[เอกสาร 1]
คำแปรญัตติ (ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. (๒๕๕๐)
โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมายเลข ๑๖๙
หมายเหตุ
ข้อความสีแดงขีดเส้นใต้ สมเกียรติเสนอเพิ่มเติมใหม่
(ข้อความสีดำในวงเล็บ สมเกียรติ ขอตัดออก)
_________________________________________________________________________________________________________________________________________________
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” หมายความ(ว่าสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น) เฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์เกิน 25% ขึ้นไป
มาตรา ๖ กรรมการตามมาตรา ๕ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๗) ไม่เป็นผู้ (ติด)ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ประกอบด้วย
(๖) คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องไม่เป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
[วรรคสองใหม่]
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆโดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศในกฎกระทรวง
[วรรคสามใหม่ – วรรคสองเดิม]
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร (ปรากฏในการถ่ายทอดสดรายการสดจากต่างประเทศทางวิทยุโทรทัศน์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาขายในราชอาณาจักรโดยเฉพาะ)
มาตรา ๓๒ (ตัดออก)
มาตรา ๓๓ (ตัดออก)
มาตรา ๓๔ (ตัดออก)
สมเกียรติ อ่อนวิมล
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมายเลข ๑๖๙
๔ เมษายน ๒๕๕๐
ข้อความสีแดงขีดเส้นใต้ สมเกียรติเสนอเพิ่มเติมใหม่
(ข้อความสีดำในวงเล็บ สมเกียรติ ขอตัดออก)
_________________________________________________________________________________________________________________________________________________
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” หมายความ(ว่าสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ทั้งนี้ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น) เฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์เกิน 25% ขึ้นไป
มาตรา ๖ กรรมการตามมาตรา ๕ (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๗) ไม่เป็นผู้ (ติด)ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ประกอบด้วย
(๖) คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องไม่เป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
[วรรคสองใหม่]
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆโดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศในกฎกระทรวง
[วรรคสามใหม่ – วรรคสองเดิม]
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร (ปรากฏในการถ่ายทอดสดรายการสดจากต่างประเทศทางวิทยุโทรทัศน์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาขายในราชอาณาจักรโดยเฉพาะ)
มาตรา ๓๒ (ตัดออก)
มาตรา ๓๓ (ตัดออก)
มาตรา ๓๔ (ตัดออก)
สมเกียรติ อ่อนวิมล
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หมายเลข ๑๖๙
๔ เมษายน ๒๕๕๐
[เอกสาร 2]
แนวการอภิปราย (ร่าง) พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. (2550)
โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
28 มีนาคม 2550
- เหตุผล – ปัญหาสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุ อาชญากรรม ผลกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจ ------ ขอดูข้อมูล ผลงานวิจัยก่อน จริงหรือไม่ ------- กินเหล้าเท่าไรจึงจะเกิดผลกระทบ
- อบายมุขที่รัฐบาลสนับสนุนและโฆษณา ขายตรง คือ lottery / หวยบนดิน มีผลกระทบอย่างไร โดยเปรียบเทียบ
- คำนิยาม มาตรา 3 .เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หมายความว่าสุรา ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา หมายถึงอะไรบ้าง
- Beers 2-8% (Beers, ale, stout, porter, malt liquor) (ทำจาก malt, corn, rice, hops)
- Natural grape wines: 8-14% (Bordeaux, Burgundy, Chianti, Sauterne)
- Fortified wines หรือ wine เสริม alcohol หรือ brandy: 18-21% (sherry, port, muscatel)
- Distilled beverage: 40-50% (whisky, gin, vodka, rum, brandy, liqueurs, cordials)
ไม่มีปัญหาใช่ไหม แล้วปัญหาอยู่ที่ใด แก้ที่นั่น ปัญหาอยู่การดื่ม ไม่ใช่อยู่ที่การโฆษณา หรือว่าผสมกันเป็นสัดส่วนเท่าใด
“ควรปกป้อง ส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ ปกป้องสุขภาพประชาชนในเวลาเดียวกัน”
5. ห้ามโฆษณาจะแก้ปัญหาไม่ได้
(1) เพราะมิได้ห้ามขาย ผู้บริโภคจะไม่มีความรู้ว่าควรเลือกซื้ออย่างไร
(2) Brandy – whisky – wine – champagne – ไม่มีความจำเป็นต้องโฆษณาในสื่อสาธารณะเลย จะเป็นข้อมูลความรู้ระดับโลกมาแต่
ประวัติศาสตร์โบราณแล้ว
(3) ตลาดโฆษณาจริงๆอยู่ที่เบียร์ ซึ่งก็เป็นเครื่องดื่มธรรมดา ใครๆก็กินได้ ตั้งแต่วัยรุ่น จนโต จนตาย เบียร์ปรกติมี ethyl alcohol ไม่เกิน 4%
หากเกินก็เป็นเบียร์แรง หาก 8-10% เรียกว่า barley wine เบียร์ผลิตจาก hops เหล้าโรง สาเก ผลิตจากข้าว – ควรให้โฆษณาเบียร์ได้ตาม
ปรกติ หรือโฆษณาโดยควบคุม
(4) การห้ามโฆษณาโดยเหมากวาดรวมหมด ทั้งห้ามกิจกรรม โต๊ะเก้าอี้ เต็นท์ ฯลฯ เสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า
6. การมีโฆษณา ในลักษณะควบคุมได้ จะดีที่สุด เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลความรู้เรื่องเครื่องดื่มแต่ละชนิด โดยควรมีรูปแบบการโฆษณาดังนี้:
(1) ไม่อวดอ้างสรรพคุณ
(2) ให้ความรู้เรื่องคุณ – โทษ ของการดื่มอย่างมีวินัย การดื่มเกินพอดี
(3) ให้ความรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมการดื่ม ดังตัวอย่างการดื่มของบุคคลสำคัญ พิธีการสำคัญในประวัติศาสตร์:
Socrates
สุนทรภู่
Awamori ที่เกาะ ริวกิว / มาจากเหล้าโรงสมัยอยุธยา (ข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยริมกิว ประเทศญี่ปุ่น)
การดื่มถวายพระพร
(4) ให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการดื่ม
- ยาดองเหล้า
- อุตสาหกรรมท้องถิ่น ชุมชน
- โรคหัวใจ – wine
- สังคม งานประเพณี
- ถวายพระพร
7. ห้ามโฆษณา ทำไม่ได้ นอกประเทศ ไม่มีปัญหาเลยสำหรับการย้ายสื่อโฆษณาไปต่างประเทศ
(1) โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
(2) วิทยุผ่านดาวเทียม – World Space
(3) ถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม
(4) รายการสดผ่านดาวเทียม CNN – CNBC – BBC ฯลฯ
(5) สิ่งพิมพ์นอกประเทศ พิมพ์ที่ไหนก็ได้
(6) มาตรา 31 วรรค 2 เขียนสวย ช่วยต่างประเทศ ว่า:
ก. “มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏในการถ่ายทอดสด รายการสดจากต่างประเทศ ทางวิทยุโทรทัศน์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาขายในราชอาณาจักรโดย
เฉพาะ”
ข. ดังนั้นการโฆษณาทำได้ง่าย สบายมาก บริษัทสุรา เพียงไปผลิตสื่อนอกประเทศ หรือตั้งสถานีวิทยุ และ โทรทัศน์ Digital เป็นของตนเองได้
ทันทีในราคาถูกกว่าซื้อโฆษณาในสื่อในประเทศ
8. กฎหมายฉบับนี้ไม่มีผลตามต้องการเลย
- ยังคงมีโฆษณาได้ตามปรกติ อาจทุกลักทุเลหน่อย แต่ก็ทำได้ง่าย
- เงินโฆษณาไหลไปต่างประเทศ 100% นับพันล้านบาท
- งานที่เกี่ยวข้องหายไปหมด ไม่ทราบเท่าไร
- เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจมาก
- สังคมขาดโอกาสการศึกษาปัญหาสุราอย่างแท้จริง บริษัทสุราไม่มีส่วนร่วมในการ ให้ความรู้ และสร้างสังคม
- ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมในการผลิตเครื่องดื่มสุรา จบลง อย่างน่าอับอาย
ทางออก
- ถอนกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน รับฟังความเห็นของบริษัทสุราบ้าง
- รอรัฐบาลประชาธิปไตย ดีกว่า ให้พรรคการเมืองจากประชาชนตัดสิน ตัดสิน หรือทำประชามติ
- หากต้องพิจารณากฎหมายฉบับนี้ ก็ให้มีการควบคุมการโฆษณา การผลิต และจำหน่าย มิใช่ห้ามโฆษณา และห้ามกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
สมเกียรติ อ่อนวิมล
28 มีนาคม 2550
[เอกสาร 3]
(ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. (๒๕๕๐)
คำอธิบาย จาก สมเกียรติ อ่อนวิมล, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ขอแปรญัตติ
(ร่าง) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. (๒๕๕๐)
คำอธิบาย จาก สมเกียรติ อ่อนวิมล, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ขอแปรญัตติ กรรมาธิการไม่เห็นด้วย
จึงขอสงวนความเห็นเพื่อขอแปรญัตติในวาระสอง ที่ประชุมใหญ่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หัวใจของของร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่มาตรา ๓๑
ร่างเดิม มาตรา ๓๑ ตามร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาล :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คำอธิบาย : มาตรานี้กรรมาธิการเสียงข้างน้อยนำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ขอให้คงไว้ตามเดิม แต่แพ้มติที่ต้องการให้แก้ไข ด้วยคะแนน 73:42 การจะแก้ไขอย่างไร ให้ลงมติเลือกระหว่างการแก้ไขโดยกรรมาธิการ หรือ การแก้ไขโดยคำแปรญัตติของ สมเกียรติ อ่อนวิมล
กรรมาธิการแก้ไขมาตรา ๓๑ เป็นดังนี้ :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(๑)ใน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเคลื่อนที่ เทปและวัสดุโทรทัศน์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
(๒)ในโรงมหรสพ หรือในการแสดง การละเล่น การประกวด การแข่งขัน การให้บริการ การใช้บุคคล หรือการประกอบกิจกรรมอื่นใด ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ให้สาธารณชนเข้าใจว่าเป็นชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความใน (๒) มิให้ใช้บังคับกรณีที่ได้กระทำภายในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
กรรมาธิการเพิ่มมาตราใหม่รวม ๔ มาตรา คือมาตรา ๓๑/๑, ๓๑/๒, ๓๑/๓ และ ๓๑/๔ ดังนี้ :
มาตรา ๓๑/๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโรงภาพยนตร์ตั้งแต่เวลาห้านาฬิกาถึงยี่สิบสี่นาฬิกา
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโรงภาพยนตร์ ระหว่างหลังเวลายี่สิบสี่นาฬิกาถึงก่อนเวลาห้านาฬิกา และการกำหนดข้อความคำเตือนให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกรรมการ ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าวต้องมีข้อความคำเตือนไม่น้อยกว่าเจ็ดวินาทีและต้องไม่ปรากฏภาพของบุคคล รวมทั้งข้อความที่มีลักษณะเชิญชวนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาจปรากฏภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินสามวินาทีในตอนท้ายของการโฆษณา
บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏใน
มาตรา ๓๑/๒ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กหรือเยาวชน หรือในสิ่งพิมพ์สำหรับการเรียนการสอนหรือสถานศึกษา เว้นแต่ในสิ่งพิมพ์สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์อื่นนอกจากวรรคหนึ่งและการกำหนดข้อความคำเตือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าวต้องมีขนาดพื้นที่ข้อความคำเตือนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของพื้นที่โฆษณา และอยู่ในส่วนบนสุดของของพื้นที่โฆษณา โดยต้องไม่อยู่บริเวณปกด้านนอกของสิ่งพิมพ์ และต้องไม่ปรากฏภาพของบุคคล รวมถึงข้อความที่มีลักษณะเชิญชวนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
บทบัญญัติในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเฉพาะ
มาตรา ๓๑/๓ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้ายโฆษณา
มาตรา ๓๑/๔ ห้ามมิให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สนับสนุนหรือให้ผลประโยชน์ใดๆในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา การแพทย์ และสาธารณสุข กิจกรรมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาสมัครเล่น เว้นแต่เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
คำอธิบาย : กรรมาธิการยอมให้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในวิทยุ และ โทรทัศน์ ตามเวลาที่กำหนด และให้แสดงบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ด้วย นอกนั้นกรรมาธิการเข้มงวดมากโดยห้ามการโฆษณาที่อื่น ห้ามแม้การทำกิจกรรม แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการ ไม่ห้ามการโฆษณาจากต่างประเทศ
สมเกียรติ อ่อนวิมล ขอแปรญัตติในวาระสอง ดังนี้ :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆโดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศในกฎกระทรวง
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
คำอธิบาย : ห้ามมิให้มีการโฆษณาตัวสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใดๆทั้งสิ้นทุกสื่อทุกแห่งในประเทศไทย ไม่มีการปรากฏภาพบรรจุภัณฑ์ ขวด กล่อง กระป๋อง ใดๆทั้งสิ้น แต่ให้บริษัทผู้ผลิตสนับสนุนรายการและกิจกรรมต่างๆได้อย่างเสรีทุกเวลา ทุกสื่อ ทุกแห่ง ในประเทศไทย โดยบังคับให้ทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างสรรค์สังคม โดยแสดงชื่อและสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มและบริษัทผู้ผลิตได้ ไม่ห้ามการโฆษณาจากต่างประเทศ
ความเห็นเพิ่มเติมจากสมเกียรติ อ่อนวิมล :
การขอแปรญัตติของผมเป็นไปโดยความคิดอิสระ ไม่มีการติดต่อหารือกับผู้ใดเลย รวมทั้งไม่เคยติดต่อรับฟังความคิดเห็นจากบริษัทผู้ผลิต ส่วนการผลักดันความเห็นของผู้ผลิตผ่านกรรมาธิการ หากมีก็เป็นเรื่องปรกติในระบอบประชาธิปไตย
เหตุผลในการขอแปรญัตติของผมเป็นเรื่องของความต้องการให้สังคมเติบโตเข้มแข็งทางสติปัญญา มีวุฒิภาวะในการอบรมสั่งสองลูกหลานของตนเองในครอบครัว และดูแลตัวเอง ให้รู้จักดื่ม รู้จักกิน อย่างมีความรู้ความเข้าใจและรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธหากนับถือและปฏิบัติจริงๆจะไม่มีปัญหาใดๆเลยต่อให้โฆษณาอย่างไรก็ไม่มีวันใจอ่อน ส่วนเด็กและเยาวชนก็ควรเรียนรู้ว่าควรหรือไม่ควรอย่างไรเมื่ออายุถึงวัยอันควร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นของมนุษยชาติมานานกว่า ๖,๐๐๐ ปี คนไทยควรเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้เข้มแข็ง หากรู้จักดื่มจะไม่มีปัญหาอะไร คนที่ไม่รู้จักดื่ม หากทำผิดกฎหมายก็จะได้รับโทษตามกฎหมายอยู่แล้ว สำหรับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะได้ประกอบกิจการต่อไปในระบบเศรษฐกิจของไทย งบประมาณโฆษณาที่มีจำนวนมากก็จะได้ถูกแปรไปเป็นงบประชาสัมพันธ์สร้างสรรค์สังคม จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจสื่อสารมวลชนต่างๆในประเทศจะได้รับประโยชน์ต่อเนื่อง ประชาชนที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงจะยังคงดำเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่กระทบกระเทือน เงินจากบริษัทผู้ผลิตก็จะไม่ไหลออกไปสนับสนุนสื่อโฆษณาในต่างประเทศทั้งหมด โดยเชื่อว่างบประมาณส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในประเทศ
แนวการแปรญัตติของผมดีกว่าของกรรมาธิการ เพราะไม่ให้มีการโฆษณาโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่กรรมาธิการยังให้มีการโฆษณาได้
สมเกียรติ อ่อนวิมล
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
28 มีนาคม 2550
คำอธิบาย จาก สมเกียรติ อ่อนวิมล, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ขอแปรญัตติ กรรมาธิการไม่เห็นด้วย
จึงขอสงวนความเห็นเพื่อขอแปรญัตติในวาระสอง ที่ประชุมใหญ่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หัวใจของของร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ที่มาตรา ๓๑
ร่างเดิม มาตรา ๓๑ ตามร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาล :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ในสิ่งพิมพ์ เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุม
- ในโรงมหรสพ หรือในการแสดง การละเล่น การประกวด การแข่งขัน การให้บริการ การใช้บุคคล หรือการประกอบกิจกรรมอื่นใด ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ให้สาธารณชนเข้าใจว่าเป็นชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏในการถ่ายทอดสดรายการสดจากต่างประเทศทางวิทยุโทรทัศน์ หรือทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาขายฝนราชอาณาจักรโดยเฉพาะ
คำอธิบาย : มาตรานี้กรรมาธิการเสียงข้างน้อยนำโดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง ขอให้คงไว้ตามเดิม แต่แพ้มติที่ต้องการให้แก้ไข ด้วยคะแนน 73:42 การจะแก้ไขอย่างไร ให้ลงมติเลือกระหว่างการแก้ไขโดยกรรมาธิการ หรือ การแก้ไขโดยคำแปรญัตติของ สมเกียรติ อ่อนวิมล
กรรมาธิการแก้ไขมาตรา ๓๑ เป็นดังนี้ :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(๑)ใน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเคลื่อนที่ เทปและวัสดุโทรทัศน์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นการโฆษณาได้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
(๒)ในโรงมหรสพ หรือในการแสดง การละเล่น การประกวด การแข่งขัน การให้บริการ การใช้บุคคล หรือการประกอบกิจกรรมอื่นใด ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงค์ให้สาธารณชนเข้าใจว่าเป็นชื่อ หรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ความใน (๒) มิให้ใช้บังคับกรณีที่ได้กระทำภายในสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
กรรมาธิการเพิ่มมาตราใหม่รวม ๔ มาตรา คือมาตรา ๓๑/๑, ๓๑/๒, ๓๑/๓ และ ๓๑/๔ ดังนี้ :
มาตรา ๓๑/๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโรงภาพยนตร์ตั้งแต่เวลาห้านาฬิกาถึงยี่สิบสี่นาฬิกา
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือการแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโรงภาพยนตร์ ระหว่างหลังเวลายี่สิบสี่นาฬิกาถึงก่อนเวลาห้านาฬิกา และการกำหนดข้อความคำเตือนให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกรรมการ ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าวต้องมีข้อความคำเตือนไม่น้อยกว่าเจ็ดวินาทีและต้องไม่ปรากฏภาพของบุคคล รวมทั้งข้อความที่มีลักษณะเชิญชวนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาจปรากฏภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกินสามวินาทีในตอนท้ายของการโฆษณา
บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่ปรากฏใน
- การถ่ายทอดสดรายการสดในประเทศทางวิทยุโทรทัศน์ ทั้งนี้ต้องเป็นรายการในระดับนานาชาติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
- การถ่ายทอดสดรายสดการจากต่างประเทศทางวิทยุโทรทัศน์
มาตรา ๓๑/๒ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กหรือเยาวชน หรือในสิ่งพิมพ์สำหรับการเรียนการสอนหรือสถานศึกษา เว้นแต่ในสิ่งพิมพ์สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์อื่นนอกจากวรรคหนึ่งและการกำหนดข้อความคำเตือนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าวต้องมีขนาดพื้นที่ข้อความคำเตือนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของพื้นที่โฆษณา และอยู่ในส่วนบนสุดของของพื้นที่โฆษณา โดยต้องไม่อยู่บริเวณปกด้านนอกของสิ่งพิมพ์ และต้องไม่ปรากฏภาพของบุคคล รวมถึงข้อความที่มีลักษณะเชิญชวนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
บทบัญญัติในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสิ่งพิมพ์ซึ่งจัดพิมพ์นอกราชอาณาจักรโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ให้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเฉพาะ
มาตรา ๓๑/๓ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางป้ายโฆษณา
มาตรา ๓๑/๔ ห้ามมิให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สนับสนุนหรือให้ผลประโยชน์ใดๆในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการศึกษา การแพทย์ และสาธารณสุข กิจกรรมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน และกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬาสมัครเล่น เว้นแต่เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ
คำอธิบาย : กรรมาธิการยอมให้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในวิทยุ และ โทรทัศน์ ตามเวลาที่กำหนด และให้แสดงบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ด้วย นอกนั้นกรรมาธิการเข้มงวดมากโดยห้ามการโฆษณาที่อื่น ห้ามแม้การทำกิจกรรม แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการ ไม่ห้ามการโฆษณาจากต่างประเทศ
สมเกียรติ อ่อนวิมล ขอแปรญัตติในวาระสอง ดังนี้ :
มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ หรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆโดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามประกาศในกฎกระทรวง
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร
คำอธิบาย : ห้ามมิให้มีการโฆษณาตัวสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใดๆทั้งสิ้นทุกสื่อทุกแห่งในประเทศไทย ไม่มีการปรากฏภาพบรรจุภัณฑ์ ขวด กล่อง กระป๋อง ใดๆทั้งสิ้น แต่ให้บริษัทผู้ผลิตสนับสนุนรายการและกิจกรรมต่างๆได้อย่างเสรีทุกเวลา ทุกสื่อ ทุกแห่ง ในประเทศไทย โดยบังคับให้ทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างสรรค์สังคม โดยแสดงชื่อและสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มและบริษัทผู้ผลิตได้ ไม่ห้ามการโฆษณาจากต่างประเทศ
- ผลการลงมติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติครั้งแรกด้วยการกดปุ่ม ผลปรากฏว่าสภาฯเห็นชอบกับการแก้ไขของกรรมาธิการ ด้วยคะแนน 56:54 เสียง
- สมเกียรติ ขอให้นับคะแนนใหม่ตามข้อบังคับการประชุมเมื่อคะแนนใกล้กันมาก
- ในที่สุดสภาฯลงมติ เห็นชอบตามคำแปรญัตตินี้ของสมเกียรติ อ่อนวิมล ชนะในการลงมติครั้งที่สองโดยการยกมือ ด้วยคะแนน 66:44 เสียง
- ผลที่ตามมาคือมาตรา ๓๑, ๓๑/๑, ๓๑/๒, ๓๑/๓, ๓๑/๔ ต้องตกไป รวมทั้งต้องตัดมาตรา ๓๒, ๓๓, และ ๓๔ ต้องถูกตัดออกไปด้วยตามที่สมเกียรติ ขอแปรญัตติให้ตัดออกเพราะเกี่ยวเนื่องกันกับมาตรา ๓๑ ใหม่ของสมเกียรติ
- ประธานกรรมาธิการลุกขึ้นขอถอนร่างกลับไปแก้ไขให้เป็นไปตามที่สภาฯลงมติ ประธานสภาฯสั่งให้ทำให้เสร็จ ก่อนวันที่ ๒๓ ธันวาคม
ความเห็นเพิ่มเติมจากสมเกียรติ อ่อนวิมล :
การขอแปรญัตติของผมเป็นไปโดยความคิดอิสระ ไม่มีการติดต่อหารือกับผู้ใดเลย รวมทั้งไม่เคยติดต่อรับฟังความคิดเห็นจากบริษัทผู้ผลิต ส่วนการผลักดันความเห็นของผู้ผลิตผ่านกรรมาธิการ หากมีก็เป็นเรื่องปรกติในระบอบประชาธิปไตย
เหตุผลในการขอแปรญัตติของผมเป็นเรื่องของความต้องการให้สังคมเติบโตเข้มแข็งทางสติปัญญา มีวุฒิภาวะในการอบรมสั่งสองลูกหลานของตนเองในครอบครัว และดูแลตัวเอง ให้รู้จักดื่ม รู้จักกิน อย่างมีความรู้ความเข้าใจและรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธหากนับถือและปฏิบัติจริงๆจะไม่มีปัญหาใดๆเลยต่อให้โฆษณาอย่างไรก็ไม่มีวันใจอ่อน ส่วนเด็กและเยาวชนก็ควรเรียนรู้ว่าควรหรือไม่ควรอย่างไรเมื่ออายุถึงวัยอันควร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นของมนุษยชาติมานานกว่า ๖,๐๐๐ ปี คนไทยควรเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้เข้มแข็ง หากรู้จักดื่มจะไม่มีปัญหาอะไร คนที่ไม่รู้จักดื่ม หากทำผิดกฎหมายก็จะได้รับโทษตามกฎหมายอยู่แล้ว สำหรับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะได้ประกอบกิจการต่อไปในระบบเศรษฐกิจของไทย งบประมาณโฆษณาที่มีจำนวนมากก็จะได้ถูกแปรไปเป็นงบประชาสัมพันธ์สร้างสรรค์สังคม จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์ ธุรกิจสื่อสารมวลชนต่างๆในประเทศจะได้รับประโยชน์ต่อเนื่อง ประชาชนที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงจะยังคงดำเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่กระทบกระเทือน เงินจากบริษัทผู้ผลิตก็จะไม่ไหลออกไปสนับสนุนสื่อโฆษณาในต่างประเทศทั้งหมด โดยเชื่อว่างบประมาณส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในประเทศ
แนวการแปรญัตติของผมดีกว่าของกรรมาธิการ เพราะไม่ให้มีการโฆษณาโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่กรรมาธิการยังให้มีการโฆษณาได้
สมเกียรติ อ่อนวิมล
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
28 มีนาคม 2550