THAIVISION
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION

IN MY OPINION

SOCRATES:
"HAVEN'T YOU NOTICED THAT OPINIONS WITHOUT KNOWLEDGE ARE SHAMEFUL AND UGLY THINGS?
THE BEST OF THEM ARE BLIND - OR DO YOU THINK THAT THOSE WHO EXPRESS A TRUE OPINION WITHOUT UNDERSTANDING ​ARE ANY DIFFERENT FROM BLIND PEOPLE WHO HAPPEN TO TRAVEL THE RIGHT ROAD?"

(PLATO'S ​​REPUBLIC, BOOK VI 506C)
PLATO COMPLETE WORKS
TRANSLATOR: G.M.A. GRUBE, REVISED BY C.D.C. REEVE, JOHN M. COOPER, EDITOR, D.S. HUTCHISON, ASSOCIATED EDITOR,
HACKETT PUBLISHING COMPANY, INDIANAPOLIS / CAMBRIDGE, 1997, P.1127 
​

Soft Power กับ ประเทศไทย

13/4/2024

1 Comment

 
Picture

                                                                            Soft Power กับ ประเทศไทย

​
ประเทศไทย กับ Soft Power ปี 2002

    ปี 2566-67 เป็นปีที่มีการพูดถึงเรื่อง Soft Power กันมากในประเทศไทย ทั้งในภาครัฐ โดยเฉพาะรัฐบาล และภาคสื่อสารมวลชนซึ่งอาจจะรายงานในฐานะที่เป็นข่าว หรืออาจเป็นการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายและกิจกรรมที่คิดว่าเป็นเรื่้องหรือเกี่ยวข้องกับเรื่อง Soft Power ตามที่คิดว่าเข้าใจ นี่เป็นเพียงเรื่องที่ว่าใครพูดหรือวิจารณ์เรื่อง Soft Power ในประเทศไทย ส่วนเรื่องที่ว่าใครทำอะไรกันบ้างที่เป็นเรื่องการสร้างอำนาจนุ่มนวลหรือ Soft Power สำหรับประเทศไทยนั้นก็เต็มไปด้วยความไม่เข้า่ใจและขาดความรู้พื้นฐานทางแนวคิดเชิงวิชาการเรื่อง Soft Power เป็นปรากฏการณ์ปกติ ดังนั้นการวิจารณ์ปรากฏการณ์เรื่องราวข่าวสารและกิจกรรมที่อ้างว่าเป็น Soft Power ในประเทศไทยนั้นจึงจำต้องเริ่มต้นที่การอ่านต้นเรื่องอันเป็นต้นกำเนิดความคิดเรื่อง Soft Power ในตำราวิชาการสำคัญเรื่อง “Soft Power: The Means to Success in World Politics” โดยศาสตราจารย์  Joseph Nye, Jr.  ที่พิมพ์เผยแพร่ในปี 2004 หากไม่นับหนังสือเรื่องอื่นๆของท่านก่อนหน้า และ ตามหลังหนังสือเรื่องนี้ ความไม่เข้าใจเรื่อง Soft Power และนำไปใช้ผิดๆในสหรัฐอเมริกาเป็นเหตุให้ศาสตราจารย์ Joseph Nye ต้องอธิบายซ้ำ เขียนหนังสือและบทความซ้ำแล้วซ้ำอีก โลกจึงค่อยๆเข้าใจแก่นแท้และสาระสำคัญของมิติที่สองแห่งอำนาจนี้ 
    ที่ได้แปล อธิบาย สรุปให้เข้าใจโดยละเอียดไปเสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับบทนำและ บทที่ 1 ซึ่งถือเป็นหัวใจของหลักการอันเป็นความคิดรวบยอด หรือ ‘concept’ ว่าด้วย ‘Soft Power’ อธิบายจบแล้วรวม 8 ตอน 
    ส่วนบทเรียนเกี่ยวกับความสับสน ใช้ผิดใช้ถูกในสหรัฐอเมริกา, Russia, ยุโรป, จีน, และหลายประเทศในเอเซียได้ถูกประเมินไว้แล้วในหนังสือเรื่องเดียวกันนี้ในบทที่ 2-3-4 และ 5 ซึ่งจะได้สรุปให้ได้อ่านกันในโอกาสที่เห็นควรในอนาคต แต่เฉพาะตอนนี้ถึงเวลาที่จะวิเคราะห์แบบเน้นเฉพาะประเทศไทยเป็นสำคัญก่อน เพราะยังมีความไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่อง Soft Power กันมากอย่างน่าตระหนก โดยเฉพาะในภาครัฐที่ถลำลึกไปตามกระแสข่าวสารจนรัฐบาลไทยถึงกับตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาทำงานเรื่อง Soft Power โดยเฉพาะทั้งๆที่มีความไม่รู้เรื่อง Soft Power อย่างแท้จริงเลย

    ณ ปี 2004 ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. เขียนถึงประเทศไทยไว้ 6 บรรทัด ในบทที่ 3 หน้า 89 ดังนี้:

    “Of course smaller countries both in Asia and other regions also enjoy soft power. South Korea and Thailand attract others through their economic and democratic Progress. Thailand has even discovered that foreigners love Thai food, and its government set a goal of boosting the number of Thai restaurants overseas as a way to ‘subtly help to deepen relations with other countries.’” 
    (อ้างจาก “Thailand’s Gastro-diplomacy,” The Economist, February 23, 
    2002, p.48) 
    (แปล) “แน่นอนว่าประเทศเล็กๆทั้งในเอเชียและภูมิภาคอื่นก็ได้ประโยชน์จาก Soft Power เช่นกัน เกาหลีใต้ และ ประเทศไทย ก็มีอำจาจดึงดูดชาติอื่นๆด้วยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและและการพัฒนาประชาธิปไตย และประเทศไทยก็ยังได้พบว่าชาวต่างประเทศรักอาหารไทย แล้วรัฐบาลก็ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนร้านอาหารไทยนอกประเทศไทย ‘นัยว่าจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆให้ดีลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น’”

    นั่นคือปรากฏการณ์ Soft Power จากประเทศไทยที่ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. สังเกตเห็นผ่านสื่อมสวลชนอังกฤษ เมื่อ 22 ปีที่แล้ว เฉพาะย่อหน้าเดียวที่ ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. กล่าวถึงประเทศไทย ก็สามารถนำหลักการความคิดรวบยอดเรื่อง Soft Power ของท่านมาอธิบายปรากฏการณ์ Soft Power ของไทยได้ดังนี้:

1. ประเทศไทย โดยภาครัฐรู้จักเรื่อง Soft Power และพยายามจะใช้อำนาจมิติอันนุ่มนวลนี้มาแล้วตั้งแต่ปี 2002 ถ้าจะอ้างถึงปีที่ The Economist รายงานข่าวนี้

2. ประเทศไทยเข้าใจถูกต้องแล้วในปี 2002 ว่า Soft Power เป็นเรื่องการทำให้ชาติอื่นรักประเทศไทยด้วยโครงสร้างทรัพยากรอำนาจหลัก (2) ใน (3) ประการคือ (2) ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอันเป็นผลพวงจากนโยบายต่างประเทศ และ (3) การพัฒนาประชาธิปไตย อันเป็นเรื่องค่านิยมในการสร้างประเทศด้วยระบบการเมืองการปกครองที่ได้มาตรฐานประชาธิปไตยโลก ทำนองเดียวกับเกาหลีใต้ ทั้งสองเรื่องนี้เป็น (2) ใน (3) องค์ประกอบอันเป็นหัวใจของแหล่งทรัพยากรอันเป็นที่มาของพลัง Soft Power ที่ดึงดูดให้ชาติอื่นนิยมชมชอบและรักประเทศไทย  ส่วนองค์ประกอบที่ (1) ที่รัฐบาลไทยเพิ่งค้นพบในปี 2002 ในบริบท Soft Power เป็นเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งอาหารไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยและรัฐบาลไทยค้นพบว่าความรักอาหารไทยจากชาวต่างชาติเป็นพลังดึงดูดให้ชาวต่างชาติรักประเทศไทยได้ แล้วรัฐบาลไทยในปี 2002 จึ่งเริ่มมีนโยบายสนับสนุนอย่างเต็มที่ในเรื่องการเพิ่มจำนวนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ไม่ใช่เพื่อให้ต่างชาติมากินอาหารไทยมากขึ้นเฉยๆ แต่เพื่อให้ต่างชาติรักประเทศไทยมากขึ้น อย่างหนึ่งก็โดยการให้ต่างชาติได้มีโอกาสเข้าถึงอาหารไทย วัฒนธรรมไทยที่เขารักได้อย่างทั่วถึงทั่วโลกมากขึ้น และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องนโยบายต่างประเทศและเรื่องวัฒนธรรมไทยผสมอยู่ในแหล่งทรัพยากรแห่งอำนาจนุ่มนวลอำนาจเดียวกัน ไม่ใช่การขายอาหารไทยเพื่อการมีรายได้มากขึ้นจากนักท่องเที่ยว แต่เป็นการทำให้ชาวต่างชาติรักประเทศไทยมากขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสำคัญ

3. พลัง Soft Power มาจาก (1) วัฒนธรรม (2) ค่านิยม อุดมการณ์ และสถาบันทางการเมือง และ (3) นโยบายต่างประเทศ
          ในเรื่องวัฒนธรรมไทยเป็นพลังดึงดูดให้ชาติอื่นรักและชื่นชมนั้น เป็นเรื่องที่คนไทยทราบดีมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้นิยามว่าเป็น “อำนาจ” ดึงดูดให้คนอื่นรักแต่อย่างใดนอกจากจะภูมิใจว่าเรามีวัฒนธรรมที่โลกรัก แต่พอมารู้ว่าวัฒนธรรมเป็นที่มาของอำนาจ Soft Power ก็กลายเป็นเรื่้องสับสนบานปลายกลายเป็นคิดกันว่าวัฒนธรรมเป็นสินค้าขายออกต่างประเทศเพื่อทำรายได้ให้มากขึ้น ไม่ใช่เพื่อให้ชาติอื่นชื่นชมหลงรักโดยธรรมชาติ เป็นที่มาของความไม่ถูกต้องที่กิดขึ้นในปี 2024 ปีปัจจุบัน
          ค่านิยมด้านสาถบันทางการเมืองของไทยในปี 2002/2545 ในบริบทแห่งกาลเวลานั้น ประเทศไทยถือเป็นแบบอย่างได้ในการพัฒนาประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 2540 นั้น ประชาชนไทยทั้งประเทศกับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 99 คน ร่วมกันร่างและเพิ่งประกาศใช้มาได้ 5 ปีด้วยความราบรื่นเป็นแบบอย่างสำหรับรัฐสมาชิก ASEAN และโลกก็เฝ้าจับตาดูด้วยความยินดี มีการเลือกตั้งตามแบบประชาธิปไตยทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ทั้งสองสภาเลือกตรงจากประชาชนทั่วประเทศ มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระถ่วงดุลย์อำนาจที่อาจจะฉ้อฉลทุจริตคอร์รัปชั่นในหมู่นักการเมืองและข้าราชการได้ อย่างน้อยก็พอมีความหวังในระดับแรกเริ่ม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยก็อยู่ระดับบนของ ASEAN เป็นที่สองที่สามรองจาก Singapore และ Malaysia ธนาคารโลกจัดประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ปานกลางขั้นกลางถึงขั้นสูง สามารถฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงก่อนและหลังปี 1997 ทั้งเศรษฐกิจและการเมืองที่อยู่ในระดับเป็นแบบอย่างที่ดี ประเทศไทยมีพลังดึงดูดให้นานาชาติชื่นชมยกย่องและหลงรักได้อย่างน่าภูมิใจ แต่หลังจากการประชุมสุดยอด ASEAN ที่ชะอำ-หัวหิน ปี 2008 และความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มชนในประเทศยังผลให้โครงสร้างทางการเมืองและสังคมประชาธิปไตยในประเทศไทยไถลลงต่ำเป็นระยะแทรกซ้อนด้วยระบบการเมืองที่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างมากมายกระจายทั่ว แถมการแทรกซ้ำทำลายกระบวนการประชาธิปไตยด้วยอำนาจแข็งของฝ่ายทหารที่เข้าแทรกแซงการเมืองอย่างฉับพลันถึงสองครั้ง มาถึงวันนี้ ค่านิยม อุดมการณ์ทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศของไทยไม่มีพลังแห่ง Soft Power หลงเหลืออยู่เลยในภาครัฐ 

4. ที่ยังมีเหลืออยู่คือพลังทางวัฒนธรรม แต่พลังอำนาจทางวัฒนธรรมก็เป็นของประชาชนและสังคม ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ ดังที่ทราบเป็นหลักการแล้วว่า: 
    (1) Soft Power นั้นมากจาก วัฒนธรรม ค่านิยมทางสังคมและการเมือง และ นโยบายต่างประเทศ
    (2) Soft Power นั้นเกิดขึ้นในสองส่วนของสังคม คือภาครัฐ และ ภาคประชาชน

    เมื่อภาครัฐล้มเหลวไปแล้วในขุมพลัง Soft Power ยกเว้นเรื่องวัฒนธรรม แต่พลังวัฒนธรรมนั้นก็เป็นเรื่องที่สังคมและประชาชนวิวัฒนาการสร้างสรรค์ขึ้นกันเองโดยธรรมชาติและกาลเวลาบนเส้นทางประวัติศาสตร์ รัฐมิควรและจะทำไม่ได้ ในการเข้าไปแทรกแซงเรื่องวัฒนธรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นอำนาจที่รัฐบาลจะเอาไปใช้ขายขอความรักจากชาติอื่นตามใจรัฐบาล ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. ย้ำว่า:

    ‘รัฐบาลไม่สามารถ และไม่ควร ที่จะควบคุมวัฒนธรรม ... แน่นอนแท้จริงว่า
    การไม่มีนโยบายควบคุมวัฒนธรรมนั่นเองที่เป็นพลังดึงดูดใจ”

    นี่คือข้อจำกัดของ Soft Power ที่รัฐบาลไทยต้องเข้าใจว่าวัฒนธรรมเป็นของประชาชน รัฐมิควรและต้องไม่เข้าไปแทรกแซงจัดการใหม่ให้กลายเป็นสินค้าส่งขายชาวต่างชาติ แต่รัฐอาจพยายามช่วยสนับสนุนประคับประคองให้วัฒนธรรมของชาติสามารถมีส่วนช่วยเสริมนโยบายต่างประเทศได้ หรืออย่างน้อยๆก็พยายามมิให้วัฒนธรรมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

    ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. กล่าวว่า: “Soft Power จากและโดยภาคประชาชนนี้อาจจะช่วยเสริมหรือสวนทางกับเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศของรัฐอย่างเป็นทางการ ก็ได้ทั้งสองทาง” ซึ่งการคิดแบบนี้เป็นความจริง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ข้อมูลข่าวสาร บทบาท Soft Power จากภาคประชาชนและเอกชนกำลังมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐจะต้องรักษาบทบาทหน้าที่และนโยบายของรัฐเองต่อภาคเอกชนและประชาสัมคมมิให้กัดกร่อนทำลายแต่ให้สนับสนุน Soft Power ที่เป็นของรัฐเองให้ได้

ประเทศไทย กับ Soft Power ปี 2024

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 
และ คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ


    จากปี 2002 ข้ามกาลเวลามา 22 ปี ประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยชุดใหม่จากพรรคเพื่อไทยของคุณทักษิณ ชินวัตร กลับมาพูดและทำเรื่อง Soft Power กันอีกรอบ พูดกันมากขึ้นจนเป็นกระแสใหญ่ในสังคมข่าวสาร ดูเหมือนรัฐบาลขยันจะพยายามทำงานสร้างอำนาจนุ่มนวลให้จริงจังมากขึ้นกว่า 22 ปีที่แล้ว  แต่ทั้งที่พูดและที่ทำ ล้วนอ้าง Soft Power เป็นเครื่องอธิบายทั้งนั้น แถมเป็นการพูด การอ้าง อย่างผิดๆ และที่ทำก็ทำแบบผิดๆ ไม่ใช่เรื่อง Soft Power แต่เป็นเพียงกิจกรรมที่รัฐบาลสั่งให้ทำ และประทับตราให้เรียกว่าเป็น Soft Power

    ลำดับขั้นตอนการกระทำความผิดของรัฐบาล ถือเป็นความผิดเชิงวิชาการ เรื่อง Soft Power ดังนี้:

  1. วันที่ 13 กันยายน 2566 รัฐบาลนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ มีกรรมการทั้งหมด 29 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ วันที่ 3 ตุลาคม แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมอีก 3 คน รวมเป็น 32 คน
  2. วันที่ 3 ตุลาคม 2566 แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” มีกรรมการทั้งสิ้น 52 คน ให้นางสาวแพทองธาน ชินวัตร  บุตรสาวของคุณทักษิณ ชินวัตร (ผู้เป็นเจ้าของพรรคเพื่อไทย) เป็นประธานกรรมการ
  
    คณะกรรมการสองชุดนี้เกิดขึ้นมาโดยคำสั่งรัฐบาล วิเคราะห์ได้ว่าเป็นความผิดเพี้ยนไปจากหลักการ Soft Power โดยสิ้นเชิง:

  1. รัฐบาลไทยปัจจุบันนี้ไม่ใช่แบบอย่างของ Soft Power ข้อ (2) ในเรื่องค่านิยมทางสังคมประชาธิปไตย แม้จะมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าสู่สภาฯ แต่นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง จะอ้างว่ารัฐธรรมนูญให้เป็นได้ ก็อ้างได้ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญ แต่เป็นความผิดแบบแผนประชาธิปไตยอันเป็นค่านิยมมาตรฐานสากล จึงต้องสรุปว่ารัฐบาลไทยปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นแบบอย่างให้โลกรักประชาธิปไตยแบบไทย จึงไม่มีพลังดึงดูดใดๆให้ผู้อื่นรักรัฐบาลนี้ของประเทศไทย -ตามหลักการ Soft Power ข้อ (2)
  2. คณะกรรมการทั้งสองเกิดขึ้นโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี เป็นคำสั่งให้ทำสิ่งที่ควรเป็นการดึงดูดโน้มน้าวใจให้ทำโดยไม่ต้องออกคำสั่ง แบบนี้ถือเป็นการใช้อำนาจแข็ง หรือ Hard Power ไม่ใช่ Soft Power ดังนั้นคณะกรรมการทั้งสองจึงไม่มีพลังดึงดูดอะไรนอกจากจะไปประชุมกัน กำหนดแผนงาน ของบประมาณมาใช้ ออกคำสังให้ผู้อื่นทำตามคำสั่งโดยจัดเงินให้ใช้ เป็นการใช้เงินสร้าง Soft Power จึงผิดหลักการ เพราะเงินเป็น Hard Power อีกทั้งประธานกรรมการทั้งสองชุดก็มิได้มาจากคำสั่งแต่งตั้งที่เป็นประชาธิปไตย เพราะเป็นที่เชื่อกันในระดับประเทศว่ามีบุคคลผู้มีอำนาจนอกรัฐบาลเป็นผู้กำหนดและแต่งตั้งอยู่เบื้องหลัง ความรู้สึกของประชาชนเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อการสร้าง Soft Power แน่นอน
  3. กรรมการทั้งสองคณะมีชื่อแปลกๆราวกับว่าเป็นกรรมการที่จะสร้างและวางแผนการใช้ Soft Power:                                                                                         (1) โดยกรรมการชุดใหญ่นำโดยนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่วางแผน หรือกำหนด “ยุทธศาสตร์” การใช้อำนาจ Soft Power โดยสมมุติฐานว่ามี Soft Power อยู่แล้ว รู้ว่ามันคืออะไรและอยู่ที่ไหน จะเอามาใช้แบบไหนอย่างไร เพราะกรรมการชื่อ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ”
          (2) ส่วนกรรมการชุดเล็กนำโดยหัวหน้าพรรคผู้เป็นลูกสาวของเจ้าของพรรคเพื่อไทยที่สั่งให้ประธานกรรมการชุดใหญ่เป็นนายก
          รัฐมนตรีก่อนแล้วจึงสั่งอีกทีให้ไปเป็นประธานกรรมการชุดใหญ่กำกับงานของกรรมการชุดเล็กที่นำโดยหัวหน้าพรรคผู้มีอำนาจ
          กำกับประธานกรรมการชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง

            สรุปว่ากรรมการชุดใหญ่ใหญ่กว่าชุดเล็ก แต่ประธานกรรมการชุดเล็กใหญ่
            กว่าประธานกรรมการชุดใหญ่

     4. กรรมการชุดเล็กชื่อ “คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” หมายความว่า ‘ชาติ’ ยังไม่มี Soft Power จำจะต้องสร้างและ.
         พัฒนาขึ้นมาใหม่ จะสร้างและพัฒนาอะไรจากอะไรเป็นอะไรก็แล้วแต่ ถ้ารู้ว่า Soft  Power คืออะไร หาได้ที่ไหนก็คงสะดวกมากที่จะ
         เอามาพัฒนาใช้ คิดราวกับว่า Soft Power เป็นวัตถุที่จับต้องได้แต่ยังไม่ได้ถูกขัดเกลาปรับแต่งเอามาใช้ จะอย่างไรก็ตามกรรมการ.              
         ชุดเล็กที่ประธานมีอำนาจเหนือชุดใหญ่นี้จะต้องพัฒนา Soft Power ให้เกิดขึ้นเป็นจริงจับต้องได้เสียก่อนแล้วจึงค่อยส่งต่อให้
         กรรมการชุดใหญ่นำไปใช้ตามยุทธศาสตร์ หากตรรกะเป็นเช่นนี้ก็ยังไม่จำเป็นจะต้องมีกรรมการชุดใหญ่ หรือกรรมการชุดใหญ่ยัง.
         ไม่มีงานทำจนกว่าชุดเล็กจะทำงานเสร็จก่อน หากทำงานก่อนชุดเล็กก็จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าเบี้ยประชุมไปโดยเปล่าประโยชน์
          แถมจะเสียเวลาอันมีค่าของบุคคลสำคัญทั้งหลายที่เป็นกรรมการในชุดใหญ่นี้ด้วย

     5. สมมุติว่าเราจะลองปล่อยให้กรรมการชุดเล็กทำงานพัฒนา Soft Power ให้ประเทศชาติไปก่อนก็จะเป็นเรื่องยากลำบากอีก เพราะ.  
         ความพยายามที่จะสร้าง Soft Power โดยรัฐบาลตั้งกรรมการมาทำงาน ไม่ใช่นโยบายต่างประเทศ แต่เป็นนโยบายของนายก
​         รัฐมนตรี ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งเท่านั้น และกระทรวงการต่างประเทศเองก็ไม่ปรากฏว่ามีนโยบายต่าง.    
         ประเทศที่สะท้อนความประสงค์เรื่อง Soft Power โดยตรงเหมือนที่นายกรัฐมนตรีอยากทำในฐานะประธานกรรมการยุทธศาสตร์
         ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เมื่อ Soft Power ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศโดยตรง Soft Power โดยสำนักนายกรัฐมนตรี
         จึงผิดเพี้ยนไปจากหลักการที่ศาสตราจารย์ Joseph Nye, Jr. กำหนดไว้ ดังนั้นหากว่าใครในภาครัฐจะรับผิดชอบเรื่อง Soft Power
         หน่วยงานนั้นจะต้องเป็นกระทรวงการต่างประเทศจึงจะถูกต้องตามหลักความคิดของ ศาสตราจารย์ Joseph Nye แต่ถ้านายก
         รัฐมนตรีจะเอาผลการประชุมของกรรมการชุดใหญ่ไปบังคับให้กระทรวงการต่างประเทศปฏิบัติเป็นนโยบายต่างประเทศก็ย่อมได้
         เรื่องนี้ยังไม่ทราบว่าจะลงเอยอย่างไร เพราะกรรมการยุทธศาสตร์ยังวางยุทธศาสตร์ไม่ได้เพราะยังไม่มี Soft Power บรรจุหีบห่อส่ง
         มาจากกรรมการชุดเล็กกรรมการชุดเล็ก คือ “คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ” ขอใช้งบประมาณ 5,164 ล้านบาทเพื่อ
         จัดกิจกรรมงานเทศกาล, ท่องเที่ยว, อาหาร, ศิลปะ, ออกแบบ, มวยไทย, ดนตรี, หนังสือ, ภาพยนตร์, ละคร, ภาพยนตร์หรือละครชุด
         แบบ series, แฟชั่น, เกม และ eSports เห็นชัดเจนว่าทั้งหมดนี้เป็นการใช้เงิน (Hard Power) ทำกิจกรรมเชิงศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา
         และท่องเทื่ยว เป็นการทำกิจกรรมและจัดงาน ไม่ใช่การ “พัฒนา” อำนาจนุ่มนวล หรือ Soft Power จึง ไม่เกี่ยวอะไรกับนโยบายต่าง
         ประเทศอันเป็นหัวใจของ Soft Power ไม่เป็นผลอะไรต่อการสร้างแรงดึงดูดให้ประเทศอื่นรักและร่วมมือด้านนโยบายต่างประเทศ
         กับประเทศไทย ไม่สามารถทำให้สถานภาพของประเทศไทยบนเวทีโลก เช่นสหประชาติ องค์การการค้าโลก ฯลฯ ดีขึ้น ทั้งหมดที่
         กล่าวมาเป็นเพียงการจัดงาน เปิดงานแล้วก็ปิดงานเชิงศิลปะวัฒนธรรมธรรมดาๆที่ปรกติ เป็นงานที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นของ
         รัฐบาลที่มีหน้าที่ต้องทำอยู่แล้วเช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การกีฬาแห่งประเทศไทย และ กระทรวงวัฒนธรรม การ
         แทรกแซงในงานวัฒนธรรมโดยรัฐถือเป็นความผิดต่อหลักการ Soft Power เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและต้องไม่ทำ เพราะ “การไม่
         แทรกแซงทางวัฒนธรรมโดยรัฐต่างหากที่ช้วยสร้าง Soft Power ได้”
         สรุปได้ตามหลัก Soft Power ว่า รัฐบาลกำลังแทรกแซงและทำลายวัฒนธรรมชองประชาชน เป็นการทำลาย Soft Power ของชาติที่
         สร้างโดยประชาชนมายาวนาน ถ้ารัฐบาลทำสำเร็จ จากนี้ไปประชาชนก็จะขอเงินงบประมาณจากรัฐเพื่องานวัฒนธรรมเป็นหลัก
          กลายเป็น Hard Power แห่งวัฒนธรรมไปโดยปริยาย

     6. เฉพาะหน้า เรื่องนโยบายจัดงานสงกรานต์ปี  2567 ที่คณะกรรมการฯ ทั้งสองคณะประกาศคำสั่งแบบ Hard Power ให้ขยายเวลา
         ฉลองสงกรานต์ ที่ปรกติตามประเพณีจะมีสามวัน คือวันมหาสงกรานต์ วันเนา และ วันเถลิงศก โดยมีวันผู้สูงอายุและวันครอบครัว
         ซ้อนสองในสามวันนี้ด้วย แต่กรรมการฯสั่งให้เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “World Water Festival” แล้วประชาสัมพันธ์ไปทั่วโลก
         แถมบังคับให้ฉลองสงกรานต์กันยาวนานถึง 20 วัน จะมากหรือน้อยกว่านี้ก็แล้วแต่ความเป็นไปได้ในวันเวลาจริงๆ แต่นี่เป็นการใช้
         อำนาจแข็ง Hard Power แทรกแซงทางวัฒนธรรม หากจะให้สงกรานต์เป็นไปตามคำสั่งรัฐบาลก็อาจต้องออกคำสั่งแทรกแซงทาง
         วัฒนธรรมทุกปีจนกว่ารัฐบาลจะพ้นวาระ

                  การหาคาวมรู้สร้างความเข้าใจเรื่อง Soft Power จริง    ๆ  ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย
                  เพียงอ่านหนังสือของ Prof. Joseph Nye, Jr. เรื่อง “Soft Power: The Means to Success in World Politics”
                  เท่านั้นเองก็พอ พิมพ์ขายมา 20 ปีแล้ว ราคา $15.99 (586.68 บาท) เท่านั้นเอง ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณ
                  ถึง 5,164 ล้านบาทให้สูญเปล่า แถมเป็นการทำลาย Soft Power ให้เสื่อมลงตามอำนาจเงิน 5,164 ล้านบาท ไปด้วย
                 เท่ากับ 8,802,072.680 (แปดล้านแปดแสนสองพันเจ็ดสิบสอง) เท่า ของราคาหนังสือ.


สมเกียรติ อ่อนวิมล
13 เมษายน 2567
​
Picture
1 Comment
    Picture

    Author

    สมเกียรติ อ่อนวิมล
    Somkiat Onwimon
    (1948 - 20xx)
    ​lives in Thailand, studied Political Science, International Relations and South Asia Regional Studies at the University of Delhi (B.A. & M.A.) and University of Pennsylvania (Ph.D.). He lectured at Chulalongkorn University, and later became a television news and documentary reporter-producer-anchorman. He was elected a member of Thailand's 1997 Constitution Drafting Assembly, a senator in 2000, and appointed member of the National  Legislative Assembly in 2007. 
    ​Now at his Pak Chong home, he lives a quiet country life of reading, writing, and thinking.

    Archives

    March 2025
    April 2024
    September 2021

    Categories

    All
    Philosophy

    RSS Feed

    Picture
    Picture
    Picture
THAIVISION®
REFLECTION ON EVENTS ON PLANET EARTH AND BEYOND 
​©2023 All Rights Reserved  Thai Vitas Co.,Ltd.  Thailand  
✉️
​
[email protected]
  • REFLECTION
    • MORNING WORLD >
      • THAKSIN and ASEAN
      • THAKSIN 2010
      • BOBBY SANDS
    • IN CONTEXT >
      • CLASS WAR IN THAILAND?
      • ราชอาณาจักรแห่งบ่อนการพนัน
      • หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
      • SINGAPORE VS TRUMP'S TARIFF
      • สงครามการค้า สหรัฐฯ vs. ไทย
      • IN CONTEXT 17/2024 [Earth Day 1970-2024]
      • IN CONTEXT 16/2024
      • IN CONTEXT 15/2024
      • IN CONTEXT 14/2024
      • IN CONTEXT 13/2024
      • IN CONTEXT 12/2024
      • IN CONTEXT 11/2024
      • IN CONTEXT 10/2024
      • IN CONTEXT 9/2024
      • IN CONTEXT 8/2024
      • IN CONTEXT 7/2024
      • IN CONTEXT 6/2024
  • ON PLANET EARTH
    • EARTH
    • THE WORLD >
      • SCAM INC. (The Economist)
      • SOUTH-EAST ASIAN SEA
  • THAILAND
    • THE MONARCHY >
      • THE MONARCHY IN WORLD FOCUS
      • 9th KING BHUMIBOL- RAMA IX >
        • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
        • Queen Sirikit 1979
        • THE KING'S WORDS
        • THE KING AND I
      • 5th KING CHULALONGKORN >
        • KING CHULALONGKORN THE TRAVELLER
        • KING CHULALONGKORN THE INTERNATIONALIST
      • PHRA THEP (PRINCESS SIRINDHORN)
    • DEMOCRACY IN THAILAND
    • NATIONAL PARKS OF THAILAND >
      • KHAO YAI NATIONAL PARK
      • PHA TAEM NATIONAL PARK
      • PHU WIANG NATIONAL PARK
      • NAM NAO NATIONAL PARK
      • PHU HIN RONG KLA NATIONAL PARK
      • PHU KRADUENG NATIONAL PARK
      • PHU RUEA NATIONAL PARK
      • MAE YOM NATIONAL PARK
      • DOI SUTHEP-PUI NATIONAL PARK
      • DOI INTHANON NATIONAL PARK
      • THONG PHA PHUM NATIONAL PARK
      • KAENG KRACHAN NATIONAL PARK
      • MU KO ANG THONG NATIONAL PARK
      • MU KO SURIN NATIONAL PARK
      • MU KO SIMILAN NATIONAL PARK
      • HAT NOPPHARATA THARA - MU KO PHI PHI NATIONAL PARK
      • MU KO LANTA NATIONAL PARK
      • TARUTAO NATIONAL PARK
    • THAKSIN and ASEAN
  • AND BEYOND
  • THE LIBRARY
    • THE ART OF WAR by SUN TZU
    • SUFFICIENCY ECONOMY BY KING BHUMIBOL OF THAILAND
    • SOFT POWER (Joseph Nye, Jr.)
    • CONVERSATIONS WITH THAKSIN by Tom Plate
    • THE GREAT ILLUSION/Norman Angell
    • MORNING WORLD BOOKS >
      • CASINO ROYALE
      • 1984
      • A BRIEF HISTORY OF TIME
      • A HISTORY OF THAILAND
      • CONSTITUTION OF THE UNITED STATES
    • SCIENCE >
      • ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
      • HUMAN
    • DEMOCRACY IN AMERICA
    • FIRST DEMOCRACY
    • JOHN MUIR
    • MODELS OF DEMOCRACY
    • MULAN
    • THE VOYAGE OF THE BEAGLE
    • ON THE ORIGIN OF SPECIES
    • PHOOLAN DEVI
    • THE REPUBLIC
    • THE TRAVELS OF MARCO POLO
    • UTOPIA
    • A Short History of the World [H.G.Wells]
    • WOMEN OF ARGENTINA
    • THE EARTH : A Very Short Introduction
    • THE ENGLISH GOVERNESS AT THE SIAMESE COURT
    • TIMAEUAS AND CRITIAS : THE ATLANTIS DIALOGUE
    • HARRY POTTER
    • DEMOCRACY / HAROLD PINTER
    • MAGNA CARTA
    • DEMOCRACY : A Very Short Introduction
    • DEMOCRACY / Anthony Arblaster]
    • DEMOCRACY / H.G. Wells
    • ON DEMOCRACY / Robert A. Dahl)
    • STRONG DEMOCRACY
    • THE CRUCIBLE
    • THE ELEMENTS OF STYLE
    • THE ELEMENTS OF JOURNALISM | JOURNALISM: A Very Short Introduction
    • LOVE
    • THE EMPEROR'S NEW CLOTHES
    • THE SOUND OF MUSIC
    • STRONGER TOGETHER
    • ANIMAL FARM
    • POLITICS AND THE ENGLISH LANGUAGE
    • GEORGE ORWELL
    • HENRY DAVID THOREAU >
      • WALDEN
    • MAHATMA GANDHI
    • THE INTERNATIONAL ATLAS OF LUNAR EXPLORATION
    • พระมหาชนก
    • ติโต
    • นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ | A Man Called Intrepid
    • แม่เล่าให้ฟัง
    • SUFFICIENCY ECONOMY
    • พระเจ้าอยู่หัว กับ เศรษฐกิจพอเพียง
    • KING BHUMIBOL AND MICHAEL TODD
    • ... คือคึกฤทธิ์
    • KING BHUMIBOL ADULYADEJ: A Life's Work
    • THE KING OF THAILAND IN WORLD FOCUS
    • พระราชดำรัสเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ >
      • THE KING'S WORDS
    • TESLA INTERVIEW 1926
  • IN MY OPINION
  • S.ONWIMON
    • MY STORY
    • THE DISSERTATION
    • THE WORKS >
      • BROADCAST NEWS & DOCUMENTARIES
      • SPIRIT OF AMERICA
      • THE ASEAN STORY
      • NATIONAL PARKS OF THAILAND
      • HEARTLIGHT: HOPE FOR AUTISTIC CHILDREN IN THAILAND
    • SOMKIAT ONWIMON AND THE 2000 SENATE ELECTION
    • KIAT&TAN >
      • TAN ONWIMON >
        • THE INTERVIEW
    • THAIVISION