THAIVISION
  • REFLECTION
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
  • AND BEYOND
  • THAILAND
    • KING BHUMIBOL
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
  • THE LIBRARY
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ
  • IN MY OPINION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW

 
​A S E A N

ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS
​ONE VISION  ONE IDENTITY  ONE COMMUNITY

Picture

SOUTH-EAST ASIAN SEA
​
ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Picture

Picture
Picture
FILE PHOTO: A helicopter lands on the Izumo, Japan Maritime Self Defense Force's (JMSDF) helicopter carrier, at JMSDF Yokosuka base in Yokosuka, south of Tokyo, Japan, December 6, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon/File Photo
Picture
SOUTH East Asian SEA 
Mon Mar 13, 2017 | 5:35am ED
​Exclusive: Japan plans to send largest warship to South East Asian Sea, sources say
By Tim Kelly and Nobuhiro Kubo | 
​
TOKYO 
Japan plans to dispatch its largest warship on a three-month tour through the South China Sea beginning in May, three sources said, in its biggest show of naval force in the region since World War Two.

China claims almost all the disputed waters and its growing military presence has fueled concern in Japan and the West, with the United States holding regular air and naval patrols to ensure freedom of navigation.
The Izumo helicopter carrier, commissioned only two years ago, will make stops in Singapore, Indonesia, the Philippines, Indonesia and Sri Lanka before joining the Malabar joint naval exercise with Indian and U.S. naval vessels in the Indian Ocean in July.

It will return to Japan in August, the sources said.
"The aim is to test the capability of the Izumo by sending it out on an extended mission," said one of the sources who have knowledge of the plan. "It will train with the U.S. Navy in the South China Sea," he added, asking not to be identified because he is not authorized to talk to the media.

Picture
FILE PHOTO: Japan Maritime Self Defense Force's helicopter carrier Izumo is seen at JMSDF Yokosuka base in Yokosuka, south of Tokyo, Japan, December 6, 2016. REUTERS/Kim Kyung-Hoon/File Photo


A spokesman for Japan's Maritime Self Defense Force declined to comment.
Taiwan, Malaysia, Vietnam, the Philippines and Brunei also claim parts of the sea which has rich fishing grounds, oil and gas deposits and through which around $5 trillion of global sea-borne trade passes each year.

Japan does not have any claim to the waters, but has a separate maritime dispute with China in the East China Sea.

Japan wants to invite Philippine President Rodrigo Duterte, who has pushed ties with China in recent months as he has criticized the old alliance with the United States, to visit the Izumo when it visits Subic Bay, about 100 km (62 miles) west of Manila, another of the sources said.

Japan's flag-flying operation comes as the United States under President Donald Trump appears to be taking a tougher line with China. Washington has criticized China's construction of man-made islands and a build-up of military facilities that it worries could be used to restrict free movement. 

Beijing in January said it had "irrefutable" sovereignty over the disputed islands after the White House vowed to defend "international territories". 

The 249 meter-long (816.93 ft) Izumo is as large as Japan's World War Two-era carriers and can operate up to nine helicopters. It resembles the amphibious assault carriers used by U.S. Marines, but lacks their well deck for launching landing craft and other vessels. 

Japan in recent years, particularly under Prime Minister Shinzo Abe, has been stretching the limits of its post-war, pacifist constitution. It has designated the Izumo as a destroyer because the constitution forbids the acquisition of offensive weapons. The vessel, nonetheless, allows Japan to project military power well beyond its territory. 

Based in Yokosuka, near to Tokyo, which is also home to the U.S. Seventh Fleet's carrier, the Ronald Reagan, the Izumo's primary mission is anti-submarine warfare.

(Reporting by Tim Kelly; Editing by Nick Macfie)
Reference: Reuters

หมายเหตุ
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าๆกับเรือรบที่ญี่ปุ่นเคยมีสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีความยาว 149 เมตร (816.93 ฟุต) ลักษณะค้ลายเรือสะเทิ้นน้ำสะเทินบกของนาวิกโยธินสหรัฐ แต่ไม่สามารถรองรับเครื่องบินรบแบบขับไล่ให้ขึ้นลงปฏิบัติการได้


แม้ Izumo จะเป็นเรือรบแบบรุก มิใช่แบบป้องกันตนเองตามข้อบังคับของรัฐธรรมนูญ แต่ญี่ปุ่นก็เลี่ยงรัฐธรรมนูญ โดยเรียกปฏิบัติการของเรือ Izumo ว่าเป็นเรือพิฆาต (Destroyer) ทำให้ดูเป็นการป้องกันตนเองเมื่อถูกยิง แต่ที่จริงเรือ Izumo เป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่มีความพร้องทำสงครามแบบรุก โดยสามารถยิงขีปนาวุธใส่ฝ่ายตรงข้ามได้โดยตรง
รัฐบาลญี่ปุ่น โดยเฉพาะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe มักเสริมความเข้มแข็งให้กับกองกำลังป้องกันประเทศในแนวทางเหมือนกองทัพแต่ใช้วิธีเลี่ยงรัฐธรรมนูญแบบนี้เสมอ.
(แปลสรุป ผสมความเห็นในวงเล็บ)

ข่าวพิเศษ จาก REUTERS อ้างว่าได้แหล่งข่าวที่อยู่วงใน รู้เรื่องดี แต่ไม่เปิดเผยชื่อ

ญี่ปุ่น กำหนดแผนส่งเรือรบขนาดใหญ่ที่สุดออกตระเวนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เดือนพฤษภาคมนี้ ญี่ปุ่นวางแผนจะส่งเรือรบขนาดใหญ่ที่สุด ออกลาดดระเวนทะเล (ที่เรียกชื่อเดิมกันว่า ทะเลจีนใต้ แต่ผมจะขอเรียกใหม่ว่า ทะเล) แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ลองใช้ชื่อนี้ดู เผื่อมีคนเห็นด้วยจะได้ช่วยกันสร้างกระแสชื่อใหม่ ตามบทความด้านขวา ⟶), ข่าวนี้ได้มาจากแหล่งขาวสามแห่ง, ถือว่าเป็นการแสดงกำลังทางทะเลของญี่ปุ่นครั้งใหญ่ที่สุดนับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

จีนได้อ้างสิทธิ์เหนือเกาะและน่านน้ำเกือบทั้งหมด และได้แสดงแสนยานุภาพทางทะเลให้ปรากฏในย่านทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนสร้างความวิตกกังวลให้กับญี่ปุ่นและชาติตะวันตก และสหรัฐเองก็ส่งกองเรือมาบริเวณนี้เป็นระยะๆ เพื่อย้ำเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลหลวง (Freedom of navigation in the open sea / high sea)

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อิซูโม (Izumo) ซึ่งเพิ่งต่อเสร็จสองปีที่แล้ว จะเดินทางไป แวะที่ สิงคโปร์, อินโดนีเซีย จากนั้นจะย้อนกลับไปแวะฟิลิปปินส์, กลับมาอินโดนีเซียอีกที, แล้วจึงตรงไปศรีลังกา ก่อนที่จะไปร่วมซ้อมรบทางทะเลกับกองทัพเรืออินเดียและสหรัฐอเมริกาที่ Malabar ในมหาสมุทรอินเดียเดือนกรกฎาคม (ดูว่ากำหนดการแวะประเทศในอาเซียนจะย้อนไปมาสักหน่อย แต่ก็แปลไปตามข่าว คงมีเหตุผลที่จะไปสิงคโปร์ก่อน แล้วย้อนไปฟิลิปปินส์ แต่ไม่แวะมาเลเซีย และไม่มากรุงเทพฯ เรื่องนี้น่าถามกองทัพเรือไทยดู)

แหล่งข่าวบอกว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน Izumo จะกลับญี่ปุ่นเดือนสิงหาคม (ขากลับน่าชวนแวะสัตหีบ)

แหล่งข่าวแห่งหนึ่งซึ่งรู้เรื่องแผนนี้ให้ความเห็นว่า "จุดประสงค์ของการออกลาดตระเวนทะเลครั้งนี้ก็เพื่อทดสอบขีดความสามารถของเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Izumo ในการปฏิบัติการระยะไกล" นอกจากนั้นแหล่งข่าวยังบอกด้วยว่า Izumo จะร่วมซ้อมรบกับกองเรือสหรัฐฯในทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ชื่อยาว ขอเรียกย่อเป็น SEAS จะสะดวกกว่า) แหล่งข่าวขอปกปิดชื่อเพราะมิได้รับอนุญาตให้พูดกับสื่อมวลชน (แต่ก็จะพูด นายทหารเรือ? คนนี้ก็แปลกดี) 

โฆษกกองกำลังป้องกันประเทศทางทะเลของญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้ (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ถูกสหรัฐบังคับผ่านรัฐธรรมนูญที่สหรัฐฯร่างให้ ว่าห้ามมิให้มีกองทัพ (Armed Forces) เหมือนประเทศทั่วๆไป เพื่อกันมิให้ญี่ปุ่นไปรุกรานทำสงครามกับใครๆอีก แต่ให้จัดตั้งกองกำลังไว้พอที่จะป้องกันการรุกรานจากชาติอื่นได้ในระดับจำกัด ญี่ปุ่นเลยสร้างกองกำลังป้องกันประเทศ (National Defense Forces) ขึ้นมาแทนกองทัพ กองกำลังส่วนที่มาแทนกองทัพเรือ เรียกว่า "กองกำลังป้องกันประเทศทางทะเล" (Japan's Maritime Self Defense Force)

ไต้หวัน, มาเลเซีย, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, และ บรูไน ต่างก็อ้างสิทธิเหนือบางส่วนของทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขอเรียกชื่อเต็มดีกว่า คนอ่านจะได้ลำบาก จะได้หยุดคิดเพื่อการถกเถียงต่อ ว่าจะเห็นด้วยกับชื่อใหม่ที่ผมตั้งขึ้นเอง
โดยพลการหรือไม่ หากผมมีอำนาจเมื่อไร เช่นหากได้มีส่วนร่วมในการผลักดันผ่านการเมือง ก็จะเสนอให้ ASEAN มีมติเปลี่ยนชื่อทะเลจีนใต้ เป็น "ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้") ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล สัตว์น้ำ น้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติ มูลค่าการเดินเรือพาณิชย์ผ่านทะเลนี้มีมากถึงห้าแสนล้านดอลล่าร์ต่อปี 

ญี่ปุ่นไม่ได้อ้างสิทธิ์เหนือทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีข้อพิพาทกับจีนเรื่องสิทธิเหนือเกาะในทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) ซึ่งติดกับทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan)

แต่จีนอ้างสิทธิ์เหนือทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สวนทางกับสหรัฐฯที่ถือว่าเป็นน่านน้ำสากล ต้องประกันเสรีภาพในการเดินเรือ
​
ญี่ปุ่นหวังว่าตอนที่เรือ Izumo ไปแวะที่อ่าวซูบิค จะได้มีโอกาสต้อนรับประธานาธิบดี Duterte ผู้หันไปญาติดีกับจีนและญาติไม่ดีกับสหรัฐฯ

การปฏิบัติการลาดตระเวนทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้สอดคล้องกับบรรยากาศการเมืองสหรัฐฯยุค Donald Trump พอดี Donald Trump ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐกำลังมีนโยบายต้านจีนอย่างแข็งขันด้านการค้า และนโยบายต้านจีนทางการเมืองในทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นนโยบายดั้งเดิมของสหรัฐฯอยู่แล้ว

เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ Izumo เป็นเรือรบปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำ ประจำการที่ฐานทัพเรือ Yokosuka ใกล้โตเกียว ซึ่งเป็นที่ประจำการของเรือบรรทุกเครื่องบิน Ronald Reagan ของกองเรืองที่เจ็ดของสหรัฐฯด้วย

หมายเหตุ:
เรื่องชื่อ "Sea of Japan" ก็มีปัญหาเหมือนกัน ญี่ปุ่นให้คงใช้ชื่อ "Sea of Japan" แต่เกาหลีใต้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "East Sea" ส่วนเกาหลีเหนือสนับสนุนชื่อ "East Sea of Korea" แต่การประชุมปี 2012 ของ International Hydrographic Organization ก็ตัดสินว่าให้คงชื่อ Sea of Japan ไว้ตามเดิม และปฏิเสขคำขอของเกาหลีใต้ที่ให้ใช้สองชื่อคู่กัน คือชื่อ Sea of Japan กับ East Sea กระนั้นก็ตาม แผนที่บางฉบับก็มีการพิมพ์สองชื่อคู่กัน


ส่วนชื่อ "South East Asian Sea" นั้นผมคิดของผมเอง ยังไม่มีรัฐบาลชาติใดเสนอเปลี่ยนชื่อ "South China Sea" ตามผมมาเป็น "South East Asian Sea" หรือที่ผมจะให้เรียกชื่อย่อว่า "SEAS" เรื่องนี้ผมต้องการสร้างให้เป็นปัญหาระหว่างประเทศ หวังว่าท่านผู้มีอำนาจและบทบาทระหว่างประเทศที่แวะเข้ามาอ่านที่นี่จะช่วยสานต่อให้เกิดปัญาระหว่างประเทศ ตามความปรารถนาของผมด้วย.

Picture
Role of the rocks: South China Sea
Is America becoming more assertive about China’s territorial claims in the region? The navy chafed at Barack Obama’s caution: despite China’s massive programmes of building and militarisation on disputed reefs far from the mainland, the former president allowed only a handful of relatively uncontroversial “freedom of navigation” operations. Now the navy has submitted a list of tougher actions for President Donald Trump’s approval, and this weekend a strike group, including the “supercarrier” USS Vinson, showed up. The admirals want to send vessels within 12 nautical miles of features claimed by China: a reminder that, under international law, artificial islands cannot claim surrounding waters. They also want to flout China’s demand to be notified before ships pass through seas it claims. This could backfire. Mr Trump’s national-security apparatus remains in chaos and without a clear China strategy. Rather than restraining Chinese projection of maritime power, more assertive American operations could provide the pretext for increasing it.

ความสรุป:
บทบาทของโขดหินในทะเลจีนใต้

อเมริกากำลังแสดงตนคัดค้านการที่จีนอ้างสิทธิครอบครองอาณาเขตในแถบทะเลจีนใต้ หรืออย่างไร?  แม้ว่าจีนจะก่อสร้างโครงการทางทหารบนเกาะต่างๆในทะเลจีนใต้อย่างมากมหาศาลไปแล้ว แต่รัฐบาลโอบามาก็ไม่ได้แสดงพลังกองทัพเรือในพื้นที่อะไรมากไปกว่าส่งเรือรบไปแสดงตัวพอตอกย้ำเป็นปฏิบัติการ "เสรีภาพในการเดินเรือ" เท่านั้น  มาตอนนี้กองทัพเรือมีแผนเสนอต่อประธานาธิบดี Donald Trump ที่เข้มข้นกว่าเดิม รวมทั้งการส่งกองเรือรบชุดเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่พิเศษ คือเรือ USS Vinson เข้าในพื้นที่ทะเลจีนใต้ กองทัพเรือสหรัฐต้องการส่งเรือไปถึงน่านน้ำ 12 ไมล์ทะเลที่จีนอ้างเป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งจีนวัดออกจากชายฝั่งของเกาะที่จีนอ้างสิทธิ์ เพื่อย้ำเตือนจีนให้รู้ว่าเป็นการอ้างสิทธิ์ที่ผิดไปจากอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งอนุสัญญาไม่รับรองสิทธิ์เหนือเกาะเทียมที่สร้างขึ้นเอง ไม่ใช่เกาะที่มีสิทธิ์ตามธรรมชาติที่แท้ และกองทัพเรือสหรัฐฯก็ต้องการเย้ยจีนด้วยที่บอกว่าใครจะเดินเรือผ่านน่านน้ำของจีนย่านทะเลจีนใต้นี้ต้องแจ้งให้จีนทราบล่วงหน้าก่อน ซึ่งสหรัฐก็จะไม่แจ้ง

แผนการของกองทัพเรือสหรัฐฯที่ว่านี้อาจทำให้เกิดผลร้ายย้อนกลับไปยังสหรัฐฯเอง เพราะตอนนี้การแต่งตั้งฝ่ายความมั่นคงของรัฐบาล Trump ยังยุ่งเหยิงภายในกันอยู่ แถมยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับจีนก็ยังไม่มี ดังนั้นการส่งกองเรือสหรัฐฯไปสยบจีนถึงหน้าบ้านก็อาจจะเป็นการทำให้จีนไม่ยอมสยบ และจะก่อให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นอีกด้วย

The Economist Espresso: 
http://link.economist.com/view/5356c693899249e1ccb87cae5b218.30j/5fc20b8c

Picture
Picture
US aircraft carrier the USS Carl Vinson has started what it calls "routine operations" in the South China Sea, with a fleet of supporting warships.

​South China Sea: US carrier group begins 'routine' patrols

The deployment comes days after China's foreign ministry warned Washington against challenging Beijing's sovereignty in the region. 
China claims several contested shoals, islets and reefs in the area.
It has been constructing artificial islands with airstrips in the South China Sea for a number of years.
Picture
The aircraft carrier was last in the South China Sea two years ago, for exercises with Malaysia's navy and air force and has made 16 voyages to the region in its 35 years of US navy service. 
US Defence Secretary James Mattis said during a recent trip to Japan that the Trump administration saw no need for "dramatic military moves" at the stage. 
The statement appeared to repudiate comments on the subject from Secretary of State Rex Tillerson, who told senators during his confirmation hearings that China should be prevented from reaching the disputed islands.
On Wednesday, Chinese foreign ministry spokesman Geng Shuang said: "We urge the US not to take any actions that challenge China's sovereignty and security."
​
Reference:
BBC News
 http://www.bbc.com/news/world-asia-china-39018882

SOUTH-EAST ASIAN SEA
​ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

​ท
ะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบันนี้เรียกชื่อว่า "ทะเลจีนใต้" แต่จากนี้ต่อไป, เพื่อความถูกต้องเหมะสมตามลักษณะทางภูมิศาสตร์, ทะเลแห่งความตึงเครียดนี้สมควรจะเรียกชื่อใหม่ว่า "ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "South-East Asian Sea" (SEAS)

ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ในศัพท์ภูมิศาสตร์เป็นทะเลชายขอบ (Marginal Sea) ทางตะวันตก ของมหาสมุทร Pacific ตั้งอยู่บริเวณใต้ลงมาจากประเทศจีน ล้อมรอบด้วยประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทย ที่อยู่ฝั่งตะวันตกของอ่าวแห่งสยาม (คนไทยเรียก "อ่าวไทย" แต่โลกเรียกเป็นสากลว่า "อ่าวแห่งสยาม" หรือ "Gulf of Siam")  

อ่าวสยามก็เป็นทะเลชายขอบของมหาสมุทรแปซิฟิค

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ประกาศความตกลงรับรองทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล วัดจากชายฝั่งที่เป็นดินแดนอาณาเขตของประเทศ และรับรองเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล วัดจากชายฝั่งดินแดนอาณาเขต ดังนั้นถ้าจะวัดว่าเกาะต่างๆในทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิทธิ์ครอบครองของจีน หรือของประเทศอื่นใดในอาณาบริเวณก็ให้วัดออกจากชายฝั่งอันเป็นแผ่นดินอาณาเขตของประเทศนั้นๆ

จีนเอาเปรียบชาติอื่นรอบๆทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAS) ทำเองโดยพลการ ไม่หารือขอการรับรองจากประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบ ในการอ้างสิทธิ์ครอบครองเกาะทั้งหลายแล้ว การวัดพื้นที่ทะเลอาณาเขต และ เขตเศรษฐกิจพิเศษ จีนก็เลยวัดจากชายฝั่งเกาะที่ไกลที่สุดจากแผ่นดินใหญ่จีน เพราะถือว่าเกาะเป็นแผ่นดินอาณาเขต ผลทำให้จีนมีอาณาเขตยืดออกไปไกล ครอบคลุมหมู่เกาะ Paracels และ Spratlys ทั้งหมด แล้ววัดเส้นแบ่งทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไปจากชายเกาะเหล่านี้ แทนที่จะวัดออกจากชายฝั่งเกาะไหหลำซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นอาณาเขตของจีน

ดินแดนและทะเลของจีนจึงยืดออกมาไกลจนเกือบติดชายฝั่งประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย ตามที่จีนลากมาเป็น "เส้นประ 9 เส้น" เรียกว่า "Nine- Dotted Lines" (ตามเส้นสีแดงในแผนที่)

สำหรับประเทศอินโดนีเซีย ถือว่าไม่มีข้อพิพาทชัดเจน ส่วน ไทย และกัมพูชา ไม่มีชายฝั่งติดทะเลจีนใต้ จึงไม่มีปัญาโดยตรงกับจีน แต่ก็ต้องถือเป็นปัญหาโดยอ้อมระดับภูมิภาคร่วมกัน

เรื่องนี้จีนอ้างว่าหมู่เกาะทั้งหลายในทะเลจีนใต้เป็นสิทธิ์ของจีนตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกว่าจีนเคยครอบครองน่านน้ำและหมู่เกาะเหล่านี้มาก่อน และชื่อ "ทะเลจีนใต้" ก็บอกแล้วว่าเป็นทะเลของจีนภาคใต้

แทนที่จีนจะเข้าใจว่าเป็นทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ใต้ประเทศจีนลงมา

ทำนองเดียวกันกับอ่าวไทย ที่มิใช่ของไทย แต่เป็นอ่าวที่อยู่ตรงที่ที่ตั้งอยู่นั้นมายาวนานหลายล้านปีแต่ครั้งบรรพกาล แล้วมาถึงแผนที่โลกสมัยใหม่ ก็มีประเทศไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ตั้งอยู่โดยรอบเท่านั้น ชื่อ "อ่าวไทย" หรือชื่อสากล "Gulf of Siam / อ่าวแห่งสยาม" เป็นชื่อในประวัติศาสตร์แต่โบราณ เพราะประเทศสยามในอดีตมีแสนยานุภาพครอบครองอ่าวทั้งหมดได้  จึงเรียกว่า "อ่าวแห่งสยาม" ในยุคที่สยามมีกำลังขยายดินแดนครอบครองไปถึงแหลมมาลายา (แหลมมาเลเซีย-ปัจจุบัน) และต่อไปถึงเกาะปลายแหลมมาลายา ชื่อเกาะเทมาเส็ก (สิงคโปร์-ปัจจุบัน) เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป


ปัจจุบันนี้ดินแดนต่างๆในโลกเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศเป็นสากลแล้ว สิทธิ์ครอบครองดินแดน  หมู่เกาะ และน่านน้ำทะเลอาณาเขต และทะเลลึก จึงต้องเป็นตามสนธิสัญญา (Treaty), อนุสัญญา (Convention), พิธีสาร (Protocol), และ  ความตกลง (Agreement) ต่างๆที่เจรจาและตกลงลงนามกันไว้

สิทธิ์ครอบครองเกาะแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงต้องเป็นไปตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล  (United Nations Convention on the Law of the Sea - UNCLOS)

มิฉะนั้นแล้วไทยก็คงอ้างสิทธิ์ครอบครองอ่าวไทยทั้งหมด เพราะชื่อระบุชัดเจนมากว่าเป็น "อ่าวของสยาม" (Gulf of Siam)

ญี่ปุ่นก็จะได้ครองครองทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan / ทะเลของญี่ปุ่น)

อินเดียกับบังคลาเทศก็ต้องทำสงครามแย่งอ่าวเบงกอลกัน เพราะอินเดียมีรัฐเบงกอลตะวันตก ส่วน "บังคลาเทศ" ชื่อประเทศก็แปลว่า "ประเทศเบงกอล" (Bengal+Pradesh=Bangladesh) ชื่ออ่าวก็ "อ่าวแห่งเบงกอล" หรือ "อ่าวของเบงกอล" (Bay of Bengal)

และมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocrean) ก็ต้องเป็นสิทธิ์ของอินเดียทั้งหมด

แถมเม็กซิโกก็น่าจะได้ครอบครองรัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico) โดยไม่ต้องห่วงเรื่องอพยพข้ามกำแพงกั้นพรมแดนอะไรเลย


จีนจึงจำจะต้องยอมรับความตกลงระหว่างประเทศ วัดทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจำเพาะออกไป 12-200 ไมล์ทะเลเหมือนกับประเทศเวียดนาม ฟิลิปปินส์บรูไน และ มาเลเซีย แล้วเส้นอาณาเขตไปทับกันตรงไหน ก็ถือตรงนั้นเป็นเส้นสิ้นสุด โดยพบกันครึ่งทาง เหมือนกับที่ไทย และ มาเลเซียวัดเส้นอาณาเขตและเส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เพื่อการขุดหาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ตกลงแบ่งปันทรัพยากรกันได้หลายปีแล้ว

จีนควรจะได้ร่วมเจรจากับอาเซียนในความพยายามของทุกฝ่ายร่วมกัน เพื่อหาทางปฏิบัติที่ถูกต้องในทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป

"ทะเลจีนใต้" (South China Sea) เป็น Sea South of China เป็นเพียงทะเลที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ลงมาจากประเทศจีน

ไม่ใช่ทะเลของจีน
ไม่ใช่ Sea of China

แต่เป็นทะเลของเอเชียทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
เป็น Sea of South-East Asia
หรือ South-East Asian Sea


ส่วนชาติใดจะได้เป็นเจ้าของอาณาเขตเกาะและน่านน้ำต่างๆมากน้อยเท่าใด ก็ต้องเป็นไปตามความตกลงว่าด้วยกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล 
 (United Nations Convention on the Law of the Sea - UNCLOS)"

ทุกวันนี้จีนมิได้เคารพกฎหมายทะเล แต่ทำตามใจตนเองโดยพลการ เข้าไปบนเกาะต่างๆ ไปสร้างอาคารสถานที่ ฐานทัพ สนามบิน แล้วจัดงานฉลองการครอบครองดินแดนโดยไม่สนใจคำทักท้วงจะประเทศเล็กๆทั้งหลายรอบๆทะเลนี้ เพราะถืออำนาจบาตรใหญ่ของตน

อาเซียนพยายามให้จีนเข้าร่วมเจรจา จีนก็เข้าร่วมเจรจาด้วย แต่ไม่ยอมรับข้อเรียกใดๆที่จะให้เป็นไปตามหลักสากล

​
ผมเห็นว่าถึงเวลาแล้ว ที่จะขอเริ่มแสดงจุดยืนที่ถูกต้องชัดเจนทางภูมิศาสตร์กายภาพ เรียกชื่อทะเลจีนใต้ใหม่ ว่า:

"ทะเลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" / "ทะเล ออต."
​"South-East Asian Sea" / "SEAS"
​

สมเกียรติ อ่อนวิมล
22 กุมภาพันธ์ 2560

ปล.

เรื่องชื่อ "Sea of Japan" ก็มีปัญหาเหมือนกัน ญี่ปุ่นให้คงใช้ชื่อ "Sea of Japan" แต่เกาหลีใต้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "East Sea" ส่วนเกาหลีเหนือสนับสนุนชื่อ "East Sea of Korea" แต่การประชุมปี 2012 ของ 
International Hydrographic Organization ก็ตัดสินว่าให้คงชื่อ Sea of Japan ไว้ตามเดิม และปฏิเสขคำขอของเกาหลีใต้ที่ให้ใช้สองชื่อคู่กัน คือชื่อ Sea of Japan กับ East Sea กระนั้นก็ตาม แผนที่บางฉบับก็มีการพิมพ์สองชื่อคู่กัน

ส่วนชื่อ "South East Asian Sea" นั้นผมคิดของผมเอง ยังไม่มีรัฐบาลชาติใดเสนอเปลี่ยนชื่อ "South China Sea" ตามผมมาเป็น "South East Asian Sea" หรือที่ผมจะให้เรียกชื่อย่อว่า "SEAS" เรื่องนี้ผมต้องการสร้างให้เป็นปัญหาระหว่างประเทศ หวังว่าท่านผู้มีอำนาจและบทบาทระหว่างประเทศที่แวะเข้ามาอ่านที่นี่จะช่วยสานต่อให้เหิดปัญาระหว่างประเทศตามความปรารถนาของผมด้วย.

SOUTH-EAST ASIAN SEA

Currently as the South China Sea, this body of contentious water shall, from now on, be geographically-correctly called "THE SOUTH-EAST ASIAN SEA" (SEAS).

It's located south of China and surrounded by Southeast Asian countries. The United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) recognizes 12 nautical miles off the furthest shore as national territorial water, and the exclusive economic zone 200 nautical miles further away. Countries of Southeast Asia surrounding this marginal sea west of the Pacific Ocean should have equal rights to administer their respective maritime territories and economic zones in accordance with UNCLOS. China has no right to claim the whole of SEAS as their own by merit of history and its namesake.

The namesake "South China Sea" does not signify automatic China's ownership, otherwise Thailand could claim the whole of  Gulf of Siam. Likewise, India and Bangladesh can start a war for the Bay of Bengal. History belongs to the past and the present is today. The world today lives by international treaty, convention, and agreement. China must learn to abide by international rules.

The South  China Sea, therefore, is an irrelevant name and a ghost of the past. This body of peaceful water of South East Asia, from today onwards, shall be called "THE SOUTH-EAST ASIAN SEA" (SEAS). China must relinquish all claims and withdraw from all the islands within SEAS.

ASEAN negotiation process should continue with full cooperation from China.

Thaivision
​21 February 2017

Picture
Picture
Picture
Picture
Picture
Reference:
BBC News:
 www.bbc.com/news/world-asia-38319253​



    ความเห็นของท่านมีคุณค่า ❊ WE VALUE YOUR OPINION

Submit
THAIVISION® 
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2021 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
  • REFLECTION
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
  • AND BEYOND
  • THAILAND
    • KING BHUMIBOL
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
  • THE LIBRARY
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ
  • IN MY OPINION
  • THAIVISION
  • SOMKIAT ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW