MEDIA LITERACY
เรียนรู้ ทันโลกสื่อสารมวลชน สื่อสารมวลชนในยุคโลกาภิวัตน์ มีมากหลากหลายชนิด รูปแบบ และเทคโนโลยี มีทั้งสื่อมวลชนกระแสหลัก คือสื่อที่ทำงานมานานแต่อดีต ในแต่ละประเทศก็มีสื่อระดับชาติ และระดับท้องถิ่น บางสื่อทำงานข้ามประเทศก็เป็นสื่อระดับภูมิภาคและระดับโลก กระแสหลักดั้งเดิมมีเพียงสื่อสิ่งพิมพ์, วิทยุกระจายเสียง, และ วิทยุโทรทัศน์ มาปัจจุบันมี "สื่อใหม่" สารพัดสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ใช้เครืองมือที่ทุกคนใช้ได้ และเข้าถึงทุกคน อย่างสะดวกรวดเร็ว คือสื่อ electronics หรือสื่อ internet ที่เป็นของทุกคนได้ และเข้าถึงได้ง่ายโดยทุกคน คนที่ทำงานสื่อสารมวลชนจึงไม่จำกัดอยู่เพียงคนทำหนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์เท่านั้น ทุกวันนี้ใครๆก็เป็นสื่อได้ หากมีและใช้ internet ได้ ก็สามารถส่งข่าวสารข้อมูล ภาพ และเสียงอย่างไร เมื่อไร เท่าไรก็ได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อใคร วันที่เทคโนโลยีข่าวสารโลกาภิวัตน์ไปมาก ในมหาวิทยาลัย มีวิชาเรียนในสาขานิเทศศาสตร์วิชาหนึ่ง ชื่อ Media Literacy เป็นวิชาที่ประชาชนคนทั่วไปควรเรียนเพื่อจะได้รู้เท่าทันสื่อ ส่วนคนที่เป็นสื่อจริงๆก็ควรเรียน เพื่อจะได้เป็นสื่อที่ดี และรู้เท่าทันเพื่อนสือที่ไม่ใช่สื่อที่ดี |
BBC and Google Adwords Advertising Policy
|
16 February 2017
เนื้อข่าว
BBC / US & Canada Melania Trump 'hooker' remark: NYT reporter apologises A reporter for the New York Times who was reprimanded for referring to US First Lady Melania Trump as a "hooker" has identified himself and apologised. Jacob Bernstein said his remark was "stupid" and based on "unfounded rumours". The NYT said the remark was "inappropriate". The comment was made public after actress and model Emily Ratajkowski shared it on Twitter. Mrs Trump then tweeted in praise of women who stand up for women. Bernstein, who is a features writer for the newspaper, wrote a series of tweets in which he took ownership of the remark. In a statement, the NYT did not identify the reporter, but condemned the comments.
"At a party last night, a Times reporter who does not cover Washington or politics referred to an unfounded rumour regarding Melania Trump," it said. "The comment was not intended to be public, but it was nonetheless completely inappropriate and should not have occurred. Editors have talked to the reporter in question about the lapse." On Monday, Ms Ratajkowski, who danced in Robin Thicke's controversial Blurred Lines video, criticised the reporter for the remarks, without identifying him. Without mentioning the case, the first lady also took to Twitter to praise the actress.
Earlier this month, Mrs Trump re-filed a legal case against UK newspaper Daily Mail over allegations that she once worked as an escort. The paper later retracted the article.
The first lady is seeking damages of $150m (£120m). อ้างอิง http://www.bbc.com/news/world-us-canada-38979741 |
บทแปลข่าว
นักข่าว New York Times ขอโทษที่พูดว่า Melania เป็นกะหรี่ นักข่าวหนังสือพิมพ์ New York Times ที่ถูกตำหนิ จากการที่กล่าวถึงสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง Melania Trump ว่าเป็น "กะหรี" (1) ได้ปรากฏตัวขอโทษแล้ว. นักข่าวชื่อ Jacob Bernstein กล่าวว่าเป็น "ความโง่เขลา" ที่เขาพูดเช่นนั้น และเป็นเรื่อง "ข่าวลือที่ไม่มีความจริงสนับสนุน" หนังสือพิมพ์ NYT ชี้แจงว่าคำพูดของนักข่าวเป็นเรื่อง "ไม่เหมาะสม" คำพูดของนักข่าวถูกเปิดเผยในที่สาธารณะโดย นักแสดงและนางแบบชื่อ Emily Ratajkowski เขียนข้อความลงใน Twitter. จากนั้น Mrs. Trump ก็ tweet ชมผู้หญิงที่สู้เพื่อผู้หญิงด้วยกัน Bernstein เป็นนักเขียนรายงานพิเศษให้หนังสือพิมพ์ NYT(2) ได้ tweet ข้อความชุดหนึ่งแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดของเขา ดังนี้: ------------------------ นี่เป็นข้อความ 4 ตอน: 1. ผมขอรับผิดชอบต่อความผิดที่ทำไป 2. ผมพูดในงานปาร์ตี้ ซึ่งคิดว่าเป็นการพูดคุยเป็นส่วนตัว แต่ถึงอย่างไรมันก็เป็นการพูดที่โง่เขลา 3. บรรณาธิการของผมบอกชัดเจนว่าการกระทำของผมไม่ใช่มาตรฐานของหนังสือพิมพ์ NYT (3), และผมก็เห็นด้วย 4. ความผิดของผมคือการอ้างถึงข่าวลือที่ไม่มีมูล ซึ่งไม่ควรจะไปกระทบบุคคลอื่นใดเลย และผมขอแสดงความขอโทษอย่างที่สุด --------------------------- คำแถลงของหนังสือพิมพ์ NYT มิได้เอ่ยชื่อผู้สื่อข่าว แต่ประนามคำที่พูด โดยแถลงว่า: "ณ งานเลี้ยงเมื่อคืน ผู้สื่อข่าวของ Times (4) ซึ่งมิได้เป็นผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวเกี่ยวกับเรื่องในกรุง Washington และไม่ได้เป็นผู้สื่อข่าวสายการเมือง ได้เอ่ยถึงเรื่องข่าวลือที่ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับ Melania Trump" "คำพูดของผู้สื่อข่าวคนนั้นมิได้มีจุดประสงค์จะให้ออกสู่สาธารณะ แต่กระนั้นก็ตามก็เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะโดยสิ้นเชิง และถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูด กองบรรณาธิการได้คุยกับนักข่าวคนนั้นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นนี้แล้ว" เมื่อวันจันทร์ คุณ Ratajkowski, ผู้แสดงเป็นนักเต้นในวิดิโดอื้อฉาวเรื่อง Blurred Lines ของผู้กำกับชื่อ Robin Thicke, ได้ออกมาตำหนิผู้สื่อข่าวคนนี้โดยไม่เอ่ยชื่อ (5) ดังนี้: --------------------- นั่งติดกับสื่อมวลชนจาก NYT เมื่อคืน เขาบอกฉันว่า "Melania เป็นกะหรี่" ไม่ว่าจะการเมืองแบบไหน มันก็แย่มากที่จะปากไม่ดีแบบนี้ 2. อะไรกัน: ชอบเหยียดหญิงสำส่อนหรือไง ฉันไม่สนว่าเธอจะแก้ผ้า ไม่สนประวัติเรื่องเพศของเธอ คนอื่นก็ไม่ควรไปยุ่ง ---------------------- โดยไม่พาดพิงตรงถึงเรื่องนี้เลย สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งก็ร่วมวง tweet แสดงความชื่นชมนักแสดงหญิง (Ms. Ratajkowski) ว่า: ---------------------- "ขอปรบมือให้เหล่าสตรีทั่วโลกที่ลุกขึ้นพูดต่อสู้เพื่อสนับสนุนสตรีทั้งหลาย ---------------------- เมื่อต้นเดือนนี้ Mrs. Trump ยื่นฟ้องต่อศาลอีกครั้งหนึ่งในคดีกล่าวหาหนังสือพิมพ์ Daily Mail ของอังกฤษ ที่ลงพิมพ์เรื่องกล่าวหาเธอว่าเคยทำงานเป็นหญิงบริการรับจ้างเป็นเพื่อนเที่ยวกับลูกค้าชายมาก่อน หนังสือพิมพ์ Daily Mail ก็ลงข้อความแก้ไขบทความที่กล่าวหานั้นไปแล้ว แต่คราวนี้สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฟ้องอีก ขอค่าเสียหาย $150 ล้าน (£120 ล้าน) อ้างอิง http://www.bbc.com/news/world-us-canada-38979741 หมายเหตุ (1) "hooker/กะหรี" เป็นคำหยาบคายกว่า prostitute/โสเภณี จึงมิอาจไปใช้คำว่า "โสเภณี" แทนได้ (2) Jacob Bernstein ไม่ใช่ผู้สื่อข่าว (reporter) ทั่วไป แต่เป็นคนเขียนบทความรายงานเรื่องยาว เรียกว่า features writer ซึ่งก็แน่นอนว่าจะต้องออกไปหาข่าวเหมือนผู้สื่อข่าวทั่วไปเช่นกัน เพียงจะเขียนรายงานเป็นบทความยาวเชิงวิเคราะห์ข่าวเล่าเรื่องละเอียดกว่าข่าวธรรมดา (3) หนังสือพิมพ์ New York Times มักเรียกตัวเองสั้นๆว่า "Times" หรือไม่ก็เรียกย่อว่า "NYT" ทำให้สับสนกับหนังสือพิมพ์ชื่อ The Times / Sunday Times ของอังกฤษ ความสับสนนี้บางทีก็ทำให้ต้องเรียก The Times ของอังกฤษว่า London Times ? Times of London (4) ตอนนี้ก็สับสนชื่อหนังสือพิมพ์แล้ว (5) ใน Twitter ของเธอ |
ข่าวต้นฉบับ |
บทวิเคราะห์
โดย Thaivision ew York Times ประกอบกับข่าวสารที่อ้างและเอามาจาก Twitter ที่ว่า BBC เขียนข่าวโดยอ้าง New York Times นั้นเนื่อหาข่าวบอกชัดเจน ส่วนที่ว่า "อ้างและเอามาจาก Twitter นั้นก็ชัดเจนเช่นกัน คืออ้างโดยการเขียนถึง และยกภาพถ่ายหน้าจอ Twitter เอามาให้ดูทั้งแผง เรื่องนี้สะท้อนกระบวนการข่าวสารในโลก internet หรือที่เรียกว่า โลก Online หรือ social media - ที่จริงคำนี้ในภาษาไทยยังไม่มีความนิยมคิดใช้คำใหม่ที่เป็นภาษาไทยมาแทน หากลองช่วยคิดดูก็มีคำให้เลือกใช้ เช่น "สื่อสังคม" "สื่อตามสาย" "สื่อใหม่" หรือ "เครื่อข่ายเชื่อมสังคม" คำเหล่านี้ล้วนแล้วจะไม่เป็นที่ติดตลาดแน่ ชีวิตการสื่อสารสมัยใหม่นี้เชื่อว่าจะเป็นการใช้ภาษาปนๆกันทั้งอังกฤษและไทยและภาษาอื่น ผมเองก็ทดลองเขียนแบบทับศัพท์โดยเขียนคำภาษาอังกฤษที่เป็นชื่อเฉพาะลงไปเลย ไม่แปลและไม่เขียนคำภาษาไทยที่ออกเสียงคำภาษาอังกฤษ เช่นที่ผมเขียน Melania ไม่เขียน "เมลาเนีย" และเขียน Mrs. Trump ไม่เขียน "นางทรัมพ์" การเขียนข่าวของ BBC มุ่งกลุ่มเป้าหมายชาวตะวันตก ทำให้ผมต้องทำเชิงอรรถ (footnote - ผมยังต้องแปลไทยเป็นอังกฤษให้เลย เพราะคิดว่า คนรุ่นใหม่อาจไม่คุ้นกับ "เชิงอรรถ" แต่จะเข้าใจ "footnote' ดีกว่า) ซึ่งผมก็ช่วยอธิบายให้เข้าใจข่าวมากขึ้นใน 5 ประเด็น ผมทำ (วงเล็บตัวเลขสีแดง)ให้ตามหลังคำที่ต้องอธิบายใน footnote. (ผมใช่จุด full stop ท้ายประโยค ตามแบบอย่างงานพระราขนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯอีกต่างหาก) ส่วนประเด็นข่าวนั้น ผมมีข้อสังเกต หรือจะเรียกว่าข้อวิจารณ์ หรือบทวิเคราะห์ ก็ได้ ดังนี้: เรื่องนี้เป็นเพียงการพูดคุยในงานปาร์ตี้ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ส่วนตัว ใครจะพูดอะไรก็ได้ ไม่ควรจะเป็นข่าว ไม่เหมาะสมเลยที่คุณ Ratajkowski ผู้นั่งอยู่ติดกัน ได้ฟังคำพูดนี้แล้วจะเอามาสื่อต่อใน Twitter ซึ่งเป็นสื่อส่วนตัวของเธอ เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือสื่อสารสังคมที่เป็นส่วนตัวกำลังทำหน้าสื่อสารมวลชน ส่งข้อความถึงเพื่อน แต่สังคมทั้งโลกรับทราบ จึงกลายเป็นสื่อสารมวลชนไปโดยปริยาย ไม่ใช่สื่อสารส่วนตัวอีกต่อไป ใครจะใช้ Twitter, Facebook, Instagram, ฯลฯ ก็ต้องระมัดระวังให้แน่ในว่าจะสื่อสารแบบไหน จะกระทบอะไรถึงใครบ้าง โดยเฉพาะผู้สื่อสารที่มีคนติดตามมากๆ คุณ Tatajkowsky จึงทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่เอาข้อความสนทนาส่วนตัวมาเผยแพร่ ทำให้กระทบต่อนักข่าว NYT ในข่าวเธอยังบอกว่านั่งอยู่ติดกัน และ บอกว่า Bernstein พูดกับเธอโดยตรง โดยเฉพาะ ไม่ใช่การแอบได้ยินเพราะนั่งอยู่ใกล้กัน รายละเอียดบรรยากาศและประโยคทั้งหมดที่พูดในบริบทที่นั่งคุยกันนั้นเป็นอย่างไรก็ไม่บอก จึงเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่ Tatajkowsky จะเอาคำพูดเพียงวลีเดียวมาประจาน แต่นักข่าวและกองบรรณาธิการ NYT ก็ดีมากที่แสดงความรับผิดชอบ และอธิบายความผิดเชิงจริยธรรมวิชาชีพสื่อสารมวลชน ว่า ไม่ว่าจะพูด หรือสื่อสารในสถานการณ์แบบไหน ส่วนตัว หรือส่วนสาธารณะ นักข่าวจะต้องรับผิดขอบเสมอ เพราะถือว่านักข่าวเป็นบุคคลสาธารณะ ดังนั้นการพูด การเขียน การสื่อสารทุกเวลาและสถานการณ์ของชีวิตบุคคลสาธารณะ รวมทั้งคนที่เป็นผู้สื่อข่าว จะต้องระมัดระวังทุกถ้อยคำและอากัปกริยา นักข่าวคือบุคคลสาธารณะ (ผมเองก็ใช่) เรื่องนี้จึงสะท้อนคุณภาพและความมีจรรยาบรรณของ New York Times เรื่องข่าวลือที่ถือว่าไม่มีมูลเกี่ยวประวัติที่ปกปิดอึมครึมของ Melania Trump นี้ ที่จริงมีมูลพอให้สื่อมวลชนทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนค้นหาความจริงต่อไป ซึ่งในที่สุดก็อาจได้จากคำตัดสินของศาลที่ Melania ฟ้องคดีหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหายมหาศาลต่อหนังสือพิมพ์ Dail Mail อยู่เวลานี้ ปีที่แล้ว (2016) ช่วงที่สหรัฐอเมริกำลังหาเลียงเลือกตั้งประธานาธิบดีกันเข้มข้น ผมซื้อหนังสือที่เขียนแบบไม่ปรากฏชื่อคนเขียนและไม่มีชื่อสำนักพิมพ์ ซื้อผ่าน amazon.com หนังสือชื่อ "From the Whore House to the White House" (จากซ่องโสเภณี สู่ทำเนียบขาว) ผมอ่านแล้วก็เก็บ ไม่เผยแพร่ต่อ ไม่เล่าให้ใครฟังในที่สาธารณะจนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2017 ในรายวิทยุที่ผมเป็นแขกรับเชิญร่วมรายการทุกสัปดาห์ ซึ่งผมก็อธิบายว่าหนังสือไม่น่าเชื่อถือ ภาพถ่ายก็อนาจารและไม่ควรเผยแพร่ต่อ ปัจจุบันนี้ก็ไม่มีขายที่ amazon.com แล้ว ผมคิดว่าชีวิตมนุษย์จะผันแปรไปอย่างไร ก็ต้องเคารพในการเลือกทางเดินของชีวิต ซึ่งบางทีอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่เราผู้ไม่เกี่ยวข้องเลยไม่อยากเห็นหรือไม่ชอบก็ได้ บางทีชีวิตก็ไม่มีทางเลือก โดยเฉพาะชีวิตของ Melania นั้น มีข่าวสารสับสนมากมาย เช่นเรื่องปกปิดหรือไม่บอกความจริงเรื่องการศึกษา ไม่บอกประวัติในวัยเยาให้ชัดเจน และ มีความไม่ตรงกันในข้อมูลเข้าเมืองมาทำงานนางแบบ ก่อนได้รับสัญชาติอเมริกัน, ฯลฯ ผมอนุมานเอาจากการติดตามข่าวสารว่า เธอมีชีวิตไม่ไม่เป็นสุขนัก ดูสีหน้าท่าทางเธอก็ไม่ร่าเริง เธอเป็นบุคคลที่น่าเห็นใจมากกว่า กองเงินกองทองอาจจะไม่ช่วยให้ชีวิตเป็นสุขได้ถ้ามีแต่คนไล่ล่าหาอดีตที่เธอชี้แจ้งแล้ว แต่ก็ไม่เชื่อกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มาเป็นภรรยาคนที่สามของ Donald Trump และรู้จักตัวจริงของ Trump แบบที่ไม่มีใครในโลกจะรู้จักได้ดีเท่าเธอ เราควรจะปล่อยเธอให้อยู่เป็นส่วนตัวจะดีกว่า Melania Trump เป็นบุคคลสาธารณะโดยสถานการณ์จำยอม เธอมีลูกที่รักและห่วงใยเหมือเราทุกคน แต่เธอลำบากกว่าเรา เพราะเราเป็นคนธรรมดาไม่มีภาระรับผิดชอบอะไรต่อสาธารณะเหมือนกับเธอ แต่ข่าวลือเกี่ยวกับเธอก็มิได้จางหาย กลับจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าศาลจะตัดสินคดีที่ค้างคาอยู่ ส่วนสื่อมวลชนกระแสหลักในสหรัฐฯนั้น อันที่จริงก็ตรวจละเอียดแล้วพบว่ามีความเคารพในความเป็นส่วนตัวของ Melania Trump อย่างระมัดระวังตลอดเวลา เช่นเดียวกับ New York Times แต่ข่าวลือเกี่ยวกับ Melania นั้นจะออกมาจากแหล่งสื่อสารสังคมส่วนบุคคลซึ่งไม่มีความรับผิดชอบ จะเป็นเช่นนี้อยู่เนืองๆ พอมีข่าวในสื่อสังคมแล้วสื่อกระแสหลักก็เอามาทำเป็นข่าวระดับสื่อสารมวลชนระดับชาติ หรือระดับนานาชาติต่อ ดังที่ BBC ทำข่าวนี้ ซึ่งส่งผลให้ผมคิดว่าควรเขียนคำวิพากษ์เชิงส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพฤติกรรมการสื่อสารของสื่อมวลชน ในวันนี้ ถือเป็นบทเรียนหนึ่งในเรื่อง การเรียนรู้ทันสื่อ หรือ Media Literacy ผม (สมเกียรติ อ่อนวิมล) มีผู้ติดตามทาง Twitter 559,000 คน (16 กุมภาพันธ์ 2560) และทาง Facebook หน้าส่วนตัวก็เกือบเต็ม 5,000 คน ที่หน้า Public สำหรับการเป็นบุคคลสาธารณะอีกก็เคยขึ้นตัวเลขคนเข้าอ่านถึงกว่า 1 ล้านคนในช่วงการเมืองวิกฤติ แต่การสื่อสารของผมผ่านหน้า website THAIVISION ซึ่งเป็น website ส่วนตัวนี้ไม่มีผู้ติดตามมากนัก มากที่สุดเคยมีก็เพียงราว 20,000 คน แต่ปรกติจะมีไม่กี่พันคน ผมจึงชอบที่จะเขียนข้อคิดความเห็นและส่งข่าวสารที่ THAIVISION ที่นี่มากกว่า เพราะคนเข้ามาอ่านน้อย การแสดงความคิดเห็นก็แทบไม่มี เพราะจะต้องแจ้งชื่อจริงหรือ email แถมมีที่แสดงความคิดเห็นให้เขียนเข้ามาได้ยาวเต็มที่ แบบนี้คนทั่วไปจะไม่นิยม เพราะเขียนยาวก็ไม่ชอบเขียนกัน หากแสดงความคิดเห็นแบบมีเหตุก็ต้องเขียนยาว จะสั้นเพียงสองสามประโยคไม่ได้ ผมพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่อยากเขียนยาว แม้จะทำได้ ก็ไม่อยากเสียเวลา เพียงแค่จะอ่านที่ผมเขียนยาวๆในหน้านี้ก็คงจะมีน้อยคนที่อ่านมาถึงประโยคนี้ ผมจึงพอใจที่จะเขียนตามใจและไม่ลำบากใจเมื่อไม่มีคนอ่านหรือแสดงความคิดเห็นกลับมา หากนานๆมีผู้เข้ามาอ่านและเขียนขอบคุณสักสองสามคน ก็มีความสุขแล้ว ที่มีผู้ได้ประโยชน์การการสื่อสารของผม ดังนั้นการเขียนบทความวิจารณ์ข่าวจาก BBC นี้จึงไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากนัก เพราะไม่น่าจะมีใครเข้ามาอ่านกันสักกี่คน อาจจะไม่มีเลยก็ได้ ผมเขียนจบแล้วจะไม่บอกใครทาง Twitter และ Facebook แต่จะทำเพียงพาดหัวข่าวบนหน้าแรก ของ THAIVISION นี้ เท่านั้น ท่านผู้ใดพลัดหลงเข้ามาอ่านก็ถือว่าเป็นโชคดีของผมที่มีคนสนใจช่วยคิดต่อ คนเดียว สองคน ก็ดีแล้ว 16 กุมภาพันธ์ 2560 |