หน้า [๑] วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558
ธรรมชาติรอบๆหนองผักชี [1 กันยายน 2558]
วันเดียวกันกับที่คณะนายตำรวจมาทำกิจกรรมใส่เกลือในโป่งสัตว์ ตามข่าวข้างบน องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามทำสัญญาจ้าง สมเกียรติ อ่อนวิมล ผลิตภาพยนตร์สารคดีอุทยานแห่งชาติของไทย 18 แห่ง ความยาว 18 ตอน 18 ชั่วโมง สัญญาจ้างเริ่มงาน 18 กรกฎาคม 2558 ระยะเวลาทำงาน 20 เดือน ผลิตเป็นภาพยนตร์ระบบ Cinema 4K ความคมชัดเหนือกว่า Digital Ultra High Definition เพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ และบันทึกลงแผ่น DVD แจกจ่ายไปตามโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ ต้นปี 2560.
คุณสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ อพวช. รักษาการแทนผู้อำนวยการ ในฐานะผู้ตัดสินใจให้ผม และทีมงานไทยวิทัศน์ ได้ผลิตภาพยนตร์สารคดีชุดพิเศษนี้ ประสงค์จะให้งานนี้เป็นประโยชน์ทางการศึกษามากที่สุด โดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพ และศาสตร์แห่งโลก หรือ Earth Science ในอุทยานแห่งชาติของไทย. [ภาพ พฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2558 เป็นการหารือระหว่างคุณสาคร ชนะไพฑูรย์, รักษาการผู้อำนวยการ อพวช. กับ นาย สมเกียรติ อ่อนวิมล เพื่อเตรียมงานระยะเริ่มต้น ที่ อพวช. @ http://www.nsm.or.th] [ข่าว วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558]
เมื่อวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558 มีการลงนามในสัญญา ระหว่าง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กับ บจก.ไทยวิทัศน์ โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นสัญญาว่าจ้างให้ผลิตภาพยนตร์สารคดีชุดพิเศษ เรื่อง: อุทยานแห่งชาติของไทย | National Parks of Thailand ภาพยนตร์สารคดีชุดพิเศษนี้จะใช้เวลาผลิตรวม 20 เดือน เสนอเรื่องราวความสมบูรณ์งดงาม และความหลากหลายแห่งสรรพชีวิต ในอุทยานแห่งชาติของไทย ทั้งทางบกและทางทะเล รวม 18 แห่ง ความยาว 18 ชั่วโมง ดังนี้:
18 อุทยานแห่งชาติ 18 ชั่วโมง อันเปี่ยมความงดงามหลากหลายทางชีวภาพในหมู่มวลสรรพชีวิตแห่งพงไพร ทุ่งหญ้า ป่าเขา หุบเหว ต้นน้ำ ลำธาร และ เกาะแก่งทะเลไทย ภาพยนตร์สารคดีชุดพิเศษ ควบคุมและกำกับงานการผลิต โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล นี้จะเริ่มงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2560 ใช้เวลาถ่ายทำและผลิตงาน 20 เดือน พร้อมเผยแพร่ออกอากาศ ต้นปี 2560. ทีมงานจะเดินทางเข้า-ออกอุทยานแห่งชาติทั้ง 18 แห่ง ประมาณสี่รอบ เพื่อให้ได้ภาพและเรื่องราวที่สมบูรณ์ครบถ้วนทุกฤดูกาล ตามกำหนดเป้าหมายของบทภาพยนตร์ ที่ต้องการให้ผู้ชมเข้าใจถึงความหลายหลายทางขีวภาพของธรรมชาติ ของป่าเขา พืช สัตว์ นก แมลง รูปแบบการดำเนินชีวิตทั้งบนบก ในน้ำ และใต้ท้องมหาสมุทร. สารคดี "อุทยานแห่งชาติของไทย" ชุดแรก 18 แห่งนี้ เป็นงานภาพยนตร์สารคดีชุดเริ่มแรก โดยมีแผนจะทำต่อเนื่องในช่วงปีต่อๆไปจนครบทุกอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งหมด 146 แห่งทั่วราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 61 แห่ง โดยเฉพาะผืนป่ามรดกโลก อันเป็นมรดกทางธรรมชาติของชนชาติไทยมาแต่โบราณกาล อุทยานแห่งชาติอันมากหลายของไทยนั้น จำนวนมากงดงามอุดมสมบูรณ์ และมีไม่น้อยที่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติหลังจากถูกทำลายเพราะการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานบุกรุกหาที่ทำกิน จำต้องให้เวลาธรรมชาติได้ฟื้นตัว อีกนานหลายสิบปี ข้อมูล สำนักอุทยานแห่งชาติ ที่ [http://www.park.dnp.go.th/visitor/index.php] กล้องและเล็นส์ที่ใช้ถ่ายทำเป็นระบบ 4K Micro 4/3 กล้อง PANASONIC LUMIX GH4 และเล็นส์เสริมจาก Olympus
|
ความสนับสนุนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
[ข่าววันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2558]
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสนับสนุนข้อมูลความรู้แก่ทีมงานภาพยนตร์สารคดีชุด"อุทยานแห่งชาติของไทย" โดยให้นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เข้าพบพูดคุยหารือในรายละเอียดทางวิชาการ ณ สำนักงานที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ, กรุงเทพฯ. นายวุฒิชัย เจนการ, รองอธิบดีฯ, แสดงความยินดีที่จะได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการตลอดจนการประสานในพื้นที่ทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และชายฝั่ง ตามที่คณะถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีประสงค์ พร้อมกับได้เชิญนักวิชาการของกรมมาร่วมพูดคุยให้คำแนะนำด้วย คือ คุณ.นิพนธ์ พงศ์สุวรรณ, นักวิชาการด้านปะการังที่เชี่ยวชาญที่สุดในประเทศไทย, คุณ.อุกกฤต สตภูมินทร์, นักวิชาการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, การหารือในวันนี้ทำให้ได้ทราบถึงงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ต้องรับผิดชอบดูและทรัพยากรของชาติทั้งหมดในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน และยังต้องดูแลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทะเลอาณาเขตที่มีกรณีพิพาท หรือเป็นปัญหาอธิปไตยของชาติ ตลอดจนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับกัมพูชาและมาเลเซีย.
เฉพาะเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นหัวใจของภาพยนตร์สารคดีชุด "อุทยานแห่งชาติของไทย" โดยการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพร้อมสนับสนุนข้อมูลความรู้อย่างเต็มที่ ซึ่งตามแผน มีอุทยานแห่งชาติทางทะเล 6 แห่งที่อยู่ในโครงการผลิตภาพยนตร์ในช่วงแรก ระหว่างปี 2558-2560 ประกอบด้วย (1) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง (สุราษฎร์ธานี), (2) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (พังงา), (3) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน (พังงา), (4) อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี (กระบี่), (5) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา (กระบี่) ,และ (6) อุทยานแห่งชาติตะรุเตา (สตูล)
นายวุฒิชัย เจนการ, รองอธิบดีฯ, ได้อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับทะเลไทยพอสังเขปเพื่อเป็นแนวทางศึกษาเอกสารที่มอบให้จำนวนมากต่อไป. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
http://dmcr2014.dmcr.go.th/home.php สำนักอุทยานแห่งชาติพร้อม
ให้ความร่วมมือกับงานสร้างภาพยนตร์สารคดี "อุทยานแห่งชาติของไทย" ข่าว วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 สำนักอุทยานแห่งชาติ โดยผู้อำนวยการ ชื่อนาย สมัคร ดอนนาปี ได้แสดงความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีชุด "อุทยานแห่งชาติของไทย" มาตั้งแต่ได้มีการเจรจาหารือรอบแรกเมื่อปลายปี 2557 แล้ว โดยได้มอบเอกสารและหนังสือ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุทยานแห่งชาติมาให้เพื่อการศึกษาเตรียมการทำบทภาพยนตร์ล่วงหน้า และจากการพบหารือรอบที่สอง เมื่อเช้าวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2558 ระหว่างคุณสมัคร ดอนนาปี, ผู้อำนวยการสำนักฯ กับนายสมเกียรติ อ่อนวิมล, ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี ที่สำนักอุทยานแห่งชาติ, ถนนพหลโยธิน, กรุงเทพมหานคร, ทั้งสองฝ่ายเห็นความสำคัญของการสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างความรักในธรรมชาติและโดยเฉพาะความรักอุทยานแห่งชาติในหมู่ประชาชนไทยทุกคนเป็น และภาพยนตร์สารคดี 18 เรื่อง 18 ชั่วโมง เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ 18 แห่ง จะเป็นการจุดประกายความรักและหวงแหนในมรดกทางธรรมชาติของไทยครั้งสำคัญ เพื่อให้งานอันสำคัญครั้งนี้สำเร็จอย่างงดงามตามความประสงค์ของผู้สนับสนุนหลักด้วยเงินงบประมาณ และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง และความเข้าใจในอุทยานแห่งชาติอย่างลึกซึ้งจึงจำจะต้องมากจากสำนักอุทยานแห่งชาติ หน่วยงานสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมา สำนักอุทยานฯได้ให้เอกสารและหนังสือและแฟ้มข้อมูลระบบดิจิทัลมาจำนวนมากเพื่อการศึกษาค้นคว้าเตรียมบทภาพยนตร์ และเมื่อทีมงานไทยวิทัศน์เริ่มออกเดินทางถ่ายทำตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2558 เป็นต้นไป สำนักอุทยานฯจะอำนวยความสะดวกอย่างใกล้ชิดเรื่องการถ่ายทำในอุทยานตลอดจนการเดินทางและพักแรมในพื้นที่ป่าลึก หรือทะเลห่างไกลในบริเวณอุทยานส่วนที่นักท่องเที่ยวเข้าไม่ถึง เพื่อการค้นหาแหล่งพืช, สัตว์, นก, และ แมลง ในอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง นายสมเกียรติ อ่อนวิมล กล่าวว่าทีมงานถ่ายทำจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องตามระเบียบการทำงานในอุทยาน โดยเฉพาะเรื่องการใช้เครื่องบินบังคับวิทยุ (Drone) เหนือผืนป่า 12 แห่ง และการถ่ายทำใต้น้ำในอุทยานแห่งชาติทางทะเล 6 แห่ง ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการไม่รบกวนสัตว์ในอุทยานด้วย นอกจากนั้นสำนักอุทยานฯก็พร้อมที่จะให้ทีมงานเข้าพื้นที่ทำงานได้ตลอดปี รวมทั้งช่วงเวลาที่ปิดอุทยานสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติด้วย ทำให้มีความมั่นใจได้ว่า ภาพยนตร์สารคดีชุด "อุทยานแห่งชาติของไทย" โดยทีมงานไทยวิทัศน์ ของ สมเกียรติ อ่อนวิมล นี้ จะสามารถนำเสนอภาพธรรมชาติที่คนไทยและนักท่องเที่ยวนานาชาติจะมิเคยได้เห็นมาก่อนเลย สมัคร ดอนนาปี
ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักอุทยานฯ กล่าวว่า จะรวบรวมข้อมูล, หนังสือ, เอกสาร ต่างๆให้อีกจำนวนหนึ่ง ก่อนคณะถ่ายทำภาพยนตร์จะเดินทางถ่ายทำต้นเดือนกันยายนนี้ ______________________ สำนักอุทยานแห่งชาติ http://park.dnp.go.th/visitor/index.php กำหนดการเดินทาง
เริ่มวันจันทร์ที่ 7 กันยายน2558 คณะถ่ายทำภาพยนตร์สารคดี นำโดย สมเกียรติ อ่อนวิมล และช่างภาพอีกสองคน ผู้ช่วยงานหนึ่งคน รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ Isuzu Trooper หนึ่งคัน กำหนดออกเดินทางวันวันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558 ดูจากความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆตลอดจนรถยนต์ที่จะต้องตรวจสอบสภาพให้สมบูรณ์และปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ทีมงานทุกคนมีประกันภัยตามกฎหมายแรงงานและระเบียบปฏิบัติที่พึงกระทำเพราะเป็นงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ทั้งระหว่างการเดินทาง และระหว่างการทำงาน |
ทีมงานสารคดีอุทยานแห่งชาติ อยู่ระหว่างเตรียมงาน สั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม ทำบทภาพ ยนตร์ ติดต่อหน่วยงานและองค์กรต่างๆเพื่อความร่วมมือทางข้อมูลวิชาการ และการสนับ สนุนเสริมการทำงาน และ เตรียมการเดินทางถ่ายทำ ต้นเดือนกันยาน นี้ ส่วนการขอรถโตโยต้าใช้สองคันนั้น กำลังนัดหมายขอเจรจาอยู่ หากไม่ได้ ก็มีรถ 4 x 4 Isuzu Trooper คันเก่า ใช้เป็นส่วนตัวเองนานกว่า 20 ปี ใช้เดินทางทำข่าวและท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยตั้งแต่ครั้งทำงานที่บริษัทแปซิฟิคอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น เดินทางมาไกลกว่า 300,000 กิโลเมตรแล้ว พอใช้ได้อยู่ แต่อาจเสียกลางทางบ่อยได้
งานนี้ต้องใช้จ่ายอย่างรัดกุม ไม่อย่างนั้นเงินงบประมาณที่ อพวช.กรุณาให้มาจะหมดก่อนงานเสร็จแน่ๆ เงินงบประมาณที่ได้จาก อพวช. จะใช้ลงทุนอุปกรณ์ใหม่ให้ดีที่สุด และการทำงานให้สะดวกปลอดภัยและมีคุณภาพงานสูงสุด. อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (สุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์) แสดงความสนใจร่วมมือกับงานผลิตภาพยนตร์สารคดีอุทยานแห่งชาติ และให้ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยา (มนตรี เหลืองอิงคะสุต) อธิบายข้อมูล ร่วมกับนักวิชาการของกรม (สุวภาคย์ อิ่มสมุทร - มิได้อยู่ในภาพ)
กรมทรัพยากรธรณีให้ความร่วมมือทางวิชาการ [ข่าว วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2558]
ผมได้มีโอกาสพบพูดคุยหารือ ขอความร่วมมือทางวิชาการจากคุณสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2558 ณ ห้องทำงานอธิบดี ซึ่งก็ได้รับความช่วยเหลือร่วมมือเป็นอย่างดี พร้อมทั้งมอบ เอกสาร หนังสือ แผนที่ ที่หาอ่านได้ยาก หาซื้อก็ไม่มีขาย รวม 7 เรื่อง ทั้งหมดเป็นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยาในประเทศไทย โดยมีนักวิชาการธรณีวิทยาของกรมฯ คือคุณมนตรี เหลืองอิงคะสุต (ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยา), และคุณสุวภาคย์ อิ่มสมุทร (นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ) ร่วมอธิบายให้ความรู้พื้นฐานกับผม เพื่อจะได้ใช้ในการศึกษาเอกสารทั้งหมดให้เข้าใจ ก่อนที่จะออกเดินทางไปถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีชุดอุทยานแห่งชาติ และนักวิชา การ ทั้งสองท่านนั้นก็ยินดีจะให้คำปรึกษาทางไกลกับผมตลอดเวลาที่ผมและทีมงานเดินทางถ่ายทำ ณ อุทยานแห่งชาติต่างๆทั่วประเทศ. หนังสือทุกเล่มที่ได้มา ล้วนมีความสำคัญต่อการศึกษาเพื่อทำบทภาพยนตร์สารคดีทั้งสิ้น และเป็นหนังสือหายาก ไม่มีวางขายตามร้านหนังสือทั่วไป. |
|
|
เลี้ยงส่ง(ไป)เข้าป่า(ไป).... [ข่าววันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2558] เมื่อทราบว่าผมจะเข้าป่าเป็นเวลายาวนานกว่าปี เพื่อทำงานภาพยนตร์สารคดีชุด"อุทยานแห่งชาติของไทย" 18 แห่ง บรรดาเพื่อนร่วมงานเก่าของผมสมัยทำงานด้วยกันในนาม บริษัท แปซิฟิคอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด, ซึ่งปัจจุบันเรียกชื่อกลุ่มว่า "X - PACIFIC", ก็จัดงานเลี้ยงส่งผมที่ร้านอาหาร T-House ถนนพระรามหก เมื่อค่ำวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ทุกคนห่วงใยผมมาก ด้วยเหตุแห่งวัยที่ลุล่วงมาถึง 67 ปีแล้ว เหตุไฉนจึงเพิ่งมาได้ทำงานที่รักและอยากทำแต่วัยหนุ่ม จึงได้มอบข้าวของเครื่องใช้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางเข้าป่าฝ่าทะเล ให้ผมไปใช้หลายรายการ มีของกินของใช้เพื่อสุขภาพระหว่างเดินทาง เช่น ยาทากันยุง, แผ่นปูกันมด, ตะเกียงเดินป่า, แผงโซล่าเซลล์สำหรับชาร์จแบตเตอร์รี่ ผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์จากนักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี, ขนมขบเคี้ยว, เมล็ดกาแฟคั่ว พร้อม เครื่องบดและชงกาแฟ, ผ้าขาวม้า, ฯลฯ ขอบคุณทุกคน ด้วยหัวใจที่เบิกบาน! |