หลักการสื่อสารมวลชน Elements of Journalism คู่มือประจำโต๊ะพนักงานหนังสือพิมพ์ The Washington Post หนากว่า 200 หน้าเขียนว่า : ‘The First mission of a newspaper is to tell the truth as nearly as the truth may be ascertained…The newspaper’s duty is to its readers and to the public at large, and not to the private interests of the owner. In the pursuit of truth, the newspaper shall be prepared to make sacrifices of its material fortunes, if such course be necessary for the public good. The newspaper shall not be the ally of any special interest, but shall be fair and free and wholesome in its outlook on public affairs and public men’ ‘หน้าที่ประการแรกของหนังสือพิมพ์คือการบอกความจริงให้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุดเท่าที่จะประเมินความจริงนั้นได้... หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ คือการทำงานเพื่อผู้อ่าน และเพื่อสารธารณชนโดยส่วนรวม มิใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าของกิจการ และในกระบวนการรายงานความจริงนี้ หนังสือพิมพ์ต้องพร้อมที่จะสละความมั่งคั่งทางวัตถุที่มีอยู่หากเป็นความจำเป็นต้องทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เป็นพวกพ้องกับกลุ่มผลประโยชน์พิเศษใดๆ หนังสือพิมพ์ จะต้องรายงานข่าวสารต่างๆด้วยความยุติธรรมและอย่างเสรี หนังสือพิมพ์จะต้องแสดงมุมมองต่อกิจการสาธารณะและบุคคลสาธารณะอย่างรอบด้านบริบูรณ์ ’ แล้วทำไมอุดมคติอันสูงส่งของหนังสือพิมพ์เช่นนี้จึงทำให้เพียง 21% ของชาวอเมริกันคิดว่าสื่อมวลชนห่วงใยประชาชนผู้อ่าน ลดลงจากเดิมที่เคยเท่ากับ 41% เมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้ Project Excellence in Journalism หรือ โครงการเพื่อความดีเยี่ยมของสื่อมวลชน ในปี 1997 สำรวจโดย Committee of Concerned Journalists พบข้อมูลต่อไปว่า ประชาชนน้อยกว่าครึ่งที่ถูกสำรวจคิดว่าสื่อมวลชนปกป้องประชาธิปไตย และ 38% ของประชาชนคิดว่าองค์กรที่ผลิตข่าวสารทั้งหลายไร้ศีลธรรม Ian Hargreaves สื่อมวลชนชาวอังกฤษ ผู้มากประสบการณ์ทั้งงานข่าวสารหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิชาการ เขียนหนังสือให้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย Oxford ชื่อเรื่อง ‘Journalism: A Very Short Introduction’ ‘บทแนะนำสั้นเรื่องการสื่อสารมวลชน’ อธิบายว่า นับจากวันที่เริ่มมีการประกอบอาชีพนักข่าวในช่วงหลังปี ค.ศ.1600 โดยคนที่ประกอบอาชีพหาข่าวสารในอังกฤษใช้ร้านกาแฟ เป็นสถานที่หาข่าว งานสื่อสารมวลชนผ่านการเปลี่ยนแปลง เผชิญแรงกดดัน ต้านอำนาจท้าทาย หลงใหลในพลังเย้ายวน มากมายหลายหลาก จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีข่าวสารที่รวดเร็วล้ำสมัย ไกลเกินจินตนาการ จนงานสื่อสารมวลชนกลายเป็นงานที่ไร้ขอบเขตหรือข้อจำกัดคำนิยามใดๆ ‘Journalism is both a business and much more than a business’ ‘งานสื่อสารมวลชนเป็นทั้งธุรกิจและเป็นมากกว่าธุรกิจ’ นี่คือปัญหาสองด้านที่เผชิญหน้าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือ Internet และสื่อเทคโนโลยีใหม่ทั้งหลายที่เกิดขึ้นทุกนาทีบนโลกมนุษย์ หนังสือพิมพ์รูปแบบแรกของโลกเป็นใบประกาศข่าวสารสมัยราชวงศ์ Sung ของจีนกว่า 1,000 ปีที่แล้ว เรียกว่า Lipao และถูกองค์พระจักรพรรดิสั่งปิดกิจกรรมไปในที่สุดเมื่อเริ่มแสดงออกซึ่งปัจจุบันนี้เราเรียกว่า “เสรีภาพของสื่อมวลชน” เพราะสื่อมวลชนดูจะมีพลังสร้าง ค้ำบัลลังก์หรือ ล้มองค์จักรพรรดิได้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกระหว่างหนังสือพิมพ์ กับรัฐบาล จะเลือกฝ่ายใด? ประธานาธิบดี Thomas Jefferson กล่าวในปี 1787 เมื่อ 220 มาแล้วว่า : ‘The basis of our government being the opinion of the people, the very first object should be to keep that right; and were it left to me to decide whether we should have a government without newspapers, or newspapers without a government, I should not hesitate a moment to prefer the latter’ ‘ฐานพลังของรัฐบาลของเรามาจากความคิดเห็นของประชาชน หน้าที่แรกเริ่มของเราคือการคงไว้ซึ่งสิทธิพื้น ฐานนี้ และหากว่าผมจำเป็นต้องเลือกว่าจะมีรัฐบาลโดยไม่มีหนังสือพิมพ์ หรือ จะมีหนังสือพิมพ์โดยไม่มีรัฐบาล ผมจะไม่ลังเลเลยแม้แต่ครู่เดียวว่าจะเลือกอย่างหลัง’ การยกย่องอาชีพสื่อมวลชนในอดีตนั้น ถึงกับเชื่อว่า สื่อมวลชนมีอำนาจปกครองประเทศได้ด้วยข้อมูล ข่าวสาร และความจริง แต่เหตุไร สื่อมวลชนจึงทำลายความยิ่งใหญ่น่าเชื่อถือยึดมั่นที่สาธารณชนเคยมีให้ จนลดต่ำลงได้ Ian Hargreaves ให้เหตุผลว่า การเข้าสู่ระบบธุรกิจการลงทุน คือปัญหาใหญ่ หนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต้องทำรายได้ตามที่เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้นต้องการพนักงาน นักข่าว และผู้ทำงานสื่อมวลชนทั้งหลายก็เริ่มคิดว่าเงินคือผลตอบแทนสำคัญในอาชีพ จรรยาบรรณที่ว่ายอมเสียเงินและค่าใช้จ่ายทุกอย่างเพื่อความจริง กลายเป็นการขายเนื้อที่โฆษณา และขายข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับลูกค้าและสินค้าที่ยืมข่าวเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ ‘Yet almost all modern journalism takes place within a corporate setting, which limits and influences what journalists do.’ ‘งานสื่อสารมวลชนเกือบทั้งหมดเกิดและอยู่ในบรรยากาศของกิจการแบบบริษัทธุรกิจ ซึ่งเป็นการจำกัดกรอบ งาน และส่งอิทธิพลต่อการทำงานของสื่อมวลชน’ การที่สื่อมวลชนห่วงใยผู้ถือหุ้น กังวลเรื่องผลกำไร-ขาดทุน ของเจ้าของกิจการทำให้… ‘…distracting editors from journalism’s civic purpose and so damaging reader loyalty and the longer term health of the business. By the end of the twentieth century, in deed if not in name, American journalistic leaders had been transformed into business people.’ ‘เหล่าบรรณาธิการข่าวหันเหความสนใจไปจากงานของสื่อสารมวลชนที่เคยยึดเป้าหมายของการทำหน้าที่ พลเมืองดีต่อสังคมไป เป็นการทำลายความจงรักภักดีที่สื่อมวลชนเคยมีต่อผู้อ่าน และทำลายความมั่นคง เติบโตของธุรกิจสื่อสารมวลชนในระยะยาว เมื่อมาถึงปลายศตวรรษที่ 20 พฤติกรรมของผู้นำสื่อสารมวลชน อเมริกันเปลี่ยนสภาพตนเองไปเป็นนักธุรกิจกันหมดแล้ว’ ความเสื่อมของนักสื่อสารมวลชน ทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักวิทยุกระจายเสียง และ โทรทัศน์ เกิดจากสาเหตุอื่นๆอีกมากหลาย สื่อมวลชนทำตัวเป็นดาราค่าตัวแพง ผู้ประกาศข่าวกลายเป็นดาราที่แสดงเพียงบทอ่านข่าว ส่วนผู้สื่อข่าวที่ทำงานหนักจริงจังมีรายได้น้อยแทบเลี้ยงครอบครัวไม่รอด ผู้สื่อข่าวสงครามบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย ส่วนดาราอ่านข่าวหน้ากล้องเข้าสังคมหรูหรานักข่าวรุ่นใหม่เด็กเกินไป งานมากเกินไปเกินกว่าจะเข้าหาความจริงได้ลึกซึ้ง ประสบการณ์น้อยเกินไปจนตกเป็นเครื่องมือของนักประชาสัมพันธ์ได้ก็มีมาก นักข่าวที่ร่วมมือกับนักการเมืองก็มีไม่น้อยเช่นกัน ทำให้มุมมองความจริงเรื่องประชาธิปไตยเปลี่ยนไป นักข่าวรุ่นแรกเริ่มเช่น Daniel Defoe Jonathan Swift Thomas Paine และ George Orwell ที่เคยเป็นหัวใจของพลังสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยครั้ง 300 ปีที่แล้วหายไปไหนกันหมด งานสื่อสารมวลชนนั้นมีความสำคัญมากกว่าความเป็นธุรกิจ ‘The first job of journalism is to find out, communicate accurately, and be trusted. If it cannot be trusted then it will be neither believed nor respected’ ‘งานแรกของสื่อมวลชนคือการค้นหาความจริงแล้วรายงานให้ถูกต้อง เป็นที่ไว้ใจได้ หากสื่อมวลชนไม่เป็นที่ไว้ วางใจได้แล้ว ก็ไม่มีใครเชื่อ ไม่มีใครเคารพ’ ขณะนี้ในโลก สื่อมวลชนกำลังกลายเป็นธุรกิจ สาธารณชนกำลังลดความเชื่อถือสื่อมวลชนลงไปอย่างมาก นี่คือปัญหาใหญ่ของสื่อสารมวลชนโลก ทั้งตะวันตก และ ตะวันออก จากการวิเคราะห์ในหนังสือชื่อ “Journalism: A Very Short Introduction” โดย Ian Hargreaves สื่อมวลชนและนักวิชาการชาวอังกฤษ เชื่อมโยงต่อมาถึงสื่อมวลชนอเมริกัน ซึ่งจัดประชุมสัมมนาปัญหาเดียวกันนี้ ณ มหาวิทยาลัย Harvard ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. ๒๕๔๐) เริ่มครั้งแรกมีสื่อมวลชนคนสำคัญ 25 คน นั่งคุยกันที่ สโมสรอาจารย์มหาวิทยาลัย Harvard ทั้งนักหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ นักเขียน และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ทุกคนห่วงใยว่าอาชีพสื่อสารมวลชนกำลังวิกฤติ ถูกคุกคาม และตกอยู่ในอันตราย มองไปทางไหนแทบไม่เห็นงานที่เรียกได้ว่าเป็นงานสื่อสารมวลชนอย่างแท้จริง แทนที่เพื่อนร่วมอาชีพจะรับใช้สาธารณชน กลับกลายเป็นว่าเหล่าสื่อสารมวลชนกำลังเป็นผู้ทำลายสังคมเสียเอง ดั่งนั้นจึงได้เห็นพ้องกันร่วมก่อตั้ง “The Committee of Concerned Journalists” (CCJ) หรือ “คณะกรรมการของสื่อมวลชนผู้มีความห่วงใย” ประชุมสัมมนากัน 21 ครั้ง ฟังคำให้ความเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพราว 300 คน มีผู้ร่วมฟังกว่า 3,000 คน ผลสรุปจากการประชุมสื่อมวลชนอเมริกันครั้งสำคัญครั้งนั้นสรุปผลออกมาเป็นหนังสือชื่อ “The Elements of Journalism” โดย Bill Kovach & Tom Rosenstiel ประกาศหลักการพื้นฐานแห่งชีวิตนักสื่อสารมวลชน 10 ข้อ ดังนี้: Elements of Journalism หลักการสื่อสารมวลชน 1. Journalism’s first obligation is to the truth. หน้าที่รับผิดชอบก่อนอื่นใดของสื่อสารมวลชนคือการรับผิดชอบต่อความจริง 2. Its first loyalty is to citizens. ความภักดีอันดับแรกสุดของสื่อมวลชน คือความภักดีต่อประชาชนพลเมือง 3. Its essence is a discipline of verification. หัวใจหลักของงานสื่อมวลชน คือวินัยในการตรวจสอบและยืนยันความจริง 4. Its practitioners must maintain an independence from those they cover. ผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระจากแหล่งข่าวสารและผู้คนที่รายงานข่าวกล่าวพาดพิงถึง 5. It must serve as an independent monitor of power. สื่อมวลชนต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจตราเฝ้าระวังติดตามผู้มีอำนาจในสังคม 6. It must provide a forum for public criticism and compromise. สื่อสารมวลชนต้องเป็นผู้สร้างเวทีสาธารณะเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์และการรอมชอมหาทางออกสำหรับปัญหาใน สังคม 7. It must strive to make the significant interesting and relevant. สื่อมวลชนต้องพยายามอย่างที่สุดในอันที่จะทำให้ข่าวสารเรื่องสำคัญเป็นเรื่องน่าสนใจและชอบด้วยเหตุผลแห่งการ เป็นข่าวสาร 8. It must keep the news comprehensive and in proportion. สื่อมวลชนต้องจัดการให้ข่าวครบถ้วนบริบูรณ์และมีขนาดสัดส่วนที่พอเหมาะพอดี 9. Its practitioners have an obligation to exercise their personal conscience. ผู้ทำงานสื่อสารมวลชนมีภาระหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยใช้จิตสำนึกรับผิดชอบเป็นของส่วนตนเอง 10. Citizens, too, have rights and responsibilities when it comes to the news. พลเมืองมีสิทธิและความรับผิดชอบต่อข่าวเช่นกัน สื่อมวลชนอเมริกันตื่นแล้ว และพร้อมเผชิญหน้ากับผู้แทรกแซงแผ่อิทธิพลหวังครอบงำสื่อทั้งมวล ไม่ว่าจาก รัฐบาล นักการเมือง ธุรกิจใหญ่ อิทธิพลจากเงินค่าโฆษณา และเงาแฝงของงานประชาสัมพันธ์ที่บดบังความจริง อ้างอิง: 1. “Journalism: A Very Short Introduction” โดย Ian Hargreaves 2. “The Elements of Journalism” โดย Bill Kovach & Tom Rosenstiel สมเกียรติ อ่อนวิมล 18 ธันวาคม 2554 Comments are closed.
|
AUTHOR
สมเกียรติ อ่อนวิมล Somkiat Onwimon (1948 - 20xx) lives in Thailand, studied political science and international relations from The University of Delhi (B.A. & M.A.) and The University of Pennsylvania (Ph.D.). He lectured at Chulalongkorn University, and later became a television news 'n documentary reporter-producer-anchorman. He was elected a member of Thailand's 1997 Constitution Drafting Assembly, elected a senator in 2000, and appointed member of the National Legislative Assembly in 2007. Now at his Pak Chong home, he lives a quiet country life of reading, writing, and thinking. Archives
June 2018
Categories
All
|