สมเกียรติ อ่อนวิมล
Somkiat Onwimon เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2491 ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี บ้าน นนทบุรี 96/84 เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 บ้าน นครราชสีมา 220 ม.9 ภูพิมานรีสอร์ท ถ.2200 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 E-mail : [email protected] ครอบครัว ภรรยา : ธัญญา (ธัญญขันธ์) อ่อนวิมล บุตรชาย : ธัญญ์ อ่อนวิมล งานปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร | บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด ผลิตภาพยนตร์สารคดีโทรทัศน์ ที่ทำงาน บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด 89/81 Vista Park@แจ้งวัฒนะ ถ.แจ้งวัฒนะ-เลี่ยงเมืองปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 การศึกษา พ.ศ.2505-2507 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี พ.ศ. 2507-2509 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นต้น วิทยาลัยครูจันทรเกษม กรุงเทพ พ.ศ.2509-2510 มัธยมปลาย High School Diploma, Park Hill High School, Parkville, Missouri, U.S.A. พ.ศ.2511-2514 ปริญญาตรี B.A.(Hons.)(Political Science ), University of Delhi, Delhi, India พ.ศ.2514-1516 ปริญญาโท M.A. (Political Science), University of Delhi, Delhi, India พ.ศ.2518-2524 ปริญญาเอก Ph.D.(South Asia Regional Studies), University of Pennsylvania, U.S.A. ทุนการศึกษา พ.ศ.2509-2510 American Field Service International Scholarship, U.S.A. พ.ศ.2511-1516 Government of India General Cultural Scholarship, India พ.ศ.2518-2524 Harvard-Yenching Institute Fellowship, Harvard University, U.S.A. งานมหาวิทยาลัยรัฐ พ.ศ.2516-2528 อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานมหาวิทยาลัยเอกชน พ.ศ.2542-2543 คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2542 อาจารย์พิเศษ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พ.ศ.2549-2557 อาจารย์พิเศษ วิชาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก พ.ศ. 2550-2557 อาจารย์พิเศษ วิชาการสื่อสารระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร งานสื่อสารมวลชน วิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2523-2545 ผลิต และดำเนินรายการข่าวสารทางสถานีวิทยุต่างๆ พ.ศ.2534 ร่วมจัดตั้งและผลิตรายการ จ.ส.100 วิทยุข่าวสารและการจราจร งานสื่อสารมวลชน โทรทัศน์ พ.ศ.2526-2528 ดำเนินรายการสารคดีโทรทัศน์ "ความรู้คือประทีป" ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. พ.ศ.2528-2531 กรรมการผู้จัดการบริษัท Pacific Intercommunication Co.,Ltd. ผลิตรายการ และประกาศ "ข่าวภาคค่ำ" ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. พ.ศ.2532 ผู้จัดการฝ่ายข่าว และผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (กุมภาพันธ์-มีนาคม) พ.ศ.2532 ผลิตสารคดีออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส.ท.ท.11 (Pacific Intercommunication Co.,Ltd.) พ.ศ.2533-2538 ผลิตข่าวและประกาศข่าวร่วมกับฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (E.M. News Co.,Ltd.) พ.ศ.2539 ผลิตรายการสารคดีและให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส.ท.ท.11 (Asia Visions Co.,Ltd.) พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร | บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด | ผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์อิสระ พ.ศ.2543 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานข่าว และ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว ITV (กรกฎาคม-สิงหาคม) พ.ศ.2546-2552 ผู้ควบคุมการผลิต BEC-TERO Entertainment Co., Ltd. พ.ศ.2551-2553 ที่ปรึกษา True Visions Co.,Ltd. พ.ศ.2553-ปัจจุบัน ที่ปรึกษา Bangkok Entertainment Co.,Ltd. (ไทยทีวีสีช่อง 3) พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการ Money Channel พ.ศ. 2555-2556 รองประธานกรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการ Spring News Corp. 2556-ปัจจุบัน ร่วมเป็นผู้ให้ความเห็นอิสระในรายการวิทยุ FM 96.5 และ FM 100.5 และรายการโทรทัศน์ "คิดยกกำลังสอง" ในรายการ "ที่นี่ ไทยพีบีเอส" ที่ Thai PBS งานการเมือง พ.ศ.2540 สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.2543-2549 สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2550-2551 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รางวัล พ.ศ.2527 รางวัลเมขลา ผู้ดำเนินรายการความรู้ทั่วไปดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 รางวัลเมขลา ผู้ประกาศข่าวชายดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2529 รางวัลเมขลา ผู้ประกาศข่าวชายดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2531 รางวัลผู้ประกาศข่าวชายยอดนิยม จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พ.ศ.2531 รางวัลประกาศกิติคุณสังข์เงินสัมพันธ์ สาขาวิทยุโทรทัศน์ สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2533 รางวัลเมขลา ผู้บรรยายรายการสารคดีดีเด่น จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย พ.ศ.2533 รางวัลโทรทัศน์ทองคำเกียรติยศด้านผลิตรายการข่าว จากคณะกรรมการโทรทัศน์ทองคำ พ.ศ.2533 ASEAN Awards for Communications (Broadcasting) จากสมาคม ASEAN พ.ศ.2534 ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาพัฒนาคุณภาพชีวิต จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2540 รางวัลนักรัฐประศาสนศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2540 สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2554 รางวัลสุรินทราชา : นักแปลอาวุโสดีเด่น สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย พ.ศ.2554 รางวัลประกาศเกียรติคุณบุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ สมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ (Thai Association for International Understanding) TAFIU Awards 2011 พ.ศ. 2558 รางวัล 100 ปีชาตกาลหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร บุคคลสำคัญของโลกประเภทผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้รับการยกย่องและมีผลงานสำเร็จดียิ่งทางด้านการศึกษาและสื่อสารมวลชน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) |
สมเกียรติ อ่อนวิมล คนสุพรรณฯ บ้านสามชุก
ผมเกิดมาในครอบครัวที่มีความหลากหลายและผันผวนทั้งในชีวิตสังคมและเศรษฐกิจ ช่วงที่ยังจำความไม่ได้ พ่อเปิดร้านถ่ายรูปในตลาดอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี มาจำความได้ก็ตอนที่เริ่มเดินได้ในวัยเด็กเล็กๆ พ่อขายร้านถ่ายรูปไปแล้ว ย้ายไปทำท่าถ่านริมน้ำติดด้านเหนือของตลาด เริ่มเรียนหนังสือชั้นอนุบาลและประถมศึกษาก็ตอนที่พ่อแม่และพี่สาวขายถ่านและล่องเรือเดินแม่น้ำท่าจีน (คนสุพรรณตั้งชื่อใหม่เป็น "แม่น้ำสุพรรณฯ") จำได้แม่ยำตอนที่ถูกหมาบ้ากัดต้องไปฉีดยารอบสะดือทุกวันจนครบ 12 เข็ม หรือกี่เข็มก็ไม่แน่ใจ แต่จำได้ว่าซ้อนจักรยานไปให้หมอฉีดยารอบสะดืออยู่หลายวัน ที่จำได้แม่นอีกอย่างก็คือตอนที่โรงสีข้างบ้านเขาติดตั้ง"โทรภาพ"เครื่องแรกของตลาด ผมวิ่งไปดูเห็นเสาอากาศสูงๆ ส่วนภาพ "โทรภาพ" บนจอเห็นแต่จุดๆสีขาวๆดำๆพร่าๆมัวๆเป็นแบบที่ตอนต่อมาเขาเรียกกันว่าเหมือนหิมะตก ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหิมะมันคืออะไร ฟังดูชื่อออกจะหยาบโลนอยู่ ตอนหลังที่เคยเรียกว่า "โทรภาพ" เขาก็เรียกใหม่ว่า "โทรทัศน์" ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเรียกให้มันยากไปทำไม เรียก "โทรภาพ" ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นภาพที่ไม่ชัด หลังจากนั้นผมก็มิได้สนใจวิ่งไปดูโทรภาพอีกเลย ที่บ้านก็ไม่มีไฟฟ้า ใช้ตะเกียงเจ้าพายุ ตะเกียงโป๊ะ กับตะเกียงรั้ว เป็นหลัก เมื่อไม่สนใจโทรทัศน์ผมก็เลือกไปดูหนังขายยาที่มักจะมาฉายบ่อยๆที่สนามข้างตลาด บางทีก็ดูหนังในวิก หรือโรงหนังประจำตลาด ไปดูลิเก ดูดนตรีลูกทุ่งตามงานวัดบ่อย ดูงิ้วทุกปีที่ชาวตลาดจัดมาให้ดูฟรีๆ วิทยุก็ฟังประจำ ทั้งข่าว และละคร แต่ผมจะชอบนิทานที่เล่าทางวิทยุมากเป็นพิเศษ ผมชอบนิทานคณะ ฉลาด เค้ามูลคดี ส่วนพี่สาวชอบฟังละคร คณะแก้วฟ้า ต่อมาพ่อกับแม่ขายที่ขายกิจการท่าถ่านเอาเงินไปใช้หนี้ใครก็ไม่รู้ แล้วย้ายออกมาซื้อที่นาราวสิบไร่หลังตลาด พ่อทำนาปลูกพืชสวน แม่ทำขนมหาบเร่ขายในตลาด ผมเองก็ช่วยงานบ้านอย่างเต็มที่เพราะเป็นลูกชายวัยรุ่นที่อยู่ในวัยแข็งแรงทำงานได้สบายๆ แถมหาบขนมไปนั่งขายในตลาดทุกเช้าก่อนไปโรงเรียนอีกต่างหากย้ายโรงเรียนจากระดับประถมศึกษาไปเรียนระดับมัธยมฯที่โรงเรียนในวัดหลังตลาด เรียนจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่ากับชั้น ม. 4 ในปัจจุบัน แล้วจึงออกจากบ้าน มุ่งสู่กรุงเทพมหานคร ตอนที่บ้านยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่ เข้ากรุงแล้ว เห็นไฟฟ้า แสงสี และชีวิตแปลกๆก็อดคิดถึงบ้านไม่ได้ ปิดเทอมเมื่อไรเป็นกลับสามชุกทันที ... เข้ากรุงแล้ว...ชีวิตก็ดำเนินต่อไปโดยการออกแบบชีวิตดัวยตัวเอง The rest is history ตอนที่เขียนเรื่องย่อชีวิตนี้ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ชีวิตผ่านมา 69 ปีแล้ว น่าจะเหลือเวลาให้เขียนอะไรต่อไปได้อีกราวๆ 20-30 ปี. | Onwimon Family Photos
ครอบครัว สมเกียรติ-ธัญญา-ธัญญ์ อ่อนวิมลINDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS
Somkiat Onwimon ❊ Ph.D. dissertation [1981] ❊ University of Pennsylvania http://repository.upenn.edu/dissertations/AAI8208022/ INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS
SOMKIAT ONWIMON, University of Pennsylvania Abstract ASEAN, formed in 1967, was intended to be an important regional organization for economic and social cooperation. For India, regional cooperation has always been a very important aspect of its foreign policy. The ASEAN idea was, therefore, a very important aspect of its foreign policy. The ASEAN idea was, therfore, a very appealing one. India, however, was not invited to join the new regional organization. Though India remains outside the framework of ASEAN, its role in the region and its relations with the countries within the region are still important.^ One of the objectives of this study is to ascertain the state of India's relations with the ASEAN countries. This study starts with an assumption that institutional linkage, e.g., being in the same regional grouping, is an important factor contributing to intensity of bilateral relations. Not being an ASEAN member, India is expected to have a low level of intensity of relations with the ASEAN countries. But among the ASEAN countries there are some with whom India has institutional linkages, such as a common membership in the Non-aligned Movement or in the Commonwealth of Nations. In examining India's relations with the five ASEAN countries it is expected that relations with Malaysia, Singapore, and Indonesia will be more intense than those with Thailand and the Philippines.^ To measure the level of intensity of relations India's bilateral transactional relations with each ASEAN country--especially political, economic and socio-cultural transactions--are examined. Statistical computation of countable transactional data supports the hypothesis that transactional activities quantitatively correlate to intensity of relations.^ The study found that India's relations with Malaysia and Singapore were more intense than with the rest of the ASEAN countries. The three belong to the Non-aligned Movement as well as the Commonwealth of Nations. India also fared better with Indonesia than with Thailand and the Philippines. Again it must be pointed out that both India and Indonesia are non-aligned countries while Thailand and the Philippines are not. As the dissertation studies political, economic and socio-cultural aspects of transactional relations separately, separate conclusions on each of these categories also revealed the same pattern of relations.^ Compared with other countries India's relations with the ASEAN countries are still very low in intensity. Low as they are, India's relations with some ASEAN members are distinguishably special due to their other common institutional linkages. This study, therefore, concludes that institutional linkages contribute to the intensity of relations, and maybe, but not necessarily, to better relations. To measure such intensity of relations this study showed that quantitative evaluation of transactional data is an acceptable method. ^ Subject Area Political Science, International Law and Relations Recommended Citation SOMKIAT ONWIMON, "INDIA'S RELATIONS WITH THE ASEAN COUNTRIES, 1966-1975: A TRANSACTION ANALYSIS" (January 1, 1981). Dissertations available from ProQuest. Paper AAI8208022. http://repository.upenn.edu/dissertations/AAI8208022 |
THAIVISION
THAIVISION เป็นพื้นที่ข่าวสารข้อมูล website ใหม่ กำลังวิวัฒนาการ เพื่อประโยชน์สาธารณะไทย ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ความคิดเห็นในมุมมองอิสระ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และการต่างประเทศ THAIVISION เป็น website ที่ออกแบบ, สร้าง, และบริหารจัดการโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล, เป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว, ทั้งในทางกฎหมายและทางจริยธรรม THAIVISION มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะไทย โดยจะทำหน้าที่ตามเป้าหมายให้ดีที่สุดตามขีดความสามารถ THAIVISION โดยหลักการ มีเนื้อหาสาระที่สะท้อนความสนใจและความเห็นของผมแต่เพียงผู้เดียว แต่ก็เชื่อว่าความคิดเห็นสาธารณะจากท่านผู้อ่านมีคุณค่า จึงยินดีและพร้อมรับความคิดเห็นจากท่านทั้งหลายอย่างเสรี ด้วยความรู้สึกขอบคุณอย่างอบอุ่นใจ ภาษาที่ใช้ใน THAIVISION ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษนานาชาติ เป็นภาษาที่กระชับ สุภาพ คงความเป็นผู้มีอารยธรรมในการสื่อสาร. การออกแบบและสร้าง THAIVISION จะวิวัฒนาการไปอย่างช้าๆ ด้วยรูปแบบเรียบง่าย ตามศิลปะสร้างสรรค์ส่วนตัวของผมคนเดียว. ภาพถ่าย, ภาพยนตร์, งานวรรณกรรม และวัสดุสื่อสารอื่นที่ปรากฏใน THAIVISION ทั้งหมดเป็นงานสร้างสรรค์ต้นฉบับ และมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายไทย, the Berne Convention (1886, 1914, 1979) และ the World Intellectual Property Organization Copyright Treaty (1996). บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดใน THAI VISION ตามกฎหมาย. สมเกียรติ อ่อนวิมล 1 มกราคม 2558 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม (2507) อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
|
ประวัติที่เขียนผิดใน Wikipedia
|
|