The Republic
โดย Plato Plato เป็นชื่อของนักปราชญ์ชาวกรีก เกิดที่นคร Athens ประมาณปีที่ 429 B.C. (ก่อนคริสตกาล) ในครอบครัวที่ฐานะดีมีอำนาจบารมีเกี่ยวโยงแน่นแฟ้นกับชนชั้นผู้ปกครอง Plato เกิดมาในช่วงเวลาที่ Athens ทำสงครามกับพวก Sparta เรียกว่า Peloponnesian War ระหว่างปี 431-404 B.C. อันเป็นสงครามที่ไม่มีแคว้นที่มีอารยะธรรมแคว้นใดในโลกที่รู้จักกันในสมัยนั้นจะไม่ได้เกี่ยวข้องสำสงครามด้วย ระหว่างสงคราม และหลังสงครามสิ้นสุดลง Athens ซึ่งมีฐานะเป็นนครรัฐที่ยิ่งใหญ่ต้องเผชิญกับการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงผู้ปกครอง และการต่อต้านล้มล้างคณะผู้ปฏิวัติ ครั้งแล้วครั้งเล่า ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในช่วงเวลาแห่งความผันผวนปรวนแปรทางการเมืองการปกครองและการสงครามนี้เองที่ Athens มีการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย (Democracy) ที่รัฐบาลฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนหรือตัวแทนของประชาชนเป็นพื้นฐาน สลับสับเปลี่ยนกับการปกครองแบบ อำนาจอยู่ในมือคนส่วนน้อยในสังคม(Oligarchy) ครอบครัวของ Plato สนับสนุนการปกครองของพวกชนชั้นสูงส่วนน้อย ส่วน Plato เองยังอยู่ในช่วงแสวงหาปรัชญาการเมืองการปกครองที่เหมาะสม ไม่ใช่รูปแบบที่ให้ชนกลุ่มเล็กผู้มีอำนาจในสังคมเป็นฝ่ายปกครอง ไม่ใช่ให้คนส่วนใหญ่ตัดสินอะไรได้ตามใจชอบหากชนหมู่มากนั้นขาดข้อมูลความรู้ที่แน่แท้ Plato ทิ้งโอกาสที่จะร่วมกิจกรรมทางการเมือง ตามแบบของบิดา แต่หันมา ค้นคว้าแสวงหาปรัชญาแห่งชีวิตและสังคม ไม่ว่าอะไรคือแรงจูงใจ เมื่ออายุ 20 ปี Plato เข้าร่วมกลุ่มศึกษาปรัชญาเป็นศิษย์คนสำคัญของอาจารย์ Socrates จนกระทั่ง รัฐบาล Athens สั่งประหารชีวิต Socrates ในปี 399 B.C. จากนั้น Plato ก็เดินทางรอนแรมออกจาก Athens ไปทั่วดินแดนแว่นแคว้นรอบทะเล Mediterranean ปี 388 B.C. Plato เดินทางกลับ Athens หลังจากหายหน้าไปจากวงการนักปราชญ์การเมืองนาน 11 ปี แล้วก่อตั้งชุมชนนักศึกษาปรัชญาขึ้นในนคร Athens เรียกชื่อว่า Academy ในปีต่อจากนั้นเป็นต้นมามีนักศึกษาเข้ามาเรียนปรัชญากับ Plato ที่ The Academy นี้มากขึ้นเรื่อยๆ นักศึกษามาจากทั่วทุกทิศในอาณาจักรของอารยะธรรม Greek ก่อนที่ Plato จะถึงแก่อสัญกรรมในปี 347 B.C. Plato เขียนหนังสืออันเป็นผลงานปรัชญารวมทั้งสิ้นกว่า 20 เรื่อง โดยเขียนในรูปแบบของการสนทนาปรัชญา หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษในปัจจุบันว่า Dialogues โดยที่มีอาจารย์ Socrates เป็นหลักในวงสนทนา ที่แวดล้อมไปด้วยศิษย์คนอื่นๆ โดยไม่มี Plato เอง ร่วมวงสนทนาอยู่ด้วยเลย ผลงานเขียน Dialogues หรือ บทสนทนา ของ Plato ล้วนแล้วแต่เป็นวรรณกรรมที่นักปรัชญา นักวิชาการ และนักประชาธิปไตยทั่วโลกอ่านกันมาจนทุกวันนี้ เช่น Apology, Crito, Euthyphro, Protagoras, Gorgias, Phaedo, Symposium, Timaeus, และที่โด่งดังเป็นอมตะกาลที่สุดคือ Republic. Republic แปลว่า รัฐที่เป็นของสาธารณะ, รัฐที่เป็นของประชาชน, ไม่ใช่ของชนชั้นผู้ปกครอง, ไม่ใช่ของครอบครัวขุนนางเจ้านาย หรือของผู้เป็นกษัตริย์, Republic หรือ The Republic ในฐานะงานวรรณกรรม ถือเป็นลักษณะบทบันทึกการสนทนาระหว่างอาจารย์ใหญ่ Socrates กับบุคคลอื่นที่ล้อมวงถกเถียงปัญหาปรัชญาระหว่างกัน ในช่วงเวลาประมาณปี 420 B.C. ประวัติศาสตร์บันทึกไว้แล้วว่าเป็นความจริงที่ว่า Socrates, Plato, Aristotle และบุคคลอื่นๆที่มีชื่อในบทสนทนานั้นมีตัวตนจริงๆ และบท สนทนานี้สะท้อนความจริงอีกว่า Socrates นั้นสอนศิษย์ด้วยวิธีการสนทนาถกเถียงปัญหา มากกว่าการสอนแบบบรรยายให้จดบันทึก แต่ที่นักศึกษาปัจจุบันยังคงถกเถียงกันอยู่ก็คือในเมื่อ Plato เป็นคนเขียนหนังสือหรืบทสนทนานี้ โดยให้ Socrates เป็นตัวเอกเดินเรื่องทั้งหมด และ Plato เองไม่อยู่ในเรื่อง ไม่อยู่ในบทสนทนาเลย ดังนั้น สิ่งใดที่ เป็นความคิดของ Plato จะเขียนผ่านบทสนทนาของ Socrates หรือไม่อย่างไร มากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้ต้องปล่อยให้จินตนาการเป็นฝ่ายกำหนดความจริง ก่อนอ่าน Republic จึงต้องจัดการกับความจริงส่วนนี้ก่อน บุคคลในเรื่อง Republic นั้นมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื้อหาสาระของบทสนทนาบางส่วนหรือทั้งหมด สะท้อนความคิดและปรัชญาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยยุคแรกเริ่มนั้นเป็นความจริง แต่จะสะท้อนความคิดของ Plato ทั้งหมดหรือบางส่วน และ บางส่วนหรือทั้งหมดสะท้อนความคิดของเจ้าของบทสนทนาแต่ละคนโดยแท้ เป็นเรื่องที่ต้องหลีกเลี่ยงที่จะต้องตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง การเรียนวิชาปรัชญาคือการเรียนรู้ที่จะตั้งคำถาม ต่อเรื่องที่ควรจะมีคำตอบ เพราะมนุษย์ทุกคนมีความสงสัยใครรู้ Socrates ตั้งคำถามสำคัญในบทแรกของ Republic ว่า: What is Justice? ความยุติธรรมคืออะไร? นี่คือเป้าหมายของประชาธิปไตย และ นี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหาประชาธิปไตย ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น นักประชาธิปไตยในโลก 2,360 ปีหลัง Plato จะต้องให้มีรัฐธรรมนูญ จะต้องให้มีการเลือกตั้ง จะต้องให้มีผู้แทนราษฎร จะต้องมีรัฐสภา และต้องมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ระบบการปกครองแบบนี้เรียกว่า "ประชาธิปไตย" ภาษาอังกฤษใช้คำว่า DEMOCRACY มาจากรากศัพท์ภาษากรีกสองคำรวมกัน คือ DEMOS แปลว่า MOB หรือ ฝูงชน หรืออาจใช้คำว่า PEOPLE หรือ ประชาชน รวมกับคำว่า KRATOS แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า RULE หรือการปกครอง DEMOS+KRATOS คือ DEMOCRACY การปกครองโดยเสียงส่วนใหญ่ของหมู่มวลชน ซึ่งปัจจุบันใช้คำภาษาไทยว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ 2,500 ปีที่แล้ว เป็นระบบการปกครองรัฐที่ด้อยคุณภาพขาดคุณธรรมจัดลำดับต่ำเป็นที่สี่ในบรรดาระบบการปกครอง 5 ระบบที่ Plato เคยพบเห็นและมีประสบการณ์มา ในหนังสือ The Republic ของ Plato ให้ Socrates เป็นผู้นำการสนทนา Socrates กล่าวกับ Adeimantus ในวงสนทนาตอนหนึ่งว่า: (293) ก่อนเกิดประชาธิปไตย มีสังคมที่ปกครองด้วยระบบ Oligarchy หรือ อนาธิปไตย ที่อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนส่วนน้อยที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ส่วนของสังคมที่ไม่มีระเบียบวินัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยโดย คนรวยก็ต้องการรวยขึ้นมีอำนาจเพิ่มขึ้น ต้องการอำนาจเหนือทั้งคนจน คนด้อยการศึกษา และและเหนือคนรวยด้วยกันเองที่เกิดพลาดพลั้งในสังคม และแล้ว.....ประชาธิปไตยก็เข้ามาแทนที่ อนาธิปไตย (295) Socrates: “So democracy starts, in my opinion, when the poor members of the community are victorious. They kill some of the rich, they expel others, and they give everyone who is left equal social and political rights: in a democratic system governmental posts are usually decided by lot. Socrates กล่าวในวงสนทนา ว่า “ในความเห็นของข้าพเจ้า, ประชาธิปไตยเริ่มเกิดขึ้นเมื่อคนจนในชุมชนต่อสู้จนได้รับชัยชนะ ฆ่าคนรวยส่วนหนึ่งไปได้ เนรเทศคนรวยส่วนที่หลงเหลืออยู่ออกไปนอกเขตแดน แล้วให้สิทธิความเสมอภาคกันทางการเมืองและทางสังคมแก่พลเมืองที่เหลืออยู่ และในระบอบ DEMOSKRATOS/DEMOCRACY หรือ ประชาธิปไตย ที่ว่านี้ ตำแหน่งต่างๆในรัฐบาลโดยปรกติแล้วจะได้มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง” (295) Adeimantus : “…but it might not involve force of arms: fear might have been used to drive their enemies away” “ประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นหลังจากการใช้กำลังอาวุธล้มล้างระบอบอนาธิปไตยเสมอไป การทำให้หวาดกลัวก็อาจมีผลขับศัตรูของประชาธิปไตยออกไปให้พ้นแผ่นดินได้” (295) Socrates: “…but what kind of a constitution is it? What’s a democratic political system actually like? I mean, this is how we’ll learn about the corresponding democratic individual, obviously.” “แต่ว่ารัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นอย่างไร ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นมันมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร? ข้าพเจ้าหมายถึงว่าหากเราเรียนรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างไร เราก็จะได้รู้จักคนที่เป็นนักประชาธิปไตยไปด้วยเลย” Socrates กล่าว (296) Adeimantus: “Obviously” แน่นอนครับท่าน Socrates… Adeimantus กล่าวรับ Socrates: “Well in the first place, the members of the community are autonomous, aren’t they? The community is informed by independence and freedom of speech, and everyone has the right to do as he chooses, doesn’t he? แล้วอธิบายนำทางว่า “ในเบื้องต้น สมาชิกของชุมชนประชาธิปไตยจะปกครองตนเอง เป็นหนึ่งเดียวกันใช่ไหมหละ? แล้วพวกเขาก็จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยการมีเสรีภาพในการพูดการแสดงความคิดอย่างอิสระและเสรี และทุกคนมีสิทธิที่จะทำอะไรได้ตามต้องการ มิใช่หรือ?” Socrates: “…then clearly every individual can make for himself the kind of life which suits him.” “...แต่ละคนในระบอบประชาธิปไตยสามารถเลือกทางชีวิตที่เหมาะสมกับตนเองได้เลย” “…that there’d be a wider variety of types of people in this society than in any other.” “แน่นอนว่าสังคมประชาธิปไตยจะประกอบไปด้วยผู้คนที่แตกต่างหลากหลายมากกว่าสังคมอื่น” “It’s probably the most gorgeous political system there is.” “มันน่าจะเป็นระบบการเมืองที่สุดแสนจะงดงามกว่าระบบการเมืองอื่นใด” “It’s a good place to look for a constitution…as well.” “มันน่าจะเป็นการแสวงหารัฐธรรมนูญไปใช้ได้สักฉบับสองฉบับอีกด้วย” “Because it’s so open that it contains every type of political system there is. For anyone wanting to construct a community… a visit to a democratically governed community is essential, to help him choose the kind he likes. It’s a sort of general store for political systems; you can visit it, make your choice, and then found your community.” “เพราะว่าในสังคมประชาธิปไตยนั้นเปิดกว้างจนให้โอกาสแก่ระบบการเมืองอื่นอยู่ในสังคมได้ทุกระบบ ใครก็ตามที่ต้องการจะสร้างชุมชนใหม่ การไปเยือนชุมชนที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง เพราะจะช่วยให้เขาผู้นั้นได้เลือกหาระบบการปกครองแบบที่ชอบ มันเหมือนกับร้านค้าของจิปาถะที่มีระบบการการเมืองการปกครองมากมายหลายแบบวางขาย ให้เลือกซื้อ ชอบใจรูปแบบรัฐธรรมนูญแบบไหนก็เลือกเอาไปสร้างชุมชนของตัวเอง” นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทวิพากษ์ประชาธิปไตยของ Plato เขียนผ่านบทสนทนาของ Socrates ประชาธิปไตยนั้นเสรีเสียจนใครไม่อยากเป็นประชาธิปไตยก็ได้ ชุมชนแบบประชาธิปไตยนี้ไม่มีใครบังคับใครให้เป็นนักการเมืองรับใช้ประชาชน แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะมีความสามารถเป็นผู้ปกครองที่ดีได้ก็ตาม หากคนอื่นเขาทำสงครามกัน ใครไม่อยากร่วมสงครามด้วยก็ได้ หากเขามีสันติภาพกัน เราจะไม่ร่วมรักษาสันติภาพกับเขาก็ได้ แม้ว่าคุณจะไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการปกครองและกระบวนการยุติธรรม คูณยังอยากจะทำทั้งสองอย่างก็ย่อมได้ (297) Socrates: “Isn’t this an extraordinarily pleasant way to spend one’s life, in the short term?” Plato กล่าวผ่านบทสนทนาของ Socrates ว่า “แบบนี้มันน่าจะเป็นหนทางที่แสนสุขสันต์เป็นพิเศษในการใช้ชีวิตระยะสั้นมิใช่หรือ? Adeimantus: “Yes, probably, but not in the long term.” “ใช่ครับในระยะสั้น ไม่ใช่ระยะยาว” Adeimantus ตอบ ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีปัญหาระยะยาวแน่นอน เพราะนักปราชญ์คนดีมีความรู้ความสามารถและไม่ต้องการเงินทองผลประโยชน์อื่นใดรวมแม้กระทั่งเกียรติยศชื่อเสียงก็ไม่ต้อง คนดีเหล่านี้มีสิทธิเสรีภาพที่จะปฏิเสธไม่รับตำแหน่งหน้าที่ในการเมืองการปกครอง ส่วนคนเลว คนไร้ความรู้ ขาดการศึกษาอบรม ต้องการแสวงหาอำนาจอาจได้รับเลือกตั้งมาปกครองรัฐ โดยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของมวลชนหมู่มากที่ไม่มีความรู้ ไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีศีลธรรม แต่มีอำนาจในการลงคะแนนเสียงปฏิเสธคนดีก็ได้ เลือกคนเลวก็ได้มาปกครองรัฐ นี่คือความล้มเหลวของประชาธิปไตยในระยะยาว ตามการวิเคราะห์สังคมการเมืองกรีกโบราณเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว ในบรรดาระบบการเมืองการปกครองทีมีอยู่ 5 แบบที่สำคัญในสมัยของ Plato จากลำดับที่ 1-ดีที่สุด ไปลำดับที่ 5-เลวร้ายที่สุดนั้น DEMOSKRATOS / DEMOCRACY หรือ ประชาธิปไตย อยู่ต่ำถึงอันดับที่ 4 ปัญหาของประชาธิปไตยก็คือประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีคุณภาพ ขาดการศึกษาเรื่องปรัชญาของความเป็นผู้ทรงคุณธรรม แล้วไปเลือกผู้ปกครองที่ไม่มีคุณภาพเพราะไม่มีคุณธรรมเช่นเดียวกับประชาชน นั่นเอง (193) Socrates to Glaucon: ‘Unless communities have philosophers as kings,’ I said, ‘or the people who are currently called kings and rulers practice philosophy with enough integrity – in other words, unless political power and philosophy coincide, and all the people with their diversity of talents who currently head in different directions towards either government or philosophy have those doors shut firmly in their faces – there can be no end to political troubles, my dear Glaucon, or even to human troubles in general, I’d say, and our theoretical constitution will be still born and will never see the light of day. Now you can appreciate what made me hesitate to speak before: I saw how very paradoxical it would sound, since it is difficult to realize that there is no other way for an individual or a community to achieve happiness.’ ‘เว้นเสียแต่ว่าชุมชนจะได้นักปรัชญามาเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน’ Socrates กล่าวกับ Glaucon หนึ่งในหกผู้ร่วมวงสนทนาการเมืองและปรัชญาว่าด้วยเรื่อง The Republic หรือการปกครองรัฐที่เป็นของประชาชน ‘หรือไม่ก็ให้เหล่าผู้คนที่ขณะนี้เราเรียกเขาว่ากษัตริย์ หรือผู้ปกครอง ปฏิบัติ ฝึกฝนตนเองให้ปกครองโดยใช้วิชาปรัชญาอย่างสมเกียรติภูมิ หรืออีกนัยหนึ่ง ก็จำเป็นจะต้องกล่าวว่า หากอำนาจการเมืองกับปรัชญาไม่มาบรรจบร่วมทางกันให้กลมกลืนสอดคล้อง และบรรดาเหล่าประชาชนผู้มีความสามารถหลายหลากมากมายแต่เดินไปกันคนละทิศคนละทาง บ้างก็ไปทางการปกครองรัฐ บ้างก็แยกไปทางปรัชญา ต่างฝ่ายต่างปิดประตูใส่หน้าอีกฝ่ายหนึ่ง ตราบใดที่รัฐและสังคมยังอยู่กันเช่นนี้ ก็ไม่มีวันที่ปัญหายุ่งเหยิงทางการเมืองทั้งหลายจะยุติลงได้, Glaucon ท่านผู้เป็นที่รักของข้าฯ, ข้าฯอยากจะพูดอีกว่า แม้แต่ปัญหาโดยทั่วไปของมนุษย์ รัฐธรรมนูญในทางทฤษฎีที่เราอยากได้ ก็จะแท้งไปเสียก่อน ไม่มีวันได้เห็นแสงเดือนแสงตะวันแน่ๆ ตอนนี้ท่านคงเข้าใจซึ้งดีแล้วกระมังว่า สิ่งใดกันที่ทำให้ข้าฯมิอยากจะกล่าวอะไรมากนักก่อนหน้านี้ เพราะพูดไปก็จะมองเห็นปัญหาที่มันขัดแย้งกันเองเป็นอย่างมาก เพราะมันยากยิ่งนักที่จะทำให้เข้าใจได้ว่ามันไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆเลยสำหรับบุคคล หรือชุมชนที่จะบรรลุซึ่งความสุข’ Glaucon to Socrates: ‘What a thing to say, Socrates!’ Glaucon said in response. ‘This is quite an idea! Now that’s out in the open, you’d better expect hordes of people – and not second-rate people either – to fling off their clothes (so to speak), pick up the nearest weapons, and rush naked at you with enough energy to achieve heroic feats. And if you don’t come up with an argument to keep them at bay while you make your escape, then your punishment will be to discover what scorn really is.’ Glaucon ผู้ร่วมวงสนทนา อุทานว่า ‘ท่านกล่าวอันใดเช่นนั้น, Socrates, ช่างเป็นความคิดที่น่าทึ่งยิ่งนัก! ในเมื่อท่านเปิดเผยความคิดนี้ออกมาสู่สาธารณะแล้ว ท่านต้องระวังมวลชนให้ดีก็แล้วกัน และมิใช่ว่าจะเป็นมวลชนชั้นสองด้วย ระวังพวกเขาจะถอดเสื้อผ้าออก แล้วเอาอาวุธที่ฉวยได้ใกล้ตัว วิ่งตัวล่อนจ้อน พุ่งเข้าลุยท่าน ด้วยพละกำลังอันมากพอที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นวีระบุรุษได้ และหากท่านมิอาจให้คำอธิบายที่ดีพอที่จะให้พวกเขาชะงักในระหว่างที่ท่านกำลังหาทางหนีทีไล่ได้แล้ว โทษที่ท่านจะได้รับก็คือการจะได้ค้นพบว่าการถูกพวกเขาก่นด่าประณามอย่างไม่ไว้หน้านั้นมันเป็นเช่นไร’ นี่คือบทสนทนาในเรื่อง The Republic บทที่ว่าด้วยเรื่อง ‘กษัตริย์นักปรัชญา’ เขียนโดย Plato นักปราชญ์ชาวกรีก เมื่อราว 2400 ปีที่แล้ว Plato เขียนเป็นบทสนทนาระหว่าง Socrates กับ Glaucon และผู้ร่วมวงสนทนาอื่นๆอีก 5 คน Socrates คือ ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของ Greece ก่อนคริสตกาล และเป็นอาจารย์ผู้ซึ่ง Plato เล่าเรียนวิชาความรู้ต่างๆจากท่าน เป็นต้นแบบ เป็นครูที่ Plato เคารพเทิดทูนสูงสุด รูปแบบงานเขียนของ Plato ใช้วิธีบรรยายการล้อมวงสนทนา โดยให้อาจารย์ใหญ่ Socrates เป็นผู้บรรยายนำ และผู้อื่นได้ร่วมวิจารณ์ ซักถาม และเสนอความเห็น แต่ตัว Plato เองกลับไม่ปรากฏในบทสนทนา แต่นี่คือวิธีการเขียนของ Plato นี่คือความคิดของ Plato ความคิดที่เป็นต้นกำเนิดของการเมืองการปกครองรัฐเริ่มแรก ที่ต่อมากลายเป็นรากฐานของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยของมนุษย์ที่สืบสานพัฒนามาจนปัจจุบัน ซึ่งมนุษย์ก็ยังไม่เคยมีความสุขจากการปกครองในระบอบประชาธิปไตย Plato มิได้ชื่นชมประชาธิปไตยแบบที่ให้ทุกอย่างเป็นไปตามเสียงข้างมากของประชาชน หรือมวลชนแต่อย่างใดใน The Republic เป็นงานเขียนสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของท่าน ซึ่งพยายามอธิบายว่าคนที่อยากได้อำนาจปกครองรัฐ เสนอตัวเข้ามาปกครอง หรือได้เข้ามาปกครองตามเสียงส่วนใหญ่ของมวลชน ย่อมเป็นผู้หวังอำนาจและใช้อำนาจเพื่อตนเองและตามใจมวลชนหรือ Mob ในทางที่มิชอบ (249) ‘if the government falls into the hands of people who are impoverished and starved of any good things of their own, and who expect to wrest some good for themselves from political office, a well-governed community is an impossibility. I mean, when rulership becomes something to fight for, a domestic and internal war like this destroys not only the perpetrators, but also the rest of the community.’ ‘ถ้าหากว่าการปกครองรัฐตกไปอยู่ในมือของพวกที่ไม่เคยมีสิ่งดีๆทั้งหลายเป็นของตนเองกระหายได้อำนาจทางการเมือง เพื่อแสวงหาสิ่งดีๆทั้งหลายมาเป็นของตนเอง การปกครองรัฐที่ดีย่อมเป็นไปไม่ได้ ข้าพเจ้าหมายความว่า เมื่ออำนาจการปกครองรัฐเป็นสิ่งที่ต้องแก่งแย่งกันให้ได้มา สงครามการต่อสู้กันเองภายในรัฐนี้เองที่จะทำลายผู้ที่ได้อำนาจปกครอง และทำลายชุมชนหรือรัฐทั้งหมดด้วย ’ เมื่อ Plato ไม่เลื่อมใสในการปกครองที่ผู้ปกครองมาจากนักการเมืองผู้แสวงหาหรือเสนอตัวเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐแล้ว Plato ต้องการผู้ปกครองรัฐแบบใด? ‘In fact, political power should be in the hands of people who aren’t enamoured of it. Otherwise their rivals in love will fight them for it.’ Plato กล่าว ผ่าน Socrates ว่า ‘ที่จริงแล้ว อำนาจทางการเมืองควรตกอยู่ในมือของผู้ที่มิได้รักที่จะได้อำนาจ ไม่อย่างนั้นแล้ว พวกคนที่รักและอยากได้อำนาจจะต่อสู้แย่งชิงโอกาสที่จะได้อำนาจนั้น’ คนที่ไม่ต้องการอำนาจ และมีความพร้อมสมบูรณ์ด้วยความรอบรู้จริงในการแสวงหาความสุขให้กับประชาชนคือนักปรัชญา หรือนักปราชญ์นั่นเอง นักปรัชญาต้องมาเป็นนักปกครอง และนักปกครอง ต้องเป็นนักปราชญา หรือที่เรียกว่า ‘Philosopher Kings’ นักปราชญ์ที่แท้จริงย่อมปรารถนาที่จะได้รับความรู้จริงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มิใช่เพียงต้องการความรู้บางส่วน ผู้ที่ทุ่มเทชีวิตให้กับการเรียนรู้ความจริงย่อมได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญา ส่วนฝูงชนที่เป็นพลังส่วนใหญ่ของประชาธิปไตยนั้นเป็นผู้มีความเห็น มีความเชื่อ ที่มักจะไม่ไปพร้อมๆกับความรู้จริง ผู้ไม่มีความรู้จริงแต่พร้อมด้วยความเห็น มากด้วยความเชื่อ ก็คือเหล่ามวลชนผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายถูกปกครอง ส่วนผู้รู้แจ้ง เข้าถึงความจริง ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข โดยมั่งคั่งด้วยความรู้ มิใส่ใจในทรัพย์สินเงินทองของตอบแทน คือนักปรัชญา ผู้ซึ่งพอใจที่จะอยู่ห่างจากสังคม เสมือนผู้อยู่เหนือถ้ำอันมืดมิดที่มวลชนแออัดอยู่ร่วมกันกับข้อมูลความจริงที่บิดเบือนโดยภาพลวงตา ความเห็น และความเชื่อ นักปรัชญาจะต้องถูกขอร้อง ชักจูงให้เสียสละกลับลงมาอยู่ในถ้ำอันเต็มไปด้วยความไม่จริงแท้ กับมวลชน เพื่ออนำแสงสว่างแห่งความรู้จริง คูณธรรมความดีงามของความเป็นชุมชนรัฐ ให้บังเกิดเป็นความสุขของสาธารณรัฐที่แท้จริงและยั่งยืน ให้จงได้ (205) ‘He’ll be self-discipline, then, and not mercenary, since he’s constitutionally incapable of taking seriously the things which money can buy – at considerable cost – and which cause others to take money seriously.’ ‘นักปรัชญา มีวินัยควบคุมตนเอง ไม่รับจ้างสร้างความสุขด้วยเงิน ไม่เห็นแก่เงิน โดยโครงสร้างความคิดของนักปรัชญาแล้ว เขาจะไม่แยแสต่อสิ่งที่เงินซื้อได้ ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน ไม่ว่าจะยังผลให้ผู้อื่นชื่นชมเงินทองเพียงไร’ เหล่านี้คือคุณสมบัติของ Philosopher King หรือ กษัตริย์นักปรัชญา: Broadness of Vision / นักปรัชญามีใจกว้างวิสัยทัศน์ยาวไกล Moral / นักปรัชญามีศีลธรรม Well Mannered / มีมารยาทงาม Quick to Learn / เรียนรู้เร็ว Capable of Retaining Knowledge / ความจำดีและคงนาน Sense of Proportion / มีความรู้ควรมิควร ความเหมาะสมพอดี Elegance / สง่า Grace / งดงาม Culture / มีวัฒนธรรม Complete Mental Grasp of Reality / เข้าใจถ่องแท้ในความเป็นจริง Love of and Affiliation to Truth / รักและผูกพันกับความสัตย์จริง Courage / กล้าหาญ The Supremacy of Good / นักปรัชญาคือปราชญ์ผู้ทรงคุณธรรมความดีสูงสุด บุคคลเช่นนี้สมควรและต้องให้เข้ามาเป็นพระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ปกครองแผ่นดิน เป็นผู้นำการปกครองรัฐ แล้วความสุขจะบังเกิดแก่ประชาชน นี่คือบางส่วนของเรื่อง The Philosopher Kings ในงานวรรณกรรมปรัชญาการเมือง "The Republic" โดย Plato เป็นแบบอย่างของการปกครองอันสมบูรณ์โดยนักปรัชญาที่ Plato เรียกหามานานกว่า 2400 ปีแล้ว |
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|