King Bhumibol Adulyadej of Thailand
|
ในหนังสือ ชื่อ “ตามรอยพระยุคลบาทสู่เศรษฐกิจพอเพียง” พิมพ์เป็นราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 สรุปว่า:
“เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ” “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความ รอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้าน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี” เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา อันเป็นแนวคิดที่ใช้ได้กับทุกคน ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ เป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้มั่นคงยั่งยืนเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ทุกคนรู้จุดพอเพียงของตน ณ จุดนี้เองที่ทำให้ชีวิตตนและครอบครัวเป็นสุข สังคมสงบร่มเย็น เอื้ออาทรต่อกัน เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ ที่เริ่มตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สร้างความสุขสมบูรณ์อย่างยั่งยืนให้กับชาวตะวันออกในอดีต ศึกษาและขยายความเข้าใจต่อมาโดยชาวตะวันตก และวิวัฒนาการความคิดใหม่อย่างเป็นระบบในภาคปฏิบัติโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชแห่งราชอาณาจักรไทย วิวัฒนาการเศรษฐกิจโลก ชีวิตเศรษฐกิจของมนุษย์ กำเนิด ขึ้นพร้อมกับแรกเริ่มกำเนิดชีวิต วิวัฒนาการ ผ่านการทดลอง ปรับแปรรูปแบบกิจกรรม กลายมาเป็นวิถีชีวิตเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย อยู่มาวันหนึ่งในปี 2517 หลังวิกฤติการเมืองและสังคมครั้งประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีก็ทรงมีพระราชดำรัสต่อพสกนิกรของพระองค์ว่า การดำเนินชีวิตเศรษฐกิจของพสกนิกรของพระองค์นั้นต้อง “สร้างพื้นฐาน” ให้ “ถูกต้องตามหลักวิชา” ต้องสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจในราชอาณาจักรของพระองค์โดยยึดหลัก “ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน” ความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราชนั้น เสมือนสังคมในจินตนาการของมนุษย์โบราณกาล แรกเริ่ม ครั้งมนุษย์กำเนิดมาบนโลก มนุษย์ ดำรงชีวิตร่วมกับผลผลิตในธรรมชาติ แม้จะมีอย่างอุดมสมบูรณ์ แต่มนุษย์ก็ใช้กิน ใช้อยู่ เท่าที่จำเป็น จำเป็นเท่าใด ก็พอเท่านั้น Plato นักปราชญ์ชาวกรีซเล่าไว้เมื่อ 2400 ปีที่แล้วว่าในอดีตกาลนานก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการบันทึกประวัติศาสตร์ได้ เล่ากันว่ามีดินแดนแห่งหนึ่งเรียกว่า Atlantis เจริญรุ่งเรื่องมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ชีวิตการเมืองมั่นคง ชีวิตเศรษฐกิจมั่งคั่ง ชีวิตสังคมสงบสุข บริบูรณ์ อยู่มาวันหนึ่ง Atlantis ก็ระเบิด พินาศ สลายล่ม จมลงสู่ พื้นมหาสมุทร มนุษยชาติจึงเริ่มต้นชีวิตกันใหม่ นาน หลังจากนั้น อารยะธรรมตะวันตก ก็ได้ บันทึกประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ตามแนวประวัติศาสตร์ปรัชญาตะวันตกที่ยึดถือมาเป็นแบบแผนประเพณีทางวิชาการ ชาวยุโรป ฝันถึงสังคมบริบูรณ์ที่อยากให้เกิด ณ ที่ใดที่หนึ่ง เรียกเป็นภาษาละติน ว่าUtopia แปลว่า “Nowhere” “ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน” ค.ศ. 1215 Magna Carta กฎบัตรที่ยิ่งใหญ่เสมือนรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษประกาศระบบเศรษฐกิจแบบเสรี หยุดการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร และพลเมืองผู้ยากจนทั้งหลาย แนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรี นำไปสู่ต้นแบบทฤษฎีเศรษฐกิจแบบทุนนิยม “The Wealth of Nations” เขียนโดย Adam Smith เมื่อปี ค.ศ. 1776 ปัจจุบันยังเป็นตำราพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีแม้ในปัจจุบัน ฝ่ายที่คิดแยกแตกต่างออกไปก็ทำนายว่า คนจนในสังคมจะลุกขึ้นต่อสู้กับนายทุนผู้ร่ำรวย ปฏิวัติ สร้างสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เท่าเทียมกันต้องรุนแรงแตกหัก ก่อนชีวิตความเป็นอยู่จะเป็นที่พึงพอใจ มหาตมะ คานธี ผู้ต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษในอินเดียเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว เสนอแนวทางเศรษฐกิจให้ชาวอินเดียพึ่งตนเอง ไม่พึ่งอังกฤษ โดยผลิตทุกอย่างใช้เอง โดยใช้เท่าที่มี ผลิตเองเท่าที่ทำได้ แต่แนวคิดนี้ก็เป็นเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง หรือที่โลกรู้จักกันดีในคำภาษาอังกฤษว่า “Self-Sufficient Economy” ซึ่งต่างไปจาก “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” หรือ “Sufficiency Economy” อันเป็นนิยามศัพท์เศรษฐศาสตร์ใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แห่งราชอาณาจักรไทย ความพยายามทางเศรษฐกิจของมนุษยชาติ ดำเนินต่อไป แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ในโลกปัจจุบันนั้นมุ่งแต่การแสวงหาวัตถุ ต้องการความมั่งคั่ง มากขึ้น เพิ่มขึ้น ดีขึ้น ซับซ้อนขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้น ยิ่งกว่าเดิม มากกว่าเดิม ปรัชญาเศรษฐกิจตะวันตกแสวงหาสิ่งที่ต้องการ เพิ่มเติม ไม่รู้จบ ไม่มีจุดพอเพียง ณ เวลานี้ โลกกำลังอยู่ในยุคเศรษฐกิจแบบวัตถุนิยมเสรี ขยายการผลิตต่อเนื่อง ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีขีดจำกัด ไม่มีจุดยุติ ทั้งๆที่โลกมนุษย์มีทรัพยากรให้มนุษย์ใช้อย่างจำกัด และมีจุดอวสาน เร่งพัฒนา เร่งใช้ เร่งทำลาย แม้ว่าผู้ที่เข้มแข็งกว่าจะเจริญมั่งคั่งกว่าก็ตาม แต่ความสุขอันยั่งยืนของมนุษย์ในโลกโดยรวมก็หาได้ยากยิ่ง เศรษฐกิจแบบพอเพียง กับ ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจแบบใดหรือที่จะสู้การค้าการลงทุนอย่างเสรีได้? ทุนแบบไหนหรือจะสู้ทุนที่เป็นเงินตราและวัตถุ และเทคโนโลยีได้? นี่คือคำถามอันท้าทาย ที่เป็นเสมือนคำประกาศความจริงโดยไม่ต้องรอคำตอบ ประเทศไหนๆในโลกก็ยอมสยบให้กับการลงทุนข้ามชาติ เพราะเป็นการสร้างงาน สร้างผลผลิตในประเทศ ทั้งยังช่วยถ่ายทอดวิทยาการก้าวหน้าให้กับประเทศที่ยังไม่ก้าวหน้าได้เร็วทันใจ ชาติไหนๆก็ยอมอยู่ในกรอบของข้อตกลงการค้าเสรีตามกติกาขององค์การการค้าโลกเพราะโลกนี้เป็นโลกที่นำทางโดยประเทศ สังคม ที่ก้าวหน้าและพัฒนาสูงกว่า เรียกว่าเป็นโลกแห่งโลกาภิวัตน์ ทุกอย่างจำต้องปรับเปลี่ยน และ ผันแปรไปตามใครก็ตามที่คุมอำนาจเป็นผู้นำ ทุนนิยมเสรี การค้าเสรี การลงทุนเสรี ข้ามชาติ ข้ามพรมแดน ข้ามแม้กระทั่งขอบเขตอำนาจแห่งรัฐ แล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่แนะนำโดยพระมหากษัตริย์ของไทย จะอยู่ได้อย่างไร? หากอยู่ได้ จะอยู่ตรงไหนของปรัชญาและระบบเศรษฐกิจของโลก Warren Buffett ตอนอายุ 77 ปี ในปี พ.ศ. 2550 ถือเป็นนักลงทุนชาวอเมริกันผู้ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เขาได้บริจาคเงินงวดแรกเข้ามูลนิธิการกุศล ถึง 3 หมื่นล้านดอลล่าร์ หรือกว่า 1 ล้านล้านบาท ส่วน Bill Gates เจ้าของบริษัท Microsoft ได้ชื่อว่ามหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ก็สละทรัพย์ส่วนตัวจำนวนมหาศาลพอๆกันเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ Warren Buffett แนะนำพ่อแม่ที่ร่ำรวยทั้งหลายในโลกว่า: “Leave your children enough to do anything but not enough to do nothing” “ทิ้งมรดกให้ลูกๆให้พอเพียงที่จะทำงานอะไรต่อมิไรต่อไปได้ แต่อย่าให้เสียมากเกินไป จนลูกๆไม่ต้อง ทำอะไรอีกเลยในชีวิต” Warren Buffett ผู้บริจาคเงินช่วยชาวโลกผู้ยากจน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กหลังเดิม ในเมือง Omaha รัฐ Nebraska ที่เขาซื้อมาในราคา $31,500 ดอลลาร์ เมื่อ ตอนอายุ 28 ปี เศรษฐกิจแบบพอเพียง อาจกำลังค่อยๆซึบซาบเข้าเป็นวิถีชีวิตใหม่ในโลกตะวันตกแล้วก็เป็นได้ ในปี พ.ศ. 2550 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program - UNDP) จัดทำรายงานเรื่องการพัฒนาคนของประเทศไทย ลงความเห็นสนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะช่วยพัฒนาคนไทยและสังคมเศรษฐกิจไทยไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคนไทยจะยึดมั่นและปฏิบัติอย่างจริงจังตามแนวคิดของพระองค์ ในเอกสารของ UNDP ย้ำความคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงว่ามีความสำคัญอย่างแท้จริง: เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท มีความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ สภาพแวดล้อมกำลังเสื่อมโทรม สังคมกำลังกำลังสูญเสียรากฐานในท้องถิ่น สังคมกำลังอ่อนแอลงมากในการควบคุมวิถีชีวิตของตนเอง พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการตัวอย่างต่างๆของพระองค์จะช่วยฟื้นฟู จิตสำนึกของชุม ปลุกชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองให้ได้ สร้างเกราะป้องกันวิกฤติการณ์ที่มิได้คาดหวัง นำความพอประมาณจากศาสนาพุทธและความพอเพียงจากปรัชญาที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสอน มาต่อสู้กับ เศรษฐกิจแบบวัตถุนิยม ความนิยมซื้อ นิยมใช้ที่ไร้ขอบขีดจำกัด นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเผชิญ หน้าท้ากระแสโลกาภิวัตน์ สู้กันให้ได้ และสู้ได้แน่นอน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ บอกว่า: (UNDP – 20) “ความคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ยึดความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีความรู้ และการมีคุณธรรม” UNDP เห็นด้วยว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นฐานส่วนหนึ่งมาจากศาสนาพุทธ แม้จะเชื่อมโยงไม่ ได้ชัดเจนเป็นทางเดียว แต่ ทางสายกลาง ก็เป็นทางที่ศาสนาพุทธเริ่มต้นให้กับแนวคิดแบบพอเหมาะ พอควรและพอเพียง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติอธิบายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นสากลยิ่งกว่าจะจำกัดให้เป็นอิทธิพลของพุทธศาสนาแต่เพียงศาสนาเดียว โดยอธิบายว่า: (UNDP – 33) “ปรัชญาพื้นฐานของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และโลก ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนา ไม่อาจกล่าวว่าแนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับ ศาสนาหรือวัฒนธรรมใดเป็นการเฉพาะ” ในภาคปฏิบัติ (UNDP – 39 -40-41) เศรษฐกิจพอเพียงประสพผลสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ เช่นเครือข่ายอินแปงใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ มาสู่วนเกษตร ปลูกทุกสิ่งที่กิน กินทุกสิ่งที่ปลูก ใช้ ทุกอย่างที่ผลิต ผลิตทุกอย่างที่ใช้ (UNDP-45) สร้างวิสาหกิจชุมชน สร้างองค์ความรู้ให้ชุมชนเข้มแข็ง ในภาคธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ ตัวอย่างความสำเร็จปรากฏโดดเด่นที่เครือซิเมนต์ไทย ซึ่งประสิทธิภาพในการทำธุรกิจเติบโตควบคู่ไป กับการพัฒนาคุณภาพของคนในองค์กร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเผชิญหน้าต่อสู้กันได้ กระแสทุน นิยมโลกาภิวัตน์ไม่มีเป้าหมายเอาแพ้เอาชนะ แต่มุ่งผสมกลมกลืนกับโลกาภิวัตน์อย่างพอเหมาะพอควร และ ยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียงคือปรัชญา ใช้ได้กับทุกชีวิต ทุกสังคม ทุกระดับเศรษฐกิจ กำเนิด เติบโต เป็นสมบัติทางความคิดของมนุษยชาติที่วิวัฒนาการมานานหลายพันปี จนเกิดเป็นแนวคิดที่เป็นระบบชัดเจน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชของปวงชนชาวไทย ผ่านกระบวนการ ทดสอบ ทดลอง จนปัจจุบันกำลังจะหยั่งรากลึกเป็นฐานแห่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทย เพื่อบอกชาวโลกว่า ประเทศไทยนั้นมิได้แสวงหาความยิ่งใหญ่ แต่สงบสุข ราชอาณาจักรไทยนั้น ... เล็ก และ งดงาม ... พอเพียง เพื่อ เพียงพอ. สมเกียรติ อ่อนวิมล 5 ธันวาคม 2557 ---------------------------------------------------------------------------- อ้างอิง:
|
พระเจ้าอยู่หัว กับ Michael Todd และ ภาพยนตร์เรื่อง “80 วันรอบโลก” (1956) King Bhumibol And Michael Todd’s “Around the World in Eighty Days” (1956) ในปี ค.ศ. 1873 Jules Verne นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตงานวรรณกรรมอมตะเรื่อง “Around the World in Eighty Days” หรือ “รอบโลกในแปดสิบวัน” ต่อมาในปี 1956 Michael Todd ได้นำเรื่องจากหนังสือ “Around the World in Eighty Days” มาผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in 80 Days” เมื่อมาฉายในประเทศไทยใช้ชื่อภาษาษาไทยว่า “80 วันรอบโลก” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงสูงสุดให้กับ Mike Todd ในฐานะผู้ควบคุมการสร้าง (Producer) ภาพยนตร์ Hollywood ( Todd มีชื่อเสียงมากอยู่แล้วจากงานละครเวที Broadway และงานพัฒนาเทคโนโลยีภาพยนตร์จอกว้างระบบ “Todd-AO”) ในปี 1957 ภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in Eighty Days” ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Oscar มากถึง 8 ประเภท และในที่สุดก็ได้รับ 5 รางวัล Oscar คือ : 1. Best Picture, 1957 - Michael Todd, producer/ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 1957
เนื้อเรื่องในหนังสือกับในภาพยนตร์มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ด้วยธรรมชาติของการสร้างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงตื่นตาตื่นใจจากภาพ.แสง.สี.เสียง.และศิลปะการสร้างภาพยนตร์ที่เปิดกว้างต่อจินตนาการแบบไร้กรอบจำกัด ที่ถูกวิจารณ์มากคือการเพิ่มเติมฉากการเดินทางจากกรุงปารีสโดยลูกบอลลูนบรรจุก๊าซฮีเลี่ยม ซึ่งในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางโดยบอลลูน เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 18 ช่วงที่เขียนหนังสือนั้นยังไม่มีความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่ Michael Todd ก็อธิบายถึงเหตุผลของการดัดแปลงปรับแก้ทำให้ภาพยนตร์มีสีสันตระการตาสนุกสนานเป็นได้ทั้งภาพยนตร์ผจญภัยสนุกสนานและเป็นได้ทั้งภาพยนตร์สารคดีแบบยิ่งใหญ่นำเที่ยวประเทศต่างๆรอบโลกด้วยการถ่ายทำ ณ สถานที่จริงยิ่งใหญ่โอฬาร แสดงนำโดย David Niven, Shirley MacLaine, Robert Newton, และ Cantinflas พร้อมด้วยนักแสดงที่มีชื่อเสียงของ Hollywood กว่า 40 คน (Frank Sinatra, George Raft, Marlene Dietrich, Noel Coward, Robert Morley, etc.) รับบทแสดงผ่านฉากสั้นๆที่เรียกว่า “cameo appearances” ร่วมเข้าฉากแสดงกันมากกว่า 40 คน และตัวประกอบอีกหลายหมื่นคน ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของเราพสกนิกรชาวไทยก็คือ Mike Todd ดัดแปลงเรื่องในบทภาพยนตร์ให้ Phileas Fogg (David Niven) พระเอกในเรื่องเดินทางรอบโลกโดยผ่านกรุงเทพมหานคร ทั้งๆที่ในเรื่องต้นฉบับในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางผ่านประเทศไทยเลย
ในต้นฉบับหนังสือของ Jules Verne Fogg จะเดินทางไปทางทิศตะวันออก จากลอนดอน ผ่านคลอง Suez -- Bombay -- Calcutta -- ช่องแคบสุมาตรา -- Singapore -- Hong Kong -- Yokohama -- San Francisco -- New York -- London แต่ในภาพยนตร์ Mike Todd ตัดส่วนที่ผ่านสิงคโปร์ออกไปแล้วเขียนบทใหม่ให้เดินทางผ่านกรุงเทพฯ ภาพทั้งหมดในภาพยนตร์ที่ฉายในโรงใช้เวลา 12 วินาที แต่ใช้เวลาซ้อมนานสี่เดือน (นักศึกษาวิชาภาพยนตร์อาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้ และอาจพบต้นฉบับฟิล์มที่่ถ่ายทั้งหมดก็ได้ หากพบดังที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง) ที่ Mike Todd ทำเช่นนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยนั่นเองที่ทรงมี Mike Todd เป็นพระสหาย ทำให้ Mike Todd รักเมืองไทยและกรุงเทพมหานคร ฉากขบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ผ่านหน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ จึงโด่งดังไปทั่วโลกจนทุกวันนี้ กาลต่อมาหากภาพยนตร์ Hollywood จะถ่ายฉากเมืองไทยก็มักจะนิยมถ่ายภาพประปรางค์วัดอรุณ เรียกได้ว่าเป็นภาพเด่นของสถานที่สำคัญของโลกภาพหนึ่ง >>> |
ใน DVD ชุดพิเศษ เรื่อง 80 Days Around the World หากดูภาพยนตร์แบบที่มีเสียงบรรยายวิจารณ์การถ่ายทำจะพบหลักฐานดังนี้: Disc 1 Scene Selection: เสียงภาพยนตร์ Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ Disc 1 Special Features / Commentary by BBC Radio’s Brian Sibley: เสียงบรรยายเบื้องหลังงาน Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ “ As the Rangoon glides past Bangkok, prominent among the pictures is the royal barge of Thailand. 155-feet long and complete with a solid gold throne and maned by 70 oarsmen. It was said that the crew rehearsed for 4 months for this 12 seconds appearance. This glittering prop was provided by Thailand’s King Bhumihol. Back in 1949, the then Prince Bhumibol, an accomplished jazz musician has tried his hand at song writing using the pseudo name of Bhumibol. Todd read a newspaper item about him and got in touched with the Prince. Within days Todd received a package of six songs which he used in his Broadway burlesque review “Peep Show”. “Blue Night” (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ) was considered the best of the Prince’s tunes which Todd placed as the first-act finale of Billy Eckstine. Bhumibol insisted that if there was ever anything he could do to reciprocate Todd must call on him. So, of course, Todd did.” “เมื่อเรือย่างกุ้งเคลื่อนตัวผ่านบางกอก ก็เห็นภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์โดดเด่นตระการตาท่ามกลางความงดงามโดยรอบ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีความยาวถึง 155 ฟุต 70 ฝีพาย พระราชอาสน์ทำด้วยทองคำ ว่ากันว่าฝีพายใช้เวลาซ้อมถึงสี่เดือนสำหรับเข้าฉาก12 วินาทีในภาพยนตร์ ขบวนเรืออันตระการตานี้พระเจ้าอยู่หังภูมิพลแห่งประเทศไทยทรงจัดให้. ย้อนหลังไปปี 1949 ครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเช้าชายภูมิพลนั้น พระองค์เป็นนักดนตรี jazz ผู้มีปรีชาแถมยั้งลองแต่งเพลงอีกโดยใช้พระนามแฝงว่า “ภูมิพล”. Todd ก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับพระองค์ในหนังสือพิมพ์แล้วติดต่อพระองคืไป หลังจากนั้นไม่กี่วัน Todd ก้ได้รับพัสดุไปรษณีย์กลับมาห่อหนึ่ง ภายในมีเพลงโดยเจ้าชายภูมิพลอยู่ 6 เพลง ซึ่ง Todd ได้นำไปใช้ประกอบละคอนระบำเปลื้อผ้าบนเวทีบรอดเวย์เรื่อง “Peep Show” เพลง Blue Night (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ)* ถือเป็นเพลงที่ดีที่สุดของพระองค์ ซึ่ง Todd ใช้ในองค์ที่หนึ่งของละคอนฉากสุดท้าย โดย Billy Eckstine. เจ้าชายภูมืพลทรงบอกว่าจะมีอะไรให้ช่วยก็ทรงยินดี ให้ Todd โทรมาได้เลย แล้ว Todd ก็ติดต่อกลับไป.” Disc 2 Around the World of Michael Todd (30:14 - 30:27) Mike Todd’s comment: “We shot in every country that we have shown around the World. My Friend the King of Siam loaned me a Royal Barge. He once wrote some songs for one of my cultural achievements, ‘Be Thrilled’ ” Mike Todd เล่า: “เราถ่ายทำในทุกประเทศรอบโลก ตามภาพที่เห็นในภาพยนตร์ พระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามเป็นเพื่อนผม พระองค์ทรงให้ยืมเรือพระที่นั่ง พระองค์เคยพระราชนิพนธ์เพลงหลายเพลงที่ผมใช้ใน “Be Thrilled”** อันเป็นความสำเร็จในงานวัฒนธรรมของผม” [หมายเหตุ * และ ** เป็นข้อความที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความถูกต้องชัดเจน] ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ Thaivision 5 ธันวาคม 2558 |