PLANET EARTH
ดาวเคราะห์โลก
ดาวเคราะห์โลก
Vertical Divider
THE PALE BLUE DOT THIRTY YEARS ON
THE PALE BLUE DOT OF EARTH / Original 1990 Image
"This image of Earth is one of 60 frames taken by the Voyager 1 spacecraft on February 14, 1990 from a distance of more than 6 billion kilometers (4 billion miles) and about 32 degrees above the ecliptic plane. In the image the Earth is a mere point of light, a crescent only 0.12 pixel in size. Our planet was caught in the center of one of the scattered light rays resulting from taking the image so close to the Sun. This image is part of Voyager 1's final photographic assignment which captured family portraits of the Sun and planets." Image credit: NASA / JPL Text Reference > The Planetary Society |
Vertical Divider
Planet Earth Our Home 🌏 ดาวเคราะห์โลก บ้านของเรา
ภาพถ่ายจากยาน Voyager 1 ระยะไกล 6,000,000,000 กิโลเมตร 14 February 1990 / Updated 14 February 2020 New digitally enhanced image of The Pale Blue Dot by NASA, 2019
NASA: "For the 30th anniversary of one of the most iconic images taken by NASA's Voyager mission, a new version of the image known as "the Pale Blue Dot." Planet Earth is visible as a bright speck within the sunbeam just right of center and appears softly blue, as in the original version published in 1990 (see PIA00452)." NASA: "For the 30th anniversary of one of the most iconic images taken by NASA's Voyager mission, a new version of the image known as "the Pale Blue Dot." Planet Earth is visible as a bright speck within the sunbeam just right of center and appears softly blue, as in the original version published in 1990 (see PIA00452). This updated version uses modern image-processing software and techniques to revisit the well-known Voyager view while attempting to respect the original data and intent of those who planned the images." |
Vertical Divider
In 1990, the Voyager project planned to shut off the Voyager 1 spacecraft's imaging cameras to conserve power and because the probe, along with its sibling Voyager 2, would not fly close enough to any other objects to take pictures. Before the shutdown, the mission commanded the probe to take a series of 60 images designed to produce what they termed the "Family Portrait of the Solar System." Executed on Valentine's Day 1990, this sequence returned images for making color views of six of the solar system's planets and also imaged the Sun in monochrome.
The popular name of this view is traced to the title of the 1994 book by Voyager imaging scientist Carl Sagan, who originated the idea of using Voyager's cameras to image the distant Earth and played a critical role in enabling the family portrait images to be taken. The image of Earth was originally published by NASA in 1990. It is republished here to commemorate the 30th anniversary of the Family Portrait of the Solar System (see PIA00451) and the Pale Blue Dot image in particular. The planet occupies less than a single pixel in the image and thus is not fully resolved. (The actual width of the planet on the sky was less than one pixel in Voyager's camera.) By contrast, Jupiter and Saturn were large enough to fill a full pixel in their family portrait images. ⤴︎ "Look again at that dot. That's here. That's home. That's us. On it everyone you love, everyone you know, everyone you ever heard of, every human being who ever was, lived out their lives. The aggregate of our joy and suffering, thousands of confident religions, ideologies, and economic doctrines, every hunter and forager, every hero and coward, every creator and destroyer of civilization, every king and peasant, every young couple in love, every mother and father, hopeful child, inventor and explorer, every teacher of morals, every corrupt politician, every "superstar," every "supreme leader," every saint and sinner in the history of our species lived there--on a mote of dust suspended in a sunbeam.
“ มองดูจุดสีฟ้าจางๆนั้นอีกที ตั้งใจมองให้ดี ที่นั่นคือบ้านของเรา นั่นคือเรา ทุกคนที่เรารักอยู่บนจุดสีฟ้าอ่อนนั้น ทุกคนที่เรารู้จัก ทุกคนที่เราเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามของเขา ทุกชีวิตมนุษย์อยู่อาศัยใช้ชีวิตกันก็บนจุดสีฟ้าจางๆอันนี้ คือโลกใบนี้เอง บนจุดสีฟ้าจืดนี้แหละรวมเอาไว้ซึ่งความสุข ความทุกข์ นับร้อยนับพันของศาสนา อุดมการณ์ ลัทธิเศรษฐกิจ นักล่า และ นักกวาดต้อนเสบียงกรัง วีรบุรุษผู้กล้าและผู้ขลาดเขลาทั้งหลาย มนุษย์ผู้สร้างและทำลายอารยธรรมทั้งปวง กษัตริย์และไพร่ทุกคน คู่หนุ่มสาวที่กำลังตกอยู่ในห้วงรัก แม่และพ่อทุกคน เด็กที่มีความหวังแห่งอนาคต นักประดิษฐ์ นักสำรวจ ครูและนักเทศน์ผู้อบรมสั่งสอนศีลธรรมทั้งหลาย นักการเมืองผู้ทุจริตคดโกงทุกๆคน พวกดาวรุ่งโด่งดังเป็น superstar ทั้งหลาย อีกทั้งท่านผู้นำสูงสุด นักบุญ นักบวช และคนบาปทั้งมวลทุกคนในประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทุกคนล้วนใช้ชีวิตอยู่อาศัยบนละอองฝุ่นจุดเล็กที่ล่องลอยสะท้อนลำแสงจากดวงอาทิตย์อยู่ ดังที่เห็นเป็นจุดสีฟ้าจืดจางนี้เอง.” (หน้า 6) (แปล: สมเกียรติ อ่อนวิมล) (contd.) - "The Earth is a very small stage in a vast cosmic arena. Think of the rivers of blood spilled by all those generals and emperors so that, in glory and triumph, they could become the momentary masters of a fraction of a dot. Think of the endless cruelties visited by the inhabitants of one corner of this pixel on the scarcely distinguishable inhabitants of some other corner, how frequent their misunderstandings, how eager they are to kill one another, how fervent their hatreds. Our posturings, our imagined self-importance, the delusion that we have some privileged position in the Universe, are challenged by this point of pale light. Our planet is a lonely speck in the great enveloping cosmic dark. In our obscurity, in all this vastness, there is no hint that help will come from elsewhere to save us from ourselves. The Earth is the only world known so far to harbor life. There is nowhere else, at least in the near future, to which our species could migrate. Visit, yes. Settle, not yet. Like it or not, for the moment the Earth is where we make our stand. It has been said that astronomy is a humbling and character-building experience. There is perhaps no better demonstration of the folly of human conceits than this distant image of our tiny world. To me, it underscores our responsibility to deal more kindly with one another, and to preserve and cherish the pale blue dot, the only home we've ever known." Carl Sagan, Pale Blue Dot, 1994 Copyright © 1994 by Carl Sagan, Copyright © 2006 by Democritus Properties, LLC. All rights reserved including the rights of reproduction in whole or in part in any form. Reference > The Planetary Society : https://www.planetary.org/explore/space-topics/earth/pale-blue-dot.html |
Vertical Divider
The direction of the Sun is toward the bottom of the view (where the image is brightest). Rays of sunlight scattered within the camera optics stretch across the scene. One of those light rays happens to have intersected dramatically with Earth. From Voyager 1's vantage point — a distance of approximately 3.8 billion miles (6 billion kilometers) — Earth was separated from the Sun by only a few degrees. The close proximity of the inner planets to the Sun was a key factor preventing these images from being taken earlier in the mission, as our star was still close and bright enough to damage the cameras with its blinding glare.
The view is a color composite created by combining images taken using green, blue and violet spectral filters by the Voyager 1 Narrow-Angle Camera. They were taken at 4:48 GMT on Feb. 14, 1990, just 34 minutes before Voyager 1 powered off its cameras forever. Like the original version, this is technically a "false-color" view, as the color-filter images used were mapped to red, green and blue, respectively. The brightness of each color channel was balanced relative to the others, which is likely why the scene appears brighter but less grainy than the original. In addition, the color was balanced so that the main sunbeam (which overlays Earth) appears white, like the white light of the Sun. At its original resolution, the newly processed color image is 666 by 659 pixels in size; this is Figure A. The main image is an enlarged version. The image was processed by JPL engineer and image processing enthusiast Kevin M. Gill with input from two of the image's original planners, Candy Hansen and William Kosmann." Text and Image Credit: NASA/JPL-Caltech Image Addition Date: 2020-02-12 Reference: https://photojournal.jpl.nasa.gov/catalog/PIA23645 |
Vertical Divider
ปีใหม่ของมนุษย์ เริ่มต้นที่เรื่องเวลา......
ในวาระแรกเริ่มก่อนระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang ไม่มีกระบวนการนับเวลา เพราะไม่มีมนุษย์มาคิดหาเรื่องกับกาลเวลา พลันเมื่อมีมนุษย์ที่มีภูมิปัญญาชาญฉลาดค้นหาที่มาที่ไปของเอกภพและสรรพชีวิต จึงได้มีระเบียบพิธีการคำนวนนับกาลนับเวลาขึ้น โดยพบว่าในเอกภพมีการก้าวย่างเดินทางของกาลเวลา หรือ time บนพื้นที่ในอวกาศ หรือ space การมีพื้นที่ในอวกาศที่เรียกว่า space นั้น แสดงว่ามีการปรากฏตัวของสะสาร หรือ matter หรือ “something” แทนที่จะเป็น “nothing” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะกำหนดนับ “เวลา” หรือ time เพราะการเคลื่อนที่ของเวลามีพื้นที่สำหรับเคลื่อนที่ไปได้ เวลาปัจจุบันกลายเป็นเวลาเก่าเมื่อถูกทิ้งไว้ข้างหลังพลันที่เวลาเคลื่อนไปข้างหน้าเป็นเวลาใหม่ หมายความว่าเวลามีการเพิ่มปริมาณและเปลี่ยนตำแหน่งพื้นที่ไปเรื่อยๆอย่างไม่มีหยุดพักและไม่มีจบสิ้น ตราบใดที่ยังมีพื้นที่ หรือ space ให้เวลาเดินทางไปข้างหน้าเรื่อยๆ. ตามวิวัฒนาการของจักรวาลช่วงต้นนั้นวัดเวลาเป็นวินาที หรือเสี้ยวของวินาที ยังไม่มีการนับวันเดือนปี ไม่มีแม้กระทั่งการนับเป็นชั่วโมง ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์ยังไม่เกิดบนโลกจึงไม่มีใครคิดนิยามและคำนวนเรื่องเวลา หลังเกิดระบบสุริยะ มีดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์โลก พร้อมทั้งมีมนุษย์ที่ทรงปัญญาแล้วจึงได้มีการคิดคำนวนเรื่องเวลาที่เป็นวัน เดือน และปี เป็นปฏิทินที่มนุษย์ใช้คิดวางแผนการดำเนินชีวิตตามการเดินทางของชีวิตที่อยู่บนเส้นทางของกาลเวลา เพราะมนุษย์รู้แล้วว่าชีวิตเริ่มที่เวลาเกิด แล้วเดินทางไปถึงวาระสุดท้าย คือเวลาตาย ชีวิตใหม่เกิดขึ้น ต่อจากชีวิตเดิมที่ตายไป เป็นอนุกรมหรือไม่ก็เป็นวัฏจักรของการเวลา สุดแต่จะนิยามกันตามใจมนุษย์ หากคิดว่าเวลาเป็นอนุกรม เวลาก็เคลื่อนไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง หากเป็นวัฏจักรเวลาก็เดินทางเป็นวงจรหมุนกลับมาเริ่มต้นรอบวงใหม่แห่งกาลเวลา. นี่คือความซับซ้อน หรือสับสน เวลาที่มนุษย์คิดถึงเรื่องเวลา! เวลามีหลายมิติชวนให้พิศวง: เวลาเก่า...เวลาเดิม...เวลาปัจจุบัน...เวลาข้างหน้า...เวลาอนาคต...เวลาเริ่ม...เวลาจบ...เวลาไม่จบ...... แล้วก็มาว่าด้วยเรื่องปีใหม่ของมนุษย์ ในวาระนี้..... มนุษย์บนโลกปัจจุบันนี้นับเวลาเป็น วินาที-นาที-ชั่วโมง-วัน-เดือน และ ปี โดยอาศัยการคำนวน การเดินทางในวงโคจรของดาวเคราะห์โลกที่มนุษย์อาศัยอยู่ ซึ่งโคจรเป็นวงรีรอบดวงอาทิตย์อันเป็นแหล่งแสงสว่างและพลังงานที่สร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์และสรรพชีวิตบนโลก. โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ จากเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น ถึงดวงอาทิตย์ตก แล้วกลับมาขึ้นอีกครั้ง รวมเป็น 1 วัน โลกหมุนรอบตัวเองเช่นนี้ไปพร้อมๆกับการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเป็นเส้นทางโค้งรีเป็นวงรูปไข่รอบดวงอาทิตย์ครบ 365 รอบตัวเอง ก็ครบรอบวงรี 1 รอบของการเดินทางหรือโคจรรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์เรียกเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบนี้ว่าเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งมี 365 วัน บางปีก็มี 366 วัน ยิ่งเวลาแบ่งเป็นเวลาปฏิทินแล้ว 1 ปี ถูกแบ่งเป็น 12 เดือน บางเดือนก็มี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน เดือนกุมภาพันธ์บางปีก็มี 28 วัน บางปีก็เพิ่มเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน สรุปแล้ว 1 ปีที่มนุษย์กำหนดแต่ละปีก็มีเวลารวมไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็เพราะหลายสาเหตุอันเป็นธรรมชาติของจักรวาล เอกภพ และระบบสุริยะ อย่างหนึ่งคือ โลกไม่มีทรงกลมสมบูรณ์ แต่เป็นวงกลมแป้นป่องตรงกลางแบบลูกมะนาวหรือส้ม แถมแกนกลางที่โลกใช้เป็นแกนหมุนรอบตัวเองก็เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์บ้าง เอียงออกจากดวงอาทิตย์บ้างตามจังหวะเวลาหรือที่มนุษย์กำหนดเป็นฤดูกาล การหมุนรอบตัวเองของโลกก็แกว่งไกวเร็วช้าไม่สม่ำเสมอแน่นอน การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์แต่ละรอบแต่ละปีโดยเฉลี่ยถือว่าเสถียรมั่นคงแต่จะนับแน่ชัดว่าเวลาทุกปีเท่ากันตรงกันทุกเสี้ยววินาทีก็ไม่ใช่ เพื่อความสะดวก มนุษย์ดูดวงอาทิตย์ขึ้นและตกและขึ้นอีกครั้งเป็นหลัก จึงได้เวลา 1 วัน เมื่อเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นสองครั้ง ถึง 1 ปี เมื่อนับได้ 365-366 รอบของเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น (365.242199 วัน แบบ Tropical Year หรือ Solar Year ซึ่งคำนวนตามการกลับมาของฤดูกาลตามตำแหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ หรือ 365.256 363 วัน แบบ Sidereal Year ซึ่งคำนวณจากการกลับสู่ตำแหน่งเดิมของดวงอาทิตย์ตามที่สังเกตจากโลกโดยวัดตำแหน่งที่สัมพันธ์กับดาวฤกษ์ดวงอื่น). ตรงนี้เองที่มนุษย์เรียกว่า “ขึ้นปีใหม่” เพราะโลกและตัวมนุษย์เองร่วมกันเดินทางรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบแล้ว มนุษย์ผู้ใดที่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์มากรอบก็ถือว่าอายุยืนเท่ากับรอบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ มนุษย์ที่มีอายุ 100 ปี ก็เพราะได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 100 รอบ เมื่อชีวิตผ่านพ้นไป 1 รอบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ก็เรียกว่าส่งท้ายปีเก่าให้ผ่านไป เริ่มโคจรรอบใหม่วันแรก วันที่ 1 มกราคม ก็ถือเป็นวันต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้น ดาวเคราะห์โลกร่วมกับมนุษย์ก็โคจรรอบใหม่ปีใหม่ต่อไป. ชีวิตมนุษย์มิได้ก้าวเดินทางไปไหนไกล โลกก็มิได้โคจรไปข้างหน้าไปไหนไกล แม้ว่าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 108,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นระยะทาง 940,000,000 กิโลเมตร เพราะทั้งสองล้วนโคจรกลับมาตั้งต้นใหม่ที่เดิม หลังเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ณ พิกัดที่มนุษย์ผู้นั้นยืนอยู่ มนุษย์ผู้นั้นจะเริ่มต้นปีใหม่ของตน ณ จุดเดิม หากยืนที่พิกัดเดิมปีที่แล้ว และเวลาปีใหม่ของมนุษย์แต่ละคนจึงต่างเวลาต่างพิกัดไปจากกันและกัน. มนุษย์ที่ผาชะนะได อุบลราชธานี จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนและได้เริ่มปีใหม่ก่อนมนุษย์ที่แม่ลาน้อย แม่ฮ่องสอน 32 นาที และก่อนมนุษย์ที่เมือง Greenwich ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง โดยประมาณ. เวลาของมนุษย์แต่ละคนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน เพราะมนุษย์แต่ละคนรับพลังงานและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ต่างเวลาต่างพื้นที่ space-time ของมนุษย์ทุกคนจึงไม่เท่ากัน. ในเชิงกาลเวลาและพื้นที่ในอวกาศ ปีใหม่ของมนุษย์ทุกคนเหมือนกัน เพราะทุกชีวิตกลับมาเริ่มปีใหม่ ณ จุดเริ่มวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จุดเดิม. ชีวิตมนุษย์จึงเป็นวัฎจักรของอนุกรม. เหมือนจะก้าวต่อเนื่องไปข้างหน้า แต่แล้วก็วกกลับมาที่เดิม! ปีใหม่ในศาสนาคริสต์: นวัตกรรมแห่งกาลเวลา ที่ว่าชีวิตมนุษย์เป็นวัฎจักรของอนุกรมนั้นก็เพราะมนุษย์สร้างนวัตกรรมแห่งกาลเวลา โดยนับเวลาให้เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างไม่มีการถอยหลังกลับ เวลาที่ผ่านไปจึงเป็นอดีต เป็นประวัติศาสตร์ที่มนุษย์มิอาจเดินทางกลับไปแก้ไขได้ เว้นแต่ว่าจินตนาการดังปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์หลายเรื่องจะเป็นจริงได้ ซึ่งมีนวนิยายหลายเรื่องเกี่ยวกับเครื่องจักรกลแห่งกาลเวลาที่สามารถพามนุษย์เดินทางท่องไปในกาลเวลาได้ ทั้งเดินทางย้อนกลับไปหาอดีตอันเป็นประวัติศาสตร์ และเดินทางไปข้างหน้าสู่อนาคตที่ยังไม่เกิดในปัจจุบัน...ปัจจุบันซึ่งเป็นอดีตหรือประวัติศาสตร์ของอนาคต. นวนิยายวิทยาศาสตร์ของ H.G. Wells เรื่อง The Time Machine (1895) เป็นงานวรรณกรรมประเภท Scientific Romance ที่โด่งดังที่สุดตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 19th แม้ในยุคปัจจุบัน ที่ Scientific Romance หรือ นวนิยายผจญภัยเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกและรูปแบบมาเป็น Science Fiction หรือ Sci-Fi หรือ ”นวนิยายวิทยาศาสตร์” เรื่อง The Time Machine ก็ยังเป็นที่นิยมจนกล่าวได้ว่าเป็นงานวรรณกรรมอมตะ หรือ “Classic” อยู่คู่วงการวรรณกรรมมาตลอดกาล ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หลายแห่งในโลกวันนี้มีความพยายามค้นคว้าศึกษาและวิจัยเรื่องการเดินทางไปกับเครื่อง Time Machine กันอย่างจริงจัง แม้จะยังไม่สำเร็จแต่ก็มีเหตุผลทำให้หลักทฤษฎีเรื่องการเดินทางไปตามกาลเวลา หรือ Time Travelling เป็นเรื่องน่าเป็นไปได้ นวนิยายวิทยาศาสตร์หลายเรื่องเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำเรื่องในนวนิยายวิทยาศาสตร์หลายเรื่องให้เป็นจริงได้ แต่เรื่องการท่องพื้นที่แห่งกาลเวลา ณ วันนี้ - ปีใหม่ ค.ศ. 2019 - มนุษย์ยังมิอาจสร้างเครื่องจักรกลแห่งกาลเวลาได้ มนุษย์ทำได้เพียงการบันทึกเวลาและเหตุการณ์ต่างๆที่เห็นสำคัญในปัจจุบันให้เป็นประวัติศาสตร์เมื่อเวลาผ่านไป และคิด คำนวน คาดเดาเหตุการณ์ต่างๆที่น่าจะเกิดมีความสำคัญในอนาคต แล้วเดินทางไปพร้อมกันกับจังหวะของกาลเวลาที่มนุษย์กำหนดว่าเป็นการเดินทางไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องไม่มีจุดยุติ. ที่ว่าเวลาของมนุษย์เหมือนกับจะก้าวต่อเนื่องไปข้างหน้า แต่แล้วก็วกกลับมาที่เดิมนั้น ก็เพราะมนุษย์สร้างนวัตกรรมแห่งกาลเวลาตามกรอบคิดของมนุษย์เอง โดยให้ชีวิตมนุษย์เป็นเสมือนเครื่องจักรกลแห่งกาลเวลา หรือ Time Machine ที่ทำได้เพียงการเดินหน้าของชีวิต มิอาจถอยหลังได้ ทั้งนี้ให้หมายความถึงการเคลื่อนของชีวิต มิได้หมายถึงการก้าวเดินของอวัยวะ ดังนั้นชีวิตของมนุษย์จึงดำเนินไปข้างหน้าตามกาลเวลาในอัตราความเร็วเท่ากับกาลเวลาตามนิยามเรื่องปฏิทิน วัน เดือน ปี จนครบรอบปีผ่านไป แล้วเข้าสู่รอบปีปฏิทินใหม่ หรือ “ปีใหม่” ตามที่โลกมนุษย์นับและถือปฏิบัติตามกันเหมือนเป็นส่วนใหญ่ แต่การเดินทางของชีวิตมนุษย์บนโลกนั้นยังติดอยู่บนโลกเช่นเดิม เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบปีก็เท่ากับโลกเดินทางกลับมาตำแหน่งที่ตั้งเดิม ชีวิตจึงเป็นวัฏจักรเคลื่อนที่ไปเป็นวงรีกลับมาที่เดิมทุกปีไป! ปฏิทินที่มนุษย์ใช้กันเป็นสากลปัจจุบันนี้เป็นปฏิทินที่คำนวน กำหนด และประกาศใช้โดยพระสันตะปาปา Gregory แห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic หรือ Catholic) ตั้งแต่คริสศตวรรษที่ 16th เริ่มใช้เดือนตุลาคม ค.ศ. 1582 เป็นต้นมา เรียกว่าปฏิทิน Gregorian (Gregorian Calendar) เป็นการประกาศใช้แทนที่ปฏิทินแบบเดิมก่อนหน้านั้นที่เรียกว่า Julian Calendar ของจักรพรรดิ Julius Caesar แห่งกรุงโรม ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 45 BC. ในเวลาที่อาณาจักรโรมันแผ่อำนาจกว้างไกลไพศาล โลกภายใต้อำนาจโรมก็ใช้ปฏิทิน Julian Calendar ต่อมาคริสต์จักรคาทอลิกทรงอำนาจเหนืออาณาจักร แม้องค์จักรพรรดิ์แห่งโรมก็ต้องสยบ ปฏิทินของสมเด็จพระสันตะปาปา Gregory จึงถูกประกาศใช้แทนปฏิทินของพระจักรพรรดิ์ แต่ปฏิทินทั้งสองแบบก็คำนวนวันเวลาตามการโคจรของโลกสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ เกือบจะทำนองเดียวกัน. ปฏิทิน Julian Calendar ใช้ในสมัยที่มนุษย์ยังเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ และดวงอาทิตย์ กับดวงดาวดารดาษบนท้องฟ้าล้วนโคจรรอบโลกทั้งสิ้น เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก-แล้วกลับมาขึ้นอีกครั้งตอนเช้า จึงครบ 1 วัน อาศัยการสังเกตและบันทึกผ่านอดีตอันยาวนาน ดูดาว สังเกตฤดูกาล จนเชื่อมั่นในในวัฏจักรแห่งการเดินทางของดวงอาทิตย์รอบโลกครบ 1 รอบก่อเกิดวัฏจักรแห่งฤดูกาลครบถ้วนสี่ฤดู จึงเรียกว่าครบ 1 ปี. ส่วนปฏิทิน Gregorian Calendar ของพระสันตะปาปา Gregory เกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ได้รับความรู้ใหม่แล้วว่าระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์อยู่เป็นศูนย์กลางของระบบ ส่วนโลกกับดาวเคราะห์ดวงอื่นทำหน้าที่เป็นฝ่ายโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในวงโคจรของตนเอง นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเรื่องโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นชาวโปแลนด์ ชื่อ Nicolaus Copernicus หนังสือของเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ชื่อ “On the Revolutions of the Celestial Spheres” พิมพ์เผยแพร่ก่อนเขาจะถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1543 โดยเกรงกลัวว่าหากพิมพ์ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ได้อีกยาวนานจะได้รับผลกระทบจากฝ่ายศาสนจักรซึ่งทรงอำนาจที่สุดในโลกตะวันตกสมัยนั้น และคำสอนสำคัญที่แม้จะไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์กลายเป็นความเชื่ออันศักดิ์สิทธิ์ ศาสนิกชนจะลบล้างหรือละเมิดมิได้ นักวิทยาศาสตร์ผู้ใดละมิดหรือลบล้างคำสอนของฝ่ายคริสต์จักรมักจะได้รับผลกระทบถึงถูกจองจำสิ้นอิสรภาพหรือแม้กระทั่งชีวิต. Copernicus สามารถใช้วิทยาศาสตร์เปลี่ยนความเชื่อที่เคยงมงายผิดพลาดของมนุษย์ในอดีตมาได้จนทุกวันนี้ ฝ่ายตริสต์จักรก็ยอมรับปรับคำสอนให้โลกกลมและโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ แต่ยังไม่ปรับความเชื่อที่ว่าพระเจ้าสร้างโลกภายใน 6 วัน เมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล แม้ความรู้ใหม่จากวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ จะลงความเห็นเป็นสากลแล้วว่าโลกมีอายุ 4.5 พันล้านปี เก่ากว่าโลกของพระเจ้าในศาสนาคริสต์ถึง 4,499,996,000 ปี (สี่พันสี่ร้อยเก้าสิบเก้าล้านเก้าแสนเก้าหมื่นหกพันปี) ในโลกตะวันตกเรื่องนี้ยังเป็นที่ต่อสู้กันอยู่ย่างไม่ลดลา โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา คนเคร่งศาสนาคริสต์ ไม่ว่าจะนิกายใดยังเชื่อว่ามีพระเจ้าจริง และพระเจ้าทรงสร้างโลกสร้างมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นเมื่อสี่พันปีที่แล้ว ส่วนนักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในอเมริกา และโดยเฉพาะอีกในองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯหรือ NASA ก็มุ่งหน้าบุกเบิกสำรวจอวกาศต่อไป. แม้องค์การ NASA จะไม่บอกว่าสำรวจอวกาศเพื่อค้นหาพระเจ้า หรือเพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีพระเจ้า แต่อย่างน้อยๆปีใหม่ ค.ศ. 2020 นี้ยานอวกาศ New Horizons ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 13 ปี ก็เดินทางออกนอกระบบสุริยะ พ้นวงโคจรของดาว Pluto ผ่านไปถ่ายภาพอุกกาบาต Ultima Thule ส่งมาให้มนุษย์ดูผ่านไปปีหนึ่งแล้ว. ปีใหม่นี้ ตามปฏิทินพระสันตะปาปา Gregory มนุษย์ยังไม่พบพระเจ้าทั้งบนโลกที่มนุษย์อยู่ และบนดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะของเรา. ปฏิทินในมุมมองมนุษย์ต่างอารยธรรม หลังจากมีความพยายามและข้อเสนอหลากหลายในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13th ในที่สุดก็มาถึงสมัยการปกครองศาสนจักรคาทอลิก โดยพระสันตะปาปา Gregory XIII พระองค์ยอมรับข้อเสนอต่างๆแล้วจัดให้มีการปฏิรูปปฏิทิน Julian Calendar แต่เดิม ให้สอดคล้องและถูกต้องแม่นยำตามเวลาโคจรของโลกและฤดูกาลมากขึ้น จึงได้ประกาศใช้ระบบปฏิทิน Gregorian Calendar ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582 และใช้เรื่อยมาจนวันนี้ ประเทศอังกฤษซึ่งนับถือนิกาย Protestant ยังคงใช้ปฏิทินเก่าสมัยกลางซึ่งถือวันที่ 25 มีนาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ต่อไป จนถึงปี 1752 จากนั้นจึงเริ่มใช้ปฏิทิน Gregorian และเริ่มปีใหม่วันที่ 1 มกราคม เหมือนกัน ชาติอื่นในโลกตะวันตกที่ต่างนิกายกันก็ทยอยเปลี่ยนมาใช้ปฏิทิน Gregorian กันในเวลาต่อมา ส่วนสังคมและชาติที่นับถือศาสนาและวัฒนธรรมอื่นก็มีปฏิทินตามศาสนาและวัฒนธรรมของตน ที่สำคัญโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะวัฒนธรรมและศาสนาก็มี ปฏิทินจีน, ฮินดู, พุทธ, และ อิสลาม ล้วนมีปีใหม่ของตนเองที่แตกต่างกันไป มิได้เริ่มปีใหม่ ณ วันที่ 1 มกราคม เหมือนปฏิทินคริสต์ศักราช ทว่าด้วยเหตุแห่งโลกาภิวัตน์ ระบบการเดินทางข้ามเวลา การคมนาคมสื่อสาร การศึกษาและระบบธุรกิจข้ามพรมแดนที่เป็นสากล โลกทั้งโลกวันนี้จึงใช้ปฏิทิน Gregorian นับคริสต์ศักราช และเริ่มปีใหม่วันที่ 1 มกราคม คู่ขนานไปกับปฏิทินตามวัฒนธรรมและศาสนาเฉพาะของตน แม้จะนับถือพระเจ้าและเทพเจ้าต่างกัน มนุษย์ในโลกก็ยอมเรียกเดือนแรกของปีสากลว่า January ทั้งๆที่มีความหมายดั้งเดิมในภาษาละตินอ้างถึงเทพเจ้าสองพระเศียรแห่งอาณาจักรโรมันชื่อ Janus และมีความหมายอีกนัยหนึ่งในภาษาละตินว่า ‘Ianuarius’ จากรากศัพท์ว่า ‘ianua’ แปลว่า “door’ (ประตู) สำหรับวันที่ 25 เดือนมีนาคม - ซึ่งเป็นวันที่ชาว Protestant ในอังกฤษยึดถือเป็นวันปีใหม่ เนื่องจากถือเป็นวันที่เทพ Gabriel ทรงพบกับนางมารี (Mary) และแจ้งให้นางทราบว่านางจะให้กำเนิดพระเยซู - ก็มิได้นับเป็นวันปีใหม่อีกต่อไป. สำหรับประเทศไทย ทุกวันนี้ก็ยังคงนับวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสุริยคติที่ยึดการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นหลัก ตามแบบศาสนาฮินดูในอินเดีย และยังคงใช้คู่ขนานไปกับปฏิทินจันทรคติที่นับวันคืนขึ้นแรมตามการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกตามที่มองเห็นจากพื้นโลก การเรียกขื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในปฏิทินคริสต์ศักรราช ก็ใช้ชื่อภาษาไทยตามตำราจักรราศี มี 12 ราศี ตามแบบอินเดียซึ่งอินเดียก็ใช้ตามแบบจักรราศีที่เรียกว่า Zodiac ตามแบบอารยธรรมกรีซโบราณ ไทย (และอินเดีย) เริ่มปีใหม่ที่ราศีเมษ เดือนเมษายน วันที่ 13 เมษายน ซึ่งเราถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทั้งไทย และอินเดียภาคเหนือและภาคกลางฉลองปีใหม่สุริยคติวันที่ 12-13-14 เมษายน ส่วนหลายวัฒนธรรมทางภาคกลางและใต้ของอินเดียก็เริ่มปีใหม่ใชช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนแตกต่างกันไปในรายละเอียด (เดือนที่ปฏิทินคริสต์เรียกว่า April จากภาษาละติน ‘Aprilis’ ซึ่งอาจมาจากชื่อเทพเจ้า ‘Aphrodite’ บ้างก็อ้างความคิดของนักประวัติศาสตร์โรมันโบราณที่เชื่อว่า ‘Aprilis’ มาจากคำว่า ‘aperire’ แปลว่า ‘to open’ หรือ ‘เปิด’ แต่นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนหนึ่งเห็นว่ารากศัพท์ของคำว่า ‘Aprilis’ น่าจะแปลว่า ‘other’ หมายถึงเดือนอื่นอีกเดือน (ตามหลังเดือน March ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีตามปฏิทินของพวก Protestant เดิม - อ้างอิง: Bonnie Blackburn, The Oxford Companion to the Year, Oxford University Press, New York, 1999, 2003) ชื่อเดือนอื่นๆในภาษาไทยก็อ้างอิงชื่อภาษาฮินดีตามปฏิทินฮินดู (ขอสะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษ) ดังนี้:
มนุษยชาติบนดาวเคราะห์โลกแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ข้ามพรมแดนอารยธรรมเป็นกระบวนการโลกาภิวัตน์มานานแต่โบราณแล้ว การนับเวลา วัน คืน เดือน ปี ก็เป็นอิทธิพลแก่กันและกัน ล้วนแล้วมาจากการเฝ้าสังเกตดวงดาว ท้องฟ้า และฤดูกาล ผ่านมานับพันนับหมื่นปี การยอมรับการนับเวลาและปฏิทินจากอารยธรรมตะวันตก มิได้ลบล้างปฏิทินตามวัฒนธรรมและคตินิยมท้องถิ่นตะวันออกแต่อย่างใด หากแต่ยังคงนับวันเดือนปีปฏิทิน๕ุ่ขนานกันไปหลายรูปแบบ มนุษย์จึงได้ทั้งแยกและร่วมฉลองปีใหม่กันตามวัฒนธรรมร่วมสมัยต่อไป ปฏิทินฮินดูและไทยจะฉลองปีใหม่เริ่มเดือนเมษายน ปฏิทินจีนจะเริ่มปีใหม่ หรือ ‘ตรุษจีน’ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และ มกราคม ตรุษจีนปี ค.ศ. 2019 / พ.ศ. ๒๕๖๒ ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และปี 2020/๒๕๖๓ ตรงกับวันที่ 24 มกราคม (เลขไทยที่ลองเขียนแทรกให้เห็นนี้ที่จริงก็เป็นเลขที่ลอกเลียนปรับแต่งมาจากต้นฉบับตัวอักษรเทพนาครีในภาษาฮินดี) หากจะร่วมฉลองปีใหม่กับทุกวัฒนธรรมก็จะทำได้ตลอดปี มนุษยชาติทั่วดาวเคราะห์โลกคงจะมีความสุขรื่นเริงได้มิจบสิ้น ตราบที่โลกยังโคจรรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดวงดาวบนท้องฟ้ายังเคลื่อนย้ายไปตามราศีทั้ง 12 ตามที่มนุษย์มองเอกภพจากพื้นโลก เป็นมุมมองแคบๆ เห็นเป็นกรอบขอบฟ้าครอบแผ่นดิน เท่าที่เห็น เอกภพยังมีอาณาบริเวณอีกกว้างไกลที่มนุษย์มองไม่เห็น และไปไม่ถึง โลกของมนุษย์วันนี้จึงยังคงเป็นนิวาศสถานสำหรับมนุษย์ได้อยู่อาศัย รื่นเริงเบิกบานฉลองปีใหม่ตามวัฒนธรรมและจินตนาการได้ต่อไป และต่อๆไป อีกนาน..... ....... จนกว่าโลกจะดับสูญในอีก 5,000,000,000 (ห้าพันล้าน) ปี ข้างหน้า. |
Vertical Divider
มนุษย์วันนี้
ในกาลานุกรมประวัติศาสตร์ใหญ่แห่งเอกภพและโลกมนุษย์ The Big Bang หรือระเบิดมหากัมปนาทของสิ่งหนึ่งที่เป็น ”ความมีอะไรบางสิ่ง” (Something) อันเริ่มจาก “ความไม่มีอะไร” (Nothing) นั้น เริ่มเมื่อ 13,700,000,000 (หนึ่งหมื่นสามพันเจ็ดร้อยล้าน) ปีที่แล้ว (ก่อนปัจจุบัน หรือก่อนโลกวันนี้) จากนั้นดาวเคราะห์โลกก็เกิดขึ้นในระบบสุริยะในกาลที่ผ่านมา 4,600-4,500 ล้านปีก่อนปัจจุบัน ถัดมาอีกพันล้านปีจึงปรากฏรูปแบบสิ่งมีชีวิตขั้นต้น ชีวิตที่คล้ายมนุษย์เริ่มต้นเมื่อ 4,000,000 ปีที่แล้ว ใช้เวลา 2,000,000 ปี กว่าจะสามารถยืนตัวตรงเดินได้บนสองขา แล้วใช้เวลาต่ออีก 1,800,000 ปีจึงพัฒนาเป็นมนุษย์มีภูมิปัญญารู้จักคิดรู้จักแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตเบื้องต้นได้ ดังนั้นมนุษย์ผู้มีปัญญาจึงมีอายุอยู่บนโลกนี้มาได้เพียง 200,000 (สองแสน) ปี เท่านั้น อายุของดาวเคราะห์โลก - ซึ่งจากนี้ไปจะเรียกสั้นๆว่า “โลก” หรือ “โลกมนุษย์”- แก่กว่าอายุมนุษย์แรกเริ่มตอนที่ยังเพียงยืนตัวตรงได้ถึง 4,598,000,000 - 4,498,000,000 (สี่พันห้าร้อยเก้าสิบแปด-สี่พันสี่ร้อยเก้าสิบแปด) ล้านปี. เฉพาะเท่าที่ภูมิปัญญามนุษย์ในโลกวันนี้จะศึกษาหาความรู้ได้เท่านี้ก็ให้ถือว่าเป็นความรู้ที่อาจเป็นความจริงชั่วคราว ณ ปัจจุบัน ความรู้ใหม่ ข้อมูลใหม่ อาจปรากฏใหม่ในอนาคต ซึ่งจะทำให้ข้อมูลตัวเลขผันแปรไปได้ แต่เพียงเท่านี้ก็ก่อกำเนิดคำถามมากมาย: ทำไมจึงต้องมีอะไร แทนที่จะไม่มีอะไร? คำถามนี้ยังไม่มีใครตอบด้วยวิทยาศาสตร์ได้ แต่รู้กันอยู่แล้วด้วยหลักตรรกศาสตร์แห่งเหตุและผลว่าก่อนที่จะมีอะไรๆให้เห็นในวันนี้ ก่อนหน้านี้ไม่มีอะไรเลย มนุษย์นักวิทยาศาสตร์ นักคิด นักปรัชญา จึงตั้งคำถามเพราะความสงสัยว่า: Why there is something instead of nothing? ทำไมจึงมีอะไร แทนที่จะไม่มีอะไร? หากไม่มีอะไรต่อเนื่องไปในความไม่มีอะไรหรือความว่างเปล่าในจักรวาล ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเอกภพ โลกมนุษย์ก็จะไม่มี มนุษย์ก็จะไม่เกิด ปัญหาของมนุษย์ก็จะไม่มี แต่ในเมื่อ “บังเอิญ” เกิดมีอะไร แทนที่จะไม่มีอะไร ในความว่างเปล่าของจักรวาล เกิดเอกภพ เกิดโลก เกิดมนุษย์ แล้วมนุษย์ถือตัวว่าฉลาดกว่าชีวิตและสิ่งใดบนโลก มนุษย์จึงอ้างสิทธิ์เหนือสรรพสิ่งบนโลก แล้วเรียกดาวเคราะห์ที่ตนเองพักพิงอาศัยอยู่มาเพียงสองล้านปีเป็น “โลก(ของ)มนุษย์” แถมมนุษย์ยังออกโฉนดที่ดินรับรองกรรมสิทธิ์เหนือดิน หิน ต้นไม้ และชีวิตอื่นบนโฉนดที่มนุษย์คนนั้นครอบครอง ทั้งๆที่มนุษย์มิได้สร้างโลก ปัญหาต่างๆของมนุษย์บนโลกจึงกลายเป็นปัญหาของโลก แทนที่จะเป็นแค่ปัญหาของมนุษย์ที่อยู่บนโลก โลกวันนี้ จึงเป็นโลกของมนุษย์วันนี้. ทั้งหมดนี้สวนทางกับความเป็นจริงของประวัติศาสตร์ใหญ่ของมนุษยชาติ เพราะโลกนี้ แม้จะเรียกว่าเป็นโลกของเรา แต่ที่จริงโลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มิใช่ “ของเรา” หากจะหาใครเป็นเจ้าของโลกได้ใกล้เคียงที่สุดก็คือความผันแปรซับซ้อนของพลังงานในจักรวาลและเอกภพ ในภาษาประวัติศาสตร์ใหญ่เรียกว่า “complexity” ใน complexity หรือความซับซ้อนอันยิ่งยวดนี้ก่อกำเนิดพลังงาน สองอย่างผสานกันร่วมกันสร้างวัตถุ เทะวัตถุบนท้องฟ้าแล้ววิวัฒนาการสรรพชีวิตบนโลกมาอย่างที่เราอยู่รู้เห็น ณ ปัจจุบัน โลกนี้จึงไม่ใช่โลกของมนุษย์ มนุษย์เป็นเพียงชีวิตหนึ่งที่วิวัฒนาการมาทีหลังชีวิตอื่นตามลำดับ คือ หิน ดิน พืช สัตว์ ซึ่งสี่รูปแบบชีวิตที่เกิดมาก่อนมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนน้อยและใช้พลังงานน้อยกว่ามนุษย์ หากนับเฉพาะดินหินที่มนุษย์เรียกว่าสิ่งไม่มีชีวิตนั้นก็พบว่าเป็นความไม่มีชีวิตของชีวิตที่ให้พลังงานมากกว่าจะใช้พลังงาน ดังนี้จึงไม่ยากที่จะเห็นชัดเจนว่า ดิน หิน พืช และ สัตว์ มีปัญหาน้อยกว่ามนุษย์มาก เพราะใช้พลังงานน้อยกว่าและมีความซับซ้อน หรือ complexity น้อยกว่า ปัญหาบนโลกมนุษย์ปัจจุบัน หรือปัญหาของ “โลกวันนี้” จึงเป็นปัญหาของมนุษย์ เป็นปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นเองโดยภูมิปัญญาที่มนุษย์อ้างว่ามีเหนือชีวิตใดบนโลก แต่มนุษย์เพิ่งจะเรียนรู้การดำเนินชีวิตมาได้เพียงสองล้านปี และมนุษย์แต่ละคนเกิดมามีเวลาพัฒนาและใช้ชีวิตเฉลี่ยคนละไม่ถึงร้อยปี จะมีบ้างที่อยู่เกินร้อยปีไปเล็กน้อย และเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของมนุษย์บนโลกก็ใช้พลังงานไปกับการทำมาหากินเลี้ยงชีวิตและครอบครัว แสวงหาความมั่งคั่ง อำนาจ ความสุขสบายทางกาย กว่ามนุษย์จะถึงเวลาหยุดคิดเพื่อสร้างอารยธรรมให้กับชีวิต สังคม และโลก ก็เหลือเวลาไม่กี่ปีก่อนสิ้นชีวิต โลกมนุษย์จึงสะสมปัญหามากขึ้น ใหญ่ขึ้น มากกว่าจะแก้ปัญหาให้หมดไปหรือลดน้อยลง สองล้านปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้เผาพลาญพลังงาน ทำลายโอกาสในการสร้างชีวิต สร้างสังคม และสร้างโลกให้ดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อในภูมิปัญญาที่ควรจะมีศักยภาพมากกว่านั้น. โลกวันนี้ แม้จะผ่านวิวัฒนาการชีวิตมนุษย์มาได้เพียงสองล้านปี แต่มนุษย์ก็รบราฆ่าฟันทำลายชีวิตดินหิน พืชและสัตว์ และฆ่าฟันกันเองมาตลอดเวลา เฉพาะสงครามระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองก็มีทุกวัน ณ ที่ใดที่หนึ่งบนโลก สงครามใหญ่ระดับกว้างไพศาลครอบคลุมโลก เรียกว่าสงครามโลกนั้นก็เกิดขึ้นถึงสองครั้ง มนุษย์ฆ่ากันเองสิ้นไปถึง 150 ล้านคน (อ้างจาก https://en.wikipedia.org/wiki/World_war) และที่ตายในสงครามอื่นอีกไม่น้อยกว่า 300 ล้านคน ปัจจุบันมนุษย์บนโลกมีประมาณ 7,700 ล้านคน เทียบกับจำนวน 370 ล้านคนในศตวรรษที่ 14th ประชากรมนุษย์บนโลกเพิ่มขึ้น 20 เท่าภายใน 700 ปี เวลาเท่านี้ยังไม่พอ และต้องถือว่าน้อยมากที่จะหวังให้มนุษย์สร้างภูมิปัญญาให้เจริญถึงจุดที่เรียกได้ว่ามีอารยธรรมที่แท้จริงได้ เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มิได้ใช้เวลาและภูมิปัญญาในชีวิตมากพอที่จะสร้างสังคมและโลกมนุษย์ของตนให้งดงามเร็วขึ้นกว่าอัตราปัจจุบัน. ภายใน 700 ปี มนุษย์ทำได้เท่านี้ ภายใน 700 ปี นับจากเริ่มสมัยสุโขทัย มนุษย์ไทยก็ทำได้เท่าที่เห็น ความไม่มั่นใจในการก้าวไปสู่ความเจริญและอารยธรรมของชีวิตมนุษย์ (รวมทั้งมนุษย์บนพรมแดนแผ่นดินไทย) ทำให้มนุษย์คิดอยู่เสมอว่า ชีวิตที่ดีกว่านี้ทำได้ไหม? หากทำได้ ทำไม่จึงไม่ทำ? ทั้งๆที่ทราบคำตอบ แต่ก็ไม่นำเอาคำตอบไปปฏิบัติให้บังเกิดผล. ความไม่มั่นใจในชีวิต ก่อกำเนิดความเชื่อในความไม่มั่นคงของชีวิต แล้วนำไปสู่คำถามที่อาจสำคัญที่สุดของมนุษย์ผู้มีสัญชาติญานใฝ่รู้ก็คือ: Are we alone? เราอยู่คนเดียวหรือ? มีเราเหล่าเผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่บนโลก โดดเดี่ยวเดียวดายในเอกภพและ จักรวาลเท่านั้นหรือ? มีรูปแบบชีวิตแบบมนุษย์บนโลกหรือดาวเคราะห์อื่นหรือไม่? Exoplanets: โลกอื่นที่มิใช่ของเรา Oxford English Dictionary (OED) อธิบายคำว่า ‘planet’ ที่ภาษาไทยเรียกว่า ‘ดาวเคราะห์’ นั้น ว่ามีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ‘wanderer’ แปลเป็นไทยว่าผู้เดินทางท่องไป มีความหมายทำนองว่าเป็นการเดินทางท่องไปอย่างไร้กำหนดการ หรือการกำกับเส้นทาง หรือการกำหนดทิศทางแน่นอน ถ้าถามว่าจะไปไหน? ก็คงตอบว่าไปเรื่อยๆ หรือ ‘ไปโน่น’ อย่างที่คนไทยชอบตอบเมื่อถูกถามแบบที่ผู้ถามไม่ตั้งใจจะต้องการคำตอบ แต่การเดินทางแบบ ‘wanderer’ ไปเรื่อยๆ ก็มิใช่ว่าจะเป็นการหลงทาง. ดังบทกวีของ J.R.R. Tolkien ในวรรณกรรม classic เรื่อง The Lord of the Rings ภาค 1: The Fellowship of the Ring ที่ว่า ‘Not all those who wander are lost’ บทกวีนี้ปรากฏในบทที่ X : Strider (หน้า 170 ฉบับ 50th Anniversary, HarperCollinsPublishers, 2005; หน้า 224 HarperCollinsPublishers, 1999; The Lord of the Rings พิมพ์ครั้งแรกในอังกฤษ โดย George Allen & Unwin, 1954) บทกวีนี้ตั้งชื่อว่า ‘All that is gold does not glitter’ ชื่อเดิมว่า ‘The Riddle of Strider’ ซึ่งบอกว่า Strider แม้อาจปรากฏเป็นคนผู้เร่ร่อนรอนแรมไปในป่ากว้างแต่ที่จริงแล้วเขาคือกษัตริย์ Aragorn ผู้ครั้งหนึ่งเคยทรงความยิ่งใหญ่มาก่อน ในตอนจบ ภาค 3: The Return of the King นักผจญไพรผู้นี้ได้กลับสู่ราชบัลลังก์เป็น King Elessar Telcontar ("Elfstone Strider") of Gondor”. อาศัยวรรณคดีเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ชาวกรีกโบราณเรียกดาวเคราะห์ว่าเป็นดวงดาวที่โคจรไปเรื่อยๆในวงโคจรที่สุดท้ายก็กลับที่เดิมอันเป็นจุดเริ่ม จากนั้นก็โคจรในรอบวงต่อไป ดาวเคราะห์จึงมิใช่ว่าจะหลงทางแต่อย่างใด สำหรับดาวเคราะห์ The Earth หรือ โลกของเรา ก็โคจรไปเรื่อยๆอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ไม่หลงทางเพราะวนกลับมา ณ จุดเดิมได้ทุกรอบปี ดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะของเราก็โคจรไปเรื่อยๆแบบไม่หลงทางเช่นกัน เราจึงมองเห็นดาวเคราะห์เหล่านั้นในตำแหน่งประจำตามกำหนดเวลาที่สอดคล้องกันเสมอ ดาวเคราะห์ทั้งแปดดวง (ไม่รวมดาว Pluto) อยู่ในระบบสุริยะ (Solar System) อันเป็นระบบดวงอาทิตย์ดวงเดียวของเราที่เรารู้จักใกล้ชิด ในเมื่อมนุษย์รู้แล้วว่าเพียงเฉพาะในแกแล็กซี่ทางช้างเผือกแต่เพียง Galaxy หรือ ดาราจักรเดียวเท่านั้นก็มีดาวฤกษ์แบบดวงอาทิตย์ของเรานี้ถึงนับแสนล้านดวง ดังนั้นดวงอาทิตย์ดวงอื่นใน Galaxy ของเรานั้นก็น่าจะเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะอื่นได้ โดยอาจจะมีดาวเคราะห์อีกมากมายที่ต่างก็ ‘wander’ หรือเดินทางเป็น ‘wanderer’ โคจรไปเรื่อยๆรอบดวงอาทิตย์อื่นๆนอกระบบสุริยะของเรา. ดาวเคราะห์อื่นนอกระบบสุริยะของเรานี้นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘Exoplanet’ มาจากคำว่า Extrasolar Planet แปลว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ(ของเรา) หรือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น. การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราดำเนินมาเป็นเวลานานแล้วนับแต่เริ่มมีการตั้งคำถาม แต่การสำรวจดวงดาวด้วยตาเปล่านั้นสุดวิสัย ทำไม่ได้ หรือแม้กระทั่งการสำรวจด้วยกล้องดูดาวอวกาศทั้งหลายก็มิอาจเห็นได้ด้วยการถ่ายภาพโดยตรง การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ หรือ Exoplanet ทำได้โดยดูการหักเหหรือกระพริบวูบวาบของแสงจากดวงอาทิตย์อื่นทั้งหลายเวลาที่มีดาวเคราะห์บริวารโคจรรอบและในจังหวะที่ผ่านหน้าบังแสงจากดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์นั้นๆ เมื่อกล้องดูดาวอวกาศมองเห็นอาการวูบวาบหรือกระพริบหักเหของแสงชั่วระยะสั้นๆก็สันนิษฐานได้ว่ามีการเดินทางผ่านของดาวเคราะห์ วิธีการศึกษาเช่นนี้พัฒนาจนได้ผลดีมากขึ้นเมื่อมีกล้องดูดาวท่องไปในอวกาศเช่น Hubble และ Kepler, etc. ที่สามารถส่องดูได้ไกลมากๆโดยไม่มีอุปสรรคขวางทางแสงเหมือนกล้องบนหอดูดาวบนยอดเขา จึงมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมากขึ้น. ในบทนำของหนังสือ The Exoplanet Handbook โดย Michael Perryman กล่าวไว้ในปี 2010 ว่า หลังจากการตั้งข้อสงสัยเชิงปรัชญาเรื่อง Exoplanet มานานหลายร้อยปี ถึงตอนปลายทศวรรษที่ 1980 ก็มีรายงานครั้งแรกว่าน่าจะมีมวลวัตถุ (เทหะวัตถุ) ทำนองดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์อื่นได้หลายๆดวง ต่อมาในปี 1992 ก็มีการค้นพบระบบสุริยะอื่น ผ่านไปจนปี 1995 ถึงจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้ค้นพบระบบสุริยะอื่นที่สามารถวัดความเร็วรอบศูนย์กลางของดวงอาทิตย์แห่งระบบสุริยะอื่นนั้นได้ ทำให้มั่นใจและประกาศยืนยันได้ถึงการค้นพบดาวเคราะห์ที่เป็น ‘Wanderer’ โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์เจ้าภาพของระบบสุริยะอื่น ถึงสิ้นปีเดียวกันก็ประกาศพบดาวเคราะ Exoplanet อีก 2 ดวง เมื่อสิ้นสหัสวรรษ (พันปี ค.ศ. หรือ ค.ศ. 2000) พบ Exoplanet แล้ว 34 ดวง, และพบ 500 ดวงภายใน 10 ปี นับถึงเดือนธันวาคม 2010. ในการพิมพ์ครั้งที่สองของหนังสือ The Exoplanet Handbook ของ Perryman โดยสำนักพิมพ์ Cambridge University ปี 2018 ห่างกันเพียง 8 ปี Perryman บอกว่า Exoplanet ณ วันที่พิมพ์หนังสือ ถูกค้นพบแล้วมากกว่า 3,500 ดวง จากเอกสารงานวิจัย 17,000 ชิ้น. ต่อมา (ยังไม่ล่าสุด) ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2019: Wikipedia (https://en.wikipedia.org/wiki/Exoplanet) ระบุว่า พบ Exoplanet แล้ว 3,976 ดวง ใน 2,971 ระบบสุริยะอื่น และในจำนวนนั้นมี 653 ระบบสุริยะที่ มีดาวเคราะห์โคจรรอบมากกว่า 1 ดวง. ส่วนนักวิทยาศาสตร์นานาชาติของ Website: exoplanet.eu ก็บันทึกว่ามีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในฐานข้อมูลถึง 4,180 ดวง (http://exoplanet.eu/diagrams/) Websites อื่นๆ ของนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพที่ติดตามเรื่อง Exoplanet ตลอดเวลา ดูที่ http://exoplanet.eu/sites/ กล้องดูดาวอวกาศ Kepler กำลังจะหมดอายุใช้งาน หลังจากส่งขึ้นวงโคจรในอวกาศเมื่อปี 2009 และเวลานี้ก็มีกล้องดูดาวอวกาศชื่อ The Transiting Exoplanet Survey Satellite ขึ้นปฏิบัติหน้าที่แทนแล้ว นอกจากนี้องค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) ก็มีแผนปฏิบัติการส่งกล้องดูดาวอวกาศ หรือดาวเทียมสำหรับค้นหาดาวเคราะห์ Exoplanets เพิ่มอีกสองกล้อง คือ The Characterising Exoplanets Satellite ซึ่งส่งขึ้นปี 2019, และจะส่งกล้อง Planetary Transits and Oscillations of Stars ขึ้นสู่อวกาศในปี 2026. นับวันก็จะมีการค้นพบ Exoplanet มากยิ่งขึ้น เกือบไม่เว้นแต่ละวันแต่ละสัปดาห์แต่ละเดือน เพราะความสงสัยใคร่รู้ของมนุษย์ เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าที่ใช้สำรวจ เพราะความใส่ใจของนักวิทยาศาสตร์ เพราะจำนวนมหาศาลของดวงดาวในเอกภพ มนุษย์ในโลกวันนี้ จึงมั่นใจได้แล้วว่ามีดาวเคราะห์ดวงอื่นโคจรรอบระบบสุริยะอื่น และบางดวงก็อยู่ในวงโคจรที่เว้นระยะห่างเหมาะสม ที่เรียกว่าเงื่อนไข Goldilock อันสามารถวิวัฒนาการชีวิตได้. และแล้วมนุษย์ผู้ทรงภูมิปัญญาก็ตั้งคำถามต่อไป...... คำถามถึงโลกในวันนี้? การมองโลกที่มีมนุษยชาติอยู่อาศัยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินและผืนน้ำที่เกาะตัวเป็นก้อนกลม โคจรล่องลอยวนไปมาในอวกาศ อาจมีมุมมองได้ต่างกัน ถ้ามองแบบภาพกว้างก็ให้ถอยออกไปนอกระบบสุริยะ เห็นโลกเป็นเพียงเทหะวัตถุในอวกาศ เป็นจุดสีฟ้าจางๆวางตัวอยู่ตรงวงโคจรวงที่สามจากศูนย์กลางอันเป็นดวงดาวแสงอ่อนที่มนุษย์เรียกว่าดวงอาทิตย์ หรือ The Sun เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะเล็กๆบริเวณขอบนอกของดาราจักรทางช้างเผือก หรือ The Milkyway Galaxy มองโลกแบบนี้จะเห็นความโดดเดี่ยวเดียวดายของจุดสีฟ้าอ่อนซีดจางๆ หรือที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า The Pale Blue Dot เป็นการมองโลกแบบฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มองโลกเป็นดาวเคราะห์ที่เรียกชื่อว่า The Earth จะไม่เห็นปัญหาความวุ่นวายอะไรบนผิวโลก ไม่เห็นแม้แต่รูปแบบชีวิตบนผิวโลก เว้นแต่ถ้าจะเข้าไปใกล้ๆก็จะเห็นสรรพชีวิตสารพันรูปแบบและหลากหลายปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ก็ยังไม่เห็นอะไรมากไปกว่าจุดสีฟ้าจางที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีสีสันและชีวิตที่หลากหลายขึ้น จาก The Pale Blue Dot ก็กลายมาเป็น The Blue Planet ถ้าไม่ลงไปอยู่บนโลก ไม่ลงไปคลุกคลีมีปฏิสัมพันธ์กับชีวิตและสรรพสิ่ง ก็จะไม่มีปัญหาให้เดือดร้อนทุกข์สุขจนต้องดิ้นรนหาทางให้พ้นทุกข์กันแต่ประการใด การมองโลกจากสุดขอบปลายทางของระบบสุริยะจึงยังผลให้เกิดความสงบสุขอย่างเปี่ยมล้น มุมมองของมนุษย์ที่มีต่อโลกเป็นมุมแคบกว่าจินตนาการ กว้างที่สุดของมุมแคบก็เพียงเห็นโลกกลมที่ถูกจับมาจัดแผ่แบนราบเป็นแผนที่แสดงแผ่นดินและผืนน้ำ แสดงอาณาบริเวณที่มนุษย์อยู่อาศัย แบ่งแยกเขตแดนกันตามที่เป็นผลพวงของการใช้กำลังอำนาจทางการเมืองการทหารแต่โบราณ อธิบายให้เห็นว่าแผ่นดินและผืนน้ำตรงไหนเป็นของมนุษย์กลุ่มใด เรียกกลุ่มตัวเองว่าเป็นรัฐเป็นประเทศชื่ออะไร แล้วมนุษย์ก็ต่อสู้ปกป้องดินแดน ขยายดินแดน สูญเสียดินแดนและชีวิตที่ต่อสู้ปกป้องดินแดนที่มีพรมแดนและมีชื่อเรียกขานเป็นประเทศทั้งหลายเหล่านั้น เป็นการมองโลกแบบเป็นโลกมนุษย์ หรือ The World เป็นการมองตัวเองของมนุษย์แบบภูมิรัฐศาสตร์ ละเลยแม้แต่จะพิจารณาปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อม มองจากฐานข้อมูลปัญหาของมนุษย์เอง มองโลกแบบนี้ มองเมื่อไรก็เห็นปัญหาเมื่อนั้น มนุษย์เรียกช่วงเวลาหรือยุคของพัฒนาการสังคมโลกแบบนี้ว่าเป็นความเจริญของมนุษยชาติ มาปัจจุบันนี้ สู่ยุคหลังทันสมัย (Post Modern World) มนุษย์เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์เองกับสิ่งแวดล้อมและสรรพชีวิตที่หลากหลายรายรอบมากขึ้น เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและเผ่าพันธุ์มนุษย์กลุ่มอื่น รวมทั้งเห็นความสัมคัญของความหลากหลายแห่งชีวภาพบนดาวเคราะห์โลกมากขึ้น พรมแดนที่เคยลากเส้นแบ่งไว้เพื่อปกป้องอัตลักษณ์และอำนาจของเผ่าพันธุ์ตนเริ่มถูกทำลายลงโดยปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้มนุษยชาติสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต ปรับขยายวิธีคิด และเดินทางข้ามพรมแดนในยุคทันสมัยมากขึ้นจนอำนาจรัฐที่เคยใช้ต่อสู้รบราฆ่าฟันทำลายล้างกันเริ่มเสื่อมสลายไร้พลังอำนาจลง โลกยุคหลังทันสมัย คือโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำลายกำแพงแห่งอำนาจรัฐลงอย่างเกือบราบคาบ ด้วยพลังของการเดินทาง พลังแห่งการสื่อสารของข้อมูลข่าวสาร การเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามพรมแดนของมนุษย์ ข้ามอุปสรรคทางวัฒนธรรมแห่งเผ่าพันธุ์ พลังโลกาภิวัตน์กำลังสร้างโลกใหม่อย่างช้าๆ จนในอนาคตอันไกลข้างหน้า ในที่สุดมนุษยชาติก็อาจจะกลับเข้าสู่การมองโลกและสร้างโลกใหม่ให้กลับเป็นโลกที่เป็น The Earth แบบดั้งเดิมอีกครั้ง การเดินทางของมนุษยชาติบนโลกมนุษย์กลับสู่ความเป็นดาวเคราะห์โลกแบบอดีตก่อนบรรพกาลเช่นว่านี้กำลังดำเนินอยู่และดำเนินต่อไปอย่างช้าๆ เพียงแต่ว่ามนุษย์ไม่หาเวลาหยุดตัวเองให้นิ่งพอที่จะมองเห็นความเจริญในจิตใจของตัวเองเท่านั้น มองโลกมุมแคบจึงเกิดปัญหามากมายไร้ความสงบสุข มองโลกมุมกว้าง ยิ่งมองกว้างมากขึ้น และมองไกลออกไปมากขึ้นเท่าไร ปัญหาก็จะลดลง ความสุขสงบก็จะเกิดมากขึ้นเท่านั้น Carl Sagan และ Stephen Hawking สองนักวิทยาศาสตร์ผู้ตั้งคำถามเพื่อสื่อสารคำตอบสู่มวลมนุษยชาติ มนุษย์บนโลกเดียวที่เรารู้จักได้วิเคราะห์และประเมินชีวิตตนเองแล้วสรุปว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดที่สุด-บนโลกเดียวที่เรารู้จักเช่นกัน-ทั้งนี้ก็เพราะมนุษย์มีมันสมองที่ทรงศักยภาพสูงยิ่งถึงระดับที่รู้จักคิดวิเคราะห์และพัฒนาความรู้ความคิดให้ก้าวหน้าในทุกสาขาวิชาการในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ประวัติศาสตร์โลกโดยทั่วไปจะเน้นการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการวิทยาการฝีมือมนุษย์ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิต การอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่ปัจจุบันนิยมพูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับต่างๆ จาก 1.0, 2.0, 3.0 มาถึง 4.0 ณ วันนี้ ซึ่งชาติต่างๆในโลกจำนวนหนึ่งสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมของตนถึงระดับ 4.0 แล้ว โดยสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาเสมือนจริง หรือ Artifitial Intelligence (AI), มีผลงานความคิดวิจัยและความรู้ใหม่ๆด้าน Bio-technology (Bio-tech/เทคโนโลยีชีวภาพ), และ Automation (การผลิตโดยกระบวนการหุ่นยนต์อัตโนมัติ)ได้ ที่มนุษย์พัฒนาวิทยาการต่างๆมาได้อย่างชวนพิศวงนี้เพราะมีพลังสำคัญคือพลังความคิดสงสัยใคร่รู้ของมนุษย์ที่นำไปสู่การตั้งคำถามแล้วค้นหาคำตอบอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้งนับแต่เกิดจนตาย และคำถามใหญ่นั้นรวมถึงเรื่อง:
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องความสงสัย หรือคำถาม และคำตอบทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงการตั้งสมมติฐานหรือคำถามต่อปรากฏการณ์ที่เห็นหรือรู้สึก แล้วหาคำตอบโดยการใช้เหตุผล ศึกษาค้นคว้าวิจัยทดลองจนได้คำตอบที่ยืนยันได้ถืงความถูกต้องในทุกสถานการณ์ ทุกสภาวะแวดล้อมของเหตุการณ์ ทุกสถานที่ และทุกกาลเวลา ไม่ใช่ความเชื่อจากการที่มีใครบางคนบางกลุ่มบอกให้เชื่อโดยห้ามมิให้ตั้งคำถามและไม่รับการยืนยันจากการพิสูจน์ด้วยเหตุและผล. อย่างแรกเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างหลังเป็นลัทธิความเชื่อหรือศาสนา การค้นหาความจริงทั้งสองแนวทางยังดำเนินต่อไปบนโลก และมนุษย์สองฝ่ายยังคงต่อสู้โรมรันกันอยู่ในสมรภูมิแห่งภูมิปัญญา. มีนักวิทยาศาสตร์จากสมัยโบราณจนถึงยุคปัจจุบันจำนวนมากที่ค้นพบความจริงใหม่ๆแล้วได้สื่อสารให้คนในโลกได้รับทราบความจริง แม้ความจริงนั้นอาจกระทบหรือทำลายความเชื่อที่อ้างพลังศักดิ์สิทธิ์หนุนอยู่เบื้องหลัง แต่ความจริงทางวิทยาศาสตร์ก็ค่อยๆทลายกำแพงความเชื่อที่ขาดข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ลงไปอย่างช้าๆ ทีละน้อยๆ การทลายกำแพงความไร้เหตุผลด้วยวิทยาศาสตร์ที่เคร่งครัดต่อเหตุผลและกระบวนการพิสูจน์นั้น ประสพความสำเร็จได้ก็ด้วยศิลปะและวิธีการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน หนักแน่นแต่ก็สุภาพอ่อนโยน เปี่ยมด้วยพลังความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจฝ่ายตรงข้าม นักวิทยาศาสตร์ผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้มนุษยชาติยอมรับความจริงใหม่ได้อย่างไม่เกิดความรุนแรงระหว่างกัน - ระหว่างฝ่ายวิทยาศาสตร์ กับ ฝ่ายศาสนาและลัทธิความเชื่อ - ล้วนเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์คุณภาพสูงเยี่ยมยิ่งนัก เพราะการสื่อสารวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องสื่อสารเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายโดยคงไว้ซึ่งข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำ ต้องสื่อสารโดยระมัดระวังไม่สร้างความขัดแย้งรุนแรงหากสื่อสารผิดเวลาผิดสถานที่. Aristotle, Galileo, Copernicus, Charles Darwin, Jules Verne, และ H.G. Wells เป็นตัวอย่างของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ประสพความสำเร็จอย่างสูงยิ่งในการเปลี่ยนความคิดความรู้และความเข้าใจของมนุษย์ให้เข้าถึงโลกแห่งความรู้จริง-อย่างใกล้เคียงความจริงแท้แน่นอนมากที่สุด คนแรกเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญา สามคนถัดมาเป็นนักวิทยาศาสตร์โดยแท้ และสองคนท้ายสุดเป็นนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และศิลปะแห่งจินตนาการ. สำหรับโลกยุควิทยาการก้าวหน้าปัจจุบันก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จำนวนมากมาย ทั้งในโลกตะวันตกและในประเทศไทยของเรา ในจำนวนนี้มีสองคนที่สร้างรอยประทับอันทรงพลังหนักแน่นบนโลกแห่งความรู้ ในกระบวนการให้ความรู้และความจริงใหม่แก่มนุษย์อย่างทรงประสิทธิภาพยิ่งยวด ซึ่งโลกก็เพิ่งจะสูญเสียสองนักวิทยาศาสตร์ผู้เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์คนสำคัญนี้ไปเมื่อไม่นานนี้. คนแรก กล่าวถึงก่อนตามลำดับอาวุโส คือ Carl Sagan (1934-1996) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน จาก Cornell University. คนที่สอง คือ Stephen Hawking (1942-2018) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ แห่ง Cambridge University. ทั้งสองคนผ่านกาลเวลาในช่วงชีวิตและงานของตนมา 62 และ 76 ปี ตามลำดับ ทั้งสองคนตั้งคำถามและหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มนุษย์รู้จักตัวเอง รู้จักโลก และเข้าใจถึงเรื่องสัมพันธภาพระหว่างโลกกับเอกภพ มากยิ่งขึ้น. หนังสือเล่มสุดท้ายพิมพ์หลังการถึงแก่กรรมของทั้งสองคน คือ:
ในหนังสือสำคัญสองเล่มนี้มีคำตอบต่อคำถามสำคัญที่อยู่ในใจของมนุษย์ทุกคน. Carl Sagan’s Varieties of Scientific Experience ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์อันหลายของ Carl Sagan Dr. Carl Edward Sagan เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1934 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1996 รวมอายุได้ 62 ปี เป็นศาสตราจารย์วิชาดาราศาสตร์ (Astronomy) และ วิทยาศาสตร์อวกาศ (Space Sciences) และเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการศึกษาดาวเคราะห์ (Laboratory for Planetary Studies) ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) สหรัฐอเมริกา ท่านมีบทบาทสำคัญในตำแหน่งผู้นำโครงการยานอวกาศ Mariner, Viking, และ Voyager สำรวจดาวเคราะห์ ในและนอกระบบสุริยะ ได้รับรางวัลเหรียญสดุดีพิเศษจากองค์การนาซ่า (NASA - National Aeronautics and Space Administration) ถึงสองครั้ง ในฐานะเป็นผู้มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมพิเศษ. ในฐานะนักเขียน Dr. Carl Sagan ได้รับรางวัล Pulitzer โดยมีงานเขียนทรงคุณค่าทั้งงานวิชาการสารคดีวิทยาศาสตร์ และ นวนิยายวิทยาศาสตร์ รวมทั้งงานผลิตและดำเนินรายการภาพยนตร์สารคดีอวกาศชุด Cosmos (1980) ที่สร้างจากหนังสือสารคดีชื่อเดียวกัน คือ Cosmos (1980). หนังสือสารคดีวิทยาศาสตร์อวกาศเขียนสำหรับสาธารณชนทั่วไปที่โด่งดังมีมากมายเช่น:
1. Nature and Wonder: A Reconnaissance of Heaven / อัศจรรย์แห่งธรรมชาติ: การค้นหาความรู้เกี่ยวกับสวรรค์ 2. The Retreat From Copernicus: A Modern Loss of Nerve / ล่าถอยจากความคิดของโคเปอร์นิคัสมาสู่ยุคใหม่แห่งความระทึกใจ 3. The Organic Universe / เอกภพแห่งชีวิต 4. Extraterrestrial Intelligence / สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญานอกโลก หรือ มนุษย์ต่างดาว 5. Extraterrestrial Folklore: Implications for the Evolution of Religion / ตำนานโบราณเรื่องมนุษย์ต่างดาว กับ ผลต่อวิวัฒนาการศาสนา 6. The God Hypothesis / สมมติฐานเรื่องพระเจ้า 7. The Religious Experience / ประสบการณ์เรื่องศาสนา 8. Crimes Against Creation / อาชญากรรมจากการต่อต้านเรื่องพระเจ้าสร้างโลก 9. The Search / การค้นหาต่อๆไป ทุกบทจะมีช่วงคำถาม-คำตอบแถมท้าย ซึ่งให้ความกระจ่างและสะท้อนความคิดขัดแย้งในหมู่นักคิด นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญาในยุคปัจจุบัน ซึ่ง Carl Sagan ก็ให้คำตอบที่ชัดเสน สุภาพ มีเหตุผล โดยคำนึงถึงความคิดและความรู้สึกของฝ่ายคิดตรงข้ามเป็นสำคัญ โดยเฉพาะฝ่ายศาสนา. Carl Sagan’s Varieties of Scientific Experience ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์อันหลายของ Carl Sagan 1. อัศจรรย์แห่งธรรมชาติ: การค้นหาความรู้เกี่ยวกับสวรรค์ Carl Sagan แนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าชีวิต(มนุษย์)เราเล็กแค่ไหนนั้น ไม่ยากเลย เพียงแค่เงยหน้ามองดูเหล่าดวงดาวบนท้องฟ้า ก็จะรู้ว่าตัวเราหรือชีวิตแบบมนุษย์เราบนโลกนั้นเล็กมาก (น.28) ตลอดชีวิตของ Carl Sagan ตั้งแต่วัยเด็กจนเติบโตเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและเติบใหญ่เป็นสมาชิกอันเปี่ยมวุฒิภาวะในสังคมมนุษยชาติ เขาจะตั้งคำถามต่อทุกสิ่งอย่างที่คนทั่วไปมีความเชื่อโดยไม่ยอมค้นหาข้อพิสูจน์ เรื่องสำคัญที่เขาตั้งคำถามแต่เด็กคือเรื่องพระเจ้ากับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาของชาวโลกตะวันตก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาคริสต์ในสังคมอเมริกันของเขา ต่อไปจนถึงศาสนาอิสลามซึ่งเชื่อในการมีอยู่และการเนรมิตโลกและสรรพชีวิตของพระเจ้าเช่นกัน. ชื่อเสียงของ Carl Sagan โดยหลัก อยู่ที่เรื่องความพยายามของเขาในการถกเถียงเรื่องพระเจ้าว่ามีอยู่จริง หรือ และ มีข้อพิสูจน์อะไร เขาพยายามใช้เหตุผลและความสุภาพนุ่มนวลอธิบายว่าการที่คนเราเชื่อเรื่องพระเจ้าเพราะเป็นข้อบังคับให้เชื่อตามที่บัญญัติไว้ในพระคัมภีร์แห่งศาสนานั้น ถือเป็น”ความเชื่อ” ที่ปิดกั้นการค้นหาความจริงด้วยการพิสูจน์ เท่ากับเป็นการแสดงความไม่เป็นประชาธิปไตยในการค้นหาความจริง ซึ่งตรงกันข้ามกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ยึดมั่นและเชื่อมั่นในความจริงที่ผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าพิสูจน์แล้วจนถึงระดับที่สามารถเชื่อได้ว่าเป็นความจริงแท้ หรืออย่างน้อยก็เป็นความถูกต้องเป็นจริงเท่าที่จะค้นหาหลักฐานมาพิสูจน์หรืออธิบายได้. Carl Sagan นิยามว่าวิทยาศาสตร์เป็น “informed worship” หรือ “การนับถือบูชาที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลความรู้” ดังนั้นถ้าบอกว่าพระเจ้ามีจริง พระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าสร้างธรรมชาติ... ดิน...น้ำ...ความสว่าง...ความมืด... ต้นไม้..สรรพสัตว์...มนุษย์...และสรรพชีวิตทั้งมวล ทั้งหมดตามพระประสงค์ของพระองค์ หากพระคัมภีร์สอนเช่นนี้แล้วมนุษย์ก็เชื่อโดยไม่ตั้งคำถาม ไม่ต้องหาความจริงมาพิสูจน์ แล้วเชื่อต่อๆกันไป ถึงทุกวันนี้ก็ยังเชื่อกันอยู่ ทั้งในหมู่ผู้คนทั่วไป และแม้กระทั้งนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพจำนวนหนึ่งก็ยังใช้ชีวิตแยกเป็นสองส่วน คือชีวิตการงานที่ค้นหาความจริงด้วยการตั้งคำถามและค้นหาข้อพิสูจน์ แต่พอกลับถึงบ้านก็กลับไปใช้ชีวิตครอบครัว ที่มีความเชื่อในพระเจ้าโดยไม่ตั้งคำถามไม่ยอมหาข้อพิสูจน์. Carl Sagan ถกเถียงเรื่องศาสนากับความเชื่อที่ไม่ต้องพิสูจน์หรือห้ามไม่ให้พิสูจน์ กับเรื่องวิทยาศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ตามเหตุผลก่อนแล้วจึงค่อยเกิดความเชื่อ วิทยาศาสตร์จึงเป็นความเชื่อที่สนับสนุนด้วยความรู้จริง หรือที่เขาเรียกว่า “informed worship” (หน้า 31) นั่นเอง. Carl Sagan ถามว่า: “Does trying to understand the universe at all betray a lack of humility? I believe it is true that humility is the only just response in confrontation with the universe, but not a humility that prevents us from seeking the nature of the universe we are admiring. If we seek that nature, then love can be informed by truth instead of being based on ignorance or self-deception. If a Creator God exists, would He or She or It or whatever that appropriate pronoun is, prefer a kind of sodden blockhead who worships while understanding nothing? Or would He prefer His votaries to admire the real universe in all its intricacy? I would suggest that science is, at least in part, informed worship. My deeply held belief is that if a god of anything like the traditional sort exists, then our curiosity and intelligence are provided by such a god. We would be unappreciative of those gifts if we suppressed our passion to explore the universe and ourselves. On the other hand, if such traditional god does not exist, then our curiosity and our intelligence are the essential tools for managing our survival in an extremely dangerous time. In either case the enterprise of knowledge is consistent surely with science; it should be with religion, and it is essential for the welfare of human species.” (p.31) “ความพยายามที่จะทำความเข้าใจเรื่องเอกภพสุดเท่าที่จะพึงทำได้นั้นมันเป็นความไม่รู้จักเคารพนบนอบต่อศาสนาอย่างนั้นหรือ? ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงที่ว่าการแสดงความนอบน้อมถ่อมตนในเวลาที่ต้องเผชิญกับคำถามเรื่องเอกภพเป็นสิ่งที่ถูกต้องพึงกระทำ, แต่ไม่ใช่ต้องนอบน้อมถ่อมตนเสียจนกลายเป็นการปิดกั้นตนเองมิให้ค้นหาธรรมชาติของเอกภพที่เรากำลังชื่นชมอยู่. หากว่าเราได้ค้นหาความจริงเกี่ยวธรรมชาติแห่งเอกภพ เราก็จะได้ความรักในธรรมชาติที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง แทนที่จะเป็นความรักบนความโง่เขลาหรือการหลอกตัวเอง. หากว่าพระเจ้าผู้ทรงเนรมิตโลกและชีวิตมีอยู่จริง พระเจ้าองค์นั้น จะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือเป็นสิ่งอะไร สุดแต่จะใช้สรรพนามที่เหมาะสมเรียกกัน พระเจ้าพระองค์นั้นจะชอบให้คนหัวขี้เลื่อยปัญญาทึบนับถือบูชาพระองค์โดยไม่มีความเข้าใจอะไรๆเลยอย่างนั้นหรือ? หรือว่าพระอง์จะทรงอยากเห็นเหล่าสาวกผู้บูชาพระองค์ได้ชื่นชมเอกภพที่เป็นจริงแท้แน่นอนในทุกความละเอียดซับซ้อนของสรรพสิ่ง? ผมขอแนะว่าวิทยาศาสตร์อย่างน้อยก็บางส่วนเป็นการนับถือบูชาที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลความรู้ ผมมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่าถ้าพระเจ้าอย่างที่รู้จักกันตามแบบแผนประเพณีมีอยู่จริง, ถ้าอย่างนั้นพระเจ้าก็เป็นผู้ทรงประทานความอยากรู้อยากเห็นและภูมิปัญญามาให้เราด้วยแล้ว เป็นพรสวรรค์ที่ประทานมาโดยพระเจ้า หากเราจะกดดันปิดกั้นตัวเราเองไม่ให้ใช้ภูมิปัญญาสำรวจค้นหาความจริงเกี่ยวกับเอกภพและตัวของเราก็จะเป็นการสูญเปล่าเพราะไม่ใช้ภูมิปัญญาที่พระเจ้าประทานมาให้เป็นประโยชน์ ในทางตรงข้าม หากพระเจ้าที่ว่าตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิมนั้นไม่มีอยู่จริง ถ้าอย่างนั้นความใส่ใจใฝ่รู้และภูมิปัญญาของเราก็จะเป็นเครื่องมือจำเป็นและสำคัญในอันที่จะใช้เพื่อจัดการความอยู่รอดของชีวิตเรา ในช่วงเวลานี้ที่ชีวิตและโลกของเรากำลังตกอยู่ในภาวะอันตรายยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน กรณีใด (จะมีหรือไม่มีพระเจ้าก็ตาม - สมเกียรติ อ่อนวิมล) กระบวนการศึกษาค้นหาความรู้ก็เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แน่นอน; ศาสนาก็ควรจะต้องเป็นกระบวนการศึกษาค้นหาความรู้จริงเช่นวิทยาศาสตร์, กระบวนการค้นหาความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์.” (น. 31) *หนังสืออ้างอิง: Carl Sagan, The Varieties of Scientific Experience: A Personal View of the Search for God, Edited by Ann Druyan, Penguin Books, New York, 2007, ISBN 978-0-14-311262-4, 284 pages. สมเกียรติ อ่อนวิมล 1 มกราคม 2563 |
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|
Vertical Divider
|