"ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกคน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารภปรารถนา ในปีใหม่นี้ ขอให้ประชาชนชาวไทยตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ไม่ว่าจะทำการสิ่งใดให้คิดให้ดีให้รอบคอบและรอบด้าน เพื่อให้การกระทำนั้นบังเกิดผลเป็นความสุขความเจริญที่แท้จริงและยั่งยืนทั้งแก่ตนเองและประเทศชาติ ขออนุภาพคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคนให้มีความสุขสวัสดี พร้อมด้วยพรอันเป็นมงคลทุกประการสวัสดีปีใหม่"
[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙] KING OF HEARTS
|
How do you see your duty as a king? "Soul of a Nation"
|
King Bhumibol Adulyadej of Thailand
|
The King and I
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
กับ การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ 19 กันยายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเรื่อง การป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ 2538 ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เวลา 20:40-22:45 19 กันยายน 2538 @Youtube: http://www.youtube.com/user/somkiatonwimon http://www.youtube.com/watch?v=wnBFkXUeblo&feature=share วันที่ 18 กันยายน 2538 ฝนตกหนักในกรุงเทพฯ พายุดีเปรสชั่น Ryan ทำให้ฝนตกมากเหนือประเทศไทยและกรุงเทพฯ น้ำเหนือไหลบ่าลงมาจะเข้าท่วมกรุงเทพฯ การระบายน้ำออกจากเขื่อนสิริกิติ์ทำมากกว่าเขื่อนภูมิพล สร้างปัญหาน้ำจะเข้าท่วมกรุงเทพฯปี 2538 ทันทีในวันรุ่งขึ้น วันที่ 19 กันยายน 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกประชุมข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน ทรงอธิบายต่อที่ประชุมฉุกเฉินข้าราชการกรมชลประทาน (อธิบดี และ รองอธิบดี -ปราโมทย์ ไม้กลัด, สวัสดิ์ วัฒนายากร, รุ่งเรือง จุลชาต), ผู้ว่าฯกทม. (กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา), ปลัด กทม. (ประเสริฐ สมะลาภา) และองคมนตรี ที่มีความชำนาญเรื่องน้ำและวิศวกรรม รวมทั้งข้าราชการผู้ชำนาญเรื่องน้ำอีกหลายท่าน ทุกคนนั่งร่วมโต๊ะประชุมแบบล้อมวงรีร่วมกับพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับสั่งให้เร่งแก้ปัญหาพร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดทางวิชาการ วิธีการทำงานป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ให้นำ้ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ตำ่ตามธรรมชาติของน้ำ พระองค์ทรงวิจารณ์พร้อมข้อมูลสนับสนุนว่า เมื่อเกิดพายุดีเปรสชั่น Ryan ฝนตกมาก น้ำเหนือเขื่อนใหญ่ต้องระบายออก แต่ก็ทรงให้พระราชวินิจฉัยว่าปล่อยน้ำออกจาก "เขื่อนพระราชินี" (เขื่อนสิริกิติ์) มากเกินไป แต่ทำไมจึงระบายน้ำจาก"เขื่อนพระราชา" (เขื่อนภูมิพล) ออกมาน้อยมาก ที่ถูกควรเร่งระบายน้ำจาก"เขื่อนพระราชา" ให้มากกว่าจาก "เขื่อนพระราชินี" ในเรื่องเขื่อนนั้นโครงการเขื่อนป่าสัก และเขื่อนแก่งเสือเต้นมีความสำคัญมาก และควรจะได้ทำความเข้าใจกับประชาชนที่คัดค้านโครงการแก่งเสือเต้นให้ดี การจัดการปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านที่จะทะเลาะทำลายคันกั้นน้ำของกันและกันก็เป็นปัญหาที่พระเจ้าอยู่หัวทรงเตือนไว้ด้วยความห่วงพระทัย และย้ำให้รัฐบาลดูแลประชาชนให้ดีก่อนจะเกิดน้ำท่วม ลงทุนป้องกันมิให้เกิดน้ำท่วม จะดีกว่าประหยัดกว่าการฟื้นฟูซ่อมแซมและช่วยประชาชนเมื่อเสียหายหมดแล้วหลังน้ำท่วม ทรงให้ขุดตัดถนนที่ขวางทางน้ำ ขุดใต้ทางรถไฟ หาทางให้น้ำไหลลอดออกลงคลองระบายน้ำ เพื่อให้ลงทะเลไปโดยเร็ว ทรงรับสั่งทำให้เสร็จในสามวัน ส่วนโครงการใหญ่ระยาวก็ทรงให้เตรียมการขุดขยายคูคลองระบบประตูระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำต่างๆ การทำความเข้าใจกับประชาชนที่อาจต้องเสียสละและอาจต้องโยกย้ายออกจากที่สาธารณะริมคลองต่างๆ ใครที่ละเมิดไม่ร่วมมือก็อาจจำเป็นต้องใช้กฎหมาย ผมได้ดูวิดีโอเทปม้วนนี้ทั้งหมดแล้ว ยาว 2 ชั่วโมง โดยชั่วโมงแรกเป็นเรื่องการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั่วโมงที่สองเป็นเรื่องโครงการอื่นในภาคใต้และภาคตะวันออก เช่นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง โครงการเขื่อนป่าสัก เขื่อนแก่งเสือเต้น ฯลฯ เทประบบVHS ม้วนนี้เป็นของส่วนตัวที่ผมเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2538 ดูจบแล้วเกิดความ เข้าใจดีมาก ตามที่พระเจ้าอยู่หัวทรงอธิบาย ผมได้ upload ขึ้น Youtube เสร็จเรียบรอยแล้วเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2554 เชิญท่านท่ีสนใจเข้าไปดูได้ที่: Youtube: http://www.youtube.com/watch?v=wnBFkXUeblo&feature=share http://www.youtube.com/user/somkiatonwimon 28 ตุลาคม 2554 |
ติโต | Tito
[Ballantine's illustrated history the violent century War leader book, no. 10] โดย Phyllis Auty พระราชนิพนธ์แปล โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช __________________________________________________ หนังสือชื่อ “ติโต” พระราชนิพนธ์แปลโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2535 เล่มนี้ ในคำนำชี้แจงว่าทรงแปลจากต้นฉบับเรื่อง TITO ของ Phyllis Auty เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก แต่ในคำนำมิได้ลงรายละเอียดว่าเป็นหนังสือชื่อ Tito เล่มใดของ Phyllis Auty ในจดหมายอนุญาตเรื่องลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ Ballantine ก็บอกเพียงว่ายินดีที่พระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงแปลเรื่อง Tito ของ Phyllis Auty และจะไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ใดๆหากการจำหน่ายหนังสือเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล เมื่อดูจากจดหมาย ฉบับนี้ และดูจากคำนำของหนังสือ แล้วดูจากปก ก็จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์แปลจากต้นฉบับเล่มนี้ คือ “TITO: A Biography” โดย Phyllis Auty พิมพ์โดยแผนก Pelican Book ของสำนักพิมพ์ Penguin Books ซึ่งมีความยาวถึง 400 หน้า เมื่อมาดูที่ฉบับแปลก็พบว่ามีความยาวในแบบภาษาไทยเพียง 121 หน้าเท่านั้น จึงเกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมฉบับภาษาไทยจึงสั้นกว่าฉบับภาษาอังกฤษมากมายนัก เมื่อลองเริ่มเปรียบเทียบบทแปล บทต่อบท ประโยคต่อประโยค ก็พบว่าไม่เหมือนกัน และดูจะเป็นคนละเล่มกันเลย ย้อนไปพลิกดูจดหมายตอบจาก Phyllis Auty ผู้เขียน ในหน้า (๖) ที่ตอบอย่างปลื้มปิติในการที่พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงจะแปลงานชิ้นสำคัญของ Phyllis Auty เพื่อเผยแพร่เป็นการกุศลในประเทศไทย จึงทราบชัดเจนว่า ต้นฉบับที่แท้จริงคืออีกเล่มหนึ่ง ชื่อ “Tito” (Ballantine's Illustrated History of the Violent Century, War Leader Book, No. 10) เขียนโดย Phyllis Auty ผู้เขียนคนเดียวกัน พิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อปี 1972 เป็นเล่มเล็ก ฉบับย่อ พิมพ์หลังเล่มใหญ่ของผู้เขียนคนเดียวกัน สองปี ซึ่งปัจจุบันเป็นหนังสือเก่าหายากแล้ว เรื่องของ “ติโต” ในหนังสือชุดผู้นำสงครามในประวัติศาสตร์ศตวรรษแห่งความรุนแรง เล่มที่ 10 ว่าด้วยเรื่องของ Tito ผู้นำการรบต้านภัย Nazi กู้ชาติ Yugoslavia ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหน้าที่ของสำนักพิมพ์อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จะต้องแก้ไขข้อความบนปกเรื่องชื่อหนังสือต้นฉบับให้ถูกต้องหากจะมีการพิมพ์ครั้งต่อไป การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกแปลจากเล่มที่สั้นและย่อกว่า มีความยาวเพียง 121 หน้านั้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้อ่านที่ต้องการทำความรู้จักขั้นเริ่มต้นกับคนดีของโลกอีกคนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ควรอ่านเป็นหนังสือนอกเวลาเรียน ไม่ว่าโรงเรียนจะกำหนดเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม |
Josip Broz คือชื่อจริง
Tito คือชื่อที่เป็นสมญานาม ของเลขาธิการพรรคคอมมูนิสต์แห่ง Yugoslavia ผู้เริ่มต้นชีวิตจากลูกชาวนา หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า "ทหารลูกทุ่ง" เพราะ Josip Broz หรือ Tito เกิดมาในครอบครัวที่แม้ไม่ถึงกับยากจนนัก แต่ก็ต้องดิ้นรนเพราะมีพี่น้องรวมกันถึง 9 คน ออกจากโรงเรียนไปทำงานล้างจานในค่ายทหารตั้งแต่อายุ 12 ไปฝึกงานในอู่ซ่อมรถยนต์ตอนอายุ 15 เร่ร่อนเปลี่ยนงานจนอายุ 20 สมัครเป็นทหารเกือบเอาชีวิตไม่รอดในสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกรัสเซียจับเข้าค่ายกักแล้วแหกคุกหนี ถูกจับอีก แล้วหนีอีก กลับมา แอบเป็นสมาชิกพรรคคอมมูนิสต์ ของ Yugoslavia เรียกว่าพวก Partisan สร้างสมผลงานและบารมี จนกลายเป็นหัวหน้าพรรค เป็นหัวหน้าแนวร่วมกู้ชาติจนรวมประเทศ Yugoslavia จากความแตกแยกสมัยสงครามได้สำเร็จ ติโต คือเด็กช่างกล ลูกชาวนาได้ดี กลายเป็นสุดยอดของผู้นำโลกคนหนึ่ง ทั้งๆที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง Yugoslavia ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ ในหน้า 59 บอกชัดเจนว่า "ติโตเองก็มีจุดยืนที่เหนียวแน่น เขาเป็นคอมมูนิสต์ขนานแท้ และเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรเดิม ซึ่งมีนโยบายให้เซอร์เบียเป็นศูนย์กลางประเทศ" ความเป็นคนดี คนน่าสนใจของ Tito คือการเป็นผู้นิยมอุดมการณ์คอมมูนิสต์แบบอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การครอบงำของ Stalin แห่งสหภาพโซเวียต อิสระในความคิดที่ไม่นิยมระบบนารวม อิสระที่ต้องการให้ให้ชนทุกเผ่าพันธุ์กลับมาร่วมความเป็นชาติเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง : Kosovo, Croatia, Serbia, Montenegro, Bosnia, Herzegovena, Slovania, สารพัดความร้าวฉานแตกแยก Tito รวมชาติ Yugo-Slav ได้สำเร็จ เป็นผู้นำกองทัพใต้ดินจากจำนวน 1,000 มาเป็น 800,000 คน แม้ Germany ของ Hitler ก็ต้องปล่อยให้ชัยชนะเป็นของ Tito ลักษณะเด่นของ Tito คือความมุมานะนึกถึงประชาชนผู้ยากไร้ นึกถึงชาติเป็นเป้าหมายใหญ่ และพร้อมที่รับความจริงว่าชัยชนะที่เป็นเป้าหมายนั้นต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือจากมิตรรอบด้านให้มากที่สุด ผสานกับการให้การศึกษากับตัวเองและประชาชนทั้งมวลอย่างต่อเนื่อง Tito กล่าวว่า : [น.91] "การดำเนินการศึกษาอย่างไม่หยุดยั้ง นี้ มีความสำคัญมาก" การที่ต้องออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุ 12 มิได้ทำให้ Tito หยุดการศึกษาด้วยตนเอง Tito จึงกลายเป็นนักคิด นักรบ และนักต่อสู้เพื่อชาติ Yugoslavia [น. 212] "เขาเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เปลี่ยนวิถีแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศตน และผู้ได้ผนวกบทใหม่เข้าในตำนานของลัทธิคอมมูนิสต์ตอนศตวรรษที่ยี่สิบ" 5 ธันวาคม 2557 |
A Man Called Intrepid
|
นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ
พระราชนิพนธ์แปล ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แปลจากเรื่อง “A MAN CALLED INTREPID” โดย WILLIAM STEVENSON ------------------------------------- "คนที่ถูกเรียกว่า INTREPID" "INTREPID" จาก OXFORD ENGLISH DICTIONARY แปลว่า ความ "FEARLESS" "ไม่กลัว" "UNDAUNTED" "ไม่ย่นย่อถ้อถอย" "BRAVE" "หาญกล้า" "ท้าทาย" "DARING" อันเป็นเป็นคุณสมบัติในบุคคล และใน MERRIAM-WEBSTER’S THIRD INTERNATIONAL DICTIONARY แปลว่า: "CHARACTERIZED BY RESOLUTE FEARLESSNESS IN MEETING DANGERS OR HARDSHIPS AND ENDURING THEM WITH FORTITUDE" "คนซึ่งมีคุณลักษณะไม่หวาดกลัวสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะต้องเผชิญภยันตราย หรือความลำบากยากเข็ญอย่างไร เพียงใด ก็จะบากบั่นฝ่าฟันด้วยมานะมุ่งมั่น “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” คือชื่อหนังสือฉบับแปล “INTREPID” พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงแปลว่า “นายอินทร์” เพียงแค่เริ่มแปลชื่อ “INTREPID” เป็น “นายอินทร์” ก็สะท้อนพระอัจฉริยภาพสองประการแล้ว เพราะหากเป็นนักแปลอาชีพทั่วไปแล้วก็จะต้องแปลตรงตัวว่า “บุรุษผู้ชื่อว่า นายกล้าหาญ” หรือไม่ก็ “ชายคนนั้นชื่อ INTREPID” พระอัจฉริยภาพประการที่หนึ่ง คือความมั่นใจเด็ดเดี่ยวที่จะไม่แปลตามตัวอักษร แต่จะทรงแปลตามที่ควรจะเข้าในความหมายของคำและความหมายที่แฝงอยู่ในคำ เพราะ INTREPID เป็นชื่อ CODE ปลอมตัวของสายลับหัวหน้าเครือข่ายจารกรรมของอังกฤษ ต่อต้าน HITLER และ GERMANY สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในบทที่ 16 ของ A MAN CALLED INTREPID อันเป็นตอนที่อธิบายที่มาของชื่อ INTREPID ต้นฉบับเขียนว่า : “THE MANOEUVRE WHICH BRINGS AN ALLY INTO THE FIELD IS AS SERVICEABLE AS THAT WHICH WINS A GREAT BATTLE,” CHURCHILL HAD WRITTEN IN HIS AUTOBIOGRAPHICAL ACCOUNT OF WORLD WAR I. AS PRIME MINISTER IN THE SECOND, HE ADDED THAT THE MAN TO BRING IN THE AMERICANS MUST BE FEARLESS. HE PAUSED, “DAUNTLESS?” HE SEARCHED FOR THE RIGHT WORD WHILE STEPHENSON WAITED. “YOU MUST BE—INTREPID!” พระเจ้าอยู่หัวทรงแปลดังนี้ : “อุบายวิธีที่ช่วยชักนำให้สัมพันธมิตรลงสนามร่วมรบมีความสำคัญพอๆกับยุทธวิธีที่นำชัยชนะในยุทธการครั้งใหญ่.” นี่เป็นข้อเขียนของเชอร์ชิลล์ในอัตชีวประวัติตอนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. ในฐานะนายกรัฐมนตรีตอนสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเพิ่มเติมข้อความว่า บุรุษที่จะชักนำพวกอเมริกันจะต้องเป็นคนไม่รู้จักกลัว. เขาหยุดตรองครู่หนึ่ง. “จะเป็นเหี้ยมหาญดีไหม.” เขาควานหาคำที่จะเหมาะ สตีเฟนสันได้แต่คอย. “คุณต้องเป็น – นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ!” แล้วพระองค์ก็ทรงอธิบายความหมายเพิ่มเติมใส่ไว้ในวงเล็บ สำหรับผู้อ่านชาวไทย เพื่อความเข้าใจในตัวของนาย “INTREPID” หรือชื่อจริง WILLIAM STEPHENSON หัวหน้าเครือข่ายจารกรรามข่าวกรองของ CHURCHILL : “(INTREPID – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...)” การแปลชื่อ INTREPID เป็น “นายอินทร์” ก็เป็นการอิงคำภาษาอังกฤษเดิมที่สะกด : INTRE – PID พยางค์แรก อ่านได้คล้ายชื่อ “พระอินทร์”หรือนายอินทร์ ที่มี “ท-ร์” (ท-ร-การันต์) ผู้ปิดทองหลังพระ พยางค์หลัง PID ออกเสียงว่า “ปิด” ได้ในภาษาไทย และสามารถให้อรรถาธิบายได้ว่า “เป็นผู้ปิดทองหลังพระ” อิงคำว่า “PID” ในภาษาอังกฤษโดยดึงเอาความหมายในภาษาไทยออกมาได้ นี่เป็นพระอัจฉริยภาพอีกอย่างหนึ่ง ในด้านพระอารมณ์ขันเชิงวรรณศิลป์ ที่ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้ทั้งเนื้อหาความหมายที่ถูกต้องลึกซึ้ง และได้อารมณ์ขันที่อ่านได้อย่างสนุกสนาน เพราะสำนวนไทยที่ว่า “ปิดทองหลังพระ” นั้นคือชีวิตจริงของสายลับที่มีสมญานามว่า “INTREPID” หรือ “นายอินทร์” สายลับทุกคนที่ร่วมงานจารกรรมในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทำทุกอย่างเพื่อต่อสู้ขวางทางรุกรานและให้มีชัยเหนือพวก NAZI GERMANY และ HITLER ผู้บ้าคลั่งอำนาจหมายครองโลก เมื่อทำแล้วต้องปกปิดเป็นความลับ ไม่บอกใครให้ทราบถึงวีรกรรมทั้งหมด ไม่ต้องการคำสรรเสริญเยินยอใดๆทั้งสิ้น INTREPID และบรรดาสายลับจารชนทั้งหลายที่เรียกรวมกันว่า “BAKER STREET IRREGULARS” ทำงานแบบปิดทองหลังพระจริงๆ การแปลชื่อ INPTREPID ว่า “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” จึงสมบูรณ์และลึกซึ้ง สะท้อนชีวิตและงานของ INTREPID และจารชนร่วมงานทั้งมวล อย่างถูกต้องที่สุด ยากยิ่งที่นักแปลอาชีพทั่วไปจะหาญกล้าแปลเช่นนี้ได้ การที่พระองค์ทรงให้คำอธิบายเพิ่มเติมในวงเล็บว่า “(INTREPID – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...)” ทั้งๆที่ในต้นฉบับไม่มี ก็เพราะต้องการให้ผู้อ่านชาวไทยได้เข้าใจ INTREPID อย่างลึกซึ้ง เพราะ ลำพังจะเรียกว่า “นายอินทร์” แล้วอธิบายตามสั้นๆว่าเป็นผู้ทำงานแบบ “ปิดทองหลังพระ” เฉยๆ นั้น ผู้อ่านจะขาดความลึกซึ้งถึงชีวิตจริงของมหาเศรษฐีนักบินผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่กลับมาใช้ชีวิตร่วมเป็นร่วมตายในสงครามโลกครั้งที่สองอย่างยึดความอยู่รอดของประเทศชาติเหนือชีวิต เมื่อต้องแปล พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเติมคำอธิบายเพิ่มว่า “(INTREPID – ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักหวาด กล้าหาญแต่ไม่เหี้ยม สู้ศัตรูทั้งภายนอกภายในอย่างไม่ท้อถอย ไม่น้อยใจ ไม่หยุดยั้ง รุกรันฟันฝ่า...)” คุณสมบัติของ สายลับ หรือจารชนเช่น INTREPID นั้น ตัว INTREPID หรือ ชื่อจริง WILLIAM STEPHENSON เองอธิบายไว้ และพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลว่า : “บุคคลที่เหมาะสมจะต้องมีคุณสมบัติหลายอย่างพร้อมกัน จะต้องมีทั้งความซื่อสัตย์สุจริตและความรอบคอบสุขุม ทั้งความเมตตาและความมุ่งมั่น. เขาจะต้องละสังคมที่มั่งคั่งและฟุ่มเฟือย เข้าสู่สังคมที่ต้องประหยัดกระเบียดกระเสียรและถูกความหายนะคุกคาม เขาจะต้องอดทนต่ออารมณ์ที่เคร่งเครียดและผลุนผลันของคนที่ตรากตรำเพราะภัยสงคราม” แม้ INTREPID จะพูดถึงคนที่จะมาเป็นหัวหน้าหน่วยจารกรรมฝ่ายอเมริกัน ที่จะทำงานเคียงคู่กับตัวเขาเอง แต่คุณสมบัติที่กล่าวถึงนั้นก็คือความเป็น INTREPID ที่ชัดเจน ส่วนนี้ในหนังสือเล่มนี้นี่เองที่สะท้อนคุณลักษณะของคนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชื่นชมอย่างที่สุด เมื่อพระองค์ทรงพบในตัว WILLIAM STEPHENSON หรือ INTREPID ดังที่นาย WILLIAM STEVENSON ผู้เขียนหนังสือที่บังเอิญมีชื่อคล้ายกัน ได้เขียนเล่าไว้ด้วยแนวการเขียนที่ตื่นเต้นระทึกใจ และนี่คงจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาถึงสามปี แปล A MAN CALLED INTREPID ให้พสกนิกรของพระองค์ทั้งประเทศได้อ่าน เพื่อว่าชีวิตที่เสียสละเพื่อชาติของ INTREPID และคณะจารชนใต้ดินอังกฤษทั้งหลายนับหมื่นนับแสนคนที่สละชีพเพื่อให้ชาติได้พ้นภัยสงครามไปได้ทั้งหลายเหล่านั้น จะได้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและสร้างประเทศชาติไทย โดยผู้นำและประชาชนที่มีคุณสมบัติเฉกเช่น “A MAN CALLED INTREPID” และสายลับปฏิบัติการใต้ดินทั่วยุโรปและอเมริกา และทั่วโลกที่ทำงานให้ WILLIAM STEPHENSON ตัวอย่าง : LESLIE HOWARD นักแสดงอังกฤษผู้แสดงเป็น ASHLEY WILKES คนที่ SCARLET O’HARA หลงรัก ในภาพยนตร์เรื่อง GONE WITH THE WIND (วิมานลอย) LESLIE HOWARD เสียชีวิตเมื่อเครื่องบินตก เหนืออ่าว BISCAY ชีวิตจริงที่ชาวโลกรู้จัก LESLIE HOWARD เป็นพระเอกภาพยนตร์ ส่วนชีวิตลับ เขาคือสายลับกู้ชาติอังกฤษ ทำงานให้กับ WILLIAM STEPHENSON หรือ INTREPID หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่านายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ขณะที่เขากำลังเดินทางกลับไปปฏิบัติงานให้ INTREPIDในอังกฤษ เครื่องบินที่เขาแอบโดยสารมา ถูกฝ่าย GERMANY ยิงตก เหนือ อ่าว BISCAY คนที่โด่งดังในโลกที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสายลับต้าน NAZI ก็ถูกเปิดเผย
ในบทที่ 31 ของหนังสือสารคดีเบื้องหลังงานสายลับจารกรรมสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเรื่อง “A MAN CALLED INTREPID” เขียนโดย WILLIAM STEVENSON เมื่อปี ค.ศ.1989 (พ.ศ. 2532) และต่อมาเป็นพระราชนิพนธ์แปลโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ทรงตั้งชื่อว่า “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” ในหน้า 357 เล่าถึงช่วงชีวิตจริงตอนหนึ่งของ IAN FLEMING (เอียน เฟล็มมิง) ขณะไปปฏิบัติงานให้กรมข่าวทหารเรืออังกฤษในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1941 โดยเขาได้เห็นปัญหาการทำงานจารกรรมและการต้องปกปิดทุกอย่างเป็นความลับมากมายหลายเรื่อง การฆ่า การถูกฆ่า การมุ่งมั่นทำงานเพื่อชาติ เพื่อให้ได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่แรกเริ่มไม่มีวี่แววเลยว่าจะต้านพลังและฟันฝ่าอำนาจของ ADOLF HITLER (อะดอล์ฟ ฮิตเลอร์) เผด็จการนาซีเยอรมนีไปได้ แต่เครือข่ายสายลับอังกฤษภายใต้การนำอย่างลับสุดยอดของ WILLAM STEPHENSON หรือชื่อสายลับเรียกว่า “INTREPID” หรือ “นายอินทร์” ก็สามารถเอาชนะเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่สองได้ สายลับจำนวนมากได้รับอนุญาตให้ฆ่าได้อย่างถูกต้องตามระเบียบราชการข่าวกรอง เรียกว่า “การฆ่าอันชอบธรรม” เรื่องที่ต้องเก็บเป็นความลับไปจนตายนี้นั้นทำให้ IAN FLEMING จำต้องหาทางระบายออกมาเป็นงานเขียนนวนิยายสายลับ “JAMES BOND 007” เรื่องแรกในชีวิตการเป็นนายทหารเรือฝ่ายข่าวกรองและงานจารกรรม โดยอธิบายว่า รหัส 00 (ศูนย์สองตัว) มีความหมายว่าได้รับอนุญาตให้ฆ่าคน (LICENSE TO KILL)ได้โดยถือเป็น “การฆ่าอันชอบธรรม” ในหนังสือ JAMES BOND 007 เรื่องแรก JAMES BOND ตัวเอกของเรื่องเล่าถึงการฆ่าของเขาสองครั้งแรก: “เรื่องแรกเกิดขึ้นที่นิวยอร์ค – เรื่องผู้เชี่ยวชาญรหัสญี่ปุ่นขบประมวลรหัสของเราที่ ชั้นสามสิบหกของตึก อาร์.ซี.เอ. (R.C.A. BUILDING) ใน ร็อกกิเฟลเลอร์ เซนเตอร์ ซึ่งเป็นสถานกงสุลของอ้ายญุ่น. ผมไปเช่าห้องบนชั้นที่สี่สิบของตึกระฟ้าใกล้เคียง และสามารถมองข้ามถนนลงไปในห้องที่เขาทำงานอยู่ ต่อไป ผมเรียกเพื่อนร่วม หน่วยในนิวยอร์คมาพร้อมกับปืนเรมิงตันแบบสามสิบ-สามสิบ สองกระบอก ทั้ง กล้องเล็งทางไกลและเครื่องเก็บเสียง...ผู้นี้มีหน้าที่เพียงแต่ยิงให้กระจกหน้าต่างแตก เป็นช่องให้ผมยิงอ้ายญุ่นได้. ที่ร็อกกิเฟลเลอร์ เซนเตอร์ มีกระจกหน้าต่างหนา เพื่อ ไม่ให้เสียงจากภายนอกรบกวน. งานผ่านพ้นไปอย่างสะดวกมาก...ผมยิงโดนอ้ายญุ่น เข้าตรงปาก เมื่อมันหันมาอ้าปากค้างด้วยความตกใจ..”๑ หนังสือ JAMES BOND 007 เรื่องแรกนี้ IAN FLEMING ตั้งชื่อว่า “CASINO ROYALE”๒ เมื่อ IAN FLEMING เขียนเสร็จ ได้นำต้นฉบับไปให้ “นายอินทร์” (WILLIAM STEPHENSON) ผู้เป็นเจ้านายของเขาในชีวิตจริงได้อ่านดู นายอินทร์บอกกับ IAN FLAMING ว่า “เรื่องอย่างนี้ขายไม่ออกหรอก. เรื่องจริงมักจะฟังดูแปลกไม่น่าเชื่อเสมอ...”๓ “นายอินทร์” คาดการณ์ผิดไปอย่างมาก เพราะทันทีที่ “CASINO ROYALE” พิมพ์จำหน่ายในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. ๒๔๙๖) ในประเทศอังกฤษ JAMES BOND สายลับ 007 ก็กลายเป็นพระเอกคนใหม่แห่งโลกวรรณกรรมประเภทสายลับจารกรรมยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เรียกว่า “ยุคสงครามเย็น” หรือ “COLD WAR” ซึ่งหมายถึงสงครามอุดมการณ์ที่ไม่ได้ลงมือสู้รบด้วยอาวุธจริงๆ หากแต่ข่มขู่กันด้วยการสะสมอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะอาวุธนิวเคลียร์ การจารกรรมข้อมูลข่าวสารต่างๆของฝ่ายตรงกันข้ามจึงเป็นเรื่องที่กระทำกันจริงๆ และทำต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ ส่วน JAMES BOND 007 ที่เป็นตัวแสดงในนวนิยายก็ยังทำหน้าที่มาจนทุกวันนี้เช่นกัน ผ่านยุคสงครามเย็น มาสู่ยุคการเผชิญหน้า ยุคเจรจาผ่อนคลายความตึงเครียด ยุคสหภาพโซเวียตล่มสลายแยกดินแดนออกเป็นหลายสาธารณรัฐ และจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน JAMES BOND ก็ยังไม่ตาย ไม่แก่ และ เปลี่ยนโฉมหน้าอยู่เป็นครั้งคราว บุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลายที่ปรากฎในหนังสือ “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” ล้วนมีชีวิตลับเป็นหน่วยจารกรรมข่าวกรองเสี่ยงชีวิตเพื่อปฏิบัติการใต้ดินต่อต้าน HITLER, และ NAZI GERMANY ทั้งสิ้น ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของ INTREPID ทุกคนล้วนเป็นนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระเช่นเดียวกับ WILLIAM STEPHENSON หรือ “INTREPID” ผู้เป็นหัวหน้า ทั้งสิ้น หากไม่มีหนังสือที่เปิดเผยข้อมูลลับเรื่อง A MAN CALLED INTREPID ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปล และให้ชื่อว่า “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” ก็คงไม่มีใครทราบ หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นงานวรรณกรรมล้ำเลิศของโลกเฉกเช่นงานของ HOMER, WILLIAM SHAKESPEARE, CHARLES DICKENS หรือ LEO TOLSTOY ทำไมพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยามจึงได้ทรงอุทิศเวลาอันมีค่าของพระองค์ถึงสามปี เพื่อแปลหนังสือเล่มนี้? หากพระองค์จะอ่านและทรงรับประโยชน์จากเรื่องของนายอินทร์แต่เพียงอย่างเดียว เวลาอ่านวันเดียวก็คงพอเพียง การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่อง INTREPID เป็นภาษาไทยนั้นก็เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ได้ร่วมอ่านหาความรู้ รับความประทับใจไปด้วย ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการอ่านพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” จึงต่างกับจุดมุ่งหมายในการอ่าน “A MAN CALLED INTREPID” ที่เป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่าน “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” นอกจากจะได้ความรู้ ข้อมูลลับสุดยอดยามสงคราม และความตื่นเต้นที่ได้จากเรื่องจริงที่ยิ่งกว่านิยายแล้ว ผู้อ่านชาวไทยจะต้องหาคำตอบให้ได้ว่า “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” นั้นสำคัญอย่างไรสำหรับพระเจ้าอยู่หัว และความสำคัญนั้นย่อมเป็นสิ่งที่พสกนิกรของพระองค์พึงต้องทราบหัวใจสำคัญของเรื่อง “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” เรื่องของคนดีที่เสียสละเพื่อชาติ ตลอดความยาว 603 หน้า ล้วนเป็นเรื่องของคนดีที่ชาติต้องการทั้งสิ้น เมื่ออ่านจบจึงรู้ว่านี่คือลักษณะคนดีที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงต้องการสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ มาเดอเลน (MADELENE) เป็นชื่อ CODE ลับ ของสายลับสาวสวย เลือดผสม อินเดีย กับ อเมริกัน ชื่อจริง NOOR INAYAT KHAN (นอร์ อินายัต ข่าน) สมัครและฝึกงานสายลับกับ นายอินทร์ เมื่ออายุ 25 ออกเดินทางไปกระโดดร่มลงที่ฝรั่งเศส และเริ่มหาที่หลบซ่อน แฝงตัว ทำหน้าที่ส่งข่าวผ่าน CODE วิทยุสื่อสาร ได้นานสามเดือนครึ่ง ถูก ตำรวจลับ GESTAPO จับตัวและกักขังในค่ายทรมานสังหารนักโทษนาน 10 เดือน และถูกประหารชีวิต ณ ค่าย ดัคเคา (DACHAU) ใน GERMANY วันที่ 12 กันยายน 1944 ชีวิตที่สั้นนักของสายลับ มาเดอเลน นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแปลเรื่องของ เธออย่างสะเทือนอารมณ์ยิ่งนัก ในบทที่ 27 (น. 289) พร้อมทั้งทรงเพิ่มเติมเป็นคำอธิบายจากผู้แปล นอกเหนือไปจากที่มีในหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษด้วยเรื่องราวเสียงชีวิต และเอาตัวเข้าและกับข่าวกรองโดยงานจารกรรมของสายลับ CYNTHIA บทที่ 35 ถึง 38 ให้อารมณ์ระทึกใจอีกแบบหนึ่ง ต่างไปจากความสะเทือนใจที่ได้จากเรื่อง ของมาเดอเลน CYNTHIA ไม่ตาย แต่พลีร่างกายให้กับงานจารกรรมอย่างไม่คำนึงถึงสิ่งใด นอกจากชัยชนะเหนือ HITLER ผู้คลั่งอำนาจ เครือข่ายสายลับของ INTREPID อยู่ในอังกฤษ NEW YORK, CANADA, BERMUDA, TRINIDAD, JAMAICA และอีกหลายแห่งในโลกสายลับหลายแสนคน ส่วนใหญ่ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรับรู้ถึงวีรกรรม และจำนวนหลายหมื่นคนตายไป โดยไม่มีใครสดุดีอย่างเป็นทางการ IAN FLEMING จากกรมข่าวทหารเรืออังกฤษ ผู้ร่วมงานบริหารเครือข่ายจารกรรม และผู้ช่วยคนสำคัญของ INTREPID รู้เห็นเรื่องและวีรกรรมลับของจารชนทั้งหลาย ไม่สามารถเปิดเผยเรื่องลับเหล่านั้นได้ ดังนั้น IAN FLEMING จึงเริ่มเขียนนวนิยายสายลับจารชน 007 หักเหลี่ยม สอบสวนสืบสวนเรื่องแรกชื่อ “CASINO ROYALE” ในปี 1953 INTREPID ตรวจต้นฉบับแล้วบอกกับ IAN FLEMING ว่า [น.357] “เรื่องอย่างนี้ขายไม่ออกหรอก. เรื่องจริงมักจะฟังดูแปลกไม่น่าเชื่อเสมอ...” JAMES BOND 007 ประสพความสำเร็จเป็นนิยายสายลับ ต่อเนื่องมา 14 เล่ม คนทั้งโลกยังอ่านมาจนทุกวันนี้ ชีวิตของ INTREPID และสายลับใต้ดินทุกคน ตื่นเต้น ระทึกใจยิ่งกว่าชีวิตของ JAMES BOND และส่วนใหญ่ จบชีวิต โดยไม่มีใครรู้จัก ... แต่โลกไม่มีวันลืม สมเกียรติ อ่อนวิมล 5 ธันวาคม 2557 _____________________________________ หมายเหตุ ๑. สำนวนแปลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จากเรื่อง “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” สำนักพิมพ์ บริษัท อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด พ.ศ. ๒๕๓๖ (หน้า ๓๕๗) – โปรดสังเกตการใช้เครื่องหมายจุดจบประโยค อันเป็นแบบฉบับงานพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ๒. ชื่อภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกทับศัพท์ว่า “คาสิโน รัวยาล”ส่วนในหนังสือแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า “เหลี่ยมนักเลง” เป็นหนังสือแปลโดย ผู้ใช้นามปากกา “จารุวัฒน์” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยสำนักพิมพ์รวมสาส์น ราคา ๓๕ บาท ๓. จาก “นายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ” หน้า ๓๕๗ |
พระเจ้าอยู่หัว กับ Michael Todd และ ภาพยนตร์เรื่อง “80 วันรอบโลก” (1956) King Bhumibol And Michael Todd’s “Around the World in Eighty Days” (1956) ในปี ค.ศ. 1873 Jules Verne นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ผลิตงานวรรณกรรมอมตะเรื่อง “Around the World in Eighty Days” หรือ “รอบโลกในแปดสิบวัน” ต่อมาในปี 1956 Michael Todd ได้นำเรื่องจากหนังสือ “Around the World in Eighty Days” มาผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in 80 Days” เมื่อมาฉายในประเทศไทยใช้ชื่อภาษาษาไทยว่า “80 วันรอบโลก” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างชื่อเสียงสูงสุดให้กับ Mike Todd ในฐานะผู้ควบคุมการสร้าง (Producer) ภาพยนตร์ Hollywood ( Todd มีชื่อเสียงมากอยู่แล้วจากงานละครเวที Broadway และงานพัฒนาเทคโนโลยีภาพยนตร์จอกว้างระบบ “Todd-AO”) ในปี 1957 ภาพยนตร์เรื่อง “Around the World in Eighty Days” ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Oscar มากถึง 8 ประเภท และในที่สุดก็ได้รับ 5 รางวัล Oscar คือ : 1. Best Picture, 1957 - Michael Todd, producer/ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 1957
เนื้อเรื่องในหนังสือกับในภาพยนตร์มีความแตกต่างกันหลายอย่าง ด้วยธรรมชาติของการสร้างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงตื่นตาตื่นใจจากภาพ.แสง.สี.เสียง.และศิลปะการสร้างภาพยนตร์ที่เปิดกว้างต่อจินตนาการแบบไร้กรอบจำกัด ที่ถูกวิจารณ์มากคือการเพิ่มเติมฉากการเดินทางจากกรุงปารีสโดยลูกบอลลูนบรรจุก๊าซฮีเลี่ยม ซึ่งในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางโดยบอลลูน เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 18 ช่วงที่เขียนหนังสือนั้นยังไม่มีความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ แต่ Michael Todd ก็อธิบายถึงเหตุผลของการดัดแปลงปรับแก้ทำให้ภาพยนตร์มีสีสันตระการตาสนุกสนานเป็นได้ทั้งภาพยนตร์ผจญภัยสนุกสนานและเป็นได้ทั้งภาพยนตร์สารคดีแบบยิ่งใหญ่นำเที่ยวประเทศต่างๆรอบโลกด้วยการถ่ายทำ ณ สถานที่จริงยิ่งใหญ่โอฬาร แสดงนำโดย David Niven, Shirley MacLaine, Robert Newton, และ Cantinflas พร้อมด้วยนักแสดงที่มีชื่อเสียงของ Hollywood กว่า 40 คน (Frank Sinatra, George Raft, Marlene Dietrich, Noel Coward, Robert Morley, etc.) รับบทแสดงผ่านฉากสั้นๆที่เรียกว่า “cameo appearances” ร่วมเข้าฉากแสดงกันมากกว่า 40 คน และตัวประกอบอีกหลายหมื่นคน ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของเราพสกนิกรชาวไทยก็คือ Mike Todd ดัดแปลงเรื่องในบทภาพยนตร์ให้ Phileas Fogg (David Niven) พระเอกในเรื่องเดินทางรอบโลกโดยผ่านกรุงเทพมหานคร ทั้งๆที่ในเรื่องต้นฉบับในหนังสือของ Jules Verne ไม่มีการเดินทางผ่านประเทศไทยเลย
ในต้นฉบับหนังสือของ Jules Verne Fogg จะเดินทางไปทางทิศตะวันออก จากลอนดอน ผ่านคลอง Suez -- Bombay -- Calcutta -- ช่องแคบสุมาตรา -- Singapore -- Hong Kong -- Yokohama -- San Francisco -- New York -- London แต่ในภาพยนตร์ Mike Todd ตัดส่วนที่ผ่านสิงคโปร์ออกไปแล้วเขียนบทใหม่ให้เดินทางผ่านกรุงเทพฯ ภาพทั้งหมดในภาพยนตร์ที่ฉายในโรงใช้เวลา 12 วินาที แต่ใช้เวลาซ้อมนานสี่เดือน (นักศึกษาวิชาภาพยนตร์อาจค้นคว้าเพิ่มเติมได้ และอาจพบต้นฉบับฟิล์มที่่ถ่ายทั้งหมดก็ได้ หากพบดังที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง) ที่ Mike Todd ทำเช่นนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยนั่นเองที่ทรงมี Mike Todd เป็นพระสหาย ทำให้ Mike Todd รักเมืองไทยและกรุงเทพมหานคร ฉากขบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ผ่านหน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามฯ จึงโด่งดังไปทั่วโลกจนทุกวันนี้ กาลต่อมาหากภาพยนตร์ Hollywood จะถ่ายฉากเมืองไทยก็มักจะนิยมถ่ายภาพประปรางค์วัดอรุณ เรียกได้ว่าเป็นภาพเด่นของสถานที่สำคัญของโลกภาพหนึ่ง >>> |
ใน DVD ชุดพิเศษ เรื่อง 80 Days Around the World หากดูภาพยนตร์แบบที่มีเสียงบรรยายวิจารณ์การถ่ายทำจะพบหลักฐานดังนี้: Disc 1 Scene Selection: เสียงภาพยนตร์ Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ Disc 1 Special Features / Commentary by BBC Radio’s Brian Sibley: เสียงบรรยายเบื้องหลังงาน Scene 22 (1:23:00) ฉากนำก่อนหน้า ระหว่างอยู่อินเดีย Scene 23 (1:26:10-1:26:51) ฉากเข้ากรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยา เรือสุพรรณหงษ์ “ As the Rangoon glides past Bangkok, prominent among the pictures is the royal barge of Thailand. 155-feet long and complete with a solid gold throne and maned by 70 oarsmen. It was said that the crew rehearsed for 4 months for this 12 seconds appearance. This glittering prop was provided by Thailand’s King Bhumihol. Back in 1949, the then Prince Bhumibol, an accomplished jazz musician has tried his hand at song writing using the pseudo name of Bhumibol. Todd read a newspaper item about him and got in touched with the Prince. Within days Todd received a package of six songs which he used in his Broadway burlesque review “Peep Show”. “Blue Night” (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ) was considered the best of the Prince’s tunes which Todd placed as the first-act finale of Billy Eckstine. Bhumibol insisted that if there was ever anything he could do to reciprocate Todd must call on him. So, of course, Todd did.” “เมื่อเรือย่างกุ้งเคลื่อนตัวผ่านบางกอก ก็เห็นภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์โดดเด่นตระการตาท่ามกลางความงดงามโดยรอบ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีความยาวถึง 155 ฟุต 70 ฝีพาย พระราชอาสน์ทำด้วยทองคำ ว่ากันว่าฝีพายใช้เวลาซ้อมถึงสี่เดือนสำหรับเข้าฉาก12 วินาทีในภาพยนตร์ ขบวนเรืออันตระการตานี้พระเจ้าอยู่หังภูมิพลแห่งประเทศไทยทรงจัดให้. ย้อนหลังไปปี 1949 ครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเช้าชายภูมิพลนั้น พระองค์เป็นนักดนตรี jazz ผู้มีปรีชาแถมยั้งลองแต่งเพลงอีกโดยใช้พระนามแฝงว่า “ภูมิพล”. Todd ก็ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับพระองค์ในหนังสือพิมพ์แล้วติดต่อพระองคืไป หลังจากนั้นไม่กี่วัน Todd ก้ได้รับพัสดุไปรษณีย์กลับมาห่อหนึ่ง ภายในมีเพลงโดยเจ้าชายภูมิพลอยู่ 6 เพลง ซึ่ง Todd ได้นำไปใช้ประกอบละคอนระบำเปลื้อผ้าบนเวทีบรอดเวย์เรื่อง “Peep Show” เพลง Blue Night (อาจหมายถึง “Blue Day / อาทิตย์อับแสง” หรือ “H.M. Blues / ชะตาชีวิต”? ไม่แน่ใจ)* ถือเป็นเพลงที่ดีที่สุดของพระองค์ ซึ่ง Todd ใช้ในองค์ที่หนึ่งของละคอนฉากสุดท้าย โดย Billy Eckstine. เจ้าชายภูมืพลทรงบอกว่าจะมีอะไรให้ช่วยก็ทรงยินดี ให้ Todd โทรมาได้เลย แล้ว Todd ก็ติดต่อกลับไป.” Disc 2 Around the World of Michael Todd (30:14 - 30:27) Mike Todd’s comment: “We shot in every country that we have shown around the World. My Friend the King of Siam loaned me a Royal Barge. He once wrote some songs for one of my cultural achievements, ‘Be Thrilled’ ” Mike Todd เล่า: “เราถ่ายทำในทุกประเทศรอบโลก ตามภาพที่เห็นในภาพยนตร์ พระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามเป็นเพื่อนผม พระองค์ทรงให้ยืมเรือพระที่นั่ง พระองค์เคยพระราชนิพนธ์เพลงหลายเพลงที่ผมใช้ใน “Be Thrilled”** อันเป็นความสำเร็จในงานวัฒนธรรมของผม” [หมายเหตุ * และ ** เป็นข้อความที่ต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อยืนยันความถูกต้องชัดเจน] ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ 5 ธันวาคม 2558 |