|
|
"มองโลกผ่านหนังสือ"
ค้นหาประเทศไทย โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล สำนักพิมพ์อมรินทร์ (2551) อ่านหนังสือ 35 เรื่อง เพื่อค้นหาประเทศไทย ทำความรู้จักกับประเทศไทย ที่อาจจะซ่อนเร้นอยู่ในหนังสือเหล่านี้ ทั้งที่เกี่ยวกับประเทศไทยโดยตรง และโดยเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับประเทศไทยโดยตรงแต่อย่างใดเลย แต่เมื่อตั้งใจอ่านหาเรื่องก็จะพบประเทศไทยหลบซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดในหนังสือเหล่านี้ อ่านหนังสือ 35 เล่มนี้แล้วทำให้คิดถึงและห่วงใยประเทศไทยเป็นที่ยิ่ง อ่านแล้วทำให้รู้ว่า ประเทศไทยยังเดินอยู่บนเส้นทางที่คดเคี้ยวอย่างมิอาจมั่นใจได้เลยว่าจุดหมายปลายทางมีหรือหรือไม่ หรืออยู่ ณ แห่งใด :
1. A Brief History of Time Stephen Hawking 2. The Earth: A very Short Introduction Martin Redfern 3. On the Origin of Species Charles Darwin 4. A Short History of the World H. G. Wells 5. A History of Thailand Chris Baker and Pasuk Phongpaichit 6. The English Governess at the Siamese Court Anna Leonowens 7. The King of Thailand in World Focus The Foreign Correspondents Association of Thailand 8. The Story of Mahajanaka H.M. King Bhumibol Adulyadej 9. A Man Called Intrepid William Stevenson 10. นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชนิพนธ์แปล จากเรื่อง “A Man Called Intrepid” โดย William Stevenson 11. Casino Royale : James Bond 007 Ian Fleming 12. ติโต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชนิพนธ์แปล จากเรื่อง “Tito” โดย Phyllis Auty 13. The End of Poverty Jeffrey Sachs 14. As The Future Catches You Juan Enriquez 15. Thaksin: The Business of Politics in Thailand Pasuk Phongpaichit and Chris Baker 16. Globalization and Its Discontent Joseph Stiglitz 17. The Thaksinization of Thailand Duncan McCargo และ Ukrist Pathmanand 18. How to Become CEO Jeffrey J. Fox 19. Pigs at the Trough Arianna Huffington 20. The Man Who Would be King Rudyard Kipling 21. Sadako and the Thousand Cranes Elizabeth Coer 22. 1984 George Orwell 23. How to Overthrow the Government Arianna Huffington 24. Why CEOs Fail David L. Dotlich and Peter C. Cairo 25. Christmas Books: A Christmas Carol Charles Dickens 26. All My Sons Arthur Miller 27. Brave New World Aldous Huxley 28. The Emperor’s New Clothes Hans Christian Andersen Fairy Tales 29. Ozymandias Percy Bysshe Shelley 30. The Day the Leader Was Killed Naguib Mahfouz 31. The Diagnosis Alan Lightman 32. The Time Machine H.G. Wells 33. A Guide to the End of the World Bill McGuire 34. Small Is Beautiful E.F. Schumacher 35. Small is Beautiful: 25 years later E.F. Schumacher “โลกหนังสือยามเช้า” เป็นรายการแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ ทุกเช้าวันเสาร์ อ่านและเขียนบทโทรทัศน์ โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล นำเสนอออกอากาศเป็นส่วนหนึ่งของรายการ "โลกยามเช้า" ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ระหว่างปี 2546 ถึง 2551 รวมทั้งหมด 180 เรื่อง ดังนี้ :
|
อ่านหนังสือ...สื่อชีวิต
A Life of Reading ในวัยเด็ก หนังสือที่อ่านก็มักจะเท่าที่ครูบอกให้อ่าน กับที่เห็นมีในบ้าน โชคดีที่บ้านมี ขุนช้างขุนแผน มี ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ และมี ขุนศึก ของ ไม้เมืองเดิม ในวัยรุ่นออกจากบ้านไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ก็หาหนังสืออ่านตามใจชอบ ยืมของพี่ชายอ่านบ้าง เอาเงินพี่สาวซื้ออ่านบ้าง หนังสือเรื่องสั้นต่างๆของอาจินต์ ปัญจพรรค์ รงค์ วงศ์สวรรค์ (หนุ่ม) และ มนัส จรรยงค์ ที่ได้รู้จักก็ช่วงวัยรุ่นนี้, “The Old Man and the Sea” ของ Earnest Hemingway ก็ได้ลองอ่านตอนเรียนอยู่วิทยาลัยครูจันทรเกษม ครั้นได้ไปเรียนชั้นมัธยมที่ Kansas City แม้เพียงปีเดียว โลกของการอ่านก็พลิกผันไปตามระบบชีวิตนักเรียนแบบอเมริกัน งานวรรณกรรมอมตะ ที่เรียกว่า “Classics” ทั้งโดยนักเขียนอเมริกัน และอังกฤษก็เริ่มผ่านเข้ามาในในชีวิต “Moby Dick” โดย Herman Melville, “The Adventures of Tom Sawyer” กับ “The Adventures of Huckleberry Finn” โดย Mark Twain แม้กระทั่งบทละครของ William Shakespeare เป็นวรรณกรรม Classics รุ่นแรกๆ ที่เริ่มพยายามอ่านตอนเป็นนักเรียนทุน AFS ที่ Park Hills High School มาถึงช่วงเวลาที่เรียนระดับปริญญาตรีและโทที่ University of Delhi หนังสืออ่านเล่นประเภทนวนิยายร่วมสมัย ลึกลับสืบสวนสอบสวน เช่น “The Adventures of Sherlock Holmes” โดย Sir Arthur Conan Doyle และ เรื่องประโลมโลกเช่น “The Carpetbaggers” ของ Harold Robbins และ “Valley of the Dolls” โดย Jacqueline Susann สลับกับ “Mahabharata” และ “The Kama Sutra” ถือเป็นส่วนหนึ่งของการอ่านวัยหนุ่มยุคแสวงหาตัวเอง ต่อมาในระหว่างเรียนปริญญาเอก ที่ University of Pennsylvania หนังสือกึ่งตำรา เช่น “Small is Beautiful” ของ E.F. Schumacher ประทับจิตสำนึก ไม่แพ้ “Perry Mason” นักสืบคดีฆาตกรรม ของ Earle Stanley Gardner และเมื่อ 35 ปีที่แล้วนั้น. ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีใครที่ไม่แอบอ่าน “Everything You Always Wanted to Know about Sex* But Were Afraid to Ask” โดย David Reuben, M.D. ในวัยทำงานสร้างครอบครัว ทั้งด้านวิชาการ และงานสื่อสารมวลชน วรรณกรรมร่วมสมัย ตามกระแสข่าวสารกลายเป็นความจำเป็น อ่านเพราะหนังสือดัง คนเขียนเด่น หนังสือที่ได้รับรางวัล Nobel ทั้งหลาย ถึงอ่านยาก ก็จำต้องพยายามอ่าน. “The Gulag Archipelago” ของ Alexander Solzhenitsyn อ่านยาก ไม่สนุกเท่า “Doctor Zhivago” ของ Boris Pasternak มาปัจจุบัน อายุล่วงเลยมาเกือบถึง 67 ปีแล้ว การอ่านหนังสือเร่งรีบ ร้อนรน เพราะรู้ว่าเวลาของชีวิตเหลือจำกัด ต้องอ่านหนังสือของนักเขียนที่โปรดปรานมากที่สุด คือ Jules Verne และ H.G. Wells ให้หมด สองคนรวมกันก็กว่าร้อยเรื่อง ไหนจะต้องตามอ่านวรรณกรรม Classics ของอังกฤษ และ อเมริกา อีกมากมาย หนังสือในการพิมพ์ชุด Oxford World’s Classics เริ่มจาก Henry Adams ไปจนถึง Emile Zola ต่อด้วยหนังสือวรรณกรรมอมตะจากสำนักพิมพ์สำคัญ โดยเฉพาะในชุด Bantam Classics, The Everyman Library, The Modern Library Classics, Penguin Popular Classics, Signet Classics, และ Wordsworth Classics, นอกจากนั้นก็ยังต้องตามอ่านหนังสือชนะรางวัล Nobel และ The Man Booker Prize ที่ประกาศทุกปี คำนวณเวลาของชีวิตแล้ว อยากมีชีวิตอมตะเหมือนงานวรรณกรรมจริงๆ สมเกียรติ อ่อนวิมล 1 มกราคม 2558 |
|