Angelina Jolie, ผู้กำกับ และ นักแสดงภาพยนตร์ชาวอเมริกัน แองเจลินา โจลี ำด้รับแต่งตั้งเป็นฑูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ตัวเธอเองก็รับเลี้ยงเด็กกำพร้าต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม 6 คน เธอเดินทางช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัยตามค่ายต่างๆทั่วโลก จึงมีความเห็นค้านกับคำสั่ง Donald Trump เรื่องห้ามผู้อพเข้าเมืองจาก Syria และห้ามพลเมือง 7 ประเทศอิสลามเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 120 วัน ซึ่งส่งผลให้บุคคลที่ได้รับการตรวจสอบคุณบัติครบถ้วนได้รับอนุญาตเข้าเมืองได้ก่อนออกคำสั่งประธานาธิบดี ต้องถูกกักตัวแล้วส่งกลับประเทศต้นทาง บทความของเธอลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ New York Times แสดงความเห็นว่าการตรวจสอบเข้มข้นผู้อพยพเข้าเมืองที่ทำอยู่ดีแล้ว หากจะทำนโยบายใหม่ ไม่ควรทำโดยความกลัว ขาดเหตุผล ควรใช้ข้อเท็จจริง โดยให้ข้อมูลว่าผู้อพยพหนีภัยก่อการร้ายและสงครามในโลกที่พลัดถิ่นฐานบ้านเรือนตนเองนั้นมีมากถึง 65 ล้านคน, 9 ใน 10 คน มาจากประเทศยากจนหรือระดับเศรษฐกิจปานกลาง มี 2.8 ล้านมาจาก Syria แต่ที่เข้ามาอยู่ในอเมริกาตั้งแต่ปี 2011 แล้วมีเพียง 18,000 คน ผู้อพยพทั้งหลายคือเหยื่อภัยสงครามและการก่อการร้าย ไม่ใช่เป็นผู้ก่อการร้าย สหรัฐฯไม่ควรมีนโยบายปิดกั้นผู้อพยพโดยถือเรื่องศาสนาและภูมิรัฐศาสตร์ เป็นหลัก
|
The Opinion Pages | OP-ED CONTRIBUTOR Angelina Jolie: Refugee Policy Should Be Based on Facts, Not Fear แองเจลินา โจลี : นโยบายเรื่องผู้ลี้ภัย ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความหวาดกลัว By ANGELINA JOLIE FEB. 2, 2017 (แปลไทยโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล) Refugees are men, women and children caught in the fury of war, or the cross hairs of persecution. Far from being terrorists, they are often the victims of terrorism themselves. ผู้ลี้ภัย มีทั้งชาย หญิง และ เด็ก เป็นผู้ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางสภาวะหฤโหดของสงคราม, หรือไม่ก็เป็นผู้คนที่โดนคาดโทษถึงชีวิต ผู้ลี้ภัยมิได้เป็นผู้ก่อการร้าย แต่กลับจะเป็นเป้ารับเคราะห์กรรมจากการก่อการร้ายด้วยซ้ำ I’m proud of our country’s history of giving shelter to the most vulnerable people. Americans have shed blood to defend the idea that human rights transcend culture, geography, ethnicity and religion. The decision to suspend the resettlement of refugees to the United States and deny entry to citizens of seven Muslim-majority countries has been met with shock by our friends around the world precisely because of this record. ดิฉันภูมิใจที่ประเทศของเรามีประวัติศาสตร์ในการให้ความช่วยเหลือให้ที่พักพิงผู้คนที่มีคุณค่าทั้งหลาย ชาวอเมริกันได้สละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องความคิดที่ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นเหนือกว่าเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรม เกินเรื่องตำแหน่งที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ หรือเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และผ่านการจำแนกแยกศาสนาไปแล้ว การตัดสินใจให้ยกเลิกการรับผู้ลี้ภัยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐฯ และการสั่งห้ามการเข้าเมืองของพลเมืองจากเจ็ดประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ยังผลให้มิตรของเราทั่วโลกตกตื่นใจเป็นอย่างมาก ที่ตกตื่นใจกันก็เพราะเหตุที่ว่าประเทศของเราเคยมีประวัติอันดีงามดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ The global refugee crisis and the threat from terrorism make it entirely justifiable that we consider how best to secure our borders. Every government must balance the needs of its citizens with its international responsibilities. But our response must be measured and should be based on facts, not fear. วิกฤติโลกเรื่องผู้ลี้ภัย กับภัยข่มขู่จากการก่อการร้าย ทำให้สมเหตุผลแน่นอนที่เราจะต้องพิจารณาว่าเราควรจะหาวิธีใดที่ดีที่สุดที่จะทำให้พรมแดนของเรามั่นคงปลอดภัย ทุกรัฐบาลจำต้องชั่งน้ำหนักให้พอดีระหว่างความจำเป็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนพลเมืองในประเทศ กับ ภาระรับผิดชอบที่เรามีอยู่ในระดับระหว่างประเทศ แต่เราจะต้องใช้หลักการและเหตุผลที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง ไม่ใช่กำหนดนโยบายเพราะความหวาดกลัว As the mother of six children, who were all born in foreign lands and are proud American citizens, I very much want our country to be safe for them, and all our nation’s children. But I also want to know that refugee children who qualify for asylum will always have a chance to plead their case to a compassionate America. And that we can manage our security without writing off citizens of entire countries — even babies — as unsafe to visit our country by virtue of geography or religion. ในฐานะที่ดิฉันเป็นแม่ของลูกหกคนที่รับเลี้ยงเด็กที่เกิดในต่างแดนมาเป็นบุตรบุญธรรม และภูมิใจที่ลูกได้สัญชาติเป็นคนอเมริกัน ดิฉันต้องการเป็นนอย่างยิ่งที่จะเห็นประเทศสหรัฐอเมริกาปลอดภัยสำหรับลูกๆของดิฉัน ตลอดจนลูกๆทั้งหลายของประเทศชาติเราด้วย แต่ดิฉันก็ต้องการให้แน่ใจด้วยว่าเด็กๆผู้ลี้ภัยทั้งหลายที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้ลี้ภัยเข้าประเทศเราได้แล้วนั้นจะได้รับโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลของเขาต่ออเมริกาที่มีน้ำใจไมตรีได้เสมอ และเราจะยังคงจัดการเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของเราได้ต่อไปโดยไม่ต้องกีดกันปิดกั้นและหมายหัวคนประเทศอื่นทั้งหมดประเทศ - ไม่ยกเว้นแม้เด็กทารก - ว่าเป็นบุคคลที่ไม่ปลอดภัยที่จะให้เดินทางมาประเทศของเรา เพียงแค่เหตุผลว่าคนเหล่านั้นมาจากพื้นที่ภูมิศาสตร์บางพื้นที่ บางประเทศ และนับถือศาสนาที่เรากำหนดข้อห้ามเข้าเมือง. Refugees are in fact subject to the highest level of screening of any category of traveler to the United States. This includes months of interviews, and security checks carried out by the F.B.I., the National Counterterrorism Center, the Department of Homeland Security and the State Department. ผู้ลี้ภัยนั้นที่จริงแล้วก็ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคัดกรองเข้มข้นมากทุกประเภทอยู่แล้วก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ มีการสัมภาษณ์ยาวนานเป็นหลายๆเดือน มีการตรวจเรื่องความมั่นคงปลอดภัยโดยสำนักงานสอบสวนกลาง FBI , ศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติ, กระทรวงความมั่นคงบ้านเกิด, และ กระทรวงการต่างประเทศ. Furthermore, only the most vulnerable people are put forward for resettlement in the first place: survivors of torture, and women and children at risk or who might not survive without urgent, specialized medical assistance. I have visited countless camps and cities where hundreds of thousands of refugees are barely surviving and every family has suffered. When the United Nations Refugee Agency identifies those among them who are most in need of protection, we can be sure that they deserve the safety, shelter and fresh start that countries like ours can offer. ยิ่งไปกว่านั้น เราจะรับคนที่ชีวิตเสี่ยงภัยอันตรายมากกว่าใครเข้ามาก่อน รับคนที่รอดมาจากการถูกทรมาน, รับสตรีและเด็กที่ชีวิตตกอยู่ในความเสี่ยงและอาจไม่รอดชีวิตถ้าเราไม่รีบช่วยเขาเรื่องการดูแลรักษาทางการแพทย์เป็นพิเศษ ดิฉันได้ไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยและเยี่ยมเมืองต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว ได้เห็นผู้ลี้ภัยนับแสนอยู่กันอย่างพอมีชีวิตเกือบไม่รอด ทุกครอบครัวมีแต่ความทุกข์โศก เมื่อหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติได้ตรวจคัดกรองพบคนเหล่านั้นแล้วว่าเป็นผู้ที่สมควรจะต้องช่วยปกป้องเร่งด่วนที่สุดก่อนใคร เรามั่นใจได้เลยว่าคนเหล่านั้นเหมาะสมแล้วที่จะได้รับการช่วยเหลือให้ปลอดภัย ได้มีที่อยู่พักพิง ได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศ เช่นประเทศของเราที่พึงจะมอบความช่วยเหลือแก่พวกเขาได้. Angelina Jolie at a camp for Syrian refugees in Jordan, in September.
Credit: Jordan Pix/Getty Images ⤴︎
|
And in fact only a minuscule fraction — less than 1 percent — of all refugees in the world are ever resettled in the United States or any other country. There are more than 65 million refugees and displaced people worldwide. Nine out of 10 refugees live in poor and middle-income countries, not in rich Western nations. There are 2.8 million Syrian refugees in Turkey alone. Only about 18,000 Syrians have been resettled in America since 2011.
อันที่จริงแล้วผู้ลี้ภัยทั้งหมดในโลกเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯหรือในประเทศอื่นๆรวมแล้วมีเพียงน้อยนิด ไม่ถึง 1% ผู้ลี้ภัย (refugees) และผู้พลัดถิ่น (displaced people) ทั้งโลกมี 65 ล้านคน 9 ใน 10 คนอยู่ในประเทศยากจน หรือประเทศรายได้ปานกลาง, ไม่ใช่ในประเทศตะวันตกที่ร่ำรวย เฉพาะใน Turkey มีผู้ลี้ภัยจาก Syria ถึง 2.8 ล้านคน ส่วนในอเมริกา นับจากปี 2011 รับผู้ลี้ภัยเข้ามาแล้วเพียง 18,000 คน This disparity points to another, more sobering reality. If we send a message that it is acceptable to close the door to refugees, or to discriminate among them on the basis of religion, we are playing with fire. We are lighting a fuse that will burn across continents, inviting the very instability we seek to protect ourselves against. ความไม่ได้สัดส่วนในจำนวนผู้ลี้ภัยที่รับโดยเปรียบเทียบระหว่างสหรัฐฯกับประเทศอื่นดังว่า ย้ำความจริงที่น่าคำนึงอย่างหนึ่ง หากเราส่งสัญญาณว่าการปิดประตูไม่รับผู้ลี้ภัยเป็นเรื่องทำได้ หรือรับว่าการกีดกันแบ่งแยกผู้ลี้ภัยออกไปโดยยึดศาสนาเป็นเกณฑ์ทำได้ เราก็กำลังเล่นกับไฟ เรากำลังเติมเชื้อเพลิงที่จะโหมไหม้ไปทั่วทุกทวีป เชื้อเชิญความไม่มั่นคงปลอดภัยเข้ามา ทั้งๆที่เราต้องการกำจัดมันออกไปแต่แรก We are already living through the worst refugee crisis since World War II. There are countries in Africa and the Middle East bursting at the seams with refugees. For generations American diplomats have joined the United Nations in urging those countries to keep their borders open, and to uphold international standards on the treatment of refugees. Many do just that with exemplary generosity. เวลานี้เราได้เข้ามาอยู่ในยุดวิกฤตผู้ลี้ภัยที่เลวร้ายที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ประเทศในอัฟริกาและตะวันออกกลางมีผู้ลี้ภัยแน่นล้นจนค่ายที่พักแทบแตก นักการฑูตอเมริกันร่วมมือกับสหประชาชาติมาหลายชั่วอายุคนแล้วในการร้องขอให้ประเทศเหล่านั้นเปิดพรมแดนรับผู้ลี้ภัย และดูแลผู้ลี้ภัยให้ดีได้มาตรฐานระหว่างประเทศ และหลายประเทศก็ทำได้เช่นนั้นอย่างน่าชื่นชม What will be our response if other countries use national security as an excuse to start turning people away, or deny rights on the basis of religion? What could this mean for the Rohingya from Myanmar, or for Somali refugees, or millions of other displaced people who happen to be Muslim? And what does this do to the absolute prohibition in international law against discrimination on the grounds of faith or religion? แล้วอย่างนี้เราก็คงจะพูดอะไรไม่ออก หากประเทศอื่นๆอ้างความมั่นคงของประเทศเขาแล้วเริ่มปิดประเทศเหมือนเรา อ้างศาสนาไม่ยอมรับผู้ลี้ภัยเหมือนเราบ้าง อย่างนี้จะส่งผลอย่างไรกับชาวโรฮินญา (Rohingya) จากพม่า, หรือผู้ลี้ภัยชาว Somalia, หรือผู้พลัดถิ่นอีกหลายล้านคนที่บังเอิญนับถือศาสนาอิสลาม แล้วเรื่องการปิดกั้นห้ามผู้อพยพลี้ภัยโดยการแบ่งแยกกีดกันเพราะความแตกต่างทางศาสนาและลัทธิความเชื่อ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อกฎหมายระหว่างประเทศ The truth is that even if the numbers of refugees we take in are small, and we do the bare minimum, we do it to uphold the United Nations conventions and standards we fought so hard to build after World War II, for the sake of our own security. ความจริงก็คือ แม้ว่าเราจะรับผู้ลี้ภัยเข้ามาจำนวนน้อยมาก และเราก็รับอย่างน้อยมากเท่าที่เราจะรับได้ แต่ก็ถือว่าเรารับเพื่อจรรโลงหลักการตามอนุสัญญาต่างๆของสหประชาชาติ รับเพื่อคงมาตรฐานระหว่างประเทศ อันเป็นมาตรฐานที่เราผลักดันต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อยให้มีขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเหตุด้านความมั่นคงของเราเอง If we Americans say that these obligations are no longer important, we risk a free-for-all in which even more refugees are denied a home, guaranteeing more instability, hatred and violence. หากคนอเมริกันบอกว่าการปฏิบัติตามภาระผูกพันระหว่างประเทศนี้เป็นเรื่องไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว เราก็จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะการณ์ที่ชาติอื่นก็จะไม่รับบ้าง หรือว่าจะรับ-ไม่รับอย่างไรก็ทำได้ตามใจ อย่างนี้ผู้ลี้ภัยอีกมากมายก็จะไม่มีบ้านอยู่ ประกันได้เลยว่าจะเกิดความไม่มั่นคง จะเกิดความชิงชังกัน และจะเกิดความรุนแรงระหว่างกัน If we create a tier of second-class refugees, implying Muslims are less worthy of protection, we fuel extremism abroad, and at home we undermine the ideal of diversity cherished by Democrats and Republicans alike: “America is committed to the world because so much of the world is inside America,” in the words of Ronald Reagan. If we divide people beyond our borders, we divide ourselves. ถ้าเราเห็นผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งเป็นชนชั้นสอง คิดไปว่าคนมุสลิมด้อยค่าต่ำกว่าคนอื่น ไม่สมควรช่วยดูแลความปลอดภัยให้ เราก็จะเติมเชื้อเพลิงแห่งความแตกแยกรุนแรงในหมู่พวกที่หัวรุนแรงอยู่แล้วในต่างประเทศให้หนักขึ้นไปอีก และในประเทศของเราเองก็จะเกิดความเสียหายทำลายอุดมคติของเราที่ว่าเราเป็นชาติที่รักความแตกต่างหลากหลายของพลเมือง ไม่ว่าจะนิยมพรรคการเมืองไหน เป็นพวก Democrats หรือ Republicans เราคิดเหมือนกันดังที่ท่านประธานาธิบดี Ronald Reagan พูดไว้ว่า "อเมริกาเป็นผูกพันเป็นส่วนหนึ่งของโลก เพราะส่วนใหญ่ของโลกก็อยู่ในอเมริกา" ถ้าเราแบ่งแยกคนของโลกนอกประเทศเรา เราก็แบ่งแยกพลเมืองของเราด้วยเหมือนกัน The lesson of the years we have spent fighting terrorism since Sept. 11 is that every time we depart from our values we worsen the very problem we are trying to contain. We must never allow our values to become the collateral damage of a search for greater security. Shutting our door to refugees or discriminating among them is not our way, and does not make us safer. Acting out of fear is not our way. Targeting the weakest does not show strength. บทเรียนที่เราได้จากการต่อสู้กับการก่อการร้ายมาหลายปีหลังเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2001 ก็คือ ทุกครั้งที่เราละทิ้งค่านิยมแห่งความเป็นชาติอเมริกัน ปัญหาที่เราหวังจะแก้ก็จะหนักมากขึ้น ในการค้นหาวิธีทำให้ประเทศมั่นคงมากขึ้นนั้นเราจะต้องไม่ทำลายรากฐานของสังคมอเมริกัน การปิดประตูไม่รับผู้ลี้ภัย หรือการกีดกันแบ่งแยกผู้ลี้ภัย มิใช่วิถีอเมริกัน และไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยกว่าเดิม แสดงความหวาดกลัวให้ใครๆเห็นก็ไม่ใช่วิถีอเมริกัน การทำลายคนที่อ่อนแอกว่ามิใช่การแสดงความเข้มแข็งของตัวเรา We all want to keep our country safe. So we must look to the sources of the terrorist threat — to the conflicts that give space and oxygen to groups like the Islamic State, and the despair and lawlessness on which they feed. We have to make common cause with people of all faiths and backgrounds fighting the same threat and seeking the same security. This is where I would hope any president of our great nation would lead on behalf of all Americans. เราทั้งหลายล้วนต้องการให้ประเทศของเราปลอดภัย ดั้งนั้นเราก็จำต้องดูว่าแหล่งต้นตอของภัยก่อการร้ายจริงๆแล้วอยู่ที่ไหน - ดูให้ถึงดินแดนที่มีความขัดแย้ง ที่ที่ให้ความสะดวกแก่พวกผู้ก่อการร้ายได้อยู่ก่อการร้ายต่อไป เช่นพวก Islamic State ดูว่าพวกผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นทำให้ประชาชนในพื้นที่สิ้นหวัง ตกอยู่สภาพบ้านเมืองไร้ชื่อแปอย่างไร เราจำต้องร่วมมือร่วมหนทางแก้ปัญหาด้วยกันกับประชาชนทุกศาสนา ทุกลัทธิความเชื่อ ทุกกลุ่มต่างพื้นเพทางวัฒนธรรม ต่อสู่กับภัยที่ข่มขู่เราร่วมกัน ค้นหาความมั่นคงปลอดภัยร่วมกัน นี่เองคือเรื่องที่ดิฉันจะขอตั้งความหวังในใครก็ตามที่ทำหน้าที่ประธานาธิบดีของประเทศอันยิ่งใหญ่ของเรา ให้จงเป็นผู้นำทาง เป็นตัวแทนชองพวกเรา ประชาชนทั้งมวล. Angelina Jolie, a filmmaker, is the special envoy of the United Nations High Commissioner for Refugees. แองเจลินา โจลี เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ และนักแสดง, เป็นฑูตพิเศษของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ _____________________________ Follow The New York Times Opinion section on Facebook and Twitter (@NYTOpinion), and sign up for the Opinion Today newsletter. A version of this op-ed appears in print on February 3, 2017, on Page A27 of the New York edition with the headline: A Refugee Policy Based on Facts, Not Fear. Today's Paper|Subscribe https://www.nytimes.com/2017/02/02/opinion/angelina-jolie-refugee-policy-should-be-based-on-facts-not-fear.html หมายเหตุ / นิยามศัพท์
1. refugee - ผู้ลี้ภัย 2. displaced people - ผู้พลัดถิ่น 3. immigrant / permanent resident / resident alien / green card holder - ผู้เข้าเมือง ไปตั้งถิ่นอยู่อาศัยถาวร คนต่างด้าว ผู้มีบัตรเขียว 4. illegal immigrant / illegal alien - ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย 5. nonimmigrant - ผู้เข้าเมืองชั่วคราว ไปเที่ยว เรียนหนังสือ ทำงานทำธุรกิจชั่วคราว |
|