EDUCATION IS NOT A RACE | การศึกษาไม่ใช่การแข่งขัน
by Deborah Stipek
นิตยสาร Science รายสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2011 มีบทบรรณาธิการที่ได้อ่านแล้ว เกิดความรู้สึกชื่นชมยินดีมาก ข้อคิดของอาจารย์ Deborah Stipek มีคุณค่ามากและเป็นพลังกระตุ้นให้นักการศึกษาได้คิดเรื่องการปฏิรูปการศึกษากันอย่างจริงจังอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีปัญหาและกำลังหาทางออกกันอยู่ แต่ในประเทศไทยการปฏิรูปการศึกษาก็เดินทางเดิม ไม่ใช่การปฏิรูปการศึกษาที่จะแก้ปัญหาการพัฒนาชีวิตอย่างแท้จริงได้ การศึกษาในเอเชีย และในประเทศไทยเป็นการแข่งขันกันอย่างไม่มีความสุข เครียด และผิดทิศทาง ไม่ก่อประโยชน์ให้ชีวิตอนาคตเป็นสุขยั่งยืน เมื่ออ่านบทบรรณาธิการนี้ ของท่านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้ว ก็คิดว่าควรต้องแปลเผยแพร่ต่อให้ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารการศึกษา ครู และนักเรียนไทยได้อ่านกันและช่วยกันพัฒนาและปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างฉับพลันทันที.
Vertical Divider
EDUCATION IS NOT A RACE Deborah StipekScience 24 Jun 2011:
Vol. 332, Issue 6037, pp. 1481 DOI: 10.1126/science.1209339 In the United States and elsewhere, the competitive pressures placed on young people in school are damaging many otherwise promising lives. In addition to generating debilitating anxiety and encouraging a culture of cheating, this competition takes the joy out of learning. The film Race to Nowhere, which continues to receive attention since its release a year ago, documents the unhealthy consequences of the competitive “teach to the test” climate that many U.S. students experience. The film, in which I was interviewed, puts in clear relief the pressures that youth are under to amass large numbers of Advanced Placement (college-equivalent) classes, win science fairs, excel in the arts and sports, and in other ways distinguish themselves from the competition for admission into a few select universities that parents and schools believe are critical for future success. Research on motivation makes it clear that focusing attention entirely on performance, whether grades or test scores, destroys whatever intrinsic interest the subject matter might have had.* There are certainly students whose passions spur them to realize their full potential in rigorous academic courses and other impressive activities. But how many potential Nobel Prize winners have written off science before the end of high school because their only exposure to the subject had been in test preparation courses rather than in classes that delved into meaningful questions? It doesn't have to be this way, but change will require coordinated efforts at many levels. Success in life does not require a degree from one of 10 universities. We need to evaluate U.S. high schools (pre-college education) on how well they help students find a college that matches their interests and goals, not on the proportion of students that they send to elite institutions. And the coveted universities need to demonstrate that they are interested in students who have a genuine passion for extending their educational experience, not merely in tallying items on resumés. Many U.S. teachers also must change their approach to teaching. Extensive research shows that students will become more emotionally engaged (and even passionate) if simple principles are followed: if the subject matter is connected to students' personal lives and interests; if students have opportunities to be actively involved in solving or designing solutions to novel and multidimensional problems, doing experiments, debating the implications of findings, or working collaboratively; if students have multiple opportunities to earn a good grade (by rewriting papers or retaking tests); if attention is drawn to the knowledge and skills that students are developing, not to grades or scores; and if all learning and skill development is celebrated, whatever the level. Schools must create homework policies to ensure that diligent students aren't kept up late into the night; schedule some spacing between major tests and offer ample opportunities for students to get extra help; make sure that at least one adult is paying attention to every student's emotional needs; provide parent education on the advantages of a broad array of potential colleges; survey students regularly on the sources of their stress and make sure that this feedback informs policies; and offer opportunities for students to pursue academic interests unencumbered by performance concerns, such as in independent studies or clubs. The world is rapidly changing. Problem-solving skills and critical analysis have become infinitely more important than being able to answer the typical questions given on standardized tests. A valuable science of teaching and learning exists that should guide efforts to improve students' interest, engagement, and intellectual skills, as well as reduce the debilitating stress that is becoming epidemic.** Only by paying attention to what we know can we make the changes that youth need to lead healthy and productive lives.
Note: Reproduction and Thai translation has been granted by Prof. Stipek through email contact. Correspondence with Prof. Deborah Stipek 1 May 2019 Dear Prof. Stipek, In 2011 I got your permission through the email to translate your Science’s editorial “Education is not a Race” . The article has been very useful to me in my many public speakings in Thailand. Now, at 70, I have retired from public life. You are still on my mind! I, therefore, keep your valuable thought on education on my personal website. http://www.thaivision.com/science1.html Thank you for all you have done to help make education better in America and it may have some ripple effect in Thailand. Best regards, Somkiat Onwimon www.thaivision.com |
Vertical Divider
การศึกษาไม่ใช่การแข่งขัน
EDUCATION IS NOT A RACE โดย Deborah Stipek Science, Vol.332, 24 June 2011 p.1481 Editorial by Deborah Stipek Dean of the Stanford University School of Education Stanford, California, USA E-mail: [email protected] Science, ฉบับ 332, 24 มิถุนายน 2011, น.1481 บทบรรณาธิการ โดย เดบอราห์ สตีเพค คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สแตนฟอร์ด, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา E-mail: [email protected] [บทแปล] ในสหรัฐอเมริกา และที่อื่น แรงกดดันเยาวชนให้แข่งขันในโรงเรียนกำลังทำลายหลายๆชีวิตที่ควรจะมีอนาคตอันสดใส. นอกจากการแข่งขันกันในโรงเรียนอย่างที่ว่านี้จะได้ก่อให้เกิดความเครียดความรู้สึกว้าวุ่นหวั่นวิตก และสร้างวัฒนธรรมการทุจริตคดโกงในหมู่นักเรียนแล้ว, การแก่งแย่งแข่งกันนี้ยังทำให้การเรียนในโรงเรียนหมดสนุกไปเลย. ภาพยนตร์เรื่อง Race to Nowhere, ซึ่งได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง หลังจากออกฉายเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมา, ได้บันทึกผลเสียที่เกิดกับนักเรียนสหรัฐจำนวนมากจากการบรรยากาศการแข่งขันแบบ “สอนเพื่อสอบ”. ในภาพยนตร์, ที่ดิฉันเองให้สัมภาษณ์ไว้ด้วย, ได้อธิบายแจ่มชัดถึงการที่จะควรได้ผ่อนคลายสภาพการณ์ที่เยาวชนต้องตกอยู่ใต้แรงกดดันเพื่อจะสอบเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาให้ได้กันมากๆ, เพื่อที่จะเป็นผู้ชนะในงานแข่งขันชิงรางวัลวิชาวิทยาศาสตร์, ให้โดดเด่นด้านศิลปะ และ การกีฬา, อีกทั้งทำตัวเองให้เก่งเป็นที่หนึ่งในการชิงที่เรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่กี่แห่ง ซึ่งบรรดาพ่อแม่และโรงเรียนเชื่อว่าเป็นมาตรวัดอันสำคัญยิ่งยวดต่อความสำเร็จในอนาคตของเด็ก. งานวิจัยว่าด้วยเรื่องแรงจูงใจปรากฏชัดว่าการมุ่งความสนใจไปที่ผลการเรียนอย่างเดียวจนหมดสิ้น, ไม่ว่าจะผลการเรียนเป็นเกรดหรือเป็นคะแนนสอบ, ส่งผลทำลายคุณค่าความน่าสนใจที่อาจจะได้จากเนื้อหาวิชาที่เรียน.* แน่นอนว่าย่อมมีนักเรียนส่วนหนึ่งที่สนใจใฝ่เรียนรู้อย่างขยันขันแข็งและทุ่มเทจนบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองได้ ทั้งในวิชาการตามหลักสูตร และในกิจกรรมอื่นๆที่ทำได้อย่างน่าประทับใจ. แต่ใครจะรู้ว่ามีนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งที่มีศักยภาพถึงขนาดจะได้รับรางวัลโนเบล หากแต่ว่าได้ทิ้งความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ไปเสียก่อนจะจบมัธยมปลาย ด้วยเหตุที่ว่าโรงเรียนเอาแต่สอนแบบให้เตรียมตัวสอบ มากกว่าที่จะจัดการเรียนการสอนแบบให้ค้นหาคำตอบอย่างลึกซึ้งต่อคำถามที่มีความหมายสำคัญ? มันไม่จำเป็นจะต้องเป็นแบบนี้เลย, แต่การเปลี่ยนแปลงจำต้องมีการประสานงานกันในหลายๆระดับ. ความสำเร็จในชีวิตนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับปริญญาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำหนึ่งใน 10 แห่ง. เราจำต้องประเมินโรงเรียนมัธยมปลาย (โรงเรียนระดับก่อนเข้ามหาวิทยาลัย) ในเรื่องที่ว่าโรงเรียนทำได้ดีเพียงใดในการช่วยหามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสนใจและเป้าหมายชีวิตของนักเรียน, ไม่ใช่ไปวัดกันที่ว่าจะส่งนักเรียนให้เข้าเรียนต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียงกันได้มากเท่าไร. และบรรดามหาวิทยาลัยอันเป็นที่ปราถนาของเด็กนักเรียนทั้งหลายก็เช่นกัน มหาวิทยาลัยทั้งหลายจำจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีความสนใจในตัวนักเรียนผู้มีใจรักอย่างแท้จริงที่จะเรียนต่อเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ทางการศึกษาของตนในระดับมหาวิทยาลัย, ไม่ใช่เป็นเด็กที่เพียงแค่จะเพิ่มบัญชีรายการเรียนดีในบันทึกประวัตตัวเองตอนไปสมัครงานเท่านั้น. ครูในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากก็จะต้องเปลี่ยนวิธีสอนด้วย. งานวิจัยต่างๆชี้ว่านักเรียนจะมีอารมณ์ร่วมมากขึ้น (จนถึงกระทั่งมีความรักเรียนอย่างลึกซึ้ง) ถ้ามีการปฏิบัติต่อไปนี้: ถ้าสาระวิชาความรู้เชื่อมโยงกับชีวิตและความสนใจส่วนตัวของนักเรียน; ถ้านักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา หรือออกแบบการแก้ปัญหา ทั้งปัญหาที่มีความสำคัญและปัญหาที่มีความซับซ้อนหลากหลายมิติ, ให้นักเรียนทำการทดลอง, ถกเถียงอภิปรายกันในเรื่องผลที่ได้จากการทดลอง, หรือให้มีการประสานการทำงานร่วมกัน; ถ้านักเรียนได้มีโอกาสเลือกที่หลากหลายในการทำเกรดหรือคะแนนให้ได้ดี (เช่นการทำรายงานส่งครู และ การสอบซ้ำใหม่); ถ้าพุ่งความสนใจไปที่ความรู้และทักษะของนักเรียน, ไม่ใช่ที่เกรดหรือคะแนน; และถ้าการพัฒนาการเรียนและทักษะได้รับการชื่นชมยกย่อง, ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในระดับใด. โรงเรียนจะต้องสร้างนโยบายการให้การบ้านที่จะไม่ทำให้เด็กขยันต้องทำการบ้านจนดึกดื่น; จัดการสอบครั้งสำคัญๆให้ห่างกันพอควรและให้นักเรียนมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือพิเศษจากครูได้มากอย่างเต็มที่; ทำให้แน่ใจว่าจะมีผู้ใหญ่อย่างน้อยหนึ่งคนคอยใส่ใจดูแลเรื่องอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนแต่ละคนและทุกคน; ให้การศึกษาแก่พ่อแม่ผู้ปกครองในเรื่องจุดเด่นข้อดีของมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีอยู่มากมายหลายหลาก ซึ่งควรจะเป็นที่สนใจของนักเรียนในการเข้าเรียนต่อ; สำรวจเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอในเรื่องต้นเหตุแห่งความเครียด และให้ผลการสำรวจสะท้อนถึงนโยบายของโรงเรียน; และให้โอกาสนักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ในวิชาการตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่ให้เรื่องผลคะแนนการเรียนมาเป็นอุปสรรคขัดขวางการแสวงหาความรู้, เช่นจัดให้มีชั้นเรียนอิสระ หรือจัดตั้งกลุ่มชมรมนักเรียน. โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว. ทักษะการแก้ปัญหา และ วิธีคิดวิเคราะห์เชิงลึก ได้กลายมามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดมากกว่าการเพียงมีความสามารถในการตอบคำถามธรรมดาๆในข้อสอบมารฐานต่างๆ. วิทยาศาสตร์การสอนและการเรียนอันทรงคุณค่านั้นมีอยู่และควรจะเอามาใช้นำทางเพื่อพัฒนาความสนใจของนักเรียน, พัฒนาการให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น, พัฒนาทักษะแห่งสติปัญญา, ตลอดจนเพื่อลดความเครียดอันเสมือนเป็นโรคระบาด**ที่เป็นพลังกัดกร่อนเยาวชนในทุกวันนี้. โดยการให้ความใส่ใจในเรื่องที่เรารู้เท่านั้นเอง ก็จะทำให้เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวเยาวชนได้ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่เยาวชนเองต้องการ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างมีผลผลิตจากการงาน และมีชีวิตอันเป็นสุข. ผู้เขียน: Deborah Stipek 10.1126/science.1209339 แปลโดยได้รับอนุญาตจาก Prof. Stipek ผ่านการติดต่อทาง email สมเกียรติ อ่อนวิมล 12 สิงหาคม 2554 อ้างอิง: https://science.sciencemag.org/content/332/6037/1481 www.sciencemag.org *Motivation in Education: Theory, Research, and Applications (Pearson/Merrill Prentice Hall, ed. 3, Upper Saddle River, NJ, 2007). **National Research Council, Engaging Schools: Fostering High School Students’ Motivation to Learn (National Academies Press, Washington, D.C. 2003) |