้าที่พลเมือง ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งเริ่มต้นที่ความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้จบลงที่ความขัดแย้ง
ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งยอมรับความว่ามีขัดแย้ง แต่ไม่ยอมรับเอาความขัดแย้งไว้ให้คงอยู่ต่อไป หรือลดปริมาณความขัดแย้งลง แต่ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็งจะมีกระบวนการผันแปรเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งให้กลายไปเป็นความร่วมมือกันได้ในที่สุด
และ
- Absence of an Independent ground
ประชาธิปไตยแบบเข้มแข็ง เป็นการสร้างสังคมที่ปรับตัวต่อเนื่องเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น เป็นอิสระจากกรอบคิดเดิมๆของเสรีประชาธิปไตยที่ต้องตัดสินตามเสียงข้างมาก
นี่คือหัวใจของประชาธิปไตยแนวใหม่ที่โลกกำลังพยายามเดินทางไปให้ถึง
Strong Democracy
โดย
Benjamin R. Barber