สรุป ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมือง ใหม่หมด
เพื่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางความคิดเพื่อปฏิรูปการเมืองไทย ในฐานะประชาชนธรรมดา ผมขอเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นสังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยหวังจะเห็นข้อเสนอต่อไปนี้ปรากฏเป็นโครงสร้างหลักของอำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจบริหาร ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สรุปโดยย่อดังนี้:
รายละเอียด
ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปการเมืองไทย รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา วุฒิสภา องค์ประกอบ มีสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 100 คน ที่มา สมาชิกวุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ตามการถวายคำแนะนำขององคมนตรี วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา 1. พิจารณากลั่นกรอง แก้ไข และให้คำแนะนำ ต่อร่างพระราชบัญญ้ติและงานอื่นที่ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ส่งต่อมายังวุฒิสภาเพื่อ การกลั่นกรอง ตามรัฐธรรมนูญ 2. กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ผ่านกระบวนการทำงานในวุฒิสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการทำงานของ กรรมาธิการ ฯลฯ 3. ประชุมร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้: (1) รับรองรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี (2) แต่งตั้ง และ ถอดถอน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ (3) อภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรัฐมนตรี (4) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (5) พิจารณาและอภิปรายการแถลงนโยบาย และการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาล 4. วุฒิสภามีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร
องค์ประกอบ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่เกิน 300 คน ที่มา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี อำนาจหน้าที่ (1) เสนอกฎหมาย (2) พิจารณากลั่นกรอง แก้ไข ร่างพระราชบัญญ้ติ ที่เสนอมาจากรัฐบาล (3) กำกับดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล ผ่านกระบวนการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการทำงาน ของกรรมาธิการ ฯลฯ (4) ประชุมร่วมกับวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้: ก. รับรองรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี ข. แต่งตั้ง และ ถอดถอน องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ค. อภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาลและรัฐมนตรี ง. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จ. พิจารณาและอภิปรายการแถลงนโยบายครั้งแรก และการแถลงผลงานประจำปีของรัฐบาล (5) สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และมีอำนาจถอดถอนนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลักการ ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง และให้ประชาชนที่มีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิโดยอิสระเสรีในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดต่างๆได้ โดยไม่จำกัดภูมิลำเนา และไม่จำเป็นเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วให้ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ทำงานในตำแหน่งบริหารในคณะรัฐมตรีและในระบบราชการใดๆทั้งสิ้น จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเขตเลือกตั้ง 1. จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คิดเป็นสัดส่วนจำนวนประชากร 300,000 (สามแสน) คน ต่อผู้แทนราษฎร 1 คน หากคิดที่จำนวนประชากรปัจจุบัน 70 ล้านคน จะมีผู้แทนราษฎรได้ 233 คน ในอนาคตเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นก็จะได้จำนวนผู้แทนราษฎรพิ่มขึ้นตามสัดส่วน แต่ต้องไม่เกิน 300 คน 2. จังหวัดที่มีประชากรไม่ถึง 300,000 คน มีผู้แทนราษฎรได้ 1 คน 3. จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งทั้งจังหวัด เป็นเขตเดียว ประชาชนทั้งจังหวัดเลือกผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีได้ในจังหวัดของตน ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด ตามลำดับ ถือว่าได้รับการเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้ง 1. ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง 2. ประชาชนที่มีอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 3. ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นใบสมัครที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ณ จังหวัดที่ประสงค์จะเป็นผู้แทนราษฎร โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถาน ที่เกิด ภูมิลำเนา หรือสถานที่อยู่ 4. เอกสารประกอบการสมัครให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง และจะต้องมีเอกสารอธิบายประวัติชีวิตและงาน แสดงรายละเอียดว่าด้วยความเป็นพลเมือง ดี มีคุณภาพ มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ แนวนโยบาย ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมอย่างบริบูรณ์ เอกสารดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจริง ให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน และมีความยาวอย่างน้อย 10 หน้า และไม่เกิน 20 หน้า 5. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติและความถูกต้องของข้อมูลของผู้สมัครตามกฎหมายเลือกตั้ง เมื่อรับสมัครแล้ว ให้นำข้อมูลนั้นเผย แพร่ในระบบสารสนเทศ (internet website) ที่ กกต. จัดทำขึ้น พร้อมทั้งพิมพ์เป็นรูปเล่มเอกสารกระดาษ ส่งตรงถึงผู้ มีสิทธิเลือกตั้งทุกคน ล่วงหน้า อย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง 6. การหาเสียงให้ทำได้ดังนี้ : (1) ผู้สมัครสามารถหาเสียง แนะนำตัว เสนอแนะวิสัยทัศน์ และ นโยบาย ได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วง 90 วันสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง (2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเสรี ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (internet website) ที่ผู้สมัครจัดทำขึ้นเอง และที่ กกต.จัดทำให้ (3) การจัดประชุมสัมมนา อภิปราย ปราศรัย หรือการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบต่างๆในห้องประชุม หรือสถานที่สาธารณะกลางแจ้ง ตามที่ผู้สมัครได้รับ เชิญจากประชาชน และที่ผู้สมัครจัดประชุมขึ้นเอง (4) การจัดเวทีประชุมหรือการชุมนุมในที่สาธารณะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของ กกต. โดยต้องไม่รบกวนสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์, โบราณคดี, มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนสถาน สถานศึกษา มรดกทางธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญหรือก่อให้เกิดความขัด แย้งขุ่นข้องใจของชุมชุน (5) ห้ามมิให้มีการติดป้าย โปสเตอร์ หรือภาพสัญลักษณ์ที่เป็นการหาเสียงใดๆในที่ สาธารณะ (6) การแจกเอกสารประกอบการหาเสียงให้ทำได้โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อยในที่สาธารณะ (7) การใช้สื่อสารมวลชนสาธารณะเป็นเสรีภาพของผู้สมัครที่จะแสวงหาโอกาสทำได้โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง (8) รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและประกันสิทธิเสรีภาพของผู้สมัคร แต่ไม่มีหน้าที่ ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือผู้สมัครใดๆทั้งสิ้น (9) ผู้สมัครต้องบริหารจัดการการเงินในการหาเสียงเองอย่างไม่มีเพดานจำกัดการใช้จ่าย และต้องแจ้งรายละเอียดบัญชีการใช้จ่ายต่อ กกต.หลังการ เลือกตั้งจบสิ้นลง โดยให้ กกต. ตรวจสอบการใช้จ่ายแล้วประกาศให้สาธารณชนรับทราบ (10) ผู้สมัครที่ถูกพบว่ามีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้ง ตามกฎหมายเลือกตั้ง เช่นการซื้อเสียง และการให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ในรูปแบบใดก็ตาม ถือว่ามีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย |
คณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี 1 คน รองนายกรัฐมนตรี 4 คน ดังนี้: 1. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมืองและความมั่นคง 2. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ 3. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม 4. รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกิจการทั่วไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กระทรวงละ 1 คน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ กระทรวงละ 2 คน ที่มา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี อำนาจหน้าที่ บริหาราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรีไม่มีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และ คณะรัฐมนตรี หลักการ ให้ประชาชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง และให้ประชาชนที่ มีอายุ35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิโดยอิสระเสรีในการลงสมัครรับเลือก ตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ, และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมืองใด เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้งมาตามแนวนโยบายที่ประกาศไว้ด้วยความพากเพียรอย่าง สุจริตและโปร่งใส และรู้จักรอมชอมทำงานร่วมกันกับรัฐมนตรีอื่นที่อาจมิได้สังกัดกลุ่มความคิดทางการเมืองเดียวกันได้ โดยรัฐจะให้ค่าตอบแทนเป็น อย่างดีและเหมาะกับตำแหน่งอันมีเกียรติสูงสุดสำหรับฝ่ายบริหารบ้านเมืองนี้ กระบวนการเลือกตั้ง 1. ประเทศไทยทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง 2. ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิเลือกตั้ง 3. ประชาชนที่มีอายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 4. ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นใบสมัครที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนกลาง 5. เอกสารประกอบการสมัครให้เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง และจะต้องมีเอกสารอธิบายประวัติชีวิตและงาน แสดงรายละเอียดว่าด้วยความเป็น พลเมืองดี มีคุณภาพ มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ แนวนโยบาย ต่อการพัฒนาประเทศและสังคมอย่างบริบูรณ์ เอกสารดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจริง ให้ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของประชาชน และมีความยาวอย่างน้อย 50 หน้า และไม่เกิน 100 หน้า 6. ให้ผู้สมัครในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีร่วมกันสมัครเป็นคณะเดียวกัน เรียกว่า “ผู้สมัครคณะนายกรัฐมนตรีและรองนายก รัฐมนตรี” 7. ให้ผู้สมัครในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงฯสำหรับแต่ละกระทรวง ร่วมกันสมัครเป็นคณะเดียวกัน เรียกว่า “ผู้สมัครคณะรัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง...(ตามชื่อของแต่ละกระทรวง)” 8. ผู้สมัครแต่ละคณะสามารถแยกสมัครเป็นอิสระจากกัน หรืออาจสมัครรวมกันเป็นกลุ่มเดียวกันซึ่งประกอบด้วยหลายคณะก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ถือว่า อยู่ในสังกัดกลุ่มหรือพรรคการเมืองใดๆอย่างเป็นทางการ 9. ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบคุณสมบัติและความถูกต้องของข้อมูลของผู้ สมัครตามกฎหมายเลือกตั้ง จากนั้นให้นำรายชื่อผู้สมัคร ทั้งหมดเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองและคัดเลือกขั้นต้นต่อไป 10. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้รับรายชื่อคณะผู้สมัครในตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีทั้งหมดจาก กกต.แล้ว ให้จัดกระกระบวนการกลั่นกรองและคัดเลือก ให้เหลือตำแหน่งละไม่เกิน 10 คณะผู้สมัคร เพื่อเสนอต่อประชาชนในการเลือกตั้งโดยตรงต่อไป 11. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้รายชื่อคณะผู้สมัครครบทุกชุดแล้วให้ถือว่าการรับสมัครเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว จากนั้นให้ กกต.นำข้อมูลของคณะผู้สมัคร ทั้งหมดเผยแพร่ในระบบสารสนเทศ (internet website) ที่ กกต. จัดทำขึ้น พร้อมทั้งพิมพ์เป็นรูปเล่มเอกสารกระดาษ ส่งตรงถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทุกคน ล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง 12. การหาเสียงให้ทำได้ดังนี้: (1) คณะผู้สมัครสามารถหาเสียง แนะนำตัว เสนอแนะวิสัยทัศน์ และ นโยบาย ได้ ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วง 90 วันสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้ง (2) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยเสรี ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ (internet website) ที่ผู้สมัครจัดทำขึ้นเอง และที่ กกต.จัดทำให้ (3) การจัดประชุมสัมมนา อภิปราย ปราศรัย หรือการสื่อสารสาธารณะในรูปแบบต่างๆในห้องประชุม หรือสถานที่สาธารณะกลางแจ้ง ตามที่ผู้ สมัครได้รับเชิญจากประชาชน และที่ผู้สมัครจัดประชุมขึ้นเอง (4) การจัดเวทีประชุมหรือการชุมนุมในที่สาธารณะต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของ กกต. โดยต้องไม่รบกวนสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์โบราณคดี มรดกทางวัฒนธรรม ศาสนสถาน สถานศึกษา มรดกทางธรรมชาติ และไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญหรือ ก่อให้เกิดความขัดแย้งขุ่นข้องใจของชุมชุน (5) ห้ามมิให้มีการติดป้าย โปสเตอร์ หรือภาพสัญลักษณ์ที่เป็นการหาเสียงใดๆในที่ สาธารณะ (6) การแจกเอกสารประกอบการหาเสียงให้ทำได้โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อยในที่สาธารณะ (7) การใช้สื่อสารมวลชนสาธารณะเป็นเสรีภาพของผู้สมัครที่จะแสวงหาโอกาสทำได้โดยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง (8) รัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและประกันสิทธิเสรีภาพของผู้สมัคร แต่ไม่มีหน้าที่ ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือผู้สมัครใดๆทั้งสิ้น (9) ผู้สมัครต้องบริหารจัดการการเงินในการหาเสียงเองอย่างไม่มีเพดานจำกัดการใช้จ่าย และต้องแจ้งรายละเอียดบัญชีการใช้จ่ายต่อ กกต.หลัง การเลือกตั้งจบสิ้นลง โดยให้ กกต. ตรวจสอบการใช้จ่ายแล้วประกาศให้สาธารณชนรับทราบ (10) ผู้สมัครที่ถูกพบว่ามีการทุจริตในกระบวนการเลือกตั้ง ตามกฎหมายเลือกตั้ง เช่นการซื้อเสียง และการให้สัญญาว่าจะตอบแทนผู้ลงคะแนน เลือกตั้งในรูปแบบใดก็ตาม ถือว่ามีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย (11) ให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแยกลงคะแนนเลือก “ผู้สมัครคณะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี” ได้เพียงคณะเดียว จาก บัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดที่มีไม่เกิน 10 คณะ (12) ให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยแยกลงคะแนนเลือก “ผู้สมัครคณะรัฐมนตรี ว่าการฯและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง... (ตามชื่อ ของแต่ละกระทรวง)” ได้เพียงคณะเดียว จากบัญชีรายชื่อผู้สมัครทั้งหมดสำหรับแต่ละกระทรวง ที่มีไม่เกิน 10 คณะ โดยลงคะแนน เสียงเลือกตั้งแยกเป็นรายกระทรวง ตามกระบวนการเลือกตั้งที่ กกต.กำหนด (13) คณะผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุด ถือว่าได้รับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่สมัคร พรรคการเมือง ไม่มี | ไม่บังค้บโดยกฎหมาย ไม่มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการตามกฎหมาย แต่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ที่จะรวมกลุ่มกันอย่างเสรีที่จะทำกิจกรรมทางการเมืองและกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมได้ โดยไม่ต้องมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ |