ในบริบท ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล IN CONTEXT of Somkiat Onwimon WK007/2024 [2] Soft Power - 1: บทนำทางปัญหาและความเป็นมา
ศาสตราจารย์ Joseph S. Nye, Jr., อดีตคณบดี The Kennedy School of Government เทียบเท่ากับคณะรัฐศาสตร์การปกครองในมหาวิทยาลัย Harvard, เมือง Cambridge, รัฐ Massachusetts, สหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก, เป็นอดีตประธานสภาการข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐอเมริกา, และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลประธานาธิบดี Bill Clinton, ตลอดชีวิตงานวิชาการรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและงานการเมืองของท่าน - เริ่มแรกที่ Harvard ปี 1964 มาปัจจุบันปี 2024 ท่านมีอายุถึง 87 ปีแล้วท่านก็ยังคงเป็นเสาหลักแห่งความคิดด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะศาสตรจารย์พิเศษอาวุโสหรือศาสตราจารย์กิตติคุณที่ Harvard และเป็นนักคิดนักเขียนงานวิชาการต่อไป ปี 2011 ในการสำรวจความคิดเห็นของนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วโลก 1,700 คนโดยองค์กรที่ชื่อว่า Teaching, Research, and International Policy (TRIP) ศาสตราจารย์ Joseph Nye ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลกในรอบ 20 ปี (Wikipedia) นอกจากนั้นก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ, ปี 2011 นิตยสาร Foreign Policy จัดท่านเข้าอยู่ในอันดับต้นๆของรายชื่อนักคิดระดับโลก, ต่อมาในปี 2014 นิตยสาร Foreign Policy อีกเช่นกันรายงานว่านักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผู้นำรัฐบาลผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่างๆลงคะแนนยกย่องท่านว่าเป็นนักคิดนักวิชาการที่ทรงอิทธิพลในสาขางานของท่านมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง ศาตราจารย์ Joseph Nye, Jr. เป็นต้นคิดทฤษฎี “neoliberalism” หรือ “เสรีนิยมใหม่” ซึ่งอธิบายว่าความร่วมมือระหว่างรัฐกับรัฐในโลกทำได้และเมื่อได้ทำแล้วจะก่อให้เกิดสันติภาพยั่งยืนถาวรได้โดยไม่ต้องมีสงครามหรือความขัดแย้ง และในบริบทการเมืองระหว่างประเทศในสหัสวรรษใหม่ท่านคือผู้ให้กำเนิดหลักการผู้เขียนตำราและเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “SOFT POWER” จนรัฐบาลประเทศต่างๆในโลกปัจจุบันพอได้ยินคำว่า “soft power” ก็ตีความตามใจปราถนาลอกเลียนไป-มาเอามาใช้ผิดบ้างถูกบ้างโดยหวังว่าจะยังให้เกิดผลบวกทางการเมืองในระยะเฉพาะหน้าในสารพันเรื่องเป็นสำคัญความเข้าใจเรื่อง soft power อลวน-อลเวงผิดเพี้ยนไปจากความหมายดั้งเดิมของผู้ให้กำเนิดความคิดจนในที่สุดก็เห็นว่าจำต้องกลับมานั่งคิดทบทวนและจัดการอธิบายกันใหม่ให้ชัดเจนเสียที
SOFT POWER พลังอำนาจนุ่มนวลชวนให้หลงรัก
ในบทนำหนังสือปี 2004 ของท่านชื่อ “Soft Power: The Means to Success in World Politics” (Joseph S. Nye, Jr. - 2004) หรือ “พลังอำนาจนุ่มนวล: หนทางสู่ความสำเร็จในการเมืองโลก” อาจารย์ Joseph Nye เล่าถึงความสับสนในแนวคิดเรื่อง Soft Power ในหมู่นักคิดและนักปฏิบัติด้านนโยบายการต่างประเทศไว้ว่า:
“ในปี 2003 ผมเข้าร่วมเป็นผู้ฟังในที่ประชุม World Economic Forum ที่เมือง Davos ประเทศ Switzerland ตอนที่ George Carey อดีต Archbishop of Canterbury ถามรัฐมนตรีต่างประเทศ Colin Powell ว่าทำไมจึงดูเหมือนว่าสหรัฐอเมริกามุ่งจะให้ความคำคัญแต่ในเรื่อง ‘hard power’ (ซึ่งหมายถึงอำนาจที่มาจากการใช้นโยบายแข็งกร้าวใช้พลังยุทธโทปกรณ์และอำนาจเศรษฐกิจการเงิน - ส.อ.-สมเกียรติอ่อนวิมลผู้แปล) มากกว่าเรื่อง ‘soft power’ (ซึ่งหมายถึงพลังอันนุ่มนวลแห่งความดีงามเชิงนโยบายและวัฒนธรรม- ส.อ.). ผมเองนั้นก็สนใจในคำถามนี้เพราะผมเป็นคนคิดว่า “soft power” นี้ขึ้นมาเองเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้วท่านรัฐมนตรี Powell ก็ตอบได้ถูกต้องว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องใช้ “hard power” (ขอแปลตรงตามตัวอักษรว่า “อำนาจแข็ง” - ส.อ.) เพราะต้องการชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ท่านก็พูดต่อไปว่า ‘แล้วอะไรล่ะที่จะเกิดตามมาทันทีหลังอำนาจแข็ง hard power? สหรัฐอเมริกาเข้าไปเรียกร้องต้องการครองครองดินแดนชาติใดในยุโรปบ้างก็ไม่มีใช่ไหม? นั่นซิไม่มีเช่นนั้นเลยที่ตามมาคือแผน Marshall Plan ช่วยฟื้นฟูบูรณะประเทศชาติผู้แพ้สงคราม...ที่ญี่ปุ่นเราก็เข้าไปช่วยฟื้นฟูด้วย Marshall Plan’. ต่อมาในปีเดียวกันนั้นผมก็ได้ไปบรรยายเรื่อง soft power ในการประชุมที่สนับสนุนโดยกองทัพบกในกรุง Washington ผู้ร่วมบรรยายคนหนึ่งคือท่านรัฐมนตรีกลาโหม Donald Rumsfeld ตามรายงานของสื่อมวลชนระบุว่า “ผู้นำกองทัพระดับสูงฟังความคิดของผมอย่างเห็นอกเห็นใจ” แต่ตอนต่อมาผู้ฟังในที่ประชุมถามท่านรัฐมนตรี Rumsfeld ว่ามีความเห็นอย่างไรเรื่อง soft power ท่านรัฐมนตรีก็ตอบว่า “ผมไม่รู้เลยว่า soft power มันหมายความว่าอะไร” (“Old Softie”,Financial Times, 30 September 2003, page 17)
"นี่คือส่วนหนึ่งของปัญหาของเราผู้นำของเราบางคนไม่มีความเข้าใจในความสำคัญอันยิ่งยวดของของเรื่อง soft power ในโลกยุคหลังเหตุการณ์ 9/11 (ที่มีเหตุผู้ก่อการร้ายจี้และขับครื่องบินชนระเบิดอาคาร The World Trade Center ที่ New York และอาคารกระทรวงกลาโหมณกรุง Washington, D.C. วันที่ 11 กันยายนค.ศ. 2001 - ส.อ.) ก็อย่างที่ท่านอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร Newt Gingrich ให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับนโยบายต่อ Iraq ของรัฐบาลประธานาธิบดี George W. Bush ว่า “กุญแจดอกสำคัญไม่ใช่เรื่องว่าผมฆ่าศัตรูไปกี่คนแต่เป็นเรื่องว่าผมสร้างพันธมิตรได้เพิ่มกี่คนต่างหากและนั่นคือมาตรวัดสำคัญมากๆที่ใครต่อใครมักจะมองไม่เห็นกัน” “กฎ"ของรัฐมนตรีกลาโหม Rumsfeld นั้นมีว่า “ความอ่อนแอนั้นมันเย้ายวนและท้าทายศัตรู” ท่านรัฐมนตรีพูดถูกณจุดนี้ในฐานะที่ผมเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหมมาก่อนด้วยผมจะเป็นคนสุดท้ายที่จะที่ปฏิเสธความสำคัญของการคงไว้ซึ่งอำนาจการทหารของเราดั่งที่ Osama bin Laden เคยสังเกตุไว้แล้วว่าคนเรานั้นชอบม้าที่มีพลังแข็งแรงแต่ว่าพลังอำนาจนั้นมีหลากรูปแบบแฝงมาในหลายรูปทรงและ soft power นั้นก็มิใช่ความอ่อนแอมันเป็นรูปแบบหนึ่งของอำนาจและความล้มเหลวที่จะรวมมันไว้เข้าในยุทธศาสตร์ชาติถือเป็นความผิดพลาดอันมหันต์
“Soft Power คืออะไร? “มันคือความสามารถที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ท่านต้องการผ่านการโน้มน้าวดึงดูดใจแทนที่จะโดยการบังคับขู่เข็นหรือจ่ายเงินสินจ้างรางวัล soft Power นั้นเกิดจากพลังดึงดูดให้หลงรักทางวัฒนธรรมของประเทศอุดมการณ์และความคิดทางการเมืองและนโยบายของรัฐ (ที่ดึงดูดใจและสร้างมิตร-ส.อ.) เมื่อชาติอื่นคนอื่นเขาเห็นนโยบายของเราว่าเป็นของแท้จริงใจชอบด้วยเหตุผลพลังอำนาจนุ่มนวลหรือ soft power ก็ได้รับการเสริมสร้างให้ทรงพลังแข็งขันเพิ่มขึ้นอเมริกานั้นมี soft power มากมายและมีมาเป็นเวลายาวนานลองคิดดูก็ได้ในเรื่องหลักเสรีภาพสี่ประการสำหรับยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สองตามแนวคิดและนโยบายของประธานาธิบดี Franklin Roosevelt (Franklin Roosevelt’s Four Freedoms) ว่าก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร; คิดต่อไปอีกก็ได้ในเรื่องคนหนุ่มสาวหลังม่านเหล็ก (ประเทศนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นสหภาพโซเวียตเยอรมนีตะวันออก, จีน, etc. - ส.อ.) ที่เขาชอบฟังดนตรีอเมริกันฟังข่าววิทยุจาก Radio Free Europe (วิทยุยุโรปเสรี) ; เรื่องนักศึกษาจีนใช้สัญญลักษณ์รูปปั้นจำลองอนุสาวรีย์เทพีแห่งเสรีภาพของเราในการประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมิน; เรื่องการปลดปล่อยชาวอัฟกานให้ได้เสรีภาพในปี 2001 แล้วพวกเขาก็ร้องขอ “Bill of Rights” หรือร่างกฎบัตรว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชน (ตามแบบในอเมริกา-ส.อ.) ; เรื่องคนหนุ่มสาวชาวอิหร่านที่ต้องแอบๆซ่อนๆในบ้านตนเองเพื่อจะดูหนังวิดีโออเมริกันและข่าวสารผ่านสัญญาณดาวเทียมจากอเมริกาที่ถูกทางการห้ามทั้งหลายเหล่านี้นั่นเองที่เรียกว่า soft power ถ้าหากว่าคุณสามารถทำให้คนอื่นชื่นชมในความคิดและอุดมการณ์ของคุณและทำให้เขาต้องการในสิ่งที่คุณต้องการให้เขาต้องการทำได้ดังนั้นคุณก็ไม่ต้องออกแรงเสียเงินงบประมาณอะไรให้มากมายหรือจะต้องไปกดดันลงโทษข่มขู่อะไรใครคุณก็สมารถทำให้เขาเดินไปตามทิศทางที่คุณประสงค์ได้โดยง่ายการโน้มน้าวดึงดูดใจนั้นมันได้ผลมีประสิทธิภาพมากกว่าการบังคับขู่เข็นเป็นไหนๆและค่านิยมเช่นเรื่องประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชนการให้โอกาสแก่บุคคลทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องดึงดูดใจให้หลงรักทั้งสิ้นดังที่ท่านพลเอก Wesley Clark พูดไว้ว่า:
soft power “ให้เราได้มีอิทธิพลกว้างไกลจนข้ามขอบเขตของพรมแดนอันแข็งกร้าวของการเมืองตามแบบแผนดั้งเดิมว่าด้วยดุลย์แห่งอำนาจการเมืองระหว่างประเทศมากมายนัก”
“สหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นประเทศที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าใครนับจากยุคอาณาจักรโรมันแต่ก็เป็นเช่นกรุงโรมนั่นแหละอเมริกาก็มิได้มั่นยืนตลอดกาลอเมริกาก็พังทลายได้อเมริกาก็มิอาจปลอดจากภยันตรายในตัวเองได้โรมมิได้สิ้นสลายด้วยพลังทำลายจากอาณาจักรอื่นที่รุ่งเรืองกว่าหากแต่โรมถูกทำลายโดยพวกคนป่าเถื่อน (Barbarians) ที่รุกเข้ามาหลายระลอกมาวันนี้ผู้ก่อการร้ายโดยเทคโนโลยีขั้นสูงคือพวกคนป่าเถื่อนยุคใหม่และโลกก็กำลังตกอยู่ในอันตรายจากการต้องต่อสู้กับการก่อการร้ายที่ว่านี้ยิ่งนานไปก็ยิ่งรู้ชัดว่ามีองค์ประกอบมากมายหลายอย่างที่อยู่เหนือการควบคุมของสหรัฐอเมริกาสหรัฐอเมริกาไม่สามารถจะไล่ล่าผู้ก่อการร้ายหรือผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นพวก Al Qaeda ไปทุกหนแห่งที่พวกเขาหลบซ่อนทุกซอกมุมของโลกด้วยตัวอเมริกาเองแต่ฝ่ายเดียวแถมอเมริกาจะเที่ยวไปริเริ่มทำสงครามกับใครต่อใครตามใจตัวเองโดยลำพังโดยไม่ทำให้ประเทศอื่นชิงชังตีตัวออกห่างเลิกคบกับเราไปก็ไม่ได้หากเป็นเช่นนั้นเราก็จะมิได้รับความร่วมมือจากมิตรประเทศใดๆเพื่อเอาชนะสงครามเพื่อสร้างสันติภาพได้เลย “สงครามสี่สัปดาห์ในอิรักเมื่อฤดูใบไม้ผลิปี 2003 เป็นการแสดงพลานุภาพแห่งอำนาจการทำสงครามด้วยกำลังทหารอันเป็นอำนาจแข็งของอเมริกาจนสามารถกำจัดจอมเผด็จการออกไปได้แต่มันก็มิได้แก้ปัญหาละเอียดอ่อนและอ่อนไหวที่เรายังคงต้องเผชิญกับขบวนการก่อการร้ายทั้งหลายต่อไปอยู่ดีแถมยังมีค่าความเสียหายอย่างมหันต์ต่อ soft power ของเราอีกต่างหากนั่นคือการที่เราสูญเสียอำนาจดึงดูดคนอื่นให้เข้ามาอยู่ข้างเดียวกับเราหลังสงครามกับอิรักผลการสำรวจของ Pew Research Center พบว่าความนิยมในสหรัฐอเมริกาตกต่ำลงมากเทียบกับปีก่อนหน้าตกต่ำลงแม้ในประเทศสเปนและอิตาลีทั้งๆที่สองประเทศนี้เคยสนับสนุนเราในสงครามกับอิรักด้วยความน่าชื่นชอบน่านิยมของสหรัฐอเมริกาในหมู่ชาติอิสลามลดต่ำลงมากจาก Morocco ถึงตุรกีไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ว่าสหรัฐอเมริกาก็ยังคงต้องพึ่งชาติเหล่านั้นในระยะยาวในการทำงานติดตามเส้นทางของผู้ก่อการร้ายทั้งหลายการเคลื่อนย้ายฟอกเงินที่แปดเปื้อนและการค้าอาวุธสงครามอันเป็นอันตรายยิ่งขออ้างบทความจาก Financial Times ที่เขียนว่า “เพื่อการที่จะได้สันติภาพเป็นชัยชนะสหรัฐอเมริกาจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะเรื่องsoft power ว่ามีสูงพอๆกับทักษะในการชนะสงครามที่สู้รบด้วยกองทหารและอาวุธ (อันเป็น hard power-ส.อ.)”
ที่แปลและอ่านมาให้ฟังนี้คือการเกริ่นนำเรื่องความไม่รู้ไม่เข้าใจของคนอเมริกันและผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องรวมถึงในโลกตะวันตกด้วยในเรื่อง soft power ที่ท่านศาสตราจารย์ Joseph Nye ไปได้ยินได้พบเห็นด้วยตนเองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ สะท้อนความสับสนไม่เข้าใจถึงเรื่อง soft power ที่ท่านคิดและเขียนมาก่อนหน้าแล้วตั้งแต่ปี 1990 ผ่านไปกว่า 10 ปีนักการเมืองและนักคิดผู้มีหน้าที่วางแผนกำหนดนโยบายรัฐก็ยังตอบไม่ได้หรือตอบผิดใช้ผิดกันอยู่ทั่วไปในเรื่อง soft power หรืออำนาจนุ่มนวลที่เป็นขุมพลังทรงประสิทธิภาพในทางนโยบายการต่างประเทศทรงพลังยิ่งกว่าอำนาจแข็งกร้าวทางเศรษฐกิจและการทหารอย่างแท้จริง “soft power” เป็นอำนาจในการทำให้ชนะสงครามโดยการรบด้วยพลังนุ่มนวลทางวัฒนธรรมและนโยบายต่างประเทศที่อุดมด้วยการทำความดีในอุดมการณ์ประชาธิปไตย
ในบทนำของหนังสืออันเป็นตำราหลักเรื่อง Soft Power ของศาสตรจารย์ Joseph Nye นี้ท่านบอกว่ามีทั้งเพื่อนๆและนักวิจารณ์บอกท่านกันเป็นเสียงเดียวกันว่าในเมื่อผู้คนทั้งโลกเริ่มรู้จักเรื่อง soft power อันเกิดจากความคิดของท่านกันบ้างแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจแจ่มชัดนำไปใช้ทำนโยบายหรือเอาไปวิพากษ์วิจารณ์กันผิดเพี้ยนท่านก็น่าที่จะต้องลงมือเขียนหนังสือเรื่อง soft power กันใหม่ให้ละเอียดลึกจนแจ่มชัดไร้ข้อกังขาผู้ทำนโยบายหรือผู้นำความคิดไปก็จะใช้ได้ถูกต้องคนวิจารณ์ก็จะวิจารณ์ได้อย่างมีเหตุผลไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือจะโต้แย้งนี่ก็คือที่มาของหนังสืออันเป็นตำราหลักของเรื่อง “Soft Power” ที่โลกต้องอ่านก่อนให้เข้าใจแล้วค่อยนำไปใช้หรือวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป
หนังสือนี้ชื่อ “Soft Power: The Means to Success in World Politics” (Joseph S. Nye, Jr. - 2004) หรือ “พลังอำนาจนุ่มนวลหนทางสู่ความสำเร็จในการเมืองโลก”
BOUND TO LEAD
14 ปีก่อนจะถึงหนังสือ “Soft Power: The Means to Success in World Politics” (Joseph S. Nye, Jr. - 2004) เล่มนี้ศาสตราจารย์ Joseph Nye เขียนหนังสือชื่อ “Bound to Lead” ก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ปี 1990 ถือเป็นเล่มแรกและครั้งแรกเริ่มในการพัฒนาความคิดรวบยอดหรือ concept ในเรื่อง soft power ซึ่งก็ใช้อ้างอิงเป็นทางการในทางวิชาการได้ว่าพัฒนาการทางความคิดเรื่อง soft power นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1990 หมายความว่าปรากฏการณ์ใดๆก็ตามในเรื่องการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีมาแต่เก่าก่อนหน้านั้นได้ถูกรวบรวมกลั่นกรองค้นหาหลักการจนสามารถสร้างเป็นสมมุติฐานและอธิบายเป็นทฤษฎีความสัมพันธระหว่างประเทศอันพึงพิสูจน์ได้
ในหนังสือ “Bound to Lead” ในปี 1990 นั้น Joseph Nye ให้ความเห็นที่สวนทางกับทัศนะที่นักคิดส่วนใหญ่ลงความเห็นกันไปแล้วว่าพลังอำนาจของอเมริกากำลังอยู่ในช่วงขาลงตกต่ำถดถอย (“America was in decline”) Joseph Nye กล่าวว่า: “ผมได้พัฒนาความคิดรวบยอดเรื่อง “soft power” เป็นครั้งแรกในหนังสือชื่อ “Bound to Lead” ที่ผมพิมพ์เผยแพร่ในปี 1990 เป็นหนังสือที่มีความเห็นสวนทางกับความเห็นที่เป็นที่ยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่ในเวลานั้นว่าอำนาจของอเมริกากำลังลดน้อยถอยลงผมชี้ให้เห็นว่าอเมริกายังอยู่ในสถานะชาติที่เข้มแข็งที่สุดไม่เพียงแต่ในด้านอำนาจการทหารและอำนาจเศรษฐกิจ, แต่ยังยิ่งใหญ่ในมิติที่สามที่ผมเรียกว่า soft popwer อีกด้วยในปีต่อๆมาผมก็รู้สึกยินดีที่ความคิดเรื่อง soft power ของผมได้รับการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีสาธารณะต่างๆถูดพูดถึงโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ, ใช้อ้างถึงโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษตลอดไปจนถึงผู้นำทางการเมืองคนอื่นๆ, ตลอดจนนักเขียนบทบรรณาธิการและนักวิชาการทั่วโลกในเวลาเดียวกันบางคนก็เข้าใจผิดนำเอาไปใช้ผิดแถมยังเอาไปใช้กันแบบจุกๆจิกๆเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆไร้แก่นสารทำนองว่ามันเป็นเรื่องของอิทธิพลของเครื่องดื่ม Coca-Cola บ้าง, เป็นอิทธิพลของ Hollywood บ้าง, บ้างก็อ้างกางเกงยีนส์เป็น soft power, บ้างก็ว่าเงินนั่นแหละเป็น soft power, ที่ทำให้ผมปั่นป่วนใจมากๆก็คือการที่เห็นผู้กำหนดนโยบายเฉยเมยมองไม่เห็นความสำคัญของ soft power ก่อผลกระทบเสียหายต่อประเทศของเราเพราะการที่ผู้ทำนโยบายทั้งหลายเหล่านั้นละเลงเรื่องที่ควรจะเป็นพลัง soft power จนเละไร้ค่าอย่างมิบังควร
THE PARADOX OF AMERICAN POWER “ผมกลับมาสู่เรื่อง soft power อีกครั้งในปี 2001 ตอนที่เขียนหนังสือเรื่อง “The Paradox of American Power” เป็นหนังสือที่เตือนและคัดค้านในเรื่องที่ผู้คนคิดว่าอเมริกาคือผู้มีชัยผงาดเหนือใครๆในโลก (Triumphalism) อันเป็นความคิดที่ผิดพลาดตรงกันข้ามกับความคิดผิดพลาดแบบที่เคยคิดกันว่าอเมริกากำลังตกต่ำถดถอยที่ผมได้เตือนก่อนแล้วในปี 1990 ผมเขียนเรื่อง soft power ในหนังสือ The Paradox of American Power นี้ไว้ประมาณ 12 หน้าแต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆของเรื่องที่เป็นภาพใหญ่กว่าเกี่ยวกับอำนาจแบบพหุภาคี (พลังอำนาจจากหลายรัฐรวมกัน-ส.อ.) เชื่อมโยงกับนโยบายต่างประเทศเพื่อนๆและนักวิจารณ์เลยผลักดันผมว่าถ้าผมต้องการให้คนทั้งหลายเข้าใจเรื่อง soft power อย่างถูกต้องแน่นอนและนำไปใช้ในการทำนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นผลผมจำเป็นจะต้องค้นหาพัฒนาความคิดแล้วลงมือเขียนเรื่อง soft power ให้ละเอียดสมบูรณ์และนี่ก็คือเป้าประสงค์ของหนังสือเล่มนี้:
“Soft Power: The Means to Success in World Politics”(“อำนาจนุ่มนวล: หนทางสู่ความสำเร็จในการเมืองโลก”)