|
|
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในแปดดวง ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อันเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ส่วนโลกก็เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มนุษย์รู้จักว่ามีสิ่งมีชีวิตหลากหลายรูปแบบทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าตัวเองเป็นสิ่งมีชีวิตสูงสุด มีภูมิปัญญาชาญฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์ สามารถสร้างอารยธรรมบนโลกได้ คิดว่ามนุษย์ชาติ-คือเหล่าเผ่าพันธุ์มนุษย์-เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและกำหนดชะตากรรมของตนเองและโลกได้ อันเป็นที่มาของคำว่า "โลกมนุษย์".
การมองโลกโดยเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางและเป็นจุดแรกเริ่มของประวัติศาสตร์เป็นมุมมองที่สั้น แคบ และมีสาระเพียงน้อยนิด เทียบกับประวัติศาสตร์ของเอกภพและจักรวาลที่ใหญ่กว้างไกลกว่า.
ประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History เป็นเรื่องราวก่อนจะถึงวันกำเนิดและวิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ ซึ่งย้อนกลับไปไกลถึงจุกแรกของระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang. การศึกษาประวัติศาสตร์โลกแบบกว้างไกลใหญ่มหาศาลจากเสี้ยววินาทีแรกของ The Big Bang จนถึงวินาทีปัจจุบันซึ่งเอกภพยังยังคงกำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆที่เรียกว่า "Big History" นี้ จะทำให้มนุษย์รู้จักตัวเองดีขึ้น รู้จักโลกดีขึ้น และเข้าใจความไม่สำคัญของมนุษย์และโลกมากขึ้น เพราะโลกไม่ใช่ของมนุษย์ โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงน้อยที่มองจากขอบระบบสุริยะเป็นเพียงจุดสีน้ำเงินจืด (The Pale Blue Dot) ท่ามกลางดวงดาวและความมืดลึกลับว่างเปล่าในเอกภพและจักรวาล.
เรื่องราวต่อไปนี้ คือประวัติศาสตร์ใหญ่ ที่ใหญ่กว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ....
การมองโลกโดยเอามนุษย์เป็นศูนย์กลางและเป็นจุดแรกเริ่มของประวัติศาสตร์เป็นมุมมองที่สั้น แคบ และมีสาระเพียงน้อยนิด เทียบกับประวัติศาสตร์ของเอกภพและจักรวาลที่ใหญ่กว้างไกลกว่า.
ประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History เป็นเรื่องราวก่อนจะถึงวันกำเนิดและวิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ ซึ่งย้อนกลับไปไกลถึงจุกแรกของระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang. การศึกษาประวัติศาสตร์โลกแบบกว้างไกลใหญ่มหาศาลจากเสี้ยววินาทีแรกของ The Big Bang จนถึงวินาทีปัจจุบันซึ่งเอกภพยังยังคงกำลังขยายตัวออกไปเรื่อยๆที่เรียกว่า "Big History" นี้ จะทำให้มนุษย์รู้จักตัวเองดีขึ้น รู้จักโลกดีขึ้น และเข้าใจความไม่สำคัญของมนุษย์และโลกมากขึ้น เพราะโลกไม่ใช่ของมนุษย์ โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงน้อยที่มองจากขอบระบบสุริยะเป็นเพียงจุดสีน้ำเงินจืด (The Pale Blue Dot) ท่ามกลางดวงดาวและความมืดลึกลับว่างเปล่าในเอกภพและจักรวาล.
เรื่องราวต่อไปนี้ คือประวัติศาสตร์ใหญ่ ที่ใหญ่กว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ....
Earthrise - Picture Credit: NASA - Taken aboard Apollo 8 by Bill Anders, this iconic picture shows Earth peeking out from beyond the lunar surface as the first crewed spacecraft circumnavigated the Moon. (https://www.nasa.gov/image-feature/apollo-8-earthrise) Last Updated: Feb. 23, 2018 Editor: Yvette Smith
NASA's color image of Earth 1, 000,000 miles (1,609,350 กม.) away by Earth Polychromatic Imaging Camera (EPIC) on July 6, 2015. For more information
|
บนดาวเคราะห์โลก
|
บทนำ
|
ON PLANET EARTH
A PODCAST IN PLANNING เตรียมการออกอากาศแบบ Podcast |
การมองโลกที่มีมนุษยชาติอยู่อาศัยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินและผืนน้ำที่เกาะตัวเป็นก้อนกลม โคจรล่องลอยวนไปมาในอวกาศ อาจมีมุมมองได้ต่างกัน
ถ้ามองแบบภาพกว้างก็ให้ถอยออกไปนอกระบบสุริยะ เห็นโลกเป็นเพียงเทหะวัตถุในอวกาศ เป็นจุดสีฟ้าจางๆวางตัวอยู่ตรงวงโคจรวงที่สามจากศูนย์กลางอันเป็นดวงดาวแสงอ่อนที่มนุษย์เรียกว่าดวงอาทิตย์ หรือ The Sun เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะเล็กๆบริเวณขอบนอกของดาราจักรทางช้างเผือก หรือ The Milkyway Galaxy มองโลกแบบนี้จะเห็นความโดดเดี่ยวเดียวดายของจุดสีฟ้าอ่อนซีดจางๆ หรือที่นักดาราศาสตร์ชื่อ Carl Sagan เรียกว่า The Pale Blue Dot เป็นการมองโลกแบบฟิสิกส์ดาราศาสตร์ มองโลกเป็นดาวเคราะห์ที่เรียกชื่อว่า The Earth จะไม่เห็นปัญหาความวุ่นวายอะไรบนผิวโลก ไม่เห็นแม้แต่รูปแบบชีวิตบนผิวโลก เว้นแต่ถ้าจะเข้าไปใกล้ๆก็จะเห็นสรรพชีวิตสารพันรูปแบบและหลากหลายปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แต่ก็ยังไม่เห็นอะไรมากไปกว่าจุดสีฟ้าจางที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีสีสันและชีวิตที่หลากหลายขึ้น จาก The Pale Blue Dot ก็กลายมาเป็น The Blue Planet ถ้าไม่ลงไปอยู่บนโลก ไม่ลงไปคลุกคลีมีปฏิสัมพันธ์กับชีวิตและสรรพสิ่ง ก็จะไม่มีปัญหาให้เดือดร้อนทุกข์สุขจนต้องดิ้นรนหาทางให้พ้นทุกข์กันแต่ประการใด การมองโลกจากสุดขอบปลายทางของระบบสุริยะจึงยังผลให้เกิดความสงบสุขอย่างเปี่ยมล้น มุมมองของมนุษย์ที่มีต่อโลกเป็นมุมแคบกว่าจินตนาการ กว้างที่สุดของมุมแคบก็เพียงเห็นโลกกลมที่ถูกจับมาจัดแผ่แบนราบเป็นแผนที่แสดงแผ่นดินและผืนน้ำ แสดงอาณาบริเวณที่มนุษย์อยู่อาศัย แบ่งแยกเขตแดนกันตามที่เป็นผลพวงของการใช้กำลังอำนาจทางการเมืองการทหารแต่โบราณ อธิบายให้เห็นว่าแผ่นดินและผืนน้ำตรงไหนเป็นของมนุษย์กลุ่มใด เรียกกลุ่มตัวเองว่าเป็นรัฐเป็นประเทศชื่ออะไร แล้วมนุษย์ก็ต่อสู้ปกป้องดินแดน ขยายดินแดน สูญเสียดินแดนและชีวิตที่ต่อสู้ปกป้องดินแดนที่มีพรมแดนและมีชื่อเรียกขานเป็นประเทศทั้งหลายเหล่านั้น เป็นการมองโลกแบบเป็นโลกมนุษย์ หรือ The World เป็นการมองตัวเองของมนุษย์แบบภูมิรัฐศาสตร์ ละเลยแม้แต่จะพิจารณาปฎิสัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อม มองจากฐานข้อมูลปัญหาของมนุษย์เอง มองโลกแบบนี้ มองเมื่อไรก็เห็นปัญหาเมื่อนั้น มนุษย์เรียกช่วงเวลาหรือยุคของพัฒนาการสังคมโลกแบบนี้ว่าเป็นความเจริญของมนุษยชาติ มาปัจจุบันนี้ สู่ยุคหลังทันสมัย (Post Modern World) มนุษย์เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตมนุษย์เองกับสิ่งแวดล้อมและสรรพชีวิตที่หลากหลายรายรอบมากขึ้น เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและเผ่าพันธุ์มนุษย์กลุ่มอื่น รวมทั้งเห็นความสำคัญของความหลากหลายแห่งชีวภาพบนดาวเคราะห์โลกมากขึ้น พรมแดนที่เคยลากเส้นแบ่งไว้เพื่อปกป้องอัตลักษณ์และอำนาจของเผ่าพันธุ์ตนเริ่มถูกทำลายลงโดยปฏิสัมพันธ์ข้ามพรมแดนทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้มนุษยชาติสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต ปรับขยายวิธีคิด และเดินทางข้ามพรมแดนในยุคทันสมัยมากขึ้นจนอำนาจรัฐที่เคยใช้ต่อสู้รบราฆ่าฟันทำลายล้างกันเริ่มเสื่อมสลายไร้พลังอำนาจลง โลกยุคหลังทันสมัย คือโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำลายกำแพงแห่งอำนาจรัฐลงอย่างเกือบราบคาบ ด้วยพลังของการเดินทาง พลังแห่งการสื่อสารของข้อมูลข่าวสาร การเดินทางเคลื่อนย้ายถิ่นฐานข้ามพรมแดนของมนุษย์ ข้ามอุปสรรคทางวัฒนธรรมแห่งเผ่าพันธุ์ พลังโลกาภิวัตน์กำลังสร้างโลกใหม่อย่างช้าๆ จนถึงอนาคตอันไกลข้างหน้า ในที่สุดมนุษยชาติก็อาจจะกลับเข้าสู่การมองโลกและสร้างโลกใหม่ให้กลับเป็นโลกที่เป็น The Earth แบบดั้งเดิมอีกครั้ง. การเดินทางของมนุษยชาติบนโลกมนุษย์กลับสู่ความเป็นดาวเคาระห์โลกแบบอดีตก่อนบรรพกาลเช่นว่านี้กำลังดำเนินอยู่และดำเนินต่อไปอย่างช้าๆ เพียงแต่ว่ามนุษย์ไม่หาเวลาหยุดตัวเองให้นิ่งพอที่จะมองเห็นความเจริญในจิตใจของตัวเองเท่านั้น มองโลกมุมแคบจึงเกิดปัญหามากมายไร้ความสงบสุข หากมองโลกมุมกว้าง ยิ่งมองกว้างมากขึ้น และมองไกลออกไปมากขึ้นเท่าไร ปัญหาก็จะลดลง ความสุขสงบก็จะเกิดมากขึ้นเท่านั้น มนุษยชาติบนดาวเคราะห์โลกจำต้องมองโลกในทุกมุมมอง ไม่ว่าจะแคบเฉพาะลำพังตัวเอง หรือกว้างไกลข้ามขอบฟ้าไปไกลเลยขอบเอกภพ เพื่อค้นหาตัวเองและทำความเข้าใจกับตัวเองระหว่างการเดินทางของอารยธรรมของมนุษยชาติที่ดำเนินไปอย่างช้าๆ. |
I
|
“No one would have believed in the last years of the nineteenth century that this world was being watched keenly and closely by intelligences greater than man’s and yet as mortal as his own;”
Herbert George Wells เริ่มประโยคแรกของบทที่หนึ่ง “The Eve of the War” (ก่อนการมาถึงของสงคราม) ในหนังสือเรื่อง “The War of the Worlds” (1898) ตามต้นฉบับข้างบน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า: “ใครเลยจะเชื่อว่าในช่วงปลายแห่งศตวรรษที่ 19th นั้น โลกของเรากำลังถูกเฝ้ามองด้วยความสนใจอย่างใกล้ชิดโดยสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งก็เป็นหมู่ชีวิตนอกโลกที่คล้ายมนุษย์ในเรื่องที่ว่าชีวิตดับสลายได้” งานวรรณกรรมนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ผจญภัยปลายศตวรรษที่ 19th ของนักเขียนชาวอังกฤษผู้มีผลงานวรรณกรรมอมตะหลายเรื่อง รวมทั้ง “สงครามระหว่างโลก” หรือ “The War of the Worlds” เรื่องที่อ้างนี้ แม้จะเป็นเพียงนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์ผจญภัย ที่ในสมัยนั้นเรียกว่า scientific romance แต่ก็เป็นงานวรรณกรรมที่อาศัยพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และจินตนาการของนักคิดนักเขียน ซึ่งสะท้อนความจริงผสมจินตนาที่อาจเป็นจริงได้ในอนาคต. โลกมนุษย์ปลายศตวรรษที่ 19th เป็นสังคมมนุษย์ที่กำลังเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มนุษย์ยุ่งอยู่กับปัญหาภายในและระหว่างเขตแดนของตน ปัญหาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองบนโลกใบเดียวกัน ทุกคนคิดว่ามีโลกมนุษย์อยู่ใบเดียวเท่าที่อยู่กันและมองเห็นกันและกันเท่านั้น. แน่นอนว่าปลายศตวรรษที่ 19th มนุษย์รู้แล้วว่าโลกกลมและเดินทางเคลื่อนที่ร่วมกับดาวเคราะห์ดวงอื่นโคจรรอบดวงอาทิตย์อันเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มนุษย์เข้าใจเรื่องนี้แล้วด้วยความตื่นตลึงเพราะผลงานการปฏิวัติความคิดการมองโลกใหม่หมดโดย Nicolaus Copernicus (1473-1543) จากหนังสืองของเขาเรื่อง “On the Revolutions of Heavenly Spheres” ซึ่งต้องพิมพ์เผยแพร่หลังจากถึงแก่กรรม. ก่อนหน้า Copernicus ตั้งแต่เกิดมีมนุษย์บนโลก มนุษย์เริ่มรู้จักสังเกตดูดาวบนท้องฟ้า มนุษย์เข้าใจและเชื่ออย่างผิดๆว่าโลกแบน เชื่อว่าดวงอาทิตย์ และดวงดาวต่างๆที่เห็นบนสวรรค์จะล่องลอยโคจรไปรอบๆผืนแผ่นโลก แม้ต่อมาจะคิดได้แล้วว่าโลกกลมก็ยังเชื่ออยู่ดีว่าดวงดาวทั้งหลายรวมทั้งดวงอาทิตย์ล้วนแล้วแต่เป็นบริวารของโลกมนุษย์ทั้งสิ้น. เมื่อได้ความรู้ใหม่จาก Copernicus แล้ว...จากกลางศตวรรษที่ 16th ถึงปลายศตวรรษที่ 19th...จาก Copernicus ถึง H.G.Wells...จากความรู้ใหม่ที่ว่าดาวเคราะห์ทั้งหลายที่มนุษย์รู้จักและมองเห็นจากกล้องดูดาวเล็กๆนั้น ล้วนโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น รวมทั้งดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ที่มนุษย์ค้นพบ 32 ปีหลัง “The War of the Worlds” คือดาวพลูโต (Pluto) โคจรอยู่วงนอกสุดในระบบสุริยะ ผ่านไปอีกเพียง 76 ปี มนุษย์ก็เปลี่ยนใจปลดดาวพลูโตออกจากสถานภาพดาวเคราะห์ หลังจากเรียนรู้เพิ่มเติมว่าดาวพลูโตมีขนาดเล็กเกินไปที่จะเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์ได้ และองค์ประกอบทางกายภาพอื่นก็ไม่เข้าคุณสมบัติการเป็นดาวเคราะห์ จะเป็นได้ก็เพียงแค่ดาวแคระ (Dwarf Planet). ณ วันนี้ มนุษย์สรุปเท่าที่คิดว่ารู้ ว่าโลกที่มนุษย์อ้างเป็นเจ้าของนั้น เกิดในระบบสุริยะอันมีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์แสงอ่อนที่เกิดมาเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีที่แล้ว ระบบสุริยะของดวงอาทิตย์ของเรามีดาวเคราะห์ 8 ดวงโคจรรอบเป็นวงรี ระบบสุริยะของเรานี้มีดาวเคราะห์โลกดวงเดียวที่มีมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นวิวัฒนาการเติบโตขยายพันธุ์อยู่ นับเฉพาะมนุษย์ก็มีกว่า 7 พันล้านคน ยังมีดวงดาวฤกษ์เช่นดวงอาทิตย์อยู่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะอื่นในแกแล็กซีทางช้างเผือกอีกประมาณ 2 แสนล้านดวง และในเอกภพ (Universe) ยังมีแกแล็กซี่ทำนองเดียวกันกับทางช้างเผือกอีกประมาณ 2 แสนล้านแกแล็กซี่ คำนวนดูแล้วควรจะมีดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นในแกแล็กซี่อื่นรวม 200,000,000,000 x 200,000,000,000 ระบบสุริยะ ในบรรดาระบบสุริยะทั้งหลายที่อยู่นอกระบบสุริยะของโลกมนุษย์เรานี้คงจะต้องมีดาวเคราะห์ที่สภาวะแวดล้อมคล้ายโลก เอื้ออำนวยให้วิวัฒนาการชีวิตคล้ายบนโลกมนุษย์ได้. ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2561 มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา (Exoplanets) แล้ว 3,815 ใน 2,853 ระบบสุริยะอื่น ในจำนวนนี้มี 633 ระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบมากกว่าหนึ่งดวง. ยังไม่มีการค้นพบมนุษย์ต่างดาว แต่ก็ค้นพบดาวต่างๆมากมายที่มีเงื่อนไขเอื้อต่อวิวัฒนาการชีวิตคล้ายมนุษย์ได้. ดังนั้น H.G.Wells จึงเตือนมนุษย์ว่า : “ระหว่างที่มนุษย์มัววุ่นอยู่กับสารพันปัญหาของตนนั้น มนุษย์หารู้ไม่ว่ากำลังมีชีวิตนอกโลกเฝ้าจับตาดูอยู่เหมือนกับว่าได้จับมนุษย์มาดูผ่านกล้องจุลทัศน์ เห็นมนุษย์บนโลกเสมือนเป็นจุลขีวินขยายพันธุ์ว่ายวนอยู่ในหยดน้ำใต้เล็นส์กล้องจุลทัศน์” “...that as men busied themselves about their various concerns they were scrutinised and studied, perhaps almost as narrowly as a man with a microscope might scrutinise the transient creatures that swarm and multiply in a drop of water.” ประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นเพียงความผันแปรของชีวิตมนุษย์ที่ว่ายวนอยู่ในหยดน้ำใต้กล้องจุลทัศน์ เป็นประวัติศาสตร์ขนาดเล็กที่หากไม่ส่องกล้องดูก็มองไม่เห็น. การอธิบายกำเนิดของดวงดาวในเอกภพ ไปจนถึงกำเนิดดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์โลก มาจนถึงการเวียนว่ายตายเกิด ทำสงครามและสร้างสันติภาพกันในหยดน้ำน้อย รวมกัน เป็นประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่สนใจศึกษาของนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง. ประวัติศาสตร์แนววิเคราะห์ใหม่นี้เรียกว่า “Big History” หรือ “ประว้ติศาสตร์ใหญ่”. “ประวัติศาสตร์ใหญ่”... ใหญ่เพียงไร? “ประวัติศาสตร์ใหญ่” หรือที่นักประวัติศาสตร์แขนงใหม่นี้เรียกว่า “Big History” นั้นใหญ่กว่าประวัติศาสตร์ของกำเนิดดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์โลกตลอดจนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆในระบบสุริยะแห่งดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ประวัติศาสตร์ใหญ่ที่ว่านี้ย้อนไปถึงวาระแรกกำเนิดเอกภพ หรือ “The Universe”. มนุษย์พยายามตอบคำถามถึงกำเนิดของตัวมนุษย์เองมานานนับแต่เริ่มมีความคิดสงสัยที่มาของตัวมนุษย์เอง แต่มนุษย์ก็ยังหาคำตอบอยู่อย่างไม่ลดรา จนวันนี้มนุษย์ที่เป็นนักคิดหาเหตุผลตอบคำถามด้วยหลักทฤษฎีและการคำนวณพิสูจน์ทดลอง-คือนักวิทยาศาสตร์ และมนุษย์ที่เป็นนักตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบต่อสรรพสิ่งรอบตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจสรรพสิ่งเหล่านั้น-คือนักปรัชญา ทั้งสองกลุ่มนักคิดบนโลกที่ตนเองอยู่อาศัยกำลังมองหาคำตอบที่ไกลออกไปบนท้องฟ้า...ไกลเลยท้องฟ้าออกไป...และไกลออกต่อๆไปถึงกำเนิดเอกภพ อันเป็นต้นทางของประวัติศาสตร์ใหญ่. Isaac Asimov รวมคำอธิบายเอกภพอันเป็นผลจากการศึกษาของมนุษย์นักคิดแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน ในหนังสือชื่อ “Isaac Asimov’s Guide to Earth and Space” โดยตั้งคำถามเรื่องอายุหรือกำเนิดเอกภพ: How old is the universe? แล้วลำดับความพยายามของนักคิดสำคัญหลายคนแต่อดีตในการค้นหาคำตอบ สรุปได้ว่าเอกภพคืออาณาจักรแห่งดวงดาวที่มองเห็นและมองไม่เห็นนั้นเป็นเอกภพที่ขยายตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากคำนวณย้อนหลังไปเอกภพก็น่าจะมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบันและยิ่งย้อนหลังไปมากๆก็จะพบว่าเอกภพเล็กลงๆไปมากๆจนถึงจุดกำเนิดของเอกภพที่เป็นมวลปริมาตรขนาดเล็กยิ่งยวด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "Singularity". นักดาราศาสตร์คนแรกที่คิดเรื่องนี้เป็นชาวเบลเยี่ยมชื่อ Georges Eduard Lemaitre (1894-1966) ผู้เสนอความคิดในปี 1927 ว่าเอกภพเริ่มต้นแรกกำเนิดเป็นเสมือน cosmic egg หรือ “ไข่จักรวาล” ขนาดเล็ก ซึ่งเกิดระเบิดแตกออกอย่างรุนแรง การระเบิดของไข่จักรวาลส่งผลให้เกิดการขยายตัวของพลังระบิดอันมหาศาลขยายขนาดของจักรวาลที่เชื่อว่ามีเพียงภพเดียวจึงเรียกว่า “เอกภพ” แต่เอกภพนี้ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ชื่อ George Gamow (1904-1968) เรียกการระเบิดครั้งใหญ่ของไข่จักรวาลว่า “the big bang” ซึ่ง ศาสตราจารย์ระวี ภาวิไล (1925-2017) นักดาราศาสตร์ไทย เรียกว่า “ระเบิดมหากัมปนาท”. Edwin Powell Hubble (1889-1953) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นผู้พิสูจน์ในปี 1929 ยืนยันเรื่องการขยายตัวของเอกภพและการเดินทางแยกห่างของแกแล็กซี่ รับทราบดังนี้แล้ว Isaac Asimov ก็แนะให้คำนวนอัตราการแตกตัวของแกแล็กซี่ (ดาราจักร) และความเร็วในการแยกตัวออกห่างระหว่างแกแล็กซี่ เมื่อคำนวนย้อนหลังไปได้แล้วก็ไม่ยากที่จะหาเวลาอันเป็นวินาทีจุดระเบิด the big bang ของไข่จักรวาล ทั้งนี้ก็จะต้องทราบระยะห่างระหว่างแต่ละแกแล็กซี่ และความเร็วในการเคลื่อนที่แบบขยายตัวออกไปจากกันของบรรดาแกแล็กซี่เหล่านั้น แถมจะต้องคำนึงด้วยว่าแต่ละแกแล็กซี่อาจจะมีอัตราการเดินทางแยกขยายตัวไม่คงที่และไม่เท่ากัน ตามข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่ Hubble ได้ในครั้งนั้น เขาคำนวณว่า the big bang เกิดขึ้นเมื่อ 2 พันล้านปีที่แล้ว แต่นักธรณีวิทยาและนักชีววิทยาก็คัดค้านเป็นการใหญ่เพราะเชื่อกันว่าดาวเคราะห์โลกมีอายุมากกว่า 2 พันล้านปี แล้วจะให้เอกภพมีอายุน้อยกว่าโลกไปได้อย่างไร! หลังจากข้อสรุปของ Hubble ผ่านไปราว 60 ปี ข้อมูลความรู้ทางดาราศาสตร์มีมากขึ้นโดยวิทยาการที่ก้าวหน้ามากขึ้นในการศึกษาเอกภพ นักวิทยาสตร์โดยรวมลงความเห็นว่าระเบิดมหากัมปนาท the big bang เกิดขึ้นเมื่อ 15,000 (1 หมื่น 5 พัน) ล้านปีที่แล้ว ซึ่งนั่นก็คืออายุของเอกภพ ซึ่งก็เท่ากับอายุของเอกภพตั้งแต่แรกกำเนิดจนกำลังอยู่ในวัยเติบโตทุกวันนี้ ให้กำเนิดดาราจักร หรือ galaxy อันเป็นจักรวาลแห่งระบบดวงดาวใหญ่น้อย ทั้งที่มีแสงเร่าร้อนแรงกล้า และที่อ่อนแสงถึงอับแสง ต่างล้วนโคจรลอยล่องอยู่บนท้องฟ้าอันไร้ขอบเขต และนี่คือประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ The Big History ที่มีจุดเริ่มที่ the big bang แต่ยังไม่ทราบจุดจบ ยังไม่มีนักประวัติศาสตร์ใหญ่กล้าเรียกแนวคิดใหม่ในการศึกษาประวัติศาสตร์นี้เกินเลยออกไปให้เป็น great history, greater history, หรือ super great history เพราะยังมีอะไรที่มนุษย์ยังไม่รู้อีกมาก โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า: ก่อน the big bang นั้นเกิดอะไรขึ้น? แล้วพลันที่ระเบิดเป็น the big bang เสี้ยววินาทีจากนั้นเกิดเป็นเอกภพเดียว หรือมีอะไรมากกว่านั้น? วิมล ศิริไพบูลย์ นักวรรณกรรมไทย นามปากกา “ทมยันตี” มองจักรวาลเป็นสองภพ เรียกว่า “ทวิภพ” ขณะที่นักดาราศาสตร์ในโลกปัจจุบันก็เริ่มถกเถียงกันเรื่อง “parallel universe” หรือ”เอกภพคู่ขนาน” และ “multiverse” หรือ “พหุภพ” ดังนั้น Big History ก็คงยังต้องเรียกว่า “ประวัติศาสตร์ใหญ่” ธรรมดาๆต่อไป เรียกแบบระมัดระวังไว้ก่อน ยังไม่ถึงขนาดเป็น “มหาประวัติศาสตร์” หรือ “อภิมหาประวัติศาสตร์” ยังมีอะไรที่มนุษย์ยังไม่รู้อีกมาก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของตัวมนุษย์เอง. ก่อนโลก หลัง The Big Bang อันเป็นปรากฏการณ์มหากัมปนาท สารพันมวลสารกระจายว่อนพวยพุ่งร้อนระอุในเอกภพที่เป็นผลจากอภิมหาศาลแห่งพลังเมื่อ 15,000 ล้านปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) ชื่อ Philippe Bouysse ได้เขียนอธิบายในเอกสาร “Explaining...The Earth” (UNESCO Publishing 2007) ว่ากระบวนการระเบิดของ The Big Bang นั้นเป็นแบบฉับพลัน แล้วแผ่กะจายออกไปเป็นเสมือนคลื่นอันทรงพลังร้อนระอุมหาศาลรอบทิศทาง เรียกกระบวนการนี้ว่า deflagration จุดที่เกิดระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang นั้นถือว่าเป็นจุดกำเนิดของกาลเวลา หรือ “the biginning of time” นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มนับวันเวลาจากวินาทีแรกของอายุเอกภพ จับเวลาเอกภพเรื่อยมาจนปัจจุบัน เป็นประวัติศาสตร์แห่งกาลเวลา นับได้ 1 หมื่น 5 พันล้านปี มีความเห็นของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์บางกลุ่มที่คิดว่าอายุเอกภพอาจมากหรือน้อยกว่านี้ อาจเป็น 1 หมื่นล้านปี หรือ 2 หมื่นล้านปีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่รับตัวเลข 15,000 ล้านปีเป็นสากล. พลังระเบิดจาก The Big Bang แปรเป็นก๊าซ และมวลสารพุ่งกระจัดกระจายไปทั่ว จากนั้นก็ค่อยๆเกาะตัวรวมกันเป็นกลุ่มก้อนตามแรงดึงดูดต่อกันและกัน ก่อร่างสร้างวงเวียนแห่งพลังงานเมฆหมอกไอร้อนและฝุ่นละอองอวกาศกลายเป็นสะเก็ดดาวประกายดาวอันมีแสงและพลังงานในตัวเองในอาณาจักรแห่งดวงดาวของกลุ่มพวกตัวเองเรียกว่า Galaxy (แกแล็กซี่) หรือเรียกในภาษาไทยว่า “ดาราจักร” ประมาณการว่าในเอกภพมีประมาณ 200,000 ล้าน (2 แสนล้าน) แกแล็กซี่ และในแต่แกแล็กซี่มีดาวฤกษ์ประมาณ 200,000 ล้าน (2 แสนล้าน) ดวง บรรดาเหล่าแกแล็กซี่ทั้งหลายต่างก็เคลื่อนที่โยกย้ายขยายตัวออกห่างจากกันไปเรื่อยๆอย่างไม่มีจุดจบ. หนึ่งใน 2 แสนล้านแกแล็กซี่ในเอกภพของเรานี้ก็คือ The Milky Way Galaxy แปลว่า “แกแล็กซี่สายน้ำนม” คำว่า “galaxy” มาจากคำว่า “gala” ในภาษากรีก แปลว่า “milk” หรือ “นม” ทั้งนี้ก็ด้วยคนกรีกโบราณมองแกแล็กซี่ที่โลกมนุษย์อยู่ดูคล้ายกับสายน้ำสีขาวขุ่นเหมือนสายน้ำหรือแม่น้ำแห่งน้ำนมบนท้องฟ้า คนไทยผู้สังเกตุท้องฟ้าแต่โบราณมองเห็นแกแล็กซี่สายน้ำนมเป็นเส้นทางเดินของช้างเผือก จึงเรียกว่าแกแล็กซี่ “ทางช้างเผือก” หากอยู่ในเมืองที่มีแสงไฟฟ้าสว่างจ้ารบกวนท้องฟ้ายามค่ำมืด คนในเมืองจะไม่มีโอกาสมองเห็นทางช้างเผือกหรือสายน้ำนมนี้เลย ทว่าท้องฟ้าต่างจังหวัดในถิ่นไกลเมือง ในป่าเขา ในทะเล เราจะยังสามารถมองเห็นแกแล็กซี่ทางช้างเผือกนี้ได้ชัดเจน หรือบางแห่งอาจพอมองเห็นแบบลางๆพอจับภาพเส้นทางสายน้ำนมหรือช้างเผือกนี้ได้ อันที่จริงทางช้างเผือกที่เห็นบนท้องฟ้าที่พาดผ่านแนวเหนือ-ใต้ บนฟ้าประเทศไทยนั้นมิใช่ทั้งหมดของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก หากแต่เป็นเพียงปลายขอบรอบนอกของแกแล็กซี่เท่านั้น แกแล็กซี่นั้นมีขนาดไพศาลมากเกินกว่าจะอธิบายให้เห็นภาพได้ เว้นแต่จะไปหาดูภาพที่สร้างขึ้นใหม่จากข้อมูลผ่านกล้องดูดาวอวกาศต่างๆขององค์การ NASA ของสหรัฐอเมริกา (NASA - National Aeronautics and Space Administration) จากภาพทางช้างเผือก หรือ The Milky Way ของ NASA (https://www.nasa.gov/mission_pages/GLAST/science/milky_way_galaxy.html) (https://www.nasa.gov/images/content/188404main_hurt_Milky_Way_2005-590_lg.jpg) ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะอันมีโลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรอยู่รอบด้วยนั้น วางตัวอยู่ปลายริมขอบรอบนอกสุดของเส้นเกลียวสายน้ำนมแห่งแกแล็กซี่เท่านั้น (นิตยสาร Astronomy ผลิตภาพ The Milky Way ชัดเจนเข้าใจง่ายอีกภาพหนึ่งที่ https://www.myscienceshop.com/product/poster/81107). ในเมื่อดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาว 1 ใน 1-2 แสนล้านดวงในแกแล็กซี่ The Milky Way และมีดาวเคราะห์โลกในระบบสุริยะอยู่ดวงเดียวที่มีมนุษย์อยู่อาศัยสร้างอาณาจักรชีวิตได้ และดวงอาทิตย์ก็อยู่ปลายขอบของแกแล็กซี่ มนุษย์จึงไม่มีโอกาสมองเห็นอะไรไปได้ไกลกว่าท้องฟ้าที่ตาเห็นตรงปลายขอบแกแล็กซี่ของตนอาศัยอยู่เท่านั้น. ที่ว่ามีดวงดาวประมาณ 2 แสนล้านดวงในหนึ่งแกแล็กซี่นั้น Isaac Asimov กล่าวไว้ในหนังสือ Guide to Earth and Space (1991) ว่า หากดูด้วยตาเปล่า อย่างมากมนุษย์ก็เห็นดาวบนท้องฟ้าได้เพียงประมาณ 6,000 ดวงเท่านั้น. มนุษย์จึงไม่มีวันมองเห็นชีวิตอื่นบนดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะของดาวฤกษ์ดวงอื่นบนท้องฟ้า. มนุษย์เห็นเพียงตัวเองเท่านั้น! กำเนิดระบบสุริยะ กำเนิดโลก ตามนิยามของนักดาราศาสตร์ ดวงอาทิตย์อันเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของ(โลกมนุษย์)เรา จัดเป็นดาวแคระแสงอ่อนสีเหลือง (yellow dwarf) เป็นดาวฤกษ์ หรือดาวที่มีแสงและพลังงานในตัวเอง เป็นเสมือนลูกไฟในอวกาศ แต่ไม่ถึงขนาดจะเป็น “ลูกไฟดวงใหญ่” เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ดวงอื่นๆมากมายนับแสนล้านดวงบนท้องฟ้าแห่งดาราจักรทางช้างเผือก หรือ The Milky Way Galaxy เมื่อเกิดระเบิดมหากัมปนาท The Big Bang ก่อกำเนิดดาราจักรมากมายในเอกภพที่ขยายตัวออกไปเรื่อยๆแล้ว เหล่าเมฆหมอกก๊าซและละอองดาวทั้งมวลก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนสถานะ เกาะกลุ่มหลอมหดบีบอัดตัวกันด้วยแรงดึงดูดสู่ใจกลางของมวลสารแต่ละหน่วยและแรงดึงดูดระหว่างกัน ใช้เวลาประมาณ 10,000 (1 หมื่น) ล้านปี อัดแน่นเข้าจุดศูนย์กลางของมวลละอองดาวที่ทรงพลังกว่า ก่อกำเนิดเป็นดวงดาวฤกษ์ (star) ดวงอาทิตย์ของเราก็เกิดขึ้นและกลายเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะเมื่อประมาณ 4.55 พันล้านปีที่แล้ว ซึ่งก็หมายถึงอายุของระบบสุริยะและอายุของดวงอาทิตย์ของเรา [ยึดตัวเลขจากหนังสือ “Explaining the Earth...” (2007) ของ UNESCO บางตำราอาจกำหนดตัวเลขกระชับสั้นเป็น 4.5 พันล้าน ถือเป็นตัวเลขแบบคร่าวๆได้จากการคำนวณทางดาราศาสตร์] เมื่อได้ดวงอาทิตย์เป็นดวงดาวศูนย์กลางส่งพลังงาน ก่อกำเนิดลูกไฟดวงเล็กเป็นดาวบริวารถูกดึงดูดให้โคจรไปรอบๆดวงอาทิตย์ ดาวบริวารเหล่านั้นหดตัวเย็นลงและอับแสงลง แม้ยังคงหลงเหลือรูปแบบพลังงานที่เป็นผลพวงมาแต่แรกกำเนิด ทั้งหมดกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีคุณสมบัติต่างๆกัน ที่โคจรวงในใกล้ดวงอาทิตย์ก็ร้อนระอุเป็นก้อนไอร้อนของมวลก๊าซ ที่ห่างออกไปจากดวงอาทิตย์ก็ค่อยเย็นลง ไกลมากๆก็เป็นมวลเมฆหมอกเย็นยะเยือก ดาวเคราะห์ทั้งหมดนับได้ 8 ดวง จากวงโคจรรอบในสุดไปนอกสุดคือ: พุธ (Mercury), ศุกร์ (Venus), โลก (Earth), อังคาร (Mars), พฤหัส (Jupiter), เสาร์ (Saturn), มฤตยู (Uranus), และ เกตุ (Neptune) สำหรับดาวเคราะห์ยม (Pluto) ได้ถูกจัดใหม่ลดสถานะภาพลงมาจากที่เคยเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 กลายมาเป็น “ดาวแคระ” (dwarf planet) ดาวเคราะห์โลกอยู่ในวงโคจรที่ 3 จากดวงอาทิตย์ พลังงานความร้อนเป็นพลังงานนิวเคลียร์อันมหาศาลและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่งมาถึงดาวเคราะห์โลกได้ระยะและจังหวะที่เหมาะสม จะด้วยเหตุบังเอิญหรือถูกกำหนดโดยกฎแห่งฟิสิกส์ดาราศาสตร์และชีวฟิสิกส์อย่างไรก็ตาม ระยะห่างของโลกจากดวงอาทิตย์กลายเป็นเงื่อนไขอันเหมาะสมแห่งการเกิดของชีวิตบนดาวเคราะ์โลกได้ เรียกสภาวะพร้อมบริบูรณ์สำหรับวิวัฒนาการชีวิต ณ วงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ในระยะห่างพอดีนี้ว่า “goldilocks condition” ตามหลักการที่เรียกว่า “Goldilocks Principle” หรือ “Goldilocks Theory” ตั้งชื่อตามนิทานโบราณสำหรับเด็กฝรั่งเรื่อง “Goldilocks and the Three Bears” ซึ่งเด็กหญิงชื่อ Goldilocks ในเรื่องพบว่าอาหารข้าวบดแบบโจ๊ก เรียกว่า porridge ของหมีสามตัว ที่เธอลองชิมดูนั้นมีถ้วยหนึ่งที่เธอชอบเห็นว่าเหมาะสมที่สุดเพราะไม่ร้อนไม่เย็นจนเกินไป จากเรื่องนิทานสำหรับเด็กยุคเก่าก่อน ถูกนำมาอธิบายทางสายกลาง หรือระยะห่างอันเหมาะเจาะของวงโคจรโลก ไม่ร้อนไม่เย็นจนเกินไป เป็นเงื่อนไขอันเอื้อต่อวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์โลก กลายเป็นทฤษฎี “Goldilocks Theory” ระบบสุริยะของเราจึงสามารถให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ก็เฉพาะบนดาวเคราะห์โลกเท่านั้น ที่ว่าดาวเคราะห์โลกเท่านั้นที่วิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์ ได้นั้น หมายถึงเพียงเท่าที่มนุษย์พอรู้เฉพาะในระบบสุริยะเดียวที่ดาวเคราะห์โลกเป็นดาวบริวารอยู่ในแกแล็กซี่ทางช้างเผือกเท่านั้น ส่วนในระบบสุริยะอื่นในแกแล็กซี่เดียวกัน และในระบบสุริยะอื่นในแกแล็กซี่อื่นในเอกภพเดียวที่มนุษย์รู้จักนั้น มนุษย์ยังไม่มีความรู้แท้จริง เวลาของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์โลกเพิ่งผ่านมาเพียง 4.55 พันล้านปีเท่านั้น และมนุษย์เองก็เกิดมามีชีวิตเป็นตัวตนทีหลังดิน หิน พืช และสัตว์ มากมายนัก จึงยังไม่มีความรู้พอที่จะปฏิเสธหรือยืนยันชีวิตต่างดาวได้ กำเนิดโลกแล้ว เกิดอะไรบนโลก? ประวัติศาสตร์โลก หรือ ประวัติศาสตร์มนุษย์? โลกถือกำเนิดขึ้นในวงโคจรของระบบสุริยะวงที่สามนับออกมาจากดวงอาทิตย์ เมื่อ 4.55 พันล้านปีที่แล้ว [Fred Spier ผู้สอนวิชา Big History ที่ University of Amsterdam และ Eindhoven University of Technology เขียนตำรา “Big History and the Future of Humanity” (2010, 2011) ใช้ตัวเลข 4.5 พันล้านปี ย่อสั้นเพื่อความสะดวก] กาลเวลาผ่านไปจนปัจจุบันมนุษย์พอมีคำตอบบ้างแล้วว่าได้เกิดอะไรขึ้นบนโลกที่เริ่มต้นเป็นดาวเคราะห์โลกที่ไร้ชีวิตบ้าง การหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นบนโลกหรือในโลก ก็คือการศึกษา“ประวัติศาสตร์โลก” นั่นเอง และนี่คือปัญหาอันซับซ้อนของนักประวัติศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงที่จะค้นหาคำตอบที่ควรจะต้องสืบสาวราวเรื่องประวัติโลกย้อนรอยถอยหลังไปให้ถึงจุดกำเนิดแรกของ “ประวัติศาสตร์ใหญ่” หรือ Big History อย่างแท้จริง ดังนั้นตำราประวัติศาสตร์โลกที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษโดยนักวิชาการตะวันตกว่า “World History” หรือ “History of the World” นั้นจึงมักจะเป็นประวัติศาสตร์ของโลกที่มีมนุษย์เกิดและอยู่มาแล้ว เป็น “Human History”, “History of Mankind” หรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ไม่มีแม้กระทั่งประวัติศาสตร์ของธรรมชาติ ดิน หิน พืช และสัตว์ แถมจะลำเอียงไปทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในซีกโลกตะวันตก เป็นประวัติศาสตร์คนฝรั่งมากกว่าคนเอเชีย อัฟริกา หรือชนชาติอื่น ตำราประวัติศาสตร์ส่วนมาก หรือเกือบทั้งหมดละเว้นที่จะเอ่ยถึงเรื่องเอกภพ แกแล็กซี่ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ และโลกครั้งที่ยังไม่วิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ ปล่อยให้การอธิบายจักรวาล เอกภพ อวกาศ และดวงดาวต่างๆเป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ นักวิชาการแต่ละสาขาต่างฝ่ายต่างศึกษาแยกทางกันหาความรู้โดยขาดการเชื่อมโยงกัน ทำให้มนุษย์ พืช สัตว์ ดิน หิน และดวงดาวไม่ได้ร่วมเส้นทางประวัติศาสตร์ใหญ่ด้วยกัน ความเข้าใจชีวิตและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์จึงบกพร่อง ตื้นเขิน และขาดจิตสำนึกในที่มาแห่งชีวิตตนอันแท้จริง หนังสือ “History of the World” โดย J.M. Roberts (1976-1995) เริ่มต้นในบทนำก็ออกตัวทันที โดยอ้างนักประวัติศาสตร์ชาวสวิสที่เคยกล่าวไว้ว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่สามารถจะเริ่มต้น ณ จุดเริ่มต้นได้ ว่าแล้ว Roberts ก็ย้ำเสริมว่าประวัติศาสตร์โลกของเขาคือเรื่องราวของมนุษย์ มนุษย์ทำอะไรกันไว้ ทุกข์สุขอย่างไรบ้าง ประวัติศาสตร์หมาแมวนั้นไม่มี ต่อให้มีการบันทึกประวัติศาสตร์ภูมิอากาศก็ล้วนแล้วแต่จะเป็นการบันทึกเรื่องที่เกี่ยวข้องส่งอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น “The World, A History” (2011) โดย Felipe Ferna’ndez-Armesto เริ่มบทแรกประวัติศาสตร์โลกของเขาย้อนกลับไป 5-7 ล้านปีโดยบอกว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากลิงชิมแปนซี แล้วข้ามมาเริ่มอธิบายจริงจังเรื่องมนุษย์ที่เริ่มรู้จักใช้มือและเครื่องมือ (Homo habilis) เมื่อ 2.5 ล้านปีที่แล้ว ตำราประวัติศาสตร์โลกเล่มนี้ไม่สนใจอธิบายที่มาของโลกก่อนมีมนุษย์เลย หนังสือประวัติศาสตร์อันเป็นงานระดับคุณภาพอมตะยุคแรกๆ หรือที่เรียกว่าเป็นงาน classic ในปี 1921 ของ Hendrik Willem Van Loon เรื่อง The Story of Mankind ตั้งชื่อตรงๆ แล้วย้ำว่าประวัติศาสตร์ของมนุษย์เท่านั้นที่มีความสำคัญและเล่าได้ ในบทที่ 1: The Setting of the Stage เป็นฉากแรกของประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่มีอยู่แล้วบนโลก ไม่ใช่แม้กระทั่งจะเป็นประวัติศาสตร์โลกที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เป็นส่วนหนึ่ง Van Loon เริ่มต้นย่อหน้าแรกดังนี้: “THE SETTING OF THE STAGE” "เปิดฉากแรก “We live under the shadow of a gigantic question mark. ที่เราอยู่กันมาทุกวันนี้ก็อยู่ภายใต้เครื่องหมายคำถามอันเป็นความกังขาต่อคำถามใหญ่แบบอภิมหาศาล Who are we? เราคือใคร? Where do we come from? เรามาจากไหน? Whither are we bound? แล้วเราจะไปไหน? Slowly, but with persistent courage, we have been pushing this question mark further and further towards the distant line, beyond the horizon, where we hope to find our answer. ด้วยความมุ่งมั่นหาญกล้า เราค่อยๆเดินหน้าค้าหาคำตอบตั้งคำถามต่อไปอีก ต่อๆไปอย่างช้าๆ และไกลออกไป, ไกลสุดคณา, ไกลเกินขอบฟ้า, ณ ที่เลยขอบฟ้าไปนั้นเราหวังจะได้คำตอบ. We have not gone very far. ทว่าเราก็ยังไปไม่ไกลถึงไหนนัก. We still know very little but we have reached the point where (with a fair degree of accuracy) we can guess at many things. In this chapter I shall tell you how (according to our best belief) the stage was set for the first appearance of man.” เรายังรู้น้อยเหลือเกิน แต่เราก็มาถึงจุดที่เราสามรถเดาได้ด้วยอัตราความใก้เคียงความถูกต้องพอสมควรเกี่ยวกับหลายๆเรื่อง. ในบทนี้ผมจะอธิบายให้ท่านทราบได้ถึงสภาวการณ์ตอนที่มนุษย์ปรากฏตัวขึ้นเป็นครั้งแรก อย่างน้อยก็เป็นการอธิบายตามความเชื่อที่ดีที่สุดของเรา." ประวัติศาสตร์โลกของ Van Loon เป็นความพยายามคาดเดาเรื่องที่มาที่ไปของมนุษย์เท่าที่จะพอเดากันได้ และสารภาพว่ายังไม่มีความรู้จริงเกี่ยวกับมนุษย์มากมายนัก ยังจำจะต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป ประวัติศาสตร์โลกของ Van Loon จึงทำได้แค่เริ่มต้นที่มนุษย์ปรากฏตัวขึ้นเท่านั้น ก่อนหน้านั้นจะอย่างไรก็ไม่สนใจ. ตำราประวัติศาสตร์โลก มาตรฐาน Cambridge University การศึกษาประวัติศาสตร์โลกตามแบบแผนประเพณีดั้งเดิมในวงการวิชาการสากล โดยทั่วไปจะอ้างอิงนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตก นักเรียนนักศึกษาจากโลกตะวันออกนั้น เมื่อจะศึกษาประวัติศาสตร์โลกก็จะศึกษาจากตำราประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ยุโรปและอเมริกา ศึกษาจากตำราภาษาอังกฤษ หรือเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวตะวันตกในสถาบันการศึกษาในยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกเองก็ศึกษาต่อเนื่องมาจากนักประวัติศาสตร์ยุคก่อนๆของตนเช่นกัน วิเคราะห์ที่เนื้อหาก็จะอยู่ในกรอบช่วงเวลาต่างๆของประวัติศาสตร์ว่าด้วยพัฒนาการความเจริญของมนุษยชาติ เป็นประวัติศาสตร์ที่เริ่มจากกำเนิดของมนุษย์แต่โบราณนั่นเอง. มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge University) ของอังกฤษ จัดได้ว่าเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์โลกไว้เป็นแบบอย่างมาตรฐานที่นักวิชาการทั่วโลกยึดถือและยกย่อง ตั้งแต่แรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1209 นับอายุถึงปี 2019 นี้ ได้ 810 ปี เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับสองของโลก ที่ประชากรพูดภาษาอังกฤษ (มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด-Oxford University เริ่มเปิดสอนปี 1096 มีอายุเก่าแก่ที่สุดอันดับหนึ่งของโลก) การศึกษาและเขียนตำราประวัติศาสตร์ของ Cambridge University กว้างขวางและหลากหลายมาก โดยแยกศึกษาเป็นช่วงเวลาและประเภทของประวัติศาสตร์ แต่ทั้งหมดรวมกันตามลำดับเวลาก็มิใช่การบูรณาการสหสาขาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นแบบ “Big History” หรือ “ประวัติศาสตร์ใหญ่” แต่อย่างใด หากแต่แยกเป็น:
วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์แบบแยกศึกษานี้แม้จะให้ความรู้แยกย่อยออกไปได้ละเอียดลึกซึ้งก็จริงอยู่ แต่ก็ยังขาดการทำความเข้าใจในเรื่องที่มาที่ไปของโลกอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ผู้เกิดมาทีหลังนานนักหนา เป็นประวัติศาสตร์ที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญแก่มนุษย์และความเจริญก้าวหน้าอันเป็นผลพวงของการคิดประดิษฐ์และพัฒนาของมนุษย์ ให้ความสำคัญกับพลังอำนาจและความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นในทางสร้างสรรค์หรือทำลาย เป็นประวัติศาสตร์ที่ติดตามศึกษาการก้าวไปข้างหน้าของมนุษย์บนโลกอย่างไม่มีจุดจบสิ้น เป็นประวัติศาสตร์ที่เราทุกคนยึดเป็นกรอบการศึกษากันแพร่หลายเป็นมาตรฐานสากลในทุกวันนี้ เป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ศึกษาอย่างบูรณรการจากจุดเริ่มถึงจุดจบของโลกและมนุษย์ อ่านประวัติศาสตร์แบบนี้ไปนานๆมนุษย์ก็จะหลงลืมตัวเอง นึกว่ามนุษย์เองเท่านั้นสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุด ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตใดๆ อ่านประวัติศาสตร์แบบนี้ไปเพลินๆ นานเข้ามนุษย์ก็จะไม่เห็นความไม่สำคัญของมนุษย์เอง. ตำราประวัติศาสตร์โลก แบบไทยๆ ที่ว่าเป็นตำราประวัติศาสตร์โลก “แบบไทยๆ” นั้น มีความหมายเชิงลบ เพราะใช้ไม้ยมก“ๆ”ตามหลัง ให้อ่านว่า “แบบไทย-ไทย” เป็นการลดทอนความหนักแน่นในการเป็น “ไทย” ลงไป เพราะหากนิยามเพียงว่า “แบบไทย” ก็จะมีความหมายหนักแน่น เป็นทางการ และเป็นมาตรฐานไทยชัดเจน การใช้คำซ้ำแถมเป็นสองพยางค์ในหลักการใช้ภาษาไทย ถือว่าเป็นการทำให้ความหมายอ่อนลง. ตำราประวัติศาสตร์โลกเขียนโดยคนไทยที่ถือว่าเป็นที่นิยมยกย่องเป็นตำรามาตรฐานใช้อ่านและอ้างอิงกันมาในวงการศึกษาของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สองคือหนังสือชุด “ประวัติศาสตร์สากล” โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ พิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2472 เป็นหนังสือชุดรวมทั้งหมด 12 เล่มจบ ต่อมาแก้ไขปรับปรุงจัดแบ่งเนื้อหาใหม่เป็นชุด 5 เล่ม (จะเรียกว่า volume/ภาค หรือ book/เล่ม หรือ part/ตอน ก็ได้ เพราะการแบ่งชัดเจนตามเนื้อหา ดังนี้:
“ประวัติศาสตร์สากล” เขียนตอนผู้เขียนอายุ 31 ปี เขียนจากการศึกษาค้นคว้าหนังสือและตำราต่างๆที่ท่านมีในครอบครองหรือหาอ่านค้นคว้าได้ ผนวกกับประสบการณ์ตรงในการเดินทาง ในหน้าที่การงาน การหาโอกาสพูดคุยสัมภาษณ์ผู้รู้ผู้อื่นทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ พร้อมด้วยความคิดอิสระมุ่งมั่นในอันที่จะสร้างตำราประวัติศาสตร์โลกที่มีความเป็นไทย ให้เกิดประโยชน์แก่คนไทยมากที่สุด ให้คนไทยเข้าใจโลกและตนเองมากที่สุด แต่กระนั้น พลตรี หลวงวิตรวาทการ ก็ออกตัวในคำนำ การพพิมพ์ครั้งที่ 1 ว่า: “แต่ถึงแม้ข้าพเจ้าไม่มีประกาศนียบัตรหรือดีกรีอันใดเลยก็ดี การที่ข้าพเจ้าคิดสร้างหนังสือชุดนี้ ก็มีท่านผู้ใหญ่เห็นพ้องอยู่ด้วยเป็นอันมาก ไม่มีใครเลยที่จะคัดค้าน หรือทักท้วงว่าไม่ควรทำ.... แต่การทำหนังสือชุดนี้ เป็นการล่อแหลมใกล้อันตรายเพียงใด ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกดีอยู่ เพราะหนังสือเรื่องนี้เป็นตำราและเป็นงานเป็นการอย่างจริงจัง ถ้าข้าพเจ้าทำไม่สำเร็จ หรือสำเร็จอย่างไม่ดี ก็จะเกิดผลร้ายยิ่งนัก.” (อ้างจากฉบับการพิมพ์ปี พ.ศ. 2547 โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุคส์) หนังสือชุดประวัติศาสตร์สากล โดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ นี้ มีชื่อเสียง เป็นที่นิยม เป็นตำราที่ห้องสมุดสำคัญทั้งหลายต้องมี ทั้งนี้ก็เป็นเพราะชื่อเสียง ชีวิต และงานของผู้เขียน ทำให้หนังสือมีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างสูง เป็นตำราประวัติศาสตร์โลกที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังค้นหาจุดยืนและสถานภาพของสยามหรือประเทศไทยในโลกที่เพิ่งผ่านพ้นวิกฤติสงครามครั้งใหญ่ล่าสุด ผสานกับความสับสนอลวนของกระบวนการชาตินิยมและอิทธิพลการศึกษาและปรัชญาการเมืองแบบตะวันตกในประทศไทย การศึกษาประวัติศาสตร์โลกเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของมนุษยชาติ และมองเห็นจุดยืนของประเทศไทยในสากลโลกจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นที่ตอบรับอย่างท่วมท้นในวงการการศึกษาของไทย การเขียนตำราประวัติศาสตร์โลก หรือ “ประวัติศาสตร์สากล” ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ สะท้อนความเป็นนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์แบบไทยๆในสมัยนั้น แต่ก็มีความเป็นตัวของตัวเองที่เลือกนำเสนอประวัติศาสตร์โลกในรูปแบบและเนื้อที่มากกว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติตามมาตรฐานตะวันตกทั่วไปในยุคนั้น แม้จะไม่ถึงกับจะเป็น “ประวัติศาสตร์ใหญ่” หรือ “Big History” แต่ก็มีร่องรอยแห่งความพยายามโดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เองอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตอนที่ท่านเขียน “ประวัติศาสตร์สากล” นั้น ท่านกำลังคำนึงถึงแนวคิดประวัติศาสตร์ใหญ่ อันเป็นแนวทางการศึกษาประวัติโลกแบบใหม่ที่เกิดเป็นทางการ มีตำราและหลักสูตรการศึกษาในต่างประเทศ ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์สากล” ของท่านหลายทศวรรษ. ประวัติศาสตร์ใหญ่ ใน“ประวัติศาสตร์สากล” โดย พล ตรี หลวงวิจิตรวาทการ ประวัติศาสตร์เกือบใหญ่ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เขียน “ประวัติศาสตร์สากล” ปี พ.ศ.2472 แม้จะเป็นตำราประวัติศาสตร์ที่เริ่มต้นตั้งแต่เกิดมีมนุษย์ขึ้นมาแล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ท่านก็มีความคิดว่าเราควรจะศึกษาประวัติศาสตร์ทั้งหมดตั้งแต่แรกเริ่มกำเนิดจักรวาล และดวงดาวต่าง แล้วจึงค่อยๆเกิดโลกที่มีมนุษย์เกิดตามมาทีหลัง ถ้าจะยกย่องชื่นชมท่านว่ามีความคิดกว้างแบบประวัติศาสตร์ใหญ่ก็อาจได้ ทั้งๆที่วิชาประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History ยังไม่เกิดอย่างเป็นทางการในสมัยนั้น ในบทแรก อันเป็นบทนำ ซึ่งเรียกว่า “ข้อความเบื้องต้น” ท่านอุทิศสามหน้า ในห้าหน้าแรก (จากทั้งหมด 47 หน้า) เล่าถึงจักรวาลกับความสำคัญในการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์สากล เฉพาะสองหน้าแรกนั้นท่านใช้เนื้อที่อธิบายแนวคิดเดิมว่าด้วยขอบเขตของวิชาประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมาแยกเป็นแนวคิดแบบประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ทิ้งเรื่องจักรวาลไป ข้อความเบื้องต้น หน้า 1 ท่านเริ่มต้นว่า: (ข้อความตามต้นฉบับทั้งสำนวนภาษาและการแบ่งวรรคตอน) “วิชาประวัติศาสตร์แต่เดิมมา มีขอบเขตกว้างขวางมาก ต้องเรียนตั้งแต่ความเป็นไปของจักรวาล ดวงดาวต่างๆ อาการที่โลกได้กำเนิดจากสะเก็ด แตกจากดวงอาทิตย์แล้วค่อยๆเย็นลง จนเป็นน้ำ เป็นแผ่นดิน สิ่งที่มีชีวิต เช่น พืชต่างๆ เริ่มเกิดขึ้น และสิ่งมีวิญญาณ เช่น สัตว์ ก็มีขึ้นมา สัตว์น้ำเกิดก่อนสัตว์บก ในชั้นแรกเป็นสัตว์อยู่กับที่เหมือนพืชใต้ทะเล ต่อมาเปลี่ยนสภาพเป็นสัตว์เลื้อยคลาน กลายเป็นปลาและเป็นสัตว์บก สัตว์เหล่านี้แปรสภาพไปต่างๆ ในชั่วเวลาหลายหมื่นปี จนกลายเป็นมนุษย์ ซึ่งเดิมก็มีสภาพใกล้สัตว์ แต่อาศัยที่มีมันสมองโตกว่าสัตว์ จึงมีความรู้ความคิด ความก้าวหน้า มีภาษาพูด มีผิวพรรณผิดแผกกัน แยกย้ายกันอยู่เป็นหมู่เหล่า กลายเป็นหลายเชื้อชาติ มีขนบประเพณีผิดแผกกัน แม้แต่รูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกัน มีความเจริญก้าวหน้าซึ่งค่อยๆเป็นมาทีละขั้น จากขั้นหนึ่งถึงขั้นหนึ่งต้องใช้เวลาหลายพันปี” พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ใช้คำว่า “จักรวาล” (cosmos) ซึ่งวงการวิชาการไทยใช้กันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แทนคำว่า “เอกภพ” (universe) ซึ่งเป็นคำใหม่ใช้กันในปัจจุบัน ที่จริงสองคำนี้มีความหมายต่างกัน และไม่มีคำไหนใหม่คำไหนเก่า เพียงแต่นักวิชาการไทยยังสับสนและใช้กันอย่างหละหลวมและผิดความหมาย ในเมื่อการศึกษาวิชาดาราศาสตร์ของไทยในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้าถึงขนาดจะตามความรู้ใหม่ๆจากโลกตะวันตกได้ทัน คำว่า “จักรวาล” จึงถูกใช้กันมาอย่างผิดๆแทนความหมายของคำว่า”เอกภพ”เรื่อยมา ว่าเฉพาะต้นย่อหน้าแรกก็จะเข้าใจในความตั้งใจดีและความคิดอันลุ่มลึกของท่านที่ย้ำก่อนจะเข้าไปอ่านหนังสือของท่านทั้งหมดว่าประวัติศาสตร์ใหญ่ที่เริ่มจากกำเนิดเอกภพ (ที่ท่านเรียกว่า”จักรวาล”) นั้นมีความสำคัญ ส่วนความผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริงในอรรถาธิบายของท่านเรื่องวิวัฒนาการสรรพชีวิตบนโลกนั้นก็อาจเป็นเพราะความรู้และความคิดเรื่องวิวัฒนาการเป็นเรื่องลึกซึ้งต้องใช้เวลาศึกษาค้นคว้ามากกว่าที่ท่านทำเพียงเพื่อจะเขียนบทนำในหนังสือที่ท่านเน้นประวัติศาสตร์มนุษยชาติมากกว่า และนอกจากนั้นความรู้ที่นักวิชาการตะวันตกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็ยังไม่มากเท่าปัจจุบันและข้อมูลต่างยุคต่างสมัยก็ย่อมต้องมีการปรับแก้ตามความรู้ใหม่ๆที่ได้เพิ่มมาเรื่อยๆจนวันนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านเขียนตำราประวัติศาสตร์แบบเขียนเอาตามความรู้ที่ค้นคว้ามาและเขียนตามคติของตนเอง โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาของความรู้ของท่าน โดยท่านเอามาจัดการเรียบเรียงใหม่แบบไร้การอ้างอิงแหล่งข้อมูลหรือตำราใดๆ ในเมื่อท่านมิใช่นักวิทยาศาสตร์ มิใช่นักฟิสิกส์ หรือนักดาราศาสตร์ การทำตัวเป็นนักประวัติศาสตร์ในวัย 31 ปีของท่านจึงขาดความสมบูรณ์ ขาดความน่าเชื่อถือให้อ้างอิงได้ในเชิงวิชาการ แต่รูปแบบความคิดโดยรวมของท่านที่พยายามเอ่ยถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ก่อนเกิดมนุษย์ให้ย้อนหลังไปถึงกำเนิดเอกภพนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้าไม่น้อย เพียงแค่อ่านย่อหน้าแรก. มนุษย์เป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์สากล เริ่มที่เรื่องราวของจักรวาลและดาว ต่อมาจนถึงเรื่องราวของมนุษย์กับอารยธรรม พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์แต่เดิมนั้นต้องศึกษากว้างขวางมาก เพราะต้องรวม:
ความเห็นเชิงวิเคราะห์โครงสร้างประวัติศาสตร์ของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการที่เขียนไว้ในหน้า 2 ของบทแรกว่าด้วยข้อความเบื้องต้นนี้มีข้อควรพิจารณาหลายประการ:
เป็นเรื่องของมนุษย์ เรื่องที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มีนุษย์เป็นสำคัญ ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของหิน, ดิน, พืช, สัตว์, และแมลง. ดาวยูเรนัสอยู่พระโขนง ด้วยเหตุของการเป็นผู้สนใจประวัติศาสตร์ในมุมมองที่กว้างไกล แม้ความรู้ที่เกินกรอบประเพณีของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์โลกในสมัยของท่านจะยังจำกัดอยู่มาก พลตรี หลวงวิจิตรวาทการได้ย้ำให้นักเรียนวิชาประวัติศาสตร์สนใจเรื่องที่เกิดก่อนโลกมนุษย์เอาไว้บ้างเล็กน้อย เพราะเป็นเรื่องที่จะปล่อยทิ้งไปเลยมิได้ ท่านบอกว่าตำราประวัติศาสตร์จำต้องกล่าวถึงเรื่องจักรวาล (หมายถึงเอกภพ) บ้างเล็กน้อย “โดยถือเป็นข้อความเบื้องต้นของวิชาประวัติศาสตร์” ดังนั้นแล้วท่านจึงอุทิศเนื้อที่ในหน้า 3-5 ให้กับการอธิบายเพียงเล็กน้อยเรื่อง”จักรวาล” อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อความเบื้องต้น ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลักว่าด้วย ประวัติศาสตร์สากล ของท่าน ข้อความทั้งหมดคัดลอกมาดังนี้: “จักรวาล จักรวาลกว้างไม่มีที่สิ้นสุด ความกว้างของจักรวาลเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหาวิธีวัดหรือกำหนดหมายว่าเป็นเนื้อที่เท่าใด เพราะไม่มีขอบเขต ไม่มีความสุดสิ้น และภายในจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ปรากฏแก่ตาเราเหมือนหนึ่งว่ามีอะไรอยู่เต็ม เพราะในเวลากลางคืนเราเห็นดาวเต็มฟ้า แต่ความจริงระยะทางในระหว่างดาวนั้น กว้างและไกลกันเหลือเกิน ที่ว่างระหว่างดาวดวงหนึ่งๆ เป็นที่ว่างจริงๆ, ว่างอย่างไม่มีอะไร, ว่างอย่างที่ไม่น่าเชื่อนัยน์ตาของเราเองเรามองดูด้วยตาเปล่าจากพื้นพิภพ จะไม่รู้สึกว่ามีที่ว่างถึงปานนั้น แต่กล้องที่ใช้ส่อง และเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ จะบอกให้เราทราบความว่างเปล่า และความห่างไกลอย่างน่าประหลาด เพียงแต่ภายในบริเวณใกล้เคียงกับโลกเรา ซึ่งเป็นเนื้อที่แม้แต่จะเขียนตัวเลขก็ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นจำนวนล้านๆของล้านไมล์ในบริเวณอันกว้างใหญ่เช่นนี้ นอกจากดวงอาทิตย์กับโลกของเราแล้ว ก็มีดาวอยู่เพียง 8 ดวง คือพระจันทร์, ดาวศุกร์, ดาวพุธ, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส, ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ระยะห่างจากโลกยังไม่ยุติกันแน่นอน แต่พอประมาณใกล้เคียงความจริงได้ดังนี้: ดวงจันทร์ ห่างจากโลกราว 240,000 ไมล์ ดาวศุกร์ 36,000,000 ไมล์ ดาวพุธ 67,000,000 ไมล์ ดาวอังคาร 141,000,000 ไมล์ ดาวพฤหัส 483,000,000 ไมล์ ดาวเสาร์ 886,000,000 ไมล์ ดาวยูเรนัส 1,782,000,000 ไมล์ ดาวเนปจูน 2,793,000,000 ไมล์ ดาวพลูโต 15 เท่าของเนปจูน นอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรอยู่ใกล้โลกอีกต่อไป มีดวงดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ต่อจากดาวพลูโตก็ห่างไกลออกไปอีกหลายพันเท่า จะเห็นได้ว่าที่ว่างของจักรวาลที่ล้อมรอบโลกนั้น มากเหลือที่จะคณนา เพื่อจะให้แลเห็นความว่าง และห่างไกล ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เราลองสมมติมาตราอย่างย่อที่สุด จะทำให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ลองย่อขนาดโลกของเราให้เล็กลงไปเท่าลูกหินที่เด็กเล่น แล้วเอาลูกหินนั้นไปวางตรงกลางลานเสาชิงช้า สมมติว่าโลกอยู่ตรงนั้น เราจะต้องย่อพระจันทร์ลงเท่าเม็ดถั่วเขียว วางอยู่ห่างจากลูกหินที่สมมติว่าเป็นโลก ห่างราว 70 เซ็นติเมตร ซึ่งจะวางอยู่บนแท่นเสาชิงช้านั่นเอง คราวนี้เราจะต้องทำดวงพระอาทิตย์ให้มีขนาดใหญ่ถึงสามเมตร ไปวางไว้ที่ศาลาเฉลิมกรุง มีดาวเพียงสองดวง ซึ่งอยู่ในระหว่างโลกกับพระอาทิตย์ คือดาวศุกร์และดาวพุธ เราต้องเอาดาวศุกร์วางไว้ราวกำแพงวัดสุทัศน์ ดาวพุธราวมุมถนนตีทอง นอกจากนั้นก็ไกลออกไป ดาวอังคารจะต้องอยู่ราวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ดาวพฤหัสอยู่สะพานยศเส ดาวเสาร์อยู่สี่แยกสระปทุม* ดาวยูเรนัสอยู่พระโขนง ดาวพลูโตอยู่ราวถนนตก ต่อไปจากนี้ก็ไม่มีที่จะวางอีกพื้นที่ทั่วโลกก็ไม่สามารถที่จะวางได้ รวมความว่าแม้จะใช้เนื้อที่ทั้งโลกก็ยังไม่พอที่จะทำแผนที่ของจักรวาล ซึ่งใช้มาตราส่วนอย่างย่อ ถึงกับให้โลกของเรามีขนาดเท่าลูกหินที่เด็กเล่นเท่านั้น มีผู้คิดทำจรวดยาน สำหรับจะไปสู่โลกพระจันทร์ ซึ่งเป็นทางใกล้ที่สุด ความเร็วของจรวดยานนั้นจะเร็วถึง 25,000 ไมล์ต่อชั่วโมง แปลว่าเดินทางระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ ได้ในเวลาเพียงหนึ่งนาทีครึ่ง ตามอัตราความเร็วนี้ จรวดยานสามารถจะถึงดวงจันทร์ได้ในชั่วเวลา 10 ชั่วโมง แต่ผู้คิดอธิบายว่า เมื่อไปถึงแล้วก็จะต้องวิ่งวนรอบดวงจันทร์อย่างน้อยสามรอบ เพื่อลดความเร็วของจรวดนั้นลง จนสามารถจะหยุดได้ ซึ่งไม่แน่ว่าจะต้องใช้เวลาอีกสักเท่าใด* การทำจรวดนี้ จะสำเร็จได้หรือไม่ เป็นเรื่องนอกวิชาประวัติศาสตร์ แต่ถ้าเรายอมสมมติว่าคิดสำเร็จ และจรวดนี้สามารถเดินทางระหว่างโลกกับพระจันทร์ได้ในเวลา 10 ชั่วโมงแล้ว ก็จะช่วยให้เราคำนวณระยะของดวงดาวอื่นๆให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ ถ้าใช้จรวดนั้นไป จะต้องใช้เวลา ปี เดือน วัน ดาวศุกร์ - 2 - ดาวพุธ - 3 21 ดาวอังคาร - 7 25 ดาวพฤหัส 2 2 5 ดาวเสาร์ 4 - 16 ดาวยูเรนัส 8 1 20 ดาวเนปจูน 12 9 5 ดาวพลูโต 174 - - และถ้าจะไปสู่ดาวอีกดวงหนึ่งต่อจากดาวพลูโต ไปยังดวงดาวที่ใกล้ที่สุด จรวดนั้นจะต้องวิ่งไปถึงล้านปีจึงจะถึง การเดินทางที่กล่าวข้างต้นนี้ ไม่สามารถจะเป็นไปได้ แต่ได้ทำตัวเลขไว้ เพื่อให้เห็นว่าจักรวาลมีความกว้างใหญ่ไพศาลเพียงไร และเมื่อพิจารณาดูอย่างนี้ ก็จะเห็นได้ว่าโลกที่เรากำลังอยู่นี้ เป็นของเล็กนิดเดียว การเรียนความเป็นไปของโลก ซึ่งเรียกว่าเรียนประวัติศาสตร์นั้น ควรจะเป็นเรื่องเล็กน้อย ผู้ศึกษาไม่น่าจะเกิดความท้อถอย เห็นเป็นเรื่องใหญ่โตอะไรเลย” ________________________________________________________________________________________________________________________ หมายเหตุของสำนักพิมพ์บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ ในการพิมพ์ปี พ.ศ.2547
ปัญหาใหญ่ของหลวงวิจิตรฯ ความพยายามของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ในการอธิบายจักรวาล ในฐานะข้อความเบื้องต้น หรือบทนำ ของตำรา “ประวัติศาสตร์สากล” ของท่าน แม้จะทำสั้นเพียง 3 หน้า (หรือจะนับอีก 2 หน้าแรกที่กล่าวนำมาก่อนแต่ต้นด้วยก็ได้) แต่ก็สร้างปัญหาสำคัญให้ต้องบันทึกเป็นข้อวิพากษ์หลายประการ: เรื่องสำคัญเหนืออื่นใด เรื่องแรก คือรูปแบบการเขียนตำราแบบไม่มีเอกสารอ้างอิง ไม่มีบรรณานุกรม (bibliography) หรือรายชื่อหนังสืออ้างอิง ไม่มีเชิงอรรถ หรือ footnote รวมทั้งไม่มีดัชนี (index) ค้นเรื่อง ทั้งหมดรวมกันส่งผลให้หนังสือชุดประวัติศาสตร์สากลของท่านขาดความน่าเชื่อถือ ขาดความเป็นวิชาการเป็นทางการ หากจะนำไปอ้างอิงต่อก็จะไม่ควรทำ หรือหากจะทำก็ต้องทุ่มเทความเชื่อถือในตัวพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ (2441-2505) ในฐานะผู้เขียนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ เป็นที่เคารพยกย่องในสังคมไทยสมัยนั้น ท่านเคยเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำหลายประเทศ เคยเป็นอธิบดีกรมศิลปากร, ปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการคลัง, และ กระทรวงเศรษฐการ เป็นผู้แต่งเพลงต้นตระกูลไทย และ ตื่นเถิดชาวไทย ทว่าท่านมิได้เคยรับการศึกษาอบรมวิชาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ หรือ ดาราศาสตร์ อย่างเป็นทางการจากที่ใด พื้นเพการศึกษาของท่านคือการเรียนวิชานักธรรม และมีความรู้ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ท่านจึงสามารถเติบโตในระบบราชการและการเมืองได้สูงยิ่ง เมื่อท่านมาเขียนหนังสือชุดประวัติศาสตร์สากล ก็ทำให้คนไทยสมัยของท่านชื่นชมมากจนไม่มีใครกล้าวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงวิชาการ แถมยกย่องเชิดชูกันมาจนทุกวันนี้ หากนักวิชาการ โดยเฉพาะนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ได้อ่านชุดประวัติศาสตร์สากลของท่านแล้ว เรื่องวิกฤติเรื่องแรกก็ควรจะเป็นวิธีการเขียนตำราวิชาการของท่านที่คิดเอง-ค้นคว้าเอง-เขียนเอง ตามใจชอบ โดยไม่บอกแหล่งที่มาของความรู้ของท่านว่าไปอ่านและเอามาจากที่ใด ตรงไหนอ้างอิงโดยตรง ตรงไหนอ้างอิงโดยอ้อม ตรงไหนลอกเลียนดัดแปลง งานวิชาการของนักประวัติศาสตร์คนใดในโลกที่ท่านอ่านหนังสือของเขาแล้วนำมาใช้ประโยชน์ในหนังสือของท่าน ปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ในวงการวิชาการโลกตะวันตก เป็นเรื่องการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมและประเพณีของนักวิชาการและนักวิจัยในโลกซึ่งยึดถือปฏบัติกันมานานนับร้อยปีก่อนช่วงชีวิตของท่าน เรื่องไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญานี้ทำกันแพร่หลายในวงการนักคิด นักเขียน นักแปล และนักวิชาการไทยในสมัยที่ประชาคมระหว่างประเทศยังไม่เคร่งครัดในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งก่อนหน้าและหลังการลงนามในอนุสัญญาเบิร์น (Berne Convention, 1886) นอกจากเป็นการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว การเขียนตำราวิชาการ หรือการเขียนหนังสือโดยทั่วไปที่ไม่บอกแหล่งอ้างอิงข้อมูลความรู้จะยังทำให้การตรวจสอบความจริง-ถูก-ผิด ทำไม่ได้ แม้จะให้ผู้อ่านเชื่อถือผู้เขียนด้วยความเคารพในชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นส่วนตัวก็ไม่ควร เพราะหนังสือเช่นนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงและตรวจสอบในทางวิชการได้ เมื่อพลตรีหลวงวิจิตรวาทการไม่ทำเชิงอรรถ หรือ footnote หรือ endnote เขียนตำราแบบไม่อ้างอิงใครเลย ความรับผิดชอบทั้งหมดในเรื่องความถูกต้องและการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาจึงตกเป็นความรับผิดชอบของท่าน. นอกจากจะไม่มีการอ้างอิงที่มาหรือแหล่งข้อมูลความรู้แล้ว หนังสือชุด “ประวัติศาสตร์สากล” ยังถือวิสาสะสำเนาคัดลอกภาพประกอบต่างๆมาจากหนังสืออื่นๆโดยไม่บอกที่มาอีกด้วย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เพียงแต่รับในคำนำ(หน้า 15) ว่า “ตำราที่ข้าพเจ้ามี ก็เป็นตำราที่แพร่หลาย ซึ่งใครๆก็อาจมีได้ ภาพต่างๆที่ได้พิมพ์ไว้ในหนังสือชุดนี้ ได้ถ่ายมาจากหนังสืออื่นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้ที่คุ้นเคยแก่การพิมพ์รูปย่อมทราบดีว่า จะหวังให้งดงามเหมือนที่ถ่ายจากรูปจริงๆไม่ได้” (หน้า 15) ตรงนี้ท่านขออภัยผู้อ่านที่ภาพถ่ายประกอบไม่ชัดเจน แต่ไม่บอกผู้อ่านว่าได้รับอนุญาติจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพหรือไม่. ส่วนเรื่องไม่มีดัชนีค้นเรื่องตอนท้ายเล่มเป็นเรื่องของความไม่สะดวกในการค้นเรื่องเพื่อเลือกอ่าน ซึ่งการทำดัชนีค้นเรื่องเป็นมาตรฐานของสำนักพิมพ์ทั่วโลกที่จะต้องทำเสมอ แต่สำนักพิมพ์ในประเทศไทยมักจะละเลยไม่ทำกันเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่ายุคใดสมัยไหน แม้ทุกวันนี้ก็ไม่คิดจะทำกัน ในคำนำการพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2472 พลตรี หลวงวิจิตรวาทการกล่าวออกตัวว่า “ข้าพเจ้ามิใช่นักเรียนมหาวิทยาลัย ไม่มีประกาศนียบัตรหรือดีกรีอันใดเป็นเครื่องแสดงภูมิรู้ ความรู้ที่มีอยู่ก็หาได้ตามประสายาก กล่าวคือ โดยอ่านตำรา และใช้ความสังเกตพิจารณาด้วยตนเอง เช่นเมื่ออยู่ในประเทศฝรั่งเศส ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาวันเสาร์อาทิตย์ ไปดูสถานที่ ถาวรวัตถุ และรูปภาพในที่ต่างๆ...เพื่อให้เห็นหลักฐานประจักษ์แก่ตาตนเอง...แล้วกลับมาอ่านหนังสือซ้ำให้ได้รับความเข้าใจอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังได้หาโอกาสเสวนะกับผู้ที่เชี่ยวชาญในทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ๆ และไต่ถามปัญหาบางข้อที่ยังรู้สึกว่าคลุมเครือ” (หน้า 12)....แต่การทำหนังสือชุดนี้ เป็นการล่อแหลมใกล้อันตรายเพียงใด ข้าพเจ้าเองก็รู้สึกดีอยู่....แต่การผิดพลาดบกพร่อง ย่อมมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน....ถึงแม้ข้าพเจ้าจะได้ใช้ความรอบคอบพินิจพิเคราะห์ตรวจตราอย่างละเอียดจนเชื่อว่าไม่ผิดแล้วก็ดี แต่ความพลาดพลั้งก็คงไปมีเข้าบ้างตามโลกาวิสัย” เฉพาะ 5 หน้าแรกของบทว่าด้วย “ข้อความเบื้องต้น” อ่านแล้วพบข้อผิดและพลาดพลั้งอยู่อีกหลายข้อ...ตามโลกาวิสัย! เอกภพ คือ จักรวาล ของหลวงวิจิตรฯ การเขียนตำราประวัติศาสตร์สากลของหลวงวิจิตรวาทการนั้นเป็นการเขียนงานวิชาการแบบไม่มีการอ้างอิงแหล่งความรู้ที่หามาเขียน ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการเขียนตำราวิชาการแบบไม่เป็นวิชาการก็ได้ กระนั้นก็ตามงานของท่านก็สมควรได้รับการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ เพราะเป็นงานสำคัญที่นักเรียนไทยนิยมใช้อ้างอิงกันมาแต่แรกเริ่ม แม้ปัจจุบันก็ยังมีการพิมพ์เผยแพร่และจำหน่ายอยู่อย่างต่อเนื่อง ว่าด้วยเรื่องเนื้อหาเฉพาะที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือที่นักวิชาการตะวันตกในเวลานี้เรียกว่า Big History นั้นถือได้ว่าเนื้อหาความคิดและสาระในประวัติศาสตร์สากลของหลวงวิจิตรฯก้าวหน้าก่อนการเกิดของคำว่า Big History ด้วยซ้ำไป แม้กระทั่งวันนี้ ณ ปลายปี พ.ศ.2561 วิธีคิดแบบประวัติศาสตร์ใหญ่ในหมู่นักประวัติศาสตร์ของไทยก็ยังไม่ถึงระดับ Big History ยังไม่มีการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ใหญ่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยของไทย ดังนั้นการอธิบายแบบย่อเรื่องจักรวาล (ซึ่งท่านหมายถึง”เอกภพ”) ของหลวงวิจิตรฯจึงเป็นความพยายามขั้นต้นที่จะให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาว่ามีเรื่องราวสำคัญมหาศาลเกิดขึ้นก่อนกำเนิดโลกและมนุษยชาติ นั่นก็คือเรื่องจักรวาล ซึ่งท่านเขียนไว้ในข้อความเบื้องต้นเพียงสามหน้า จากหน้า 3 ถึงหน้า 5 ดังที่คัดลอกมาให้อ่านแล้วเรื่อง ดาวยูเรนัสอยู่พระโขนง ซึ่งมีข้อวิพากษ์ดังนี้:
ดาวยูเรนัสไม่ได้อยู่ที่พระโขนง แน่นอนว่าดาวเคราะห์ยูเรนัส (Planet Uranus) มิได้อยู่ที่พระโขนง แต่หลวงวิจิตรวาทการคิดอธิบายเปรียบเทียบแบบย่อขนาดระบบสุริยะตามสัดส่วนแบบสมมติ โดยสมมติว่าย่อขนาดดวงอาทิตย์ให้เล็กลงขนาดประมานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร วางดวงอาทิตย์ไว้ที่ศาลาเฉลิมกรุง ดาวยูเรนัสก็ควรอยู่แถวๆพระโขนง ส่วนโลกนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าจึงจะอยู่ประมาณเสาชิงช้า หลวงวิจิตรมองโลกเป็นศูนย์กลางหรือไม่ก็ยึดเอาโลกและกรุงเทพมหานครเป็นหลักในการอธิบายระบบสุริยะ การจัดวางตำแหน่งของดวงดาวบนพื้นที่กรุงเทพฯ ท่านจึงวางโลกไว้ก่อนที่กลางลานเสาชิงช้า จากนั้นก็ทยอยวางดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ตามระยะห่างจากโลก (เสาชิงช้า) ออกไป ดังที่ท่านเขียนไว้และอ้างแล้ว และขออ้างใหม่อีกครั้งดังนี้: “เพื่อจะให้แลเห็นความว่าง และห่างไกล ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เราลองสมมติมาตราอย่างย่อที่สุด จะทำให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ลองย่อขนาดโลกของเราให้เล็กลงไปเท่าลูกหินที่เด็กเล่น แล้วเอาลูกหินนั้นไปวางตรงกลางลานเสาชิงช้า สมมติว่าโลกอยู่ตรงนั้น เราจะต้องย่อพระจันทร์ลงเท่าเม็ดถั่วเขียว วางอยู่ห่างจากลูกหินที่สมมติว่าเป็นโลก ห่างราว 70 เซ็นติ เมตร ซึ่งจะวางอยู่บนแท่นเสาชิงช้านั่นเอง คราวนี้เราจะต้องทำดวงพระอาทิตย์ให้มีขนาดใหญ่ถึงสามเมตร ไปวางไว้ที่ศาลาเฉลิมกรุง มีดาวเพียงสองดวง ซึ่งอยู่ในระหว่าง โลกกับพระอาทิตย์ คือดาวศุกร์และดาวพุธ เราต้องเอาดาวศุกร์วางไว้ราวกำแพงวัดสุทัศน์ ดาวพุธราวมุมถนนตีทอง นอกจากนั้นก็ไกลออกไป ดาวอังคารจะต้องอยู่ราว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ดาวพฤหัสอยู่สะพานยศเส ดาวเสาร์อยู่สี่แยกสระปทุม* ดาวยูเรนัสอยู่พระโขนง ดาวพลูโตอยู่ราวถนนตก ต่อไปจากนี้ก็ไม่มีที่จะวางอีกพื้นที่ทั่วโลกก็ไม่ สามารถที่จะวางได้ รวมความว่าแม้จะใช้เนื้อที่ทั้งโลกก็ยั ไม่พอที่จะทำแผนที่ของจักรวาล ซึ่งใช้มาตราส่วนอย่างย่อ ถึงกับให้โลกของเรามีขนาดเท่าลูกหินที่เด็ก เล่นเท่านั้น” ดูเหมือนว่าหลวงวิจิตรฯจะชาญฉลาดและแยบยลในความพยายามที่อธิบายระบบสุริยะและประวัติศาสตร์ใหญ่ของมนุษยชาติที่ต้องเริ่มต้นที่การอธิบายเอกภพและกำเนิดระบบสุริยะและดาวเคราะห์โลก ถือได้ว่าเป็นความคิดก้าวหน้าและใหม่ในเรื่อง “ประวัติศาสตร์ใหญ่” หรือ Big History ซึ่งยังไม่เกิดเป็นมุมมองใหม่ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ในสมัยของท่าน แต่ก็พบว่า H.G. Wells ก็เคยเขียนตำราประวัติศาสตร์ที่เริ่มต้นอธิบายเอกภพและระบบสุริยะโดยใช้วิธีย่อขนาดและเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างกันให้ผู้อ่านเห็นภาพระบบสุริยะอย่างชัดเจน ทำนองเดียวกันกับวิธีเขียนของหลวงวิจิตรฯ เพียงแต่ H.G. Wells เขียนก่อนหลวงวิจิตร 9 ปี H.G. Wells เขียนตำราประวัติศาตร์เล่มใหญ่ชื่อ The Outline of History (1920) และเล่มเล็กชื่อ A Short History of the World (1922) ส่วนหลวงวิจิตรเขียนตำรา “ประวัติศาสตร์ากล” ปี 2472 หรือ ค.ศ. 1929 ที่คล้ายกันจนทำให้สงสัยว่าหลวงวิจิตรอาจได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก H.G. Wells โดยไม่บอกผู้อ่านชาวไทย ก็คือที่ H.G. Wells เขียนไว้ดังนี้: “It is well to understand how empty of matter is space. If, as we have said, the sun were a globe nine feet across, our earth would, in proportion, be the size of one-inch ball, and at a distance of 322 yards from the sun. This is over a sixth of a mile. It would mean 3 1/2 minutes’ smart walking from the ball to the nine-foot globe. The moon would be a speck the size of a small pea, thirty inches from the earth. Nearer to the sun than the earth would be two other very similar specks, the planets Mercury and Venus, at a distance of a hundred and twenty-four and two hundred and thirty-two yards respectively. Beyond the earth would come the planets Mars, Jupiter, Saturn, Uranus and Neptune, at distances from the sun of 488, 1,672, , 3,067, 6,169, and 9,666 yards respectively. From the sun to Neptune would be a two-hour walk. There would also be a certain number of very much smaller specks, flying about amongst these planets, are particularly a number called the asteroids circling between Mars and Jupiter, and occasionally a little puff of more or less luminous vapour and dust would drift into the system from the almost limitless emptiness beyond. Such a puff is what we call a comet. All the rest of the space about us and around us and for unfathomable distances beyond is cold, lifeless, and void. The nearest fixed star to us, on this minute scale, be it remembered - the earth as one-inch ball, and the moon a little pea - would be over 40,000 miles away! Most of the fixed stars we see would still be on this scale scores and hundreds of millions of miles off.” (อ้างจาก The Outline of History by H.G.Wells ฉบับ New Edition, Two Volumes in One พิมพ์ปี 1927 โดยสำนักพิมพ์ The MacMillan Company, New York - H.G.Wells แก้ไขปรับปรุงตัวเลขและข้อความบางตอน ต่างไปจากฉบับแรกที่พิมพ์ในปี 1920 และ 1921) แนวอธิบายแบบ H.G. Wells คล้ายคลึงกันมากกับของหลวงวิจิตร เพียงแต่หลวงวิจิตรเขียนสั้นกว่า และเขียนหลัง H.G. Wells 9 ปี และแปลงตำแหน่งที่วางดวงดาวในระบบย่อส่วนให้เป็นแบบไทยในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่ทำให้คิดไปว่าหลวงวิจิตรฯลอกเลียนความคิดของ H.G. Wells ก็เพราะเห็นชัดเจนมากตรงที่เขียนสมมติว่าดวงจันทร์เท่ากับเม็ดถั่ว เพียงแต่ว่าหลวงวิจิตรให้เป็น “เม็ดถั่วเขียว” ส่วน H.G. Wells ให้เป็นเม็ดถั่วลันเตา คำว่า “pea” ของ H.G. Wells นั้นหมายถึง green pea ซึ่งมาจาก garden pea หรือ ถั่วลันเตา ซึ่งมีเมล็ดสีเขียว ไม่ได้หมายความถึงถั่วเขียวแบบไทย ซึ่งจะมีขนาดเล็กเกินไป ทั้งๆที่ทั้งสองคนย่อขนาดโลกเท่ากัน คือ H.G. Wells ให้โลกเท่ากับลูกกลมขนาด 1 นิ้ว หลวงวิจิตรฯให้ขนาดโลกเท่ากับลูกหินที่เล่นกันในหมู่เด็กๆสมัยของท่าน ซึ่งก็มีขนาดประมาณ 1 นิ้วเหมือนกัน หากค้นบ้านหลวงวิจิตรวาทการ อาจพบหนังสือ The Outline of History ของ H.G. Wells ก็เป็นได้. หลวงวิจิตร ศิษย์ H.G. Wells H.G. Wells เขียนตำราประวัติศาตร์เล่มใหญ่ชื่อ The Outline of History (1920) บทที่ 1 The Earth in Space and Time ส่วนหลวงวิจิตรเขียนตำรา “ประวัติศาสตร์ากล” ปี 2472 หรือ ค.ศ. 1929 ต้นฉบับภาษาอังกฤษเขียนไว้ตามที่อ้างไว้ข้างบนแปลได้ ดังนี้: “เป็นการสมควรที่จะให้เกิดความเข้าใจว่าอวกาศนั้นว่างเปล่าไร้สิ่งใดๆเพียงไร สมมติว่าดวงอาทิตย์ เป็นลูกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเก้าฟุต, โลกของเรา, โดยสัดส่วนเปรียบเทียบ, ก็จะเท่ากับลูกบอลขนาดหนึ่งนิ้ว, และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 322 หลา ซึ่งก็ราวๆ 1/6 ไมล์เศษ จะใช้เวลาเดินสบายๆ 3 1/2 นาที จากลูกบอลไปถึงลูกกลมเก้าฟุต. ดวงจันทร์ก็จะมีขนาดเพียงแค่ก้อนน้อยๆขนาดเท่ากับเม็ดถั่วลันเตาขนาดเล็กห่างจากโลกไปสามสิบนิ้ว. ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกก็คือก้อนเล็กๆคล้ายกัน คือดาวพุธและดาวศุกร์ ระยะห่างจากออกไปหนึ่งร้อยยี่สิบสี่และสองร้อยสามสิบสองหลาตามลำดับ เลยโลกออกไปก็เป็นดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ณ ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 488, 1,672, 3,067, 6,169, และ 9,666 หลา ตามลำดับ จากดวงอาทิตย์ถึงดาวเนปจูนจะใช้เวลาเดินสองชั่วโมง และระหว่างดาวเคราะห์เหล่านี้ก็จะมีเม็ดเล็กอีกจำนวนหนึ่งล่องลอยอยู่ โดยเฉพาะพวกอุกกาบาตจำนวนมากในวงโคจรระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส นอกจากนั้นก็เป็นพวกฝุ่นละอองไอที่สะท้อนแสงมองเห็นได้ที่โคจรเข้ามาในระบบจากที่สุดแสนห่างไกลเกือบไร้ขอบเขตจำกัด ก้อนฝุ่นละอองนี้เราเรียกว่าดาวหาง (comet) ที่เหลือเป็นพื้นที่อวกาศรอบๆเราและไกลออกไป เป็นพื้นที่อวกาศเย็นเยือก ไร้ชีวิต และว่างเปล่า ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุดก็จะอยู่ไกลออกไปถึง 40,000 ไมล์! ในสัดส่วนเปรียบเทียบแบบย่อขนาดที่เราอธิบายอยู่นี้ - โดยให้คิดว่าโลกเท่ากับลูกบอลขนาดหนึ่งนิ้ว, และดวงจันทร์เท่ากับเมล็ดถั่วลันเตา. ดาวฤกษ์ดวงอื่นๆส่วนใหญ่ วัดระยะตามสัดส่วนเปรียบเทียบแบบเดียวกันนี้ก็จะอยู่ไกลออกไปนับร้อยๆล้านไมล์.” เอาข้อเขียนของหลวงวิจิตรฯมาเปรียบเทียบกับข้อเขียนของ H.G. Wells จึงพบความเหมือนกันในวิธีคิดเปรียบเทียบย่อส่วนและวางตำแหน่งของดาวต่างๆ เพียงแต่หลวงวิจิตรฯใส่ชื่อพื้นที่วางดวงดาวสมมติเป็นชื่อตำแหน่งที่ตั้งของไทยในกรุงเทพฯแบบไม่บอกตัวเลข แต่ H.G. Wells ไม่บอกชื่อเป็นสถานที่ ตำบล อำเภอ อย่างที่หลวงวิจิตรฯทำ ทำให้มองเห็นความง่ายแต่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ของงานเขียนของหลวงวิจิตร เทียบกับความใส่ใจในรายละเอียดของ H.G. Wells ทั้งๆที่หลวงวิจิตรเขียนทีหลัง H.G. Wells ถึงเก้าปี และมีความเป็นไปได้ว่าหลวงวิจิตรเอาความคิดและข้อเขียนของ H.G. Wells มาทำเป็นแบบไทยจนเหมือนเป็นความคิดของตัวเอง หลวงวิจิตรวาทการ ผู้เขียนตำรา “ประวัติศาสตร์สากล จากโลกไปนานแล้วจึงไม่มีโอกาสชี้แจงแหล่งอ้างอิงตำราของท่าน นักศึกษาประวัติศาสตร์รุ่นหลังจึงมีหน้าที่วิเคราะห์งานของหลวงวิจิตรต่อไปตามที่พอจะหาหลักฐานชำระตำราประวัติศาสตร์สากลของท่านได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาหลักในตำรานอกเหนือจากบทแรกว่าด้วย “ข้อความเบื้องต้น” ซึ่งเป็นที่สนใจเฉพาะประเด็น “ประวัติศาสตร์ใหญ่” หรือ Big History ณ ที่นี้เท่านั้น. ประวัติศาสตร์อย่างไรดี? ตำราประวัติศาสตร์ ชุดประวัติศาสตร์สากล ของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นแบบฉบับของประวัติศาสตร์สากลโดยฝีมือนักประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่บรรยายเรื่องต้นกำเนิดอารยธรรมของมนุษยชาติ เป็นตำราซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุคนั้น ยังเป็นที่กล่าวถึงอยู่ในยุคปัจจุบัน และเป็นหนังสือชุดเดียวที่ให้ความสนใจ แม้จะเพียงเล็กน้อย ในประวัติศาสตร์ของเอกภพ ดวงดาว ระบบสุริยะ อันเป็นต้นทางของกำเนิดสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ และมนุษย์ในที่สุด แม้จะกล่าวถึงอย่างสั้นมากและมีที่ผิดพลาด ผสมกับร่องรอยของการลอกเลียนความคิดผู้อื่นโดยไม่บอกที่มาหรือแหล่งอ้างอิง กระนั้นก็ตาม ก็ยังถือได้ว่าเป็นความคิดที่ต้องการให้แนวคิดใหม่แก่นักเรียนนักศึกษาชาวไทยในเรื่องประวัติศาสตร์ที่ใหญ่และกว้างไกลกว่าที่เคยมีในตำราประวัติศาสตร์โลกหรือที่หลวงวิจิตรฯเรียกว่าประวัติศาสตร์สากลโดยทั่วไป มีตำราชื่อ “ประวัติศาสตร์สากล” โดยนักประวัติศาสตร์ชาวไทยอีกชุดหนึ่ง เขียนโดย นายเจริญ ไชยชนะ ที่เริ่มเขียนเมื่อปี 2507 จากนั้นมีการพิมพ์ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงการพิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2517 โดยสำนักพิมพ์เกษมบรรณกิจ ลำดับเนื้อหาเป็นประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และ สมัยปัจจุบัน นายเจริญ ไชยชนะ เริ่มอธิบายประวัติศาสตร์สากลตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้วเข้าสู่กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ เรื่อยมาจนถึงต้นสงครามโลกครั้งที่สองในการพิมพ์ครั้งท้ายสุด ในตำราประวัติศาสตร์สากลชุดนี้ มิได้กล่าวถึงเอกภพและกำเนิดดวงดาวต่างๆก่อนเกิดโลกมนุษย์ และเช่นเดียวกับหลวงวิจิตรวาทการ นายเจริญ ไชยชนะเขียนตำราแบบไม่อ้างอิงแหล่งข้อมูลใดๆราวกับว่าทุกเรื่องเป็นความรู้และความคิดของตัวเองทั้งหมด แต่ในคำนำสำนักพิมพ์ก็ยืนยันว่านายเจริญรวบรวมข้อมูลความรู้จากตำราต่างประเทศหลากหลายมาเขียนรวมเป็นตำราชุดประวัติศาสตร์สากล ดังนั้นงานประวัติศาสตร์สากลของนายเจริญ ไชยชนะ จึงต้องอาศัยความน่าเชื่อถือในตัวนายเจริญ ไชยชนะเอง จะให้เป็นตำราวิชาการอ้างอิงที่ถูกต้องน่าเชื่อถือแท้จริงในทางวิชาการไม่ได้ นักประวัติศาสตร์ไทยผู้มีชื่อเสียงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยุคที่วงการวิชาการประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตกก้าวหน้าไปมากแล้วนั้น นักประวัติศาสตร์ไทยยังคงวนเวียนอยู่กับการรวบรวมลอกเลียนแปลปรับจับข้อมูลของของนักประวัติศาสตร์ต่างชาติมาเขียนใหม่อ้างเอาเป็นของตนเองกันเป็นสากล นักวิชาการไทยยุคปัจจุบัน อันเป็นยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สาม ที่เป็นผลพวงของอิทธิพลการศึกษาการศึกษาจากต่างประเทศได้รับวัฒนธรรมทางวิชาการแบบตะวันตกมาอย่างเคร่งครัด ยังผลให้การเขียนงานวิชาการต่างๆจะสมบูรณ์ด้วยรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงงานของผู้อื่นอย่างถูกต้องชัดเจน เป็นการแสดงความเคารพในกระบวนการทางวิชาการและทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นที่กลายเป็นวิถีปฎิบัติอันเป็นสากลไปแล้ว สำหรับประเด็นที่ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์โลกนั้นควรจะมีแนวทางการศึกษาแบบไหน ควรจะเริ่มที่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าเรื่องกำเนิดอารยธรรมมนุษย์ แล้วต่อเนื่องเรื่องเรื่อยมามาจนถึงยุคปัจจุบัน หรือว่าควรจะย้อนไปเป็นประวัติศาสตร์ใหญ่ที่เริ่มตั้งแต่ระเบิดมหากัมปนาท หรือ The Big Bang กำเนิดเอกภพและดวงดาว แล้วค่อยๆวิวัฒนาการชีวิตบนดาวเคราะห์โลก ต่อมาเป็นประวัติศาสตร์อารยธรรมมนุษย์นั้น จะเลือกศึกษาเขียนตำรานำเสนอแบบไหนก็สุดแต่นักประวัติศาสตร์แต่คนแต่ละค่ายจะเห็นชอบ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันตำราประวัติศาสตร์โลกนิยมเริ่มบรรยายตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์อารยธรรมมนุษย์ โดยเล่าถึงโลกก่อนมีมนุษย์ มีดิน หิน พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ส่วนเรื่องเอกภพและดาวดาวอันเป็นต้นทางที่มาของดาวเคราะห์โลกนั้นก็มักนิยมปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักดาราศาสตร์ที่จะแยกเขียนตำราในสาขาความรู้เฉพาะทางของตนเอง และโดยมากก็มักจะให้นักวิทยาศาสตร์สาขาจำเพาะต่างๆแยกเขียนประวัติศาสตร์อื่นแยกเฉพาะทางเอาเอง เช่นประวัติศาสตร์ดินหินก็เป็นหน้าที่ของนักธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา เรื่องพืชและสัตว์ก็ให้ป็นเรื่องของนักชีววิทยาและธรรมชาติวิทยา ฯลฯ การที่เราจะเข้าใจชีวิตมนุษย์ปัจจุบันอย่างท่องแท้จึงจำเป็นต้องศึกษาประวัติศาสตร์อันกว้างใหญ่กว่า “ประวัติศาสตร์สากล” ที่รู้เพียงเรื่องความเจริญและความเสื่อมของมนุษย์ผ่านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สงคราม และ สันติภาพ แต่ไม่รู้ว่าชีวิตมนุษย์และโลกที่มนุษย์อยู่อาศัยเป็นที่ทำสงครามและสันติภาพนั้นมีความเป็นมาแต่อดีตกาลอันไกลโพ้นอย่างไร ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และ ประวัติศาสตร์สากล พอที่จะให้มนุษย์ทำสงครามได้ แต่ไม่พอที่จะให้มนุษย์สร้างสันติภาพได้ จึงเป็นที่มาของความคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History ซึ่งกำลังค่อยๆเริ่มก่อตัวสร้างกลุ่มนักประวัติศาสตร์ใหญ่ขึ้นมาในโลกวิชาการประวัติศาสตร์ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ย่อ ของ ประวัติศาสตร์ใหญ่ การที่จะเข้าใจปัจจุบัน ก็ต้องเข้าใจอดีต เพื่อจะนำปัจจุบันเข้าสู่อนาคตที่งดงามยั่งยืน ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษยชาติและโลกในวันนี้ และการที่จะพูดถึง “โลกวันนี้” จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงโลกในอดีตให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน ประวัติศาสตร์ที่เริ่มเพียงเวลาที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกจึงไม่พอที่จะทำให้มนุษย์สร้างจิตสำนึกในการเป็นสิ่งมีชีวิตอยู่ร่วมโลกกับสรรพชีวิตอื่นอย่างงดงามและยั่งยืนได้ แรกเริ่มเสี้ยววินาทีระเบิดมหากัมปนาท หรือ The Big Bang อันเป็นต้นกำเนิดของเอกภพ ดวงดาว ระบบสุริยะ และดาวเคราะห์โลกอันเป็นโลกที่อยู่อาศัยของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่นักวิชาการโลกตะวันตกศึกษารวมกันเป็นวิชาประวัติศาสตร์แนวใหม่ เรียกว่า Big History และขอแปลง่ายๆตรงตัวว่า “ประวัติศาสตร์ใหญ่” (ไม่ขอเรียกว่า “มหาประวัติศาสตร์” จนกว่าจะค้นพบเหตุการณ์ก่อน The Big Bang) Fred Spier เป็นอาจารย์สอนวิชา Big History ที่ University of Amsterdam และ Eindhoven University of Technology สรุปย่อไว้ในหนังสือ “Big History and the Future of Humanity” (Wiley-Blackwell, UK, 2011) ว่าผู้บุกเบิกคนแรกในเรื่องแนวคิดประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History ได้แก่ Alexander von Humboldt (1769-1859) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาภูมิศาสตร์ จากการเดินทางท่องโลก ศึกษาภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวบรวมความรู้ต่างๆที่ได้ศึกษาค้นคว้ามา เขียนหนังสือชุดสำคัญ 5 เล่มจบ ชื่อ “Cosmos (ภาษาเยอรมัน - Kosmos): a Sketch of a Physical Description of the Universe” (1845-1861) และเรื่องอื่นๆ เช่น “Essay on the Geography of Plants” (1807), Views of the Cordilleras and Monuments of the Indigenous Peoples of the Americas (1810-1813), “Personal Narrative of Travels in the Equinoctial Regions of the New Continent (1814-1829), Views of Nature” (1849), และ “Political Essay on the Island of Cuba” (1826). [รวมตอนเด่นๆคัดสรรจากหนังสือเหล่านี้อ่านได้จาก Alexander von Humboldt, Selected Writings, Edited and Introduced by Andrea Wulf, Everyman’s Library, 2018 (792 หน้า)] ผู้บุกเบิก Big History คนสำคัญคนที่สองคือ Robert Chambers (1802-1871) นักเขียนและเจ้าของสำนักพิมพ์ชาวสก๊อตต์ หนังสือเล่มสำคัญของเขาคือ “Vestiges of the Natural History of Creation” (1844) นักคิดนักเขียนทั้งสองคนพยายามอธิบายความเป็นมาของมนุษย์และโลกตั้งแต่เริ่มกำเนิดเอกภพ จนถึงกำเนิดมนุษยชาติและสรรพสิ่งที่เจริญพัฒนาถาวรสืบมา ขณะที่ Humbolt เน้นการอธิบายเอกภาพของธรรมชาติ เริ่มจากกำเนิดเอกภพและดวงดาว ผ่านกาลเวลามาอยู่ท่ามกลางปฎิสัมพันธ์ของพลังแห่งธรรมชาติ พลังแห่งภูมิศาสตร์ที่ส่งอิทธิพลต่อไปยังชีวิตพืช สัตว์ และมนุษย์ในที่สุด ส่วน Chambers อธิบายเอกภพและธรรมชาติอันเป็นที่มาของมนุษยชาติและสรรพสิ่งด้วยทฤษฎีที่ต้องการหาทางออกเป็นทางสายกลางให้กับสังคมอังกฤษและยุโรปที่ขัดแย้งสองขั้วในสมัยนั้น ระหว่างนักคิดปฏิวัติระบอบการเมือง (ในฝรั่งเศส) กับนักคิดหัวอนุรักษ์นิยมอิงศาสนา จากนั้นมาช่วงครึ่งหลังของคริสศตวรรษที่ 19th แนวคิดเชิง Big History ก็เงียบหายไป แล้วกลับมาปรากฏตัวอีกครั้งในหนังสือ “The Outline of History” (1920) ของ H.G. Wells ซึ่งเป็นนักคิดนักเขียนชาวอังกฤษที่ห่วงใยความรุนแรงจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และหวังจะให้มนุษย์เข้าใจผลพวงความล่มสลายของมนุษยชาติเองจากอภิมาหาสงครามโลกที่อาจกลับมาเป็นครั้งที่สอง งานที่เป็นตำราวิชาการของ Wells คือ “The Outline of History” (1920) และฉบับย่อ “A Short History of the World” (1922) จึงเป็นงานเขียนประวัติศาสตร์ที่มีจุดประสงจะเตือนมนุษยชาติให้เข้าใจที่มาและจุดจบของชีวิตและที่ไปสู่อนาคตที่พยากรณ์ได้ว่าจะล่มสลายเพราะสงครามหากไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ใหญ่ของมนุษยชาติที่มีความเป็นมาแต่แรกกำเนิดเอกภพ มิใช่เพียงแค่ประวัติศาสตร์ของชนชาติ และเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่สร้างอาณาจักรสร้างอำนาจทำลายเผ่าพันธุ์ที่อ่อนแอกว่า อ่านประวัติศาสตร์โลกของ H.G. Wells แล้ว ไปอ่านต่อเรื่องต่างๆที่เป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ของเขา เช่น The Time Machine (1895), The Island of Doctor Moreau (1896), The War of the Worlds” (1898), The Shape of Things to Come (1933), ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นการมองอนาคตที่มนุษย์นักรบราฆ่าฟันและนักทำสงครามแห่งศตวรรษที่ 20th พึงสำนึกและระมัดระวังไว้ให้จงดี ประวัติศาสตร์ใหญ่ของ H.G. Wells นั้นเริ่มต้นที่กำเนิดเอกภพและดวงดาว และไปยาวไกลถึงหลังสงครามล้างโลกและอาจจบสิ้นมนุษยชาติและสรรพชีวิต การศึกษาประวัติศาสตร์จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน หากศึกษาและเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ใหญ่กว่าตัวมนุษย์เองได้แล้ว มนุษย์ก็คงไม่มีเหตุผลที่จะทำลายตัวเองและโลกอันเป็นถิ่นที่เอกภพสร้างขึ้นมาให้มนุษย์ได้พึ่งพิง Fred Spier ยกย่องตำราประวัติศาสตร์อีกเล่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นตำราบุกเบิก Big History หลังจาก H.G. Wells คือ “The Columbia History of the World” (1972) เขียนโดยนักวิชาการ 40 คน โดยมี John A. Garraty และ Peter Gay เป็นบรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย Columbia University สำนักพิมพ์ Harper & Row Publishers ปัจจุบันวิชาประวัติศาสตร์ใหญ่ หรือ Big History เปิดสอนโดยนักประวัติศาสตร์ผู้บุกเบิก Big History ยุคใหม่ คือ David Christian ณ Macquarie University, Sydney, Australia; John Mears ณ Southern Methodist University, Dallas, Texas, USA; Fred Spier ณ University of Amsterdam และ Eindhoven University of Technology. การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ใหญ่ เป็นแนวการศึกษาแบบใหม่ที่ศึกษาโลกและมนุษย์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ที่สืบสาวเรื่องราวย้อนอดีตยาวไกลและส่งต่อจินตนาการไปสู่อนาคตอันยาวไกลที่หวังจะให้ยั่งยืนยาวนาน หากเข้าใจประวัติศาสตร์อันเป็นวิทยาศาสตร์ ความเชื่อที่ไม่มีเหตุผลพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์จะหมดไป ความขัดแย้งที่ไม่มีเหตุผลทางประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็จะมลายสิ้น ศาสนาจะถูกย่อยแยกเหลือเพียงปรัชญาการดำเนินชีวิตให้สัมพันธ์กับชีวิตอื่นอย่างสงบร่มเย็นและเป็นสุขยั่งยืน เอกภพมิได้สร้างพระเจ้า พระเจ้ามิได้สร้างโลก “พระเจ้า” นั้นไม่มีทั้งในโลกและในเอกภพ จึงไม่มีพระเจ้าที่ไหนจะมาปรากฏตัวอ้างเป็นผู้สร้างโลกได้ และมนุษย์ก็มิได้เป็นเจ้าของโลก “โลกมนุษย์” โดยความหมายตามตัวอักษรนั้นไม่มี มีแต่โลกที่เป็นดาวเคราะห์ที่ให้กำเนิดสรรพชีวิตและสรรพสิ่ง มนุษย์เป็นเพียงรูปแบบชีวิตหนึ่งเท่านั้นที่ได้อยู่อาศัยร่วมกับชีวิตอื่นอีกมากมาย มิอาจประมาณจำนวนและประเมินค่าสรรพชีวิตและสรรพสิ่งบนดาวเคราะห์โลกได้. ประวัติศาสตร์ใหญ่ โดยย่อ เพื่อความสะดวกในการทำความรู้จักกับมนุษย์ที่วิวัฒนาการชีวิตขึ้นมาจนสามารถดำรงอยู่บนดาวเคราะห์โลกร่วมกับสรรพชีวิตอื่นที่วิวัฒนาการมาก่อน ประวัติศาสตร์ใหญ่ทั้งหมดจากแรกเริ่มของการ “มีอะไรจากความไม่มีอะไร” ในความว่างเปล่า โดยถือว่าความว่างเปล่านั้นคือ “ความไม่มีอะไร” จนกระทั้งวันนี้ที่มีอะไรๆสุดคณานับทั้งบนดาวเคราะห์โลกและนอกพื้นที่ของโลกไกลออกไป...และ...ไกล....ออกไป...Fred Spier อาจารย์สอนวิชา Big History ณ University of Amsterdam และ Eindhoven University of Technology ได้ทำกาลานุกรม (time line) ไว้ในตอนท้ายของหนังสือ Big History and the Future of Humanity ของท่านไว้ในภาคผนวก หน้า 206 แบบย่อที่สุด เรียกว่า A SHORT TIME LINE OF BIG HISTORY ดังนี้: Appendix A SHORT TIME LINE OF BIG HISTORY ตัวย่อ ABB หมายถึง After Big Bang แปลว่า หลังจากระเบิดมหากัมปนาท Big Bang BP หมายถึง Before Present (แปลว่า “ก่อนปัจจุบัน” คำว่า “ปัจจุบัน” หรือ “Present” ณ ที่นี้ โดยทั่วไปหมายถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งนับเริ่มต้นจากปี 1950 CE เป็นต้นไปมาจนถึง “วันนี้”) CE ย่อมาจาก Common Era มีความหมายเท่ากับ A.D. ซึ่งเป็นภาษาละตินคำเต็มว่า Anno Domini แปลว่า “in the year of our lord” [แต่เดิมนิยมเรียกว่า ค.ศ. หรือ คริสต์ ศักราช อันหมายถึงปีนับจากปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติเป็นต้นมา บ้างก็เห็นว่าน่าจะเป็นปีพระองค์สวรรคต แต่ก็ยังคงความหมายเป็นปฏิทินของศาสนาคริสต์อยู่ จึงแยกออกได้ ชัดเจนจากปฏิทินพุทธศักราช และฮิจเราะห์ศักราช แต่ในเมื่อมีความนิยมใช้ ค.ศ. กันมากทั่วโลกจนเป็นสากล อาจเพราะความสะดวกในการอ้างอิงตำราและข่าวสารต่างๆซึ่ง ส่วนใหญ่มาจากโลกตะวันตกที่ใช้ปฏิทินคริสต์ศักราชตามที่คิดจัดทำโดยพระสันตะปาปา Gregory เรียกว่าปฏิทินเกรกอรี่ (Gregory Calendar) เพื่อมิให้เกิดความรู้สึกว่าเป็น ปฏิทินในสังกัดศาสนาคริสต์ นักวิชาการตะวันตกเลยเรียกปี A.D. หรือ คริสต์ศักราช ใหม่ให้เป็นสากลทั่วโลกจะได้ใช้ร่วมกันโดยไม่เกี่ยงงอนเรื่องศาสนา เรียกว่า Common Era แปลว่า มหายุคร่วม หรือการนับปีที่มนุษย์สมัยนี้ใช้ร่วมแบบเดียวกัน ใช้ตัวย่อ C.E. หรือ CE แม้ทุกวันนี้คนไทยจะยังนิยมเรียกว่า คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. อยู่เหมือนเดิม อาจเป็นเพราะยังไม่มีใครริเริ่มนำทางให้เลิกใช้หากอยากใช้ คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. (A.D.) แล้วให้เปลี่ยนมาใช้ C.E. แทน โดยอาจจะเรียกในภาษาไทยว่า “มหายุคร่วม” หรือ “มย.ร.” ก็น่าจะริเริ่มทดลองใช้ดูก็อาจเป็นที่นิยมก็ได้] X years ago หรือ “X ปีมาแล้ว” ในกาลานุกรมนี้ จะว่ากี่ปีมาแล้วก็ขอให้ถือปี 2010 เป็นปีสุดท้ายเป็นหลักนับถอยหลัง เพราะเป็นปีที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้ TIME LINE OF BIG HISTORY 13.7 พันล้านปี BP The Big Bang ระเบิดมหากัมปนาท 4 นาทีแรก ABB การปรากฏของอนุภาคพื้นฐาน protons, neutrons, electrons, และ neutrinos (คืออนุภาคหรือส่วนที่เล็กที่สุดของสะสารตั้งแต่เล็กมากไปจนถึงเล็กมากที่สุด) 4-15 นาที ABB เกิดการสังเคราะห์ของอนุภาคนิวเครียส (nucleo-synthesis) ของ deuterium, helium, lithium, และ beryllium 50,000 ปี ABB ช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยแผ่รังสี (Radiation Era) เข้าไปสู่มหายุคแห่งสะสาร (Matter Era) 400,000 ปี ABB เอกภพเข้าสู่สถานะภาพอยู่ตัว (Neutralization) การแผ่รังสีปรากฏเป็นฉากหลังของจักรวาล (cosmic background radiation) 700 ล้านปี - 2 พันล้านปี ABB กำเนิด galaxies (ดาราจักร) และ stars (ดวงดาว) 9.1 พันล้านปี ABB = 4.6 พันล้านปี BP กำเนิดระบบสุริยะของเรา 4.6 - 4.5 พันล้านปี BP กำเนิดดาวเคราะห์วงในของระบบวงโคจรในระบบสุริยะของเรา (ได้แก่ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวโลก, และ ดาวอังคาร) 4.5 - 3.9 พันล้านปี BP Hadean Era (มหายุคเฮเดียน ปรากฏห่าฝนแห่งจักรวาล เหล่าเทหะวัตถุในจักรวาลพุ่งหล่นชนกันบัลลัยในห้วงอวกาศ - Hadean มาจากภาษากรีกโบราณ ‘Hades’ หมายถึงเทพเจ้าใต้พื้นพิภพหรือเทพเจ้าแห่งความตาย นำมาใช้เป็นชื่อเรียกช่วงเวลากำเนิดโลกสมัยแรกเริ่ม เรียกว่า “มหายุคเฮเดียน” หรือ “Hadean Era”) 3.8 - 3.5 พันล้านปี BP ปรากฏสิ่งมีชีวิต 3.4 พันล้านปี BP พบ stromatolites อันเป็นเนินดินชั้นหินตะกอนดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากการสะสมซากฟอสซิลแบคทีเรีย ชีวิตเริ่มมีการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) 2.0 พันล้านปี BP ปรากฏอ๊อกซิเจน (oxygen) ในบรรยากาศ และ eukaryotic cells (ยูคาริโอติคเซลล์ เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงขึ้นกว่าเดิม มีนิวเคลียส์ชัดเจน 540 ล้านปี BP สิ่งมีชีวิตรูปแบบซับซ้อนเกิดขึ้นมากมายใน Cambrian Period (ยุคแคมเบรียน) 400 ล้านปี BP สิ่งมีชีวิตเคลื่อนจากน้ำขึ้นบก 200 ล้านปี BP กำเนิดสัตว์เลือดอุ่น 63 ล้านปี BP ห่าอุกกาบาตถล่มดาวเคราะห์โลก ทำลายชีวิตไดโนเสาร์จนสิ้น ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีโอกาสเติบโต 4 ล้านปี BP กำเนิด bipedal Australopitheces (ชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีสองขา ยุคเริ่มแรกวิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ก่อนจะมาเป็นมนุษย์รูปแบบพัฒนาขึ้นในเวลาต่อๆมา 2 ล้านปี BP กำเนิด Homo erectus (Homo เป็นภาษาละติน แปลว่า man หรือ human หรือ มนุษย์ นั่นเอง ส่วน erectus แปลว่าตั้งแนวตรงขึ้น รวมความหมายถึง วิวัฒนาการชีวิตมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่ยืนตัวขึ้นตรงได้) 200,000 ปี BP กำเนิด Homo Sapiens มนุษย์มีปัญญา (sapien เป็นภาษาละติน แปลว่ามีความชาญฉลาด หรือมีภูมิปัญญา รู้จักคิด ดังที่ปรากฏรูปลักษณ์ที่เห็นในปัจจุบัน 10,000 ปี BP เริ่มกิจกรรมทางการเกษตร 6,000 ปี BP แรกกำเนิดรูปแบบการเมืองการปกครองแบบแบ่งเขตแยกเป็นรัฐหรือแว่นแคว้นต่างๆ 500 ปีที่แล้ว เริ่มคลื่นแรกแห่งโลกาภิวัตน์ (First wave of globalization) 250 ปีที่แล้ว คลื่นที่สองแห่งโลกาภิวัตน์-ยุคอุตสาหกรรม (Second wave of globalization - industrialization) 60 ปีที่แล้ว คลื่นที่สามแห่งโลกาภิวัตน์-ยุคข้อมูลข่าวสาร (Third wave of globalization - informationaization) ______________________________________________________________________________________ หมายเหตุ วิชาธรณีวิทยา อ้างอิงกรมทรัพยากรธรณี ของไทย แปลศัพท์ตามลำดับอายุดึกดำบรรพ์จนถึงช่วงหลังสุดดังนี้: Era = มหายุค Period = ยุค Epoch = สมัย ส่วนการใช้ภาษาโดยธรรมดาทั่วไป คำว่า “ยุค” และ “สมัย” ที่ไม่ใช่ศัพท์วิชาการธรณีวิทยา ก็สามารถใช้ได้สลับคำกันอย่างเสรีและตามสะดวกของผู้ใช้ภาษาโดยอาจมีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกันได้ “ยุค” จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเก่าแก่กว่า “สมัย” แบบอายุทางธรณีวิทยา แม้โดยรากศัพท์ “ยุค” จะเก่ากว่า “สมัย” ก็ตาม - จบบทที่ I - |