สรุป
ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมือง ใหม่หมด เพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางความคิดเพื่อปฏิรูปการเมืองไทย ในฐานะประชาชนธรรมดา ผมขอเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยหวังจะเห็นข้อเสนอต่อไปนี้ปรากฏเป็นโครงสร้างหลักของอำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจบริหาร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สรุปโดยย่อดังนี้:
สภาผู้แทนราษฎร
องค์ประกอบ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่เกิน 300 คน ที่มา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี อำนาจหน้าที่ (1) เสนอกฎหมาย (2) พิจารณากลั่นกรอง แก้ไข ร่างพระราชบัญญ้ติ ที่เสนอมาจากรัฐบาล (3) กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ผ่านกระบวนการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการทำงาน ของกรรมาธิการ ฯลฯ (4) ประชุมร่วมกับวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้: ก. รับรองรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี ข. แต่งตั้ง และ ถอดถอน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ค. อภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรัฐมนตรี ง. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จ. พิจารณาและอภิปรายการแถลงนโยบายครั้งแรก และการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาล (5) สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลักการ ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง และให้ประชาชนที่มีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิโดยอิสระเสรีในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดต่างๆได้ โดยไม่จำกัดภูมิลำเนา และไม่จำเป็นเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วให้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ทำงานในตำแหน่งบริหารในคณะรัฐมตรีและในระบบราชการใดๆทั้งสิ้น จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเขตเลือกตั้ง 1. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิดเป็นสัดส่วนจำนวนประชากร 300,000 (สามแสน) คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน หากคิดที่จำนวนประชากรปัจจุบัน 70 ล้านคน จะมีผู้แทนราษฎรได้ 233 คน ในอนาคตเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นก็จะได้จำนวนผู้แทนราษฎรพิ่มขึ้นตามสัดส่วน แต่ต้องไม่เกิน 300 คน 2. จังหวัดที่มีประชากรไม่ถึง 300,000 คน มีผู้แทนราษฎรได้ 1 คน 3. จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งทั้งจังหวัด เป็นเขตเดียว ประชาชนทั้งจังหวัดเลือกผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีได้ในจังหวัดของตน ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด ตามลำดับ ถือว่าได้รับการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง 1. ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง 2. ประชาชนที่มีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 3. ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นใบสมัครที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ณ จังหวัดที่ประสงค์จะเป็นผู้แทนราษฎร โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถาน ที่เกิด ภูมิลำเนา หรือสถานที่อยู่ 4. เอกสารประกอบการสมัครให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง และจะต้องมีเอกสารอธิบายประวัติชีวิตและงาน แสดงรายละเอียดว่าด้วยความเป็นพลเมือง ดี มีคุณภาพ มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ แนวนโยบาย ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมอย่างบริบูรณ์ เอกสารดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจริง ให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน และมีความยาวอย่างน้อย 10 หน้า และไม่เกิน 20 หน้า 5. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติและความถูกต้องของข้อมูลของผู้สมัครตามกฎหมายเลือกตั้ง เมื่อรับสมัครแล้ว ให้นำข้อมูลนั้นเผย แพร่ในระบบสารสนเทศ (internet website) ที่ กกต. จัดทำขึ้น พร้อมทั้งพิมพ์เป็นรูปเล่มเอกสารกระดาษ ส่งตรงถึงผู้ มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน ล่วงหน้า อย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง 6. การหาเสียงให้ทำได้ดังนี้ : (1) ผู้สมัครสามารถหาเสียง แนะนำตัว เสนอแนะวิสัยทัศน์ และ นโยบาย ได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วง 90 วันสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง (2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเสรี ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (internet website) ที่ผู้สมัครจัดทำขึ้นเอง และที่ กกต.จัดทำให้ (3) การจัดประชุมสัมมนา อภิปราย ปราศรัย หรือการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบต่างๆในห้องประชุม หรือสถานที่สาธารณะกลางแจ้ง ตามที่ผู้สมัครได้รับ เชิญจากประชาชน และที่ผู้สมัครจัดประชุมขึ้นเอง (4) การจัดเวทีประชุมหรือการชุมนุมในที่สาธารณะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของ กกต. โดยต้องไม่รบกวนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์, โบราณคดี, มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนสถาน สถานศึกษา มรดกทางธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญหรือก่อให้เกิดความขัด แย้งขุ่นข้องใจของชุมชุน (5) ห้ามมิให้มีการติดป้าย โปสเตอร์ หรือภาพสัญลักษณ์ที่เป็นการหาเสียงใดๆในที่ สาธารณะ (6) การแจกเอกสารประกอบการหาเสียงให้ทำได้โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อยในที่สาธารณะ (7) การใช้สื่อสารมวลชนสาธารณะเป็นเสรีภาพของผู้สมัครที่จะแสวงหาโอกาสทำได้โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง (8) รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและประกันสิทธิเสรีภาพของผู้สมัคร แต่ไม่มีหน้าที่ ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือผู้สมัครใดๆทั้งสิ้น (9) ผู้สมัครต้องบริหารจัดการการเงินในการหาเสียงเองอย่างไม่มีเพดานจำกัดการใช้จ่าย และต้องแจ้งรายละเอียดบัญชีการใช้จ่ายต่อ กกต.หลังการ เลือกตั้งจบสิ้นลง โดยให้ กกต. ตรวจสอบการใช้จ่ายแล้วประกาศให้สาธารณชนรับทราบ (10) ผู้สมัครที่ถูกพบว่ามีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้ง ตามกฎหมายเลือกตั้ง เช่นการซื้อเสียง และการให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ในรูปแบบใดก็ตาม ถือว่ามีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่มี ให้ยกเลิกไป องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล และพื้นที่พิเศษ คงตามเดิม พรรคการเมือง ไม่มี | ไม่บังค้บโดยกฎหมาย
ไม่มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย แต่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ที่จะรวมกลุ่มกันอย่างเสรีที่จะทำกิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมได้ โดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ 2 พฤศจิกายน 2557 |
รายละเอียด
ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองไทย รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา วุฒิสภา องค์ประกอบ มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 100 คน ที่มา สมาชิกวุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามการถวายคำแนะนำขององคมนตรี วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา 1. พิจารณากลั่นกรอง แก้ไข และให้คำแนะนำ ต่อร่างพระราชบัญญ้ติและงานอื่นที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ส่งต่อมายังวุฒิสภาเพื่อ การกลั่นกรอง ตามรัฐธรรมนูญ 2. กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ผ่านกระบวนการทำงานในวุฒิสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการทำงานของ กรรมาธิการ ฯลฯ 3. ประชุมร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้: (1) รับรองรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี (2) แต่งตั้ง และ ถอดถอน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ (3) อภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรัฐมนตรี (4) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (5) พิจารณาและอภิปรายการแถลงนโยบาย และการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาล 4. วุฒิสภามีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี 1 คน รองนายกรัฐมนตรี 4 คน ดังนี้: 1. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองและความมั่นคง 2. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ 3. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม 4. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกิจการทั่วไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กระทรวงละ 1 คน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ กระทรวงละ 2 คน ที่มา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี อำนาจหน้าที่ บริหาราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีไม่มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี หลักการ ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง และให้ประชาชนที่ มีอายุ35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิโดยอิสระเสรีในการลงสมัครรับเลือก ตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ, และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใด เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้งมาตามแนวนโยบายที่ประกาศไว้ด้วยความพากเพียรอย่าง สุจริตและโปร่งใส และรู้จักรอมชอมทำงานร่วมกันกับรัฐมนตรีอื่นที่อาจมิได้สังกัดกลุ่มความคิดทางการเมืองเดียวกันได้ โดยรัฐจะให้ค่าตอบแทนเป็น อย่างดีและเหมาะกับตำแหน่งอันมีเกียรติสูงสุดสำหรับฝ่ายบริหารบ้านเมืองนี้ กระบวนการเลือกตั้ง 1. ประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 2. ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง 3. ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 4. ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นใบสมัครที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกลาง 5. เอกสารประกอบการสมัครให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง และจะต้องมีเอกสารอธิบายประวัติชีวิตและงาน แสดงรายละเอียดว่าด้วยความเป็น พลเมืองดี มีคุณภาพ มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ แนวนโยบาย ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมอย่างบริบูรณ์ เอกสารดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจริง ให้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน และมีความยาวอย่างน้อย 50 หน้า และไม่เกิน 100 หน้า 6. ให้ผู้สมัครในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีร่วมกันสมัครเป็นคณะเดียวกัน เรียกว่า “ผู้สมัครคณะนายกรัฐมนตรีและรองนายก รัฐมนตรี” 7. ให้ผู้สมัครในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯสำหรับแต่ละกระทรวง ร่วมกันสมัครเป็นคณะเดียวกัน เรียกว่า “ผู้สมัครคณะรัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง...(ตามชื่อของแต่ละกระทรวง)” 8. ผู้สมัครแต่ละคณะสามารถแยกสมัครเป็นอิสระจากกัน หรืออาจสมัครรวมกันเป็นกลุ่มเดียวกันซึ่งประกอบด้วยหลายคณะก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ถือว่า อยู่ในสังกัดกลุ่มหรือพรรคการเมืองใดๆอย่างเป็นทางการ 9. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติและความถูกต้องของข้อมูลของผู้ สมัครตามกฎหมายเลือกตั้ง จากนั้นให้นำรายชื่อผู้สมัคร ทั้งหมดเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองและคัดเลือกขั้นต้นต่อไป 10. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้รับรายชื่อคณะผู้สมัครในตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีทั้งหมดจาก กกต.แล้ว ให้จัดกระกระบวนการกลั่นกรองและคัดเลือก ให้เหลือตำแหน่งละไม่เกิน 10 คณะผู้สมัคร เพื่อเสนอต่อประชาชนในการเลือกตั้งโดยตรงต่อไป 11. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้รายชื่อคณะผู้สมัครครบทุกชุดแล้วให้ถือว่าการรับสมัครเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว จากนั้นให้ กกต.นำข้อมูลของคณะผู้สมัคร ทั้งหมดเผยแพร่ในระบบสารสนเทศ (internet website) ที่ กกต. จัดทำขึ้น พร้อมทั้งพิมพ์เป็นรูปเล่มเอกสารกระดาษ ส่งตรงถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทุกคน ล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง 12. การหาเสียงให้ทำได้ดังนี้: (1) คณะผู้สมัครสามารถหาเสียง แนะนำตัว เสนอแนะวิสัยทัศน์ และ นโยบาย ได้ ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วง 90 วันสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้ง (2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเสรี ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (internet website) ที่ผู้สมัครจัดทำขึ้นเอง และที่ กกต.จัดทำให้ (3) การจัดประชุมสัมมนา อภิปราย ปราศรัย หรือการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบต่างๆในห้องประชุม หรือสถานที่สาธารณะกลางแจ้ง ตามที่ผู้ สมัครได้รับเชิญจากประชาชน และที่ผู้สมัครจัดประชุมขึ้นเอง (4) การจัดเวทีประชุมหรือการชุมนุมในที่สาธารณะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของ กกต. โดยต้องไม่รบกวนสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์โบราณคดี มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนสถาน สถานศึกษา มรดกทางธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญหรือ ก่อให้เกิดความขัดแย้งขุ่นข้องใจของชุมชุน (5) ห้ามมิให้มีการติดป้าย โปสเตอร์ หรือภาพสัญลักษณ์ที่เป็นการหาเสียงใดๆในที่ สาธารณะ (6) การแจกเอกสารประกอบการหาเสียงให้ทำได้โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อยในที่สาธารณะ (7) การใช้สื่อสารมวลชนสาธารณะเป็นเสรีภาพของผู้สมัครที่จะแสวงหาโอกาสทำได้โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง (8) รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและประกันสิทธิเสรีภาพของผู้สมัคร แต่ไม่มีหน้าที่ ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือผู้สมัครใดๆทั้งสิ้น (9) ผู้สมัครต้องบริหารจัดการการเงินในการหาเสียงเองอย่างไม่มีเพดานจำกัดการใช้จ่าย และต้องแจ้งรายละเอียดบัญชีการใช้จ่ายต่อ กกต.หลัง การเลือกตั้งจบสิ้นลง โดยให้ กกต. ตรวจสอบการใช้จ่ายแล้วประกาศให้สาธารณชนรับทราบ (10) ผู้สมัครที่ถูกพบว่ามีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้ง ตามกฎหมายเลือกตั้ง เช่นการซื้อเสียง และการให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ลงคะแนน เลือกตั้งในรูปแบบใดก็ตาม ถือว่ามีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย (11) ให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแยกลงคะแนนเลือก “ผู้สมัครคณะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี” ได้เพียงคณะเดียว จาก บัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดที่มีไม่เกิน 10 คณะ (12) ให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแยกลงคะแนนเลือก “ผู้สมัครคณะรัฐมนตรี ว่าการฯและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง... (ตามชื่อ ของแต่ละกระทรวง)” ได้เพียงคณะเดียว จากบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดสำหรับแต่ละกระทรวง ที่มีไม่เกิน 10 คณะ โดยลงคะแนน เสียงเลือกตั้งแยกเป็นรายกระทรวง ตามกระบวนการเลือกตั้งที่ กกต.กำหนด (13) คณะผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุด ถือว่าได้รับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่สมัคร |
ประชาธิปไตยนั้นเป็นอย่างไร?
ประชาธิปไตยคืออะไร? ทำไมคนทั้งโลกจึงอยากปกครองแบบประชาธิปไตยกันนัก ทั้งๆที่เห็นมีปัญหากันมากมาย เป็นเพราะไม่ทราบว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นอย่างไร? หรือเป็นเพราะว่าทราบ แต่ทำไม่ได้? หรือมีบางที่ ที่ทำได้ ก็ยังไม่เห็นว่าชีวิตจะดีขึ้นเลย หรือที่ ที่พบว่าชีวิตดีขึ้นก็ไม่เห็นจะเกี่ยวข้องอะไรกับประชาธิปไตยเลย จึงขอเสนอให้อ่านหนังสือแนะนำสั้นๆเรื่องประชาธิปไตย Democracy: A Very Short Introduction โดย Bernard Crick หนังสือชุดแนะนำความรู้เบื้องต้นอย่างสั้นๆ จาก Oxford University Press ข้อสงสัย ข้อกังขา ข้อครหานินทาทั้งหมด ที่มนุษยชาติมีต่อคำว่า “Democracy” หรือ “ประชาธิปไตย” นั้นมีมูลเหตุแห่งความเป็นจริง ขอมนุษยชาติจงได้อย่าไว้วางใจในประชาธิปไตยเลย |
ประชาธิปไตยของผู้ดูแล
สำนักข่าว Nikkei Asia Review ของญี่ปุ่น โดยผู้เขียนข่าวชื่อ Hiroshi Kotani (ฮิโรชิ โคตานิ) เขียนข่าวเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2559 นี้ เกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทย ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ไปแล้ว ประเทศไทยจะผ่านเข้าไปสู่ช่วงเวลาที่ระบอบประชาธิปไตยจะ “อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ควบคุมประชาธิปไตย” หรือในภาษาอังกฤษใช้วลี “Democracy of Overseers” ดูจากพาดหัวข่าวดังนี้ : _______________________________________________________________________________ 30, 2016 11:00 am JST Is Thailand heading for a democracy of overseers? HIROSHI KOTANI, Nikkei staff writer _______________________________________________________________________________ อ้างอิง http://asia.nikkei.com/Politics-Economy/Policy-Politics/Is-Thailand-heading-for-a-democracy-of-overseers?page=1 _______________________________________________________________________________ ในเนื้อข่าวอธิบายถึงมาตราต่างๆในรัฐธรรมนูญว่า คสช. ผู้ยึดอำนาจและใช้อำนาจร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้กำหนดแบ่งกันอำนาจในการดูแลประเทศไทยไว้ให้กับคนกลุ่มหนึ่งที่จะมาจากการแต่งตั้งโดยไม่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งโดยประชาชนอย่างเสรี ตามรูปแบบอื่นๆของระบอบประชาธิปไตย ที่มักยึดถือปฎิบัติกันในโลก ดังนั้นคำว่า “Democracy of Overseers” จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ในวงการวิชาการรัฐศาสตร์ ที่ใช้อธิบายลักษณะพิเศษของประชาธิปไตยไทยอันมีต้นกำเนิดมาจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. “Democracy of Overseers” แปลว่า “ประชาธิปไตยของผู้ดูแลประชาธิปไตย” ขอเรียกแบบย่อว่า “ประชาธิปไตยของผู้ดูแล” เพื่อความสะดวกในการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย. Bernard Crick, ศาสตราจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์จาก Birkbeck College, London เขียนในหนังสือชื่อ “Democracy A Very Short Introduction” ว่า: (หน้า116) “All discussions of democracy are inconclusive and never-ending. Fortunately there are no final solutions, hellish or benign, the Holocaust or a New Jerusalem on earth.” “การวิพากษ์ถกเถียงเรื่องประชาธิปไตยนั้น ไม่มีวันได้ข้อยุติ ไม่มีวันอวสาน ก็ยังนับว่าโชคดีที่ประชาธิปไตยมิได้กำหนดทางแก้ปัญหาขั้นสุดท้ายดั่งที่ พวก Nazi ของ Hitler เรียกว่า Final Solutions จะร้อนระอุดุจนรก หรือจะมีทางออกที่สวยสด ไม่ว่าจะเหมือนดั่งการฆ่าชาวยิวแบบล้างเผ่าพันธุ์ หรือจะเหมือนการเนรมิตนคร Jerusalem ขึ้นใหม่หมดบนโลกมนุษย์” ครั้งที่ศาสตราจารย์ Bernard Crick ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1989 เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนเรื่องหน้าที่พลเมืองที่ดีในสังคมประชาธิปไตย รวมถึงธรรมชาติการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย หน้าที่ ความรับผิดชอบ และสิทธิของบุคคล ในฐานะพลเมืองอังกฤษ ตลอดจนคุณค่าของความเป็นคนในสังคม ซึ่งจะต้องทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อจรรโลงชุมชนที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ด้วย รายงายของคณะกรรมการที่ปรึกษาหลักสูตรวิชาหน้าที่พลเมืองอังกฤษ ในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมต้น เสนอแนะว่า: (น.114) “We aim at no less than a change in the political culture both nationally and locally: for people to think of themselves as active citizens, willing, able and equipped to have an influence in public life and with the critical capacities to weigh evidence before speaking and acting; to build on and to extend radically to young people the best in existing traditions of community involvement and public service, and to make them individually confident in finding new forms of involvement and acting among themselves.” “เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าอย่างน้อยๆก็ต้องให้มีการเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในประเทศของเรานี้ให้ได้ ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น พลเมืองอังกฤษทุกคนต้องมีความกระหาย มีความสามารถ และ มีความพร้อมครบบริบูรณ์ ในอันที่จะทำหน้าที่พลเมือง ผู้ต้องการมีอิทธิพลต่อชีวิตและกิจกรรมสาธารณะ ทุกคนต้องมีขีดความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ใคร่ครวญไตร่ตรอง ชั่งน้ำหนัก ดูเหตุและผล ก่อนที่จะพูด หรือก่อนที่จะกระทำการใดๆ เราต้องการเสริมสร้างและสานต่อไปยังเหล่าเยาวชนอย่างแข็งขัน ในเรื่องประเพณีการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนและงานเพื่อสาธารณะ เราต้องการสร้างเยาวชนอังกฤษให้เป็นพลเมืองผู้ซึ่งมีความมั่นใจในตนเอง ในการค้นหารูปแบบและกิจกรรมใหม่ๆในกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน หากน้อยกว่านี้ หรือต่ำกว่านี้ก็จะมิใช่หลักสูตรหน้าที่พลเมืองในโรงเรียนของเรา” ดูเหมือนว่าพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และเข้มข้นในกิจกรรมของชุมชนและสังคม ตลอดจนกิจกรรมทางการเมืองระดับชาติ ซึ่งถือเป็นแนวทางของพลเมืองแบบสาธารณรัฐนิยมที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า (น.114) “Civic Republicanism” แต่นักประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หรือ Liberal Democracy ก็บอกว่าพลเมืองไม่ต้องถึงกับมีส่วนร่วมในชุมชนมากมายขนาดนั้นก็ได้ ขอเพียงให้เป็น “Good Citizen” หรือ “พลเมืองดี” และ ยึดมั่นใน “Rule of Law” หรือ “เคารพกฎหมาย” เท่านี้ก็เพียงพอที่จะเป็นประชาธิปไตยกันได้แล้ว ที่ประเทศจีน (China) ก็มีการอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยเหมือนกัน เพราะตั้งชื่อประเทศว่า “People’s Democratic Republic” หรือ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยของประชาชน” ชาวจีน โดยบอกว่าเสียงสนับสนุนทั้งหมดก็มาจากประชาชนทั้งประเทศ ไม่มีเสียงคัดค้าน ถือเป็นเสียงประชาธิปไตยได้เหมือนกัน แต่นักวิเคราะห์จากโลกตะวันตกก็จัดจีนเป็น Totalitarian State หรือ รัฐที่ปกครองโดยอำนาจเผด็จการ ซึ่งครองอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือประชาชนทั้งประเทศ. (8) ประเทศอีจิปต์ (Egypt) สมัยประธานาธิบดี Abdel Kamal Nasser (1956-1970) คุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ก็เรียกการปกครองของตนว่าเป็น “Presidential Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยของประธานาธิบดี” ปากีสถาน (Pakistan) สมัยเผด็จการประธานาธิบดี Ayub Khan (1958-1969) ก็เรียกว่า “Basic Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน” อินโดนีเซีย (Indonesia) ยุคเผด็จ Bung Sukarno (1949-1966) นิยามการปกครองอำนาจนิยมของเขาว่าเป็น “Guided Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยแบบนำทาง” สเปน (Spain) สมัยท่านายพล Gen. Francisco Franco (1939-1975) ตั้งชื่อประชาธิปไตยแบบนายทหารคุมประเทศอย่างสวยหรูว่า “Organic Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยวิถีธรรมชาติ” รสชาติแบบ Spain แท้ ปลอดสารพิษสิ่งแปลกปลอม ประเทศปารากวัย (Paraguay) ภายใต้อำนาจของประธานาธิบดี Alfredo Stroessner (1954-1989) เรียกระบอบการปกครองของท่านว่าประชาธิปไตยได้เหมือนกัน แต่เป็นประชาธิปไตยแบบ “Selective Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยแบบเลือกเป็นได้” ซึ่งก็จะหมายความได้ด้วยว่าจะไม่เลือกเป็นก็ได้ แล้วแต่ผู้นำ สาธารณรัฐโดมินิกัน (Dominican Republic) ของประธานาธิบดี Rafael Trujillo (1930-1961) ทันสมัยขึ้นไปอีก ใช้คำว่า “Neo-Democracy” หรือ “ประชาธิปไตยใหม่” ผู้นำรัฐบาลเผด็จเหล่านี้อ้างเป็นประชาธิปไตยกันทุกคน แต่นิยามประธาธิปไตยด้วยถ้อยคำใหม่ๆและแต่ละคนก็อ้างใช้ นานหลายสิบปี จนแล้วจนรอดก้ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยจริงกันเสียที ประชาธิปไตยแท้ แน่นอน สมบูรณ์แบบนั้นไม่มีในโลก หากมี ก็ยังค้นหาไม่พบ ไม่มีประชาธิปไตยสำเร็จรูปพิมพ์จำหน่ายเป็นรูปเล่ม เป็นหนังสือคู่มือการปกครอง หรือเป็นรัฐธรรมนูญสร้างประชาธิปไตยสำเร็จรูป (106) Bernard Crick กล่าวว่า: “The United Kingdom in the post-war period of withdrawal from empire gave or left behind Westminster models of parliamentary government in nearly all her former colonies. None work as expected, some broke down entirely, and even where they didn’t (as most notably in India) a prior knowledge of Westminster ways could be a prejudicial obstacle rather than a help in understanding the new context, dynamics, problems, and possibilities.” “สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ) ในสมัยหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มถอนตัวออกจากการปกครองอาณานิคม แต่ก็ทิ้งรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา Westminsterของอังกฤษไว้ให้ เป็นมรดกทางการเมืองการปกครองในดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมเกือบทั้งหมด แต่ก็ไม่มีที่ไหนประสพความสำเร็จตามที่เคยคาดหวังเลย ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงก็มีบางประเทศ และที่ไม่ล้มเหลว (เช่นที่เห็นชัดเจนในอินเดีย) ความรู้ความคิดพื้นฐานแบบรัฐสภาอังกฤษก็กลายเป็นอุปสรรค แทนที่จะเป็นตัวช่วย ก็เป็นตัวถ่วง เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ในสภาวะแวดล้อมใหม่ พลังสังคมใหม่ ปัญหาใหม่ ความเป็นไปได้จากปัจจัยใหม่ ประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ที่ใช้กันมาแต่เก่าก่อน 800 ปีแล้ว จะลอกเลียนแบบเอาไปใช้ในประเทศอื่นไม่ได้แล้ว (58) ประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่ Alexis de Tocqueville ไปพบเห็นมาเมื่อ ปี ค.ศ. 1831-1832 นั้น ยิ่งมากขึ้นไปอีกที่จะยึดถือเป็นแบบอย่างโดยไม่ดัดแปลง (10) “So we must not leap to the conclusion that there is a ‘true democracy’ which is a natural amalgam of good government as representative government, political justice, equality, liberty, and human rights. For such volatile ingredients can at times be unstable unless in carefully measured and monitored combinations. Is ‘good government’ or ‘social justice’ unequivocally democratic, even in the nicest liberal sense? Probably not.” “ถ้าอย่างนั้น เราก็จะต้องไม่ด่วนสรุปว่า ‘มีประชาธิปไตยที่แท้จริง’ โดยธรรมชาติมีส่วนประกอบของรัฐบาลที่ดีเพราะมาจากตัวแทนของประชาชน มีความยุติธรรมทางการเมือง มีความเสมอภาค เสรีภาพ และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เนื่องด้วยสูตรสำเร็จเช่นว่านี้เปราะบาง ไม่มั่นคงแน่แท้ หากไม่ตรวจตราควบคุมให้เข้มงวด ถ้าจะถามว่า ‘รัฐบาลที่ดี’ หรือ ‘ความยุติธรรมในสังคม’ เป็นผลพวงของประชาธิปไตยล้วนๆโดยไม่มีข้อกังขาใดๆใช่หรือไม่ แม้จะอนุโลมตามความหมายแบบเสรีเต็มที่? คำตอบก็คือ มันอาจจะไม่ใช่” แล้วอะไรคือประชาธิปไตย? ประชาธิปไตยนี้ ดี หรือ ไม่ดี? หรือที่เห็นว่าดีนั้นมันเป็นเพราะประชาธิปไตยหรือเปล่า? สิ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยผันแปร ไม่เป็นผลดีเหมือนที่เคยได้ผลจากต้นแบบ จะมีมากหลากหลายตามถิ่นฐานที่ทดลองสร้างประชาธิปไตย แต่หลักการพื้นฐานสำหรับประชาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ ก็มีอยู่ พอให้ถือเป็นคู่มือตั้งต้นสำหรับสังคม หรือประเทศชาติ และพลเมือง [อ่านต่อ] ➤ |
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับรัฐประชาธิปไตย เริ่มต้นที่:
(94) Role of the inhabitants บทบาทของพลเมือง การมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่แต่ละคนทำโดยสมัครใจ ไม่มีการบังคับ รัฐเพียงแต่พยายามสนับสนุนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ใครจะต้องการมีส่วนร่วม หรือไม่ต้องการมากน้อยอย่างไรก็ย่อมได้ เช่นการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงถือเป็นสิทธิ รัฐ หรือรัฐธรรมนูญจะไปบังคับให้เป็นหน้าที่ต้องไปเลือกตั้งมิได้ และหากพลเมืองไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รัฐจะไปลงโทษก็ไม่ได้ Official doctrines ลัทธิการเมืองเป็นทางการ ในสังคมประชาธิปไตย จิตสำนึกเลื่อมใสศรัทธาในอุดมการณ์หรือลัทธิ หรือหลักนิยมประชาธิปไตย เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำคัญ พลเมืองทุกคนต้องยึดมั่นเชื่อถือและปฏิบัติตามหลักประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ส่วนรัฐ หรือรัฐบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐ หรือข้าราชการทั้งระบบก็จะต้องยึดมั่นในประประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน และยังจะต้องทำงานพิสูจน์ให้พลเมืองเห็นว่าการเป็นประชาธิปไตยนั้นให้ประโยชน์ ณ ที่นี่ เวลานี้ ไม่ใช่ในอนาคตข้างหน้า ประชาธิปไตยก็ก่อให้เกิดผลดีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองอย่างทันที เป็นหน้าที่ของผู้แทนของประชาชนพลเมือง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะทำให้ประชาธิปไตยผลิดอกออกผลอย่างเร็วที่สุด Typical social structure โครงสร้างสามัญของสังคม สังคมประชาธิปไตยที่มีประสิทธิผล พลเมืองส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดควรเป็นคนชั้นกลาง ระดับความรู้ ความคิด เศรษฐกิจและสังคมอยู่ตรงกลาง คนที่มั่งคั่งร่ำรวยมากจนเกินไปมักจะทำลายกระบวนการสังคมประชาธิปไตย ความยากจนสุดขีดก็จะทำให้พลเมืองที่ยากจนเหล่านั้นห่างเหินจากกระบวนการประชาธิปไตย และจะกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เป็นปัญหาต่อความเรียบร้อยราบรื่นในประเทศ อันอาจจะนำไปสู่การปกครองระบอบรวบอำนาจหรือเผด็จการในที่สุด Nature of the elite ธรรมชาติของชนชั้นผู้นำสังคม ในสังคมรวบอำนาจรัฐหรือเผด็จการชนชั้นผู้นำทางภูมิปัญญา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กของตน และจะปิดกั้นการเติบโตของคนนอกกลุ่มอำนาจ แต่ในระบอบประชาธิปไตย กลุ่มชนชั้นผู้นำความคิด และสถานะภาพอื่นในสังคม จะเกิด และเติบโต เพิ่มเติม เสริมพลังสังคมได้อย่างเสรี ไม่ถูกจัดกัดล้อมกรอบไว้ในหมู่พวกชนชั้นปกครองเท่านั้น ระบอบประชาธิปไตยที่ดี จะมีนักการเมือง และผู้นำสังคมรุ่นใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ Typical institutions of government สถาบันการเมืองของฝ่ายปกครอง ซึ่งปรกติก็เรียกว่ารัฐสภา ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีการถกเถียงอภิปรายประเด็นปัญหานโยบายต่างๆอย่างเสรีก่อนการเลือกตั้ง มีการสืบสานต่อเนื่องอำนาจเก่ามนท้องถิ่น และกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นในเวลาเดียวกัน ส่วนรูปแบบและวิธีการเลือกตั้งในแต่ละประเทศนั้นอาจแตกต่างกันได้หลากหลายตราบใดที่ผลของการเลือกตั้งโดยระบบนั้นๆทำให้ได้รัฐบาลที่ดี มั่นคง และโปร่งใส Type of economy รูปแบบเศรษฐกิจ ระบอบประชาธิปไตยไปได้ดีกับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี เพราะ เพราะเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ เป็นเสรีภาพในการแสวงหาความมั่งคั่งโดยมีกฎเกณฑ์และกฎหมาย เสรีภาพ และความเสมอภาคทางการเมืองนั้นมีเท่ากันทั้งคนจน และคนรวยรวย เสรีภาพทางเศรษฐกิจก็เท่ากันทั้งคนจน และคนรวย แต่ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจนั้นไม่เท่ากัน เพราะคนรวยนั้นใช้เสรีภาพที่เท่ากันทำให้ตนเองมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนจน คนจนในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องพยายามสร้างตัวให้เข้าไปสู่ชนชั้นระดับกลางให้ได้มากที่สุด Theories of property ทฤษฎีว่าด้วยทรัพย์สิน ในสังคมประชาธิปไตย การมีทรัพย์สิน และการแสวงหาทรัพย์สินไว้ในครอบครองเป็นสิทธิอันชอบธรรมในกรอบของกฎหมาย การมีทรัพย์สินในครอบครองนั้นในสังคมประชาธิปไตยแบบตะวันตกถือว่าเป็นการแสดงสถานะภาพความสำเร็จของชีวิตและครอบครัว ในอดีตแต่โบราณชาวตะวันตกถือว่าเป็นการพิสูจน์คุณค่าของบุคคลนั้นในทางคุณธรรม แต่ปัจจุบันคุณค่าทางคุณธรรมเปลี่ยนไปเป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจ Attitudes to law ทัศนะต่อกฎหมาย พลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ต้องเคารพกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยผู้แทนของประชาชนทั้งหลาย และบริหารจัดการสังคมโดยรัฐบาล ซึ่งก็มาจากประชาชนเช่นกัน ที่เรียกว่ากฎหมาย อาจจะหมายถึงตัวบทกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร และ วัฒนธรรมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติต่อเนื่องมาเพราะเป็นสิ่งดี โดยไม่ต้องเขียนเป็นกฎหมายด้วย นอกจากนั้นก็อาจรวมไปถึงข้อตกลงระหว่างบุคคล ตามคำมั่นสัญญา ที่ตกลงกันเองโดยไม่มีบันทึกข้อตกลงนั้นอีกด้วย สังคมประชาธิปไตย จะยึดมั่นในวัฒนธรรมการรักษาคำพูดและคำมั่นที่มีต่อกัน Attitudes to knowledge ทัศนะต่อความรู้ ความรู้คือหัวใจในการตัดสินใจก่อนออกความคิดเห็น ก่อนการตัดสินใจลงประชามติ ก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในสังคมเผด็จการ ข่าวสารความรู้เป็นเครื่องที่เก็บไว้ใช้กับประชนผู้ถูกปิดกั้นความรู้ แต่ในสังคมประชาธิปไตย พลเมืองต้องใฝ่หาความรู้โดยเสรีและกว้างไกล โดยไม่มีการปิดกั้นจากรัฐ พลเมืองที่ไม่มีความรู้ มีแต่ความเห็น หรือความรู้สึก จะทำให้การตัดสินใจเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ หากไม่มีข้อมูลความรู้ หรือมีน้อย ก็เหลือทางช่วยได้ทางเดียว คือการใช้ความคิดแบบมีเหตุมีผลเข้าช่วยในการตัดสินใจ Diffusion of information การกระจายข้อมูลข่าวสาร การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพมากที่สุดจำต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องซึ่งพลเมืองสามารถเข้าถึงได้มาก ง่าย สะดวก ฟรี และเสรี ข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาลเองก็ต้องโปร่งใส และเข้าถึงได้อย่างสะดวก Attitudes to politics ทัศนะต่อการเมือง การเมือง กับ ประชาธิปไตย นั้นแยกเป็นคนละอย่างกัน กิจกรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในสังคมประชาธิปไตย การเมืองจึงอาจเป็น หรือไม่เป็นประชาธิปไตยก็ได้ (98) “In modern democracies politics is always tolerated and usually actively encouraged. Politics is recognized as a conciliatory public activity aimed at or involving compromise.” สังคมประชาธิปไตยจะส่งเสริมพลเมืองให้ทำกิจกรรมทางการเมืองในหลากหลายรูปแบบ รัฐต้องอดทนต่อการเมืองภาคประชาชน โดยถือว่าการเมืองของสาธารณชนเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การปรองดองหาทางออกสำหรับปัญหาที่ขัดแย้งกันอยู่ในสังคม (107) สำหรับสถาบันที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างหลักของระบอบประชาธิปไตยนั้นก็คือ Elected representatives คือผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้แทนของประชาชน เลือกตั้งโดยประชาชน เข้ามาทำงานในรัฐสภา ออกกฎหมาย และกำกับควบคุมการทำงานของรัฐบาล ที่มาจากระบบเลือกตั้งทำนองเดียวกัน รากฐานของความเป็นประชาธิปไตยนั้นการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมประชาธิปไตยที่มีมากหลากหลาย Free, fair, and frequent elections การเลือกตั้งที่เสรี ยุติธรรม และมีการเลือกตั้งหลากหลายและบ่อยครั้ง ต้องไม่มีการบังคับขู่เข็ญ สั่งให้ลงคะแนนตามคำสั่งของหัวคะแนน ไม่มีการทุจริต คดโกง ไม่มีการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง สังคมใดมีการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่ว่าจะในรูปแบบใด สังคมนั้นไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย Freedom of expression มีอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการออกความคิดเห็นของตน โดยไม่ตกอยู่ในอันตรายในการอาจถูกลงโทษหรือได้รับผลกระทบในเชิงการเมืองหรือผลกระทบอื่นใด Access to alternative, independent sources of information การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางเลือกอิสระ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองจะไร้ความหมายไปในทันที่ที่พลเมืองไม่มีแหล่งข้อมูลข่าวสารและความรู้แหล่งอื่นที่อาจสามารถนำมาคัดค้านต่อสู้หรือท้าทายอภิปรายความผิดพลาดของรัฐบาลได้ โดยเฉพาะในยุคที่รัฐบาลหลายประเทศได้ครอบครอบ ครอบงำและควบคุมสื่อสารมวลชนได้เกือบทั้งหมด เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ Autonomous associations การรวมกลุ่มตั้งองค์กรของพลเมือง ประชาชนพลเมืองต้องมีสิทธิในการรวมกลุ่มตั้งองค์กร สมาคม สโมสร สหภาพ และพรรคการเมืองต่างๆได้อย่างเสรี Alexis de Tocqueville ย้ำเมื่อ 176 ปีที่แล้วว่า พรรคการเมือง คือสถาบันที่เป็นหลักของเสรีภาพและประชาธิปไตยและในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ พรรคการเมืองก็เป็นสถาบันที่เชื่องโยงรัฐบาลเข้ากับประชาชนอย่างดียิ่ง Inclusive citizenship พลเมืองในแผ่นดินเดียวกัน ไม่มีพลเมืองคนใดที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างถาวรและปฏิบัติตนตามกฎหมายของแผ่นดินเดียวกันจะถูกปฎิเสธสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถาบันประชาธิปไตยทั้งห้าตามที่กล่าวมาแล้ว ผู้มีภูมิลำเนาในประเทศอย่างถาวร แต่ยังมิได้แปลงสัญชาติควรจะมีสิทธิเลือกตั้ง แต่ในประเทศส่วนมากก็ยังมิได้ให้สิทธินี้แก่พลเมืองกลุ่มนี้ ความรู้สึกแยกชาติในแผ่นดินเดียวกันจึงมักเกิดขึ้นสูง ประชาธิปไตยนั้นซับซ้อน หลากหลาย ไม่มีรูปแบบตายตัว เมื่อนำไปใช้ในสังคมการเมืองการปกครอง แต่ในโลกสมัยใหม่นี้ ประชาธิปไตยเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพยายามสร้างให้เกิดในสังคม ส่วน "ประชาธิปไตยของผู้ดูแล" นั้น ก็คงเป็นประชาธิปไตยของผู้ดูแลประชาธิปไตยต่อไป เป็น "ประชาธิปไตยแบบบกพร่อง" (Flawed Democracy) หรือที่คนไทยเคยเรียกประชาธิปไตยยุค พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ว่า "ประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ" จนกว่าจะเป็นประชาธิปไตยของประชาชนจริงๆ “Man’s inclination to justice makes democracy possible; but man’s capacity for injustice make it necessary” [Reinhold Neibuhr] “เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะใฝ่หาความยุติธรรม ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยจึงเป็นความเป็นไปได้ และมนุษย์ก็มีขีดความสามารถที่จะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมด้วยในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยจึงเป็นความจำเป็น ไทยวิทัศน์ 2 สิงหาคม 2559 |